รับรอง เทคนิคการแพทย์ และพยาบาลศาสตร์

หลังฟังเพื่อนพูดคุยว่า ผู้ปกครองสมัยนี้ อยู่ในวัยที่มี #สมรรถนะดิจิทัล มีการสอบถาม สืบค้น อ้างอิง จากแหล่งข้อมูล ประกอบกับพบว่า

สภาเทคนิคการแพทย์ ให้การรับรอง #หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (#เทคนิคการแพทย์) มหาวิทยาลัยเนชั่น
และเห็นชอบความเหมาะสมในการเปิดสอนหลักสูตรนี้ ในการประชุมของสภาเทคนิคการแพทย์ ครั้งที่ 5/2562 เมื่อ 19 มิถุนายน 2562

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์)

สภาการพยาบาล ให้ความเห็นชอบ #หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น ในการประชุมของสภาการพยาบาล ครั้งที่ 4/2562 เมื่อ 11 เมษายน 2562
อ้างอิงจาก หน้าข่าวสาร คณะพยาบาลศาสตร์

http://www.nation.ac.th/index.php/th/acts-nursing-science-3


 

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

จึงนำมาแบ่งปัน

ประชุมคณะทำงานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปาง

9 ส.ค.62 มี การประชุมคณะทำงานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปาง ที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลำปาง เวลา 9.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลำปาง โดยคณะทำงานวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ ได้รับการประกาศแต่งตั้งโดย นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง และประธานกรรมการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปาง เมื่อ 18 กรกฎาคม 2562 ซึ่งกรรมการชุดที่แต่งตั้งนี้มีทั้งสิ้น 36 คน มีหน้าที่ 5 ข้อ ดังนี้ 1) รวบรวม ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในพื้นที่จังหวัดลำปาง เพื่อเป็นแนวทางการกำหนดฐานข้อมูล การจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ การวางแผนจัดทำงบประมาณ และการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ 2) กำหนดกรอบฐานข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดลำปาง เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปาง 3) ประสานงานข้อมูลระหว่างหน่วยงาน นำเสนอความสัมพันธ์ของชุดข้อมูล และปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหา ในประเด็นยุทศศาสตร์ที่น่าสนใจ ปัจจัยความสำเร็จ ตัวชี้วัด เพื่อกำหนดข้อมูลสารสนเทศ และ สร้างความเข้าใจแนวทางการกำหนดฐานข้อมูล การออกแบบระบบ และการใช้งานระบบร่วมกัน 4) ดำเนินการเผยแพร่ โดยใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศ ประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจถึงทิศทาง และแนวโน้มในการพัฒนาการศึกษาจังหวัดลำปาง 5) ปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ส่วนคณะทำงานพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ ประกาศแต่งตั้งพร้อมชุดข้างต้น ซึ่งกรรมการชุดที่แต่งตั้งนี้มีทั้งสิ้น 27 คน มีหน้าที่ 5 ข้อ ดังนี้ 1) จัดเก็บ รวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษา ให้ครบทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ให้มีความสมบูรณ์ ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในระดับพื้นที่ 2) วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาของจังหวัดที่มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย และสามารถให้บริการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ทดลองและทดสอบระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ รวมทั้งการให้คำแนะนำ การแก้ไขปัญหา การใช้งานระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ 4) รายงานผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาประจำปี ให้คณะกรรมการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปางทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 5) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ซึ่งประธานคณะทำงานทั้งสองชุด ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม คือ นายบรรพ์ ใสแจ่ม ศึกษาธิการจังหวัดลำปาง ได้แจ้งเรื่อง ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา พ.ศ.2560  และมีเรื่องเสนอพิจารณา 3 เรื่อง คือ  1) กำหนดกรอบฐานข้อมูลสารสนเทศ 2) การประสานงานข้อมูลระหว่างหน่วยงาน
3) แนวทางการกำหนดฐานข้อมูล

นายวิศนุพงศ์ ถ้ำทอง คณะทำงาน/เลขานุการ และผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน
ได้บรรยายตามสไลด์เรื่อง Big Data ของกระทรวงศึกษาธิการ
และนำเสนอ “สารสนเทศทางการศึกษา”
http://datacenter.lpgpeo.info/
และบรรยายเรื่อง “10 อาชีพในอนาคต ที่มีโอกาสประสบความสำเร็จอย่างสูงในไทย
https://www.kroobannok.com/79488

