ฝ่ายหนึ่งที่ได้ 100 เต็ม แต่อีกฝ่ายก็ทิ้งดิ่ง ก็คงจะมีฐานคิดกันคนละขั้วเป็นธรรมดา

คำถาม
คำถาม

หลังสอบทุกครั้งจะมี 2 ขั้ว
ที่แตกต่างกัน เค้ามีคำถาม คำพูด และความคิด
สอดคล้องกับคะแนน หรือความเชื่อพื้นฐานอยู่แล้ว

กรณีแรก – ขั้ว 100
ไม่มีข้อสงสัยต่อคำถาม ไม่ตั้งแง่ให้เป็นอุปสรรคกับการเรียนรู้
ปัจจุบันมีเด็ก ๆ มากมาย ตั้งใจเรียน อ่านหนังสือ
หาความรู้ หาคำถาม และหาคำตอบ
ทั้งจากโรงเรียนกวดวิชา และคู่มือเตรียมสอบ

มีเด็ก ๆ จำนวนไม่น้อย
เค้ากระหายใครรู้ กระเหี้ยนกระหือรือ
ที่จะหาคำถามมาตอบ แล้วเค้นคำตอบด้วยตนเอง
ไม่ใช่สงสัยในระบบ หรือคำถามที่ยังไม่ได้หาคำตอบ
แล้วก็สรุปว่า ข้อสอบ คือ ปัญหา
http://www.lampang13.com/archives/8936

ขั้นตอนวิธี เป็นเรื่องที่นักเรียนจะได้เรียนรู้
ขั้นตอนวิธี เป็นเรื่องที่นักเรียนจะได้เรียนรู้

กรณีที่สอง – ขั้ว 0
มีข้อสงสัยต่อคำถาม
อันที่จริงแล้ว เมื่อได้คำถามมา
ที่อาจเป็นคำถามที่อยู่ในใจ หรือมีใครเค้าถามมา
บางทีคำตอบก็ไม่ได้สำคัญ
เท่าขั้นตอนการได้มา (Algorithm) ของคำตอบ
เพราะ การเรียนรู้ที่จะตอบคำถาม สำคัญกว่าคำตอบ
บางทีอาจนึกถึงที่มาของการตอบคำถามแบบ 5W1H
สุดท้ายก็ต้องถามว่า จัดการกับคำถามอย่างไร
1) .. 2) .. 3) .. 4) .. 5) ..
เห็น 5 หัวข้อนี้
ทำให้นึกถึงการค้นแล้วค้นอีก ที่เรียกว่า วิจัย (research)
คือ ขั้นตอนการได้คำตอบ อย่างมีขั้นตอน (Algorithm)
ที่ทำให้คำตอบ มีวรรณกรรมอ้างอิง และน่าเชื่อถือ
นี่เป็นกรณีที่คนถามเค้า serious ก็คงต้องตอบ seriously

ผ้าจำนำ กับ ผ้าอาบน้ำฝน
ผ้าจำนำ กับ ผ้าอาบน้ำฝน

ปล. ผมมองเป็น KM นะครับ และอ้างอิงแหล่งที่มาไว้แล้ว
https://www.facebook.com/ajWiriya/

ได้ 100 เต็ม
ได้ 100 เต็ม

อยากชวนฟัง ปาฐกถาของ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
ที่กล้ามองต่าง วิพากษ์การทำงานของผู้มีอำนาจ อย่างมีเหตุผล
เพราะโลกของเรามี 2 ขั้ว จึงทำให้เกิดการพัฒนา และพลวัต

บทเรียนที่ 2 วาดรูปทรงสีเหลี่ยมแรก

วาดสี่เหลี่ยมด้วย scratch
วาดสี่เหลี่ยมด้วย scratch

การวาดรูปอยู่ในสายเลือดทุกคน
จะวาดจุด เส้นตรง วงกลม หรือรูปทรงเลขาคณิต
หากอ่านออกเขียนได้ ก็น่าจะเคยวาดกันมาแล้ว

