ปรับแก้ config ระบบ wamp ของ thaiabc80 ให้ mysql กลับมาทำงาน

เล่า 2 เรื่อง ให้ลูกศิษย์ 2 รุ่นได้ฟังก่อนจบ
ดูฤกษ์แล้ว วันนี้ 17 กุมภาพันธ์ 2564 ติดตั้ง “โปรแกรมแก้วสารพัดนึก” อีกครั้ง (thaiabc80) โดยมีความเชื่อว่าน่าจะยังใช้งานได้บน win 10 หลังจากที่เคยปล่อยรุ่นสุดท้ายเมื่อ 7 พฤษภาคม 2555 (หยุดพัฒนาไปเกือบ 10 ปี) ซึ่งใช้มีโปรแกรมตัวหลัก คือ Apache 2.0.52 , PHP 5.2.5 , MySQL 5.5.16 พบว่า การติดตั้งราบรื่นด้วยดี เพียงกด next อย่างเดียว ก็จะได้แฟ้มทั้งหมดใน thaiabc บน drive c หลังติดตั้งเสร็จ ได้สั่ง start ทั้ง apache และ mysql ผ่าน icon บน desktop แล้วเปิดระบบโปรแกรมต่าง ๆ ทั้ง 12 โปรแกรม ผ่าน 127.0.0.1 บน browser ผลลัพธ์ผิดจากที่คาดไว้เยอะ คือ ล้มทุกตัว ดูแล้วน่าจะเป็นเพราะ mysql ไม่ start แต่ตรวจสอบแล้ว mysql ก็ start ได้ปกตินี่นา เพราะสั่งแสดงรายชื่อ database ได้ครบถ้วน ผ่าน command line ซึ่งเป็นการทำงานแยกส่วนกับ web server จึงใช้คำสั่งบนดอสสั่งตรวจสอบ module ด้วย php -m พบว่าขึ้น Warning หลายรายการ หนึ่งในนั้นได้พยายามเรียกใช้ php_mysql.dll จาก c:\windows\ext จึงเข้าไปตรวจสอบ php.ini ว่าเรียก php_mysql.dll ถูกต้องหรือไม่ ก็พบว่ากำหนด extension_dir ให้ชี้ไปยังห้อง windows แต่ระบบไม่ได้คัดลอกแฟ้ม extension ทั้งหมดไปไว้ในห้องนั้น จึงแก้ไขให้ extension_dir ชี้ไปที่ c:\thaiabc\php\ext ซึ่งเป็น folder ที่เก็บแฟ้ม module ทั้งหมด หลังจากนั้นระบบทั้ง 12 ระบบก็ตื่นขึ้น แต่ทดสอบบน win8.1 พบว่า phpmyadmin ถูกเรียกใช้ได้ปกติ ส่วนบน win10 มีปัญหาเรื่องค่า session ทำให้เปิด phpmyadmin ไม่ได้ จึงต้องไปเพิ่ม “c:\thaiabc\apahce2\error” ให้กับตัวแปร session_save_path ใน php.ini ซึ่งระบบทั้ง 12 ประกอบด้วย

  1. moodle
  2. moodle19
  3. learnsquare v2
  4. mambo
  5. oscommerce
  6. wordpress
  7. drupal
  8. calendar
  9. phpicalendar
  10. phpbb3
  11. senayan3
  12. phpmyadmin

ที่มารื้อฟื้นโปรแกรมแก้วสารพัดนึก มาติดตั้งใหม่ในวันนี้ เพราะไปเล่าให้ลูกศิษย์ฟัง จึงต้องกลับมาตรวจสอบว่ารุ่น 8.0 นั้น ยังทำงานได้บน win10 หรือไม่ และติดพันกับการอ่านข้อเสนอโครงงานของลูกศิษย์สาว 2 คนที่ไปฝึกงานที่โรงพยาบาล เค้าสนใจใช้อุปกรณ์ IoT วัดอุณหภูมิในตู้เก็บของ ทำให้นึกถึง Nodemcu Esp8266 ที่บันทึกและส่งค่าอุณหภูมิ ขึ้นไปยัง thingspeak.com เพื่อแสดงรายงาน และเชื่อมกับ IFTTT.com เพื่อส่งข้อมูลไปแจ้งเตือนบน Line ซึ่งสรุปได้ว่า ชีวิตคือการเรียนรู้

https://www.mathworks.com/help/thingspeak/use-ifttt-to-send-text-message-notification.html

https://www.ab.in.th/article/36/

#เล่าสู่กันฟัง 63-071 Cal state จะเปิดสอนออนไลน์ สิงหาคม ถึงธันวาคม 2563

13 พ.ค.63 อ่านข่าวใน VOA
https://learningenglish.voanews.com/a/us-largest-university-cal-state-moves-fall-classes-online/5418460.html

