เห็นว่าภรรยาต้องขอคนนอกออกแบบส.ค.ส. จึงยกร่างให้3ใบ

9 ธ.ค.52 ผมไม่ได้ทำ graphic มานานมากแล้วเรียกได้ว่าหลายปีดีดัก มาวันนี้ภรรยาไปไหว้วานใครก็ไม่ทราบ เป็นคนนอกองค์กรที่ไม่เข้าใจบริบทของมหาวิทยาลัย ให้เขามาช่วยออกแบบ ส.ค.ส. ซึ่งภรรยาก็ไม่มีภาพคุณภาพสูงให้เขาใช้ในการออกแบบ คนในองค์กรเป็น designer ชั้นครูก็หลายท่าน สรุปว่าต้องลงแรงช่วยยกร่าง ส.ค.ส.จากภาพแบบ low resolution ที่มีอยู่ ถ้าพรุ่งนี้มีโอกาสก็จะไปเดินเก็บภาพมาไว้แต่งเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเพิ่มเติม
     เมื่อตรวจสอบขนาดส.ค.ส.ที่เขาใช้กันทั่วไป พบว่าใช้ขนาดกว้างยาว 5″ * 7″ หรือ 420px*600px ถ้าพับครึ่งก็จะได้ 5″ * 3.5″ แล้วผมก็เลือกใช้โปรแกรม Ms Paint เพราะดูว่างานตัดต่อภาพแค่นี้ไม่จำเป็นต้องใช้ Photoshop ก็น่าจะทำให้ลุล่วงไปได้ โดยมีทั้งหมด 3 รูปแบบดังนี้
     1)แนวคิดของภาพ คือ อ่างน้ำที่ดูเรียบง่ายด้วยสีพื้นเทา กำกับด้วยคำว่า ปีแห่งคุณภาพ 2553 และใช้ภาษาอังกฤษว่า merry christmas and a happy new year สำหรับภาพแรกกำหนด attibute เป็น 500 * 700 pixels เก็บเป็น .bmp พอทำเสร็จจึงนึกได้ว่าขนาดแค่นี้นำไปทำ ส.ค.ส.จริงไม่ได้แน่
แบบที่ 1
แบบที่ 1

 
     2)แนวคิดของภาพ คือ บูรณาการประเด็นกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การออกไปมีส่วนร่วมกับภายนอก และทัศนียภาพเขียวขจีในมหาวิทยาลัย เป็นภาพขนาด 1000 * 1400 pixels ที่น่าจะนำไปทำอะไรต่อได้

แบบที่ 2
แบบที่ 2

     3)แนวคิดของภาพ คือ ใช้เทคนิคของลายเส้นที่ได้จากอาคาร เป็นแนวคิด creative view โดยนำเสนอด้วยมุมมองแปลกตาเป็นตัวนำ

แบบที่ 3
แบบที่ 3

      อันที่จริงผมคิดว่า ส.ค.ส.น่าจะมีปฏิทินไว้ด้านหนึ่ง แต่อีกใจก็รู้ว่า ส.ค.ส.ส่วนใหญ่ไม่มีปฏิทิน เมื่อผู้รับได้รับแล้วก็จะเก็บไว้อย่างดี ไม่นิยมนำส.ค.ส.มาตั้งแสดงไว้บนโต๊ะทำงาน และที่สำคัญปีนี้ผมก็ยังไม่ได้ทำ cgraphic calendar  เหมือนทุกปี จึงไม่มีภาพมา attach เข้ากับส.ค.ส.ข้างต้น
+ http://www.thaiall.com/calendar

