ฝ่ายหนึ่งที่ได้ 100 เต็ม แต่อีกฝ่ายก็ทิ้งดิ่ง ก็คงจะมีฐานคิดกันคนละขั้วเป็นธรรมดา

คำถาม
คำถาม
คำถาม

หลังสอบทุกครั้งจะมี 2 ขั้ว
ที่แตกต่างกัน เค้ามีคำถาม คำพูด และความคิด
สอดคล้องกับคะแนน หรือความเชื่อพื้นฐานอยู่แล้ว

กรณีแรก – ขั้ว 100
ไม่มีข้อสงสัยต่อคำถาม ไม่ตั้งแง่ให้เป็นอุปสรรคกับการเรียนรู้
ปัจจุบันมีเด็ก ๆ มากมาย ตั้งใจเรียน อ่านหนังสือ
หาความรู้ หาคำถาม และหาคำตอบ
ทั้งจากโรงเรียนกวดวิชา และคู่มือเตรียมสอบ

มีเด็ก ๆ จำนวนไม่น้อย
เค้ากระหายใครรู้ กระเหี้ยนกระหือรือ
ที่จะหาคำถามมาตอบ แล้วเค้นคำตอบด้วยตนเอง
ไม่ใช่สงสัยในระบบ หรือคำถามที่ยังไม่ได้หาคำตอบ
แล้วก็สรุปว่า ข้อสอบ คือ ปัญหา
http://www.lampang13.com/archives/8936

ขั้นตอนวิธี เป็นเรื่องที่นักเรียนจะได้เรียนรู้
ขั้นตอนวิธี เป็นเรื่องที่นักเรียนจะได้เรียนรู้

กรณีที่สอง – ขั้ว 0
มีข้อสงสัยต่อคำถาม
อันที่จริงแล้ว เมื่อได้คำถามมา
ที่อาจเป็นคำถามที่อยู่ในใจ หรือมีใครเค้าถามมา
บางทีคำตอบก็ไม่ได้สำคัญ
เท่าขั้นตอนการได้มา (Algorithm) ของคำตอบ
เพราะ การเรียนรู้ที่จะตอบคำถาม สำคัญกว่าคำตอบ
บางทีอาจนึกถึงที่มาของการตอบคำถามแบบ 5W1H
สุดท้ายก็ต้องถามว่า จัดการกับคำถามอย่างไร
1) .. 2) .. 3) .. 4) .. 5) ..
เห็น 5 หัวข้อนี้
ทำให้นึกถึงการค้นแล้วค้นอีก ที่เรียกว่า วิจัย (research)
คือ ขั้นตอนการได้คำตอบ อย่างมีขั้นตอน (Algorithm)
ที่ทำให้คำตอบ มีวรรณกรรมอ้างอิง และน่าเชื่อถือ
นี่เป็นกรณีที่คนถามเค้า serious ก็คงต้องตอบ seriously

ผ้าจำนำ กับ ผ้าอาบน้ำฝน
ผ้าจำนำ กับ ผ้าอาบน้ำฝน

ปล. ผมมองเป็น KM นะครับ และอ้างอิงแหล่งที่มาไว้แล้ว
https://www.facebook.com/ajWiriya/

ได้ 100 เต็ม
ได้ 100 เต็ม

อยากชวนฟัง ปาฐกถาของ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
ที่กล้ามองต่าง วิพากษ์การทำงานของผู้มีอำนาจ อย่างมีเหตุผล
เพราะโลกของเรามี 2 ขั้ว จึงทำให้เกิดการพัฒนา และพลวัต

Author: บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

I am Lecturer, Developer, Researcher, Columnist, Writer, Photographer, and Webmaster - L@mpang man

Leave a Reply