Google Apps for Education Conference#1 at KMUTT

Google Apps for Education Conference#1 at KMUTT
Google Apps for Education Conference#1 at KMUTT

ตารางงาน Google Apps for Education Conference#1 at KMUTT

9:00 น. – 9:30 น.
ลงทะเบียน
9:30 น. – 10:30 น.
แนะนำโครงการ Google Apps for Education Supporting Program
โดย คุณ Janet Yoon, หัวหน้าโครงการ GASP จาก Google Singapore and Philippine
และ จากผู้บริหารซีอาร์เอ็ม ชาริตี้
10.30 น. -11.30 น.
สัมมนาหัวข้อ “ทำไม มจธ. จึงตัดสินใจใช้เครื่องมือการเรียนการสอนของ Google Apps for Education
โดยผู้บริหารระดับสูง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
11:30 น. – 12:00 น.
ช่วงถามตอบคำถามโดย Google และ มจธ.
13:00 น. – 14:00 น.
สัมมนาหัวข้อ “การประยุกต์ใช้ Google Apps ในการเรียนการสอน และการบริหาร
โดย รองศาสตราจารย์ ดร. พสุ เดชะรินทร์ คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
14.00 น. – 15.00 น.
สัมมนาหัวข้อ “หนึ่งปีกับ Google Apps for Education ของม.ขอนแก่น
โดย ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี, รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.ขอนแก่น

มีหลายลิงค์น่าสนใจนะครับ

http://www.google.com/enterprise/apps/education/

http://gapps.kku.ac.th/

http://www.google.com/a/nation.ac.th

google apps of nation.ac.th และ std.nation.ac.th
google apps of nation.ac.th และ std.nation.ac.th

Space have 25 GB  for nation.ac.th account
เริ่มใช้บริการ มกราคม 2012

ตัวอย่าง Feature ของ google apps for education ใน ม.ขอนแก่น

tools for student
tools for student

Introduction to Google Apps Vault (Add-on = purchased)

Google Apps Vault is an add-on for Google Apps that lets you retain, archive, search, and export your organization’s email for your eDiscovery and compliance needs. Vault is entirely web-based, so there’s no need to install or maintain any software.

With Google Apps Vault, you can:

—-
มข. จับมือ Google ร่วมพัฒนาส่งเสริมศักยภาพด้านไอที ให้นักศึกษาและบุคลากร
เติมเต็มความต้องการผู้ใช้งานอีเมล์ พร้อมกระตุ้นการติดต่อสื่อสารผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างมีคุณค่า


สืบเนื่องจากปัญหาระบบ e-mail โดเมน kku.ac.th ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่นของมหาวิทยาลัย และไม่สามารถรองรับความต้องการของผู้ใช้ได้เต็มที่ ทางคณะผู้บริหาร และรองศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้ร่วมหารือกับทีมงานจาก Google ในการพัฒนาระบบ Google Apps for Education ซึ่งทาง Google ให้ความช่วยเหลือโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ทางมหาวิทยาลัยไม่สามารถติดต่อกับศิษย์เก่าผ่านช่องทางอีเมล์ kku.ac.th ได้ เพราะไม่ถูกใช้อย่างต่อเนื่อง มข.จึงต้องการพัฒนาระบบเพื่อตอบสนองความต้องการให้กับนักศึกษาใหม่ ศิษย์ปัจจุบัน และบุคลากร จากเหตุผลที่กล่าวมาจึงเป็นจุดประสงค์ของการพัฒนาและทำให้ มี Google Apps for Education ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น

