ทำไมต้องคิดต่างจากคลิ๊ป ผมคล้อยตามคลิ๊ปเรื่องปฏิรูประบบการศึกษาเลย

เห็นคลิ๊ปเรื่อง I just sued the school system.
ผมล่ะคล้อยตามเลย ว่าโรงเรียนสอนให้เด็ก ๆ เหมือนกันทั้งประเทศ
ระบบการศึกษาของโรงเรียนสอนให้เด็ก ๆ เหมือนกันหมดทั้งประเทศ

ปฏิรูประบบการศึกษา เห็นเหมือนกัน แต่เห็นไม่เหมือนกัน
ปฏิรูประบบการศึกษา เห็นเหมือนกัน แต่เห็นไม่เหมือนกัน

http://thainame.net/edu/?p=1114

เอ๊ะ มีข้อสงสัยนิดนึง
พอข้อมูลน่าสนใจเรื่อง “ดัชนีการศึกษา รายจังหวัดของไทย
ที่นำเสนอในบทความของ ดร.ไกรยส ภัทราวาท เมื่อ 6 มิถุนยน 2557
พบว่า เด็กทั้งประเทศแยกตามจังหวัดแล้วไม่เหมือนกัน มีทั้งเก่งและอ่อน
มีทั้งปีนต้นไม้เก่งเป็นลิง และว่ายน้ำเป็นอย่างเดียว
– เขียวเข้มมี 15 จังหวัด
– เขียวอ่อนมี 14 จังหวัด
– เหลืองมี 14 จังหวัด
– ส้มมี 16 จังหวัด
– แดงมี 17 จังหวัด
http://apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-06062557-043420-2Mw1R1.pdf

ดัชนีการศึกษา รายจังหวัดของไทย พบว่าไม่เหมือนกัน
ดัชนีการศึกษา รายจังหวัดของไทย พบว่าไม่เหมือนกัน

ระบบการศึกษาสมัยนี้เหมือนกัน แต่ก็เหมือนไม่หมดนะ .. ที่ต่างก็มี
เพราะเห็นเค้าปรับระบบโรงเรียนให้สอนต่างกันตามความสามารถ
ปรับการคัดเลือกจาก admission เป็น entrance
เดี๋ยวนี้
ปีนต้นไม้เก่ง ก็เป็นโรงเรียนสอนปีนต้นไม้
ว่ายน้ำเป็นอย่างเดียว ก็เป็นโรงเรียนสอนว่ายน้ำ

เดี๋ยวนี้ถึงมี
– โรงเรียนพระ สำหรับผู้ทรงศีล
– โรงเรียนดนตรี สำหรับผู้ชอบร้องรำทำเพลง
– โรงเรียนกีฬา สำหรับผู้มีหัวใจเป็นนักกีฬา
– โรงเรียนชาวเขา สำหรับชาวเขา
– โรงเรียนประจำจังหวัด สำหรับคนที่จะไปปีนต้นไม้
– โรงเรียนเล็ก สำหรับน้อง ๆ ที่จบไปจะค้าขาย
– โรงเรียนกวดวิชา สำหรับเด็กที่อยากบินไปในนภา
– โรงเรียนนานาชาติ สำหรับเด็กที่อยากพูดหลายภาษา

http://www.thaiall.com/student/
https://www.facebook.com/PrinceEa/videos/vb.71760664768/10154982214184769/

ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง นโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา

ต่อไปผู้ประกอบการก็จะทราบว่านักศึกษาที่มาสมัครงาน
มักจะต้องมีเอกสารที่มีผลสอบวัดระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษ
ระดับ B1 ก็จะถือว่าใช้ได้

เทียบระดับที่ใช้ได้
เทียบระดับที่ใช้ได้
เทียบระดับ
เทียบระดับ
CEFR image
https://languageresearch.cambridge.org/956-ep-new/cefr

 Introductory Guide to the CEFR (pdf)

ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เรื่อง นโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา

นโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา
นโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา

เอกสาร PDF แชร์ไว้ที่
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/posts/689529874531167/

นโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา
นโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา

ข้อที่ 5 “ให้สถาบันอุดมศึกษาพิจารณาจัดให้นิสิตนักศึกษาทุกคน ทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษตามแบบทดสอบมาตรฐานระดับอุดมศึกษา ที่สถาบันสร้างขึ้น หรือที่เห็นสมควรจะนำมาใช้วัดสมิทธิภาพทางภาษาอังกฤษ (English Proficiency) โดยสามารถเทียบเคียงผลกับ Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) หรือมาตรฐานอื่น เพื่อให้ทราบระดับความสามารถของนิสิตนักศึกษาแต่ละคน และสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณานำผลการทดสอบความรู้ทางภาษาอังกฤษบันทึกในใบรับรองผลการศึกษา หรือจัดทำเป็นประกาศนียบัตร โดยเริมตั้งแต่ปีการศึกษา 2559

เทียบ placement test กับ CEFR ใน speexx
เทียบ placement test กับ CEFR ใน speexx
certificate equivalency
certificate equivalency

เทียบระดับ SPEEXX กับ CEFR
https://www.speexx.com/portals/speexx-campus/en/cefr.htm

cefr level
cefr level

คำถามถึงผู้สูงอายุ เป็นห่วยโซ่ จากอดีตสู่อนาคต

คำถามถึงผู้สูงอายุ จากอดีตสู่อนาคต
คำถามถึงผู้สูงอายุ จากอดีตสู่อนาคต

เกือบปลายปี 2559 ได้พูดคุยกับทีมคณะกรรมการเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปาง (คค.สจ.ลำปาง) แล้วร่วมเป็นคณะอนุกรรมการวิชาการพัฒนายกร่างประเด็น การจัดการแบบบูรณาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งในครอบครัว สู่สุขภาวะเด็ก และเยาวชน แล้วเมื่อ 24 ก.ย.59 ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับ ดร.กาญจนา ภาสุรพันธ์ นักวิชาการอิสระ และ คุณกรพินธุ์ วงศ์เจริญ พมจ. ลำปาง (เจี๊ยบ) ก่อนหน้านั้น 28 พ.ย.58 ได้พูดคุยกับกลุ่มพฤฒพลังลำปาง ที่ขับเคลื่อนโดย อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และ ดร.สุจิรา หาผล

วันนี้ (25 ก.ย.59) ไปเดินที่ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ 13 ต.บ่อแฮ้ว อ.เมือง จ.ลำปาง ผู้ใหญ่เรียกให้ลูกบ้านที่มีของเก่า นำของเก่ามาขาย เห็นระบบและกลไก จึงนึกถึงกลุ่มผู้สูงอายุ หรือพฤฒพลังลำปาง เพราะอีก 1 รอบ ผมก็ต้องเป็นผู้สูงอายุ ที่อาจต้องเป็นภาระให้คนหนุ่มสาวมาดูแลก็เป็นได้ มีคำถามว่า “ถ้า ผู้สูงอายุ รวมตัวกันได้ จะทำอะไร เพื่อ ให้มีความสุข ตราบจนวาระสุดท้าย

ก่อนหน้านี้ อ.ปาล์ม สาขาสาธารณสุข ก็เล่าให้ฟังว่าจะลงพื้นที่ลำปางโมเดล
และเห็นการขับเคลื่อนการพัฒนาผู้สูงอายุ ของทุกตำบล เป็นโรงเรียนผู้สูงอายุ
มีกิจกรรมเดือนละ 1 หรือ 2 ครั้ง .. น่าสนใจมากครับ

ที่มาของคำถามนั้น
เนื่องจากนึกถึงนารวมที่คนนิคมพัฒนา ร่วมแรงร่วมใจกันลงแขก
ผมกับเพื่อนทีมวิจัย และนักศึกษาสาขาสาธารณสุขก็ยังเคยไปร่วมกันเกี่ยวข้าวมาแล้ว
https://www.facebook.com/506818005999002/photos/?tab=album&album_id=761676820513118

การรวมกลุ่มกันเป็นสังคมนี่ดีนะครับ
มีพลังมหาศาล เสกอะไรก็ได้ดั่งใจหลาย แต่คนเราจะยอมรวมกลุ่มกัน ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
เคยเห็นในภาพยนตร์เรื่อง The Mission แล้วก็ถึงกับอึ้งไปเหมือนกัน
การเปลี่ยนแปลงไม่เคยง่ายเลยสักครั้ง

หรือ การเปลี่ยนแปลงประเทศของเหมาเจ๋อตุงก็เหมือนกัน
จะยึดที่นาของคนรวยให้คนจนก็มีคนมากมายไม่เห็นด้วย
ตอนที่ 3/5

