11 เม.ย.53 มีโอกาสทำรายงานการประชุมตามแผนการจัดการความรู้ (KM : Knowledge Management) กิจกรรมวิเคราะห์ความรู้จากอาจารย์แต่ละคน เรื่องการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ หลายท่านขอสงวนนามไว้ แต่มีรายละเอียดชวนให้เรียนรู้ เป็นแนวคิดของแต่ละคน ที่มีความมุ่งมั่นพัฒนาการเรียนการสอน ดังนี้
1) อ.อติบุ๋ม ให้รายละเอียดว่ามีประเด็นความรู้จากกิจกรรมแสวงหาความรู้หลายประเด็นพอสรุปได้ คือ 1) คะแนนพัฒนาการ 2) เทคนิคการสอน 11 ประเด็น 3) แฟ้มเค้าโครงรายวิชาและแบบสอบ ซึ่งวันนี้จะมีท่านใดให้รายละเอียดเพิ่มเติมก็ยินดีรับฟัง ขอย้ำว่ากิจกรรมครั้งนี้คือการนำประเด็นที่ได้มาแยกให้เห็นรายละเอียดและประเด็นสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอน
2) อ.ศศิแนน ให้ความคิดเห็นว่าเหตุผลที่ต้องมีการพัฒนาการเรียนการสอนคือ เป็นหนึ่งในพันธกิจสำคัญของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ต้องดำเนินการ และสัมพันธ์กับการประกันคุณภาพอย่างที่แยกกันไม่ได้ ซึ่งการได้มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเรียนการสอนจะสนับสนุนให้เกิดบทเรียนร่วมกันและนำเทคนิคที่ได้พูดคุยกันไปใช้พัฒนาการสอนในวิชาหรือกิจกรรมที่ตนรับผิดชอบ รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ ที่จะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจกรรมการเรียนการสอน และส่งผลสุดท้ายต่อการได้บัณฑิตที่มีคุณภาพ จากกระบวนการที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยหวังใจว่าเราจะไปถึงจุดนั้น
3) อ.วิบุญ ให้ความคิดเห็นว่าการให้ความสำคัญกับนักศึกษานั้นต้องมีกระบวนการรองรับที่เป็นรูปธรรม มีระบบ กลไก แผนงาน ซึ่งปกติการพัฒนาการเรียนการสอนต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษา ต้องมีคู่มือให้คำปรึกษา มีการรายงานผลการให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล และจัดทำสรุปสิ้นภาคเรียนหรือสิ้นปีการศึกษาสำหรับภาพรวมของการให้คำปรึกษา แล้วประชุมสรุปงานอาจารย์ที่ปรึกษาสิ้นปีเพื่อทบทวนคู่มือ ระบบ กลไก และพัฒนาการให้คำปรึกษาให้ครอบคลุมทั้งวิชาการ วิชาชีวิต การนำปัญหามาแลกเปลี่ยน หาทางออก วิเคราะห์ความเสี่ยง และพัฒนาข้อมูลที่จะนำไปใช้จัดทำแผนปฏิบัติการ หรือแผนกลยุทธ์ ทั้งหมดนี้สอดรับกับระบบ PDCA ที่ต้องดำเนินการไปพร้อมกับการพัฒนาการเรียนการสอน ดังคำที่ว่าถ้านักศึกษาไม่พร้อมจะเรียน แล้วอาจารย์จะจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพได้อย่างไร
4) อ.ทนงเมือง ให้ความคิดเห็นว่าเทคนิคที่ใช้ในการเรียนการสอนนั้นมีหลายวิธี โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่า การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small – Group Discussion) เป็นวิธีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกวิชา เพราะทำให้นักศึกษาได้ฝึกการเป็นคนใจกว้างที่ให้ข้อมูลแก่เพื่อนร่วมทีมยอมรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน