นั่งสมาธิ ทำให้หลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน หรือเอ็นโดรฟินส์ (Endorphins)

เอ็นดอร์ฟิน จะหลั่งจากการนั่งสมาธิ
เอ็นดอร์ฟิน จะหลั่งจากการนั่งสมาธิ

ไปอ่านมาจากหลายแหล่ง
พอสรุปได้ว่า
นั่งสมาธิถึงระดับหนึ่ง จะส่งผลให้ร่างกาย
หลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน หรือเอ็นโดฟินส์ (Endorphins)
ทำให้มีความสุข
ดังนั้นการนั่งสมาธิแล้วมีความสุข
ก็มาจากการที่ร่างกายหลั่งสารนี้
ถ้านั่งแล้ว นั่งได้นานถึง 30 นาที แสดงว่ามีการหลั่งสารนี้แล้ว
หลายสำนักก็ปฏิบัติด้วยการนั่งสมาธิเป็นเวลา 30 นาที
http://www.samathi.com/institute-detail.php?actid=4

อ่านจาก wiki ที่ https://th.wikipedia.org/wiki/เอ็นดอร์ฟิน
เอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) เป็นสารที่หลั่งออกมา
เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวด ผลิตจากต่อมใต้สมอง และ ไฮโปทาลามัส ในกระดูกสันหลัง
สารเอ็นดอร์ฟินมีลักษณะคล้ายคลึงกับ โอปิแอต ในกลุ่มโอปิออยด์ ที่ใช้สำหรับระงับการเจ็บปวด

อ่านจาก Blog ที่ https://nanjeeraporn.wordpress.com
ว่า ฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตขึ้น
เมื่อเราเกิดความสุขใจ หรือเมื่อเกิดความปีติสุข
เช่น การนั่งสมาธิ สวดมนต์ การช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน การออกกำลังกาย การฟังดนตรี การทำงาน ศิลปะ การได้รัก ได้สัมผัสถ่ายทอดความรักซึ่งกันและกัน กระทั่งการได้ร่วมรักกับคนที่เรารัก

อ่านจาก Kapook ที่ https://health.kapook.com/view65437.html
เรื่อง “8 ฮอร์โมนสำคัญในร่างกาย
โดย เอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) คือ ฮอร์โมนหลั่งเมื่อฉันฟิน
ฮอร์โมนที่ทำให้เรามีความสุข คลายเครียด
เมื่อเรามีความสุขกายสบายใจ สารเอ็นดอร์ฟินจะหลั่งออกมามากขึ้น แล้วเข้าสู่กระแสเลือด
จนสามารถไปกดการสร้างฮอร์โมนแห่งความเครียด
เช่น นอร์เอพิเนฟริน ทำให้เรารู้สึกหายเครียด และยังเป็นผลให้ระดับภูมิคุ้มกัน (antibody)
ในเลือดเพิ่มขึ้น
อีก 7 ฮอร์โมน คือ
เทสโทสเตอโรน เอสโตรเจน
โปรเจสเตอโรน โดฟามีน
คอร์ติซอล เซโรโทนิน
และอีพีเนฟรีน (อะดรีนาลิน)

หลักสูตรครูสมาธิ
หลักสูตรครูสมาธิ

ภาพประกอบ นักศึกษาฝึกปฏิบัติทำสมาธิ
11 กรกฎาคม 2015

http://202.44.33.100/samathi/branch/7/gallery/_201508142134040046.jpg

อบรมการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2559 ณ ม.เนชั่น

อบรมการจัดการความรู้
อบรมการจัดการความรู้

มหาวิทยาลัยเนชั่น จัดโครงการอบรมการจัดการความรู้ ให้แก่บุคลากร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย หัวข้อ การจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร (Knowledge Management to improve organization performance) เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และให้มีศักยภาพในการทำงานบรรลุตามเป้าประสงค์ขององค์กร วิทยากรคือ อาจารย์ ดร.อติชาต หาญชาญชัย จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันพุธที่ 1 มีนาคม 2560 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้อง 4201 อาคารนิเทศศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมี อ.ศรีเพชร สร้อยชื่อ เป็นผู้ขับเคลื่อน KM และ คุณมณธิชา แสนชมภู งานบริหารทรัพยากรบุคคล ขับเคลื่อนหน่วยงาน มีอาจารย์จากคณะต่าง ๆ นำนักศึกษาเข้าร่วมเรียนรู้จำนวนมาก