Google Apps for Education นอกจากจะเป็นอีเมล์ที่ใช้งานได้ทั่วไปแล้ว จากเดิม Gmail จะให้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล 7 GB แต่เมื่อนักศึกษาและบุคลากร มข. เข้าใช้อีเมล์ที่เป็นของ มข.ภายใต้การพัฒนาร่วมกันกับ Google จะได้พื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มถึง 25 GB ฟรีและไม่มีโฆษณา พร้อมทั้งหน้าจอของเว็บเมล์จะมีลักษณะเฉพาะที่แสดงถึงความเป็น มข. อีกทั้งยังสามารถใช้ได้ตลอดชีวิตถึงแม้จะจบการศึกษาไปแล้วก็ตาม โดยนักศึกษาจะชื่ออีเมล์เป็น user@kkumail.com ส่วนบุคลากรจะใช้ชื่ออีเมล์เดิม คือ user@kku.ac.th

นอกจากนี้จุดเด่นของ Google Apps for Education ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องมือที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในด้านการศึกษา เครื่องมือทำงานร่วมกัน All Corporation Tool แล้ว ในการพัฒนาในครั้งนี้ เครื่องมือต่างๆในระบบของ Google ยังจะมีการเชื่อมโยงกันกับระบบสารสนเทศของ มข. เช่น การสร้างปฏิทิน การแจ้งเตือน หรือแม้แต่ตารางเรียน เมื่อนักศึกษาลงทะเบียนเรียนกับทางมหาวิทยาลัย ตารางเรียนก็จะเข้าไปอยู่ในอีเมล์ของนักศึกษาทันที พร้อมทั้งสามารถทราบปฏิทินการศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ เป็นต้น

ด้าน Mr.Samuel Cheung ตัว แทนจาก Google ที่ดูแลในส่วนของภูมิภาคเอเชีย กล่าวถึง Google Apps for Education ว่า แอพพลิเคชั่นนี้เป็นแอพฯ ที่เกี่ยวกับการศึกษา ที่ได้จัดทำขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนนักศึกษาสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น และยังสามารถเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยเราเริ่มโปรโมทการใช้ในมหาวิทยาลัยเป็นอันดับแรก และในอนาคตจะเข้าให้ถึงนักเรียนทุกระดับชั้น ตั้งแต่อนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6

“Google App for Education คือ แอพฯที่มีการใช้งานอยู่ทั่วโลก ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานแอพฯนี้มากกว่า 17 ล้านคนทั่วโลกในหลากหลายประเทศ ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมหาวิทยาลัยที่โดดเด่นในประเทศไทย เราจึงอยากสนับสนุนงานที่น่าสนใจของทางมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกัน และพร้อมจะช่วยเหลือสนับสนุนโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในทุกภาคของเมืองไทย ไม่ใช่แค่ในกรุงเทพมหานครเท่านั้น และที่เราเลือกมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพราะเราคิดว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็น ตัวอย่างที่ดีเยี่ยมที่เราสามารถทำงานร่วมกันได้”

หลังนี้ Google จะเข้ามาเพิ่มศักยภาพระบบ อีเมล์ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้สะดวกมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยขอนแก่น จะสามารถใช้แอพฯ ต่างๆ ของ Google ได้ โดยไม่ต้อง เข้าสู่ระบบไปในหลายเว็บ หรือไม่ต้องสมัคร Gmail แถมยังไม่มีโฆษณา ซึ่งระบบนี้นักศึกษาทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันสามารถทดลองใช้งานได้จริง แล้วที่ https://sites.google.com/site/kkuggappsedu และในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม จะมีการใช้งานอย่างเป็นทางการพร้อมการแนะแนวการใช้งานจากทีมงาน Google สำหรับนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2555

วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)

9789742127107 วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
9789742127107 วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎี การวิเคราะห์ ออกแบบ อัลกอริทึม และโปรแกรมภาษา ดังนั้นการศึกษาด้านนี้จึงมิใช่เป็นการมุ่งเน้นโปรแกรมภาษาเพียงอย่างเดียว แต่จะหมายรวมถึงการศึกษาด้านหลักการ กระบวนการแก้ปัญหาอย่างมีระเบียบแบบแผน ด้วยการคิดค้นอัลกอริทึมที่เหมาะสม มาใช้แก้ปัญหาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

http://goo.gl/72BPC

เอกสารอ้างอิง จากคำนำ p.3
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์, “วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ”, บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด., กรุงเทพฯ, 2551.

