วิ่งขึ้นดอยเนินสปิริต

ในช่วงนี้ เป็นช่วงจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม
รับขวัญ รับน้องใหม่ของทุกคณะวิชา ที่ #มหาวิทยาลัยเนชั่น
พบว่า อ.สิทธิโชค โควาบุญพิทักษ์ คณะนิเทศศาสตร์
ทำคลิปสรุปกิจกรรมทั้ง 5 วัน
ที่นำเสนอได้อย่างน่าตื่นตา
พบว่า มีเพื่อน ๆ นำคลิปไปแชร์ต่อหลายท่าน
มียอดไลค์ ยอดแชร์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

เป็นคลิปที่ยอดเยี่ยม ภาพชัด และใช้โดรน
มีคลิปของวันที่ 3 สิงหาคม 2565
ที่นิสิตจับมือกันวิ่งขึ้นดอย ได้ดูเพียงรอบเดียว
รู้สึกชอบ และเลือกใช้คลิปนี้เลย
จึงตัดสินใจนำคลิปนั้นมาเล่าต่อ ว่า มีความน่าสนใจเพียงใด
ประกอบกับการเตรียมบทเรียนการทำคลิป
ด้วยโปรแกรม Powerpoint
ซึ่งการบันทึกคลิปด้วยโปรแกรมนี้
เราสามารถแทรกคลิปตัวผู้บรรยายในระหว่างบรรยาย
ที่มุมล่างขวาของคลิปวิดีโอก็ได้
ซึ่งถือว่าเป็นอีกทางเลือกในการทำคลิปวิดีโอ
นอกเหนือจาก kinemaster, inshot, capcut, canva, viva
ที่อยากจะแนะนำนิสิตว่า
เราทำคลิปด้วยเครื่องมือนี้ก็ได้ เป็นโปรแกรมที่ใครก็รู้จัก
ขั้นตอนนั้น เริ่มจาก
ดาวน์โหลดคลิปที่มีการแชร์ในเฟสบุ๊ค
เลือกความละเอียดที่ไม่ต่ำเกินไป และได้แฟ้ม .mp4
ประกอบกับ เครื่องที่ทำงานมี RAM ที่มากพอจะรับมือได้
โปรแกรมเป็น Office 2019 และ Win 10
นำคลิปที่ได้ไป Insert บน Slide ใน Powerpoint
ซึ่งงานนี้มีเพียง slide เดียว และมีเพียงคลิปอยู่บนสไลด์
จากนั้นบันทึก Slide show ทันที
โดยไม่ได้เตรียมข้อมูลการเล่าเรื่องไว้ก่อน
และตั้งใจบันทึกแบบม้วนเดียวจบ
จึงไม่ได้ Pause ทีละ Scene เพื่อพูดถึงรายละเอียดในภาพ
ทำให้รู้สึกว่าช่วงบันทึก เร่งตนเองระหว่างเล่าเกินไป
ถ้ามีโอกาสทำคลิปแบบนี้อีก จะต้องหยุดในซีนที่น่าสนใจ
แล้วเล่าออกไปอย่างใจเย็น
เพื่อให้การนำเสนอรายละเอียดมีความครบถ้วนยิ่งขึ้น