สำหรับรูปหลายเหลี่ยมก็จะมีมุมของตนเอง
เช่นสี่เหลี่ยมก็จะมีอยู่ 4 มุม ๆ ละ 90 องศา
วิธีการวาดก็เพียงแต่หมุนขวา 90 องศา แล้วก็วาดเส้นตรงเท่านั้น
นี่เป็นบทเรียนที่น่าจะนำไปใช้ใน วิชาวิทยาการคำนวณ
สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้

http://www.thaiall.com/scratch

หากวาดสี่เหลี่ยมเป็น ก็ลองวาดทรงอื่น ๆ ได้
แต่ละทรงก็จะมีมุมของตนเอง
วงกลมก็จะมีทั้งหมด 360 มุม

ขั้นตอนการวาดภาพสี่เหลี่ยม
1. ใน block palette กลุ่ม events
เลือก When clicked แล้วลากไปวางใน Scripts area
2. เปลี่ยนเป็นกลุ่ม pen
เลือก pen down ลากไปต่อเป็น block ที่ 2
3. เปลี่ยนเป็นกลุ่ม Motion
เลือก Move 100 steps เป็น block ที่ 3
เลือก Turn [right] 90 degrees เป็น block ที่ 4
เลือก Move 100 steps เป็น block ที่ 5
เลือก Turn [right] 90 degrees เป็น block ที่ 6
เลือก Move 100 steps เป็น block ที่ 7
เลือก Turn [right] 90 degrees เป็น block ที่ 8
เลือก Move 100 steps เป็น block ที่ 9
เลือก Turn [right] 90 degrees เป็น block ที่ 10
3. เปลี่ยนเป็นกลุ่ม pen
เลือก pen up ลากไปต่อเป็น block ที่ 11
4. ย้ายแมวออกไปจะได้เห็นชัด ๆ
เลือก go to x:-100 y:0 ลากไปต่อเป็น block ที่ 12
จะได้เห็น สี่เหลี่ยม ชัดขึ้น
5. แทรก block ในกลุ่ม move ให้ไปต่อท้าย block แรก
เลือก go to x:0 y:0 ลากไปต่อเป็น block ที่ 2
ส่วน block ที่ 2 เดิม คือ pen down ก็มาเป็น block ที่ 3
ทำให้การ start ทุกครั้ง คือ การเริ่มที่จุดเริ่มต้น
6. หากผิดพลาด ต้องการทำใหม่ มีให้เลือกดังนี้
– File, new เริ่มต้นทุกอย่างใหม่
– File, revert กลับไปเริ่มต้นก่อนแก้ไขโปรเจค

รูปทรงเรขาคณิต
รูปทรงเรขาคณิต
http://freemmiie.blogspot.com/2013/12/4_5.html

การรวมตัวกันของเพื่อนเก่า เทียบเฟสกับไลน์

เที่ยววัด
เที่ยววัด

ครั้งหนึ่ง ผมได้พูดคุยกับ น้องจ๋า
เรื่องการรวมตัวของเพื่อนเก่า หรือศิษย์เก่า
แล้วผมก็แบ่งปันกับ น้องจ๋า ว่า
ในรุ่นผมเค้าก็รวมตัวกัน แข็งแรงด้วย
และผมก็แชร์ว่าปัจจัยที่ทำให้แต่ละรุ่นแข็งแรงคืออะไร

พอรวมตัวกันได้ก็ทำกิจกรรม
– เยี่ยมเพื่อน
– เยี่ยมคาราวะครูอาจารย์เก่า
– ทิปต่างจังหวัด
– ทิปตามเทศกาล
– นัดพบปะทานข้าวที่ร้านอาหาร
– ทำอาหารทานที่บ้านเพื่อน
– ไปเที่ยววัด หรือแหล่งท่องเที่ยว

เที่ยววัด
เที่ยววัด

วันนี้ เพื่อนบิวแชร์ภาพ ผมก็คัดลอกเก็บไว้
เพราะชอบ (like)
แล้วแชร์ในเฟส และกลุ่มผู้สูงอายุไปว่า