ผลงานทางวิชาการ 2555

ผลงานทางวิชาการ 2555
ผลงานทางวิชาการ 2555

น้องบดี จากภาคอีสาน ผู้คร่ำหวอดในแวดวงวิชาการ ได้ส่งประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2555 และประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์  (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2555 มาให้อ่าน พอสรุปได้ว่าฉบับที่ 6 ให้นิยมของผลงานทางวิชาการใหม่ ลักษณะคุณภาพ และทิศทางที่กำหนด ส่วนฉบับที่ 7 แก้ไขประเด็นเรื่องที่สภาฯ รับไว้แล้ว และอยู่ในระหว่างดำเนินการให้ใช้เกณฑ์ปี 2550 [เป็น] ใช้ของปี 2555 แทน

+ http://www.mua.go.th/law.html

+ http://www.personnel.psu.ac.th/per10.html
ประกาศฉบับที่ 6 มี 3 ประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. นิยามของความหมายของ ผลงานวิชาการใหม่ ทดแทนปี 2550
(1) ผลงานแต่ง หรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด  หรือ
(2) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนด ทั้งนี้ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
(3) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนด
2. ผลงานในข้อ 1 ต้องมีลักษณะคุณภาพ 3 องค์ประกอบ
(1) ก่อให้เกิดความรู้ใหม่
(2) มีการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์
(3) สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือมีผลกระทบต่อการพัฒนาชุมชน สังคม หรือประเทศ
3. ผลงานที่ขอตำแหน่งทางวิชาการต้องมีลักษณะหรือทิศทางต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งข้อ
(1) สอดคล้องกับศักยภาพหรือทรัพยากรของแต่ละพื้นที่ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ
(2) เพื่อให้รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก
(3) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(4) พัฒนาและส่งเสริมชุมชนหรือสังคมให้มีความเข้มแข็ง
(5) ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ

ลดการบ้าน ศธ. ให้โอกาสเด็กไทยได้ใช้อย่างที่ฝันไว้

selection : homework, game, facebook, read book
selection : homework, game, facebook, read book

30 ม.ค.56 คุณตุ้ยให้ดู คลิ๊ปหัตถ์พระเจ้า
ซึ่งเป็นแชมป์โลกยิงหนังสติ๊ก ระหว่างรอประชุมครั้งหนึ่ง
แล้วทำให้นึกถึงโอกาสที่คุณบุญมาได้รับจากพระเจ้า
ว่าเขาจะพิจารณาใช้โอกาสของเขาอย่างไรต่อไป
.. ผมว่าเขาเลือกได้นะครับ

แล้วนึกถึงเรื่องการเลือกใช้โอกาสของเด็กตจว. กับเด็กกทม.
เมื่อศธ.ประกาศลดการบ้านให้ทุกคน
เพื่อให้มีเวลา มีโอกาสได้คิดใหม่ทำใหม่ แล้วก้าวกระโดดต่อไป

นักวิชาการในคลิ๊ป
1. ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
2. นพ.ประเสริฐ  ผลิตผลการพิมพ์

ผมว่ามีคำอธิบายที่ดีในคลิ๊ปด้านล่างนี้

ไปถามนักศึกษาเรื่องภาพประกอบมาแล้ว
พวกเขารู้จัก HON ด้วยครับ (สงสัยมีเน็ตใช้)
จากภาพ พบว่า คุณครูสมัยนี้ นัดนักเรียนตี HON
แถมมีแผน Q นักเรียนทุกคน
พอรู้ความหมายชัดเจน
.. ผมก็ต้องตกอก ตกใจ เป็นธรรมดา