ปฐมนิเทศน์ นิสิตใหม่

เปิดเรียน

วันนี้ (จันทร์ที่ 1 สิงหาคม 2565) นิสิตทั้ง 6 คณะเข้ากิจกรรมปฐมนิเทศ เป็นวันแรกของการเปิดปีการศึกษา ของ #มหาวิทยาลัยเนชั่น เห็นนิสิตพร้อมหน้าพร้อมตา หิ้วกระเป๋า สมุด ปากกา เดินเป็นระเบียบเรียบร้อย ออกจากหอไปเข้าห้องประชุมใหญ่ หลายคนเลือกเดินผ่านอ่างตระพังดาว หลายคนเดินตามถนนผ่านสวนป่า หลายคนแว้นมอเตอร์ไซค์มาหน้าอาคาร หลายคนชมชอบธรรมชาติอ้อมไปทางสนามกีฬา ปีนี้ ผู้บริหาร ผช. ผอ. คณบดี อาจารย์ เจ้าหน้าที่ รุ่นพี่ รุ่นน้อง ญาติพี่น้อง ก็ตื่นเต้นเห็นนิสิตใหม่พร้อมเพรียง เข้ากิจกรรม #เตรียมความพร้อม #รับน้องใหม่ ให้นิสิต พร้อมทางวิชาการ วิชาชีวิต มีสติ มีขวัญกำลังใจ พร้อมทั้งกายใจ อ.ใหญ่ (ธวัชชัย แสนชมภู) เตรียมต้นไม้ไว้หลายร้อยต้น ทำกิจกรรมปลูกต้นไม้ สร้างความเขียวขจี ให้แผ่นดินชุมชื้นมีชีวิตชีวาอีกครั้ง อ.แม็ค (วีระพันธ์ แก้วรัตน์) ก็เตรียมนิสิตรุ่นพี่ ทำกิจกรรม สร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างเพื่อนและพี่น้อง อีกหลายฝักหลายฝ่าย ก็เตรียมพร้อมในปีนี้กันอย่างสุดกำลัง

ปล. อยากบอกว่า ให้นิสิตใช้โทรศัพท์ เก็บภาพถ่ายที่ประทับใจไว้ เอาไว้คัดเลือกออกมา บอกเล่าเรื่องราว

ความทรงจำ ในแบบ #storytelling

เป็นกิจกรรมฝึกประสบการณ์ การเล่าเรื่องตาม #ลักษณะบุคคล 🙂

หนึ่งสมอง สองมือกับหนึ่งใจ ในแต่ละบุคคล

หนึ่งสมอง สองมือกับหนึ่งใจ อยู่ในบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป สอดคล้องกับ ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ที่ Learning Outcome ต้องสะท้อนมาเป็นผลลัพธ์ 4 องค์ประกอบได้แก่ 1) ด้านความรู้ 2) ด้านทักษะ 3) ด้านจริยธรรม 4) ด้านลักษณะบุคคล

มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565

มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ได้กำหนด ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา เมื่ออ่านแล้ว พบว่า สิ่งแรกที่ได้จากการศึกษา คือ การพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีปัญญาแก้ปัญหาได้

เมื่อมีความรู้ ความเข้าใจ ได้นำไปใช้ประโยชน์ และลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ก็จะได้ทักษะ ความชำนาญ นั่นคือเมื่อใดที่ลงมือปฏิบัติก็จะได้ผลลัพธ์เช่นเดิม เป็นมาตรฐานที่เชื่อถือได้ เช่น ทำอาหารก็จะได้รสชาติเดิม ฉีดยาก็จะเข้าถูกเส้นเลือด ถอนฟันก็จะนำออกถูกซี่ ผสมปูนก็จะได้สัดส่วนที่พอดี ก่ออิฐกำแพงบ้านก็จะเป็นเส้นตรง

เมื่อปฏิบัติการงานใดก็ต้องยึดมั่นในความสุจริต เคารพในสิทธิ มีศักดิ์ศรี รู้หน้าที่ของตนเอง ตั้งอยู่บนคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นสมาชิกที่มีคุณภาพของสังคม

การเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับตัวตนของผู้เรียน ที่เรียกว่า ลักษณะบุคคล ซึ่งบุคคลย่อมมีความเชื่อ ความสนใจ ฐานคิด และสมรรถนะที่แตกต่างกัน ส่งผลให้การใช้ความรู้ การประกอบอาชีพ การศึกษาเรียนรู้มีความยืดหยุ่นตามลักษณะบุคคล

