Love o2o หนังของเด็กวิทยาการคอมพิวเตอร์

เวยเวย เธอยิ้มโลกละลาย Love O2O (2016)
เวยเวย เธอยิ้มโลกละลาย Love O2O (2016)

ชื่อหนัง เวยเวย เธอยิ้มโลกละลาย
เป็นเรื่องใน เกมยุทธภพแห่งความฝัน กับ โลกแห่งความเป็นจริง
ที่พระเอก นางเอกจับคู่กันสู้ ก็จะมีการแต่งงานในเกม
https://en.wikipedia.org/wiki/Love_O2O_(film)

LoveO2O หนังของเด็กวิทยาการคอมพิวเตอร์
LoveO2O หนังของเด็กวิทยาการคอมพิวเตอร์

พระเอกในเรื่องชื่อ เซียวไน่ นักศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์
(Computer science)
ผู้มากความสามารถ เล่นบาส ว่ายน้ำ เป็นเจ้าของบริษัทเกม
หลงไหลในเกมออนไลน์
และนางเอกในเรื่องชื่อ เวยเวย
สาวน้อยดาวคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์
ที่รักในการเล่นเกมส์เช่นกัน

เป็นความรักที่เกิดขึ้นในเกมออนไลน์ และมาเบ่งบานในโลกความจริง
ความมุ่งมั่นทำตามความฝันของเซียวไน่
ตั้งบริษัท เพื่อสร้างเกมออนไลน์
ตามที่ตั้งใจด้วยความรัก กำลังใจ มิตรภาพระหว่างเพื่อน

สิ่งเหล่านี้จะทำให้พวกเขาฝ่าฝันอุปสรรค
และทำให้ความฝันให้สำเร็จได้หรือไม่
ต้องติดตามกันครับ

 

Genres: Drama, Romance
Release: August 12, 2016 (China)
Director: Tianyu Zhao
Writers: Man Gu
Language: Chinese

Cast:

Jing Boran as Xiao Nai
Angelababy as Bei Weiwei
Bai Yu as Cao Guang
Tan Songyun as Er Xi
Cheng Yi as Si Si
Janice Wu as Xiao Ling
Li Qin as Meng Yiran
Li Xian as Yu Banshan
Wang Zijie as Hao Mei
Li Jiuxiao as Qiu Yonghou
Liuxun Zimo as KO
Chen Mengqin as Xiaoyu Yaoyao
Du Bella as Diemeng Weixing
Pang Hanchen as Zhan Tianxia
Songxin Jiayi as Xiaoyu Mianmian
Yi Na as Xiaoyu Qingqing
Wang Sicong as Himself

เค้าว่า เล่นเกมแล้วสนุก
ผมเห็นด้วยนะ เล่นเกม ก็เหมือนน้ำตาล
แล้วนึกถึงการสอบแข่งขันเข้าตำรวจ 1:473 เมื่อปี 2560
พบใน FB page : กองการสอบ

มีร้อยกลอง ที่พูดกับนักศึกษา
ของผมว่า
ไม่มีอะไรทำ ก็ไปเล่นเกม
ถ้ามีอะไรทำ ก็ไม่เล่นเกม
อะไรสำคัญ ก็ทำสิ่งนั้น

หลังพูดเสร็จ พฤติกรรมเปลี่ยนไปครับ .. อย่างชัดเจน

10 เรื่องจริง พบใน ฉลาดเกมส์โกง (10 Truths in Bad Genius)

10 เรื่องจริง

 

อ่านข่าวใน
[ประชาชาติธุรกิจ] ว่าภาพยนตร์เรื่อง ฉลาดเกมส์โกง
มีกระแสนิยมรุนแรงมากในจีน
[กรุงเทพธุรกิจ] ของไทยได้ 100 ล้านบาทแบบฉลุย
[ข่าวสด] ในจีนฉาย 5 วันได้ 740 ล้านบาท
[MGRonline] คาดรายได้ในจีนเกิน 1 พันล้านบาท
เป็นภาพยนตร์ของค่าย GDH

ฉลาดเกมส์โกง
ฉลาดเกมส์โกง

ในเรื่องมีตัวเด่น 4 คน คือ
– ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง เป็น ลิน
– ชานน สันตินธรกุล เป็น แบงค์
– อิษยา ฮอสุวรรณ เป็น เกรซ
– ธีรดนย์ ศุภพันธ์ภิญโญ เป็น พัฒน์