ได้เห็นคลิ๊ปนายกศิริพร ปัญญาเสน  ทำโรงเรียนชาวนาพิชัย จ.ลำปาง

นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ไปเปิดป้ายโรงเรียนชาวนา
เป็นกิจกรรมพัฒนาเยาวชน เตรียมสร้างทายาทเกษตรกรรุ่นใหม่


วิกฤตคนเกิดน้อย
เห็นกระทบที่เป็นข่าวก็โรงเรียนปิดหรือยุบรวมโรงเรียน แต่การกระทบนี้ใหญ่หลวงนัก
ดูจากพีระมิดจำนวนประชากร ที่จะกระทบขึ้นไปในห่วงโซ่ของสังคม
https://www.facebook.com/thaiall/photos/a.423083752271.195205.350024507271/10154554540217272/?type=3&theater

24 ก.ย.59 ประชุมครั้งที่ 3 ร่างประเด็นฯ
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10154399859253895.1073741908.814248894&type=3
28 พ.ย.58 พฤฒพลังลำปาง
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10153659525548895.1073741879.814248894&type=3

ประเทศจีนมีความเสมอภาค
ยุคของเหมาเจ๋อตุง เล่าโดยฝรั่งหลายคน
..จีนเป็นสังคมศักดินา ซึ่งคนรวยจำนวนน้อยอยู่อย่างสุขสบาย..
ตอนที่ 3/5 ประกาศโครงการปฏิรูปที่ดิน ยึดที่ดินจากเจ้าของที่ดินศักดินา
แล้วจัดแบ่งให้กับผู้ทำงานในที่ดินนั้น
เจ้าของที่ดินถูกประจานต่อหน้าสาธารณะชน แต่หลายเมืองก็ไม่พอใจ
ตอนที่ 1/5

ตอนที่ 2/5

ตอนที่ 3/5

ตอนที่ 4/5

ตอนที่ 5/5

เกรดเท่าไร เป็นเงินเท่าไร แต่ แม่ไม่คิดเงิน

เกรดเฉลี่ย 3.0 เท่ากับคันเนี้ย
เกรดเฉลี่ย 3.0 เท่ากับคันเนี้ย

เห็น อ.เกียรติ แชร์เรื่อง “เกรดเฉลี่ยเทอมแรก” น่าสนใจ
ทีแรกว่าจะไม่คลิ๊กอ่านล่ะ
แต่เห็นว่าได้ 2.5 แล้วคิดเท่ากับเงินหมื่น จากภาพเห็นถึง 3.0
ก็เอะใจ ขึ้นมาตะหงิด ๆ สงสัยใครรู้ขึ้นมา
ว่า ถ้าได้เกรดเฉลี่ยสูงไปถึง 3.25 หรือ 4.0 แล้ว
น้องเค้าจะคิดว่าเท่ากับอะไรที่สูงกว่า MSX 1 คันนะ
พอดีข้อมูลที่ให้มาหยุดที่ 3.0 (CGPA : Cumulative Grade Point Average)

อันที่จริงเรื่องนี้นึกถึงเรื่อง “แม่ไม่คิดเงิน
สรุปคือ เด็กชายคิดค่าตัดหญ้า ค่าทำความสะอาดบ้าน เท่านั้น เท่านี้
แต่แม่หยิบปากกามาเขียนด้านหลังว่า
เก้าเดือนอุ้มทองไม่คิด และไม่คิดอีกเยอะแยะ
สุดท้าย ลูกก็บอกว่าไม่คิดตังล่ะ
http://www.kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=5028
http://writer.dek-d.com/dek-d/writer/view.php?id=137222
http://www.2jfk.com/son_salary.htm

เกรดเฉลี่ยเทอมแรก
2.5 = 10,000
2.7 = 15,000
2.9 = ไอโฟน 7
3.0 = MSX 1 คัน
http://hilight.kapook.com/view/142303

เปลี่ยนชื่อกระทรวงไอซีที (itinlife570)