พบว่า Chancellor Timothy ให้ข่าวว่า California State University ที่มีระบบมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา มี 23 แคมปัส มีนักศึกษาเกือบ 500000 คน มีอาจารย์เจ้าหน้าที่กว่า 52000 คน จะปรับการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์ สำหรับ ภาคเรียนฤดูใบไม้ร่วงนี้ (Fall season) ช่วงสิงหาคม ถึงธันวาคม 2563 นักศึกษา และอาจารย์จะกลับเข้ามหาวิทยาลัยปี 2564 ในบางมหาวิทยาลัย เช่น University of Pennsylvania and University of California at Berkeley ก็อาจจะสอนออนไลน์ ส่วน Stanford, Princeton and the University of Chicago รอข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่านี้ก่อนตัดสินใจอีกครั้ง

http://www.thaiall.com/covid-19/

#เล่าสู่กันฟัง 63-068 เล่าเรื่อง markdown ใน github.com

เนื่องจาก markdown ได้รับการสนับสนุนใน github.com จึงสร้าง repository ชื่อ markdown
ไว้เก็บผลงาน slide และแบ่งปัน ซึ่งมีเนื้อหาหน่วยการเรียนรู้ และหัวข้อ ที่จะนำไปแปลงผ่านโปรแกรม pandoc เพื่อจัดทำเป็น powerpoint
ซึ่งสร้าง repository เป็น public และ check box ให้ Initialize this repository with a README
ผลลัพธ์คือข้อมูลในช่อง Description ถูกนำไปใส่ในแฟ้ม README.md และกลายเป็นข้อมูลหน้าแรกของ Repository
จากนั้นเข้า Settings จาก MenuBar แล้ว Scroll down ลงมาหากคำว่า GitHub Pages
เลือก Source เป็น master branch แล้วเลือก Theme เป็น Architect จากนั้นระบบจะพาไปสร้างแฟ้ม README.md ซึ่งทับแฟ้มเดิมที่มี description
แล้วกด commit changes
ผล คือ พบ description ของ repository ปรากฎที่ด้านบน เมื่อเข้าสู่ repository และพบรายการ code ทั้งหมดด้านล่างลงมา
ส่วนแฟ้ม README.md นั้น ได้ถูกแทนที่ด้วยคำแนะนำในการเขียน Markdown บน Github Page ไปแล้ว
และมีแฟ้ม _config.yml ที่มีข้อความเพียงบรรทัดเดียว คือ theme: jekyll-theme-architect ซึ่งกำหนด theme สำหรับแสดงผลใน github.io
เมื่อเปิด https://thaiall.github.io/markdown พบว่ารูปแบบเป็นไปตาม theme ชื่อ architect
จากนั้นอัพโหลดแฟ้ม code ชื่อ hci_all.md และ tec_all.md
ซึ่งต้องเปิดใน github.com จะมีการแสดงผลที่ผ่านการ convert เป็น html แล้ว
แต่ถ้าเปิดผ่าน github.com จะยังเห็นเป็นข้อมูลแบบ markdown อยู่
เช่น https://github.com/thaiall/markdown/blob/master/hci_all.md

มนุษย์มีภาษาหลายหลายใช้ในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน
แล้วช่วยให้คนเรามีปฏิสัมพันธ์กันได้

หนังสือ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับมนุษย์ ISBN 978-974-9781-26-5 มี 282 หน้า เขียนโดย ผศ.ดร.วรลักษณ์ วงศ์โดยหวัง ศิริเจริญ ปรับปรุงครั้งที 5 เมื่อ 15 สิงหาคม 2557 พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2559 [Order – Aug 2559] ท่านเป็นอาจารย์สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

#เล่าสู่กันฟัง 63-063 ดูทีวีไป ก็ Work From Home ทำ VDO on Demand กัน

Camtasia ช่วงนี้มีสอนออนไลน์ มีเรียนจากบ้าน (Learn From Home) มีทำงานจากบ้าน (Work From Home) นอกจาก Meeting, Live, และ e-Learning แล้ว คำว่า VDO on Demand ก็ถูกพูดถึงกันมาก คือ การที่คุณครูนั่งสอนผ่าน Powerpoint แล้วบันทึกวีดีโอ ขนาดของจอภาพก็สำคัญ