การปิดกั้นเฟสบุ๊ค (itinlife380)

blocked facebook.com
blocked facebook.com

28 ม.ค.56 วันนี้ขึ้นหัวข้อแปลกอยู่สักหน่อย และสวนกระแสสถิติการใช้เฟซบุ๊คว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดที่เป็นสาวกของเฟซบุ๊ค คือ 12,797,500 คน เมื่อปลายเดือนมกราคม 2556 และมีบัญชีผู้ใช้มากกว่าจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ คิดเป็นร้อยละ 154.54 หรือกล่าวได้ว่าแต่ละคนมีมากกว่า 1 บัญชีผู้ใช้ แล้วทั้งประเทศมีบัญชีผู้ใช้ทั้งหมด 18,271,480 ซึ่งหมายความว่าเฉพาะกรุงเทพฯ เพียงเมืองเดียวก็มีผู้ใช้มากกว่าร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับทั้งประเทศ ซึ่งตอกย้ำว่าประเทศไทยมีกรุงเทพฯ เจริญเพียงเมืองเดียว เพราะการที่กรุงเทพฯเป็นเมืองหลวงของไทยหากจะพูดเรื่องปิดกั้นการใช้งานย่อมต้องถูกมองว่าเป็นแกะดำ หรือพวกขวางโลกในบัดดล

หากจะปิดกั้นต้องเริ่มจากบทบาทของผู้บริหารสูงสุดที่พบว่าพฤติกรรมของบุคลากรในองค์กรไม่ตอบวัตถุประสงค์ขององค์กร หรือใช้เวลาในที่ทำงานไม่คุ้มกับค่าจ้าง ผลงานไม่บรรลุตามแผนขององค์กร เคยฟังโน้ตอุดมพูดในเดี่ยว 8 ตอนรัฐไม่ยอมเปลี่ยนแปลง เตือนนักดนตรีว่าอย่าใช้ BB ขณะเขากำลังทำงาน หรือสำนักปลัดกระทรวงมหาดไทยมีหนังสือถึงผู้ว่าราชการทุกจังหวัดเมื่อ 6 กันยายน 2555 ว่าจะระงับการเข้าถึงเฟซบุ๊ค เนื่องจากไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานราชการ และสิ้นเปลืองช่องสัญญาณ ซึ่งจะดำเนินการได้นั้น ผู้บริหารต้องเข้าใจปัญหา และอธิบายปัญหาได้อย่างชัดเจน

เทคนิคที่ผู้ดูแลระบบจะควบคุมการเข้าถึงเครือข่ายให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการมีอยู่ขององค์กรมีหลายระดับ ซึ่งขึ้นกับวัฒนธรรมองค์กรที่จะเป็นตัวเสริม อาจเริ่มจากการให้นโยบายป้องปรามการใช้งาน ประกาศเป็นระเบียบปฏิบัติ ควบคุมการใช้งานผ่านศูนย์คอมพิวเตอร์ หรือใช้ซอฟท์แวร์ควบคุมในเครื่องคอมพิวเตอร์ประจำสำนักงานของผู้ใช้แต่ละคน แต่หากเป็น smart phone ที่ใช้บริการ 3G ก็จะไม่สามารถระงับผ่านซอฟท์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ แต่อาจควบคุมด้วยการกำหนดนโยบายตัดเงินเดือน หรือมีโทษทางวินัยหากสืบทราบว่าใช้เฟซบุ๊คในเวลางานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน แล้วมีทีมเฝ้าระวังตรวจสอบก็จะทำให้การปิดกั้นสัมฤทธิ์ผล ส่งผลให้บุคลากรไม่วอกแวกไปกับกิจกรรมที่ไม่มีผลต่อเป้าหมายขององค์กร แล้วหันกลับมาสนใจทำพันธกิจขององค์กรให้สำเร็จลุล่วง

+ http://faceblog.in.th/2012/05/facebook-bangkok/
+ http://www.it24hrs.com/2012/moi-block-facebook/
+ http://www.socialbakers.com/facebook-statistics/cities/

นักเรียนขาดทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล (Analytical skill)

tablet สำหรับนักเรียน
tablet สำหรับนักเรียน

การสำรวจครูในสหรัฐพบว่าอินเตอร์เน็ทช่วยให้การเรียนการสอนน่าสนใจมากขึ้น
แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้นักเรียนขาดทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล

การสำรวจครูมากกว่า 2,000 ในสหรัฐโดยสถาบัน Pew พบว่าอินเตอร์เน็ทช่วยให้การเรียนการสอนน่าสนใจมากขึ้นแต่ขณะเดียวกันก็ทำให้นักเรียนขาดทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล ครูบอกวว่านักเรียนยังขาดความรู้เท่าทันของข้อมูลทางอินเตอร์เน็ท และเลือกที่จะเชื่อความรู้ออนไลน์มากเกินไป

ในรายงานที่ชื่อว่า Pew Internet Project ครู 75% ที่ตอบแบบสอบถามกล่าวว่านักเรียนชั้นมัธยมต้นและมัธยมปลายได้รับประโยชน์จากโลกออนไลน์ ด้านพฤติกรรมและทักษะในการค้นหาข้อมูล

อย่างไรก็ตาม 87% เห็นว่าเทคโนโลยีใหม่  ๆ ทำให้สมาธินักเรียนสั้นลง และ 64% กล่าวว่า เทคโนโลยีเหล่านี้ดึงความสนใจนักเรียนไปเรื่องอื่นมากกว่าเรื่องเรียนหนังสือ

บรรดาครูกังวลอีกด้วยว่าการที่นักเรียนสามารถหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็วบนอินเตอร์เน็ท ทำให้นักเรียนละทิ้งความพยายามที่จะหาข้อมูลจากแหล่งอื่นที่อาจให้ความรู้ที่กว้างและลึกกว่าเช่นจากหนังสือและบรรณารักษ์ที่ห้องสมุด

Judy Buchnan รองผู้อำนวยการจากโครงการการศึกษา National Writing Project และเป็นผู้ร่วมเขียนรายงานจากการสำรวจชิ้นนี้กล่าวว่า นักเรียนควรเรียนรู้การแยกแยะข้อมูลที่เชื่อถือได้ ออกจากข้อมูลที่ไม่น่าเชือถือ ซึ่งเป็นทักษะที่ครูสามารถช่วยพัฒนาได้

รายงานโดย Christopher Cruise
เรียบเรียงโดย รัตพล อ่อนสนิท

+ http://www.voathai.com/content/internet-influence-ro/1590596.html
+ http://www.thaiall.com/blog/admin/4660/
+ http://articles.washingtonpost.com/2013-01-18/lifestyle/36475284_1_tablet-computers-apps-kids

การจัดการความรู้ (หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น)

หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น
หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.584196208261181.142796.506818005999002

โครงการการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
เรื่อง หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น
เพื่อการรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก
ณ ห้อง 1203 อาคารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น
วันที่ 25 มกราคม 2556 เวลา 9.00-11.00น

ดร.สุจิรา หาผล
กล่าวเปิดงาน ชี้แจงที่มาที่ไป กระบวนการ และวิธีการในการจัดการความรู้ครั้งนี้
อ.วราภรณ์ เรืองยศ
เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ตาม Powerpoint
ในหัวข้อ “หลักการเขียนโครงร่างงานวิจัย”
ซึ่งส่วนประกอบของโครงร่างงานวิจัย ประกอบด้วย

1. ชื่อเรื่อง
2. บทคัดย่อ
3. ความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย
4. วัตถุประสงค์
5. แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
6. กรอบแนวคิดการวิจัย
7. คำนิยามศัพท์เฉพาะ
8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
9. สมมติฐาน
10. ขอบเขตการวิจัย
11. ระเบียบวิธีวิจัย
12. ข้อตกลงเบื้องต้น
13. เอกสารอ้างอิง

เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรื่อง – “ชื่อเรื่อง”
อ.วราภรณ์ เล่าว่า มีประกาศทุนวิจัย 2 เรื่องมานำเสนอ
– ศูนย์ประสานการศึกษานโยบายที่ดิน ปี 2556
– การแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิของชุมชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๗ วรรคสอง