ฉลาดเกมส์โกง
ฉลาดเกมส์โกง

หลังดูเรื่องนี้เสร็จ พอจะจับประเด็นเด่นในชีวิตจริง 10 เรื่อง
1. ครูเปิดสอนพิเศษ เอาข้อสอบไปสอน ใครเรียนก็สอบได้
2. ให้เพื่อนลอก เพื่อนก็รัก เลี้ยงดูปูเสื่อ
3. โรงเรียนดีเด่น เด็กไม่เก่งจ่ายเข้าเรียน เด็กเก่งเรียนฟรี
4. คนทำกิจกรรมต้องเกรดดี เกรดไม่ดีไม่ได้ทำกิจกรรม
5. เห็นนักเรียนลอกกัน ครูก็เอาหูไปนา เอาตาไปไร่
6. เด็กเก่งไม่ชอบถูกเอาเปรียบ เห็นเพื่อนลอก จะฟ้องครู
7. ใครเอาเรื่องลอกข้อสอบไปฟ้องครู จะถูกรังแก
8. คนเก่งแต่จน มักเป็นคนดี ถ้าไม่มีเรื่องเงินมาเปลี่ยนใจ
9. คนที่ลอกคนอื่น มักภูมิใจกับคะแนนที่ได้มาง่าย ฉลองกันใหญ่
10. โกงแล้วถูกจับได้ บางคนหลาบจำ บางคนไม่กลัวโทษ เพราะเบา

เคยพบการโกงสอบที่เป็นข่าวดัง
หลายครั้งในประเทศไทย # อาทิ
– มี.ค.2551 โกงสอบโอเน็ต ใช้นาฬิกามือถือ
– มี.ค.2556 โกงสอบครูผู้ช่วย 344 ราย
– พ.ค.2559 โกงสอบเข้าหมอ ที่ ม.รังสิต
– ธ.ค.2559 โกงสอบนายสิบตำรวจ 80 ราย

 

https://th.wikipedia.org/wiki/

เกี่ยวกับค่ายหนังแล้ว
ทำให้นึกถึงวันที่ 13 พ.ย.58
ว่ามีงานสัมมนา

เรื่อง คนสร้างสื่อ หรือ สื่อสร้างคน

GTH = GMM + Tai + Hub (ภาพ)

– จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์

– ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์

– หับ โห้ หิ้น ฟิล์ม

ทำหนังดังมากมาย อาทิ แฟนฉัน, Season change,
รถไฟฟ้า มาหานะเธอ, กวน มึน โฮ, Suck Seed ห่วยขั้นเทพ, ATM เออรัก เออเร่อ, รัก 7 ปี ดี 7 หน, พี่มาก พระโขนง, คิดถึงวิทยา, ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้ , Freelance,


แตก GTH ออกเป็น 2 ค่าย ดังนี้

1. ค่าย GTH => GDH 559

(GMM 51% + หับโห้หิน15% + คนทำงาน34%)

เรื่องแรกคือ แฟนเดย์ (Fan day)

2. ค่าย T Moment = T + Mono

เรื่องแรก โอเวอร์ไซส์..ทลายพุง

อัลบั้ม Freshy night 2560

อัลบั้ม Freshy night 2560 ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น
ในชื่องาน NTU 60’s Millennium freshy night
ในวันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2560 เวลา 16.00-24.00น.
ณ บริเวณโถงเสานัก และห้องประชุมใหญ่
อาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น

กำหนดการ freshy night
กำหนดการ freshy night

มีแฟนเพจที่
https://www.facebook.com/NTUstarcontest/

และมี VTR Present ดาว-เดือน 2017

https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1616276658438198/

มี 3 อัลบั้มที่น่าสนใจ ดังนี้
1. น้องนัด กาซีล็อต – 297 ภาพ
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1619380301461167/

2. Rungpet Arunchitti – 143 ภาพ
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1619337274798803/

3. NTU Star Contest 2017 – 77 ภาพ
https://www.facebook.com/NTUstarcontest/posts/557102311348309

นั่งเฉย ๆ ปล่อยให้ความรู้เข้าหัว แบบ Streaming ชิลชิล

สมัยนี้ อยากเรียนแบบ
ใน Matrix หรือ Battlefield earth
มีแล้วหรา .. ก็มีนะ
1. เลือกหลักสูตร (Curriculum)
2. เข้านั่งในเก้าอี้ (Sit)
3. เริ่มโหลดเข้าสมอง (Input)
4. กำลังโหลดความรู้ หัวหมุน (Process)
5. มีดีต้องโชว์ (Output)
6. แก้ไข ปรับปรุง หรือโหลดซ้ำ (Review/Reload/Redo)
7. นำไปใช้จริง (Apply)



Output หลังการเรียนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
เวลาที่ใช้ไม่เร็วเหมือนในหนัง และใช้เวลาในแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป
– บางคนเรียนรอบเดียวก็รู้เรื่อง
– บางคนเรียน ๆ หลับ ๆ ก็ยังรู้เรื่อง
– บางคนเรียนสองรอบ กว่าจะรู้เรื่อง
– บางคนเรียนกี่รอบกี่รอบ ก็ยังไม่รู้เรื่อง
แต่ – ทุกคนเริ่มต้นจากคำว่า “เรียน