1) ต้องกำหนดใน Powerpoint เป็น 16:9 จะได้เห็นเต็มจอทีวีได้

2) กำหนดใน camtasia ส่งออกเป็น 1280 * 720 ซึ่งขนาดใหญ่สุดแบบ 16:9 พร้อมส่งเข้า Youtube.com

3) Display dimension ของ windows ถ้ากำหนดเป็น 1280 * 720 ซึ่งต่ำมากกับจอสมัยนี้

ก็จะทำให้ตอนสั่ง Slide Full Screen ไม่ต้องมีขอบดำด้านบน หรือด้านข้าง แล้วตัดต่อใน Camtasia ก็ไม่ต้องกังวล ให้ใส่ใจกับ marker และการทำ zoom in zoom out ดีกว่า

#เล่าสู่กันฟัง 63-061 เล่าในรูปแบบภาษา Markdown

เชื่อว่าหลังปี ค.ศ. 2020 โลกแห่งการบอกเล่าเรื่องราว (Story Telling) อย่างมีรูปแบบ (Formatting) มีแนวโน้มใช้ภาษา Markdown กันมากขึ้น เพราะเขียนเล่าเรื่องได้ง่าย (Lightweight Format) นำไปใช้ต่อได้หลากหลายรูปแบบ พบการใช้งานใน github.com และ facebook.com และ wordpress.com มีรูปแบบพื้นฐานให้ใช้งาน สำหรับแปลงเป็นภาษาเอชทีเอ็มแอลได้ทันที อาทิ กำหนดส่วนหัวหลายระดับ เขียนลำดับข้อมูล ลำดับหัวข้อ ทำย่อหน้าได้ อ้างอิงคำพูด (Block Quote) เป็นต้น

ผลจากวิกฤตไวรัสโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมการทำงาน การเรียน การใช้ชีวิต เปลี่ยนไปเป็น Work From Home (WFH) หรือ Learn From Home (LFH) กันมากขึ้น การบอกเล่าผ่านการเขียน (Writing) จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากขึ้น และน่าจะมีแนวโน้มสื่อสารผ่านการเขียนเพิ่มขึ้น การเขียนที่มีรูปแบบ (Format) ย่อมสื่อสารเนื้อหา (Content) ให้เข้าใจได้ง่ายกว่าการเขียนที่ไม่มีรูปแบบ (No format) และนำไปแปลงร่างเป็นรูปแบบอื่นได้ยากกว่า (Transform)

รูปแบบ Markdown สามารถแปลงไปเป็นเว็บเพจให้เข้าใจได้ง่าย (Webpage .html) ผ่าน Parsedown.php หรือแปลงไปเป็น PDF หรือ Powerpoint สำหรับการใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน ด้วยโปรแกรมช่วยแปลง (Converter) คือ โปรแกรม Marp หรือ Pandoc ที่ทำให้การแปลงร่างจากเนื้อหาภาษา Markdown ไปเป็น PPTX เพื่อใช้สื่อนำเสนอในห้องเรียนทำได้อย่างรวดเร็ว โดยโฮมเพจหน้านี้ ผมได้รวบรวมหัวข้อที่น่าสนใจ และนำเสนอผ่าน Webpage แล้วเป้าหมายต่อไปคือการแปลงร่างเป็น Powerpoint ซึ่งจะพบร่องรอยผลงานมาให้ดาวน์โหลดส่วนหนึ่ง

#เล่าสู่กันฟัง 63-035 ระบบรับทราบหลักสูตร ของประเทศไทย

ชวนอ่านข้อมูลใน #ระบบรับทราบหลักสูตร ของประเทศไทย
สามารถค้นตามชื่อหลักสูตร ชื่อคณะ หรือชื่อหน่วยงาน
พบข้อมูลแบ่งเป็น 3 ส่วน ซึ่งเข้าถึงโดยไม่ต้อง login
ข้อมูลเหล่านี้เผยแพร่ทั่วไปเป็นสาธารณะ เพื่อการศึกษา