หาวิธีแก้ปัญหาร่วมกันเชิงบูรณาการ ไม่ใช่การโยนหน้าที่ให้กันหรือเกี่ยงกันรับผิดชอบแต่เป็นการรับผิดชอบร่วมกัน การฝึกแบบนี้จะทำให้นักศึกษารู้จักประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อแก้ปัญหาที่จำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วม ทำให้การยึดมั่นถือมั่นว่าตนเองถูกเสมอเบาบางลงได้ เทคนิคนี้ทำให้ต้องมีระบบและกลไกเกิดกระบวนการแบ่งภาระหน้าที่ให้แก่คนในทีม เช่น ประธาน และเลขานุการของกลุ่ม ที่ต้องคอยประสาน คอยกำกับดูแล ส่วนสมาชิกก็ต้องเรียนรู้การเป็นผู้ตามที่ดี เพื่อให้เป้าหมายของกลุ่มสำเร็จลุล่วง
5) อ.เกศลา เห็นด้วยกับแนวความคิดของอาจารย์ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น แต่ในเวลาที่จำกัดของการประชุม ขอเสนอให้ทุกวิชาเพิ่มเทคนิคการใช้ กรณีศึกษา (Case Studies) เพราะทำให้นักศึกษาได้เห็นตัวอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง และทราบว่าหลายวิชาก็ใช้เทคนิคนี้ เช่น วิชากฎหมาย วิชาสถิติ วิชาการโปรแกรม ส่วนวิชาอีคอมเมอร์ซที่สอนอยู่ก็มีกรณีศึกษาให้นักศึกษาได้เรียนรู้มากมาย และใช้สอบนักศึกษา ส่วนวิชาโครงงานก็ต้องใช้กรณีศึกษาในภาคธุรกิจ ที่ปัจจุบันนักศึกษาต้องเข้าศึกษาการกระบวนการทำงานของธุรกิจที่ตนสนใจเฉพาะบุคคล ช่วยให้นักศึกษาได้เข้าใจการทำงานของภาคธุรกิจก่อนสำเร็จการศึกษา เมื่อไปสมัครงานก็จะทำให้ได้งานง่ายขึ้น เพราะมีประสบการณ์มาแล้วระดับหนึ่ง
6) อ.บุพันธุ์ เสริมว่าหลายวิชาก็ยังใช้เทคนิคการเรียนแบบแก้ปัญหา (Problem-solving) ด้วยการที่อาจารย์กำหนดปัญหาขึ้นมา แล้วให้นักศึกษาฝึกแก้ปัญหาในชั้นเรียน บางวิชาอาจเปิดให้นักศึกษาเป็นผู้ตั้งโจทย์แล้วเพื่อนในชั้นเรียนร่วมกันแก้ไข หากมีข้อสงสัยอาจารย์ก็ต้องเข้าไปช่วยเหลือ ไม่ปล่อยให้นักศึกษาออกไปนอกห้องเรียนแล้วไปพูดว่าอาจารย์ลอยแพ อมภูมิ ไม่รู้เรื่อง หรือไม่เต็มใจสอน การเปิดให้นักศึกษาตั้งโจทย์อาจเป็นเทคนิคที่ต้องมีการควบคุมใกล้ชิด ซึ่งเป็นเทคนิคส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลอย่างมาก การเรียนการสอนในปัจจุบันต้องไม่น่าเบื่อเหมือนในอดีตที่อาจารย์ทำหน้าที่บรรยายอยู่หน้าชั้นเพียงอย่างเดียว ถึงเวลาสอบก็ให้นักศึกษาไปเดาข้อสอบกันเองอย่างนี้ไม่ควรเกิดขึ้น
7) อ.แตบุตร เพิ่มประเด็นว่าการสอนนักศึกษาต้องเปลี่ยนไปจากในอดีต อาจารย์จะสั่งงานและทำตัวเป็นผู้มีอำนาจเหนือนักศึกษาไม่ได้แล้ว เพราะคำสั่งหรือสั่งแบบไม่เข้าใจธรรมชาติของนักศึกษา อาจทำให้นักศึกษาไม่พอใจ ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิผลของการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้ หากอาจารย์สอนด้วยความรักความเข้าใจ รู้จักใช้กัลยาณมิตรด้วยความบริสุทธิ์ใจ นักศึกษาก็จะมีความสนใจ และไม่เกิดแรงต้านที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่จากผู้ที่พวกเขาเรียกว่าอาจารย์ แต่ถ้าลูกศิษย์ตั้งฉายาอาจารย์ว่าพ่อมด หรือแม่มด ก็คงเป็นอุปสรรค์ในการเรียนรู้อย่างแน่นอน ซึ่งอาจารย์ต้องรู้สึกว่านั้นคือความรับผิดชอบที่จะต้องดำเนินการแก้ไขทั้งตนเอง และลูกศิษย์ไปพร้อมกัน
