questionnaire form by google docs

รวมภาพการใช้งาน google docs
ในส่วนของ questionnaire form เพื่อสร้างแบบสอบถาม
โดยใช้เพลงดั่งดอกไม้บาน เป็น background song

คลิ๊ปนี้ผมไม่ได้ใช้เสียงพูด เพราะดูเนื้อหาแล้ว น่าจะเข้าใจได้ง่าย
และใช้วงกลมสีแดงสื่อให้รู้ว่าคลิ๊กตรงไหนบ้าง .. ก็น่าจะเห็นภาพแล้ว

ระบบตรวจสอบการคัดลอกบทความทางวิชาการ turnitin

การขโมยความคิด (Plagiarism) คือ การคัดลอกผลงาน หรือการกระทำที่เข้าข่ายขโมยความคิดของผู้อื่น โดยไม่อ้างอิงอย่างถูกต้อง อาจเรียกว่า การโจรกรรมทางวิชาการ

บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2555).
การคัดลอกผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัย สิ่งพิมพ์ วิทยานิพนธ์ (Academic Plagiarism)
“ประเด็นที่เราควรตระหนัก”. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2564. จาก https://www.grad.chula.ac.th/download/files/Plagiarism.pdf.

การสืบค้นผลงานจากอินเทอร์เน็ต
ที่ค้นจาก google.com หรือนำมาจาก wikipedia.org แล้วคัดลอก ไปวางในงานเอกสารของตน ที่นักเรียนมักคัดลอกผลงานจากอินเทอร์เน็ตส่งครู มักเรียกว่า Cyber-plagiarism

ประเภทการคัดลอกผลงาน พบว่ามี 3 ลักษณะ 1) Plagiarism คือ คัดลอกผลงานของคนอื่น 2) Self-plagiarism หรือ Duplication คือ คัดลอกผลงานของตนเอง 3) Co-submission คือ เขียนร่วมกันหลายคน แต่ระบุชื่อผู้เขียนคนเดียว
http://facstaff.swu.ac.th/..Ver2.pdf
https://en.wikipedia.org/..Plagiarism

turnitin ระบบตรวจสอบการคัดลอกบทความทางวิชาการ
turnitin ระบบตรวจสอบการคัดลอกบทความทางวิชาการ

โปรแกรม หรือระบบตรวจสอบการคัดลอกบทความทางวิชาการ
ปัจจุบันมีหลายระบบที่นิยมใช้ในไทย ซึ่งเป็นแบบไว้จำหน่าย
[ส่วนแบบที่ฟรี และดี ยังไม่พบ]

 

ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีดังนี้

1. โปรแกรม endnote
https://www.car.chula.ac.th/curef-db/logo/endnotex6.html
แต่ต้องมี password ของ Chula

2. โปรแกรม Turnitin
ที่ Mahidol กับ Chula ก็ใช้
http://www.si.mahidol.ac.th/../siturnitin/
Chula แนะนำ turnitin แต่ต้องลงทะเบียน ที่จุฬา
http://www.car.chula.ac.th/curef-db/
แล้วหา Plagiarism Prevention Tool: Turnitin & Accounts
http://www.turnitin.com/
http://www.med.cmu.ac.th/..slide.pdf

3. โปรแกรม Anti-kobpae
บริการผ่านเว็บไซต์ แบบทดลองใช้
https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/2945-anti-kobpae
ที่ ! http://www.anti-kobpae.in.th
อธิบายที่ http://www.it24hrs.com/

4. แบบมีค่าใช้จ่าย ของ Artistscope
ที่ http://th.artistscope.com/

– บริการสืบค้นการคัดลอกผลงานแบบออนไลน์
ทดสอบใช้บางบริการได้ เพราะบางบริการไม่มีค่าใช้จ่าย
+ http://smallseotools.com/plagiarism-checker/
+ http://www.dustball.com/cs/plagiarism.checker/
http://en.writecheck.com/home/
https://plagiarismcheck.org/
! plagiarism-detect.com

– งานวิจัย NCCIT
ระบบสนับสนุนการตรวจสอบการคัดลอกข้อความ
(Plagiarism Detection Support System)
http://202.44.34.144/.. 2011260247.pdf