ผมมีเพื่อนกลุ่มหนึ่ง
เค้ามารวมตัวกันได้ใกล้ชิด
โดยใช้ line เป็นเครื่องมือ
เมื่อรวมตัวกันก็พบปะ
พากันจัดกิจกรรมมากมาย
ตามการหาลือในกลุ่มไลน์
อันที่จริงเพื่อนผม
ทั้ง ประถม (Ton ching-chai) มัธยม (ปอ) และ ป.ตรี (สท.ติ)
มีกลุ่ม line ที่เข้มแข็งทุกกลุ่ม
ตามภาพนี้ที่เพื่อน ๆ ไปเที่ยววัด เป็นกลุ่ม ป.ตรี
จุดเด่น คือ รวมกันได้มากกว่าครึ่ง
จากสมาชิกในชั้นปีทั้งหมด ทำกิจกรรมพบปะตลอด
แต่กิจกรรมก็จะกระจายกันไป
ตามกลุ่มจังหวัดซะมาก
จัดทิปออกเที่ยวหาเพื่อนต่างจังหวัดก็บ่อย

ปล. ภาพนี้เพื่อนบิวอัพเข้ากลุ่มเฟส
เพราะเพื่อน ป.ตรี เป็นกลุ่มเดียว
ที่มีกลุ่มเฟสเป็นรองกลุ่มไลน์
คำว่า “กลุ่มเฟสเป็นรองกลุ่มไลน์
แปลว่า ยังสามารถจัดให้เป็นที่สองได้
เพราะกลุ่มอื่นในไลน์อีกเยอะ
ที่มีกลุ่มไลน์เพียงอย่างเดียว
อาจเพราะกลุ่มที่ว่านั้น มีสมาชิกเป็นผู้สูงอายุ
จึงไม่สามารถชวนมาเข้ากลุ่มเฟส
ผู้มีอายุจะถนัดใช้ไลน์มากกว่าเฟส
ทำให้หลายกลุ่ม
ไม่สามารถสร้างกลุ่มเฟสได้
จึงไม่อาจนับได้ว่ามีกลุ่มเฟสเป็นรอง

ปกติแล้วผมจะโพสต์เข้าเฟส แล้วนำมาเขียนบล็อก
ภาพเที่ยววัดนี้ โพสต์ไว้ที่ https://www.facebook.com/ajburin/

เพื่อนประถม
เพื่อนประถม
เพื่อนป.ตรี
เพื่อนป.ตรี

การใช้งาน scratch ครั้งแรก

Scratch คือ เครื่องมือสำหรับการโปรแกรมด้วยแผนภาพ ด้วยการต่อจิ๊กซอล นำชิ้นคำสั่งมาร้อยเรียงเรื่องราวอย่างเป็นระบบ ใช้ได้ฟรี สำหรับนักเรียน ครู อาจารย์ สามารถใช้สร้างสรรค์ตัวการ์ตูน เล่านิทาน เกม ดนตรี ศิลปะ บอกเล่าถึงชีวิต และสังคม การฝึกใช้ถือเป็นก้าวสำคัญของผู้เริ่มต้นที่จะศึกษาการโปรแกรมในระดับที่สูงขึ้น Scratch ใช้ในขอบเขตอื่นได้ ทั้งโครงงานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ รวมทั้งการสร้างแบบจำลอง และการทดลอง แล้วยังช่วยสร้างเอกสารนำเสนอของนักเรียน ครู อาจารย์ การเปิดโครงงานสามารถใช้งานบนเว็บไซต์ เผยแพร่ แบ่งปัน แก้ไขผ่านเว็บบราวเซอร์ ซึ่ง Scratch เริ่มต้นโครงการจากการทำงานร่วมกันระหว่าง Google และ MIT’s Scratch team แล้วทีมของ Google ได้พัฒนา Blockly เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้การโปรแกรม และการนำไปใช้ในภาคธุรกิจได้ (แปลจาก wikipedia.org และ mit.edu) #

scratch first program
scratch first program

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเรียนรู้การต่อ block
2. เพื่อประมวลตาม block ที่ต่อเสร็จ
3. เพื่อเก็บ script เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
4. เพื่อนำ script กลับมาประมวลผลได้