สังคมปักหมุด

หลังภาพยนตร์หลายเรื่องเกี่ยวกับ Mutiverse ออกฉายอย่างต่อเนื่อง
เช่น Doctor Strange in the Multiverse of Madness (2022)
หรือ Everything Everywhere All at Once (2022)
ทำให้นึกถึงคำว่า #โลกหลายใบของใครหลายคน
ซึ่งปัจจุบัน ชาวสื่อสังคม ก็มีโลกหลายใบเช่นกัน
เรามองเห็น #platform หรือเวทีที่ชาวสื่อสังคมเลือกใช้ชีวิต
ซึ่งมีอยู่หลายสื่อสังคมที่แตกต่างกันไป
สังคมปักหมุด สังคมหนัง สังคมเพลง สังคมภาพถ่าย สังคมหนังสือ สังคมเล่าเรื่อง
พบว่า ผู้คนรอบตัวเรา เลือกใช้ชีวิตกันแตกต่างกันไป
ช่วงนี้เข้าสังคมปักหมุด ซึ่งมี pinterest.com เป็นผู้นำในสื่อกลุ่มนี้
ผู้อยู่ในสังคมนี้สามารถสร้างบอร์ด ซึ่งผมได้สร้างบอร์ดขึ้นมาชื่อ NTU page
แล้วทำการปักพิน (Pin) ไว้ในบอร์ดนี้ทั้งหมด 17 พิน (15 ก.ค.65)
เป็นพินในแบบที่เป็นโพสต์จากแฟนเพจทั้งหมด
ได้เห็นเรื่องราวที่แฟนเพจสื่อสารมา แล้วอยากเก็บไว้เป็นเซต
ซึ่งแฟนเพจถือเป็น front-end ของหลายมหาวิทยาลัย
ที่แบ่งปันในสังคมนั้น สำหรับสังคมปักหมุด
ผมเสนอสองลิงค์ข้างล่างนี้ ซึ่งเป็นโปรไฟล์ของผมในสังคมนี้
เมื่อเข้าไปแล้วจะพบหลายบอร์ด หากเลือกเข้าบอร์ด NTU page จะพบ 17 พิน

https://pin.it/1u4iFvk

https://www.pinterest.com/thaiall

ส่วนภาพหน้าจอที่ใช้ประกอบเรื่อง เป็นภาพตัวอย่างล่าสุดของบอร์ดโปรไฟล์
จะพบว่าเป็นพินภาพป้ายไวนิลของกิจกรรม
วันงานวันเทคนิคการแพทย์ไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่น่าสนใจ
ที่ส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีของคนไทย ของสังคมในมหาวิทยาลัยเนชั่น

thaiall home

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ “การตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมด้วยโปรแกรมอักราวิสุทธิ์” เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี แห่งการสถาปนาบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับสถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจจำนวน 150 แห่ง วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.30 – 14.30น. ออนไลน์ผ่าน Zoom ซึ่งความร่วมมือตามบันทึกข้อตกลงจะมีระยะเวลา 5 ปี ไปถึง 26 มีนาคม 2570 akarawisut.com

http://plag.grad.chula.ac.th/

https://www.akarawisut.com/

วัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างจุฬา กับสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เป็นหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ ในการตรวจสอบและป้องกันการลอกเลียนงานวรรณกรรม 2) เพื่อเป็นการป้องปรามมิให้มีการกระทำอันเป็นการลอกเลียนงานวรรณกรรมของบุคคลอื่น

https://www.thaiall.com/research/akarawisut.htm

ภาพขณะลงนาม
ภาพเปิดแฟ้ม
ถ่ายภาพร่วมกัน

ประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ครั้งที่ 20 : โปสเตอร์

ประชุมวิชาการระดับชาติ

พบ เรื่อง ปลูกถ่ายแนวคิดการวิจัย สู่การขับเคลื่อนนวัตกรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 20 วันเสาร์ที่ 25 และวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2565 ณ อาคารคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล พบว่า เพื่ออาจารย์หลายท่าน นำเสนอผลงานวิชาการในการประชุมครั้งนี้ ผมเข้าไปที่ ตรวจสอบสถานะ แล้วก็ค่อย ๆ เลื่อนดูชื่อ พบ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ อ.พัชรีภรณ์ หรพร้อม อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ ส่งผลงานเข้าไปในระบบแล้ว ไปดูหัวข้อกำหนดการ พบว่าหมดเขตส่งผลงาน 31 พฤษภาคม 2565 โดยครั้งนี้มี นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาเป็นปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน“

https://www.thaiall.com/pdf.js/wtu_20_poster.htm

โปสเตอร์ในการประชุมวิชาการ

ผลงานวิชาการที่น่าสนใจ 18 เรื่อง

ศรีเพชร สร้อยชื่อ, ศิรินธร อุทิศชลานนท์, และ พัชรีภรณ์ หรพร้อม. (2565). การบริหารแรงงานสัมพันธ์ในภาวะวิกฤตโควิด-19. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 240-250). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