– แชร์ลิงค์ต่าง ๆ ของ Blog นี้ ใน Fanpage
http://www.facebook.com/

ข้อเสนอแนะการเขียนรายงานการประเมินคุณภาพ

ข้อเสนอแนะการเขียนรายงานการประเมินคุณภาพ
ข้อเสนอแนะการเขียนรายงานการประเมินคุณภาพ

การประเมินว่าสถานศึกษามีคุณภาพหรือไม่ จะมีคนภายนอกเข้าไปมอง หากมองแล้วพบว่าผลการดำเนินงานไม่ตอบเกณฑ์ที่ส่วนกลางตั้งขึ้น ก็จะมองว่า มีจุดแข็ง/จุดอ่อนอะไร ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วสาเหตุที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านั้น แล้วปิดด้วยข้อเสนอแนะทิศทางการพัฒนา ซึ่งมีเอกสารตัวอย่างแนวทางการให้ข้อเสนอแนะการเขียนรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา

ประกอบด้วย 1) ผลการประเมินทุกระดับคุณภาพ ต้องให้ข้อเสนอแนะ 2) การให้ข้อเสนอแนะกำหนดให้ระบุไว้ใน 2 แห่ง คือตัวบ่งชี้ และแต่ละมาตรฐานทั้ง 4 มาตรฐาน 3) รูปแบบการเขียนข้อเสนอแนะ ในรูป swot ที่มีเพียงจุดแข็งและจุดอ่อน
ที่ http://www.scribd.com/doc/143112144/

ที่มจร.ลำปาง และอบรมระบบฐานข้อมูลสหกิจศึกษา

ประชุมร่วมกับ วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ในการประชุมวิสามัญของสถาบัน
ประชุมร่วมกับ วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ในการประชุมวิสามัญของสถาบัน

21 พ.ค.56 13.00-14.30น. ร่วมประชุมกับ มจร.วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง นำเสนอโครงการวิจัย การพัฒนาระบบประเมินการเรียนการสอน และสิ่งสนับสนุน วันนี้พระครูเมตตาชวนคุยเรื่องระบบสารสนเทศต่าง ๆ และงานต่อเนื่องที่ทำกันมา วันนี้เป็นประชุมใหญ่วิสามัญของวิทยาลัยสงฆ์ ที่พร้อมหน้าพร้อมตา การไปครั้งนี้แลกมาด้วยการลาประชุมจากคณะฯ ที่กำลังคุยเข้มข้นต่อเนื่องตั้งแต่เช้า เรื่องผลปี 2555 และแผนปี 2556 แต่ในทีมคณะบอกว่าไปได้เลย

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.526438530703616.132183.506818005999002

co-op database training
co-op database training

21 พ.ค.56 15.00น. เกือบบ่ายสาม กลับถึงมหาวิทยาลัยก็เข้าอบรมกับ อาจารย์เจนศิริ จันทร์ศิริ และอาจารย์ภูษิต ก้อนสุรินทร์ ออกรสออกชาติ เพราะได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องระบบฐานข้อมูลสหกิจศึกษา ทั้งสองท่านก็พูดเก่งครับ ก็เลยเป็นเวทีที่เน้นการแลกเปลี่ยนแบบสองทาง แทนที่จะเป็นการอบรมแบบฟังอย่างเดียว .. แต่มาไม่ทันเข้ากล้องพี่นิเวศน์ ที่เก็บภาพสวย ๆ ไปก่อนหน้านี้

co-op database training
co-op database training

อาจารย์เจนศิริ จันทร์ศิริ หัวหน้าสำนักงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยพายัพ คณะทำงานเครือข่ายส่งเสริมการพัฒนาสหกิจศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน และหัวหน้างานพัฒนาสหกิจศึกษาออนไลน์ และอาจารย์ภูษิต ก้อนสุรินทร์ หัวหน้างานเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพ จัดโครงการพัฒนาสหกิจศึกษาออนไลน์ร่วมกับเครือข่ายส่งเสริมการพัฒนาสหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน ครั้งที่ 1 โดยมีสถาบันเครือข่ายฯ เข้าร่วมทดสอบรวม 5 สถาบัน ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง, วิทยาลัยชุมชนแพร่, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (ลำปาง) และมหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 อาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง เมื่อวันอังคาร ที่ 21 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.30 – 16.30
ข่าวโดยพี่นิเวศน์
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=463943940349363&set=a.232673853476374.55211.228245437252549