ระหว่างประชุมนั้น นายวิศนุพงศ์ ถ้ำทอง ทำหน้าที่เลขาฯ
– ได้เชิญกรรมการทุกท่านเข้ากลุ่มไลน์ เพื่อใช้สื่อสารกัน
– ได้สอบถามข้อมูลจากแต่ละสถานศึกษา
ว่าที่มีให้ และที่ต้องการ เพื่อเป็นข้อมูลไปประกอบการพัฒนาระบบ
ซึ่งสถาบันในระดับอุดมศึกษา ตัวแทนได้เสนอใช้ข้อมูลไปในทางเดียวกัน
ว่าเตรียมข้อมูลให้ได้ ตามที่เคยส่งให้กับสกอ. เป็นประจำทุกปี
ที่ http://www.data3.mua.go.th/dataS/

บรรยากาศในห้องประชุมบรรยากาศในห้องประชุม

ส่วนผมเสนอแนะในเบื้องต้น
ตามประเด็น “.. ปัจจัยความสำเร็จ ตัวชี้วัด เพื่อกำหนดข้อมูลสารสนเทศ ..
1. ให้สามารถสืบค้นข้อมูลตาม keyword จากระบบได้
เช่น เกาะคา ทุนการศึกษา ผลสอบ หรือ รางวัลพระราชทาน
2. ให้มี Top 10 หรือ Ranking จากข้อมูลที่มีอยู่
ก็จะเป็นข้อมูลสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผล และช่วยสนับสนุนการตัดสินใจได้
3. ให้มีความเด่นเชิงสรุป เช่น โรงเรียนใดเด่นด้านใด หรือได้รางวัลอะไร หรืออยู่ระดับใด
ซึ่ง นายบรรพ์ ใสแจ่ม ศึกษาธิการจังหวัดลำปาง ได้เล่าความเด่นของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารี
หากมีข้อมูลแบบนี้ในเว็บไซต์ก็จะมีผู้ปกครองเข้ามาใช้ข้อมูลกันมาก
4. ให้สามารถค้นโรงเรียนใกล้เคียงเพื่อตัดสินใจศึกษาต่อ
ซึ่ง นายวิศนุพงศ์ ถ้ำทอง นำเสนอระบบ ว่าปัจจุบันสามารถแสดงผ่านระบบ GIS/Google Map ได้ดี

ข้อมูลจากโฮมเพจ “สารสนเทศทางการศึกษา
ที่พัฒนาไปแล้วระดับหนึ่ง นำเสนอข้อมูลลึกลงไปถึงข้อมูลส่วนบุคคล
หากผู้ใช้มีรหัสเข้าระบบตามสิทธิ ก็จะทราบได้ว่านักเรียนแต่ละคนมีข้อมูลอย่างไร
ซึ่งเก็บไว้ถึง 40 กว่าเขตข้อมูลสำหรับนักเรียนแต่ละคน
http://datacenter.lpgpeo.info/

เมนูสำหรับเข้าถึงสารสนเทศประกอบด้วย
– สารสนเทศทางการศึกษา 2561
– สภาพทั่วไปของจังหวัดลำปาง
– ข้อมูลและสถิติพื้นฐานด้านการศึกษา
– สารสนเทศภูมิศาสตร์
– ระบบข้อมูลประชากรวัยเรียน
– แบบประเมินความพึงพอใจ

ปล. ประชุมครั้งนี้พบมิตรสหายหลายท่าน
พบศิษย์เก่า ม.เนชั่น 2 คนทำงานอยู่ที่ศึกษาธิการจังหวัดลำปาง
พบ พระครูสังฆรักษ์ศุภณัฐ ภูริวฑฒโม ผอ.สำนักงานวิชาการ มจร.วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
พบคุณนงลักษณ์ ใจปลา นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ  สำนักงานจังหวัดลำปาง
และเพื่อนที่คุ้นหน้าคุ้นตาจากหลายหน่วยงาน

https://web.facebook.com/tourlampangna/posts/2444758279076904

สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ที่ classstart.org

http://www.thaiall.com/blog/burin/8972/
http://www.thaiall.com/blog/burin/8972/

สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ในรูปแบบเสริมการจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อออนไลน์ ผ่านบริการของ Classstart.org ซึ่งเป็นสื่อเสริมช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนในชั้นเรียน
ที่คณะวิชาสนับสนุนการใช้บริการสื่อออนไลน์ สำหรับนิสิตไว้หลายวิชา ในหลายระบบ
อาทิ ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ที่จัดการสอนโดย อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ เตรียมไว้ ดังนี้

1. BUSI 452 / MKTG 434 การบริหารตราสินค้าและการสื่อสารตราสินค้า
2. BUSI 103 หลักการจัดการและพฤติกรรมองค์การ
3. BUSI 322 การบริหารลูกค้าสัมพันธ์