Author: บุรินทร์ รุจจนพันธุ์
โจทย์ ครน และ หรม สำหรับเด็กประถม
11 เม.ย.53 การสร้างโจทย์คณิตศาสตร์เรื่อง ครน คูณร่วมน้อย หรือ หรม หารร่วมมาก สามารถใช้โปรแกรม Microsoft Excel สร้างได้ง่าย โดย หรม คือ การหาตัวเลขที่มากที่สุดที่หารตัวเลขทุกตัวที่ตั้งไว้ได้ เช่น เลขที่ตั้งไว้คือ 8, 100, 12, 20 ดังนั้น หรม ของเลขที่ตั้งไว้ คือ 4 เพราะเป็นเลขที่มากที่สุดที่หารตัวเลขที่ตั้งไว้ได้ทุกตัว ส่วน ครน คือ การหาตัวเลขที่น้อยที่สุดที่เลขที่ตั้งไว้ไปคูณร่วมกันได้ลงตัว เช่น เลขที่ตั้งไว้คือ 8, 100, 12, 20 ดังนั้น ครน ของเลขที่ตั้งไว้ คือ 600 เกิดจาก 4 * 5 * 2 * 5 * 3 * 1
วิธีหาค่าของ ครน และ หรม ใช้การหารสั้น แล้วเอาผลหารที่หารทุกตัวได้ลงตัวมาคูณกัน ก็จะได้ หรม แต่ถ้าตัวหารที่หารบางตัวได้ก็จะนำมาใช้ประกอบการหา ครน ดังนั้น หรม ก็จะมีเพียงเลข 4 ตัวเดียว อยากให้ลองหา ครน ของ 8, 100, 12, 20 ก็จะเข้าใจครับ
+ http://www.thaiall.com/girl/multiply.xls
แบ่งปันเนื้อหาแบบทวีคูณ (238)
8 เม.ย.53 สังคมแห่งการสื่อสารในยุคโลกไร้พรมแดนมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา อินเทอร์เน็ตกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้การสื่อสารระหว่างบุคคลในต่างดินแดนสามารถสื่อสารกันได้เสมือนอยู่ในห้องเดียวกัน มีการพัฒนาการสื่อสารที่เป็นรูปธรรมทั้งเว็บบอร์ด บล็อก และเครือข่ายสังคม มนุษย์ยุคไอทีสามารถมีเพื่อนใหม่และกลายเป็นเพื่อนกันด้วยสัมผัสเพียงหนึ่งคลิ๊ก หากมีคนกล่าวว่าคลิ๊กเดียวก็เป็นเพื่อนกันได้เมื่อสิบห้าปีก่อน ผู้เขียนก็คงไม่คิดว่าเรื่องแบบนั้นจะเป็นจริง แต่ปัจจุบันมีบริการเครือข่ายสังคมที่เริ่มมีแนวโน้มผูกขาดการเป็นศูนย์บริการที่ได้รับความนิยม เช่น Facebook.com และ Twitter.com
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เครือข่ายสังคมอย่าง facebook.com เป็นที่นิยมคือ ยอมรับการแบ่งปันหัวข้อหรือบันทึก (Share Title) ซึ่งบันทึกนั้นอาจมาจากเว็บไซต์ใดใด เช่น cnn.com หรือ sanook.com หรือ thaiall.com ซึ่งเจ้าของบัญชีเครือข่ายสังคมสามารถดำเนินการด้วยเครื่องมือของ Toolbar ที่ติดตั้งเพิ่มเติมเพื่อส่งข้อมูลจากทุกเว็บไซต์ได้ไปยังเว็บไซต์เครือข่ายสังคมได้ หรือคลิ๊กผ่านไอคอนในเว็บไซต์ข่าว ซึ่งผู้เป็นเจ้าของเว็บไซต์ข่าวสามารถสร้างไอคอนให้ผู้ชมสามารถคลิ๊กเพื่อส่งบันทึกหรือข่าวไปเผยแพร่ในเว็บไซต์เครือข่ายสังคมเป็นการเปิดช่องทางให้เพื่อนของผู้ชมได้อ่านหัวข้อที่แนะนำ หากสนใจในรายละเอียดก็จะคลิ๊กเพื่อเปิดอ่านเนื้อหาต้นฉบับเต็มในเว็บไซต์ข่าวได้ ดังนั้นการเขียนข่าวเพียงหนึ่งครั้งแต่ส่งไปเผยแพร่ใน 3 เว็บไซต์เครือข่ายสังคม อาจมีผู้ชมเพิ่มจากเดิมถึง 3 เท่า และอาจเพิ่มขึ้นอีกหากมีผู้ชมที่สนใจแล้วเผยแพร่หัวข้อเพิ่มขึ้น