สุริยา พุฒดวง, วิเชพ ใจบุญ, เกศริน อินเพลา, ศศิวิมล แรงสิงห์, บุรินทร์ รุจจนพันธุ์, และ เถลิงศักดิ์ สุทธเขต. (2565). การศึกษาการรับรู้ต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของนิสิต มหาวิทยาลัยเนชั่น. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 231-239). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

วีระพันธ์ แก้วรัตน์, ศิรินธร อุทิศชลานนท์, และ ภัชรชาติ ทูรวัฒน์. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการธุรกิจเซรามิก ในจังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 251-258). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

ธวัชชัย อ้ายผง, ศศิวิมล แรงสิงห์, เถลิงศักดิ์ สุทธเขต, และ ขวัญ สุภรสุข. (2565). การมีส่วนร่วมของชุมชนกับการบริหารจัดการป่าชุมชนแบบยั่งยืน: กรณีศึกษา ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 259-268). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

คนึงนิจ ติกะมาตย์ และ กวินทร์ ศุภวิทยโยธิน. (2565). การใช้สื่อออนไลน์เพื่อพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมกิจกรรมของผู้สูงอายุในวิถีชีวิตใหม่ ชุมชนบ้านบุญเกิด อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 222-230). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

พนิดา สินสุวรรณ และ ศรีสกุล ชัยเวียง. (2565). การศึกษาผ่านทางไกลจากพระราชดำริในรัชกาลที่ 9 สู่ยุคการสอนออนไลน์. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 331-339). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

พิสิษฐ์ ยอดวันดี. (2565). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 321-330). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

จุรีย์ สร้อยเพชร และ วราลักษณ์ ศรีกันทา. (2565). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 315-320). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

กาญจนา ภาสุรพันธ์. (2565). การขับเคลื่อนสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 269-278). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

พัทธนันท์ พุดหล้า, จิติมา กตัญญู, กุลสตรี กองวี, ชุติกาญจน์ ศรีษะ, ศิริลักษณ์ รัตนดวง, วัชรี ใจโพธิ์, และ นิตยา อินต๊ะสาน. (2565). การศึกษาความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าโทก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 180-190). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

ศรีเพ็ญ วิทิตานนท์, พัทธนันท์ พุดหล้า, กิตติพงษ์ เปาป่า, กรกาญจน์ สิทธิจู, และ ปรียาภรณ์ วัชรการุณย์ฺ. (2565). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หมู่บ้านโทกหัวช้าง ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 201-211). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

จิติมา กตัญญู, ปรางค์วลัย ก๋าแก่น, ญาณิศา ชุ่มธิ, สุนันทา สิงหการ, ภัทรนัย ไชยพรม, ไกรศร วงศ์ธิดา, และ ศิริวรรณ คำวงค์ษา. (2565). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าขัว ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 159-167). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

วิภาพร เตชะสรพัศ, กวินนา แซ่ท้าว, สุภัสสรา พิทักษ์อนันตกุล, ภูมริน ทองอ่อน, ภัทรนัย ไชยพรม, นรกมล ขันตรี, และ วชิราภรณ์ ตามวงค์. (2565). พฤติกรรมการใช้ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ในผู้ป่วยกลุ่มโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูกที่มารับบริการคลินิกแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นธงชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 191-200). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

จิราพร สุวรรณธีรางกูล, จิติมา กตัญญู, พัทธนันท์ พุดหล้า, ณัฐยาภรณ์ ตันน้อย, สุจินันท์ วงค์ทิพย์, ธรัญชนก พรมลังกา, และ ภัทรนัย ไชยพรม. (2565). การศึกษาสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ชุมชนบ้านวังทอง ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 168-179). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

วุฒิโชติ จันทร์แสนตอ, มณฑล เลิศคณาวนิชกูล, พวงทิพย์ ภู่พงษ์, กฤษณา พงศ์สุวรรณ, ณิชารีย์ พรมราช, ดารารัตน์ ห่อเพ็ชร. (2565). การสำรวจเชื้อ Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) และชิ้นส่วนยีน mecA บนพื้นผิวโต๊ะห้องเรียนฝึกปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 141-149). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