ความรู้ (Knowledge) หมายถึง การเรียนรู้ที่เน้นถึงการจำ และการระลึกได้ถึงความคิด วัตถุ และปรากฏการณ์ ซึ่งเป็นความจำที่เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ที่เป็นอิสระแก่กัน ไปจนถึงความจำในสิ่งที่ซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
http://www.thaiall.com/km

ตัวอย่างความรู้ ที่มาในรูปแผ่นดิสก์ หรือมัลติมีเดียร์
1. ความรู้ โดย MOOC
https://thaimooc.org/
2. S.E.L.F. @Home
http://www.enconcept.com/main_index/selfathome100/
3. Programming by SIPA
https://www.youtube.com/channel/UCgWqtSlHS0hCFlV4OfcAmAQ/videos

หนังสือ Battlefield earth
http://www.agonybooth.com/battlefield-earth-2000-part-5-5796
http://tvtropes.org/pmwiki/pmwiki.php/Literature/BattlefieldEarth

ใน All-Round Appraiser Q: The Eyes of Mona Lisa
นางเอกก็เรียนภาษาฝรั่งเศษ ผ่านความสามารถพิเศษ
http://asianwiki.com/All-Round_Appraiser_Q:_The_Eyes_of_Mona_Lisa

ใน Gifted
น้องเค้าเป็นอัจฉริยะ ที่ชอบเรียน ไม่ชอบวิ่งเล่นแบบเด็ก แต่ชอบแก้โจทย์คณิตศาสตร์อยู่บ้าน
สุดท้ายก็ไปนั่งเรียนในมหาวิทยาลัยกับพี่ ๆ เค้า
https://www.youtube.com/watch?v=x7CAjpdRaXU

สรุปสั้น ๆ โพนี่ หม่า บุรุษผู้ร่ำรวยที่สุดในเอเชีย ที่อ่านจาก ceoblog.co

Ma Huateng หรือที่รู้กันในชื่อ Pony Ma
กลายเป็นคนที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชียในเดือนสิงหาคม 2560
จากข้อมูลที่เขียนโดย Russell Flanney (Forbes staff)

Ma Huateng หรือที่รู้กันในชื่อ Pony Ma
Ma Huateng หรือที่รู้กันในชื่อ Pony Ma

ขึ้นมาแทน
แจ็ก หม่า (Alibaba)
ลี กาซิง (Cheung Kong Holdings)
หวัง เจี้ยนหลิน (ต้าเหลียนแวนด้า-บริษัทอสังหาริมทรัพย์)
หรือ ซู เจียหยิน (Evergrande Group-บริษัทอสังหาริมทรัพย์)

https://www.ceoblog.co/ma-huateng-story/
https://www.forbes.com/sites/russellflannery/2017/08/07/tencent-chairman-ma-huateng-overtakes-alibabas-jack-ma-as-chinas-richest-man/

– โพนี่ หม่า เป็นเจ้าของอาณาจักรออนไลน์ยักษ์ใหญ่ที่สุดของจีน นาม Tencent
– เคยเป็นโปรแกรมเมอร์ เงินเดือน 1,100 หยวน ($176 )
– เคยทำงานที่ บริษัท China Motion Telecom Development และ บริษัท Shenzhen Runxun Communications
– โพนี่ หม่า ร่วมกับเพื่อน 3 คน ก่อตั้งบริษัท Tencent ขึ้นมาในปี 1998
– รับบริการวางระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสำหรับองค์กร
– เปิดบริการ OICQ (หรือ Open ICQ) ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1999
– เพิ่มทุนโดย Naspers จากแอฟริกาใต้ เข้ามาร่วมลงทุนกับ Tencent มีหุ้นถึง 46% แลกกับการพยุงธุรกิจ
– Naspers คือเจ้าของ Mweb และเข้าซื้อ Sanook.com และมี Sanook QQ
– ต่อมา MWeb ขาย sanook.com ให้กับ Tencent 341 ล้านบาท (เค้าว่าถูกมากในตอนนั้น)
– AOL (America Online) ซื้อ ICQ 1998 ฟ้อง Tencent ปี 1999 ที่จดโดเมน QICQ.com และ QICQ.net
– ทำให้ต้องเปลี่ยนชื่อเป็น QQ ให้เสียงพ้องกับ Cute และจด QQ.com ทำเป็น Portal website
– Tencent เริ่มมีกำไร 51 ล้านบาท จากค่าโฆษณาที่เพิ่มขึ้น
– QQ ทำรายได้จากการขายการแต่ง Avatar ให้กับผู้ใช้ และมีรายได้ จึงเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพทย์
– 2004 Tencent เข้าตลาดเกมออนไลน์ โดยซื้อลิขสิทธิ์เกมทั้งญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ไปให้บริการในจีน และเริ่มพัฒนาเกมของตนเอง
– 2005 เปิดตัวอีคอมเมิร์ซแบบ C2C : paipai.com ตั้งใจเป็นคู่แข่งกกับ taobao.com ของ alibaba
– 2006 ลงทุนสร้างสถาบันวิจัยด้านอินเทอร์เน็ตแห่งแรกของจีน และเปิด search engine อันดับ 3 คือ soso.com ที่รองจาก baidu และ google
– จีนมีกฎหมาย ตรวจทุกโพสต์ก่อนขึ้นออนไลน์ ทำให้ google, youtube และ facebook ยังเข้าจีนได้ไม่ 100%
– 2011 เปิดตัว wechat/weixin ที่มีผู้ใช้กว่า 800 บ้านคน หรือ 48% ของคนทั่วโลก เป็นตัวแรก
– และซื้อ Whatsapp ที่มีฐานผู้ใช้กว่า 800 ล้านเป็นตัวที่ 2
– ขยายตลาดทำ Fintech เป็นรองก็แต่ Alipay ของ Alibaba
– เริ่มลงทุนใน video, music, ebook, software ทั้ง pc และ mobile, antivirus, browser และ app store
– Tencent ยังเข้าซื้อบริษัทจำนวนมากอีกด้วย ทำให้เติบโตอย่างรวดเร็ว จนเป็นอันดับ 1 จากมูลค่าในหลักทรัพย์