เว็บไซต์ addthis.com ให้บริการส่งหัวข้อไปยังเว็บไซต์เครือข่ายสังคมที่เปิดรับการแชร์เนื้อหาหรือหัวข้อ เช่น facebook.com myspace.com twitter.com blogger.com ถ้าจะใช้บริการก็เพียงแต่นำรหัสที่ได้จาก addthis.com ไปวางไว้ในเว็บไซต์ของตน เมื่อเพื่อนหรือผู้ชมเข้ามาอ่านบันทึกหรือข่าวแล้วสนใจก็จะคลิ๊กเพื่อส่งหัวข้อไปเผยแพร่ยังเว็บไซต์เครือข่ายของผู้ชม เมื่อเพื่อนของผู้ชมเข้าไปที่เว็บไซต์เครือข่ายสังคมก็จะได้พบกับหัวข้อข่าว หากสนใจก็จะคลิ๊กกลับมาอ่านรายละเอียด ซึ่งวิธีนี้เริ่มได้รับความนิยม เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการแบ่งปันเนื้อหา ดำเนินการง่าย และมีประสิทธิภาพในการให้สารสนเทศแก่กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ในภาคธุรกิจเริ่มใช้เทคนิคนี้เข้ามาเป็นกลยุทธ์ในการทำตลาดเพื่อสร้างภาพลักษณ์ หรือขยายช่องทางในการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าเพิ่มขึ้น
PHP Code เพื่อ share title จาก wordpress ไปยัง facebook และ twitter
6 เม.ย.53 การเขียนบล็อกใน wordpress แล้วต้องการเผยแพร่ไปยัง facebook.com หรือ twitter.com เป็นเทคนิคที่สนับสนุนการทำ seo ที่สำคัญอีกวิธีหนึ่ง ผู้เป็นเจ้าของบล็อกสามารถวาง PHP Code ไว้ในเว็บเพจของตน สำหรับเว็บบล็อกของผมวางไว้ใน footer.php เพื่อให้ผู้เข้ามาสืบค้นข้อมูลสามารถส่งไปยัง facebook หรือ twitter ของเขาได้ ซึ่งผมเองก็ใช้บริการนี้ส่งไปยัง facebook ของผมครับ โดยมี code ดังนี้
<a href=”http://www.facebook.com/share.php?u=<?=urlencode(“http://www.thaiall.com” . $_SERVER[“REQUEST_URI”]);?>”> facebook </a>
<a href=”http://twitter.com/home?status=<?php urlencode(wp_title(‘«’, true, ‘right’)); ?><?=urlencode(“http://www.thaiall.com” . $_SERVER[“REQUEST_URI”]);?>”> twitter </a>
รายงานการประชุมแสวงหาความรู้จากอาจารย์แต่ละคน
6 เม.ย.53 มีโอกาสทำรายงานการประชุมตามแผนการจัดการความรู้ (KM : Knowledge Management) ของอาจารย์กลุ่มหนึ่ง เรื่องการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ หลายท่านขอสงวนนามไว้ แต่มีรายละเอียดชวนให้เรียนรู้ เป็นแนวคิดของแต่ละคน ที่มีความมุ่งมั่นพัฒนาการเรียนการสอน ดังนี้
1) อ.อติบุ๋มให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ในฐานะที่เป็นผู้มีประสบการณ์ตรงในด้านนี้ว่า ในการพัฒนาสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ที่มีบรรยากาศในการเรียนรู้ในระดับบุคคลและกลุ่มบุคคล จำเป็นต้องมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และสามารถประมวลผลความรู้ในแต่ละด้าน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งการแสวงหา แลกเปลี่ยน และพัฒนาความรู้ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการปฏิบัติงาน อันเป็นผลมาจากความรู้ใหม่ อันจะนำไปสู่การสร้างบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