การใช้งาน scratch ครั้งแรก

1. เข้า http://scratch.mit.edu
2. กด create เพื่อสร้างผลงาน หรือคลิ๊ก “Try it out”
3. ถ้าติดตั้ง Flash แล้ว จะข้ามไปข้อ 4
แต่ถ้าไม่ได้ติดตั้ง Flash ไว้ก่อนหน้านี้
เมื่อทดสอบใน chrome browser จะพบข้อความ
– ให้คลิ๊ก “Click to enable Adobe Flash Player”
– ให้คลิ๊ก “Allow” to Run Flash
4. พบตัว Scratch สีเหลือง หน้าตาเหมือนแมว
ในหน้าต่าง Stage ที่เป็นเวทีแสดงของแมว
ส่วนนี้ขยายเต็ม full screen ได้
5. ด้านบนของตัวแมว Scratch จะช่อง Project title
พบชื่องานว่า “Untitled” เริ่มต้นก็ควรตั้งชื่องานใหม่
ให้เปลี่ยนชื่องานนี้เป็น mycat หรือตามที่ชอบ
6. ในแท็บ (Tab) ชื่อ Scripts มี Block palette
ปัจจุบันอยู่ที่กลุ่มบล็อก Motion
ด้านล่างเป็นบล็อกที่ใช้ได้ในกลุ่มนี้
7. การเริ่มต้น ให้คลิ๊กกลุ่มบล็อก Events
จะพบบล็อกชื่อว่า “When clicked”
8. ใช้ mouse คลิ๊กบล็อกนั้น ค้างไว้ (hold)
แล้วลากไป (drag) ปล่อยในพื้นที่ Scripts area ด้านขวา
ที่เป็นพื้นที่ต่อบล็อก ให้ปล่อยบล็อกไว้โซนด้านบนของที่ว่าง
จะได้จัดวางเป็นระเบียบแบบบนลงล่าง (Top-Down design)
9. กลับไปคลิ๊กกลุ่มบล็อก Motion อีกครั้ง
จะพบบล็อกชื่อ “move 10 steps”
ลากไปต่อท้ายบล็อก “When clicked”
10. ทดสอบสั่งงาน – ครั้งแรก
โดยคลิ๊กสัญลักษณ์รูปธงสีเขียว (Green flag to start)
หมายถึง ทำงานตามสั่ง
จะพบว่าแมวเดินไป 10 steps
กดที่ธงสีเขียวอีกครั้งก็เดินอีก 10 steps ซึ่งไปได้ประมาณ 10 จุด
11. เก็บ script ไว้ในเครื่อง (download script)
สั่งผ่าน menu bar ให้คลิ๊ก file, download to your computer
ก็จะได้แฟ้ม mycat.sb2 มาไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์
12. ปิดหน้าต่าง หรือกลับไปที่ http://scratch.mit.edu
แล้วคลิ๊ก create ใหม่
จะพบว่างานที่เคยทำไว้ หายไปจาก Scripts area และ Stage
13. เรียก script กลับมาจากในเครื่อง (upload script)
สั่งผ่าน menu bar ให้คลิ๊ก file, upload from your computer
แล้วกด ok เพื่อยืนยัน ก็จะพบว่า script ที่เคยเก็บไว้ กลับมาแล้ว
มีวัตถุสั่งงาน 2 วัตถุเหมือนเดิม ในพื้นที่ทำงาน
14. ทำการสร้างบล็อกเพิ่มอีก 2 บล็อก
คือ “When clicked” และ “move -10 steps”
โดยเปลี่ยนจากเลข 10 เป็น -10
หากคลิ๊กที่ธงสีเขียวในบล็อกชุดใดก็จะทำงานตามบล็อกในชุดนั้น
ทำให้แมวเดินหน้า ถอยหลังได้ ตามการคลิ๊ก

first script
first script

เรื่องที่ทำให้ รัก/ชัง เมืองไทย .. คนเขียนกำหนดได้ แบบสุดคนละขั้ว

hate thailand
hate thailand

จาก thairath.co.th
แชร์อีกรอบ! นิสัยคนไทยจากปากฝรั่งที่ มอร์ริส เค
ได้ยินมา เจ็บแต่จริงมั้ย?

https://www.thairath.co.th/content/1217013

เป็นประเด็นที่จะไปชวน #นักข่าวอาสา คิดกัน
ว่าเทคนิคการเขียนเล่าเรื่อง ให้คนอ่าน ชังเมืองไทย ชังคนไทย
ต่างกับคลิ๊ปวีดีโอ “I hate thailand” ที่ดูแล้ว รักเมืองไทย รักคนไทย

