สกอ. ประเมินหลักสูตรนิเทศ คณะไอซีที ศิลปากร ที่กสท. ไม่ผ่าน

ict silpakorn press
ict silpakorn press

2 เม.ย.2556 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ลงเผยแพร่เอกสารการประกาศยุติการรับนักศึกษาเข้าเรียนต่อในหลักสูตรนิเทศศาสตร์ประจำปี 2556 โดยชี้แจงว่า สกอ.มีมติพิจารณาการประเมินให้ไม่ผ่านมาตรฐาน โดยมีรายละเอียดชี้แจงดังต่อไปนี้

แถลงการณ์จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มศก.
เรื่องการรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2556

28 มีนาคม 2556 มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับเอกสารแจ้งเรื่อง ผลการพิจารณากรณีทักท้วงผลการประเมิน ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามหนังสือเลขที่ ศธ. 0506(5) / ว 354 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2556 กรณีมหาวอทยาลัยศิลปากร ได้ทำหนังสือทักท้วงผลการตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ณ ศูนย์การศึกษา อาคาร กสท. บางรัก ของหลักสูตรนิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร “ไม่ผ่าน” ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการด้านมาตรฐานอุดมศึกษาในการประชุมครั้งที่ 2/2556 เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2556 ได้พิจารณาวินิจฉัยผลการทักท้วงของมหาวิทยาลัยศิลปากรแล้ว มีมติยืนยันผลการประเมิน “ไม่ผ่าน” นั้น

จากมติของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาดังกล่าว มีผลให้คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ต้องยุติการรับนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 2556 หากยังคงเปิดรับนักศึกษาใหม่อยู่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะไม่รับทราบหลักสูตรทั้งในและนอกที่ตั้ง นับตั้งแต่วันที่แจ้งให้ทราบและประกาศต่อสาธารณะ รวมทั้งแจ้งสำนักงาน ก.พ. ต่อไป

ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการประชุมวาระด่วนที่สุด เมื่อวันอังคารที่ 2 เมษายน 2556 ได้มีการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว และที่ประชุมมีมติให้คณะฯ ดำเนินการเกี่ยวกับการรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ประจำปี 2556 ดังต่อไปนี้

1. ในปีการศึกษา 2556 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร จะยุติการรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ในระบบกลาง (Admission) นอกสถานที่ตั้ง ณ ศูนย์การศึกษา อาคาร กสท. โทรคมนาคม บางรัก กรุงเทพ ตามมติ สกอ.

2. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะเปิดรับนักศึกษาใหม่ ประจำปี 2556 ในสถานที่ตั้งหลักที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี โดยวิธีรับตรง จำนวน 100 คน ใน 2 สายวิชา ได้แก่ สายวิชาการลูกค้าสัมพันธ์ จำนวน 40 คน และสายวิชาวารสารและหนังสือพิมพ์ จำนวน 60 คน

ทั้งนี้ การคัดเลือกนักศึกษาเข้าเรียนในสายวิชาดังกล่าว คณะฯ จะใช้รูปแบบและเกณฑ์ในหการรับเข้าศึกษา เช่นเดียวกับการคัดเลือกนักศึกษา ในระบบกลาง (Admission) หากนักเรียนสนใจที่จะสมัครเข้าเรียนในสายวิชาดังกล่าวของคณะฯ ขอให้ติดตามข้อมูลต่างๆ จาก เว็บไซต์ www.ict.su.ac.th ต่อไป

ด้าน อาจารย์ศาสวัต บุญศรี  อาจารย์ประจำ
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นและสรุปมติดังกล่าวของสกอ.ว่า

1. หลักสูตรนิเทศ คณะไอซีที โดนประเมินจาก สกอ. ว่าไม่ผ่านเกณฑ์การตั้งนอกที่ตั้ง (สกอ. ทำเพื่อป้องกันผู้บริโภค มาเรียนแล้วโดนหลอก) สกอ. ได้ทำการปิดเพียบ พูดง่าย ๆ คือให้กลับเรียนเพชรบุรี (หรือวิทยาเขตอื่น ๆ)

2. สกอ.สั่งห้ามรับนักศึกษาในปีการศึกษาใหม่ หากยังรับให้ปีหนึ่งเรียนที่บางรัก จะทำการปิดหลักสูตร (ย้ำว่า หลักสูตร ไม่ใช่คณะ) และจะส่งเรื่องให้ กพ. ให้รับรองวุฒิ

3. ปี 2-4 นิเทศยังเรียนเหมือนเดิม ส่วนธุรกิจและออกแบบ ถือว่าการที่ปีสี่มาเรียนที่บางรักไม่มีปัญหา เพราะเรียนในวิทยาเขตที่ตั้งมาแล้วเกิน 50% ของหน่วยกิต

4. ทางอธิการฯและคณะได้หารือด่วน มีหลายทางเลือกมาก สุดท้ายอธิการเสนอให้ปีหนึ่งนิเทศ ปี 56 กลับไปเรียนเพชรบุรี (กลับยังที่ตั้ง) เมื่อได้สำรวจอาคารสถานที่ พบว่าหอในรับเพิ่มได้อีกราว 150 คน โดยเปิดเฉพาะสาขาลูกค้าสัมพันธ์และวารสารฯ เพราะการสร้างสตูดิโอสำหรับเอกที่เหลือยังไม่พร้อม การเรียนการสอนยังเหมือนธุกิจและออกแบบคือ ปีสี่กลับมาเรียนบางรัก

5. ทางสภามหาวิทยาลัยมีนโยบายตั้งแต่เลือกอธิการฯ ว่าใครคนใดได้เป็นต้องทำ city campus แห่งใหม่ให้ลุล่วง โดยท่านอธิการจะเปิดทำ TOR แล้วมีแผนคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณ 4 ปี เมื่อนั้น นิเทศไอซีที ก็สามารถกลับมาเต็มตัวได้ในแคมปัสแห่งใหม่