2) อ.ศศิแนนให้ความคิดเห็นว่าการพัฒนาการเรียนการสอนนั้นมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมาย ทั้งบุคลากร นักศึกษา อาจารย์ สิ่งอำนวยความสะดวก สภาพแวดล้อม กระบวนการจัดการเรียนการสอน การดูแลเอาใจใส่ แหล่งค้นคว้า ทัศนคติ เป้าหมายที่ต้องเป็นไปในทางเดียวกัน เสริมซึ่งกันและกัน จึงจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิผล โดยเฉพาะการให้คะแนนนั้นต้องเป็นไปในทางเดียวกันคือมีคะแนนพัฒนาการวิชาละ 5 คะแนน เพื่อวัดพัฒนาการหรือความก้าวหน้าในการเรียนรายบุคคล จากประสบการณ์ใช้วิธีบันทึกว่านักศึกษาแต่ละคนก่อนเรียนเป็นอย่างไร เมื่อให้งานแล้วผลการเรียน หรือผลสอบพัฒนาขึ้นมากน้อยเพียงไร ก็จะใช้เป็นเกณฑ์ในการให้คะแนนพัฒนาการ
3) อ.วิบุญให้ความคิดเห็นว่าอาจารย์จำเป็นต้องเห็นนักศึกษาคือลูก ต้องทำตัวเป็นพ่อผู้ให้ความรักอย่างเอื้ออาทร และแสดงออกให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ เพราะทุกคนมีคุณค่า หากเริ่มต้นด้วยจิตใจที่ดีแล้ว ทุกอย่างก็จะดีงามเป็นเงาตามตัว ขอให้ทุกคนคิดดีด้วยจิตใจที่งามเห็นนักศึกษาเป็นลูกหลาน แล้วการให้คำปรึกษา การสอน หรือการปฏิบัติตนต่อนักศึกษาก็จะเป็นไปในแบบกัลยาณมิตร นักศึกษาก็จะเข้าเรียนอย่างมีความสุขกับพ่อพระที่ทำหน้าที่อบรมสั่งสอน ชี้แนะลูกทุกคน อย่างมีความสุขด้วยความเท่าเทียม การจัดการความรู้เป็นสิ่งที่ดีทำให้ทุกคนได้มาประชุมร่วมกันหากมีสิ่งดี ๆ ก็จะได้นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบนี้อีก ทำให้เกิดกำลังใจหนุ่นเสริมให้การทำงานเป็นไปอย่างมีความสุข และไม่รู้สึกว่าทำงานอีกต่อไป แต่รู้สึกว่าเป็นการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าและเป็นสุขอยู่ตลอดเวลา
4) อ.ทนงเมืองให้ความคิดเห็นว่าการพัฒนาการเรียนการสอนต้องมีเทคนิควิธีในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ซึ่งต้องบูรณาการเทคนิคเข้ากับวิชาที่ตนสอน โดยมีประเด็นนำเสนอทั้งหมด 5 ประเด็น คือ 1) การอภิปรายกลุ่มใหญ่ (Whole – Class Discussion) 2) การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small – Group Discussion) 3) การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) 4) สถานการณ์จำลอง (Simulation) 5) ละคร (Dramatization) นำเสนอประสบการณ์ว่าได้จัดกิจกรรมกลุ่มที่เปิดให้นักศึกษารวมกันเป็นกลุ่มเล็ก แบ่งหน้าที่กันทำงาน เรียนรู้ที่จะทำงานอย่างบูรณาการ รู้หน้าที่ของกันและกัน จำลองเหตุการณ์เพื่อแก้ปัญหา เช่นวิชาด้านความปลอดภัยที่เปิดให้ค้นคว้า แบ่งกันหาข้อมูล นำมาแลกเปลี่ยนและสรุปร่วมกัน และนำเสนออย่างรู้หน้าที่ร่วมกัน