พัฒนาศักยภาพว่าที่บัณฑิตด้านไอที 30 ชั่วโมง

bundit_development
9 ธ.ค.52
อาจารย์วิเชพ ใจบุญ รักษาการคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยโยนก เปิดเผยว่า ได้จัด โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพว่าที่บัณฑิตด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาและบัณฑิตของมหาวิทยาลัยโยนก มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนานักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา หรือสำเร็จการศึกษาแล้วไม่เกิน ๖ เดือน ให้มีทักษะด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น และเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยีให้กับนักศึกษาที่กำลังจะออกไปทำงานในสังคม ระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2552 ถึง 22 มกราคม 2552 เวลา 18.00น. – 20.00น. ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 ชั้น 3 อาคารบริหารธุรกิจ โดยรุ่นที่ 1 มีผู้สนใจเข้ารับการอบรมมากกว่า 25 คน
+ http://it.yonok.ac.th/doc/oit/bundit_development_enlarge.jpg

ยกร่าง การอภิปรายผล รายงานวิจัย sar51

sar518 ธ.ค.52 ยกร่าง การอภิปรายผล ซึ่งยังขาดผลประเมินคณะ ปีการศึกษา 2551 เพื่อใช้วิเคราะห์ความเบี่ยงเบนเปรียบเทียบปี 50 และ 51 ในขั้นตอนที่เหลือ และยังไม่เสนอให้ทีมวิจัย ซึ่งประกอบด้วย อ.วันชาติ  นภาศรี อ.ศศิวิมล  แรงสิงห์ อ.อาภาพร ยกโต อ.อัศนีย์  ณ น่าน อ.คนึงสุข  นันทชมภู อ.สุรพงษ์  วงค์เหลือง นางเจนจิรา เชิงดี และ นางสาวเพชรี  สุวรรณเลิศ
     จากผลการวิจัยมีประเด็นที่น่าสนใจนำมาอภิปายผล ดังนี้ 1) ผลสำรวจความพึงพอใจต่อการอบรมการใช้งานโปรแกรมตั้งแต่ครั้งแรกไปถึงครั้งที่สี่มีแนวโน้มค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แต่ลดเพียงเล็กน้อยสำหรับครั้งที่สี่ คือ 3.86, 3.93 4.18 และ 4.10 โดยทั้ง 4 ครั้งมีระดับความพึงพอใจเท่ากันคือระดับมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้เข้ารับการอบรมที่เป็นตัวแทนจากคณะวิชามีความพึงพอใจ ยอมรับ และเข้าใจการใช้งานระบบนี้ 2) หน่วยงานระดับคณะวิชายังใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองเพียง 80% และมีคณะที่ส่งมอบรหัสผ่านให้กับผู้ประเมินเพียง 60% แต่ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = 3.71 , S.D = 1.16) ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าทั้งระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง และกลไกที่สนับสนุนให้คณะวิชาใช้งานระบบยังต้องมีการปรับปรุง 3) ผู้ประเมินได้ใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองทุกคน แต่ผลสำรวจความพึงพอใจของผู้ประเมินโดยรวมอยู่ระดับปานกลาง (X = 3.24 , S.D = 1.11) ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าหน่วยงานระดับคณะวิชาส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองยังไม่สมบูรณ์ เป็นเหตุให้ผู้ประเมินเข้าตรวจสอบหลักฐานเอกสารผ่านระบบออนไลน์แล้วไม่พบหลักฐานดังกล่าว จึงทำให้ผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง
     ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา คือ 1) ผู้บริหาร และสำนักประกันคุณภาพควรผลักดันให้หน่วยงานระดับคณะวิชาใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองในมหาวิทยาลัยอย่างจริงจัง และมีกลไกในการกำกับดูแลการใช้งานระบบดังกล่าวที่ชัดเจน 2) การใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองควรเปิดให้อาจารย์ได้เข้าไปใช้งาน และเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับคณะวิชา แล้วรวมเป็นข้อมูลของมหาวิทยาลัยในที่สุด เพื่อเปิดโอกาสให้อาจารย์ทุกคนได้มีส่วนร่วมในกลไกการประกันคุณภาพแบบบูรณาการอย่างแท้จริง
     ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป คือ 1) ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองในมหาวิทยาลัยควรรองรับการใช้งานตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับคณะวิชา และระดับมหาวิทยาลัยที่สนับสนุนการเชื่อมโยงแฟ้มดิจิทอลออนไลน์ทั้งกับระบบฐานข้อมูลภายใน และภายนอก 2) ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองควรมีฟังก์ชันเผยแพร่รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาที่ผ่านการประเมินโดยผู้ประเมินแล้ว สู่สาธารณชนผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย
+ http://www.yonok.ac.th/sar