อ่านบทความนี้แล้วเห็น 2 อย่าง (Quote มา)
1. “เบื่อหน่ายเมืองไทย” 
2. “สันดานพื้นฐานของคนไทย คือ ความเห็นแก่ตัว” 
จึงหยิบมาเก็บไว้ เป็นกรณีศึกษา เรื่อง “hate speech” เพราะเคยคุยกับนักศึกษาว่า อย่าใช้คำว่า ส่วนใหญ่เหมือนที่ เจี๊ยบพูดถึงตูน ว่า “ลำปางแย่มาก” แต่บทความนี้ไม่มี ส่วนใหญ่ เลย เค้าชื่นชม ฝรั่ง แต่ด่าคนไทย และเมืองไทย ถ้าใครอ่านแล้วรู้สึก ชังคนไทย และเมืองไทย แสดงว่า สมใจคนเขียนแล้ว ต่างกับคลิ๊ป “i hate thailand” ที่เล่าถึงความมีน้ำใจของ สาวไทยผิวสีแทน ที่แบ่งปัน ไม่เห็นแก่ตัวต่อฝรั่ง จนฝรั่งแอบปิ้ง และไม่อยากจากเมืองไทย (อยู่ต่อเลยได้ไหม) .. ก็เป็นเรื่องเล่า 2 ขั้ว ระหว่าง เรื่องที่ทำให้ รัก/ชัง เมืองไทย

ถ้าดูคลิ๊ป I hate thailand แล้ว ทำให้นึกถึงเพลง อยู่ต่อเลยได้ไหม ของสิงโต นำโชค

 

 

ใช้ – ก่อน- เรียน หรือ เรียน – ก่อน – ใช้ .. เลือกกันได้

https://www.facebook.com/chujai68/photos/a.1869171433367526.1073741828.1869163350035001/1904820289802640/
เว้นแต่เรื่องที่คุณเรียนนั้นสำคัญกับคุณมาก
https://www.facebook.com/chujai68/photos/a.1869171433367526.1073741828.1869163350035001/1904820289802640/

ถูกต้อง กับคำว่า “เริ่มก่อนได้เปรียบ
แต่ยังมีอีกแนวคิดที่น่าสนใจ

เรียนก่อน แล้วได้ประยุกต์ใช้ สมใจหมาย
แต่ถึงเวลาจะใช้ แล้วค่อยเรียน คงไม่ทัน


คุณภาพ = ความพึงพอใจ

ข่าว .. กอปศ.ทุบโต๊ะเลิกเรียน 8 กลุ่มสาระในเด็ก ป.1-3 (27 ก.พ.61)
ผลวิจัยพบ เรียนมากไม่สบความสำเร็จ ทำเด็กต้องแข่งขัน ชี้เด็กวัยนี้ควรเรียนรู้สมรรถนะการใช้ชีวิต คงแปลได้ว่า เรียนไม่สบความสำเร็จ ก็เลิกเรียน เปลี่ยนเรื่องรู้สมรรถนะการใช้ชีวิต ที่ง่ายกว่า สนุกกว่า

ส่วนสาระทั้ง 8 ที่เคยเห็นว่าจำเป็น มาตั้งแต่ 2551 นั้น จะใช้เมื่อไร (ป.4) ค่อยเรียน ประกอบด้วย 1) ภาษาไทย 2) คณิตศาสตร์ 3) วิทยาศาสตร์ 4) สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 5) สุขศึกษาและพลศึกษา 6) ศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ 7) การงานอาชีพ และเทคโนโลยี 8) ภาษาต่างประเทศ

http://www.thaiall.com/student/

คำถามที่ตอบยากครับ
เลือกอะไรระหว่าง
1. จะใช้เมื่อไร แล้วค่อยไปเรียน
2. เรียนก่อน แล้วค่อยเลือกใช้วันหน้า
กลุ่มแรก – ไม่ได้เรียน
80 ไม่ได้เรียน – ทำงานได้เลย
20 จะใช้ – แต่ไม่ได้เรียนมา

กลุ่มที่สอง – เรียนมา
80 ได้ใช้  ที่ได้เรียนมา
20 ที่เรียนมา – ไม่ได้ใช้

ก็มีนะ .. ไอ้เรื่องที่ไม่จำเป็นสำหรับนักเรียน (บางท่าน)

certification
certification

อจ. การเรียนมีกฎ มีเรื่อง มากมายในแต่ละหลักสูตร
นร. บางเรื่องไม่เห็นจำเป็นต้องเรียนเลย