5) อ.เกศลาเห็นพร้องกับ อ.ทนงเมือง และเสนอประเด็นหรือเทคนิคที่สามารถนำไปใช้ในชั้นเรียนอีก 6 ประเด็นคือ 1) กระบวนการสืบค้น (Inquiry Process) 2) การตั้งคำถาม (Questioning) 3) การศึกษาเป็นรายบุคคล (Individual Study) 4) การจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี (Technology – Related Instruction) 5) การฝึกปฏิบัติการ (Practice) 6) กรณีศึกษา (Case Studies) ตัวอย่างเช่นวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้นที่ให้นักศึกษาทำโครงงานประจำวิชา ได้สืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ตั้งโจทย์ด้วยตนเองที่ต้องนำเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นรายบุคคล ฝึกปฏิบัติสร้างภาพยนต์ด้วยโปรแกรม Flash หรือเรียนรู้จากกรณีศึกษา และวิเคราะห์ร่วมกัน ซึ่งถูกใช้ในหลายวิชา และสอดแทรกไปอยู่เสมอ การใช้เทคนิคเหล่านี้เป็นไปโดยธรรมชาติ การได้นำเสนอให้เกิดการแลกเปลี่ยนในครั้งนี้รู้สึกดี และเสนอให้จัดขึ้นบ่อย ๆ เพราะถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นในชั้นเรียนก็จะได้นำมาแลกเปลี่ยนร่วมกันได้
6) อ.บุพันธุ์ เสริมว่ายังมีอีก 2 ประเด็นคือ การเรียนแบบค้นพบ (Discovery Learning) และ การเรียนแบบแก้ปัญหา (Problem-solving) ตัวอย่างเช่นวิชาการโปรแกรมจาวาที่ให้นักศึกษาเรียนการใช้ฟังก์ชัน และสร้างฟังก์ชันขึ้นใช้เอง เพื่อใช้สำหรับแก้ปัญหาที่ต้องการ นอกจากนี้ยังมีรหัสต้นฉบับให้กับนักศึกษาและให้นักศึกษาค้นหาว่ารหัสต้นฉบับที่ให้นั้นมีคำสั่งใด รูปแบบ หรือผลลัพธ์ผิดพลาดอย่างไร ถ้าพบปัญหาแล้วจะต้องแก้ไขอย่างไร
7) นางสาวพัชวรรณ เสริมว่าแผนการสอน หรือเอกสารประกอบการสอนขออาจารย์ทุกท่านสามารถขอดูได้ที่เลขานุการเพื่อนำไปเรียนรู้ หรือเป็นบทเรียนในการพัฒนาการเรียนการสอนภายในคณะ ปัจจุบันคณะมีคลังแผนการสอนที่สั่งสมมาหลายปีหากมีการนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรมก็จะเกิดประโยชน์ได้
ร่าง แผนที่ยุทธศาสตร์ ปีการศึกษา 2553
5 เม.ย.53 แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map) คือ แผนภาพที่จะใช้แสดงทิศทาง การเชื่อมโยงแต่ละเป้าหมายขององค์กรและการพัฒนาในแต่ละด้านอย่างเป็นรูปธรรม เป็นเครื่องมือสื่อสาร และถ่ายทอดกลยุทธ์ไปสู่คนในองค์กรให้มีเข้าใจชัดเจน ตรงกัน และเป็นรูปธรรม
เมื่อวันที่ 2 เม.ย.53 อ.ทันฉลอง รุ่งวิทู เป็นผู้ยกร่าง Strategy map ของมหาวิทยาลัยโยนกและจัดอบรมการเขียนแผนปฏิบัติการ โดยแผนที่ยุทธศาสตร์นี้แบ่งยุทธศาสตร์เป็น 2 กรอบคือ กรอบยุทธศาสตร์ตามพันธกิจ และกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การ โดยเชื่อมโยงกับมิติ 4 ด้านคือ 1) การพัฒนาบุคลากร 2) การบริหารจัดการ 3) คุณภาพการให้บริการ 4) ประสิทธิผลตามพันธกิจ ซึ่งสอดรับกับที่ไปอ่านพบว่า Professor Robert Kaplan และ Dr.David Norton ได้เสนอในวารสาร Harvard Business Review ปี 1992 ว่าการประเมินองค์การควรมี 4 ด้านคือ 1) มิติด้านการเงิน (Financial Perspective) 2) มิติด้านลูกค้า (Customer Perspective) 3) มิติด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective) 4) มิติด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective)
+ http://www.thaiall.com/swot
+ http://www.naewna.com/news.asp?ID=86939 (ประวัติ อ.ทันฉลอง รุ่งวิทู)
เอาอนาคตของประเทศมาเป็นตัวประกัน .. มักสำเร็จ
