ศูนย์ไลก์ Zero like กับ ล้านไลก์ Million likes

โดยปกติ เรามักสนใจผู้คนรอบตัวเรา เพราะเราเป็นสัตว์สังคม และมักใช้เครือข่ายสังคม เพื่อสื่อสารพูดคุยกับเพื่อน หรือคนรู้จัก มีอยู่วันหนึ่งเข้าไป ส่อง ดูเฟซบุ๊กของคนที่ไม่ใช่เพื่อน เพราะสถานะบนเฟซบุ๊กบอกว่าเรายังไม่ใช่เพื่อนกัน พบว่า มีหลายโพสต์ของเพื่อนคนที่ไม่ใช่เพื่อน มียอด like เป็น 0 และมีจำนวนโพสต์แบบ zero like นี้มากกว่าโพสต์ของผมอย่างชัดเจน เพื่อนคนนี้เป็นคนแรก ที่พบสถิติ zero like สูงขนาดนี้ รู้สึกว่าตัวเลขเราจะใกล้เคียงกัน คือ เข้าใกล้ 0 แต่ของผมจะยอด like สูงกว่าหน่อย

แต่สำหรับผมแล้ว การมีโพสต์ที่มี zero like ถือว่าเป็นปกติ โดยเฉพาะในแฟนเพจ รวมเพื่อนไทยออล หรือ สวนนายบู เพราะผมไม่ตั้งใจโพสต์เพื่อให้ได้ like จากกลุ่มเป้าหมาย เช่นเดียวกับเพื่อนที่ผมเข้าไปพบโพสต์เหล่านั้น ซึ่งพฤติกรรมที่เห็นได้ชัดของคนที่มี zero like คือ
1) ไม่พยายามสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเฟส
2) เรื่องที่แชร์ไม่อยู่ในความสนใจของเพื่อนเฟส
3) มีวัตถุประสงค์ที่ไม่ใช่ของตนเอง

อยากถามว่า ท่านเคยพบคนที่มีพฤติกรรม 3 ลักษณะนี้หรือไม่

https://www.thaiall.com/socialmedia/

ในสื่อสังคม ยอดติดตาม ยอดเข้าถึงโพสต์ ยอดการมีส่วนร่วมกับโพสต์ ยอดไลก์ ยอดแชร์ ยอดแสดงความคิดเห็น สะท้อนถึงจำนวนสมาชิกที่เกี่ยวข้องในมุมมองที่หลากหลาย จากภาพในโพสต์ของ Wiriyah Eduzones เมื่อ 12 ก.พ.2566 พบว่า เกิดการมีส่วนร่วมกับโพสต์ในระดับหลักล้าน เท่ากับมีข้อมูลเข้าจำนวนมาก เมื่อท่านได้ สรุปเอาความคิดและข้อมูล นั่นหมายถึง เสียงของประชาชนกลุ่มนี้ ว่าสรุปไปในทิศทางใด ที่จะเสนอต่อไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ทางด้านการศึกษา

ผมชอบติดตามเรื่องราวในเพจของ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ชอบอ่านความคิดเห็นของคุณครู แล้วเก็บเรื่องราวไปเล่าให้นิสิต คุณครู เพื่อนได้รับทราบ เพราะเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ บางเรื่องสื่อส่วนกลางก็นำไปแชร์ต่ออย่างกว้างขวาง เช่น “จรรยาบรรณวิชาชีพครู กับคำถามครูสวมชุดว่ายน้ำ” เมื่อหันไปมองเทียบกับโพสต์ศูนย์ไลก์ ที่อยู่บนเพจของผม หรือในโปรไฟร์ของผม ก็ทำให้คิดถึง Input, Process, Output, Outcome หรือ Feedback ที่มีต่อเป้าหมายของแต่ละโพสต์ รวมถึง SEO, Promotion และ Ranking ว่าจะถูกพัฒนาต่อยอดไปอย่างไร