มีด่านบอกด้วย

ubonmedan
ubonmedan

พบผู้ต้องสงสัยว่ามีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (๑) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ(๔)

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/A/027/4.PDF
อุบลราชธานี – ตำรวจจราจรแจ้งจับหนุ่มใช้มือถือถ่ายใบสั่งลงเฟซบุ๊ก “มีด่านบอกด้วย” เหตุอ้างจับแฟนสาวไม่เอาที่พักเท้าจักรยานยนต์ขึ้น ทั้งที่ความจริงไม่สวมหมวกนิรภัย เบื้องต้นแจ้งข้อหาหนักดูหมิ่นเจ้าพนักงาน หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ขณะที่กลุ่มแฟนเพจเคลื่อนไหวตอบโต้ตำรวจที่มุ่งตั้งด่านจับมากกว่าป้องกันอาชญากรรม

วันนี้ (1 พ.ค.2556) พ.ต.ท.ก้องชนะ บุตรศิริ รอง ผกก.สส.สภ.เมือง จ.อุบลราชธานี รับแจ้งจาก ด.ต.สำเร็จ จำปาโพธิ์ ผบ.หมู่งานจราจร สภ.เมือง ให้ดำเนินคดีต่อนายชลวิทย์ ศรีสว่าง อายุ 25 ปี ทำงานที่ร้านจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ ในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล พลาซา จ.อุบลราชธานี ฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงาน หมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา และความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากเย็นวานนี้ (30 เม.ย.2556) นายชลวิทย์ใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพใบสั่งที่ออกโดย ด.ต.สำเร็จ ซึ่งจับกุม น.ส.โย (นามสมมติ) แฟนสาวนายชลวิทย์ ข้อหา “ขับขี่จักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย” แต่นายชลวิทย์กลับระบุในเฟซบุ๊กว่า ความเป็นจริง ด.ต.สำเร็จจับกุมแฟนของตนฐาน “ไม่เอาที่พักเท้ารถจักรยานยนต์ขึ้น” แต่เลี่ยงออกใบสั่งข้อหาไม่สวมหมวกนิรภัย ทำให้ ด.ต.สำเร็จถูกผู้บังคับบัญชาเรียกตัวมาสอบสวนข้อเท็จจริง และทำให้คนที่อ่านข้อความเกลียดชัง ด.ต.สำเร็จ จึงเข้ามาแจ้งความดำเนินคดีต่อนายชลวิทย์ ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้ตามจับกุมนายชลวิทย์ได้ที่ทำงานนำตัวมาสอบสวน ยอมรับว่าเป็นผู้โพสต์ข้อความดังกล่าวจริง ไม่ได้มีเจตนาหมิ่นประมาทตำรวจแต่อย่างใด

แค่ต้องการเรียกร้องขอความเป็นธรรมให้กับแฟนสาว จึงใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพใบสั่ง และส่งข้อความไปยังเฟซบุ๊ก “มีด่านบอกด้วย” ซึ่งต่อมาเจ้าของเฟซบุ๊กได้ก๊อบปี้เผยแพร่ในแฟนเพจ จนมีผู้เข้ามาแสดงความเห็น โจมตีการทำงานของตำรวจจำนวนมาก ซึ่งนายชลวิทย์ยืนยันว่าเชื่อตามคำบอกเล่าของแฟนสาวว่าเป็นการออกใบสั่งโดยไม่เป็นธรรม จึงขอให้การปฏิเสธ ไม่ยอมรับข้อกล่าวหาที่พนักงานสอบสวนแจ้งขณะนี้

สำหรับความเคลื่อนไหวในเฟซบุ๊ก “มีด่านบอก” ด้วย ขณะนี้มีการลบข้อความโจมตีการทำงานของตำรวจจราจรออกจากหน้าเพจไปจำนวนหนึ่ง เนื่องจากทราบว่าตำรวจได้ปริ้นข้อความเพื่อใช้เป็นหลักฐาน ตามจับกุมบรรดาแฟนเฟจที่เข้ามาโพสต์ข้อความ โจมตีพฤติกรรมการทำงานของตำรวจจราจร