5 ธันวาคม 2552 กับคำว่า #WeLoveKing

weloveking in twitter.com
weloveking in twitter.com

มีหลายเหตุการณ์เล่าเรื่องเดียวกันเกี่ยวกับ #WeLoveKing อาทิ 1)มีรายงานข่าวพบว่า คำว่า #WeLoveKing ขึ้นเป็นอันดับ 1 ใน Trendy topics ของ twitter.com 2)Today (Dec 5, 2009) is H.M. Bhumibol Adulyadej, the King Rama IX Birthday of Thailand’s Birthday. Thai people are showing love by pushing the tag to the top of trending topics. 3)หัวหน้าของผมก็ถามว่าเห็นเว็บเพจที่พบคำว่า WeLoveKing ที่หน้าไหน ผมลองค้นดูก็พบว่าเป็นหน้าแรกของ twitter.com เลยครับ แต่เป็นของวันที่ 5 เท่านั้น 4)ใน google.com มีภาพเทียนชัยถวายพระพรด้านบนของเว็บเพจ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในครั้งนี้
+ http://twitter.com/search?q=%23WeLoveKing
+ http://tungblog.atikomtrirat.com
+ http://www.whatthetrend.com/trend/%23WeLoveKing
+ http://www.nationmultimedia.com

ปรับ captcha ของ phpbb3 สู้กับ sex bot script

ผลปรับ captcha
ผลปรับ captcha

7 ธ.ค.52 วันนี้เวลาประมาณ 07:21AM. ได้รับแจ้งจาก อ.วิเชพ ใจบุญ ว่ามีศิษย์เก่าแจ้งให้ทราบว่าเว็บบอร์ดถูก bot ยิงภาพโป๊เข้ามาในระบบเว็บบอร์ดของมหาวิทยาลัย เมื่อเวลาผ่านไปสักพักผมได้หารือกับคุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ พบว่า เว็บบอร์ดที่ถูกยิงใช้ script ของ phpbb รุ่น 3.0.1 เพื่อทบทวนกันแล้วพบทางเลือก 3 ทางคือ 1)upgrade script จากphpbb 3.01 เป็น 3.06 ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่า script ใหม่ แต่นโยบายเก่าจะกัน bot ได้หรือไม่ 2)ปิดการ post ผ่าน user ที่ไม่ต้อง register ซึ่งปัจจุบันระบบเปิดให้คนทั่วไปที่ไม่ต้องสมัครสมาชิก สามารถ post ได้ รวมถึงผู้มีข้อเสนอแนะ นักเรียน หรือผู้ปกครองที่สนใจจะส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบจะได้สะดวก โดยไม่จำเป็นต้องถูกบังคับให้แสดงตัวตน 3)เพิ่มลายน้ำ และปรับ captcha ทำให้ sex bot อ่านข้อความจากภาพได้ยากขึ้น
     สรุปว่าผมเลือกทางเลือกที่ 3 คือเพิ่มลายน้ำให้ถี่ขึ้นในระดับ 10 Pixel และแก้ script ของ captcha_gd.php 2 จุดคือ 1)ขยายภาพ captcha ทำให้ bot มาตรฐานไม่รู้จัก บรรทัดที่ 27 – 28 2)เพิ่มวงกลมไปหลายสิบวงหลอกให้ bot มองเป็นตัวอักษรในภาพ บรรทัด 122 – 124 ก็จะดูว่าพรุ่งนี้จะมี bot ยิงเข้ามาหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องทบทวนทางเลือกกันใหม่
+ http://www.thaiall.com/omni/phpbb3_captcha_gd_php.txt