ส่วนที่ 1 ข้อมูลหลัก ที่น่าสนใจคือจำนวนหน่วยกิตใน 1.3
1.1 รหัสและชื่อหลักสูตร
1.2 ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
1.3 ข้อมูลประกอบ

ส่วนที 2 การอนุมัติ ที่น่าสนใจคือชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบและอาจารย์ประจำหลักสูตร
1.4 สถานภาพหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
1.5 ระบบจัดการศึกษา

ส่วนที่ 3 นอกจากแนบมคอ.2 ให้ดาวน์โหลดแล้ว ยังมี Learning Outcomes แยกรายปี
1.6 ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (ผลการเรียนรู้: Learning Outcomes)
1.7 คุณสมบัติผู้เรียน
1.8 จำนวนนิสิต
1.9 เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
1.10 เอกสารแนบ

http://202.44.139.57/checo/default.aspx
http://202.44.139.57/checo/UnivSummary2.aspx?id=25521311106617_IP&b=0&u=13100&y=
http://202.44.139.57/checo/frm_report_listcurr.aspx?s=P
http://www.cheqa.mua.go.th/checo2/frm_report_listcurr.aspx?s=E

ตัวอย่างข้อมูลที่น่าสนใจ ของหลักสูตรหนึ่ง
1.6.3 ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา
ปีที่ 1 นิสิตได้ฝึกประสบการณ์ ในการปรับตัวให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมใหม่ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน รุ่นพี่ และอาจารย์ มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบต่อการเรียน ได้รับทักษะความรู้พื้นฐานในวิชาศึกษาทั่วไป และพื้นฐานวิชาทางด้านคอมพิวเตอร์ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับทักษะ ศาสตร์วิชาที่สูงขึ้น
ปีที 2 มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่เฉพาะเจาะจง มีทักษะด้านเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟ์ตแวร์ ได้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีปัจจุบัน มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ มีทักษะด้านฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์
ปีที่ 3 มีทักษะทางด้านการใช้งานเครื่องมือทางคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ มีทักษะในศาสตร์วิชาที่สูงขึ้น ด้านองค์การและระบบสารสนเทศ ด้านเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์ ด้านเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟ์ตแวร์ และด้านโครงสร้างพื้นฐานของระบบ
ปีที่ 4 มีทักษะจากการฝึกประสบการณ์จริงในสถานประกอบการ สามารถปรับตัวและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการฝึกปฎิบัติงานได้ มีความสามารถในการบูรณาการความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการทำโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์

คุณครูก็เยอะ นักเรียนก็แยะ มีประเด็นที่เค้าแบ่งปันกันมา

เคยได้ยินมาว่า
ถ้าใช้เทคนิควิธีการสอนอย่างสร้างสรรค์
ทั้งครู และนักเรียน ก็จะ happy และเรียนรู้เรื่อง

ก็จริงของเค้า แต่มีหลายมุมให้มอง
ก็จริงของเค้า แต่มีหลายมุมให้มอง

ถ้าในสังคมหนึ่ง เด็กเรียนกับครูที่เปิดสไลด์
เรื่องสร้างสรรค์ ความรู้ ความจำ และวินัย
แต่ละสไลด์ ครูจะบรรจงพูดขยายความไปนับสิบนาที
ครูสอนศิษย์ 10 คน
แล้วศิษย์ 8 คน บอกเป็นสไลด์ที่สุดยอด
แล้วศิษย์ 2 คน บอกครูมาอ่านสไลด์ให้ฟัง
ไม่เห็นมีอะไรเลย โหลดสไลด์อ่านเองก็ได้
ผมว่าศิษย์สองคนนี่ก็มีความคิดเป็นของเค้า
อาจไม่ชอบการสอนแบบนี้
อาจต้องการวิธีจัดการเรียนการสอนแบบอื่นที่ดีกว่า
ซึ่งเป็นไปได้ ครูเค้ายังไม่สมบูรณ์แบบสำหรับทุกคน
https://www.facebook.com/universityinreal/photos/a.1529059383995410.1073741829.1527630557471626/1614320385469309/

ธรรมะออนไลน์ของเจ้าคุณพิพิธ (itinlife

ไอทีในชีวิตประจำวัน # 309  ()