6. เหตุผลที่ไม่ผ่าน ขอบอกคร่าว ๆ คือ สกอ. ไม่นับตลิ่งชันเป็นอีกหนึ่งวิทยาเขต นอกจากนั้นยังชี้ว่าอัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษามีน้อยเกินไป บวกกับไม่มีตำแหน่งทางวิชาการและจบปริญญาเอก (ในส่วนวุฒิการศึกษาและตำแหน่งวิชาการเป็นเรื่องจริง แต่ประเด็นอาจารย์พิเศษนั้น ท่านคณบดีท่านเก่าได้วางระบบไว้เพื่อเน้นอาจารย์พิเศษ สายนิเทศจำเป็นต้องเรียนกับมืออาชีพโดยมีอาจารย์ประจำสนับสนุนทางวิชาการ ส่งผลให้เด็กได้รับความรู้จากทั้งสองด้าน) รวมไปถึงมาตรฐานการเรียนที่ยังไม่ถึงเกณฑ์ ยิ่งเทียบกับหลักสูตรแบบเดียวกันของมหาลัยอื่น (แต่บัณฑิตจบแล้วมีงานทำประมาณ 90% และได้เสียงตอบรับจากนายจ้างในระดับดี อันนี้ไม่รู้ว่าเชื่อเกณฑ์ที่วัดหรือความพึงพอใจจากนายจ้างที่ทำงานในสายวิชาชีพจริงดี)
ที่มา : 1009news.in.th

http://www.isranews.org/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/item/20386-ict-silpakorn-1.html
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1364925371&grpid=01&catid=&subcatid=
http://men.postjung.com/668575.html
http://www.thairath.co.th/content/edu/336594
http://www.1009news.in.th/2013/04/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A/1270

เกณฑ์การแปลความหมาย

translating and meaning

โดยปกติมาตรวัดเราจะใช้ของลิเคิร์ท (Likert Scale) ซึ่งใช้เกณฑ 5 ระดับ
แทน 5 ความหมายคือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด
ส่วนเกณฑ์การแปลความหมาย เพื่อจัดระดับคะแนนเฉลี่ยในช่วงคะแนนต่าง ๆ
มีสมการคำนวณอันตรภาคชั้นของค่าเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 0.8 (บางเอกสารใช้ 0.5)
โดยใช้สมการ

ความกว้างของอันตรภาคชั้น = ( คะแนนสูงสุด – คะแนนต่ำสุด ) / จำนวนชั้น

อ้างถึงในชัชวาลย์ เรืองประพันธ์ 2539 หน้า 15

ทำให้ได้เกณฑ์การแปลความหมายดังนี้
1.00 – 1.80 มีผลน้อยที่สุด
1.81 – 2.60 มีผลน้อย
2.61 – 3.40 มีผลปานกลาง
3.41 – 4.20 มีผลมาก
4.21 – 5.00 มีผลมากที่สุด

บางเอกสารกำหนด interval เป็น 0.50
4.50-5.00 Very satisfied
3.50-4.49 Satisfied
2.50-3.49 Neutral
1.50-2.49 Dissatisfied
1.00-1.49 Very dissatisfied

http://grad.vru.ac.th/meeting_board/2555_03-meeting/CID/Chon/26Wanchai3.pdf

ความกว้างของอันตรภาคชั้น = คะแนนสูงสุด – ต่ำสุด หารด้วย จำนวนชั้น
Class Interval (ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์, 2543,หน้า 30)
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2543). สถิติพื้นฐานพร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Minitab SPSS และ SAS. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2539). สถิติพื้นฐาน . ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
! http://digi.library.tu.ac.th/thesis/sw/2680/13REFERENCES.pdf
! http://pru3.pnru.ac.th/offi/graduate/upload-files/pictures/63/H_711_7586.pdf
http://www.thebookbun.com/product/14476/
http://prezi.com/p9x1rkhj_cej/presentation/

ลิเคิร์ทสเกล (Likert Scale) 5 ระดับ โดย เร็นสิส เอ. ลิเคิร์ท (Rensis A. Likert)
Likert, Rensis A. (1961). New Patterns of Management.
New York: McGraw-Hill Book Company Inc.
http://www.sciepub.com/reference/219103

สมการกำหนดจำนวนของกลุ่มตัวอย่าง
Yamane, Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis.(2 ed.). New York: Harper and Row.
http://www.sciepub.com/reference/180098

นับจุดขาวกับจุดดำใน mapping

curriculum mapping in excel
curriculum mapping in excel

20 มี.ค.56 ได้รับมอบหมายให้นับจำนวนจุดขาวกับจุดดำ หรือวงโปร่งกับวงทึบ ใน microsoft word จำนวน 748 วง ซึ่งเป็นข้อมูลในแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) ที่ทุกหลักสูตรในประเทศต้องจัดทำ และต้องนับจำนวนจุดขาว กับจุดดำ นั่งทำใจอยู่พักหนึ่งก็เห็นว่าเป็นตาราง และมีรูปแบบตายตัว หากใช้ countif(range,criteria) ใน excel ก็น่าจะช่วยนับได้ง่าย ไม่อย่างนั้นต้องไล่บรรทัดกว่า 46 วิชา และแล้วก็ตัดสินใจคัดลอกข้อมูลตารางใน word ไปวางใน excel เมื่อนับด้วยฟังก์ชันเสร็จแล้วก็ถึงคิวต้องสร้างวงให้ได้จำนวนเท่าเลขที่นับได้ ก็นึกขึ้นได้อีกว่าในการเขียนโปรแกรมด้วย clipper มีฟังก์ชั่นสั่งเขียนซ้ำตัวอักษรได้ แล้วก็พบว่า excel มี rept(text,number_times) ช่วยสั่งเขียนซ้ำได้ จึงทำให้งานที่น่าจะใช้เวลานับชั่วโมง นับเสร็จในเวลาอันรวดเร็ว (อันที่จริงผมสุ่มนับ 2 – 3 column จากทั้งหมด 29 column เพื่อให้แน่ใจว่าคอมพิวเตอร์นับถูก)