Wiriyah Eduzones

ทานข้าวกับเพื่อนที่อุดรนัว

ทานข้าวตอน กับ #เพื่อน2565
ถือเป็นเรื่องปกติของเพื่อนที่ทำงาน
ที่มักออกไปหาของอร่อยยามเที่ยงวัน
แต่ปี 2565 เป็นปีที่ไม่เหมือนเดิม
ในกลุ่มนี้นับได้ 8 คน เมื่อรวมช่างภาพ
นี่เป็นภาพแห่งความทรงจำอีกภาพหนึ่ง
เป็นภาพสุดท้ายที่ถ่ายได้ในวันนี้
เรานัดกันมา
พบกันที่ร้านอุดรนัว แม่ค้ายังคนเดิม
ย้ายจากติดถนน มาอยู่เกือบสุดซอย
ทำเลมีความพร้อมหลายด้าน
คนเข้าร้านต่อเนื่อง
ดูแล้ว น่าจะเป็นลูกค้าประจำ
มีต้นลั่นทมสองต้นอยู่ในร้านคอยให้ร่มเงา
มีหัวข้อพูดคุยระหว่างมื้อที่หลากหลาย
ก็จะเน้นเรื่องอาหารการกิน
ว่าคนไหนชอบแบบไหน
แซบมากน้อยต่างกัน
ใครกินอะไรได้ อะไรไม่ได้
จานไหนอร่อย จานไหนเผ็ด
ในกลุ่มของเรา
พูดถึงไข่ขาวที่ต้มเก็บไว้เป็นแผง
กินแล้วดีต่อสุขภาพแบบขั้นสุด
ฟังแล้วอยากวาร์ปไปต้มไข่กินตอนนั้นเลย
เพราะผมซื้อไข่ขาวสกัดให้ผู้ใหญ่บ่อย ๆ

เราคุยเรื่องงาน เรื่องสอน เรื่องเด็ก เรื่องไหว้ครู
โผล่มาเป็นหัวข้อสนทนาบ้าง
เหมือนประชุมคณะนอกสถานที่
ก็จะประมาณนั้น ผมก็นั่งฟังเพลิน ๆ
สรุปว่า ขากลับ แวะซื้อกล้วย มัน กรอย
แล้วต่อด้วยชากาแฟ ทำให้สดชื่นขึ้น
ถ้ามีโอกาสคงกลับมาทานข้าวกันอีกนะ

นัดกันทานเที่ยงที่ร้านอุดรนัว

ด้วยรักและผูกพันธ์

ทำงานกับเพื่อนมาก็หลายปี
อยู่สำนักวิชาการไม่กี่ปี
แต่เหมือนอยู่มาได้ 35 ปี
ส่วนคณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์
ก็เหมือนเรียนจบคณะนี้
ทำงานเป็นคุณครูคณะนี้
หัวหน้าก็มีมาหลายคนแล้ว
วันนี้ ดร.อัศนีย์ ณ น่าน ผอ.สำนักวิชาการ
เลี้ยงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
ขอบคุณสำหรับอาหารแซบ ๆ
ที่ #อุดรนัว 15 ธ.ค.2565