อ.วราภรณ์ เรืองยศ
– เปรียบเทียบเรื่องทุนสร้างบ้าน กับทุนวิจัย ที่ต้องสมเหตุ สมผล
– เล่าเรื่องทุนวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ที่ขอไป 10 กว่าล้าน แต่ถูกตัดเหลือ 3 ล้านเศษ

อ.วิเชพ ใจบุญ

เล่าว่าชื่อที่เคยตั้งมามีกระบวนการอย่างไร
การใช้ต้นไม้ชุมชนในการเก็บข้อมูล
ต้องลงไปคลุกคลีกับชาวบ้าน ทั้งแจ้ห่ม แม่ทะ และนิคมพัฒนา

อ.ดร.สุจิรา หาผล
บอกว่ากว่าจะได้หัวข้อมา ต้องใช้เวลามาก
หัวข้อต้องตรงกับผู้ให้ทุน และความต้องการของชุมชน

อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย
การเขียนบทนำ และวรรณกรรม
ต้องให้ความสำคัญกับที่มาที่ไป
แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานวิจัยมีความน่าเชื่อถือ และตั้งอยู่บนหลักการที่เกี่ยวข้อง
ต้องค้นมาก ต้องอ่านมาก และอ้างอิงให้ตรง

อ.ปวินท์รัตน์ แซ่ตั้ง
http://www.prawinrat.com/
ได้ทุนจากเครือข่ายภาคเหนือตอนบน
เกี่ยวกับผ้าทอน้ำแร่ เมืองปาน
แลกเปลี่ยนว่างานวิจัยต้องใช้เวลา ทำให้ครบทุกเรื่องที่สามารถทำได้
ต้องลงมือจริง ทุ่มเท และทำให้ครบวงจร
มีทั้งภาพ คลิ๊ป เว็บไซต์ ที่เกิดในพื้นที่จริง ได้ผลงาน และนำไปขายได้จริง

อ.ดร.สุจิรา  หาผล
เล่าว่าการศึกษาตำนาน เรื่องเล่าของอำเภอต่าง ๆ มีกระบวนการมากมาย
ทั้งเชิงคุณภาพ วิพากษ์โดยนักวิชาการ ใช้แบบสำรวจ และวิพากษ์ผลโดยชุมชน
การเลือกคน เลือกปราชญ์ชาวบ้านเป็นเรื่องสำคัญ และต้องเขียนเรื่องของแต่ละอำเภอถึง 13 เล่ม
หลังได้รับทุนก็จะมีการติดตามจากผู้ให้ทุน และมีข้อเสนอแนะที่ทำให้แผนอาจต้องถูกปรับเปลี่ยน

อ.โอปอล์ รังสิมันตุชาติ
เล่าว่าการขอทุนวิจัยสำหรับงานวิจัยระดับปริญญาโท
มีแหล่งทุนสนับสนุนจาก สกว.อย่างต่อเนื่อง ซึ่งตนได้รับจากเชียงใหม่
และมีกระบวนการคล้ายกับทุนวิจัยทั่วไป

ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์

มีหลายประโยคที่ อ.แชมป์ แบ่งปันในกลุ่มของมหาวิทยาลัย
จากการเสวนา “ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ตอน ทิศทางวารสารศาสตร์ในยุคสงครามแพลตฟอร์ม ในการประชุมเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชน ที่มหาวิทยาลัยเนชั่น 19 ม.ค.2556

ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์
ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์

…สื่อสิ่งพิมพ์จะหันมาทำทีวีมากขึ้น แต่จะเป็นการทำควบคู่กันไป แพลตฟอร์มสื่อจะเป็นมัลติแพลตฟอร์มมากยิ่งขึ้น คนทำสื่อจึงต้องปรับตัวให้มีทักษะที่หลากหลายมากขึ้นด้วย ผู้สื่อข่าวปัจจุบันจึงต้องสามารถถ่ายภาพได้ ตัดต่อ เขียนข่าว โพสต์ในสื่อออนไลน์ รวมถึงต้องเช็ค Feedback จากผู้อ่านด้วย…” จากการเสวนา

