อ่านเว็บเพจข้อมูลบุคลากรคณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ (4M)

620113_bpa
620113_bpa

อ่านข้อมูล “คณบดี/บุคลากร” ของคณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ ม.เนชั่น แล้วสนใจในหลายเรื่อง มีความตั้งใจที่จะเก็บข้อมูลนี้ใน 3 รูปแบบ คือ 1) full screen image, 2) responsive screen image และ 3) file.mht โดยใช้ extension ของ chrome ชื่อ Full Page Screen Capture แล้วแชร์ให้นักศึกษาวิชาสื่อฯ (MIT) ได้เห็นตัวอย่างการจัดเก็บใน github.com และ github.io เพราะเคยพานักศึกษา CS เข้าใช้ github.com สำหรับเผยแพร่ ผลงานโฮมเพจน.ศ. ซึ่งหน้าเว็บบุคลากรใช้ CMS ที่จัดทำด้วย Joomla ขนาดของภาพที่ส่งเข้าไป ต้องใช้ css กำหนด width ให้เท่ากันคือ 188 px และฟอนต์ใช้ kanit เป็น free font ของ google ซึ่งการเรียกใช้ และ bootstrap เกี่ยวกับ web2 และ html5 ส่วนการเห็นคุณค่าของบุคลากร ตามหลักบริหาร 4M คือ Man, Money, Materials และ Management ก็สนใจเรื่องคุณภาพของบุคลากรเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ทำให้นึกถึงบทบาทของ มูลนิธิโยนก ที่ส่งเสริม สังคมรักการอ่าน และทำโครงการครูภาษาอังกฤษเพื่อโรงเรียนไทย (TTC) พัฒนาภาษาอังกฤษของนักเรียนไทย โดยจัดหาบัณฑิตที่มีคุณภาพและมีจิตอาสาเข้าร่วมโครงการ

โพสต์เป็นซี่รี่ใน fb ปิดปี 1 ไปที่ 70 โพสต์ วันนี้นับ 1 กันใหม่

13 fonts ราชการ
13 fonts ราชการ

เริ่มพุทธศักราชใหม่ 2562 ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงนู่นนี่นั่น
[มองย้อน]
อดีตไม่ไกลนัก ปีพ.ศ. 2561
นั่งเขียนโพสต์สั้น ๆ แบบมี series นับได้ 70 โพสต์
เริ่มโพสต์แรก Northwind Database เมื่อ 19 ส.ค.61
ด้วย tag #เล่าสู่กันฟัง 61-001
โพสต์สุดท้ายของปี คือ วันที่ 31 ธ.ค.61
เป็นโพสต์ที่ 070 เรื่อง do กับ like
มีเพื่อนกดไลท์จำนวน 3 คน (ถือว่าใช้ได้)
https://web.facebook.com/thaiall/photos/a.10152906385302272/10157059279497272/
[และแล้ว]
ปัจจุบัน คือ วันนี้ 1 ม.ค.62 เปิดปีพ.ศ.ใหม่
นั่งเทียบ 13 ฟอนต์ราชการไทย
พบว่า ผลการเปรียบเทียบ คงทำให้ต้องค่อย ๆ ปรับเว็บเพจทั้งหมด
เป็น TH KodChaSal2 เพราะ TH ChaKraPetch ขนาดเล็กกว่านิดหน่อย
พร้อมเพิ่มขนาดเป็น 20px ให้หมด
แสดงผลการเทียบขนาดไว้ที่ /html5 กับ /web2
http://www.thaiall.com/html5
#เล่าสู่กันฟัง 62-001

 

การปล่อยให้ editor สร้าง backup file อาจมีปัญหาตามมา ต้องเลือกเอง อย่าให้ค่าปริยายเลือกให้

editplus backup
editplus backup

โปรแกรมสำหรับจัดการรหัสต้นฉบับ มีมากมาย
เช่น editplus, notepad++ , atom , sublime หรือ textpad
ที่ดีมักมีตัวเลือกสร้าง backup file หรือ .bak
สิ่งที่ต้องระวัง คือ การอัพโหลดทั้ง folder หรือทำงานอัตโนมัติ
อาจพาแฟ้ม .bak และแฟ้มอื่นที่ไม่เหมาะไม่ควร
พากับขึ้นอยู่ในเครื่องบริการอย่างสงบ
และเปิดให้ชาวโลก รวมถึง google.com ได้เข้าถึง
ดังนั้น ไม่ควร หรือห้ามอัพโหลดเหมาเข่ง
หรือ ยกเลิกการสร้าง .bak อัตโนมัติ