เตรียม ทบทวน นำเสนอ ติดตามผลการปรับปรุงกับน.ศ.วิจัยท้องถิ่น

4 วันของนักศึกษาโยนกที่รับทุน cbpus
4 วันของนักศึกษาโยนกที่รับทุน cbpus

มี 4 กิจกรรมที่น.ศ. cbpus ทำในช่วงนี้ เพราะนอกจากจะต้องทำงานกับ สกว. แล้ว ยังต้องเตรียมความพร้อมนำเสนองานวิจัยท้องถิ่นกับ อ.วิเชพ ใจบุญ และ อ.เกศริน อินเพลา ในอีก 3 เดือนข้างหน้าไปพร้อมกัน แต่งานสำคัญเร่งด่วนคือรายงานความก้าวหน้ารอบ 3  เดือนที่ผ่านมา ณ มจร.บุญวาทย์ ลำปาง
     22 พ.ย.52 เตรียมเอกสารที่จะนำเสนอในเวทีสกว.ลำปาง กรกับปราง นำฟอร์มที่ต้องส่ง และกิจกรรมทั้งหมดที่เคยทำ มาทบทวน ซึ่งวันนี้ผมสะดวกในทุ่งนา เพราะอยู่ในช่วงเกี่ยวข้าว มีประเด็นพูดคุยคือ 1)ผลการประชุมกับชุมชน และการทำงานที่ผ่านมา 2)จำนวนฟอร์ม การให้รายละเอียดในแต่ละฟอร์มที่สกว. กำหนดมา 3)ขอบเขตข้อมูลที่จะนำเสนอในแต่ละฟอร์ม 4)ทบทวนกิจกรรมวิจัยตามแผน 5)กำหนดตารางเข้าเก็บงานในพื้นที่ไปพร้อมกับทำเอกสารเสนอสกว.
     26 พ.ย.52 ทบทวนเพื่อเตรียมรายงานความก้าวหน้าด้วย powerpoint มีประเด็นพูดคุยคือ 1)ประเด็นปัญหาจากการจัดทำเอกสารอย่างรีบเร่งและต้องส่งให้ผู้วิพากษ์โดยเร็ว จึงไม่ได้ทบทวนอีกครั้งในทีมวิจัยของเรา 2)ทบทวนกิจกรรมทีละประเด็น เพื่อทำความเข้าใจสำหรับนำเสนอในเวทีมจร. 3)กำหนดกรอบ powerpoint ที่จะนำเสนอ ทีละ slide ในแต่ละกลุ่มประเด็น
     28 พ.ย.52 นำเสนอต่อผู้วิพากษ์ ในครั้งนี้มี อ.มหาวิทยาลัยโยนกร่วมเป็นผู้วิพากษ์ 2 คนคือ อ.กฤตภาส เสมอพิทักษ์ และอ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์  ผลการวิพากษ์ผ่านไปด้วยความราบรื่น เพราะเตรียมรายละเอียดของกิจกรรมชัดเจนที่จะทำให้โครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ แต่สิ่งที่ต้องปรับปรุงคือ 1)เอกสารควรมีรายละเอียดตรงกับกิจกรรมที่ทำจริงมากกว่านี้ การเข้าพบชุมชนมากกว่า 10 ครั้งไม่พบการอธิบายรายละเอียดกิจกรรมย่อยในกิจกรรมหลัก ถ้ามีรายละเอียดก็จะทำให้เข้าใจการทำงาน และสัมพันธ์กับภาพกิจกรรมที่นำเสนอ 2)ข้อความในเอกสารขาดการตรวจสอบอยู่มาก ต้องปรับปรุงเป็นรุ่นต่อ ๆ ไปให้สมบูรณ์ 3)ขาดการอธิบายกระบวนการที่ได้มาซึ่ง 3.1)ทำไมต้องใช้ซีดีสองแผ่น 3.2)story board 3.3)script 3.4)บทวิเคราะห์ script 4)งานที่ทำมี 2 มาตรฐานคือ 4.1)นำเสนอต่อสกว. ตามกิจกรรทั้ง 8 ที่วางแผนไว้ 4.2)แต่ทั้ง 8 กิจกรรมไม่มีส่วนที่ต้องเตรียมนำเสนอต่อกรรมการ ได้แก่ อ.วิเชพ ใจบุญ และอ.เกศริน อินเพลา ที่ต้องแสดงขอบเขต นโยบาย โครงสร้างข้อมูล และตัวอย่างจอภาพ เป็นอย่างน้อย (วันนี้อยู่เป็นผู้วิพากษ์ได้ครึ่งวันเพราะไปร่วมงานรับปริญญาน้องสาวที่เชียงใหม่กับครอบครัว)
     5 ธ.ค.52 ติดตามผลการปรับปรุงและตารางกิจกรรมในหมู่บ้าน 1)จดโดเมนเนมโครงการคือ ldy69.com ซึ่งใช้เงินส่วนตัวของนักศึกษา เพื่อเตรียมนำเสนอต่อกรรมการผู้สอบในมหาวิทยาลัย 2)ถ่ายวีดีโอนักวิจัยเพิ่มเติมที่บ้านอาจารย์นักวิจัย ซึ่งมีปัญหาเรื่องเสียงรบกวน และการจำบท 3)วิพากษ์วีดีโอชุดจริงทั้งหมดที่เก็บมา เพื่อวางแผนเข้าเก็บวีดีโอที่ต้องปรับปรุงหรือเปลี่ยนวิธีการ 4)ทบทวนกิจกรรม และนัดหมายตามงานครั้งต่อไปวันที่ 12 ธ.ค.52
+ http://www.thaiall.com/research/cbpus52/student_report_3m.zip (14 MB รวม doc+ppt)