เอกสารประกอบการบรรยาย
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/777949739022513/

ภาพกิจกรรม
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10155023525023895.1073741928.814248894&type=3

ผมสนใจเรื่อง การจัดการความรู้
และทำงานประกันในประเด็นนี้มาก่อน
จึงทำโฮมเพจเล่าเรื่องนี้ไว้ที่
http://www.thaiall.com/km

และทำ Story Telling เล่าเรื่อง การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์
จากประสบการณ์ของตนเอง ที่ต้องออกไปดูแลคุณแม่
ในชื่อบล็อกว่า “แม่ล้ม ผมก็ล้ม”
ที่ http://article-thaiall.blogspot.com

ฟังมามีเยอะ ผม lecture ไว้ใน facebook.com ครับ

How KM Works?
1. People
2. Process
3. Technology
ฟังทีไรก็เห็นภาพชัดเจนทุกที ว่าทำอย่างไรให้ KM ทำงานได้

ประเด็นที่ท่านยกมามีมากมาย
อาทิ
– ดาวอังคาร กับ Trappist-1 System
– Duck Family off campus
– คุณเก่งงาน คือ ชะตากรรมของคนเก่ง
– มูลนิธิขวัญข้าว การทำนาข้าวในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน
– CPALL โครงการ KM เพื่อนวตกรรม
– SCG โครงการแบ่งปัน แลกเปลี่ยน จัดเก็บ เผยแพร่ และพัฒนา
– สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาภรณ์ฯ กิจกรรม อาศรม วิทยบริการ
– Siriraj KM : ที่โรงพยาบาลนี้เป็นต้นแบบ ทำมาตั้งแต่ 2548

ฟังไป ก็จดไปครับ ทบทวนไปด้วย
ฟังไป ก็จดไปครับ ทบทวนไปด้วย

การสั่งแสดงตัวอักษร ก ใน CP874 บน Webpage

มีโอกาสนั่งคุยกับนักศึกษา
เรื่องตัวเลข ฐานสิบ ฐานสิบหก และตาราง ASCII
พบตาราง Character Set ของคนไทย คือ Windows-874 หรือ TIS-620
หากจะแสดงเว็บเพจภาษาไทย
มักใช้ <meta http-equiv=”content-type” content=”text/html;charset=windows-874″ />
หรือ <meta charset=”tis-620″ />
แล้วสั่งแสดงตัวอักษร ก ด้วย &#3585; หรือพิมพ์ตรง ๆ ก็ได้
หากใช้ตัวเลข ก็แสดงว่า 3585 คือ ก
ซึ่งเป็นเลขสำหรับตัวอักษรภาษาไทยตัวแรก ในระบบ Unicode
แล้วพบว่าไม่สามารถแสดงด้วย &#161; หรือ &#xA1;
เพราะ Browser ไม่ได้รองรับ
อักษรพิเศษอื่น ๆ ที่ชวนมอง และมี Entity Name

อาทิ
&amp; = Ampersand
# = Number sign
# = Hashtag sign
# = Sharp sign

 

โฮมเพจที่น่าสนใจ
http://www.w3schools.com/charsets/ref_utf_symbols.asp
http://www.rakjung.com/facebook-no163.html
http://www.thailibrary.in.th/2014/02/13/char-set/
https://en.wikipedia.org/wiki/Code_page

คะแนนมาตรฐาน หรือค่า T ที่ปรากฎในผลสอบวิชาสามัญ 9 วิชา

วิชาสามัญ 9 วิชา
วิชาสามัญ 9 วิชา

[คำถาม]
มีคำถามว่า คะแนนมาตรฐาน หรือค่า Ti
ที่ปรากฎใน “รายงานผลการทดสอบ
วิชาสามัญ 9 วิชา ประจำปีการศึกษา 2560
บอกอะไรกับนักเรียนในแต่ละวิชา
จากการประกาศผลสอบ
ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ

[ความหมายของคะแนนมาตรฐาน]
ถ้าคะแนนเต็ม 100 คะแนน
สอบได้ 68 คะแนน
แต่คะแนน 68 ไม่ได้เทียบกับอะไร หรือกับใคร
จึงเรียกว่าคะแนนของนักเรียนที่ทำได้
เพื่อแสดงการเปรียบเทียบกับผู้อื่น
เค้าจึงคำนวณ “คะแนนมาตรฐาน” ขึ้นมา
ซึ่งเป็นผลจากการเทียบกับผู้เข้าสอบทั้งหมด
โดยเทียบว่าเต็ม 100 ได้ประมาณเท่าไร เมื่อเทียบกับผู้เข้าสอบทั้งหมด

[สรุปว่า]
– คะแนนมาตรฐานเกินกว่า 50 แสดงว่า ผ่าน เมื่อเทียบกับผู้เข้าสอบทั้งหมด
– คะแนนมาตรฐานต่ำกว่า 50 แสดงว่า ตก เมื่อเทียบกับผู้เข้าสอบทั้งหมด

เค้าถึงเรียกคะแนนมาตรฐาน เพราะเป็นคะแนนที่เทียบกับกับผู้เข้าสอบทั้งหมด
การตก แปลว่า คะแนนคุณต่ำกว่าคะแนนมาตรฐาน (Standard Score)
การผ่าน แปลว่า คะแนนคุณสูงกว่าคะแนนมาตรฐาน (Standard Score)

[คะแนนมาตรฐาน (Ti) คำนวณอย่างไร]
วิธีคำนวณต้องใช้ตัวเลข 3 ค่า
1. คะแนนที่สอบได้ (Xi) เช่น 68 คะแนนจาก 100 คะแนน
2. ค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ (X-bar) เช่น 58.19
3. ค่าการกระจาย (S.D.) เช่น 13.52

[สมการ]
Zi = (Xi – X-bar) / S.D.
Zi ค่านี้บอกว่าห่างจากค่ามาตรฐานไปเท่าใด
Ti = 50 + (10 * Zi)
ค่า Ti คือ คะแนนมาตรฐาน จะเทียบกับ 50

[ตัวอย่าง]
Zi = (68 – 58.19) / 13.52 = 0.725
Ti = 50 + (10 * 0.725) = 57.25

 

[คะแนนมาตรฐาน (Ti) คำนวณอย่างไร]
จากภาพคำนวณให้เฉพาะ “วิชาภาษาไทย”
นักเรียนคนนี้ได้คะแนนมาตรฐาน 57.25 หรือ 57.26 เมื่อปัดเศษ
แสดงว่า ผ่าน เมื่อเทียบกับนักเรียนทั้งประเทศ
คำถาม คือ แล้ววิชาอื่นที่มี A, B, C, D, E, F
จะได้คะแนนมาตรฐานเป็นเท่าใด และผ่านวิชาใดบ้าง

นั่งอ่านหนังสือ ระบบปฏิบัติการ ของ รศ.ดร.กฤษดา ขันกสิกรรม

ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์

นั่งอ่านหนังสือ ระบบปฏิบัติการ (Operating system)
ของ รศ.ดร.กฤษดา ขันกสิกรรม
พบว่า บทที่ 1 ของท่านน่าสนใจ
พูดถึง “ระบบคอมพิวเตอร์” ในยุคต่าง ๆ
แล้วท้ายบทก็มีแบบฝึกหัด ผมได้ลองทำแล้ว
และพลิกไปมาระหว่างแบบฝึกหัด กับเนื้อหา
อ่านไปเพลิน ๆ วันรุ่นเรียกว่า “อ่านวนไป
อ่านเสร็จก็มานั่งทำโฮมเพจ ทำ fieldset
ที่ชื่อว่า “ถาม – ตอบ
เรียบเรียงทั้งส่วนของ multiple choice กับ right and wrong
มาทำเป็นถามตอบสั้น ๆ ไว้พูดคุยกับนักศึกษาของผม
http://www.thaiall.com/os/os01.htm
แล้วถ้ามีโอกาสก็คงหยิบถามตอบไปทำระบบสอบออนไลน์
เข้าชุด Ten Test Center
ที่ http://www.thaiall.com/quiz/test10.php
เพราะระบบสอบออนไลน์นี้ ผมอัพเกรดให้แจกใบรับรองไปเรียบร้อยแล้ว

การเขียน CSS เพื่อเรียกใช้ font ของตนเองที่เตรียมไว้

download_font.htm
download_font.htm

มีโอกาสเขียนเว็บเพจที่ใช้ font ที่เตรียมไว้
ได้ download มา 2 font แล้วเก็บไว้ในห้องหนึ่ง
ชื่อ rsp_thchakrapetch.ttf กับ rsp_alexbrush.ttf
ส่วนแฟ้ม .htm ก็อยู่ในห้องเดียวกัน