นอกจากนี้ยังได้จัดสื่อการสอนแบบอีเลินนิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน เพิ่มเติมจากในชั้นเรียน ผ่านเครื่องบริการที่ติดตั้งในมหาวิทยาลัย
ที่ http://class.nation.ac.th หรือแบ่งปันสื่อการเรียนการสอนผ่านระบบ e-document ในแต่ละรายวิชา ทั้ง มคอ.3 หรือ เอกสารประกอบการสอน ซึ่งเป็นเครื่องบริการภายในมหาวิทยาลัย

อ้างอิงจาก
http://www.thaiall.com/blog/burin/8972/
http://www.nation.ac.th/index.php/th/research-of-bba

กิจการนิสิต มหาวิทยาลัยเนชั่น

ประวัติความเป็นมา
มหาวิทยาลัยเนชั่น เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ได้รับอนุญาตจัดตั้งให้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2531 ในนามมหาวิทยาลัยโยนก โดยมีวัตถุประสงค์ที่ มุ่งหวังที่จะผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ได้เหมาะสมกับสภาพของสังคมและเศรษฐกิจ

ในปี พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยโยนกได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ อันได้แก่การเปลี่ยน ผู้รับอนุญาต และการเปลี่ยนอธิการบดี การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังผลทำให้เกิดการเปลี่ยนวิสัยทัศน์ใหม่ให้เป็น “ศูนย์กลางความรู้และภูมิปัญญาแผ่นดิน” ตลอดจนวิธีการบริหารจัดการใหม่ เพื่อก้าวสู่ทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลง การดำเนินกิจกรรมก็เช่นกันได้มีการปรับเปลี่ยน กรอบการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการผลิตบัณฑิตตามคุณลักษณะบัณฑิตที่ พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัย คือ คิดเป็น ทำเป็น มีคุณธรรมจริยธรรมและจิตสำนึกต่อสิ่งสาธารณะและในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อ มหาวิทยาลัยโยนก เป็น มหาวิทยาลัยเนชั่น โดยมีการบริหารจัดการลักษณะรูปแบบธุรกิจการศึกษา ภายใต้ บริษัทเนชั่นยู ที่มีความเชื่อมั่นว่า คุณภาพชีวิตที่ดีของมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กับปัญญา องค์ความรู้ ประสบการณ์ และความเอื้ออาทรที่มีต่อกันระหว่างมวลมนุษยชาติ ดังปรัชญาที่ว่า “ ปัญญาพัฒนาชีวิต ” ในการที่จะทำให้คุณภาพชีวิต ดีขึ้นนั้น มหาวิทยาลัย ยั่งได้ตระหนักถึง การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม ของโลก จึงได้กำหนดแนวทางกระบวนการในการดำเนินการจัดการเรียนการสอน ที่จะผลิตบัณฑิตที่มีทักษะที่จำเป็นในทศวรรศข้างหน้า โดยเน้นวิธีการ ในรูปแบบ “ การเรียนกับมืออาชีพ ” โดยกำหนดเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ ดังนี้
เอกลักษณ์
– เรียนกับมืออาชีพ
– บัณฑิตจิตอาสา
อัตลักษณ์ : 3 Skill
– ทักษะด้านวิชาชีพ (Professional Skill)
– ทักษะด้านภาษาอังกฤษ (English Skill)
– ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร (Communication Skill)

ในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังกล่าว นั้นจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย ครอบคลุมในทักษะทางด้านวิชาการ ทักษะด้านการใช้ชีวิต ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งทักษะด้านการใช้ชีวิต ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นนั้นจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้จากการได้ดำเนินการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง โดยผ่านกิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยและสโมสรนักศึกษา สาขาวิชา ชมรม ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมขึ้น ในการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษานั้น ถือได้ว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่งของการผลิตบัณฑิตที่พึงประสงค์

http://www.nation.ac.th/

ประวัติมหาวิทยาลัยเนชั่น

ประวัติมหาวิทยาลัย
ประวัติมหาวิทยาลัย

ประวัติมหาวิทยาลัยเนชั่น

มหาวิทยาลัยเนชั่น เดิมมีชื่อเรียกว่า “วิทยาลัยโยนก” ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ดำเนินการโดยมูลนิธิโยนก วิทยาลัยโยนกได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้เปลี่ยนประเภทจากวิทยาลัยเป็น “มหาวิทยาลัยโยนก” เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2549 และต่อมาเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 กระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษาอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็น “มหาวิทยาลัยเนชั่น” มหาวิทยาลัยเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท โดยเปิดสอนมาจนถึงปัจจุบันรวม 26 ปี (พ.ศ. 2531 – 2557) มีผู้สำเร็จการศึกษาแล้วมากกว่า 6,900 คน แบ่งเป็นระดับปริญญาตรี 5,700 คนและระดับปริญญาโท 1,200 คน