สังคมเสื่อมเพราะคนมีคม ตัวอย่างจาก 2 คน 2 คม

4 ธ.ค.52 ภาพยนต์เรื่อง 2 คน 2 คม ที่มีตัวตนจริงในสังคมใดย่อมหมายถึงความเสื่อมที่ซ่อนบ่มใน สังคมนั้น 1)คมหนึ่งที่ดูภายนอกเป็นคนดี แต่อันที่จริงเป็นคนร้าย คอยทำลายสังคมที่สงบให้ปั่นป่วน 2)คมที่สองที่ดูภายนอกเป็นคนร้าย แต่ก็พยายามทำสิ่งดีเพื่อสังคม หวังว่าสังคมจะสงบสุขและน่าอยู่ อันที่จริงคนทั้งสองต่างมีอัตตา มีความมุ่งมั่นในวิถีการดำรงชีวิตของตน เป็นธรรมดาของโลกและของทุกสังคมที่มีคนหลายประเภท ดังนั้นทุกประเทศต้องมีตำรวจ และทหาร เพื่อรักษาความสงบไม่ให้คมที่อยู่ในตัวคนออกมาแสดงบทบาทเชือดเฉือนคนรอบตัวจนเกินพอดี วันใดคนมีคมสองคนที่มีความเห็นไม่ลงรอยกัน ขัดผลประโยชน์ ขัดหูขัดตา ย่อมเกิดโทสะทำให้สังคมลุกเป็นไฟ และคนในสังคมนั้นก็จะไม่สงบสุขอย่างเช่น เสื้อเหลือง เสื้อแดง
     ผลประโยชน์ของสังคมส่วนรวม กลายเป็นเรื่องรอง ถ้าคนสองคมมาเผชิญหน้ากัน ถ้าคมหนึ่งเป็นผู้มีอำนาจในบางเรื่อง แต่ไม่ใช้เหตุผลเป็นฐานคิด อาจเลือกปฏิบัติไปในทางที่ทำให้สังคมเสื่อมเสีย เพราะมองเห็นอีกคมหนึ่งเป็นศัตรู ไม่ต้องการความช่วยเหลือ ไม่ต้องการเสวนาด้วย เหมือนทหารที่พยายามดับเพลิงด้วยปาก โดยไม่ขอความช่วยเหลือจากพนักงานดับเพลิงที่มีน้ำอยู่เต็มคันรถ แล้วทุกคนก็ยืนดูเพลิงเผาผลาญทุกอย่างให้วอดวายไปอย่างน่าเสียดาย  ตามประสา “คนเชียร์มวย” ที่มีความสุขที่เห็นผู้ประทะกันอย่างมีความสุข
     ถ้าอีกคมหนึ่งมีทรัพยากรที่สังคมต้องการไว้ในครอบครอง แต่ไม่ถูกร้องขอจาก ผู้ควบคุม อย่างเช่นพนักงานดับเพลิงที่ไม่อาจเข้าไปดับเพลิงในค่ายทหาร เพราะไม่ได้รับอนุญาตไม่ว่ากรณีใด ถ้าเข้าไปเป็นเจอคุก นายทหารอาจยึดกฎ ยึดหลักการของตนอย่างไม่สมเหตุสมผล ก็เป็นอภิสิทธิ์ที่พวกเขากระทำได้ แต่ผลสุดท้ายค่ายทหาร และชุมชนรอบค่าย ครอบครัวทหาร ก็จะได้รับผลกระทบกันไปหมด และในจำนวนนั้นก็อาจมีญาติพี่น้องของพนักงานดับเพลิงรวมอยู่ ปัญหาทั้งหมดเกิดเพียงเพราะผู้บังคับบัญชาค่ายทหารมีอัตตาไม่ลงรอยกับผู้อำนวยการสำนักดับเพลิง และพนักงานดับเพลิงก็กลัวคุก ถ้าทุกคนยึดมั่นในประโยชน์สูงสุดของสังคมแล้ว สังคมที่เราอยู่ก็คงจะเป็นสุข .. นี่คือเรื่องเล่าที่เรียนรู้มาจากภาพยนต์