มีขั้นตอนดังนี้
1. ประกาศชื่อแฟ้มฟอนต์ และชื่อฟอนต์ที่จะใช้ภายในเว็บเพจ
2. จุดใดจะกำหนดรูปแบบฟอนต์ ก็อ้างอิงที่ประกาศได้เลย
3. ดูจากตัวอย่างก็เข้าใจได้โดยง่าย

http://www.thaiall.com/web2

<body>
<style>
@font-face{
font-family:THChakraPetch;
src: url(‘rsp_thchakrapetch.ttf’);
}
@font-face{
font-family:AlexBrush;
src: url(‘rsp_alexbrush.ttf’);
}
</style>
<p style=”font-family:THChakraPetch;font-size:100px;”>สวัสดี</p>
<p style=”font-family:AlexBrush;font-size:100px;”>hello</p>
<p><a href=”rsp_thchakrapetch.ttf”>rsp_thchakrapetch.ttf</a></p>
<p><a href=”rsp_alexbrush.ttf”>rsp_alexbrush.ttf</a></p>
</body>

 

ดาวน์โหลดฟอนต์ และ code ตัวอย่าง โดย view source ได้เลย
http://www.thaiall.com/web2/download_font.htm

อูบุนตู 4 บทในหนังสือของ รศ.ดร.กฤษดา ขันกสิกรรม

ranking linux distribution
ranking linux distribution

นั่งอ่านหนังสือ
“ระบบปฏิบัติการ (Operating System)”
ของ รศ.ดร.กฤษดา ขันกสิกรรม
พบบทที่ 10-13 ระบบปฏิบัติการอูบุนตู
โลกเราไม่ได้มี OS ระบบเดียว และรุ่นเดียว

บทที่ 10 ประวัติ
– ประวัติของอูบุนตู
– รุ่นหรือเวอร์ชั่นของอูบุนตู
บทที่ 11 ติดตั้ง
– ติดตั้งในเครื่องใหม่
– ติดตั้งหลายโอเอส แบบแบ่ง Partition
– ติดตั้งเพิ่ม Install inside windows
บทที่ 12 การใช้งานอูบุนตู
– หน้าจอหลัก
– ส่วนประกอบหลัก
– การจัดการเดสก์ทอป
– การใช้งานไฟล์และโฟลเดอร์
– การใช้โปรแกรมพื้นฐาน
บทที่ 13 โปรแกรมประยุกต์
– Openoffice
– Firefox
– Pidgin สำหรับการแชทหลายบัญชี
– การใช้ร่วมกับอุปกรณ์ อาทิ mouse, printer, graphic card
– การใช้ Visual Effects ของอูบุนตู

mark shuttleworth ubuntu
mark shuttleworth ubuntu

อ่านหน้า 238 เรื่อยไป พบว่า
ยูบุนตู (Ubuntu) พัฒนาต่อยอดจาก เดเบียน (Debian)
ซึ่งต่างเป็นลีนุกซ์ (Linux) ที่เป็น Open source
และเป็น GPL (General Public License) คือ สัญญาอนุญาตในการนำไปใช้
โดยสัญญา GPL ฉบับแรกเขียนโดย Richard Stallman
ส่วน Linux Kernal มีผู้ริเริ่มคือ Linus Torvalds (ไลนัส เทอร์วัลต์ส)
ยูบุนตูถูกพัฒนาให้สามารถใช้กับ PC, Notebook หรือ Server
คำว่าอูบุนตูเป็นคำจากภาษาซูลูและโคซาในแอฟริกาใต้
หมายถึง เพื่อมวลมนุษยชาติทุกคน (Humanity to Others)
ซึ่งหัวหน้าทีมพัฒนาอูบุนตู คือ Mark Shuttleworth
และบริษัทคาโนนิคอล ที่เน้นให้อูบุนตูมีแต่ของฟรีสำหรับทุกคน