สุภาวดี มณีเกษร. (2565). ผลของการน็อคเอาท์ยีนยูบิควิตินคอนจูเกต (UBE2G1 และ UBC13) ต่อการเจริญเติบโตของเชื้อพลาสโมเดียมฟัลซิพารัม. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 150-158). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

จุฑารัตน์ หมอเต๊ะ, สุภาวดี มณีเกษร, ชญาภา พรหมเดชวัฒนา, วุฒิโชติ จันทร์แสนตอ, และ ยุพาลภัส สุภาเลิศภูรินทร์. (2565). การเข้าถึงแอนติเจน เทสต์ คิทเพื่อคัดกรองโควิด 19 กับวิถีชาวบ้านในปัจจุบัน ในอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 137-140). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

นภาพร วรรณศรี. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง พ่อเจ้าทิพย์ช้าง โดยใช้ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเนชั่น. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 116-123). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

การจัดการรายการต้นแบบ ใน MS Word

โปรแกรมเอกสาร (MS Word) มีคุณสมบัติหนึ่ง คือ ระบบบรรณานุกรม ที่เก็บรายการต้นแบบ และรายการปัจจุบัน ที่สามารถบันทึกแหล่งข้อมูล แล้วเลือกใช้รายการปัจจุบันในเอกสารที่เปิดอยู่ หรือนำมาแทรกเป็นเอกสารอ้างอิงท้ายรายงาน หรือท้ายบทความวิชาการได้ เมื่อถึงเวลาต้องสรุปเอกสารอ้างอิงนั่นเอง ดังนั้น นักวิจัย สามารถอ่าน เขียน สรุปรายการงานวิจัย บทความวิชาการ และบันทึกเป็นแหล่งข้อมูลให้ได้จำนวนและเนื้อหาที่เพียงพอ แล้วทำการรีวิวอย่างเป็นระบบ เลือกมาเขียนในรายงานการวิจัย 5 บทได้

มีขั้นตอนการใช้งาน คือ เข้าแถบเมนู, การอ้งอิง, จัดการแหล่งข้อมูล, มีแหล่งที่พร้อมใช้งานใน C:\Users[user name] \AppData \Roaming \Microsoft \Bibliography \Sources.xml ซึ่งแฟ้ม Sources.xml ผู้วิจัยสามารถเพิ่ม ลบ แก้ไขได้ง่าย หากต้องการเลือกใช้ก็เพียงคัดลอกจากหน้าต่าง “รายงานต้นแบบ” เข้าหน้าต่าง “รายการปัจจุบัน” ซึ่งเอกสารอ้างอิงมีให้เลือกได้หลายรูปแบบ เช่น APA, Chicago, IEEE, MLA, Turabian ส่วนแฟ้ม Sources.xml มีหน้าที่เก็บรายการเอกสารที่ผู้วิจัยรวบรวมจากการค้นคว้าไว้ มีได้หลายแฟ้มตามโครงการ หรือบุคคลได้ เช่น Sources_burin.xml หรือ Sources_wtu20.xml ซึ่งการเรียกแฟ้มต้นแบบเข้ามาเปลี่ยนใน MS Word จะไม่ใช่การรวมรายการกับแฟ้ม Sources.xml เดิม แต่เป็นการเปิดใหม่แทนที่แฟ้มรายการต้นแบบเท่านั้น

การอ้างอิง บน Microsoft word

ในการแทรกบรรณานุกรม ยังมีตัวเลือก “บันทึกส่วนที่เลือกลงในแกลลอรีบรรณานุกรม” ที่เรียกมาใช้ได้ หรือเข้าไป “จัดระเบียบและลบออก” ผ่าน right click ก็ได้ โดยใช้ mouse คลุมเนื้อหาส่วนที่เลือก แล้วสั่งบันทึกฯ เพื่อเรียกใช้อีกครั้งภายหลัง