มหาวิทยาลัยเนชั่นเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของจังหวัดลำปางที่มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพให้แก่สังคมด้วยกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นิสิตเป็นนักคิด ใฝ่เรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ การประยุกต์ใช้ และมีคุณธรรม จิตสำนึกต่อสาธารณะ โดยมีกิจกรรมเพื่อฝึกฝนให้นิสิตมีประสบการณ์จริงสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่การงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มหาวิทยาลัยมีภูมิทัศน์ที่สวยงามตามธรรมชาติ บรรยากาศการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยเป็น “อุทยานการศึกษา” มีการจัดการเรียนการสอนที่นิสิตมีความใกล้ชิดกับคณาจารย์ อีกทั้งยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ อาทิ ห้องสมุด หอพักนิสิตชาย หอพักนิสิตหญิง ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีการสื่อสาร (ฝึกปฏิบัติการถ่ายทอดโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง) ศูนย์ภาษานานาชาติ มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 444 ถนนวชิราวุธดำเนิน ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง และเปิดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ที่ศูนย์เนชั่นบางนา ตั้งอยู่เลขที่ 1854 ถนนบางนาตราด กม. 4.5 แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น
รายนามผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น

1. ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ 2531 – 2543
2. ศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์ จินายน 2544 – 2545
3. ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ 2546 – 2549
4. อาจารย์สันติ บางอ้อ ต.ค.2549 – ก.ย.2552
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จินดา งามสุทธิ ก.ย.2552 – ก.พ.2553
6. รองศาสตราจารย์อรวรรณ ทิตย์วรรณ ก.พ.2553 – ก.ย.2553
7. อาจารย์ทันฉลอง รุ่งวิทู ต.ค.2553 – พ.ค.2554
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม มิ.ย.2554 – ก.ค.2561
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ ส.ค.2561 – ปัจจุบัน

Image may contain: 9 people, including Adisak Champathong, Nirund Jivasantikarn, Yaowapa Sangkhasilapin, Pong-in Rakariyatham, Chinda Ngamsutdi and Kritsada Pop Tunpow, text that says "Adisak Champathong 2531 2543 2546 2549 2544 2545 2549 2552 2552 2553 2553 2553- 2554 2554 25611 1 ชม. ถูกใจ ตอบกลับ 2561- 2561-ปัจจุบัน"

ข้อมูล ทำเนียบอธิการบดี
พบใน doc/Academic_regulation

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น
รายนามผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น

เล่าเรื่องวิจัย 62/1 จากตัวอย่างที่ดีของ ม.เวสเทิร์น

เล่าเรื่องวิจัย 62/1 จากตัวอย่างที่ดีของ ม.เวสเทิร์น

หลังฟัง รศ.ดร.กัญญามล กาญจนาทวีกูล เล่าเรื่องรับรองวิทยฐานะและประกันภายใน
เป็นเวลา 2 วัน ระหว่าง 27 – 28 พฤษภาคม 2562
ทำให้นึกถึงงานวิจัย โดยเฉพาะการได้คะแนนตัวบ่งชี้ 4.2 ระดับหลักสูตร

คู่มือ การรับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สำหรับคณะกรรมการพิจารณารับรองวิทยฐานะ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน


มองเว็บไซต์ สำนักวิจัยและบริการวิชาการ พบแนวทางมากมาย
หัวหน้าสำนัก คือ อาจารย์วรรณพร พุทธภูมิพิทักษ์
ดูแลโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กัญญามน กาญจนาทวีกูล ผู้ช่วยอธิการบดี
มีประเด็นที่น่าสนใจ นำมาเล่าต่อว่า
1. หน่วยงานสนับสนุนงานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษานั้น
มีสิ่งที่ต้องมีอย่างน้อย คือ ระบบและกลไก เพื่อให้การขับเคลื่อนงานเป็นไปได้
+ คู่มือจรรยาบรรณนักวิจัย
+ คู่มือการขอรับทุนอุดหนุนการวิจัย
+ กระบวนการดำเนินงานวิจัย
+ กระบวนการทำสัญญา
+ ตัวอย่างสัญญาทุนวิจัย
+ ปฏิทินทุนวิจัย
+ แบบฟอร์มโครงร่างวิจัยปีการศึกษา 2561
+ แบบฟอร์มหน้าลายเซ็นสัญญาปีการศึกษา 2561
+ แบบฟอร์มรายงานความก้าวหน้างานวิจัย
+ ยุทธศาสตร์การวิจัยและวัฒนธรรม
+ แบบฟอร์มการขอรับคำปรึกษาคลินิกวิจัย
+ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น พ.ศ.2561
+ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น พ.ศ.2561
+ แบบฟอร์มโครงร่างการขอทุนวิจัยปี 2561
+ แบบฟอร์มหน้าลายเซ็นสัญญา

+ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น พ.ศ.2561
+ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น พ.ศ.2561

2. สิ่งที่เห็นจาก กระบวนการดำเนินงานวิจัย คือ ประกาศงบประมาณ ก่อนเปิดภาคการศึกษา
ทั้งงานวิจัยและบริการวิชาการ มีตัวอย่างเอกสารในปีการศึกษา 2561 ดังนี้
ประกาศ เรื่อง ประมาณการรายละเอียดเงินสนับสนุนการบริการวิชาการแก่สังคม 2561
ประกาศ เรื่อง ประมาณการรายละเอียดเงินสนับสนุนการวิจัยปีการศึกษา 2561

3. แหล่งสืบค้นงานวิจัยที่แนะนำของมหาวิทยาลัย
http://it.nation.ac.th/research/
ภายนอก อาทิ สำนักหอสมุด, proquest, iglibrary, journal online, thaijo, thailis

4. ตารางการติดตามหลักสูตรและคณะวิชา
เพื่อใช้ติดตามว่าขณะนี้ระดับคะแนน มากกว่า 3.01 หมายถึง ระดับดีขึ้นไปหรือไม่

5. การวิจัยเป็นสิ่งที่ต้องทำ KM สอดรับกับประเด็น Risk
การทำ Cop (Community of Practice) วิจัย เพื่อให้เขียน proposal
เสนอมหาวิทยาลัยให้ทันยื่นก่อนเปิดภาคการศึกษา จึงเป็นสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ

6. เล่าเรื่อง KM ก่อนหน้านี้
อบรมความรู้เรื่องการทำวิจัยเชิงคุณภาพ
ที่บุคลากรส่วนใหญ่มีความต้องการรับการพัฒนา
เป็นผลจากการวิเคราะห์ Risk ด้านการวิจัย
จึงได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ คือ ดร. ถาวร ล่อกา (Thaworn Lorga, Ph.D.)
ดูแลกิจกรรมโดย คณะพยาบาลศาสตร์ 14-15 มีนาคม 2562
เมื่อคณะวิชาต่าง ๆ ได้รับการอบรมแล้ว และนำไปดำเนินการในคณะวิชาของตน
มหาวิทยาลัยได้จัดโครงการการจัดการความรู้ และกำกับติดตามการจัดการความรู้ อีกครั้ง
วิทยากรโดย ดร.สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์ คณบดีคณะพยาบาล
ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 13.00-15.00น.

7. ต่อจากนี้ก็จะมีการขมวดความรู้เฉพาะกลุ่มวิจัย
เพื่อขมวดความรู้ และเรียนรู้ตามกระบวนการ
KV (Knowledge Vision)
KS (Knowledge Sharing)
KA (Knowledge Assets)
ซึ่งอาจรวมไปถึงการเขียน proposal ขอทุนวิจัย
สำหรับปีการศึกษา 2562

8. เกณฑ์สนับสนุนการวิจัย และบริการวิชาการ
+ หลักเกณฑ์การกำหนดค่าใช้จ่ายกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการสังคม
+ เกณฑ์การพิจารณาโครงการวิจัยและค่าใช้จ่าย

เล่าจากความทรงจำสีจาง ในช่วงเดือนครึ่ง เมื่อ 22 ปีก่อน

นานมากแล้ว
วันนี้หวลนึกถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต
ที่ค่อย ๆ ปรากฎหลังม่านหมอก ออกมาทีละท่อน ทีละตอน
นั่นก็นานนับได้ 22 ปี
ในวันนี้ทราบข่าวเศร้าการจากไป
ของ อ.โชติ ผู้ใหญ่ของผมในมหาวิทยาลัย
ที่ร่วมเดินทางในโครงการ Sabbatical leave
ไปอยู่ที่มหาวิทยาลัย Baylor สหรัฐอเมริกา เป็นเวลาเดือนครึ่ง
ได้ข่าวที่ไม่คาดฝันว่า
ท่านจากไปตามวิถีธรรมชาติที่เราท่าน ทุกคนจะต้องพบเจอ
คิดถึงท่านตอนที่เราทำกิจกรรมหลายอย่างร่วมกัน
หลังท่านเกษียณอายุราชการกับการรถไฟแห่งประเทศไทย
ก็มาทำหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันภาษาญี่ปุ่นระยะหนึ่ง
เคยพานักศึกษาของวิทยาลัยโยนกไปแลกเปลี่ยนที่ประเทศญี่ปุ่น
ที่จำได้แม่นเลย คือ เราเดินทางไปศึกษาแลกเปลี่ยนร่วมกันที่อเมริกา