วิชัย ทองแตง
วิชัย ทองแตง

…การแข่งขันจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะปี 2556 เป็นต้นไป แต่ต้องแข่งขันกันด้วยคุณภาพ ทั้งด้านเทคโนโลยีและเนื้อหาสาระ ที่จะต้องทั้งคม-ชัด-ลึก ในขณะเดียวกัน ถ้าทำธุรกิจแล้วเสียเพื่อน อย่าไปทำ รวมตัวกันทำ win-win จะดีกว่า…” คุณวิชัย ทองแตง กล่าว

เทพชัย หย่อง
เทพชัย หย่อง

…นักสื่อสารมวลชนในอนาคต ควรจะต้องมีทักษะที่หลากหลายและรอบด้านในการผลิตสื่อ เข้าใจอารมณ์และความสนใจของสังคม เข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ และเปิดมุมมองที่กว้างมากขึ้นทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล…” คุณเทพชัย หย่อง บรรยายพิเศษ

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.581063471907788.142412.506818005999002

ชีวิตอยู่กระบวนการของ flip flop ที่เชื่อมโยงกัน

ชีวิตอยู่ใน flip flip
ชีวิตอยู่ใน flip flip

เห็น ฟลิปฟล็อป (flip flop) แล้วทำให้นึกถึง 3 เรื่อง
1. pager
2. โทรเลข (Telegram)
3. ความคิดเห็นของน้องชายคนหนึ่ง


นิทาน

1. น้องชายเล่าว่า เขาอยู่ในองค์กรที่พัฒนา pager
โดยเขาเป็นกลไกหนึ่งร่วมขับเคลื่อนและดำเนินการเป็นประจักษ์ช่วงนั้น
ต่อมาเขาออกจากองค์กร แล้ว pager ก็หายไปจากสังคม
ไม่มีทายาทรักษาให้ pager คงอยู่ต่อไป
2. น้องชายเล่าต่อ เขาขยับไปอยู่ในองค์กรที่บริการ โทรเลข (Telegram)
โดยเขาเป็นกลไกหนึ่งร่วมขับเคลื่อนและดำเนินการเป็นประจักษ์ในปัจจุบัน
ปัจจุบันเขาเป็นเฟืองตัวหนึ่ง แต่เฟืองอื่น ๆ ฝืดไปหมด ไม่มีน้ำมัน ไม่มีเฟืองที่ลื่น
คาดว่า ถ้าเขาไม่ขับเคลื่อน ก็คาดว่า โทรเลข (Telegram) คงหายไป
เพราะเฟือนตัวอื่นก็คงไม่มาเป็นกลไกขับเคลื่อนในฐานะทายาท
3. น้องชายสรุปตอนท้ายว่า ต้อง change
เขามีฝันอื่น ๆ อีกสารพัดที่จะไปขับเคลื่อน เพื่อพัฒนาตนเองในชีวิตที่เหลืออยู่

ผมสรุปว่า ไปแปลก ทุกอย่างมีเหตุผล มีที่มา และมีที่ไป
1. pager ไม่มีใครสนใจ ทุกคนในสังคมมีของใหม่ที่ดีกว่า พร้อมใจปล่อยให้หายไป
2. telegram หายไป เพราะไม่มีใครใช้ หรือต่อยอด เมื่อปิดบริการก็สมเหตุสมผล
3. การเลือกที่จะเรียนรู้ ไม่มีการควบคุม ปัจจุบันมนุษย์มีอิสระที่จะเลือก และมีสิทธิ์ที่จะไม่เลือก


ชีวิตคนก็เหมือน flip flip มีเงื่อนไข

มี input process และ output
ถ้า input ผิด ก็เชื่อได้ว่า output จะผิด
ถ้า process ผิด ก็เชื่อได้ว่า output จะผิด
บางทีทุกอย่างถูกหมดแต่ outcome ผิด ก็มี
ก็ต้องย้อนไปดูตั้งแต่ objective ตั้งแต่ต้น

แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11

SWOT แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)
SWOT แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)

แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)

ยุทธศาสตร์ที่ 1 เปลี่ยนระบบการนำองค์กรให้ขับเคลื่อนอุดมศึกษาแบบองค์รวม
กลยุทธ์ 1.1 กำหนดคุณค่าและสร้างวิสัยทัศน์ร่วมของอุดมศึกษาไทย
กลยุทธ์ 1.2 บริหารอุดมศึกษา โดยยึดเป้าหมายอุดมศึกษาตามกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) อย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์ 1.3 สร้างระบบการประเมินศักยภาพ และพัฒนาผู้บริหารระดับสูง กรรมการสภาของสถาบันอุดมศึกษา
กลยุทธ์ 1.4 สร้างระบบการปิดและยุบรวม หลักสูตร/ คณะวิชา / มหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 1.5 พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของสารสนเทศอุดมศึกษา
กลยุทธ์ 1.6 ต่อยอดสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำระดับโลก
กลยุทธ์ 1.7 ยกระดับอุดมศึกษาไทยให้มีบทบาทสูงในประชาคมอุดมศึกษาอาเซียนโดยเฉพาะด้าน Higher Education Manpower Mobilization
กลยุทธ์ 1.8 สร้างระบบและกลไกเพื่อรองรับความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งกับหน่วยงาน ภาคการผลิตในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย
กลยุทธ์ 1.9 พัฒนาโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาอาจารย์ให้เป็นมืออาชีพ และพัฒนาผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพให้เป็นอาจารย์
กลยุทธ์ 2.1 เพิ่มปริมาณอาจารย์ให้ตรงตามความต้องการในการผลิตบัณฑิต
กลยุทธ์ 2.2 พัฒนาอาจารย์ให้เป็นมืออาชีพอย่างเป็นระบบ
กลยุทธ์ 2.3 พัฒนาคุณภาพอาจารย์ให้มีความแข็งแกร่งในการทำวิจัย
กลยุทธ์ 2.4 ปฏิรูประบบค่าตอบแทนอาจารย์
กลยุทธ์ 2.5 พัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับคุณภาพบัณฑิตอย่างก้าวกระโดด
กลยุทธ์ 3.1 พัฒนาระบบการเข้าศึกษา การเรียนรู้ และการสำเร็จการศึกษาที่ยืดหยุ่น หลากหลายตอบสนองในทุกกลุ่มวัย
กลยุทธ์ 3.2 ยกระดับคุณภาพของหลักสูตร ให้ได้รับการรับรองในระดับอาเซียนและระดับโลก
กลยุทธ์ 3.3 สร้างระบบและกลไก เพื่อจัดสอบใบรับรองคุณวุฒิเฉพาะสาขาแห่งชาติของทุกหลักสูตร
กลยุทธ์ 3.4 ปรับปรุงระบบติดตาม และประเมินบัณฑิตรวมทั้งพัฒนาบัณฑิตหลังเข้าสู่ตลาดงาน

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปฎิรูปการบริหารการเงินอุดมศึกษา เพื่อขับเคลื่อนสถาบันอุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
กลยุทธ์ 4.1 วิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อหน่วยคุณภาพ
กลยุทธ์ 4.2 จัดทำแผนกลยุทธ์การเงินให้สอดคล้องกับเป้าหมายของสถาบันอุดมศึกษา และแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)
กลยุทธ์ 4.3 จัดสรรทุนการศึกษาเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาโดยคำนึงถึงความต้องการกำลังคนของประเทศ
กลยุทธ์ 4.4 กำกับ ติดตามประเมินผลการใช้งบประมาณอย่างเหมาะสม (utilization management) ตามพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา

http://www.thaiall.com/swot/planhedu11.htm

http://www.mua.go.th/~bpp/developplan/download/higher_edu_plan/PlanHEdu11_2555-2559.pdf