เนื้อหา อ้างอิง จากบทความของ คชาราช วารีสุนทร ใน ceoblog.co
https://www.ceoblog.co/author/admin6/

แล้วผมแชร์ต่อที่ http://www.thaiall.com/digitalcommunity/

13 หัวข้อ เก็บและเผยแพร่สื่อเทิดพระเกียรติ ด้วยรักในหลวง รัชกาลที่ 9

13 หัวข้อ เก็บและเผยแพร่สื่อเทิดพระเกียรติ ด้วยรักในหลวง รัชกาลที่ 9

kingdom grieves
kingdom grieves

ตลอด 1 ปีแห่งความโศรกเศร้า จากการสวรรคต ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวง รัชกาลที่ 9
พบว่า ในสื่อต่าง ๆ ที่จัดทำสื่อเทิดพระเกียรติอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2559 รวมเวลากว่า 360 วันที่ผ่านมา พบเห็น ได้ยิน ได้ฟังมีทุกช่วงเวลา ทุกช่องสื่อแล้วในวันที่สุดแสนเศร้าสลดอีกวันหนึ่ง คือ วันที่ 26 ตุลาคม 2560 ที่จะมีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

http://www.nationtv.tv/main/content/social/378544562/

และมติ ครม. ประกาศให้เป็นวันหยุดราชการ เอกชนบางแห่งก็ประกาศเป็นวันหยุดเช่นกันอาทิ เทสโก้ โลตัส ปิดบริการชั่วคราว ทั่วประเทศในวันที่ 26 ต.ค.2560 ให้พนักงานร่วมถวายความอาลัย

http://www.krobkruakao.com/index.php/local/53841

มีสื่อมากมายที่พบเห็น มีการแชร์กันอย่างแพร่หลาย คนไทยรักในหลวงได้จัดทำ จัดเก็บ และเผยแพร่แฟ้มเหล่านั้น เพื่อเทิดพระเกียรติซึ่งกระผมก็เป็นผู้หนึ่งที่จัดเก็บ และเผยแพร่สื่อที่ได้มา

1. เผยแพร่ใน Facebook Page

เป็น ปฏิทินตั้งโต๊ะของ ธนาคารธนชาต ปี 2560
ที่ https://www.facebook.com/pg/thaiall/photos/?tab=album&album_id=10154977481492272

2. เผยแพร่ใน Facebook Profile

โดยเพื่อน ๆ ในองค์กรที่มหาวิทยาลัยเนชั่น
ร่วมทำกิจกรรม รวมพลังแห่งความภักดี เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์
เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2559 ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น
ที่ https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10154682169098895.1073741921.814248894

3. เผยแพร่ผ่าน Homepage ปฏิทิน 2560

ได้จัด scan ภาพจากปฏิทิน ชุด “๙ ทศวรรษ ฉัตรชัยประชา”
ที่ http://www.thaiall.com/calendar/caltdesk60.htm

4. เผยแพร่ผ่าน Homepage รักในหลวง

ที่รวมสื่อแบบ Multimedia, e-book, Album และปฏิทิน
และเป็นเว็บเพจที่ share สื่อ 8 แฟ้ม
ที่ http://www.thaiall.com/thai/kingsong.htm

ดังนี้

[1] นิทานเทิดพระเกียรติ 9 เรื่อง [28.8 MB]

หนังสือชุดสำหรับเยาวชน : หนังสือสื่อประสมเฉลิมพระเกียรติ
จัดทำเนื่องในพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554

 1 – ในหลวงของฉัน 30 หน้า

2 – กล้องของใคร 30 หน้า

3 – เพลงแผ่นดิน 30 หน้า

4 – วาดภาพตามพ่อ 30 หน้า

5 – เมฆน้อยของพระราชา 30 หน้า

6 – เรือใบใจกล้า 30 หน้า

7 – การเดินทางของความสุข 30 หน้า

8 – ต้นไม้ของพระราชา 30 หน้า

9 – ตามยายไปวัด

[2] คมชัดลึก ฉบับ 14 ต.ค.59 [78.8 MB]