ทริปไปอเมริกาของทีมเรานั้น
ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ ท่านอธิการวิทยาลัยโยนก เมื่อ 22 ปีที่แล้ว
ท่านเมตตาสนับสนุนให้ทีมของเรา ประกอบด้วย อ.โชติ อ.ยุวดี และผม
เดินทางไปศึกษา แลกเปลี่ยนทางวิชาการเป็นเวลาเดือนครึ่ง
ระหว่าง 1 เมษายน – 17 พฤษภาคม 2540
จำได้ว่า อ.สุวรรณ ตรีมานะพันธ์ รองอธิการ ฝ่ายวิชาการ สนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่ง
ส่วน อ.ดร.สุพรชัย ศิริโวหาร รองอธิการ ฝ่ายบริหาร ไปส่งทีมงานที่สนามบิน
ทีมของเราพักที่อพาร์ทเม้นท์ในบริเวณมหาวิทยาลัย
จากที่พัก เดินทางไปเรียนก็ราวหนึ่งกิโลเมตร ไม่มีรถบริการในมหาวิทยาลัย
เดินไปแล้วก็ต้องเดินกลับ
เป็นการเดินเท้าที่ตื่นเต้นครับ ระหว่างทางพบสิ่งต่าง ๆ แปลกหูแปลกตา
เช่น ชมรมเรือแคนนู ที่เห็นฝึกกันบ่อย ๆ
หรือ ชมรมเบสบอล ที่ขว้างบอลข้ามสนามกันทุกเช้า
หรือ การแสดงละครสัตว์ใกล้ที่พัก (Circus)
หรือ กิจกรรมรอบมหาวิทยาลัยที่จัดขึ้นสม่ำเสมอ
เราเดินทางไปถึงช่วงปลายหนาว เช้ามาก็เดินฝ่าความหนาวไปเรียนหนังสือกัน
ยังต้องสวมเสื้อกันหนาวตลอดช่วงเวลาที่อยู่ที่นั่น

จำได้ว่าที่ Baylor University
มี Prof. Kathryn (Kay) Mueller
พาทีมของเราไปในที่ต่าง ๆ หลายครั้ง
ผมรู้จักท่าน ตั้งแต่ก่อนไปที่ BU. เพราะท่านมาเมืองไทยบ่อย
ท่านคุยสนุก ร่าเริง พานักศึกษามาแลกเปลี่ยนที่วิทยาลัยโยนก
เป็นแขกของ ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ หลายปีติดต่อกัน
จำได้ว่า Kay พาทีมเราไปกินขนมเค้กที่เขื่อน หรืออ่างเก็บน้ำ
คงเป็นครั้งแรกที่ผมได้กิน Pecan cake
เป็นที่ท่องเที่ยวที่ท่านทำให้เราประหลาดใจ
เดินทางไกล ข้ามทุกดอกสีม่วงกว้างสุดลูกหูลูกตา
แวะถ่ายภาพกันด้วย

ตอนไปที่ BU. เราไปพบหน่วยงานต่าง ๆ
ตามโครงการแลกเปลี่ยน
อ.โชติ และ อ.ยุวดี ไปเรียนในวิชาที่ตนสนใจ
ส่วนผมจำได้ว่าเรียนระบบปฏิบัติการ และอีกวิชาทางเทคโนโลยี
ผมจำได้ว่าเคยเขียนบันทึกการเดินทางไว้ในสมุดหลายหน้า
แต่ ณ ตอนนี้ไม่ได้มีสมุดเล่มนั้นใกล้ ๆ มือ
ทุกอย่างที่เล่ามา หรือเล่าต่อจากนี้ มาจากความทรงจำสีจาง ๆ

ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ เดินทางไปเยี่ยมพวกเราที่นั่นหลายวัน
พาไปพบศูนย์นักศึกษาต่างชาติ
พาไปร้าน supermarket
พาไปสำนักหอสมุด
พาไปร่วมงานดนตรีคอนเสิร์ต ออร์เคสตรา
จำได้ว่าอากาศเย็นมาก คงเพราะอากาศเย็น
ทำให้ผมผลอยหลับไป ตั้งแต่โน๊ตแรก ๆ เริ่มดังขึ้นเลยทีเดียว เย็นมาก