Ubuntu แยกเป็นหลายรุ่น ดังนี้
1. Kubuntu คือระบบสำหรับใช้งานบน Desktop สำหรับผู้ใช้
2. Xubuntu คือระบบสำหรับฮาร์ดแวร์เก่า ใช้ทรัพยากรน้อย
3. edubuntu คือ ระบบสำหรับนักเรียน นักศึกษา มีแอพเครืองคิดเลขคำนวณสูตรทางเคมี ฟิสิกส์
4. gobuntu คือ ระบบสำหรับกลุ่มเชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ จึงไม่มีไดรเวอร์ แอพพลิเคชั่น

http://www.thaiall.com/os/os11.htm

เริ่มปรับหัวบล็อกเป็น แม่ล้ม ผมก็ล้ม แต่ปลูกมะละกอไว้ทานเอง

ปลูกมะละกอไว้ทานเอง
ปลูกมะละกอไว้ทานเอง

2 ม.ค.60 มีกิจกรรมหลายอย่างที่ทำไป
เป็นวันสุดท้ายของหยุดยาว ต้นปี 2560
ผมก็นั่งทบทวน เตรียมหนังสือ 4 เล่ม
พร้อมปรับเว็บเพจ ระบบปฏิบัติการ
http://www.thaiall.com/os/os00.htm

หนังสือของ
– ผศ.พิเชษฐ์ ศิริรัตนไพศาลกุล
– รศ.ดร.กฤษดา ขันกสิกรรม
– ไพศาล โมลิสกุลมงคล และคณะ

 

operating system book
operating system book

แล้วก็ไปปรับบล็อก (blog) ที่
http://article-thaiall.blogspot.com/
ก็ตั้งใจจะเปลี่ยนแนวการเขียน
เป็นเรื่อง “แม่ล้ม ผมก็ล้ม”
“เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ที่ผันตัวเองเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ก่อนปี 2560 อย่างไม่ทันตั้งตัว”

ใช้จอบขุดดิน ถางหญ้า
ใช้จอบขุดดิน ถางหญ้า

ช่วงเช้า มีเวลา เพราะมีเด็กที่บ้านมาเฝ้าแม่
ผมจึงเข้าสวนไปปลูกมะละกอแขกดำ
ที่ได้จากงานฤดูหนาว ต้นละ 20 บาท 6 ต้น
พร้อมกับขนุน ทองประเสริฐ ต้น 70 บาท
เดิมทีตั้งใจปลูกฮอลแลนด์
แต่ไม่มีขาย มีแต่พันธ์แขกดำ
และกำลังเพาะฮอลแลนด์อยู่ แต่รุ่นแรกที่เพาะไว้ไม่สำเร็จ
พอซื้อต้นกล้าของเค้ามา เห็นปลูกด้วยแกลบ
ก็จะเอาอย่าง
เพราะเคยถามในกลุ่มเค้าบอกผมใช้ดินเค็มไป
ถ้าใช้แกลบก็จะเป็นที่นิยมในการเพาะมะละกอ

สถิติอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่

สถิติอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่
สถิติอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่

พบข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ไว้เตือนใจ เตือนตัว เป็นสถิติอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2551 – 2559 จำแนกเป็นสถิติอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บในช่วงเทศกาลปีใหม่

2551 : ธ.ค.50 – ม.ค.51
อุบัติเหตุ = 4,475
บาดเจ็บ = 4,903
เสียชีวิต = 401

2552 : ธ.ค.51 – ม.ค.52
อุบัติเหตุ = 3,824
บาดเจ็บ = 4,107
เสียชีวิต = 367

2553 : ธ.ค.52 – ม.ค.53
อุบัติเหตุ = 3,534
บาดเจ็บ = 3,827
เสียชีวิต = 347

2554 : ธ.ค.53 – ม.ค.54
อุบัติเหตุ = 3,497
บาดเจ็บ = 3,750
เสียชีวิต = 358

2555 : ธ.ค.54 – ม.ค.55
อุบัติเหตุ = 3,093
บาดเจ็บ = 3,375
เสียชีวิต = 336

2556 : ธ.ค.55 – ม.ค.56
อุบัติเหตุ = 3,176
บาดเจ็บ = 3,329
เสียชีวิต = 366

2557 : ธ.ค.56 – ม.ค.57
อุบัติเหตุ = 3,174
บาดเจ็บ = 3,345
เสียชีวิต = 367

2558 : ธ.ค.57 – ม.ค.58
อุบัติเหตุ = 2,997
บาดเจ็บ = 3,117
เสียชีวิต = 341

2559 : 29 ธ.ค.58 – 4 ม.ค.59
อุบัติเหตุ = 3,379
บาดเจ็บ = 3,505
เสียชีวิต = 380

http://www.accident.or.th/datacenter/index.php/2015-10-13-04-59-29/133-2551-2559
http://www.accident.or.th/datacenter/index.php/2015-10-13-04-59-29/116-2555-3