5 เม.ย.53 ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีใครหาอะไรมาเป็นตัวประกันเพื่อต่อรองให้ได้สิ่งที่ต้องการ ตัวอย่างมีให้เห็นบ่อยมากในประเทศไทย แม้ในองค์กรบางแห่งก็มีอยู่เสมอ ที่ขาดความรู้สึกเป็นเจ้าของในองค์กรของตน เช่น 1) การบอกว่าไม่ใช่หน้าที่ 2) การบอกว่าคนนั้นก็ยังไม่ทำจึงเป็นความชอบธรรมที่ตนไม่ทำบ้าง 3) การบอกว่าไม่ใช่เรื่องของเรา 4) การบอกว่าอย่าไปช่วยใครให้เห็นแก่ตัวไว้ก่อน 5) การบอกว่าก็เขาไม่มาบอก 6) การบอกว่ายังไม่ถึงเวลา 7) การบอกว่าอย่าไปยุ่ง 8 ) การบอกว่าเขาทำมาอย่างนั้นจงทำต่อไปทำเหมือนกันไปดีเอง .. คงเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่กลายพันธุ์มาจากลิงได้ไม่นาน คนบางคนจึงพัฒนาไปได้ไม่ไกลนัก มองไปไม่พ้นเงาตนเองสักที ดังนั้นเราจึงเห็นคนที่มีการศึกษา แต่จิตใจไม่พัฒนา บางคนจิตใจดีงามแต่ขาดการศึกษาเป็นฐานความรู้ที่ใช้ประกอบการตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผล คนบางคนถูกความโลภ โกรธ หลง ชี้นำพฤติกรรมไปในทางใดทางหนึ่งก็มีตัวอย่างมากมายเกินกว่าจะยกตัวอย่าง .. เราท่านก็รู้เห็นเป็นใจกันอยู่ .. สรุปตรงนี้ว่าผมบ่นเรื่องการเมืองไทย .. แล้วอย่าถามผมว่าคิดอย่างไร เพราะคำตอบผมรุนแรงมากที่เห็นพฤติกรรมมนุษย์เป็นเช่นนี้ และที่สำคัญผมก็เป็นมนุษย์
เขียน vbs ใน macro แปลงระหว่างเลขไทยและเลขอาราบิก
5 มี.ค.53 ทุกองค์กรย่อมมีนโยบายมากมายทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และไม่เป็น เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ ช่วงนี้มีแนวนโยบายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นทางการเกิดขึ้นในองค์กรแห่งหนึ่ง คือ การใช้ตัวเลขในเอกสารขององค์กร ซึ่งก่อนหน้านี้มีวัฒนธรรมที่ผู้บริหารสนับสนุนให้ใช้เลขไทย ทำให้มีการใช้เลขไทยในเอกสารเป็นไปโดยอัตโนมัติ เมื่อเวลาผ่านไปแล้วมีการเปลี่ยนทีมผู้บริหารก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงในหลายเรื่อง ทำให้การเลือกใช้แบบของตัวเลขเริ่มเปลี่ยนทิศทางไป การใช้ visual basic script ใน macro ของ microsoft word ที่เขียนขึ้น 2 ฟังก์ชันคือ แบบแปลงไทยเป็นเลขอาราบิก และ เลขอาราบิกเป็นเลขไทย ทำให้การสั่งเปลี่ยนทำได้ง่าย ทดสอบกับ word2003 แล้วใช้ได้ครับ .. ลองนำไปทดสอบดูได้นะครับ
Sub arabictothai()
For i = 0 To 9
With Selection.Find
.Text = Chr(48 + i)
.Replacement.Text = Chr(240 + i)
.Wrap = wdFindContinue
End With
Selection.Find.Execute Replace:=wdReplaceAll
Next
End Sub
Sub thaitoarabic()
For i = 0 To 9
With Selection.Find
.Text = Chr(240 + i)
.Replacement.Text = Chr(48 + i)
.Wrap = wdFindContinue
End With
Selection.Find.Execute Replace:=wdReplaceAll
Next
End Sub
ถ้าเป็น excel ไม่ต้องใช้ function ให้กด Ctrl-A แล้วกำหนด format ของ cell ใน Number, Custom เป็น [$-D07041E]0 ก็จะทำให้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขทั้งหมดเป็นเลขไทย