หนึ่งในเรื่องที่จำได้ คือ การทานอาหาร
Kay พาผมไปร้านอาหารไทยหลายร้าน
ที่นั่นนิยมทานบุฟเฟ่ต์ เป็นอาหารไทยสไตล์ฝรั่ง
ยุคนั้น เมืองไทยยังไม่มีบุฟเฟต์อย่างในปัจจุบัน
อยู่เดือนครึ่ง ผมอ้วนเลย
เพราะผมได้รับสวัสดิการ มีบัตรเข้าศูนย์อาหาร
ที่จะทานอะไรก็ได้ 3 มื้อต่อวัน
แล้วผมก็ไม่มีปัญหากับอาหารต่างชาติ ทานได้หมด

การศึกษาที่นั่น ส่งเสริมการอ่าน
เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ห้องสมุดที่นั่น เปิดกัน 24 ชั่วโมง
แต่ผมไม่เคยอยู่ถึงโต้รุ่งนะครับ อย่างมากก็แค่ 5 ทุ่ม
ที่เมืองไทยเดี๋ยวนี้ มีหลายมหาวิทยาลัย
เปิดห้องสมุด 24 ชั่วโมงแล้ว

การสื่อสารสมัยนั้น
การใช้ hotmail.com ยังไม่เป็นที่นิยม
ที่นิยมยังเป็น email ที่บริการผ่าน pop3 หรือ imap ขององค์กร
ผมยังใช้ software ของ Baylor University
ในการเปิดอีเมล เค้ามีคอมพิวเตอร์ให้ตรวจอีเมล
วางตามจุดต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย ไม่มีใครมีโน๊ตบุ๊ค หรือสมาร์ทโฟน
ส่วนเว็บไซต์ก็ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น
เข้าอินเทอร์เน็ตก็จะใช้ Linux หรือ Unix สั่งผ่าน Command Line
โปรแกรมอ่านอีเมลที่ผมใช้ประจำก็คงเป็น Pine ที่สมัยนี้คงไม่มีใครใช้แล้ว

จำได้ว่า
ในมหาวิทยาลัยมีไปรษณีย์ ผมส่งของจากที่นั่นกลับเมืองไทยชิ้นหนึ่ง
ค่าส่งแพงมาก จึงส่งเพียงครั้งเดียว
โทรศัพท์ทางไกล ผมซื้อบัตร
แต่ก็ใช้เพียงไม่กี่ครั้ง เพราะสมัยนั้นไม่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เมืองไทย
ค่าโทรแพงมาก โทยไม่กี่นาทีเสียไปหลายร้อยบาทแล้ว
ค่าอาหารแพงระดับหนึ่ง แต่ผมไม่ค่อยได้จ่าย
เพราะทานในศูนย์ตลอด
ยกเว้นว่า Kay จะพาไปนอกรั้วมหาวิทยาลัย
จำได้ว่าแฮมเบอเกอร์ชิ้นละ 1 – 3 ดอลล่าร์ ซึ่งถือว่าไม่แพง
ต่างกับบุฟเฟ่ต์ ที่ต่อหัวประมาณ 10 ดอลล่าร์

ผมอาจจำอะไรไม่ได้มากนัก สมองอาจเสื่อมไปตามกาลเวลา
เรื่องที่เล่ามา
เกิดขึ้นก่อนผมอายุสามสิบ
เกิดขึ้นก่อนผมจะเขียนหนังสือ
เกิดขึ้นก่อนผมทำเว็บไซต์
เกิดขึ้นก่อนผมแต่งงาน
เกิดขึ้นก่อนคุณแม่ผมจะป่วยอัลไซเมอร์
แต่ก็ดีใจที่ได้เล่าผ่านตัวอักษร ทั้งที่อยากเล่ามาหลายสิบปี
จดจดจ้องจ้องบันทึกเล่มเก่าเล่มนั้น ซึ่งตอนนี้หาไม่พบแล้ว
ยังมีผู้มีพระคุณอีกมากที่เกี่ยวข้องกับชีวิตผม
แต่สมองของคนเรา มีข้อจำกัด
ย่อมลืมเลือน เสื่อมถอยไปตามกาลเวลา
คิดถึงทุกคน คิดถึงอดีต คิดถึงทุกช่วงเวลาดี ๆ ในอดีต
ขอบคุณโชคชะตา และทุกคนรวมตัวผม ที่ช่วยให้ผมมีกำลัง
ทำให้ชีวิตยังมีวันนี้ และหวังว่าจะมีพรุ่งนี้
และพรุ่งนี้ต่อไปอีกนาน ๆ ขอบคุณครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วิวปีหนึ่ง ถามติดตั้ง CMS ด้วยความอยากเรียนรู้