อจ. มีเรื่องอะไรที่คิดว่าไม่จำเป็นบ้างล่ะ
นร. เยอะ ไร้สาระ ไม่อยากทำการบ้านส่ง ไม่อยากสอบ

อจ. ก็จริงนะ คงมีบางเรื่องไม่จำเป็นสำหรับนักเรียน
นร. แล้วทำไมต้องให้ทำงานส่ง เรียนเยอะไป
มีอย่างอื่นต้องทำ ต้องหาความสุขให้กับตัวเอง

เครียดแล้วจะป่วย

อจ. หลักสูตรจะออกใบรับรอง ว่ามีความรู้ครบถ้วน
ก็ต้องผ่านทุกเรื่อง ไม่ผ่านเรื่องหนึ่ง ก็ไม่ได้ใบรับรอง
นร. ??

อจ. มีบางเรื่อง ที่นักเรียนคิดว่าไม่จำเป็นสำหรับตัวนักเรียน
แต่ผู้ที่หลักสูตรจะออกใบรับรองให้ ต้องผ่านทุกเรื่องตามเกณฑ์
แล้วอยากได้ใบรับรอง ว่ามีความรู้ครบถ้วนตามหลักสูตรไหม
นร. ก็อยากครับ

คลิ๊กศิษย์เก่า ในกิจกรรม “one click รวมรุ่น” @YONOK

หากมีคำถามว่า
ไม่พบเพื่อนร่วมรุ่น มากว่า 20 ปี จะตามหากันได้อย่างไร
เสนอกิจกรรม One click รวมรุ่นที่ใช้ poll ในเฟสบุ๊คเป็นเครื่องมือ
และเป็นกิจกรรมในภาคสมัครใจ ทั้งการ join group และ click poll
สำหรับศิษย์เก่า คลิ๊กที่นี่

ภาพศิษย์เก่ากับกิจกรรม one click รวมรุ่น
ภาพศิษย์เก่ากับกิจกรรม one click รวมรุ่น

เหตุเริ่มจากว่า มีอยู่วันหนึ่ง ปลายฤดูหนาว
มีรุ่นน้องผู้หญิง เค้าชื่อ เปรมฤทัย รุ่น 45
โทรเข้ามาสอบถามว่ามีรูปเก่าของเพื่อนร่วมรุ่นไหม
มีโอกาสได้ซักไซร้ไล่เรียงกันอยู่พักหนึ่ง เพราะผมรุ่น 31
ห่างจากเค้าไป 15 ปี ก็คงไม่สะสมภาพเพื่อนของเค้าเป็นพิเศษ
และอยู่ต่างสาขาวิชาด้วย ยิ่งยากเลย
แล้วนึกถึง หอจดหมายเหตุ ของ มูลนิธิโยนก ก็น่าจะมีคำตอบ
แต่ต้องไปค้น facebook.com/yonokfoundation

เป้าหมายของศิษย์เก่า
1. เพื่อตามหาเพื่อนร่วมรุ่นที่ห่างหายไปมากกว่า 10 ปี
2. เพื่อตามอยากได้ภาพเก่าของเพื่อนและตนเอง

นั่นจึงเป็นการเริ่มต้น ที่จะตามหารุ่นน้องในแต่ละรุ่น
แล้วก็พบว่ามีกลุ่มศิษย์เก่าในเฟสชื่อ We are yonok
ที่รวบรวมศิษย์เก่าไว้มากที่สุด
เพราะเป็นกลุ่มเฟสที่ไม่ได้แยกรุ่นเหมือนกลุ่มอื่น
และในกลุ่มนี้มีคำอธิบายกลุ่ม ว่า ..

ผมสร้างกลุ่ม YONOK ขึ้นมา
เพื่อให้เกิดการรวมตัวกันของพวกเราชาว YONOK
และสามารถรู้เรื่องราว สารทุกข์ ของแต่ละท่าน
ช่วยกันตามเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ
ให้มาเข้ากลุ่มกันเยอะๆ นะครับ
คิดถึงชาว YONOK ทุกคนครับ
ผู้สร้างกลุ่มเป็นศิษย์เก่ารุ่น 3 ชื่อ Tommy