ทั้งนี้ เพจมีด่านบอกด้วยอุบลราชธานี ได้เปิดหน้ารับแจ้งข่าวสารการตั้งด่านของตำรวจจราจร ตำรวจสายตรวจ และทำเป็นระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ รับแจ้งจุดตั้งด่านตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2555 ปัจจุบันมีแฟนเพจกว่า 94,000 คน เพื่อตอบโต้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งตั้งจุดตรวจจับมาตรการ 3 ม. 2 ข. 1 ร. มากกว่าการตั้งจุดตรวจเพื่อป้องกันอาชญากรรม ตามจุดประสงค์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000052187

สกอ. ประเมินหลักสูตรนิเทศ คณะไอซีที ศิลปากร ที่กสท. ไม่ผ่าน

ict silpakorn press
ict silpakorn press

2 เม.ย.2556 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ลงเผยแพร่เอกสารการประกาศยุติการรับนักศึกษาเข้าเรียนต่อในหลักสูตรนิเทศศาสตร์ประจำปี 2556 โดยชี้แจงว่า สกอ.มีมติพิจารณาการประเมินให้ไม่ผ่านมาตรฐาน โดยมีรายละเอียดชี้แจงดังต่อไปนี้

แถลงการณ์จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มศก.
เรื่องการรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2556

28 มีนาคม 2556 มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับเอกสารแจ้งเรื่อง ผลการพิจารณากรณีทักท้วงผลการประเมิน ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามหนังสือเลขที่ ศธ. 0506(5) / ว 354 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2556 กรณีมหาวอทยาลัยศิลปากร ได้ทำหนังสือทักท้วงผลการตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ณ ศูนย์การศึกษา อาคาร กสท. บางรัก ของหลักสูตรนิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร “ไม่ผ่าน” ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการด้านมาตรฐานอุดมศึกษาในการประชุมครั้งที่ 2/2556 เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2556 ได้พิจารณาวินิจฉัยผลการทักท้วงของมหาวิทยาลัยศิลปากรแล้ว มีมติยืนยันผลการประเมิน “ไม่ผ่าน” นั้น

จากมติของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาดังกล่าว มีผลให้คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ต้องยุติการรับนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 2556 หากยังคงเปิดรับนักศึกษาใหม่อยู่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะไม่รับทราบหลักสูตรทั้งในและนอกที่ตั้ง นับตั้งแต่วันที่แจ้งให้ทราบและประกาศต่อสาธารณะ รวมทั้งแจ้งสำนักงาน ก.พ. ต่อไป

ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการประชุมวาระด่วนที่สุด เมื่อวันอังคารที่ 2 เมษายน 2556 ได้มีการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว และที่ประชุมมีมติให้คณะฯ ดำเนินการเกี่ยวกับการรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ประจำปี 2556 ดังต่อไปนี้

1. ในปีการศึกษา 2556 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร จะยุติการรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ในระบบกลาง (Admission) นอกสถานที่ตั้ง ณ ศูนย์การศึกษา อาคาร กสท. โทรคมนาคม บางรัก กรุงเทพ ตามมติ สกอ.

2. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะเปิดรับนักศึกษาใหม่ ประจำปี 2556 ในสถานที่ตั้งหลักที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี โดยวิธีรับตรง จำนวน 100 คน ใน 2 สายวิชา ได้แก่ สายวิชาการลูกค้าสัมพันธ์ จำนวน 40 คน และสายวิชาวารสารและหนังสือพิมพ์ จำนวน 60 คน

ทั้งนี้ การคัดเลือกนักศึกษาเข้าเรียนในสายวิชาดังกล่าว คณะฯ จะใช้รูปแบบและเกณฑ์ในหการรับเข้าศึกษา เช่นเดียวกับการคัดเลือกนักศึกษา ในระบบกลาง (Admission) หากนักเรียนสนใจที่จะสมัครเข้าเรียนในสายวิชาดังกล่าวของคณะฯ ขอให้ติดตามข้อมูลต่างๆ จาก เว็บไซต์ www.ict.su.ac.th ต่อไป