ในชั่วโมง Home room – 27 มี.ค.62
ที่ อ.แนน นัดเด็ก ๆ คุยกัน ที่ห้องแล็บคอม
คุยกันเรื่องนู้นนั้นนี้ เกี่ยวกับกิจกรรมในระดับหลักสูตร
พอมีเวลา
ผมก็ชวนคุยเรื่องการเรียนรู้ และชวนที่จะลงไปเรียนรู้หน่วยงาน
คอม กับนิก ลง joomla เสร็จหลายวันแล้ว
ส่วนวิว กับมิ้ม ก็พูดถึงการลงเซิร์ฟและ joomla
พูดถึงการสร้างฐานข้อมูลผ่าน phpmyadmin
ตอนนี้ก็รอน้องแบล็ค หนึ่ง กิม และพี่ปีสองมาพูดคุยด้วย
เป็นกิจกรรมนอกหลักสูตร เพราะไม่มีวิชาเรียนในระดับปีหนึ่ง
แต่เค้าสนใจการเรียนรู้
ที่น่าจะต้องหาเวลาเรียนรู้กันตั้งแต่ปีหนึ่งได้แล้ว


เมื่อวาน 28 มี.ค.62 พี่ปี 4
ก็เอา code OCR เขียนด้วย React Native ทำงานบน Expo
ซึ่งการเขียน Javascript สร้าง app บน Mobile นั้น
ก่อนหน้านี้ ผมก็ไม่ได้สนใจเอาซะเลย (เดี๋ยวนี้มีหลายค่าย)
เพราะเป็นสาวกของ Android Studio : Java มานาน
แต่ก็ไม่ได้ลงเต็มที่ เข้าไปสัมผัสงาน Mobile เพียงเล็กน้อย
พี่ปี 4 เอา code มาให้ทดสอบ
พบว่า น่าสนใจ React Native เขียนง่ายไม่กี่ร้อยบรรทัด
และพี่บอลก็เคยเล่าให้น้องฟังว่า
เป็นชุดซอฟต์แวร์ที่ง่ายในการพัฒนา mobile app


ลักษณะของ React native on expo
ที่พี่ปี 4 ทำเรื่อง OCR น่าสนใจดังนี้

1. เขียนบน pc แต่ทดสอบบน mobile ได้ง่าย
เช่น การเรียกผ่าน link ผ่าน QR code ในเครือข่ายเดียวกัน
2. อัพโหลดเข้า expo.io แล้วเปิดผ่าน mobile
เช่น https://expo.io/@thaiall/myapp1
หรือ exp://exp.host/@thaiall/myapp1
3. เปิดผ่าน browser ตามลิงค์ใน expo.io
มี appetize-simulator ช่วยจำลอง mobile
4. สำหรับเจ้าของ app สามารถโหลด .apk
มาติดตั้งได้ โดยโหลดจากหน้า builds
พบที่ https://expo.io/@thaiall/myapp1/builds
#เล่าสู่กันฟัง 62-057

การส่งข้อความข้ามเครื่องผ่าน IP เขียนด้วย C# บน console application

listener เปิดรับ client ส่งข้อความlistener ได้รับ

ฟัง ดร.ถาวร ล่อกา พูดเรื่องงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Quality Research)

https://www.facebook.com/ajarnburin/posts/2482414421772674

ทำให้นึกถึงเรื่อง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ช่วงนี้ ลองทำโปรแกรม 2 เซต คือ แต่ละเซตมี ตัวรับ กับตัวส่ง
ระหว่างเครื่องผ่าน ip เขียนด้วย C#

http://www.thaiall.com/csharp

เพราะนักศึกษาสนใจภาษานี้
เครื่องมือที่ใช้ทดสอบ มี 2 เซต คือเซต sharp develop และเซต VS
(แฟ้ม program.cs ใช้ร่วมกันได้ระหว่าง 2 tools นี้ ในกรณีนี้)
เพราะใช้ .net framework ทั้งคู่ คำสั่งที่ใช้ต่างกัน
คือ ตัวหนึ่งเปิดพอร์ตผ่าน TcpListener(ipaddr,8888);
อีกตัวใช้ new Socket(ipAddress, Stream, ProtocolType.Tcp);
เป้าหมายคือเปิดให้ listener รับฟังจาก client ได้ ก็ถือว่า ok แล้ว

ภาพประกอบมี 3 ภาพคือ
1. listener เปิดรับ
2. client ส่งข้อความ
3. listener ได้รับ