ปลายเดือนกันยายน 2554  ผู้เขียนมีโอกาสฟัง พระราชวิจิตรปฏิภาณ (เจ้าคุณพิพิธ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม   กรุงเทพมหานคร บรรยายเรื่อง อย่า 15 อย่า นำมาซึ่งความสามัคคีธรรม ฟังแล้วก็รู้สึกโดนใจ ทันยุค ทันสมัย เข้าถึงใจคนทำงานในยุคคุณปูเป็นนายก แต่ประเด็นมีถึง 15 หัวข้อ แม้จดทันแต่อาจเก็บประเด็นได้ไม่ครบ แล้วท่านก็บอกว่าให้ใช้ MP3 Recorder บันทึกไว้ไ แต่ตอนนั้นไม่มีอุปกรณ์ หลังจากนั้นก็กลับมาปรึกษาอาจารย์กู๋ หรือ google.com แล้วก็พบเว็บไซต์ของพระท่าน คือ katitham.com อ่านเป็นไทยว่า คติธรรมดอทคอม

ความสามัคคีจะเกิดขึ้นได้ คนในองค์กรต้องไม่ประพฤติตัว 15 อย่าง ต่อไปนี้        1) อย่าอวดรู้ 2) อย่าดูแคลน 3) อย่าแสนงอน 4) อย่าซ่อนเงื่อน 5) อย่าเชือนแช 6) อย่าแส่เรื่องของเผือก 7) อย่าเสือกงานของเค้า 8) อย่าเอาแต่งานของตัว 9) อย่ากลัวเขาหาว่า 10) อย่าด่าเจ้านาย 11) อย่าขายความลับ 12) อย่าจ้องจับผิด 13) อย่าคิดไม่ซื่อ 14) อย่าดื้อจนด้าน 15) อย่าค้านจนแค้น ซึ่ง 15 ข้อนี้ถือเป็นข้อพึงระวังและส่งเสริมให้คนในองค์กรมีความสามัคคี แต่ประเด็นเหล่านี้ก็ต้องใช้วิจารณญาณในการพิจารณาอย่างสมเหตุสมผล เพราะถ้าไม่เข้าใจแล้วนำไปใช้เป็นข้ออ้างในการไม่ปฏิบัติงานก็อาจเกิดผลเสียตามมา อาทิ การจัดการความรู้ในองค์กร ก็ต้องสนับสนุนในการเปิดเผยความลับหรือเทคนิคแก่เพื่อนร่วมงาน การนำความรู้ที่ตนมีออกมานำเสนอ การให้ข้อเสนอแนะในประเด็นที่คิดต่างเพื่อการพัฒนา การเข้าไปหนุ่นเสริมช่วยเหลืองานของเพื่อนเพื่อให้องค์กรบรรลุพันธกิจ

ปัจจุบันมีเว็บไซต์เผยแพร่สาระด้านธรรมะในพุทธศาสนาอยู่มากมาย ซึ่ง คติธรรมดอทคอม เป็นเว็บไซต์เก่าแก่ที่จดโดเมนมาตั้งแต่ปี 2549 มีคติธรรมและสื่อการเรียนรู้มากมาย มีทั้งผลงาน บทความ สื่อธรรมะในรูปมัลติมีเดีย อาทิ VCD DVD และ MP3 แล้วท่านก็มีผลงานออกทางทีวีบ่อยครั้งที่คอยเตือนสติทั้งต่อเยาวชน บุคคลทั่วไป นักการเมือง และนักบริหาร อาจเรียกได้ว่า คติธรรมของท่าน เด็กฟังได้ ผู้ใหญ่ฟังดี ผู้บริหารบ้านเมืองก็ยิ่งน่าฟัง

แก้ปัญหาเปิดเว็บเพจไม่ขึ้น เพราะ 8080

30 ก.ย.52 รับแจ้งจากอาจารย์อวุโสว่าพบปัญหาเข้าเว็บเพจที่ใช้ frame ในบางเว็บไซต์ไม่ได้ ทดลองติดตั้ง java runtime ปัญหา ก็ไม่หายไป เมื่อ view source แล้วพบ error message ว่า browser ไม่สนับสนุน ก็คิดว่า ต้องลง browser รุ่นใหม่ จึงจะใช้งานได้ ลองติดตั้ง ie8 ก็ยังเข้าไม่ได้ ..
     อีกสักพัก ผมก็ไปทดสอบกับเครื่องในห้องปฏิบัติการ พบว่า เข้าเว็บไซต์ที่เป็นปัญหาได้ปกติด้วย account ของผมที่มีระดับเป็น admin จึงนึกขึ้นได้ว่า account ที่ใช้ทดสอบที่เครื่องอาจารย์อวุโสนั้น เป็น account ระดับ user เมื่อตรวจสอบลึกลงไปก็พบว่า สิ่งที่แตกต่างของเว็บไซต์ดังกล่าวกับเว็บไซต์ทั่วไปคือเปิด port 8080 ซึ่งเป็น default port ของ java server ทั่วไป เมื่อคุณอนุชิต ยอดใจยา เข้าไปยกเลิกการปิด port ดังกล่าวจาก dhcp server ก็มีผลให้ account ใดใดในระบบสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ดังกล่าวได้
+ http://iutcerral.univ-lyon2.fr/conftool/
+ http://it.yonok.ac.th/anuchit/jre-6u14-windows-i586.zip
+ http://www.thaibg.com
+ http://ie6update.kapook.com/ie8_download.php