เสด็จสู่สวรรคาลัย ธ สถิตในดวงใจไทยนิรันดร์มีพระราชประวัติตลอดเล่ม 9 หน้า

[3] 48 เพลงพระราชนิพนธ์ [151 MB]

รวมเพลง MP3 และแฟ้มรายชื่อเพลงใน .zip

รวมเพลงพระราชนิพนธ์

[4] ธนบัตรในรัชกาลที่ 9 [9.71 MB]

รวม 220 หน้า ในรูปแบบ PDF file

[5] The Nation ฉบับ 14 ต.ค.59 [12.4 MB]

ภาพปกเป็น พระเสโท
Kingdom grieves (ร่ำไห้)
12 Pages, Volume 41, No.54920 / Bt30
Hist Majesty King Bhumibol Adulyadej 1927-2016
Truly the King of hearts
Kingdom plunges into sorrow after King’s passing

[6] The Nation ฉบับ 15 ต.ค.59 [23.6 MB]

King begins his final journey
Last page : What Mourners say ..12 Pages

[7] เดลินิวส์ ฉบับ 15 ต.ค.59 [21.5 MB]

ในหลวง สวรรคตลดธงครึ่งเสา-ขรก.ไว้ทุกข์ 1 ปี
กษัตริย์จิกมี-ผู้นำทั่วโลกอาลัย
ในหนังสือพิมพ์เป็นเรื่องราวของในหลวงทั้งหมด 27 หน้า
Scanned by CamScanner

[8] หนังสือโดยรัฐบาล [3.4 MB]

หน้า 5 “ปวงข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ข้าพระพุทธเจ้า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรี ข้าราชการ และพสกนิกรชาวไทย
หนังสือภาพ จัดพิมพ์โดย กลุ่มประชาสัมพันธ์
สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
ISBN 978-616-543-421-8 มี 52 หน้า

5. เผยแพร่ 8 สื่อ ผ่าน Cloud storage ที่ Google Drive

ที่ https://drive.google.com/drive/folders/0B57tftxwECsiM1h6bkh1VXR3Qmc

6. เผยแพร่ 8 สื่อ ผ่าน Cloud storage ที่ Dropbox

ที่ https://www.dropbox.com/sh/4p8i5x9k0rhrlia/AAB5JE9gpAPiozE06w7BvFufa?dl=0

7. เผยแพร่ 8 สื่อ ผ่าน Cloud storage ที่ 4shared.com

ที่ https://www.4shared.com/folder/4YgEC7_s/royal_files.html

8. เผยแพร่ 8 สื่อ ผ่าน Cloud storage ที่ one drive

ที่ https://onedrive.live.com/?cid=ad5d4db8b448d28d&id=AD5D4DB8B448D28D%21641&authkey=!AKaPBjs8mvkPp2I

9. เผยแพร่ 8 สื่อ ผ่าน Cloud storage ที่ box.com

ที่ https://app.box.com/embed/s/jp0ujjehyb5qlzqg366je3ux7nyf6zt2/folder/11801920926

10. แล้วสื่อทั้ง 8 ยังเผยแพร่เป็น embeded ใน homepage

วิชาสื่อและเทคโนโลยี (TECH 100)
ที่ http://www.thaiall.com/mit/

11. เขียนบทความไอทีในชีวิตประจำวัน ITinLife 575

เมื่อ ตุลาคม 2559 เผยแพร่การเก็บสื่อเทิดพระเกียรติ
ที่ http://www.thaiall.com/blog/burin/8078/

12. รวบรวมคลิ๊ปใน Playlist ผ่าน youtube.com

ที่ https://www.youtube.com/playlist?list=PLYv8A28PGRQzX0V0tJl33d81QO6nouASp

13. ทั้ง 8 แฟ้มรวมเป็น royal_files.zip ขนาด 361 MB

เผยแพร่ผ่าน google drive (public sharing)
ที่ https://drive.google.com/file/d/0B57tftxwECsic01uRl92eEUzNzQ/view?usp=sharing

14. แชร์เรื่องราวใน blog ของ oknation.net

ที่ http://oknation.nationtv.tv/blog/thaiabc/2017/10/07/entry-1

all files

การบันทึก และเผยแพร่สื่อเทิดพระเกียรติ ยังดำเนินต่อไปตราบนานเท่านาน ด้วยรักในหลวง รัชกาลที่ 9

กระแสวัตถุนิยมเริ่มเสื่อม เดี๋ยวนี้เป็นกระแสนิยมคนดี เข้ามาแทน

ภาพนี้เชยล่ะ
สมัยนี้ ไม่มีใคร
เห็นแก่ มอเตอร์ไซค์หรอก
เห็นแก่ กีฬา คือ ยาวิเศษ
เห็นแก่ รถยนต์หรู
เห็นแก่ เรือลำโต
ทุกคนชอบคบคนอ่านหนังสือ
ปล. กระแสนิยมวัตถุเริ่มเสื่อมล่ะ