แฟ้มตัวอย่างการใช้ 2 ฟังก์ชัน
http://www.thaiall.com/tqf/cpsc/mapping.xlsx

หลุมทราย (Sandbox) คืออะไร

หลุมทราย (Sandbox) หรือ Sandbox  Effect เป็นกลไกการกรองเว็บไซต์ที่ Google.com พัฒนาขึ้น  เพื่อลบเว็บไซต์ออกจากผลการจัดอันดับเว็บไซต์ที่ไม่สมควรติดอันดับ ซึ่งผลการจัดอันดับมาจากการค้นหาด้วยคำสำคัญต่าง ๆ

เหตุที่ติดในหลุมทราย เพราะเป็นเว็บไซต์หรือโฮมเพจที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น เว็บไซต์ล่มประจำ เว็บไซต์เกิดใหม่ เว็บไซต์เปลี่ยนเอ็นจิ้น เปลี่ยนลิงค์ ย้ายโฮส หรืออื่น ๆ สำหรับคุณภาพ หรือค่าระดับของเว็บไซต์ที่ google.com ประเมินไว้ แสดงออกมาเป็นค่า pagerank หรือ pr ซึ่งตรวจสอบได้ที่ http://www.prchecker.info/

หากหลุดจากหลุมทราย ก็จะถูกค้นพบในผลการสืบค้น คลิ๊กคำว่า แคช (cache) ก็จะพบเวลาว่า robot เข้าเว็บไซต์ของเราเมื่อใด แล้วแต่ละหน้าก็เข้าไม่พร้อมกันนะครับ เพราะ robot มีการตั้งเวลาว่าจะเข้าเว็บไซต์ใดบ่อยเพียงใด และบ่อยไม่เท่ากัน อาทิ เว็บไซต์ข่าวก็จะเข้ากันชั่วโมงต่อชั่วโมงเลยทีเดียว แต่ถ้าเป็นเว็บขายสินค้าที่ปรับข้อมูลเดือนละครั้ง ก็อาจเข้าเดือนละครั้งเช่นกัน
http://www.makewebeasy.com/article/sandboxeffect.html

ภาพนี้เป็นช่วงหนึ่งที่ตามโฮสตัวหนึ่งติดอยู่ในหลุมทราย
หลังจากนี้ก็จะไต่ pr ตามปกติ
16 มีนาคม 2556

sandbox effect in google.com
sandbox effect in google.com

ปัญญาในช็อกโกแลตร้อน (The wisdom in hot chocolate)

hot chocolate
hot chocolate

ปัญญาในฮอตช็อก ที่ผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง
best for yourselves,
that is the source of your problems and stress

The wisdom in hot chocolate.

A group of graduates, well established in their careers,
were talking at a reunion and decided to go visit
their old university professor, now retired.
the conversation turned to complaints
about stress in their work and lives.

Offering his guests hot chocolate,
the professor went into the kitchen and returned
with large pot of hot chocolate and an assortment of cups
porcelain, glass, crystal, some plain looking,
some expensive, some exquisite – telling them
to help themselves to the hot chocolate
When they all had a cup of hot chocolate
in hand, the professor said:
Notice that all the nice looking, expensive cups
were taken, leaving behind the plain and cheap ones.
While it is normal for you
to want only the best for yourselves,
that is the source of your problems and stress.
The cup that you’re drinking from adds
nothing to the quality of the hot chocolate.
In most cases it is just more expensive and
in some cases even hides what we drink.
What all of you really wanted was hot chocolate,
not the cup: but you consciously went for the best cups.
And then you began eyeing each other’s cups.
Now consider this:
Life is the hot chocolate;
your job, money and position in society are the cups.

They are just tools to hold and contain life.
The cup you have does not define,
nor change the quality of life you have.
Sometimes, by concentrating only on the cup,
we fail to enjoy the hot chocolate God has provided us.
God makes the hot chocolate,
man chooses the cups.

The happiest people don’t have the best of everything.
They just make the best of everything that they have.
Live simply.
Love generously.
Care deeply.
Speak kindly.
And enjoy your hot chocolate!

ภารกิจของผู้บริหารด้านการศึกษา

education
education

ได้ follow ข้อมูลข่าวสารของ รมว.กระทรวงศึกษาธิการ
และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ที่
http://www.moe.go.th/moe/th/home/main.php

ซึ่งติดตามตั้งแต่มหาวิทยาลัยอีสานถูกเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปลายปี 2555 พบว่าการเป็นรัฐมนตรีไม่ใช่เรื่องง่ายเลย มีภารกิจรัดตัว คงหาเวลาส่วนตัว หรือทำอะไรสบาย ๆ ได้ยาก อย่างวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2555 ก็เห็นมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมายปรากฎในเว็บไซต์  ต้องพบผู้คนที่หลากหลาย

ทดสอบเชื่อมต่อ telnet เข้า win7

telnet from android to win7
telnet from android to win7

เล่าสู่กันฟัง
วันนี้ฤกษ์ดี นำ tabletpc จากที่บ้าน samsung galaxy tab 10.1 ซึ่ง root เครื่องแล้ว และติดตั้ง busybox โดยตั้งใจจะใช้คำสั่ง telnet เข้าไปยัง 172.50.0.7 ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งในที่ทำงาน ที่เป็น win7 แล้วเปิดบริการ telnet server ผ่าน control panel, programs and features เมื่อใช้ netstat -na ก็พบว่าเปิด port 23 รอให้บริการอยู่ หากไม่เปิดก็ต้องใช้ services.msc เข้าไป start

telnet client on samsung galaxy tab 10.1
telnet client on samsung galaxy tab 10.1