ด้าน อาจารย์ศาสวัต บุญศรี  อาจารย์ประจำ
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นและสรุปมติดังกล่าวของสกอ.ว่า

1. หลักสูตรนิเทศ คณะไอซีที โดนประเมินจาก สกอ. ว่าไม่ผ่านเกณฑ์การตั้งนอกที่ตั้ง (สกอ. ทำเพื่อป้องกันผู้บริโภค มาเรียนแล้วโดนหลอก) สกอ. ได้ทำการปิดเพียบ พูดง่าย ๆ คือให้กลับเรียนเพชรบุรี (หรือวิทยาเขตอื่น ๆ)

2. สกอ.สั่งห้ามรับนักศึกษาในปีการศึกษาใหม่ หากยังรับให้ปีหนึ่งเรียนที่บางรัก จะทำการปิดหลักสูตร (ย้ำว่า หลักสูตร ไม่ใช่คณะ) และจะส่งเรื่องให้ กพ. ให้รับรองวุฒิ

3. ปี 2-4 นิเทศยังเรียนเหมือนเดิม ส่วนธุรกิจและออกแบบ ถือว่าการที่ปีสี่มาเรียนที่บางรักไม่มีปัญหา เพราะเรียนในวิทยาเขตที่ตั้งมาแล้วเกิน 50% ของหน่วยกิต

4. ทางอธิการฯและคณะได้หารือด่วน มีหลายทางเลือกมาก สุดท้ายอธิการเสนอให้ปีหนึ่งนิเทศ ปี 56 กลับไปเรียนเพชรบุรี (กลับยังที่ตั้ง) เมื่อได้สำรวจอาคารสถานที่ พบว่าหอในรับเพิ่มได้อีกราว 150 คน โดยเปิดเฉพาะสาขาลูกค้าสัมพันธ์และวารสารฯ เพราะการสร้างสตูดิโอสำหรับเอกที่เหลือยังไม่พร้อม การเรียนการสอนยังเหมือนธุกิจและออกแบบคือ ปีสี่กลับมาเรียนบางรัก

5. ทางสภามหาวิทยาลัยมีนโยบายตั้งแต่เลือกอธิการฯ ว่าใครคนใดได้เป็นต้องทำ city campus แห่งใหม่ให้ลุล่วง โดยท่านอธิการจะเปิดทำ TOR แล้วมีแผนคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณ 4 ปี เมื่อนั้น นิเทศไอซีที ก็สามารถกลับมาเต็มตัวได้ในแคมปัสแห่งใหม่

6. เหตุผลที่ไม่ผ่าน ขอบอกคร่าว ๆ คือ สกอ. ไม่นับตลิ่งชันเป็นอีกหนึ่งวิทยาเขต นอกจากนั้นยังชี้ว่าอัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษามีน้อยเกินไป บวกกับไม่มีตำแหน่งทางวิชาการและจบปริญญาเอก (ในส่วนวุฒิการศึกษาและตำแหน่งวิชาการเป็นเรื่องจริง แต่ประเด็นอาจารย์พิเศษนั้น ท่านคณบดีท่านเก่าได้วางระบบไว้เพื่อเน้นอาจารย์พิเศษ สายนิเทศจำเป็นต้องเรียนกับมืออาชีพโดยมีอาจารย์ประจำสนับสนุนทางวิชาการ ส่งผลให้เด็กได้รับความรู้จากทั้งสองด้าน) รวมไปถึงมาตรฐานการเรียนที่ยังไม่ถึงเกณฑ์ ยิ่งเทียบกับหลักสูตรแบบเดียวกันของมหาลัยอื่น (แต่บัณฑิตจบแล้วมีงานทำประมาณ 90% และได้เสียงตอบรับจากนายจ้างในระดับดี อันนี้ไม่รู้ว่าเชื่อเกณฑ์ที่วัดหรือความพึงพอใจจากนายจ้างที่ทำงานในสายวิชาชีพจริงดี)
ที่มา : 1009news.in.th

http://www.isranews.org/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/item/20386-ict-silpakorn-1.html
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1364925371&grpid=01&catid=&subcatid=
http://men.postjung.com/668575.html
http://www.thairath.co.th/content/edu/336594
http://www.1009news.in.th/2013/04/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A/1270