มีตัวอย่างเยอะเลย กับกระแสรักการอ่าน

 
http://www.illumeably.com/2017/07/27/success-vs-failure/

หรือ

ภาพชุดนักศึกษารักการอ่าน ประจำปีการศึกษา 2560 ภาคเรียนที่ 1

ภาพชุดนักศึกษารักการอ่าน คือ กิจกรรมหนึ่งในวิชาสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ให้นักศึกษาไปสืบค้นหนังสือที่ชอบในห้องสมุด นำมาอ่าน สรุปใจความสำคัญลงกระดาษ แล้วก็ถ่ายภาพกระดาษที่ได้สรุปเนื้อหาเหล่านั้น พร้อมกับถ่ายภาพตนเองระหว่างการอ่านหนังสือท่ามกลางกองหนังสือ จากนั้นก็ zip ผลงานทั้งหมดเป็นแฟ้มเดียว ส่งเข้าระบบอีเลินนิ่ง เมื่อเห็นภาพนักศึกษาตั้งใจถ่ายระหว่างอ่านหนังสือ ก็นำมาแชร์ต่อ เพราะเห็นเป็นเรื่องน่าชื่นชม

รักการอ่าน : http://www.thaiall.com/readbookt

แชร์ผ่าน photos google
ที่ https://photos.app.goo.gl/uJjXqkKvoZalZkim2

แชร์ผ่าน fan page
ที่ https://www.facebook.com/pg/ajarnburin/

 

รักการอ่าน
รักการอ่าน

การใช้บริการ Photos ของ Google.com เพื่อ Share Album สำหรับผู้มีบัญชีของ gmail.com สามารถ install app เพื่อเก็บ photos หรือ Video ใน cloud storage หรือ share ทั้งแบบ photo หรือ album แล้วยังสั่งเปิดแบบ slide show ได้

คำแนะนำการใช้งาน ดังนี้ 1) Sign in : http://photos.google.com 2) แล้วอัพโหลด 78 ภาพ ผ่าน Web browser 3) แล้วเลือก Add to Album, New album, พิมพ์ชื่ออัลบั้มแล้ว click เครื่องหมายถูกที่มุมบนซ้าย มีตัวอย่าง Album ที่ share เช่น “Love to read a book (2560-1)” , “โครงการ อพ.สธ-ม.เนชั่น” , “Miss Grand 2016” หรือ “Miss Grand 2017 (PWA)” “Fanpage สวนนายบู” สำหรับ Android : download

 


หลังอ่านหนังสือสักเล่ม ก็ต้องทบทวน ว่าในหนังสือมีอะไรดี สรุปออกมาอย่างน้อยสักหน้าให้รู้เรื่องราวความเป็นมาเป็นไป ก็น่าจะดี เป็นความคิดรวบยอดจากการอ่าน 
การเลือกหนังสือก็สำคัญ นักศึกษามักเลือกหนังสือที่สัมพันธ์กับสายของตนเอง (Major)
อาทิ
สาขารัฐประศาสนศาสตร์
สาขาสาธารณสุขศาสตร์
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
สาขาบัญชี
สาขาบริหาร
สาขานิเทศศาสตร์

l3nr.org เป็นห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) ที่ไม่เปิดรับสมาชิกใหม่ไปซะแล้ว

ชอบเว็บไซต์ l3nr.org และแนะนำให้นักศึกษาเข้าใช้บริการเป็นเวทีปล่อยของบ่อยครั้ง เพราะเว็บไซต์นี้เป็นแหล่งปล่อยของสำหรับนักเรียนนักศึกษา ดังคำสำคัญ หรือนิยาม ที่พบในเว็บไซต์ว่า L3nr คือ “เกมส์การเรียนรู้” หรือ “เกมส์กลับหัว เพื่อห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom)” และ “การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับทางนั้น ผู้สอนจะจัดกิจกรรมหลากรูปแบบโดยใช้เครื่องมือหลายอย่างทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน แบบกลุ่มและแบบรายบุคคล

แล้วปี 2017 จะให้นักศึกษาไปปล่อยของกันที่นี่เหมือนเดิม ก็มีนักศึกษาเข้าไปสมัครสมาชิก แล้วพบข้อความว่า “ระบบ L3nr ในขณะนี้ไม่เปิดรับสมาชิกใหม่แล้วค่ะ กรุณาใช้งานระบบ ClassStart ซึ่งเป็นระบบจัดการการเรียนการสอนออนไลน์ที่สมบูรณ์ที่สุดของไทยในปัจจุบัน” สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่รับสมาชิกใหม่ของเว็บไซต์นั้น เคยเกิดขึ้นกับหลายเว็บไซต์มาแล้ว อาทิ geocities.com หรือ thai.net เป็นต้น ซึ่งแต่ละเว็บไซต์ก็มีเหตุผลที่ต้องปรับนโยบายไปเช่นนั้น ซึ่งผู้ดูแล L3nr.org มีอีก 2 เว็บไซต์หลักที่ต้องดูแล และดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป ได้แก่ GotoKnow.org คือ เว็บไซต์สำหรับคนทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บันทึกประวัติศาสตร์ชีวิตและการทำงาน ครู อาจารย์ คนทำงานภาครัฐและภาคสังคม และ ClassStart.org คือ ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต จัดการการเรียนการสอนได้ง่าย ไม่ต้องติดตั้งระบบเอง เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา

อ่านนิยามของเว็บไซต์ L3nr.org เสร็จ .. ทำให้นึกถึงน้อง Kittichai Mala-in FramyFollow (ป.6) ที่ใช้ medium.com เป็นเวทีแชร์ประสบการณ์ใน โรงเรียนบ้านง่อนหนองพะเนาว์มิตรภาพที่ 126 ตั้งแต่สมัย ป.3 ที่ทำ root Smartphone ของ True ผ่าน King Root พอขึ้น ป.4 กับ ป.5 สร้างเกมด้วย RPG Maker VX เดี๋ยวนี้ ป.6 สนใจ Dream Weaver CS5 กับ CSS ได้ความรู้เยอะเลยจาก thaicreate.com เขียนได้ดี น่านำไปแชร์ต่ออย่างมาก

แล้วนึกถึงหนังสือ ห้องเรียนแห่งอนาคต เปลี่ยนครูเป็นโค้ช ของ อ.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ มี quote ที่หน้าปกว่า “ฉีกกฎการเรียนการสอนแบบเดิม ๆ เพิ่มหลังการเรียนรู้ให้เด็กไทย
ด้วยห้องเรียนที่สร้างสรรค์อย่างแท้จริง
” แล้วห้องเรียนกลับทางก็เป็นห้องเรียนที่สร้างสรรค์อีกรูปแบบหนึ่ง

สรุปว่า .. มีเวทีมากมายที่เป็นห้องเรียนกลับหัว ที่ให้นักเรียนนักศึกษาใช้เป็นเวทีปล่อยของ จะปล่อยกันเองตามอำเภอใจ ปล่อยตามประเด็นที่ครูอาจารย์มอบหมาย หรือปล่อยเพื่อประกวดแข่งขัน ก็ทำได้ตามสะดวก อย่าใช้แต่เฟสบุ๊กโปรไฟร์หรือแฟนเพจอย่างเดียว ก็แนะนำให้ไปใช้ในหลายแหล่ง มีเวทีมากมายที่เปิดรับเป็น public อย่างแท้จริง อาทิ  1) blogger.ccom, 2) wordpress.com, 3) oknation.net=oknation.nationtv.tv, 4) medium.com, 5) dek-d.com, 6) gotoknow.org, 7) github.com, 8) FreeWebHosting อีกมากมาย และนี่ยังไม่นับรวมเวทีมัลติมีเดียทั้ง คลิ๊ปวีดีโอ เสียง ภาพ ซอฟต์แวร์ หรืออีบุ๊ค เป็นต้น

ใน 7 sites แรกที่แนะนำไปด้านบน
มี WordPress.com ที่ชอบมากเป็นพิเศษ เพราะ export post ที่เลือกแบบ published ไปให้เพื่อนที่ลง WP ไว้ในระบบ แล้ว import แฟ้ม XML ได้เลย เรียกว่า ปล่อยของไว้ที่ WP วันดี คืนดี อยากเปลี่ยนเวที ก็ Export ไปที่อื่นได้เลย

นี่ผมก็ export จากไซต์ของ wordpress.com ได้แฟ้ม xml ไปฝากไว้กับ github.com
ที่ https://github.com/thaiall/programming-page/tree/master/wordpress

 

ก่อนหน้านี้ก็มีเว็บไซต์ดี ๆ อย่าง Wonkdy.org
เขียนโดย ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ ร่วมเขียนโดย ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์
http://www.usablelabs.org
ข้อมูลจาก https://web.archive.org/web/20150908071932/https://www.wonkdy.org/pages/101

ในวันที่เจ้าต้นไม้เข้าเรียนประถมหนึ่ง แม่ถามพ่อว่า “รู้ไหม ลูกเราจะต้องเรียนอะไรบ้าง?”