pingback and trackback

trackback
trackback

PingBack คืออะไร

ปิงแบล็ค (PingBack) คือ การเชื่อมโยงกลับไปยังบันทึกต้นฉบับ เกิดจากการเขียนลิงค์ในบันทึกที่อยู่ในบล็อก
ของนายบี แล้วระบบบล็อกของนายบี จะแจ้งกลับไปยังบล็อกต้นฉบับของนายเอให้รับทราบ
เมื่อนายเอได้รับข้อความในรูป comment ก็สามารถแก้ไข comment ดังกล่าวได้
แต่ไม่ส่งอะไรกลับไปยังบล็อกของนายบีอีก สรุปได้ 2 ส่วนคือ
1) วางลิงค์ในบันทึกก็จะเป็นการสร้างปิงแบล็คทันที บล็อกจะแจ้งกลับไปยังบล็อกของผู้ถูกอ้างอิงให้รับทราบ ถ้าบล็อกทั้งสองระบบสนับสนุนเทคนิกนี้
2) บันทึกที่มีปิงแบล็คจะส่งลิงค์ของบันทึกและบทคัดย่อกลับไปยังบันทึกต้นฉบับอัตโนมัติ และผู้ดูแลบล็อกต้นฉบับเลือก approve ให้เพิ่มเป็น comment ในบันทึกของตนเอง
เทคโนโลยีการสื่อสารของ pingbacks ใช้   XML-RPC  
       

TrackBack คืออะไร
แทร็กแบล็ค (TrackBack) คือ การเชื่อมโยงระหว่างบันทึกเรื่องเดียวกัน
ประเด็นตรงกัน อาจเขียนต่าง เพิ่ม แก้ไขจากที่มีอยู่หรือเหมือนกันก็ได้
โดยเชื่อมโยงข้อคิดเห็น (Comment) มาใช้ร่วมกันเป็นเครือข่าย สรุปได้ 3 ส่วนคือ
1) บล็อกที่เขียนบันทึกใหม่จะส่งการเชื่อมโยงและบทคัดย่อที่เรียกว่า Excerpt กลับไปให้บันทึกต้นฉบับ
2) เมื่อเพิ่มข้อคิดเห็นในบันทึกใหม่ ระบบจะส่งข้อคิดเห็นไปให้กับบันทึกต้นฉบับที่เป็น TrackBack อัตโนมัติ
3) บล็อกต้องสั่ง approve เพื่อส่งเข้าไปเป็น comment ในบันทึกต้นฉบับ
เทคโนโลยีการสื่อสารของ  trackbacks ใช้  HTTP POST

Link Back มี 3 เทคนิค คือ  
1)Refback  คือ การเขียน link ตามปกติ เมื่อคลิ๊กก็จะไปยังเว็บที่ถูก link แบบนี้ไม่ส่งอะไรให้ linked server
2)Trackback คือ การใส่ link เข้าเครื่องบริการ แล้วจะส่ง notification ไปยัง linked server
สิ่งที่อาจส่งไป คือ site name, post title, post excerpt และ post url
3)Pingback คือ การใส่ link เข้าเครื่องบริการ แล้วจะส่ง notification ไปยัง linked server
โดยใช้ XML-RPC มิได้ใช้  HTTP Post
สิ่งที่ส่งไป คือ linked post URL, Linking post URL

http://en.wikipedia.org/wiki/Linkback

http://blog.kudson.com/bimbim/2008/01/28/%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81-blog-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/

รายละเอียดดีมาก
http://www.optiniche.com/blog/117/wordpress-trackback-tutorial/