เกิดมาเป็น BOSS ห้ามพลาด แม้สักครั้งเดียว

เป็นธรรมเนียมของชาวสื่อสังคมน่ะครับ
ว่า บางคนอยู่มาทั้งชีวิต ทำดีทุกเสี้ยววินาที
แต่วันใด ทำอะไรผิดพลาด หรือไม่ได้อย่างใจ
ทั้งต่อหน้า หรือลับหลัง
อาจถูกหยิบเรื่องนั้น ไปประนาม หยามเกียรติ
ถึงขั้นเละตุ้มเป๊ะเลยก็เป็นได้
ผ่านสื่อสังคมอันทรงพลังที่เคยล้มธุรกิจมานักต่อนักแล้ว

boss ทำอะไรไม่ได้อย่างใจ ลุมตืบเลย
boss ทำอะไรไม่ได้อย่างใจ ลุมตืบเลย

สมัยนี้เวลา
บอส (Boss) ทำอะไรไม่ได้อย่างใจ
ผิดจริยธรรมไปสักข้อ สักเรื่อง สักช่วงเวลาหนึ่ง
ก็จะเอา บอส (Boss) ไปด่าในสื่อ เป็นสื่อสังคมซะด้วย
เพื่อน ๆ ก็จะเข้ามาลุมตืบซ้ำ ๆ ระหว่างลุมตืบนั้น
ก็คงไม่มีเพื่อนคนไหนหรอกครับ .. กล้าคิดต่าง
เพราะการลุมตืบ แล้วทุกคนมีความสุข ให้ใจ กดไลท์ กดแชร์
กันนับหมื่น นับแสน
และการทำตัวเป็นแกะดำ แล้วถูก unfriend ก็ไม่ใช่เรื่องสนุก
รึ .. คุณกล้าจะเป็นแกะดำ ในหมู่แกะขาว กับเค้าอีกตัว

http://www.thaiall.com/ethics/ethics_boss.htm

จากหนังสือ จริยธรรมทางธุรกิจ ของ ผศ.ดร.กิ่งดาว จินดาเทวิน
บทที่ 4 จริยธรรมผู้บริหาร
พบหัวข้อ หลักจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร หน้า 76 ว่า
โดยเริ่มต้นนั้น ได้กล่าวนำว่า หลักธรรมทางด้านศาสนา
ที่สอนให้คนทุกคนทำดี งดเว้นการทำชั่ว มีคุณ 3 ประการ
1. ธรรมะทำให้เกิดการอุปการะ คือ เปรียบเสมือนกัลยาณมิตร
2. ธรรมะทำให้เกิดความงามในจิตใจ และภายนอกทั้งกายและวาจา
3. ธรรมะคุ้มครองโลกได้ ทำให้มนุษย์ระลึกรู้สิ่งดี สิ่งเลว แยกแยกได้

https://chantrabook.files.wordpress.com/2015/11/000243.pdf

ซึ่งจริยธรรมของผู้บริหารองค์กร ได้นำเสนอไว้ 4 หลักธรรม
ตามธรรมนูญชีวิตของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). 2549 : 14-28;
วศิน อินทสระ. 2549 : 93-102; สมหวัง วิทยาปัญญานนท์. 2543. ออนไลน์ ดังนี้

1. สัปปุริสธรรม 7
2. พรหมวิหาร 4
3. ทศพิธราชธรรม 10
4. มรรคมีองค์ 8

1. สัปปุริสธรรม 7
1.1 รู้หลักและรู้จักเหตุ (ธัมมัญญุตา)
1.2 รู้ความมุ่งหมายและรู้จักผล (อัตถัญญุตา)
1.3 รู้จักตน (อัตตัญญุตา)
1.4 รู้จักประมาณ (มัตตัญญุตา)
1.5 รู้จักกาล (กาลัญญุตา)
1.6 รู้จักชุมชน (ปริสัญญุตา)
1.7 รู้จักบุคคล (ปุคคลัญญุตา)

2. พรหมวิหาร 4
2.1 เมตตา (Loving Kindness)
2.2 กรุณา (Compassion)
2.3 มุทิตา (Appreciative Gladness)
2.4 อุเบกขา (Equanimity)

3. ทศพิธราชธรรม 10
3.1 ทาน (Sharing with the Populace)
3.2 ศีล (Maintaining Good Conduct)
3.3 ปริจจาคะ (Working Selflessly)
3.4 อาชวะ (Working Honestly)
3.5 มัทวะ (Deporting himself with Gentleness and Congeniality)
3.6 ตปะ (Rejecting Indulgence through Austerity)
3.7 อโกธะ (Adhering to Reason, not Anger)
3.8 อวิหิงสา (Bringing Tranquility through Non-Violence)
3.9 ขันติ (Overcoming Difficulties with Patience)
3.10 อวิโรธนะ (Not doing that which Strays from Righteousness)

4. มรรคมีองค์ 8
4.1 สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ (Right Understanding)
4.2 สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ (Right Thoughts)
4.3 สัมมาวาจา การพูดชอบ (Right Speech)
4.4 สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ (Right Action)
4.5 สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ (Right Livelihood)
4.6 สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ (Right Effort)
4.7 สัมมาสติ ความระลึกชอบ (Right Mindfulness)
4.8 สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ (Right Concentration)

http://mng.uru.ac.th/~fms/mng/ebook/business_ethic_part1.pdf

Author: บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

I am Lecturer, Developer, Researcher, Columnist, Writer, Photographer, and Webmaster - L@mpang man

Leave a Reply