จากกนั้นก็ใช้ terminal emulator บน android โดยใช้คำสั่ง telnet 172.50.0.7 แล้ว connect เข้าไปผ่านสิทธิ์ของ user & password ที่เจ้าของเครื่องอนุญาต  ซึ่งคำสั่ง telnet มาจาก busybox ถูกใช้เพื่อร้องขอการติดต่อกับเครื่องปลายทาง ก็พบว่าใช้คำสั่งต่าง ๆ ใน DOS ได้ อาทิ nslookup หรือ net view เมื่อทดสอบเสร็จก็ไปสั่ง stop service ต่าง ๆ  บนเครื่อง win7 เพราะไม่คิดจะใช้ หากจะใช้ก็จะเปิดเป็นกรณีไป

คลิ๊ปแนะนำการ root android บน samsung galaxy tab 10.1
http://www.thedroiddemos.com/2011/08/28/how-to-root-the-samsung-galaxy-tab-10-1-video-walkthrough/

พรบ.คอมฯ 2550 เป็นเรื่องคน มากกว่าเรื่องคอม

privacy ใน instagram
privacy ใน instagram

หาข่าว หรือกรณีตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับ พรบ.คอม 2550
ซึ่งเป็นกรณีศึกษาไว้แบ่งปัน
เพราะจริง ๆ แล้ว มาตรา 5 – 17 เป็นเรื่องของคน มากกว่าเรื่องของคอม
ส่วนมาตรา 18 – 30 เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ ล้วน ๆ เลย

การโพสต์ด้วยอารมณ์ หรือความรู้สึก
การโพสต์ด้วยอารมณ์ หรือความรู้สึก

ตัวอย่างนี้
ไม่เข้าข่ายความผิดตามพรบ. แม้แต่มาตราเดียวครับ
เอาไว้ชวนคุยได้ว่า ผิดคุณธรรม ผิดจริยธรรม แต่ไม่ผิดกฎหมาย

แบบฝึกหัดชวนให้คิด
ในข่าวควรมีเหตุการณ์อย่างไร จึงจะผิดตามพรบ. มาตราใดมาตราหนึ่ง

http://www.thaiall.com/article/law.htm

รูปแบบบทความ NCCIT

nccit diagram
nccit diagram

ชื่อบทความ (Anasana New ขนาด 20 จุด)
Title (Time New Roman, size 14 points)
ชื่อผู้แต่งไทย1 (English1)1  และชื่อผู้แต่งไทย2 (English Name2)2
1ชื่อภาควิชาหรือหน่วยงาน ชื่อคณะ ชื่อมหาวิทยาลัย
2ชื่อภาควิชาหรือหน่วยงาน ชื่อคณะ ชื่อมหาวิทยาลัย
name1@anywhare.com, name2@anywhere.com

บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นตัวอย่างสำหรับการเตรียมการเขียนบทความที่จะส่งให้คณะกรรมการพิจารณาลงพิมพ์ในเอกสารประกอบการประชุม NCCIT บทความนี้จะกล่าวถึงรูปแบบการเขียนบทความ ขนาดตัวอักษรที่ใช้ แบบตัวอักษรที่ใช้ในส่วนต่างๆ
คำสำคัญ: คำค้น1  คำค้น2  คำค้น3  คำค้น4  คำค้น5

Abstract
This paper presents a guideline for preparing a paper to submit to the NCCIT committee for considering publishing in the NCCIT proceeding. The paper describes the format, the sizes, and font types used in each section.
Keyword: word 1, word 2, word 3, word 4, word 5.

1. บทนำ
บทความที่จะส่งต้องใช้กระดาษขนาด A4 (21 ซ.ม. x 29.7 ซ.ม.) จำนวน 6 แผ่น (ห้ามเกินเด็ดขาด) โดยรวมทั้งเนื้อหาและภาพประกอบต่าง ๆ แล้ว   บทความนี้จะกล่าวถึงคู่มือการเขียนบทความทั้งในส่วนของขนาดตัวอักษร การเว้นระยะ และข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการเขียนบทความสำหรับลงพิมพ์ใน NCCIT Proceeding