สรุปผลการวิจัย 1/9 ตอน ของ sar51

4 ธ.ค.52 โครงการวิจัยพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองปีการศึกษา 2551
     สรุปผลการวิจัยตอนที่ 1 ใน 9 ตอน ส่วนของผลการวิเคราะห์สถานการณ์ระบบฯ  พบว่า การพัฒนาระบบฐานข้อมูลในมหาวิทยาลัยผ่านกระบวนการวิจัย ทำให้สอดรับกับตัวบ่งชี้คุณภาพอย่างน้อย 4 ตัวบ่งชี้ คือ 1)ตัวบ่งชี้ 4.1 มีการพัฒนาระบบและกลไกในการสนับสนุนการผลิตงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ 2)ตัวบ่งชี้ 7.5 ศักยภาพของระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร การเรียนการสอน และการวิจัย 3)ตัวบ่งชี้ 9.1 มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา 4)ตัวบ่งชี้ 9.3 ระดับความสำเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
     ผลต่อตัวบ่งชี้ 4.1 คือ แสดงให้เห็นว่าคณะวิชามีบทบาท มีส่วนร่วมในการดำเนินการตามระบบ และกลไกที่ส่งบุคลากรเข้าร่วมเป็นทีมวิจัยโครงการวิจัยบูรณาการในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองของมหาวิทยาลัย แล้วนำระบบที่พัฒนาขึ้นกลับไปใช้ประโยชน์ในคณะวิชาอย่างต่อเนื่อง
     ผลต่อตัวบ่งชี้ 7.5 คือ คณะวิชามีส่วนพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ เพื่อเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน แล้วใช้ประโยชน์จากรายงานที่ได้ อาทิ ตารางสรุปผลทั้ง 4 ประเภทไปช่วยในการตัดสินใจพัฒนาคุณภาพการศึกษาของคณะอย่างต่อเนื่อง
     ผลต่อตัวบ่งชี้ 9.1 คือ คณะวิชามีส่วนร่วมพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศที่สนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาและใช้ร่วมกันในมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องมาแล้วเป็นปีที่สอง
     ผลต่อตัวบ่งชี้ 9.3 คือ คณะวิชาได้รายงานผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสู่สาธารณชนภายในเวลาที่กำหนด ผ่านระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองที่คณะวิชามีส่วนร่วมในการพัฒนาเพื่อใช้งานในมหาวิทยาลัยเป็นปีที่สอง
     สำหรับการดำเนินการ นำเสนอผลการประกันคุณภาพสู่สาธารณชน อยู่ขั้นตอนการพัฒนารายละเอียด และขออนุมัติผู้บริหาร ซึ่งมีตัวอย่างที่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ เผยแพร่สู่สาธารณะ ดังนี้
http://science.psru.ac.th/sar/ocomponent1_1.php
+ http://fis.swu.ac.th/QAsar/linkdetail.asp?fisyear=&fc=MDCH&parentid=20&num=4&nodenum=7.5
+ http://www.nsru.ac.th/aritc/sar51/7_5.htm
+ http://www.ams.cmu.ac.th/depts/qa/WSAR50/KPI50/7/aong7.5.htm
+ http://www.bcnnv.ac.th/manage/StandardDetail.php?code=244
+ http://www.pnc.ac.th/manage/StandardDetail.php?code=47
+ http://sci.skru.ac.th/science/sciquanlity/sar51/sarpointer7_5.php
+ http://202.183.204.134/manage/StandardDetail.php?code=99
+ http://202.29.80.19/~sar/acomponent3_4.php
+ http://www.techno.msu.ac.th/SAR/007/p7_05.htm
+ http://www.ubu.ac.th/~softset/qaocn50/act50_751.php