ที่ #อุดรนัว 15 ธ.ค.2565

เพื่อน2565 – ก่อนวันแม่หนึ่งวัน

เพื่อน2565 – ก่อนวันแม่หนึ่งวัน

ชีวิตคนเราก็ต้องมีเพื่อนบ้างหละครับ
เพื่อนทำงาน เพื่อนเรียน เพื่อนบ้าน
เพื่อนรุ่นพี่ เพื่อนรุ่นน้อง เพื่อนร่วมรุ่น
เพื่อนเก่า เพื่อนกัน ว่าที่เพื่อน
เพื่อนที่เราพึง ที่พึงเรา ที่พึ่งกันและกัน
มีพบ มีจาก มีสุข มีทุกข์ร่วมกัน
ตอนคุณแม่ของผมท่านจากไป
ก็จะเหงา ๆ เศร้า ๆ คิดอะไรไม่ออก
จำได้ว่า
มีเพื่อนของท่าน ที่เคยไปมาหาสู่กัน
มาร่วมส่งท่านจากทั่วสารทิศ
ท่านอยู่ในหลายสังคม
เป็นที่รักของเพื่อน ๆ
ยังนึกขอบคุณน้ำใจของทุกท่านอยู่เสมอ
ที่มาส่งคุณแม่ เมื่อต้นปี 2564
ชีวิตของคนเรา
แต่ละคนก็จะมีวิถีชีวิตที่ต่างกัน
ไม่มีใครมีเส้นทางชีวิตเหมือนกัน
อาจเดินมาบรรจบ เดินร่วมกัน เดินแยกกัน
สรุปว่า คิดถึงเพื่อน และผู้มีพระคุณทุกท่าน
ก็เพียงอยากบันทึกวันสำคัญอีกหนึ่งวัน
ก่อน #วันแม่ 1 วัน – #11สิงหาคม2565

วิ่งขึ้นดอยเนินสปิริต

ในช่วงนี้ เป็นช่วงจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม
รับขวัญ รับน้องใหม่ของทุกคณะวิชา ที่ #มหาวิทยาลัยเนชั่น
พบว่า อ.สิทธิโชค โควาบุญพิทักษ์ คณะนิเทศศาสตร์
ทำคลิปสรุปกิจกรรมทั้ง 5 วัน
ที่นำเสนอได้อย่างน่าตื่นตา
พบว่า มีเพื่อน ๆ นำคลิปไปแชร์ต่อหลายท่าน
มียอดไลค์ ยอดแชร์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

เป็นคลิปที่ยอดเยี่ยม ภาพชัด และใช้โดรน
มีคลิปของวันที่ 3 สิงหาคม 2565
ที่นิสิตจับมือกันวิ่งขึ้นดอย ได้ดูเพียงรอบเดียว
รู้สึกชอบ และเลือกใช้คลิปนี้เลย
จึงตัดสินใจนำคลิปนั้นมาเล่าต่อ ว่า มีความน่าสนใจเพียงใด
ประกอบกับการเตรียมบทเรียนการทำคลิป
ด้วยโปรแกรม Powerpoint
ซึ่งการบันทึกคลิปด้วยโปรแกรมนี้
เราสามารถแทรกคลิปตัวผู้บรรยายในระหว่างบรรยาย
ที่มุมล่างขวาของคลิปวิดีโอก็ได้
ซึ่งถือว่าเป็นอีกทางเลือกในการทำคลิปวิดีโอ
นอกเหนือจาก kinemaster, inshot, capcut, canva, viva
ที่อยากจะแนะนำนิสิตว่า
เราทำคลิปด้วยเครื่องมือนี้ก็ได้ เป็นโปรแกรมที่ใครก็รู้จัก
ขั้นตอนนั้น เริ่มจาก
ดาวน์โหลดคลิปที่มีการแชร์ในเฟสบุ๊ค
เลือกความละเอียดที่ไม่ต่ำเกินไป และได้แฟ้ม .mp4
ประกอบกับ เครื่องที่ทำงานมี RAM ที่มากพอจะรับมือได้
โปรแกรมเป็น Office 2019 และ Win 10
นำคลิปที่ได้ไป Insert บน Slide ใน Powerpoint
ซึ่งงานนี้มีเพียง slide เดียว และมีเพียงคลิปอยู่บนสไลด์
จากนั้นบันทึก Slide show ทันที
โดยไม่ได้เตรียมข้อมูลการเล่าเรื่องไว้ก่อน
และตั้งใจบันทึกแบบม้วนเดียวจบ
จึงไม่ได้ Pause ทีละ Scene เพื่อพูดถึงรายละเอียดในภาพ
ทำให้รู้สึกว่าช่วงบันทึก เร่งตนเองระหว่างเล่าเกินไป
ถ้ามีโอกาสทำคลิปแบบนี้อีก จะต้องหยุดในซีนที่น่าสนใจ
แล้วเล่าออกไปอย่างใจเย็น
เพื่อให้การนำเสนอรายละเอียดมีความครบถ้วนยิ่งขึ้น