https://www.thaiall.com/research/apa.htm

ประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ครั้งที่ 20

ประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 เรื่อง ปลูกถ่ายแนวคิดการวิจัย สู่การขับเคลื่อนนวัตกรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน วันเสาร์ที่ 25 และวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ณ อาคารคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น อําเภอลําลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยมี ดร.ประภากร สมิติ นายกสภามหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ประธานในพิธีกล่าวต้อนรับ และ เปิดการประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 เรื่อง “ปลูกแนวคิดการวิจัย สู่การขับเคลื่อนนวัตกรรม นําเศรษฐกิจ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” และมี ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดย ดร.วิวัฒน์ ศัลยกําธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ได้ฟัง ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ผู้ที่ลูกศิษย์เรียกว่า “อาจารย์ยักษ์” มีประเด็นที่น่าสนใจมากมาย เช่น ทฤษฎีการเติบโต 5 ขั้นของรอสตาว (Rostow’s 5 Stages of Growth) : 1) จอดนิ่งติดเครื่อง 2) วิ่งบนรันเวย์ 3) ทะยาน 4) ติดลมบน 5) สะสมความมั่งคั่ง หรือ ปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียง หรือ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานภาพวาดการ์ตูนฝีพระหัตถ์ เกษตรทฤษฎีใหม่แบบประยุกต์ (โคก หนอง นา) แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อ 29 มกราคม 2564 พร้อมพระราชทานข้อความว่า “VOR. KOR.” “AJ. Yak’s Class” “Sustainable Agronomy” และทรงพระประมาภิไธย 29th Jan 64 แล้วได้ยกกรณีตัวอย่างการพัฒนาของ โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย – ศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ในสังกัด สพป.ชลบุรี เขต1 และ สพม.เขต18 เปิดคลิปวิดีโอ ที่เล่าถึงแนวคิดของโรงเรียนปูทะเลย์ แนะนำ ครูอาบอำไพ รัตนภาณุ (พี่แตง) ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง (โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย) และอาจารย์พิเศษ คณะศิลปศาสตร์ หลักสูตรผู้ประกอบการสังคม สถาบันอาศรมศิลป์

กำหนดการประชุมวิชาการ

ก่อนจบปาฐกถาพิเศษ มีผู้ร่วมประชุม คือ รองศาสตราจารย์ ดร.สืบพงศ์ สุขสม ได้มีคำถาม เรื่องการเชื่อมโยงทฤษฎีด้านการพัฒนาฯ ซึ่ง ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ได้ตอบว่า เป็นเรื่องที่ท่านทำวิจัยมา หากตอบแบบละเอียดก็จะใช้เวลาหลายวันได้เลย ส่วนที่จะเชิญมาบรรยายให้นิสิตของมหาวิทยาลัย ขอจัดแบบ Active learning เพราะแบบ Passive learning ที่บรรยายคนเดียว จะได้ประโยชน์น้อยกว่า จึงต้องการจัดแบบพูดคุยแลกเปลี่ยน จะได้ผลดีกว่า

https://www.thaiall.com/project/conference.htm

ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ มอบของที่ระลึก

สามช่วงวัย กับเพลง บ้านเกิดเมืองนอน

โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารีย์

พบมิวสิกวิดีโอ เพลง บ้านเกิดเมืองนอน ของนักเรียนโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารีย์ จังหวัดลำปาง นักร้องนำคือ นางสาวเจวรินทร์ มุงเมือง มีฉากเป็นเรื่องราวของเด็กนักเรียนตัวเล็กตัวน้อยนุ่งชุดประจำชนเผ่า พบการขับร้องตอนท้ายด้วยภาษาม้ง และภาษาปกาเกอะญอ สะท้อนชีวิตของนักเรียน ที่เดินทางจากบ้านเกิดเมืองนอน มาเรียนอยู่ในโรงเรียนกินนอนที่ลำปาง มีฉากโรงเรียน ฉากหมู่บ้าน และต้มไข่ที่น้ำพุร้อนแจ้ซ้อน ผมพบการแชร์คลิปโดยผู้ใหญ่ใจดี 2 ท่านเข้ากลุ่มสังคมคนรักอ่าน เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 ได้นั่งฟังเพลง และดูการถ่ายทอดเรื่องราวอย่างเพลินใจ