2. รูปแบบบทความ
2.1 ขอบเขตกระดาษ
เนื้อหาในบทความต้องอยู่ภายในขอบเขต กว้าง 6-7/8 นิ้ว (17.5 ซ.ม.) และสูง 8-7/8 นิ้ว (22.54 ซ.ม.)  อย่าให้เนื้อหาใดอยู่นอกขอบเขตนี้  เนื้อหาต้องจัดให้อยู่ในสองคอลัมน์ แต่ละคอลัมน์มีความกว้าง 3-1/4 นิ้ว (8.25 ซ.ม.) และมีระยะห่างระหว่างคอลัมน์ทั้งสอง 5/16 นิ้ว (0.8 ซ.ม.) เนื้อหาต้องจัดแบบหน้าและหลังตรง (Justify)
2.2 บทคัดย่อ
บทความที่เขียนเป็นภาษาไทย ต้องมีบทคัดย่อเป็นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  สำหรับบทความภาษาไทยใช้คำว่า “บทคัดย่อ” เป็นหัวข้อเริ่มต้น ใช้ตัวอักษรแบบ AngsanaNew ขนาด 16 จุด ตัวหนาและจัดกลาง  เนื้อหาในบทคัดย่อให้ใช้ตัวอักษรแบบ AngsanaNew ขนาด 14 จุด ให้จัดแบบหน้าหลังตรงและตัวอักษรเอียง สำหรับบทความภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า “Abstract” เป็นหัวข้อเริ่มต้น ใช้ตัวอักษรแบบ Times New Roman ขนาด 12 จุด ตัวหนาจัดกลางหน้า   เนื้อหาในบทคัดย่อให้ใช้ตัวอักษรแบบ Times New Roman ขนาด 10 จุด ให้จัดแบบหน้าหลังตรงและตัวอักษรเอียง ระยะระหว่างบรรทัด 1.5 จุด  หลังจบบทคัดย่อ ให้เว้นระยะระหว่างบทคัดย่อกับเนื้อหาหลัก 1 บรรทัด บทคัดย่อควรยาวไม่เกิน 3 นิ้ว
บทคัดย่อ ให้เขียนสรุปย่อเกี่ยวกับงานวิจัยที่ทำ โดยกล่าวถึงปัญหาในงานเก่าหรือความต้องการ และกล่าวถึงสิ่งที่ได้นำเสนอเพื่อแก้ไข วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินการ และผลของการดำเนินการวิจัย อย่ากล่าวถึงสิ่งอื่นที่ไม่ได้นำเสนอในบทความ
2.3 เนื้อหาหลัก
ชื่อเรื่องอยู่หน้าแรก ห่างจากขอบบน 1-3/8 นิ้ว (3.49 ซ.ม.) จัดกลางหน้า ตัวหนา ชื่อเรื่องภาษาไทยให้ใช้รูปแบบตัวอักษร AngsanaNew ขนาด 20 จุด  ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษให้ใช้รูปแบบตัวอักษร Times New Roman ขนาด 14 จุด โดยคำนาม คำสรรพนาม คำคุณสรรพ คำกิริยา และคำขยายกิริยา ในภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่นำตัวเดียว ตัวอักษรที่สองเป็นต้นไปใช้ตัวพิมพ์เล็ก  สำหรับคำเชื่อมต่าง ๆ ให้ใช้ตัวอักษรพิมพ์เล็ก และให้เว้นบรรทัดหลังชื่อบทความสองบรรทัด
2.4 ชื่อผู้แต่ง และสถานที่ติดต่อ
สำหรับภาษาไทย ชื่อผู้แต่งและสถานที่ติดต่อ ใช้ตัวอักษร AngsanaNew ขนาด 14 จุด จัดกลางหน้า และตัวเอียง ดังที่แสดงตัวอย่างข้างบน  ถ้าเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้ Time New Roman ขนาด 10 จุด ไม่ต้องใส่คำนำหน้าชื่อผู้แต่ง เช่น ยศ หรือตำแหน่ง โดยชื่อภาษาอังกฤษสามารถย่อชื่อต้นได้ เช่น Phayung Meesad อาจใช้ย่อเป็น P. Meesad
2.5 หน้าที่สองเป็นต้นไป
สำหรับหน้าที่สองเป็นต้นไป เนื้อหาให้เริ่มห่างจากขอบบน 1 นิ้ว (2.54 ซ.ม.)  และห่างจากขอบล่าง 1-5/8 นิ้ว (4.13 ซ.ม.) ของกระดาษ A4
2.6 รูปแบบ และชนิดตัวอักษร
ตัวอักษรภาษาไทยใช้ AngsanaNew ขนาด 14 จุด ส่วนภาษาอังกฤษตัวเลข สมการคณิตศาสตร์ ใช้ Times New Roman  ขนาด 10 จุด อย่าใช้ ตัวอักษรชนิด bit map
2.7 รูปแบบอักษรในเนื้อหาหลัก
การพิมพ์เนื้อหาภาษาไทยใช้ตัวอักษร AngsanaNew ขนาด 14 จุด และภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษร Times New Roman ขนาด 10 จุด  ถ้าบรรทัดใดเป็นภาษาไทยล้วน หรือภาษาอังกฤษผสมไทย กำหนดระยะระหว่างบรรทัดเป็น single space ถ้าเป็นภาษาอังกฤษอักษรแบบ Times New Roman ให้ใช้ระยะระหว่างบรรทัดเป็น 1.5
ทุกย่อหน้าให้บรรทัดแรกขึ้นต้นที่ประมาณ 1 pica (ประมาณ 1/6-inch หรือ 0.17 นิ้ว หรือ 0.422 ซ.ม.) ใช้จัดย่อหน้าแบบหน้าตรงและหลังตรงทุกย่อหน้า  ไม่ต้องเว้นบรรทัดระหว่างย่อหน้าในหัวข้อย่อยเดียวกัน
สำหรับภาพและตาราง คำว่า “ภาพที่” และ “ตารางที่” AngsanaNew ขนาด 14 จุด ตัวหนา ส่วนรายละเอียดภาพและตารางให้ใช้ตัวอักษร AngsanaNew ขนาด 12 จุด ตัวธรรมดา ตัวอย่าง เช่น
ภาพที่ 1: นี่คือตัวอย่างภาพ
ตารางที่ 1: นี่คือตัวอย่างตาราง
2.8 หัวข้อลำดับที่ 1
ตัวอย่าง เช่น 1. บทนำ ภาษาอังกฤษและตัวเลขใช้ Times New Roman ขนาด 12 จุด ตัวหนา   ภาษาไทยใช้ AngsanaNew ขนาด 16 จุด ตัวหนา จัดชิดด้านซ้าย เริ่มต้นที่ด้านซ้านสุด ไม่ต้องมีย่อหน้า  เว้นบรรทัดหนึ่งบรรทัดก่อนหัวข้อลำดับที่หนึ่ง 1 บรรทัด และหลังหัวข้อลำดับที่หนึ่ง 1 บรรทัด ใช้จุด (“.”) หลังตัวเลขหัวข้อ (ตัวอย่างจากการเขียนเอกสารนี้)
2.9 หัวข้อลำดับที่ 2
ภาษาอังกฤษและตัวเลขใช้ Times New Roman ขนาด 11 จุด ตัวหนาและจัดแบบชิดซ้าย ส่วนชื่อหัวข้อภาษาไทยใช้ตัวอักษร AngsanaNew ขนาด 14 จุด ตัวหนา เว้นหนึ่งบรรทัดก่อนขึ้นหัวข้อลำดับที่ 2  ไม่ต้องเว้นบรรทัดหลังหัวข้อลำดับที่ 2 ให้ขึ้นเนื้อหาได้เลย (ให้ดูตัวอย่างจากการเขียนเอกสารนี้ประกอบ)