ปฐมนิเทศน์ นิสิตใหม่

เปิดเรียน

วันนี้ (จันทร์ที่ 1 สิงหาคม 2565) นิสิตทั้ง 6 คณะเข้ากิจกรรมปฐมนิเทศ เป็นวันแรกของการเปิดปีการศึกษา ของ #มหาวิทยาลัยเนชั่น เห็นนิสิตพร้อมหน้าพร้อมตา หิ้วกระเป๋า สมุด ปากกา เดินเป็นระเบียบเรียบร้อย ออกจากหอไปเข้าห้องประชุมใหญ่ หลายคนเลือกเดินผ่านอ่างตระพังดาว หลายคนเดินตามถนนผ่านสวนป่า หลายคนแว้นมอเตอร์ไซค์มาหน้าอาคาร หลายคนชมชอบธรรมชาติอ้อมไปทางสนามกีฬา ปีนี้ ผู้บริหาร ผช. ผอ. คณบดี อาจารย์ เจ้าหน้าที่ รุ่นพี่ รุ่นน้อง ญาติพี่น้อง ก็ตื่นเต้นเห็นนิสิตใหม่พร้อมเพรียง เข้ากิจกรรม #เตรียมความพร้อม #รับน้องใหม่ ให้นิสิต พร้อมทางวิชาการ วิชาชีวิต มีสติ มีขวัญกำลังใจ พร้อมทั้งกายใจ อ.ใหญ่ (ธวัชชัย แสนชมภู) เตรียมต้นไม้ไว้หลายร้อยต้น ทำกิจกรรมปลูกต้นไม้ สร้างความเขียวขจี ให้แผ่นดินชุมชื้นมีชีวิตชีวาอีกครั้ง อ.แม็ค (วีระพันธ์ แก้วรัตน์) ก็เตรียมนิสิตรุ่นพี่ ทำกิจกรรม สร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างเพื่อนและพี่น้อง อีกหลายฝักหลายฝ่าย ก็เตรียมพร้อมในปีนี้กันอย่างสุดกำลัง

ปล. อยากบอกว่า ให้นิสิตใช้โทรศัพท์ เก็บภาพถ่ายที่ประทับใจไว้ เอาไว้คัดเลือกออกมา บอกเล่าเรื่องราว

ความทรงจำ ในแบบ #storytelling

เป็นกิจกรรมฝึกประสบการณ์ การเล่าเรื่องตาม #ลักษณะบุคคล 🙂

หนึ่งสมอง สองมือกับหนึ่งใจ ในแต่ละบุคคล

หนึ่งสมอง สองมือกับหนึ่งใจ อยู่ในบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป สอดคล้องกับ ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ที่ Learning Outcome ต้องสะท้อนมาเป็นผลลัพธ์ 4 องค์ประกอบได้แก่ 1) ด้านความรู้ 2) ด้านทักษะ 3) ด้านจริยธรรม 4) ด้านลักษณะบุคคล

มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565

มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ได้กำหนด ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา เมื่ออ่านแล้ว พบว่า สิ่งแรกที่ได้จากการศึกษา คือ การพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีปัญญาแก้ปัญหาได้

เมื่อมีความรู้ ความเข้าใจ ได้นำไปใช้ประโยชน์ และลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ก็จะได้ทักษะ ความชำนาญ นั่นคือเมื่อใดที่ลงมือปฏิบัติก็จะได้ผลลัพธ์เช่นเดิม เป็นมาตรฐานที่เชื่อถือได้ เช่น ทำอาหารก็จะได้รสชาติเดิม ฉีดยาก็จะเข้าถูกเส้นเลือด ถอนฟันก็จะนำออกถูกซี่ ผสมปูนก็จะได้สัดส่วนที่พอดี ก่ออิฐกำแพงบ้านก็จะเป็นเส้นตรง

เมื่อปฏิบัติการงานใดก็ต้องยึดมั่นในความสุจริต เคารพในสิทธิ มีศักดิ์ศรี รู้หน้าที่ของตนเอง ตั้งอยู่บนคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นสมาชิกที่มีคุณภาพของสังคม

การเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับตัวตนของผู้เรียน ที่เรียกว่า ลักษณะบุคคล ซึ่งบุคคลย่อมมีความเชื่อ ความสนใจ ฐานคิด และสมรรถนะที่แตกต่างกัน ส่งผลให้การใช้ความรู้ การประกอบอาชีพ การศึกษาเรียนรู้มีความยืดหยุ่นตามลักษณะบุคคล

สังคมปักหมุด

หลังภาพยนตร์หลายเรื่องเกี่ยวกับ Mutiverse ออกฉายอย่างต่อเนื่อง
เช่น Doctor Strange in the Multiverse of Madness (2022)
หรือ Everything Everywhere All at Once (2022)
ทำให้นึกถึงคำว่า #โลกหลายใบของใครหลายคน
ซึ่งปัจจุบัน ชาวสื่อสังคม ก็มีโลกหลายใบเช่นกัน
เรามองเห็น #platform หรือเวทีที่ชาวสื่อสังคมเลือกใช้ชีวิต
ซึ่งมีอยู่หลายสื่อสังคมที่แตกต่างกันไป
สังคมปักหมุด สังคมหนัง สังคมเพลง สังคมภาพถ่าย สังคมหนังสือ สังคมเล่าเรื่อง
พบว่า ผู้คนรอบตัวเรา เลือกใช้ชีวิตกันแตกต่างกันไป
ช่วงนี้เข้าสังคมปักหมุด ซึ่งมี pinterest.com เป็นผู้นำในสื่อกลุ่มนี้
ผู้อยู่ในสังคมนี้สามารถสร้างบอร์ด ซึ่งผมได้สร้างบอร์ดขึ้นมาชื่อ NTU page
แล้วทำการปักพิน (Pin) ไว้ในบอร์ดนี้ทั้งหมด 17 พิน (15 ก.ค.65)
เป็นพินในแบบที่เป็นโพสต์จากแฟนเพจทั้งหมด
ได้เห็นเรื่องราวที่แฟนเพจสื่อสารมา แล้วอยากเก็บไว้เป็นเซต
ซึ่งแฟนเพจถือเป็น front-end ของหลายมหาวิทยาลัย
ที่แบ่งปันในสังคมนั้น สำหรับสังคมปักหมุด
ผมเสนอสองลิงค์ข้างล่างนี้ ซึ่งเป็นโปรไฟล์ของผมในสังคมนี้
เมื่อเข้าไปแล้วจะพบหลายบอร์ด หากเลือกเข้าบอร์ด NTU page จะพบ 17 พิน

https://pin.it/1u4iFvk

https://www.pinterest.com/thaiall

ส่วนภาพหน้าจอที่ใช้ประกอบเรื่อง เป็นภาพตัวอย่างล่าสุดของบอร์ดโปรไฟล์
จะพบว่าเป็นพินภาพป้ายไวนิลของกิจกรรม
วันงานวันเทคนิคการแพทย์ไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่น่าสนใจ
ที่ส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีของคนไทย ของสังคมในมหาวิทยาลัยเนชั่น

thaiall home

ประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ครั้งที่ 20 : โปสเตอร์

ประชุมวิชาการระดับชาติ

พบ เรื่อง ปลูกถ่ายแนวคิดการวิจัย สู่การขับเคลื่อนนวัตกรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 20 วันเสาร์ที่ 25 และวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2565 ณ อาคารคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล พบว่า เพื่ออาจารย์หลายท่าน นำเสนอผลงานวิชาการในการประชุมครั้งนี้ ผมเข้าไปที่ ตรวจสอบสถานะ แล้วก็ค่อย ๆ เลื่อนดูชื่อ พบ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ อ.พัชรีภรณ์ หรพร้อม อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ ส่งผลงานเข้าไปในระบบแล้ว ไปดูหัวข้อกำหนดการ พบว่าหมดเขตส่งผลงาน 31 พฤษภาคม 2565 โดยครั้งนี้มี นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาเป็นปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน“

https://www.thaiall.com/pdf.js/wtu_20_poster.htm

โปสเตอร์ในการประชุมวิชาการ

ผลงานวิชาการที่น่าสนใจ 18 เรื่อง

ศรีเพชร สร้อยชื่อ, ศิรินธร อุทิศชลานนท์, และ พัชรีภรณ์ หรพร้อม. (2565). การบริหารแรงงานสัมพันธ์ในภาวะวิกฤตโควิด-19. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 240-250). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