บ้านเกิดเมืองนอน
โรงเรียนลำปางกัลยาณี

เมื่อค้นต่อไป พบเพลง บ้านเกิดเมืองนอน ของโรงเรียนลำปางกัลยาณี ที่ระบุว่าเป็น กิจกรรมการประกวด “ขับร้องบทเพลงส่งเสริมความรัก ความสามัคคี เสริมสร้างจิตสำนึกที่ดีงาม และความภาคภูมิใจในความเป็นไทย” นักเรียนร่วมแรงร่วมใจร้องเพลงเต้นรำได้อย่างมีชีวิตชีวา ปล่อยพลังกันสุดฤทธิ์สุดเดช เห็นได้ถึงความสนุกสนานร่าเริง นักร้องนำมี 3 สาว คือ นางสาวอรอุมา แก้ววงศ์ นางสาวปานทิพย์ ทินกร ณ อยุธยา และเด็กหญิงพุทธรักษา ทองสุขา ร่วมกันร้องเต้นกับเพื่อนหลายสิบคน หลายชุด และหลายสถานที่ ดูกันเพลิน ๆ กับมิวสิกเพลงนี้

บ้านเกิดเมืองนอน


จากนั้นค้นในยูทูป พบเพลง บ้านเกิดเมืองนอน 2564 – EP.1 ROCK FULL VERSION เป็นคลิปที่มียอดวิวสูงสุด คือ 1,120,336 ครั้ง ขับร้องโดยมืออาชีพยกแก็ง เป็นฉากที่หนุ่มขี่มอเตอร์ไซค์สวมเสื้อหนังสีดำกลับบ้าน ชวนให้รู้สึกรักถิ่นฐานบ้านเกิดเมืองนอนขึ้นมาจับใจ นักร้องเป็นชายล้วน มาในธีมเสื้อยืดสีขาว ส่วนหนุ่มที่ขับมอเตอร์ไซค์ มุ่งหน้าลงใต้ติดชายทะเล กลับไปทางข้าวทานแกงกับคุณพ่อคุณแม่อยู่ริมทุ่งนาอย่างมีความสุข

บ้านเกิดเมืองนอน

อรรถาภิธาน (Thesaurus)

อรรถาภิธาน (Thesaurus) คือ คลังของคำศัพท์ หรือพจนานุกรมคำพ้อง (synonyms) ซึ่งเป็นพจนานุกรมที่เก็บคำที่มีความหมายเหมือนกัน เช่น พิมพ์ test คลิ๊กคำนี้ใน MS Word แล้วเข้าเมนู Review, Thesaurus จะพบกับคำแนะนำมากมาย ได้แก่ เช่น Examination, Exam, Quiz, Trail, Assessment, Check, Experiment, Investigation, Analysis เป็นต้น

https://www.thaiall.com/glossary/

ซึ่งห้องเรียนนักเขียนมักต้องใช้งานฐานข้อมูลคำพ้อง เพื่อเลือกใช้คำให้กระชับ ครอบคลุมประเด็นที่ต้องการ และสื่อออกมาได้อย่างชัดเจน ดังนั้น การออกแบบคำในหมู่ผู้ส่งสาร นักการตลาด นักประชาสัมพันธ์ นักเขียน นักสื่อสาร นักพูด นักคิด จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง การใช้คำว่าแบบ c l i c k b a i t มักถูกนำมาใช้ เช่น แถ ยัน อึ้ง ช็อก สลด แซบ เผย หลุด ร้อนตัว เตะถ่วง โผล่ สารภาพ ล้ม รวย แตก ทรุด งง เลื่อน เฮง

ชวนอ่าน

นันทวัฒน์ เนตรเจริญ. (2560). กลวิธีทางภาษาในพาดหัวข่าวเพื่อชวนให้อ่านของข่าวออนไลน์. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 29(2), 237-263.

ซึ่ง นันทวัฒน์ เนตรเจริญ สนใจการพาดหัวข่าวของข่าวออนไลน์
จากเว็บไซต์ข่าวออนไลน์จำนวน 6 เว็บไซต์ ซึ่งน่าเข้าไปเรียนรู้ ได้แก่

liekr.com

news.jarm.com

jaizaa.com

tnews.co.th

tsood.com

tvpoolonline.com

โดยผลการวิจัยพบว่า การพาดหัวข่าว จำแนกได้ 3 กลวิธีหลัก

กลวิธีการสร้างความสงสัย (question)

กลวิธีการสร้างคุณค่า (value)

กลวิธีการสร้างความมีส่วนร่วม (participation)

นันทวัฒน์ เนตรเจริญ

https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jasu/article/download/185178/130253/