3.  การเขียนเนื้อหาหลัก
เนื้อหาหลักควรประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้ 1. บทนำ   2. วิจารณ์วรรณ หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  3. วิธีการใหม่ที่นำเสนอ/ขั้นตอนวิธีการดำเนินการวิจัย  4. ผลการดำเนินการวิจัย  และ  5. สรุป
3.1 บทนำ
บทนำหรือความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา โดยกล่าวถึงงานวิจัยในปัจจุบันมีสถานะเป็นอย่างไร งานวิจัยหรือสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีปัญหาอะไร ให้ระบุปัญหาให้ชัดเจน มีวิธีการอะไรที่ใช้แก้ไขได้บ้างในปัจจุบัน สิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันยังต้องการสิ่งใดที่จะทำให้ดีขึ้น ผู้เขียนจะนำเสนอสิ่งใดเพื่อแก้ไขหรือตอบสนองความต้องการนั้นๆ ระบุวัตถุประสงค์ของงานวิจัยให้ชัดเจน งานที่ทำนี้เป็นสิ่งใหม่ที่การดำเนินการมาก่อน เป็นงานที่ประยุกต์มาจากงานอื่น เป็นงานประดิษฐ์ เป็นการเปรียบเทียบระหว่างสิ่งเก่ากับสิ่งเก่า เป็นการเปรียบเทียบสิ่งเก่ากับสิ่งที่พัฒนาขึ้นใหม่ เป็นการหาผลสัมฤทธิ์ของวิธีการหรือสิ่งที่พัฒนาขึ้นในงานนี้ เป็นต้น
3.2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
เป็นการกล่าวถึงทฤษฎีและงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้ ทฤษฎีที่ใช้ในเป็นพื้นฐานสำหรับทำวิจัยนี้ โดยให้นำเสนอเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องจริง ๆ หรือที่ใช้จริง ทฤษฎีที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงไม่ต้องนำเสนอ ส่วนงานวิจัยของผู้อื่นให้วิจารณ์จุดดีจุดด้อยของงานที่เกี่ยวข้อง และระบุปัญหาของงานเก่าเหล่านั้นว่ายังต้องการพัฒนาหรือทำอะไรต่อ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจในความแตกต่างระหว่างงานเก่าและงานวิจัยใหม่ที่นำเสนอในครั้งนี้ โดยใช้การอ้างอิงจากเอกสารงานวิจัยต่าง ๆซึ่งควรมีความใหม่ ควรมีจำนวนเอกสารอ้างอิงประมาณ 10-20 เรื่อง
3.3 วิธีการดำเนินการวิจัย
เป็นการนำเสนอนวัตกรรมที่นำเสนอ เทคนิคใหม่ที่นำเสนอ หรือ การประยุกต์ใช้ทฤษฎีเก่า  รวมทั้งการนำเสนอวิธีการดำเนินงานวิจัย โดยแสดงขั้นตอนในการออกแบบ การพัฒนา การทดลอง การทดสอบ การหาประสิทธิภาพ และการหาผลสัมฤทธิ์ของงาน   ถ้าเป็นนวัตกรรมใหม่ ต้องแสดงถึงขั้นตอนการออกแบบ การสร้าง การทดสอบ ถ้ามีการใช้ทฤษฎีของผู้อื่นต้องอ้างอิงไปที่ต้นฉบับด้วย ถ้าเป็นสิ่งที่ต้องการพิสูจน์ต้องมีขบวนการพิสูจน์ทางคณิตศาตร์ หรือการจำลองสถานการณ์ด้วย ในการนำเสนอเทคนิคใหม่ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบกับสิ่งเก่าด้วย  ถ้าเป็นงานประเภทประยุกต์ ต้องระบุถึงวิธีและเทคนิคที่ใช้มีอะไรบ้างและอ้างอิงจากที่ใด ระบุขั้นตอนการประยุกต์ การออกแบบระบบ การทดสอบ และอื่นๆ
3.4 ผลการดำเนินงาน
เป็นการอธิบายผลการการดำเนินงาน เช่น หน้าจอระบบที่ได้ ผลการทดสอบในกรณีต่างๆ ผลการหาผลสัมฤทธิ์ ผลการเปรียบเทียบ เป็นต้น
3.5 สรุป
กล่าวถึงสิ่งที่ทำทั้งหมด เริ่มจากมีปัญหาอะไร นำเสนอสิ่งใดในการแก้ปัญหา มีวิธีการทำอย่างไร ได้ผลลัพธ์อย่างไร และควรมีการอภิปรายถึงเหตุผลจากผลการวิจัย ตลอดจนการวิเคราะห์ว่างานวิจัยนี้มีปัญหาอะไรอีกบ้างที่ต้องการแก้ และจะทำวิจัยอะไรต่อในอนาคต

4. เลขหน้า
ไม่ต้องใส่เลขหน้าในบทความ

5. ภาพประกอบต่างๆ
ภาพทุกภาพให้ใช้ภาพสีขาวดำหรือสีเทาที่คมชัด ไม่ใช้ภาพสี ขนาดกว้างไม่เกินหนึ่งคอลัมน์

6. การส่งบทความ
ส่งบทความที่ได้รับการจัดรูปแบบ เขียนตามคำแนะนำ และพิสูจน์อักษรแล้ว (ไม่เกิน 6 หน้า) โดย ปิดชื่อเจ้าของบทความและสถาบัน ไม่ลงเลขหน้า สามารถส่งเอกสารเพื่อพิจารณาลงพิมพ์ เป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ pdf ไฟล์ (ควรทดลองพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เพื่อตรวจดูคุณภาพให้เรียบร้อย) ก่อนส่งไปที่ https://www.easychair.org/login.cgi?conf=nccit2012