จึงได้สร้าง poll ให้ศิษย์เก่าได้มาคลิ๊ก
https://www.facebook.com/groups/iamyonok/
ข้อมูลแบ่งเป็น รหัส 2 ตัวหน้า ของรหัสนักศึกษา 7 หลักหรือ 13 หลัก
ที่เหมาะกับการใช้แยกรุ่น
ไม่ต้องกรอกข้อมูลอะไรเลย
เพียง คลิ๊กเดียว ก็พบเพื่อน ๆ ในรุ่นแล้ว
กิจกรรมนี้ชื่อ One click รวมรุ่น
จากนั้นก็เชิญชวนรุ่นต่าง ๆ เข้าไปแสดงตัว
ตามความสมัครใจ 

ตัวอย่างผลของกิจกรรม one click รวมรุ่น
ตัวอย่างผลของกิจกรรม one click รวมรุ่น

โดยข้อความที่เชิญชวนไปมีดังนี้
ใครรหัส 2 ตัวอะไร รายงานตัวกันหน่อย
เพื่อน ๆ ที่เข้ามาใหม่ ตามหากันจะได้เจอ
1. ตอบ poll
2. ส่งภาพกลุ่มเพื่อน ๆ จ๊าบ ๆ ใต้โพสต์ แล้วบอกรหัสกันด้วย
3. แท็กเพื่อนในภาพด้วย เวลาเปลี่ยน ทรงผมก็เปลี่ยน

ภาพเชิญชวนร่วมกิจกรรม
ภาพเชิญชวนร่วมกิจกรรม

ภาพประกอบโพสต์นี้ .. มาจากกิจกรรม Reunion
งานรวมรุ่น เมื่อ 27 มกราคม 2561
ที่สระว่ายน้ำของมหาวิทยาลัย
“ในฐานะเพื่อนคนหนึ่ง ให้มิตรภาพของคำว่า  เพื่อนแล้ว .. หมดทั้งใจที่มีอยู่”
.. เพื่อนรุ่น 1 คุณสันติ เขียวอุไร
มีข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://77kaoded.com/

ภาพเชิญชวนร่วมกิจกรรม
ภาพเชิญชวนร่วมกิจกรรม

ศิษย์เก่า (YONOK Alumni) ที่จะร่วมกิจกรรม คลิ๊กที่นี่
https://www.facebook.com/groups/iamyonok/

เปิดหัวอก Freelance ของพนักงาน

พบแถลงการณ์
ข้อเรียกร้องของกลุ่มพนักงาน [แห่งหนึ่ง] ที่ถูกเรียกว่า “ฟรีแลนซ์”
ใน post ของ “สื่อสาร กับ อ.ดา
เมื่อค้นดูผ่าน google.com
พบเรื่อง “หัวอก” ฟรีแลนซ์กว่า 80 ชีวิต ณ สถานีข่าว 24 ชั่วโมง
https://www.isranews.org/isranews/63567-tnn-635671.html

เป็นประเด็นที่น่าสนใจ และน่าใจหายอย่างยิ่ง
คงมีคำถามถึงหลายฝ่าย ว่าจะทำอย่างไรต่อไป
และถามกันได้อีกนานกับวิกฤตสื่อ ณ ปัจจุบัน

http://career.iresearchnet.com/career-development/downsizing/
http://career.iresearchnet.com/career-development/downsizing/

ที่มาที่ไป ก็มีในสื่ออย่างต่อเนื่อง
เมื่อตรวจสอบลงพบ พบโพสต์เมื่อ 7 เดือนก่อนหน้านี้
พบใน https://pantip.com/topic/36570204
มีข้อความว่า “ช่วงนี้สื่อใหญ่ๆ
ทั้งเนชั่น TNN(ทรู คอร์ปอเรชั่น) ไทยรัฐ
เลย์ออฟพนักงานเยอะมาก จากลิงค์อันนี้
และมีลิงค์ยัง https://www.isranews.org/isranews/57149-nation00.html
ในความเห็นที่ 1 หรือใน isranews.org ก็มีข้อความแนวเดียวกัน
มีหัวข้อ “เจาะมาตรการ 3 บิ๊กทีวีดิจิทัล ฝ่ามรสุมวิกฤตเศรษฐกิจสื่อ
โพสต์เมื่อ 15 มิถุนายน 2560 หรือ ราว 7 เดือนที่ผ่านมา
ซึ่งอ่านแล้วพบว่าเป็นมรสุมของทุกฝ่าย
มาตรการที่ใช้ คือ ลดค่าใช้จ่าย อย่างที่ไม่มีฝ่ายใดต้องการให้เกิดขึ้น