เกณฑ์การแปลความหมาย

translating and meaning

โดยปกติมาตรวัดเราจะใช้ของลิเคิร์ท (Likert Scale) ซึ่งใช้เกณฑ 5 ระดับ
แทน 5 ความหมายคือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด
ส่วนเกณฑ์การแปลความหมาย เพื่อจัดระดับคะแนนเฉลี่ยในช่วงคะแนนต่าง ๆ
มีสมการคำนวณอันตรภาคชั้นของค่าเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 0.8 (บางเอกสารใช้ 0.5)
โดยใช้สมการ

ความกว้างของอันตรภาคชั้น = ( คะแนนสูงสุด – คะแนนต่ำสุด ) / จำนวนชั้น

อ้างถึงในชัชวาลย์ เรืองประพันธ์ 2539 หน้า 15

ทำให้ได้เกณฑ์การแปลความหมายดังนี้
1.00 – 1.80 มีผลน้อยที่สุด
1.81 – 2.60 มีผลน้อย
2.61 – 3.40 มีผลปานกลาง
3.41 – 4.20 มีผลมาก
4.21 – 5.00 มีผลมากที่สุด

บางเอกสารกำหนด interval เป็น 0.50
4.50-5.00 Very satisfied
3.50-4.49 Satisfied
2.50-3.49 Neutral
1.50-2.49 Dissatisfied
1.00-1.49 Very dissatisfied

http://grad.vru.ac.th/meeting_board/2555_03-meeting/CID/Chon/26Wanchai3.pdf

ความกว้างของอันตรภาคชั้น = คะแนนสูงสุด – ต่ำสุด หารด้วย จำนวนชั้น
Class Interval (ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์, 2543,หน้า 30)
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2543). สถิติพื้นฐานพร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Minitab SPSS และ SAS. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2539). สถิติพื้นฐาน . ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
! http://digi.library.tu.ac.th/thesis/sw/2680/13REFERENCES.pdf
! http://pru3.pnru.ac.th/offi/graduate/upload-files/pictures/63/H_711_7586.pdf
http://www.thebookbun.com/product/14476/
http://prezi.com/p9x1rkhj_cej/presentation/

ลิเคิร์ทสเกล (Likert Scale) 5 ระดับ โดย เร็นสิส เอ. ลิเคิร์ท (Rensis A. Likert)
Likert, Rensis A. (1961). New Patterns of Management.
New York: McGraw-Hill Book Company Inc.
http://www.sciepub.com/reference/219103

สมการกำหนดจำนวนของกลุ่มตัวอย่าง
Yamane, Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis.(2 ed.). New York: Harper and Row.
http://www.sciepub.com/reference/180098

นับจุดขาวกับจุดดำใน mapping

curriculum mapping in excel
curriculum mapping in excel

20 มี.ค.56 ได้รับมอบหมายให้นับจำนวนจุดขาวกับจุดดำ หรือวงโปร่งกับวงทึบ ใน microsoft word จำนวน 748 วง ซึ่งเป็นข้อมูลในแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) ที่ทุกหลักสูตรในประเทศต้องจัดทำ และต้องนับจำนวนจุดขาว กับจุดดำ นั่งทำใจอยู่พักหนึ่งก็เห็นว่าเป็นตาราง และมีรูปแบบตายตัว หากใช้ countif(range,criteria) ใน excel ก็น่าจะช่วยนับได้ง่าย ไม่อย่างนั้นต้องไล่บรรทัดกว่า 46 วิชา และแล้วก็ตัดสินใจคัดลอกข้อมูลตารางใน word ไปวางใน excel เมื่อนับด้วยฟังก์ชันเสร็จแล้วก็ถึงคิวต้องสร้างวงให้ได้จำนวนเท่าเลขที่นับได้ ก็นึกขึ้นได้อีกว่าในการเขียนโปรแกรมด้วย clipper มีฟังก์ชั่นสั่งเขียนซ้ำตัวอักษรได้ แล้วก็พบว่า excel มี rept(text,number_times) ช่วยสั่งเขียนซ้ำได้ จึงทำให้งานที่น่าจะใช้เวลานับชั่วโมง นับเสร็จในเวลาอันรวดเร็ว (อันที่จริงผมสุ่มนับ 2 – 3 column จากทั้งหมด 29 column เพื่อให้แน่ใจว่าคอมพิวเตอร์นับถูก)