Ministry of Digital Economy and Society
Ministry of Digital Economy and Society

ในฐานะประชาชนของประเทศที่เห็นการเปลี่ยนแปลง รู้สึกเชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนแปลงย่อมนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ประเทศเรากำลังเปลี่ยนไปใช้คำว่าประเทศไทย 4.0 คือ การเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาไปสู่บริบทใหม่ที่เคยเป็นประเทศอุตสาหกรรมไปสู่การเป็นประเทศที่ใช้นวัตกรรม ซึ่งต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง เมื่อ 5 เมษายน 2559 มติคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบทั้งแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล แล้ว 15 กันยายน 2559 ในราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) ให้ตั้ง กระทรวงดิจิทัลเศรษฐกิจและสังคม แทน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หลังกระทรวงเดิมจัดตั้งขึ้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2545 เป็นเวลาเกือบ 14 ปี

ใน พ.ร.บ.ข้างต้นมีการยกเลิกกฎเดิมบางเรื่อง การโอนอำนาจหน้าที่ กิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน บุคลากร และที่เกี่ยวข้องจากกระทรวงเดิมไปไว้กับกระทรวงใหม่ และพบว่ามีชื่อส่วนราชการใหม่ใน มาตรา 21/2 คือ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ต่อมามีการเผยแพร่ภาพสัญลักษณ์ใหม่ของกระทรวงที่กรมศิลปากรออกแบบ โดยมีความหมายในแต่ละองค์ประกอบดังนี้ ใช้พระพุธอยู่ตรงกึ่งกลาง เป็นสัญลักษณ์แทนภูมิปัญญา มีความรอบรู้เป็นเลิศ พระหัตถ์ซ้ายถือคัมภีร์ แสดงถึงความรอบรู้ในวิทยาการต่าง ๆ พระหัตถ์ขวาเปล่งรัศมีเป็นวงแทนคลื่นดิจิทัล ซึ่งต่อมาก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงคาดหวังว่าจะได้เห็นสัญลักษณ์ที่มีความทันสมัยกว่านี้ แล้วได้ชื่อกระทรวงเป็นภาษาอังกฤษว่า Ministry of Digital Economy and Society

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีมาแล้ว 13 คน คนสุดท้ายของกระทรวงคือ ดร.อุตตม สาวนายน ลาออกเมื่อ 12 กันยายน 2559 ต่อมา พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีก็เข้ามารักษาการแทน ก่อนการเปลี่ยนชื่อกระทรวงพบว่ามีการดำเนินการพัฒนาด้านดิจิทัลตามแผนอย่างต่อเนื่อง อาทิ การพัฒนาบุคลากรในศูนย์ดิจิทัลเพื่อชุมชนที่ต่อยอดมาจากศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรในศูนย์ที่จะกลายเป็นผู้พร้อมขับเคลื่อนชุมชนต่อไป การขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 จะผลิกโฉมประเทศได้รวดเร็วเพียงใดตามวิสัยทัศน์ของผู้บริหารประเทศ เป็นเรื่องที่ต้องติดตามและร่วมกันขับเคลื่อนในบทบาทของคนไทยคนหนึ่งไปพร้อมกัน

http://www.thaiall.com/digitalcommunity/

https://www.facebook.com/digitalcommunitycenter/

http://www.posttoday.com/biz/gov/454713

https://www.ega.or.th/th/content/890/10417/

 

ปี 2560 จะเป็นปีสุดท้ายที่มีมหกรรมรับตรง

มหกรรมรับตรง
มหกรรมรับตรง

 

ทราบข่าวว่า ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองต้องการลดความเหลื่อมล้ำ
เห็นว่ามหกรรมรับตรงเป็นปัญหาระดับประเทศ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10154465889553895&set=a.10150933077238895.437258.814248894
จึงเปลี่ยนแนวปฏิบัติ ห้ามสถาบันการศึกษารับตรงแบบเดิม
ทำให้ปี 2560 จะมีมหกรรมรับตรงเป็นปีสุดท้าย
ดังนั้นปี 2561 เด็กไทยจะไม่พบปัญหาวิกฤตแบบนี้
เด็กทุกคนจะได้โอกาสเท่าเทียมกัน
คือ จบ ม.6 ก่อนแล้วจึงมีสอบใหญ่พร้อมกันครั้งเดียว
ไม่ใช่อยากเข้าที่ไหนก็ไปสอบตรง
ต่อไปเด็กไทยทุกคนได้สิทธิเท่ากัน
เป็นกฎการคัดเลือกแบบใหม่ที่เน้นเท่าเทียม
ไม่ใช่อยากสอบก็ได้สอบ มหาวิทยาลัยอยากรับก็ได้รับ
http://blog.eduzones.com/ezcampus/168157