 

เล่าเรื่อง University 42 จาก bangkokbiznews.com โดย ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ

ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ เป็นคอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ “อาหารสมอง” เขียนเล่าเรื่อง “University 42” ที่ก่อตั้งโดยเศรษฐีชื่อ Xavier Niel กับ Nicolas Sardirac
ว่าที่นั่นมุ่งไปที่จุดเดียว คือ ผลิตนักพัฒนาซอฟต์แวร์ชั้นยอดปีละประมาณ 1,000 คน
เรียน 3-5 ปี แล้วแต่ใครจะใช้เวลานานเท่าใด มีหอพัก มีอาหารฟรี ให้นักศึกษาที่แย่งกันเข้า
ไม่มีการนั่งฟังเลคเชอร์ ไม่มีอาจารย์ เปิดเรียน 24 ชั่วโมง 7 วัน
ผู้เรียนทุกคน คือ อาจารย์ของกันและกัน
ปีแรก (2013) ที่เปิดรับมีผู้สมัคร 80,000 คน
เรียนจบระดับใดหรือสาขาใดได้ทั้งนั้น มีอายุระหว่าง 18-30 ปี
สอบรอบแรกคัดเหลือ 3000 คน แล้วติว 4 สัปดาห์
แล้วคัดเหลือ 1000 คน

http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/643904

ที่นี่เรียนรู้โดยอาศัย project-based learning คือ การเรียนรู้จากกันและกัน
นักศึกษาต้องทำงานโปรเจคหนักมาก ทีมละ 5 – 6 คน ชนิดไม่ได้หลับไม่ได้นอนเป็นอาทิตย์
โปรเจคมาจากของจริง เช่น ให้พัฒนาซอฟต์แวร์โปรแกรมของโทรศัพท์บางรุ่นที่ล้าสมัย
ให้ทำงานได้กว้างขวางขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
คำว่า 42 มาจาก นิยายวิทยาศาสตร์ชื่อ The Hitchhiker’s Guide to the Galaxy
เขียนโดย Douglas Adams
ในเรื่องถามซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ที่ชื่อ Deep Thought
ว่า อะไร คือ คำตอบสุดท้ายของคำถามเกี่ยวกับชีวิต จักรวาล และทุก ๆ สิ่ง
แล้วคอมพิวเตอร์ใช้เวลาคิดอยู่ 7.5 ล้านปี และให้คำตอบว่า 42

รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ที่ปรึกษาของ สสวท.
รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ที่ปรึกษาของ สสวท.

http://www.thaiall.com/computingscience/

เรื่องนี้ ผมเพิ่มเข้าไปในโฮมเพจ วิทยาการคำนวณ (Computing science)
ซึ่งมีคลิ๊ปเด่นของ รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ที่ปรึกษาของ สสวท. เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาหลักสูตรวิทยาการคำนวณ โดยอธิบายที่มาที่ไปได้ชัดเจน

สรุปขอบเขตของวิชาวิทยาการคำนวณ ประกอบด้วย 3 องค์ความรู้ ดังนี้
1. การคิดเชิงคำนวณ (computational thinking) คือ เข้าใจและเรียนรู้วิธีคิดและแก้ปัญหาเชิงวิเคราะห์ มีลำดับวิธีคิด ซึ่งนอกจากการเรียนการเขียนโปรแกรมแล้ว หัวใจที่สำคัญกว่า คือ สอนให้เราเชื่อมโยงปัญหาต่าง ๆ และแก้ไขปัญหาได้
2. ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม (digital technology) ทั้งเทคนิควิธีการต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลในยุค 4.0 และเป็นทางเลือกในการบูรณาการเข้ากับวิชาอื่นได้ด้วย
3. รู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล (media and information literacy) พูดง่าย ๆ คือ แยกแยะได้ว่าข้อมูลไหนเป็นจริงหรือหลอกลวง รู้กฎหมายและลิขสิทธิ์ต่าง ๆ บนโลกไซเบอร์ เพื่อให้ใช้งานกันได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
ข้อมูลจาก https://www.dek-d.com/education/48514/