สุริยา พุฒดวง, วิเชพ ใจบุญ, เกศริน อินเพลา, ศศิวิมล แรงสิงห์, บุรินทร์ รุจจนพันธุ์, และ เถลิงศักดิ์ สุทธเขต. (2565). การศึกษาการรับรู้ต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของนิสิต มหาวิทยาลัยเนชั่น. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 231-239). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

วีระพันธ์ แก้วรัตน์, ศิรินธร อุทิศชลานนท์, และ ภัชรชาติ ทูรวัฒน์. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการธุรกิจเซรามิก ในจังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 251-258). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

ธวัชชัย อ้ายผง, ศศิวิมล แรงสิงห์, เถลิงศักดิ์ สุทธเขต, และ ขวัญ สุภรสุข. (2565). การมีส่วนร่วมของชุมชนกับการบริหารจัดการป่าชุมชนแบบยั่งยืน: กรณีศึกษา ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 259-268). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

คนึงนิจ ติกะมาตย์ และ กวินทร์ ศุภวิทยโยธิน. (2565). การใช้สื่อออนไลน์เพื่อพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมกิจกรรมของผู้สูงอายุในวิถีชีวิตใหม่ ชุมชนบ้านบุญเกิด อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 222-230). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

พนิดา สินสุวรรณ และ ศรีสกุล ชัยเวียง. (2565). การศึกษาผ่านทางไกลจากพระราชดำริในรัชกาลที่ 9 สู่ยุคการสอนออนไลน์. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 331-339). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

พิสิษฐ์ ยอดวันดี. (2565). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 321-330). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

จุรีย์ สร้อยเพชร และ วราลักษณ์ ศรีกันทา. (2565). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 315-320). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

กาญจนา ภาสุรพันธ์. (2565). การขับเคลื่อนสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 269-278). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

พัทธนันท์ พุดหล้า, จิติมา กตัญญู, กุลสตรี กองวี, ชุติกาญจน์ ศรีษะ, ศิริลักษณ์ รัตนดวง, วัชรี ใจโพธิ์, และ นิตยา อินต๊ะสาน. (2565). การศึกษาความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าโทก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 180-190). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

ศรีเพ็ญ วิทิตานนท์, พัทธนันท์ พุดหล้า, กิตติพงษ์ เปาป่า, กรกาญจน์ สิทธิจู, และ ปรียาภรณ์ วัชรการุณย์ฺ. (2565). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หมู่บ้านโทกหัวช้าง ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 201-211). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

จิติมา กตัญญู, ปรางค์วลัย ก๋าแก่น, ญาณิศา ชุ่มธิ, สุนันทา สิงหการ, ภัทรนัย ไชยพรม, ไกรศร วงศ์ธิดา, และ ศิริวรรณ คำวงค์ษา. (2565). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าขัว ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 159-167). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

วิภาพร เตชะสรพัศ, กวินนา แซ่ท้าว, สุภัสสรา พิทักษ์อนันตกุล, ภูมริน ทองอ่อน, ภัทรนัย ไชยพรม, นรกมล ขันตรี, และ วชิราภรณ์ ตามวงค์. (2565). พฤติกรรมการใช้ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ในผู้ป่วยกลุ่มโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูกที่มารับบริการคลินิกแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นธงชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 191-200). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