[ผู้ที่กระทบ]
เด็กที่กระทบ คือ ที่คิดไปสอบหลายที่ แล้วติดเผื่อไว้เลือก
มหาวิทยาลัยที่กระทบ คือ เปิดรับตรงหลายรอบ
ปล. ผู้ใหญ่ ทปอ.เห็นชอบ ตามรัฐมนตรีศึกษาแล้ว
http://www.moe.go.th/websm/2016/aug/348.html

แนะนำภาพยนตร์ แอทลาสยักไหล่ (Atlas Shrugged)

แต่ละวันทานกี่มื้อดี .. น่าคิดนะ

ทานข้าววันละมื้อ มากไปรึเปล่า
ทานข้าววันละมื้อ มากไปรึเปล่า

บางคนก็บอกว่า เราอยู่เพื่อนกิน
บางคนก็บอกว่า เรากินเพื่ออยู่

มนุษย์เรามีหลากหลาย มีเหตุผลแตกต่างกันไป
บางคนทาน 3 มื้อ
บางคนทาน 2 มื้อ
บางคนทาน 1 มื้อ
บางคนบางวันก็ยังไม่ได้ทานอะไรเลย มีเยอะ

ตั้งแต่ต้นปี 2552 ราวนั้น เริ่มงดทานมื้อเที่ยง
เพราะสงสัยว่าร่างกายเราต้องการอาหารมื้อเที่ยงหรือไม่
ก็ค่อย ๆ ลดเรื่อยมาก
ก็ไม่พบปัญหาใดกับการงดมื้อเที่ยง
ไม่ทานข้าวกับเพื่อน กับเพื่อนร่วมงาน ผมก็สั่งกาแฟมาดื่มเป็นเพื่อน
นาน ๆ ก็จะทานด้วยเป็นพิธี เช่น ไปทานข้าวกับคุณแม่

ต่อมาก็สงสัยอีกว่ามื้อเย็นจำเป็นจริง ๆ หรือ
เห็นพระที่เคารพนับถือท่านก็ยังทานมื้อเดียว
ดังนั้นตั้งแต่ 29 มีนาคม 2559 ก็ไม่ทานมื้อเย็น
สรุปว่าทานมื้อเช้ามื้อเดียว
เพราะงดมื้อเที่ยงมาตั้งแต่ปี 2552 ก็ไม่น่ามีปัญหา
ที่บ้านก็ตามใจ

วันนี้ เสาร์ที่ 10 กันยายน 2559 มีประชุมที่ พมจ. ครึ่งวัน
แต่ผมตั้งใจไม่ทานข้าวเลย เพราะคิดว่า 7 วัน ทานสัก 6 วันน่าจะพอ
แต่ไม่งดน้ำนะครับ ต้องระลึกเสมอว่าต้องทานน้ำ
เช้ามาก็ทานกาแฟเลย 1 แก้ว บ่ายดื่มชาไป 1 ขวดทานเบรกที่เค้าแจกไปหน่อย
เพราะเป็นวันแรกที่ไม่ทานข้าว

แต่เวลาทานอาหารเช้า
ผมก็ยังคงหาความสำราญจากการรับประทานสิ่งมีชีวิตเหมือนเดิม
ไม่ต่างกับใคร ๆ หรืออะไรหรอกครับ .. ยังเหมือนเดิม
http://www.thaiall.com/blog/burin/7306/

i belive i can fly

คลิ๊ปนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับเพลง i belive i can fly
แปลเป็นไทยว่า ฉันเชื่อว่าฉันบินได้

ผมจะทำคลิ๊ปตัวอย่างให้นักศึกษาดูการตัดพื้นสีเขียว
ด้วย proshow producer
ก็ถ่ายคลิ๊ปตนเองลุกนั่ง ลุกนั่ง กับฉากที่เตรียมไว้อย่างง่าย ๆ
แล้วก็นำมาสร้างเรื่อง ว่ากำลังบิน

 