ปัญหาเครื่องบริการไม่รับเมลเข้า และ reset password ของ root
4 เม.ย.53 วันนี้เป็นอีกปีหนึ่งที่ผมไม่สะดวกไปไหว้เจ้าที่สุสานบรรพบุรุษชาวจีน เพราะมีงานสอนตอน 8.30 น. จึงไม่ได้พบปะครอบครัวเหมือนเช่นทุกปี ประกอบกับมีอะไรคาใจทำให้อยากไปทำงานก่อนเวลา เพราะเมื่อคืนนี้ได้ตรวจอีเมลพบว่าคนจาก Intrusion Detection Team @spawar.navy.mil ส่งอีเมลมาแจ้งว่า 1) เครื่องหนึ่งในเครือข่ายของเราได้ scan เครือข่ายของเขา หรือ 2) ผู้ใช้คนหนึ่งในเครือข่ายของเราได้ scan เครือข่ายของเขา โดยใช้ port 22 เข้าไป 129 addresses ในใจก็เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง แต่มาแน่ใจว่าจริงก็เพราะผมเข้า root ของ fedora core 4 ไม่ได้
มีการดำเนินการกับเครื่องบริการ ดังนี้ 1) เปลี่ยนรหัสผ่านของ root ใหม่ โดยรีบูต แล้วกด esc ขณะอยู่ใน grub แล้วกด a แล้วพิมพ์เลข 1 ต่อท้ายบรรทัดเดิม เช่น ro root=LABEL=/ rhgb quiet 1 เมื่อพบเครื่องหมาย # ก็ใช้ passwd เปลี่ยนรหัสผ่านของ root แล้ว reboot 2) ใช้ last, du, ls -alt, cat passwd, netstat -tap ตรวจว่า account อะไรถูก hack แล้วแก้ไขทีละ account ด้วยเหตุด้วยผล 3) ตรวจว่ามีบริการอะไรเปิด ด้วย service –status-all และ chkconfig –list ถ้าบริการใดไม่ใช้ก็จะปิดบริการนั้น เช่น service sshd stop และ chkconfig sshd off 4) พบว่าอีเมลไม่เข้า หรือเข้าน้อยมาก มีปัญหานี้อยู่เกือบหนึ่งวันหลังแก้ไขในตอนเช้า จึงตรวจแล้วพบว่า postfix ไม่เปิดบริการ จึงใช้ cat maillog ก็พบว่าข้อกำหนดของ /etc /postfix /main.cf ใน postfix เป็นสาเหตุทำให้ start ไม่ขึ้น เพราะห้าม myhostname และ relayhost เป็นตัวเดียวกัน จึงเข้าไปเปลี่ยนแฟ้ม main.cf เป็นแบบไม่กำหนดคือ relayhost = หลังจากนั้นก็รับอีเมลได้ปกติ
http://fedorasolved.org/Members/realz/reset-root-password/
ทดสอบโปรแกรมจับความเร็วของ while กับ for
2 เม.ย.53 ปรับโปรแกรมจับเวลาการทำงานของโปรเซสด้วยภาษา PHP โดยใช้ Function เพราะต้องการวัดว่าใช้เวลาเท่าใดใน process ที่ต้องการทดสอบ มีการเก็บข้อมูลและเปรียบเทียบในสภาวะที่เชื่อถือได้ ซึ่ง code ชุดนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้หลายกรณี แต่ครั้งนี้ทดสอบเพียงแค่การใช้ while และ for สำหรับทำซ้ำ 1000 รอบ พบว่า while ทำงานเร็วกว่า ในระดับ 1ต่อหมื่นวินาที ส่วนการทดสอบกับ mysql ผมยังไม่ได้เตรียมสภาวะแวดล้อมให้พร้อม จึงไม่นำเสนอผลที่นี่ .. ถ้าควบคุมและทดสอบจนได้ผลอย่างไร จะกลับมาเล่าใหม่
<?
$gap=0;
xtime("start");
for($i=1;$i<=1000;$i++) { }
echo number_format(xtime("stop"),9) ." วินาที<br>";
$j=0;
xtime("start");
while($j < 1000) { $j++; }
echo number_format(xtime("stop"),9) ." วินาที<br>";
function xtime ($action) {
global $gap;
list($u,$s) = split(" ",microtime());
if ($action == "start") $gap = $s + $u;
else $gap = $s + $u - $gap;
return $gap;
}
?>