ขั้นตอนการทำ KM ให้ได้คะแนนประกัน และถูกตามหลักสากล

1 ธ.ค.52 ช่วงนี้หารือกับอาจารย์อติชาต หาญชาญชัย เรื่องเขียนแผน KM ของคณะบ่อยครั้ง ท่านทำให้ผมได้เรียนรู้ว่า ขั้นตอนสำหรับการจัดทำตามแผน KM มีอย่างน้อย 5 ขั้นตอนในเบื้องต้น คือ 1)ระบุว่าทำ KM เรื่องอะไร 2)เป้าหมายของแผน KM คืออะไร 3)หน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรมคืออะไร 4)ควรยึดแนวกระบวนการ KM ที่ได้รับการยอมรับ ซึ่งพบว่ามีผู้เชี่ยวชาญนำเสนอกระบวนการไว้ 3 แนว ได้แก่ของ 4.1)กพร. 4.2)ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช 4.3)ดร.ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์ สำหรับม.โยนกใช้แนวของ กพร. เพราะมีคู่มือ และแบบฟอร์มที่ใช้กันทั่วไป 5)แต่ละกิจกรรมตามแผน KM ต้องมีตัวบ่งชี้และเป้าหมาย เมื่อดำเนินการตามแผน ต้องมีหลักฐานว่าได้ผลเป็นอย่างไรตามเป้าหมายของกิจกรรม
     เพราะในการประกันคุณภาพของ สกอ. ตัวบ่งชี้ 7.3 เกณฑ์ที่ 3 ระบุว่า “มีการดำเนินการตามแผนจัดการความรู้และประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ร้อยละ ๑๐๐” ทั้งหมดที่เขียนมาก็เพื่อ 3 คะแนนในตัวบ่งชี้นี้
+ http://www.thaiall.com/km/handbook_2549.doc
+ http://www.thaiall.com/km/indexo.html
+ http://202.183.204.134/manage/StandardDetail.php?code=94

ประเมินประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และความพึงพอใจของ DB