แน่นอนว่าพ่อตอบไม่ได้และนั่นคือจุดเริ่มต้นของ Wonkdy Academy (หวังดี อคาเดมี)

หวังดี อคาเดมี เป็นพื้นที่รวบรวมโน้ตของพ่อและแม่เพื่อจะได้รู้และช่วยสอนลูกได้ เพราะพ่อกับแม่เชื่อว่าการเรียนรู้ที่ดีเพื่อพัฒนาเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้องเริ่มต้นที่บ้าน

หวังดี อคาเดมี เป็นพื้นที่ออนไลน์ที่พ่อและแม่จะได้แบ่งปันเนื้อหาเหล่านี้ให้พ่อและแม่ของคนอื่นๆ ต่อไปเพราะเราอยู่ในสังคมเดียวกัน การเกื้อกูลกันโดยแบ่งปันความรู้คือของขวัญที่ดีที่สุดที่จะมอบให้แก่สังคม

นอกจากนี้พ่อและแม่ยังชักชวนพี่น้องเพื่อนฝูง ทั้งในวงการการศึกษาที่พ่อและแม่ทำงานอยู่และคนอื่นๆ ที่มีความตั้งใจเดียวกัน เพื่อร่วมกันแบ่งปันเนื้อหาดีๆ ให้ทุกคนสามารถตอบคำถามเดียวกันที่แม่ถามพ่อได้ว่า “เรารู้ว่าลูกเราเรียนอะไร”

หวังดี อคาเดมี เป็นระบบเพื่อสนับสนุนการเขียนร่วมกันในลักษณะเดียวกันกับ Wikipedia โดย หวังดี อคาเดมี พยายามพัฒนาให้ใช้งานได้ง่ายที่สุด สอดคล้องกับการใช้งานของคนไทย และเหมาะกับเนื้อหาด้านการศึกษามากที่สุด

โครงการ หวังดี อคาเดมี ให้บริการโดย ศูนย์พัฒนานวัตกรรมเพื่อการจัดการความรู้และการเรียนรู้ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ส่วนคำว่า “หวังดี” นั้นมาจากคำแปลของคำว่า “ปิยะวิชญ์” (Piyawish) ที่เป็นชื่อจริงของเจ้าต้นไม้ ที่พ่อและแม่พยายามคิดโดยเอาบาลีบวกสันสกฤตบวกอังกฤษเพื่อเป็นชื่อของ “ดช.หวังดี” คนดีของพ่อและแม่นั่นเอง

ปล. เรารู้ความหมายของคำว่า wonk, wonky, (และ wank) ในภาษาอังกฤษดีจึงตั้งชื่อเว็บนี้ว่า “wonkdy” เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงระบบการศึกษาของโลกนี้ที่พ่อกับแม่ได้เจอมา และด้วยความหวังว่าลูกคงได้เจอสิ่งที่ดีกว่า

 

ยัดเยียดกรอบความคิดเรื่อง “อ่านออก เขียนได้” เข้าห้วเด็ก อยากให้อยู่ในกรอบนี้

มนุษย์กลุ่มหนึ่งมี กรอบแนวคิด (Framework)
ว่า มนุษย์คนอื่นควรที่จะ อ่านออก + เขียนได้
การทำไม่สำเร็จ ถือเป็นความล้มเหลว ที่ต้องแก้ไข
พยายามยัดความคิดว่า

มนุษย์ต้องอ่านออกเขียนได้ เข้าไปในหัวเด็ก ๆ

พบว่า มีความพยายามแก้ไขด้วยวิธีการต่าง ๆ
อาทิ ครูไม่พอ ก็ไปหาครูมาเพิ่ม
เพื่อยัดกรอบความคิด (Framework) เรื่องอ่านออกเขียนได้ เข้าไปในหัวเด็ก ๆ

เด็ก ๆ บางทีก็คิดนอกกรอบนี้นะครับ
(เคยดูหนังเรื่อง คิดถึงวิทยา ที่โรงเรียนเรือนแพน่ะครับ)

 

มีกรอกความคิด อยากให้เด็กอ่านออกเขียนได้
มีกรอกความคิด อยากให้เด็กอ่านออกเขียนได้

http://www.kruwandee.com/news-id35908.html
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10155654550518895&set=a.10150933077238895.437258.814248894&type=3&theater

ทุกวันนี้เจอพวกตีกรอบมามากมาย
การตีกรอบความคิดมีความพยายามกันเยอะครับ
ดูหนังหนึ่งเรื่อง อ่านข่าวหนึ่งย่อหน้า ผมก็โดนยัดความคิดเข้าสมองมาล่ะ
นี่ไปดูหนังเรื่อง “สิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่ารัก
พอดูเสร็จเท่านั้นหละ “รักแฟนขึ้นมาเลย
หรือ
ดูโฆษณาผ้าอนามัย ดูเสร็จ “อยากใส่ผ้าอนามัยเลย
โดนล้างสมองมาเรียบร้อย แต่เอ๊ะ ผมไม่ใช้ผ้าอนามัยนี่นา

ทุกวันนี้ก็ตีกรอบความคิดให้นักศึกษาของผมอยู่
ยัดความคิดเรื่อง
อ่านโปรแกรมออก
เขียนโปรแกรมได้
ก็ไม่รู้จะยัดความคิดพวกนี้ได้ไหม หรือพวกเขามีกรอบความคิดเป็นของตนเอง
.. คืออะไรนะ