นักศึกษาเขียนเว็บแบบ responsive web design

อบรม webmaster
อบรม webmaster

เล่าสู่กันฟัง
ว่า 13-16ธ.ค.59 พบ น.ศ.ที่ Lab1 หลังอบรม น.ศ.ทำ Responsive web design ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญ ทางเทคนิค 2 เรื่อง คือ การเขียน html ร่วมกับ css ให้รองรับ multi device ก็รวบรวมผลงานที่เค้านำเสนอ จากผลการอบรม ฝากไว้ที่
http://thaiall.somee.com
มีนักศึกษาหลายคนติดตามงานที่คั่งค้าง เพราะอบรม และทำผลงานมีเวลากระชั้นชิด ทำให้ผลงานยังไม่เป็นที่พึงใจ จึงปรับปรุงใหม่ แล้วอัพโหลดมาให้ชมภายหลังการอบรม ผมก็อัพโหลดเข้าไปอัพเดทให้เรียบร้อยแล้ว การสื่อสาร เราคุยกันผ่าน facebook group เพราะข้อมูลการสนทนา และรูปภาพจะไม่หายไป และระบบรับงาน .zip ได้ดี สูงสุดถึง 100 MB ไฟล์ไม่ถูกกำหนดเวลาลบออกจากระบบเหมือน Line

หลังจากการอบรมแล้วเสร็จ ผมได้กลับไปพัฒนา Responsive Web Design ของตนเอง เริ่มจากการพัฒนาแบบ Prototype ขึ้นมาก่อน แล้วทำแบบ Water fall คือ ทีละหน้า ขยายไปเว็บเพจอื่น และทำแบบ Build and fix คือ ทำไปซ่อมไป ตอนนี้ขยายผลไป /os, /digitallogic และ /data มีรุ่นของ Prototype ใน /web2 เป็น 6.2 ส่วนของ Footer อัพเดทอีกครั้งเมื่อวันที่ 26ธ.ค.59 หลังพบปัญหาที่ทำให้ต้องเพิ่ม class ให้ footer ต่อจากนี้คงกลับมาปรับเนื้อหา (Content) ในเว็บต่าง ๆ ข้างต้น เพราะ design เสร็จแล้ว แต่ภาค content ที่มีอยู่ ยังไม่ได้นำเข้าไปจัดลง ในเหล่าเว็บที่เป็น static webpage ให้เรียบร้อย

ในวันสุดท้ายของการอบรม มีนักศึกษาได้รับการพิจารณารับรางวัลผลงานเว็บ จำนวน 2 คน ที่ได้คะแนนรวมสูงสุดจากกรรมการ คือ นายวรวัช ไชยธิ และนายสุรวิชญ์ สุริยะวงค์

ผลงานนักศึกษา

  1. อรรถพล จริงมาก
    http://thaiall.somee.com/atthapol
  2. บุณยดา สูงติวงค์
    http://thaiall.somee.com/boonyada
  3. จิรายุ คำแปงเชื้อ
    http://thaiall.somee.com/jirayu
  4. กิตติคุณ แก้วมา
    http://thaiall.somee.com/kittikhun
  5. กัณฐิกา ลำพระสอน
    http://thaiall.somee.com/kunthika
  6. ณัชญาพัทธ์ จันทร์ศรี
    http://thaiall.somee.com/natchayapat
  7. ณัฐวุฒิ ปินใจ
    http://thaiall.somee.com/nattawut
  8. พิทยา กานต์อาสิญจ์
    http://thaiall.somee.com/pittaya
  9. แพรทิวา ขันเงิน
    http://thaiall.somee.com/praetiwa
  10. สุรวิชญ์ สุริยะวงค์
    http://thaiall.somee.com/surawit
  11. วิไลวรรณ แซ่โซ้ง
    http://thaiall.somee.com/wilaiwan
  12. วรวัช ไชยธิ
    http://thaiall.somee.com/worawat/intro.htm