7. การอ้างแหล่งที่มาของเอกสารอ้างอิง
การอ้างอิงในเนื้อหา ให้อ้างเป็นตัวเลขในวงเล็บสี่เหลี่ยมเช่นกัน เช่น [1], [2], [3]  โดยจะถูกแสดงไว้ที่ เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ ซึ่งใช้เป็นตัวเลขในวงเล็บสี่เหลี่ยม ตามลำดับการอ้างในเนื้อหา ในรายการเอกสารอ้างอิง เอกสารภาษาอังกฤษใช้ Times New Roman ขนาด 9 จุด ระยะระหว่างบรรทัดเป็น 1.5 และภาษาไทยใช้ AngsanaNew ขนาด 12 จุด ระยะระหว่างบรรทัดเป็น single spacing
ชื่องานวิจัยที่อยู่ใน Journal, Transactions, Magazine, หรือใน proceedings ของงานประชุมวิชาการ ให้เขียนอยู่ในเครื่องหมายคำพูด “ “  ส่วนชื่อ Journal, Transactions, Magazines, หรือ Proceedings ให้ใช้ตัวอักษรแบบเอียง
สำหรับเอกสารอ้างอิงประเภทหนังสือ ชื่อหนังสือ ให้ใช้ตัวอักษรแบบเอียง ตามด้วยสำนักพิมพ์ เมืองที่พิมพ์ และปีที่พิมพ์

เอกสารอ้างอิง
[1]    P. P. Lin, and K. Jules, “An intelligent system for monitoring the microgravity environment quality on-board the International Space Station,” IEEE Trans. on Instrumentation and Measurement, vol. 51, no. 5, pp. 1002-1009, 2002.
[2]     P. K. Simpson, “Fuzzy min-max neural networks-part 1: classification,” IEEE Trans. Neural Networks, vol. 3, no. 5, pp. 776-786, 1992.
[3]    S. Wu and T. W. S. Chow, “Induction machine fault detection using SOM-based RBF neural networks” IEEE Trans. on Industrial Electronics, vol. 51, no. 1, pp. 183-194, 2004.
[4]    P. Meesad, “A One Pass Algorithm for Generating Fuzzy Rules from Data” The 8th National Computer Science and Engineering Conference (NCSEC 2004), Hat Yai , Songkhla, Thailand, Oct 21-22, 2004.
[5]     P. Meesad and G. Yen, “Fuzzy Temporal Representation and Reasoning,” Proceedings of the IEEE International Symposium on Circuits and Systems (ISCAS03), Bangkok, Thailand, May 25-May 28, 2003, Vol. 5, pp.789-792.
[6]    P. Meesad and G. Yen, “Combined Numerical and Linguistic Knowledge Representation for Medical Diagnosis,” IEEE transactions on Systems, Man, and Cybernetics-Part A: systems and humans, Vol.33, No. 2, pp. 206-222, 2003.
[7]     P. Meesad and G. Yen, “Accuracy, Comprehensibility, and Completeness Evaluation of a Fuzzy Expert System,” International Journal of Uncertainty, Fuzziness and Knowledge-Based Systems (IJUFKS), Vol. 11, No. 4, pp. 445-466, 2003.
[8]     พยุง มีสัจ และ สมิช บัตรเจริญ, “การเปรียบเทียบผลพยากรณ์ปริมาณเลขหมายของชุมสายโทรศัพท์ระหว่างการถดถอย พหุคูณกับโครงข่ายประสาทเทียม” วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 เม.ย.-มิ.ย. 2548 หน้า 54-64.
[9]    พยุง มีสัจ และ สมพิศ โยมา, “ระบบสารสนเทศสำหรับงานการจัดการเรียนการสอนของระบบงานทวิภาคี,” วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา ปีที่ 16 ฉบับที่ 51 กรกฎาคม-กันยายน พ.ศ. 2547 หน้า 69-75.
[10]    Elaine Rich and Kevin Knight, Artificial intelligence, McGraw-Hill: New York, 1991.

http://www.nccit.net/paper_submission.html
http://www.nccit.net/download/Format_for_Thai_NCCIT2013.doc
http://www.scribd.com/doc/129217081/
http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm

Google Apps for Education Conference#1 at KMUTT

Google Apps for Education Conference#1 at KMUTT
Google Apps for Education Conference#1 at KMUTT

ตารางงาน Google Apps for Education Conference#1 at KMUTT

9:00 น. – 9:30 น.
ลงทะเบียน
9:30 น. – 10:30 น.
แนะนำโครงการ Google Apps for Education Supporting Program
โดย คุณ Janet Yoon, หัวหน้าโครงการ GASP จาก Google Singapore and Philippine
และ จากผู้บริหารซีอาร์เอ็ม ชาริตี้
10.30 น. -11.30 น.
สัมมนาหัวข้อ “ทำไม มจธ. จึงตัดสินใจใช้เครื่องมือการเรียนการสอนของ Google Apps for Education
โดยผู้บริหารระดับสูง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
11:30 น. – 12:00 น.
ช่วงถามตอบคำถามโดย Google และ มจธ.
13:00 น. – 14:00 น.
สัมมนาหัวข้อ “การประยุกต์ใช้ Google Apps ในการเรียนการสอน และการบริหาร
โดย รองศาสตราจารย์ ดร. พสุ เดชะรินทร์ คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
14.00 น. – 15.00 น.
สัมมนาหัวข้อ “หนึ่งปีกับ Google Apps for Education ของม.ขอนแก่น
โดย ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี, รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.ขอนแก่น

มีหลายลิงค์น่าสนใจนะครับ

http://www.google.com/enterprise/apps/education/

http://gapps.kku.ac.th/

http://www.google.com/a/nation.ac.th

google apps of nation.ac.th และ std.nation.ac.th
google apps of nation.ac.th และ std.nation.ac.th

Space have 25 GB  for nation.ac.th account
เริ่มใช้บริการ มกราคม 2012

ตัวอย่าง Feature ของ google apps for education ใน ม.ขอนแก่น

tools for student
tools for student

Introduction to Google Apps Vault (Add-on = purchased)

Google Apps Vault is an add-on for Google Apps that lets you retain, archive, search, and export your organization’s email for your eDiscovery and compliance needs. Vault is entirely web-based, so there’s no need to install or maintain any software.