จิราพร สุวรรณธีรางกูล, จิติมา กตัญญู, พัทธนันท์ พุดหล้า, ณัฐยาภรณ์ ตันน้อย, สุจินันท์ วงค์ทิพย์, ธรัญชนก พรมลังกา, และ ภัทรนัย ไชยพรม. (2565). การศึกษาสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ชุมชนบ้านวังทอง ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 168-179). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

วุฒิโชติ จันทร์แสนตอ, มณฑล เลิศคณาวนิชกูล, พวงทิพย์ ภู่พงษ์, กฤษณา พงศ์สุวรรณ, ณิชารีย์ พรมราช, ดารารัตน์ ห่อเพ็ชร. (2565). การสำรวจเชื้อ Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) และชิ้นส่วนยีน mecA บนพื้นผิวโต๊ะห้องเรียนฝึกปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 141-149). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

สุภาวดี มณีเกษร. (2565). ผลของการน็อคเอาท์ยีนยูบิควิตินคอนจูเกต (UBE2G1 และ UBC13) ต่อการเจริญเติบโตของเชื้อพลาสโมเดียมฟัลซิพารัม. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 150-158). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

จุฑารัตน์ หมอเต๊ะ, สุภาวดี มณีเกษร, ชญาภา พรหมเดชวัฒนา, วุฒิโชติ จันทร์แสนตอ, และ ยุพาลภัส สุภาเลิศภูรินทร์. (2565). การเข้าถึงแอนติเจน เทสต์ คิทเพื่อคัดกรองโควิด 19 กับวิถีชาวบ้านในปัจจุบัน ในอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 137-140). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

นภาพร วรรณศรี. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง พ่อเจ้าทิพย์ช้าง โดยใช้ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเนชั่น. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 116-123). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

ประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ครั้งที่ 20

ประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 เรื่อง ปลูกถ่ายแนวคิดการวิจัย สู่การขับเคลื่อนนวัตกรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน วันเสาร์ที่ 25 และวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ณ อาคารคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น อําเภอลําลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยมี ดร.ประภากร สมิติ นายกสภามหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ประธานในพิธีกล่าวต้อนรับ และ เปิดการประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 เรื่อง “ปลูกแนวคิดการวิจัย สู่การขับเคลื่อนนวัตกรรม นําเศรษฐกิจ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” และมี ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดย ดร.วิวัฒน์ ศัลยกําธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ได้ฟัง ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ผู้ที่ลูกศิษย์เรียกว่า “อาจารย์ยักษ์” มีประเด็นที่น่าสนใจมากมาย เช่น ทฤษฎีการเติบโต 5 ขั้นของรอสตาว (Rostow’s 5 Stages of Growth) : 1) จอดนิ่งติดเครื่อง 2) วิ่งบนรันเวย์ 3) ทะยาน 4) ติดลมบน 5) สะสมความมั่งคั่ง หรือ ปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียง หรือ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานภาพวาดการ์ตูนฝีพระหัตถ์ เกษตรทฤษฎีใหม่แบบประยุกต์ (โคก หนอง นา) แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อ 29 มกราคม 2564 พร้อมพระราชทานข้อความว่า “VOR. KOR.” “AJ. Yak’s Class” “Sustainable Agronomy” และทรงพระประมาภิไธย 29th Jan 64 แล้วได้ยกกรณีตัวอย่างการพัฒนาของ โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย – ศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ในสังกัด สพป.ชลบุรี เขต1 และ สพม.เขต18 เปิดคลิปวิดีโอ ที่เล่าถึงแนวคิดของโรงเรียนปูทะเลย์ แนะนำ ครูอาบอำไพ รัตนภาณุ (พี่แตง) ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง (โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย) และอาจารย์พิเศษ คณะศิลปศาสตร์ หลักสูตรผู้ประกอบการสังคม สถาบันอาศรมศิลป์