26 พ.ย.52 วันนี้ไปประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลรวม 15 คน ใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมงครึ่ง โดยผมยกร่าง ตารางการเข้าประเมินระบบฐานข้อมูล และแบบประเมินทั้ง 3 ประเภทได้แก่ 1)แบบประเมินประสิทธิภาพ 2)แบบประเมินความปลอดภัย และ 3)แบบประเมินความพึงพอใจ ก็มีเรื่องให้ประหลาดใจว่า กรรมการไม่ติดใจเรื่องของแบบประเมินมากนัก เมื่ออธิบายในประเด็นที่มีข้อสงสัยก็เข้าใจกันทุกคน
     แต่มาติดใจตั้งแต่ 2 ระบบแรก ตามข้อมูลใน ตารางเข้าประเมินระบบฐานข้อมูล เรื่อง การประเมินที่ขึ้นกับชื่อระบบในประเด็นที่สัมพันธ์ กับ ความหมายของคำว่าระบบฐานข้อมูลออนไลน์ ซึ่งอธิบายให้ทุกคนได้คลายข้อสงสัยว่า ระบบฐานข้อมูลแบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่ 1)ผู้ส่งข้อมูลเข้า (Input) 2)การประมวลผลหรือกระบวนการทำงาน (Process) และ 3)ผู้รับข้อมูลไปใช้ประโยชน์ (Output) โดยการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยจะจัดทีมที่เข้าใจเข้าไปประเมินทีละระบบ ซึ่งประเมินในส่วนของ การประมวลผลหรือกระบวนการทำงาน (Process)
     แต่การประเมินความพึงพอใจ จะประเมิน Input กับ Output ซึ่งไม่จำเป็นที่ผู้ตอบแบบสอบถาม ต้องสัมผัสกับเครื่องบริการโดยตรง หรือไม่จำเป็นที่ระบบนั้นต้องเป็นออนไลน์ กว่าจะคลายข้อสงสัยได้ก็ใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมง แต่ผมก็ว่าคุ้ม เพราะถ้าวันนี้ทุกคนเข้าใจ งานก็จะเดิน การประเมินตามแผนการประกันคุณภาพการศึกษา และการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง ก็จะไม่สะดุด ถือว่าวันนี้คุ้มที่ได้เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนบุคลากร

ประชุมเสร็จผมก็ทำหนังสือแจ้งกำหนดการ
๑. หน่วยงานที่ดูแลระบบฐานข้อมูลเตรียมความพร้อมรับการประเมิน 
     ๓๐ พ.ย.–๔ ธ.ค.๕๒
๒. ทีมประเมินประสิทธิภาพ และความปลอดภัยเข้าประเมินฯ  
     ๒ ธ.ค.–๑๑ ธ.ค.๕๒
๓. เจ้าหน้าที่ IT เก็บข้อมูลการประเมินความพึงพอใจฯ   
     ๓๐ พ.ย.–๑๑ ธ.ค.๕๒
๔. เจ้าหน้าที่ IT สรุปผลและจัดทำรายงานการประเมินส่งให้หน่วยงาน 
     ๓๐ ธ.ค.๕๒
๕. คณะกรรมการฯ ประชุมวิพากษ์ผลประเมินและแบบประเมิน  
     ก.พ.๕๓

     วันนี้ผมยกให้กับ อ.แดน เป็นพระเอกในเวที เพราะท่านช่วยให้ความกระจ่าง ช่วยให้เวทีผ่อนคลายอย่างได้ผล ช่วยให้การโต้เถียงที่รุนแรงลดลง เพราะในเวทีมีหลายท่านกล้าพูด กล้าคิดในมุมของตน กล้าออกนอกกรอบ ด้วยผมก็รู้ว่าทุกคนมีเจตนาดี และแล้วก็กลับเข้าที่เข้าทาง ยังมีอีกหลายท่านก็พยายามช่วยกันกำกับเวที ทั้ง อ.นุ้ย และน้องแบงค์ ก็ขอบคุณด้วยเช่นกันที่ทำให้การประเมินครั้งที่ไม่ล้มไปซะก่อน
http://www.thaiall.com/yonok/52_project_poll_database_v3.doc