With Google Apps Vault, you can:

—-
มข. จับมือ Google ร่วมพัฒนาส่งเสริมศักยภาพด้านไอที ให้นักศึกษาและบุคลากร
เติมเต็มความต้องการผู้ใช้งานอีเมล์ พร้อมกระตุ้นการติดต่อสื่อสารผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างมีคุณค่า


สืบเนื่องจากปัญหาระบบ e-mail โดเมน kku.ac.th ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่นของมหาวิทยาลัย และไม่สามารถรองรับความต้องการของผู้ใช้ได้เต็มที่ ทางคณะผู้บริหาร และรองศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้ร่วมหารือกับทีมงานจาก Google ในการพัฒนาระบบ Google Apps for Education ซึ่งทาง Google ให้ความช่วยเหลือโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ทางมหาวิทยาลัยไม่สามารถติดต่อกับศิษย์เก่าผ่านช่องทางอีเมล์ kku.ac.th ได้ เพราะไม่ถูกใช้อย่างต่อเนื่อง มข.จึงต้องการพัฒนาระบบเพื่อตอบสนองความต้องการให้กับนักศึกษาใหม่ ศิษย์ปัจจุบัน และบุคลากร จากเหตุผลที่กล่าวมาจึงเป็นจุดประสงค์ของการพัฒนาและทำให้ มี Google Apps for Education ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น

Google Apps for Education นอกจากจะเป็นอีเมล์ที่ใช้งานได้ทั่วไปแล้ว จากเดิม Gmail จะให้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล 7 GB แต่เมื่อนักศึกษาและบุคลากร มข. เข้าใช้อีเมล์ที่เป็นของ มข.ภายใต้การพัฒนาร่วมกันกับ Google จะได้พื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มถึง 25 GB ฟรีและไม่มีโฆษณา พร้อมทั้งหน้าจอของเว็บเมล์จะมีลักษณะเฉพาะที่แสดงถึงความเป็น มข. อีกทั้งยังสามารถใช้ได้ตลอดชีวิตถึงแม้จะจบการศึกษาไปแล้วก็ตาม โดยนักศึกษาจะชื่ออีเมล์เป็น user@kkumail.com ส่วนบุคลากรจะใช้ชื่ออีเมล์เดิม คือ user@kku.ac.th

นอกจากนี้จุดเด่นของ Google Apps for Education ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องมือที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในด้านการศึกษา เครื่องมือทำงานร่วมกัน All Corporation Tool แล้ว ในการพัฒนาในครั้งนี้ เครื่องมือต่างๆในระบบของ Google ยังจะมีการเชื่อมโยงกันกับระบบสารสนเทศของ มข. เช่น การสร้างปฏิทิน การแจ้งเตือน หรือแม้แต่ตารางเรียน เมื่อนักศึกษาลงทะเบียนเรียนกับทางมหาวิทยาลัย ตารางเรียนก็จะเข้าไปอยู่ในอีเมล์ของนักศึกษาทันที พร้อมทั้งสามารถทราบปฏิทินการศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ เป็นต้น

ด้าน Mr.Samuel Cheung ตัว แทนจาก Google ที่ดูแลในส่วนของภูมิภาคเอเชีย กล่าวถึง Google Apps for Education ว่า แอพพลิเคชั่นนี้เป็นแอพฯ ที่เกี่ยวกับการศึกษา ที่ได้จัดทำขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนนักศึกษาสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น และยังสามารถเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยเราเริ่มโปรโมทการใช้ในมหาวิทยาลัยเป็นอันดับแรก และในอนาคตจะเข้าให้ถึงนักเรียนทุกระดับชั้น ตั้งแต่อนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6

“Google App for Education คือ แอพฯที่มีการใช้งานอยู่ทั่วโลก ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานแอพฯนี้มากกว่า 17 ล้านคนทั่วโลกในหลากหลายประเทศ ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมหาวิทยาลัยที่โดดเด่นในประเทศไทย เราจึงอยากสนับสนุนงานที่น่าสนใจของทางมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกัน และพร้อมจะช่วยเหลือสนับสนุนโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในทุกภาคของเมืองไทย ไม่ใช่แค่ในกรุงเทพมหานครเท่านั้น และที่เราเลือกมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพราะเราคิดว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็น ตัวอย่างที่ดีเยี่ยมที่เราสามารถทำงานร่วมกันได้”

หลังนี้ Google จะเข้ามาเพิ่มศักยภาพระบบ อีเมล์ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้สะดวกมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยขอนแก่น จะสามารถใช้แอพฯ ต่างๆ ของ Google ได้ โดยไม่ต้อง เข้าสู่ระบบไปในหลายเว็บ หรือไม่ต้องสมัคร Gmail แถมยังไม่มีโฆษณา ซึ่งระบบนี้นักศึกษาทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันสามารถทดลองใช้งานได้จริง แล้วที่ https://sites.google.com/site/kkuggappsedu และในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม จะมีการใช้งานอย่างเป็นทางการพร้อมการแนะแนวการใช้งานจากทีมงาน Google สำหรับนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2555