แฟ้มตัวอย่างการใช้ 2 ฟังก์ชัน
http://www.thaiall.com/tqf/cpsc/mapping.xlsx

หลุมทราย (Sandbox) คืออะไร

หลุมทราย (Sandbox) หรือ Sandbox  Effect เป็นกลไกการกรองเว็บไซต์ที่ Google.com พัฒนาขึ้น  เพื่อลบเว็บไซต์ออกจากผลการจัดอันดับเว็บไซต์ที่ไม่สมควรติดอันดับ ซึ่งผลการจัดอันดับมาจากการค้นหาด้วยคำสำคัญต่าง ๆ

เหตุที่ติดในหลุมทราย เพราะเป็นเว็บไซต์หรือโฮมเพจที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น เว็บไซต์ล่มประจำ เว็บไซต์เกิดใหม่ เว็บไซต์เปลี่ยนเอ็นจิ้น เปลี่ยนลิงค์ ย้ายโฮส หรืออื่น ๆ สำหรับคุณภาพ หรือค่าระดับของเว็บไซต์ที่ google.com ประเมินไว้ แสดงออกมาเป็นค่า pagerank หรือ pr ซึ่งตรวจสอบได้ที่ http://www.prchecker.info/

หากหลุดจากหลุมทราย ก็จะถูกค้นพบในผลการสืบค้น คลิ๊กคำว่า แคช (cache) ก็จะพบเวลาว่า robot เข้าเว็บไซต์ของเราเมื่อใด แล้วแต่ละหน้าก็เข้าไม่พร้อมกันนะครับ เพราะ robot มีการตั้งเวลาว่าจะเข้าเว็บไซต์ใดบ่อยเพียงใด และบ่อยไม่เท่ากัน อาทิ เว็บไซต์ข่าวก็จะเข้ากันชั่วโมงต่อชั่วโมงเลยทีเดียว แต่ถ้าเป็นเว็บขายสินค้าที่ปรับข้อมูลเดือนละครั้ง ก็อาจเข้าเดือนละครั้งเช่นกัน
http://www.makewebeasy.com/article/sandboxeffect.html

ภาพนี้เป็นช่วงหนึ่งที่ตามโฮสตัวหนึ่งติดอยู่ในหลุมทราย
หลังจากนี้ก็จะไต่ pr ตามปกติ
16 มีนาคม 2556

sandbox effect in google.com
sandbox effect in google.com

ปัญญาในช็อกโกแลตร้อน (The wisdom in hot chocolate)

hot chocolate
hot chocolate

ปัญญาในฮอตช็อก ที่ผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง
best for yourselves,
that is the source of your problems and stress

The wisdom in hot chocolate.

A group of graduates, well established in their careers,
were talking at a reunion and decided to go visit
their old university professor, now retired.
the conversation turned to complaints
about stress in their work and lives.

Offering his guests hot chocolate,
the professor went into the kitchen and returned
with large pot of hot chocolate and an assortment of cups
porcelain, glass, crystal, some plain looking,
some expensive, some exquisite – telling them
to help themselves to the hot chocolate
When they all had a cup of hot chocolate
in hand, the professor said:
Notice that all the nice looking, expensive cups
were taken, leaving behind the plain and cheap ones.
While it is normal for you
to want only the best for yourselves,
that is the source of your problems and stress.
The cup that you’re drinking from adds
nothing to the quality of the hot chocolate.
In most cases it is just more expensive and
in some cases even hides what we drink.
What all of you really wanted was hot chocolate,
not the cup: but you consciously went for the best cups.
And then you began eyeing each other’s cups.
Now consider this:
Life is the hot chocolate;
your job, money and position in society are the cups.

They are just tools to hold and contain life.
The cup you have does not define,
nor change the quality of life you have.
Sometimes, by concentrating only on the cup,
we fail to enjoy the hot chocolate God has provided us.
God makes the hot chocolate,
man chooses the cups.

The happiest people don’t have the best of everything.
They just make the best of everything that they have.
Live simply.
Love generously.
Care deeply.
Speak kindly.
And enjoy your hot chocolate!