ขั้นตอนตามภาพนิ่งด้านหลังคลิ๊ป

1. เข้า Layer Setting
insert layer
ก็เริ่มจากการนำภาพนิ่ง กับคลิ๊ปมาต่อกันเป็น 2 layer
เข้า slide ด้วย double click
แล้วก็เลือก add layer
แต่ละ layer สามารถลด หรือขยายได้ หรือหมุนได้
2. เข้า Layer Setting
มีหลายบริการ เช่น Trim + Sync Time + Speed + Zoom
คลิ๊ปอาจยาวไป ก็เลือก trim ตัดหัวท้าย
จากนั้นก็ต้องปรับเวลาให้ตรงกับขนาดของคลิ๊ป
เลือกปรับความเร็วให้เร็วขึ้น หรือช้าลงได้
3. เข้า adjustments
มีตัวเลือก Chroma key เข้าไปเลือกสีที่จะลบออก
และปรับตัวเลือกด้านล่าง ขยายพื้นที่การลบออกได้ตามต้องการ
แล้วยังเลือก crop ให้ได้คลิ๊ปขนาดเท่าที่ต้องการได้
4. เข้า Effect
ในแต่ละคลิ๊ปเลือกให้วัตถุเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปอีกจุดได้
5. กลับสู่หน้าหลัก
เปลี่ยนตัวเลือกในการเปลี่ยนสไลด์ด้วย transition
หรือจะปรับเวลาของแต่ละ slide ก็ทำได้เลย

 

 

Download เพลงพระคุณที่ 3 ในแบบคลิ๊ป และเพลง MP3

พิธีไหว้ครู
พิธีไหว้ครู

1 ก.ย.59 มีโอกาสเข้าร่วมงานพิธีไหว้ครู แล้วถ่ายคลิ๊ปนักศึกษา
ร้องเพลง “พระคุณที่ 3” จึงส่งเข้า youtube.com
แล้วใช้บริการ download ออกมาเป็นแฟ้ม .mp4 และ .mp3
แล้วแชร์ไว้ใน facebook หากใคร ๆ ต้องการเพลงนี้ไปใช้ตัดต่อคลิ๊ป
เสียงนี้ไม่มีใครเป็นลิขสิทธิ์ ปลอดภัยจาก youtube แบ่งปันเพื่อการศึกษา
ตัวหลักของคลิ๊ปอยู่ที่


แบบ MP4 https://www.facebook.com/groups/thaiebook/675152442635577/
แบบ MP3 https://www.facebook.com/groups/thaiebook/675151712635650/
ใช้บริการของ http://www.clipconverter.cc ในการแปลง
และ http://www.onlinevideoconverter.com/video-converter ในการแปลง

เพลง พระคุณที่สาม
นำร้องโดย ธันย์ชนก ไชยชนะ ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น วันที่ 1 กันยายน 2559

ครูบาอาจารย์ที่ท่านประทานความรู้มาให้
อบรมจิตใจให้รู้ผิดชอบชั่วดี
ก่อนจะนอนสวดมนต์อ้อนวอนทุกที
ขอกุศลบุญบารมีส่งเสริมครูนี้ให้ร่มเย็น

ครูมีบุญคุณจะต้องเทิดทูนเอาไว้เหนือเกล้า
ท่านสั่งสอนเราอบรมให้เราไม่เว้น
ท่านอุทิศไม่คิดถึงความยากเย็น
สอนจนรู้จัดเจนเฝ้าเน้นเฝ้าแนะมิได้อำพราง

พระคุณที่สามงดงามแจ่มใส
แต่ว่าใครหนอใครเปรียบเปรยครูไว้ว่าเป็นเรือจ้าง
ถ้าหากจะคิดยิ่งคิดยิ่งเห็นว่าผิดทาง
มีใครไหนบ้างแนะนำแนวทางอย่างครู

บุญเคยทำมาตั้งแต่ปางใดๆ เรายกให้ท่าน
ตั้งใจกราบกรานเคารพคุณท่านกตัญญู
โรคและภัยอย่ามาแผ้วพานคุณครู
ขอกุศลผลบุญค้ำชูให้ครูมีสุขชั่วนิรันดร

พระคุณที่สามงดงามแจ่มใส
แต่ว่าใครหนอใครเปรียบเปรยครูไว้ว่าเป็นเรือจ้าง
ถ้าหากจะคิดยิ่งคิดยิ่งเห็นว่าผิดทาง
มีใครไหนบ้างแนะนำแนวทางอย่างครู