กำหนดการประชุมวิชาการ

ก่อนจบปาฐกถาพิเศษ มีผู้ร่วมประชุม คือ รองศาสตราจารย์ ดร.สืบพงศ์ สุขสม ได้มีคำถาม เรื่องการเชื่อมโยงทฤษฎีด้านการพัฒนาฯ ซึ่ง ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ได้ตอบว่า เป็นเรื่องที่ท่านทำวิจัยมา หากตอบแบบละเอียดก็จะใช้เวลาหลายวันได้เลย ส่วนที่จะเชิญมาบรรยายให้นิสิตของมหาวิทยาลัย ขอจัดแบบ Active learning เพราะแบบ Passive learning ที่บรรยายคนเดียว จะได้ประโยชน์น้อยกว่า จึงต้องการจัดแบบพูดคุยแลกเปลี่ยน จะได้ผลดีกว่า

https://www.thaiall.com/project/conference.htm

ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ มอบของที่ระลึก

สามช่วงวัย กับเพลง บ้านเกิดเมืองนอน

โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารีย์

พบมิวสิกวิดีโอ เพลง บ้านเกิดเมืองนอน ของนักเรียนโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารีย์ จังหวัดลำปาง นักร้องนำคือ นางสาวเจวรินทร์ มุงเมือง มีฉากเป็นเรื่องราวของเด็กนักเรียนตัวเล็กตัวน้อยนุ่งชุดประจำชนเผ่า พบการขับร้องตอนท้ายด้วยภาษาม้ง และภาษาปกาเกอะญอ สะท้อนชีวิตของนักเรียน ที่เดินทางจากบ้านเกิดเมืองนอน มาเรียนอยู่ในโรงเรียนกินนอนที่ลำปาง มีฉากโรงเรียน ฉากหมู่บ้าน และต้มไข่ที่น้ำพุร้อนแจ้ซ้อน ผมพบการแชร์คลิปโดยผู้ใหญ่ใจดี 2 ท่านเข้ากลุ่มสังคมคนรักอ่าน เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 ได้นั่งฟังเพลง และดูการถ่ายทอดเรื่องราวอย่างเพลินใจ

บ้านเกิดเมืองนอน
โรงเรียนลำปางกัลยาณี

เมื่อค้นต่อไป พบเพลง บ้านเกิดเมืองนอน ของโรงเรียนลำปางกัลยาณี ที่ระบุว่าเป็น กิจกรรมการประกวด “ขับร้องบทเพลงส่งเสริมความรัก ความสามัคคี เสริมสร้างจิตสำนึกที่ดีงาม และความภาคภูมิใจในความเป็นไทย” นักเรียนร่วมแรงร่วมใจร้องเพลงเต้นรำได้อย่างมีชีวิตชีวา ปล่อยพลังกันสุดฤทธิ์สุดเดช เห็นได้ถึงความสนุกสนานร่าเริง นักร้องนำมี 3 สาว คือ นางสาวอรอุมา แก้ววงศ์ นางสาวปานทิพย์ ทินกร ณ อยุธยา และเด็กหญิงพุทธรักษา ทองสุขา ร่วมกันร้องเต้นกับเพื่อนหลายสิบคน หลายชุด และหลายสถานที่ ดูกันเพลิน ๆ กับมิวสิกเพลงนี้

บ้านเกิดเมืองนอน


จากนั้นค้นในยูทูป พบเพลง บ้านเกิดเมืองนอน 2564 – EP.1 ROCK FULL VERSION เป็นคลิปที่มียอดวิวสูงสุด คือ 1,120,336 ครั้ง ขับร้องโดยมืออาชีพยกแก็ง เป็นฉากที่หนุ่มขี่มอเตอร์ไซค์สวมเสื้อหนังสีดำกลับบ้าน ชวนให้รู้สึกรักถิ่นฐานบ้านเกิดเมืองนอนขึ้นมาจับใจ นักร้องเป็นชายล้วน มาในธีมเสื้อยืดสีขาว ส่วนหนุ่มที่ขับมอเตอร์ไซค์ มุ่งหน้าลงใต้ติดชายทะเล กลับไปทางข้าวทานแกงกับคุณพ่อคุณแม่อยู่ริมทุ่งนาอย่างมีความสุข

บ้านเกิดเมืองนอน