บุญเคยทำมาตั้งแต่ปางใดๆ เรายกให้ท่าน
ตั้งใจกราบกรานเคารพคุณท่านกตัญญู
โรคและภัยอย่ามาแผ้วพานคุณครู
ขอกุศลผลบุญค้ำชูให้ครูมีสุขชั่วนิรันดร
ให้ครูมีสุขชั่วนิรันดร

การเรียนรู้ในระบบเปิดสำหรับมหาชน (itinlife567)

thai mooc
thai mooc

มีโอกาสฟังบรรยายเรื่อง ไทยมุก หรือ โครงการพัฒนาระบบการเรียนการสอนออนไลน์ ระบบเปิดสำหรับมหาชน (Thai MOOC = Massive Open Online Course) ที่ รศ.ดร.ฐาปนีย์ ธรรมเมธา ผอ.มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย และสอนแบบ Live ไปยังผู้เรียนวิชาไอทีเพื่อการศึกษาผ่านระบบไทยมุกที่สอนโดย รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ซึ่งระบบนี้สามารถสอนนักเรียนได้จำนวนมากนับพันพร้อมกัน และการพัฒนาการศึกษาด้วยไทยมุกปรากฎในแผนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีนิยามว่า ไทยมุก คือ บริการการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ที่ผู้เรียนจำนวนมาก สามารถเรียนได้แบบทุกที่ ทุกเวลา (และส่วนใหญ่ไม่มีค่าใช้จ่าย) โดยมีทั้งสื่อวิดิโอ หนังสือ แบบฝึกหัด พื้นที่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถือเป็นการปฏิวัติการศึกษาของโลก โดยต่อยอดจากระบบอีเลินนิ่งที่มักเป็นการเรียนแบบกลุ่มจำกัด ไปสู่การเรียนรู้ของมหาชนไม่จำกัด อายุ หรือขอบเขตทางกายภาพ หลักสูตรของ MOOC นี้ อาจเน้นการเรียนในระบบ หรือนอกระบบ หรือตามความสนใจของผู้เรียนได้ทั้งสิ้น

เมื่อค้นคำว่า mooc list ใน google จะพบหลักสูตรมากมายที่เปิดให้เข้าไปเรียนได้ฟรี หรือจะมีค่าใช้จ่ายก็ขึ้นกับนโยบายของแต่ละวิชาที่มาจากแหล่ง MOOC อาทิ edx, coursera, novoEd, Kadenze, Futurelearn จุดเด่นของ MOOC คือ ผู้เรียนเข้าไปเรียนผ่านคลิ๊ปวีดีโอมากกว่า 90% ทำให้แต่ละวิชาสามารถรองรับจำนวนนักเรียนได้มาก สอดรับกับกระแสการใช้โซเชียลมีเดียในไทยที่มียอดเข้า youtube.com เป็นอันดับหนึ่ง การเรียนแบบ MOOC ต่างกับ Blended Learning ที่เป็นการเรียนแบบผสมผสานระหว่างในชั้นเรียนกับเรียนด้วยตนเอง แต่แบบ MOOC นักเรียนเข้าเรียนด้วยตนเองได้นับหมื่นคนพร้อมกัน

มีแนวโน้มว่าประเทศไทยกำลังพัฒนาคลังข้อสอบ ควบคู่ไปกับธนาคารเครดิต ที่รองรับการเรียนผ่าน MOOC ตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หากนักเรียนนักศึกษาลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ การวิจัย เศรษฐศาสตร์ สังคม ภาษาไทย เทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมาย จริยธรรม บัญชี ธุรกิจ การปฐมพยาบาล การเกษตร ดนตรี แล้วเข้าระบบวัดและประเมินที่น่าเชื่อถือจากคลังข้อสอบ แล้วเก็บหน่วยกิตเพื่อการเทียบโอนไปเรียนต่อในแต่ละสถาบัน ก็จะทำให้เยาวชนไทยลดเวลาที่ต้องใช้ชีวิตในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย แต่มีเวลาเรียนรู้ชีวิตนอกห้องเรียนมากขึ้น แนวทางการพัฒนาจะเป็นอย่างไรต้องติดตามนโยบายทางการศึกษาของภาครัฐต่อไป

https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10154391011453895.1073741907.814248894&type=3