สร้าง Github page ชื่อ mycsharp เป็นต้น

ไม่ได้เขียน blog นานล่ะ
วันนี้ เล่าขั้นตอนว่าจะสมัคร Github pages อย่างไร
(ในเอกสารหนึ่ง ก็หยิบขั้นตอนมาเขียน blog ซะเลย)
เพราะหวังว่า
จะให้เด็ก ๆ มีกรุ (Repositories) ไว้เก็บของ
และมีโฮมเพจ (Homepage) ไว้ปล่อยของที่เก็บไว้
แต่เริ่มต้นจากการสมัครใช้บริการก่อน
แล้วค่อยสร้างเพจเปล่า ๆ ง่าย ๆ ขึ้นสักเพจหนึ่ง
ผ่านการเขียน code html ในแบบที่ github กำหนด
ขั้นต่อไปก็ค่อยให้เด็ก ๆ หาของมาหย่อนตามกรุของตน

ก็เป็นอีกเวที ที่เด็ก ๆ กลุ่มหนึ่งควรรู้จัก
และเข้ามาใช้งาน ใช้การกัน
ที่สำคัญ ใช้ฟรี และมีมืออาชีพเข้ามาปล่อยของฟรี เยอะมาก

ชวนสร้าง Github pages
ชวนสร้าง Github pages

สร้าง Github page ชื่อ mycsharp เป็นต้น
1. เข้า Github.com
2. สร้าง Repositories คือ กรุ หรือ ที่รับ เช่น mycsharp
3. เมื่อเข้าใน Repositories แล้ว
4. ให้สร้างเพจ ตามกรุที่สร้างขึ้น
เช่น https://thaiall.github.io/programming-page/
เชื่อมกับ https://github.com/thaiall/programming-page
จะพบแฟ้ม index.md เพื่อแนะนำตัวเอง และ repositories
5. วิธีสร้าง page ใน github.io
1. เข้า Settings ของ Repositories (ไม่ใช่ของ Account)
README.md ใน https://github.com/thaiall/vscode
index.md ใน https://github.com/thaiall/programming-page
เป็นหน้าแรก แต่คนละบทบาท กรณีนี้เป้าหมาย คือ index.md
2. หลังเข้า Setting
– Scroll down ลงมาหา GitHub Pages
– choose theme = time machine
– select theme
– Commit changes
หากเข้า Settings ของ Repositories อีกครั้งจะพบ link
https://thaiall.github.io/blank_repository/
3. หากต้องการแก้ไขให้เลือก edit index.md
มองหา Top Right มี Drop down list ให้เลือก
– Your Repositories
จาก Repository ชื่อ blank_repository หรือ mycsharp
คลิ๊กปากกา ที่มุมบนขวา ก็จะแก้ไขแฟ้ม index.md ได้
4. เนื้อหาใน index.md
– ชื่อ สกุล
– สาขาวิชา สถาบัน
– ประเด็นที่สนใจ
– ประสบการณ์
– งานอดิเรก หรือ ความสามารถพิเศษ
– แนะนำเพื่อน คนรู้จัก หนังสือที่ชอบ หรือแหล่งเรียนรู้
5. หากมีแฟ้มอะไรที่ต้องการแชร์เข้า Repositories
– Create new file หรือ Upload files
– ส่งลิงค์ เช่น https://thaiall.github.io/programming-page/

page settings
page settings

เล่าว่าเจอถูกปิดกั้นเข้าควบคุมเครื่องจากระยะไม่ไกลนัก

ได้ลองของอีกครั้ง
วันนี้บน Win10 ที่มี license แถมมาจากร้าน
ก็คงเป็น Win10 Home Single Lang ตามระเบียบ
ได้ทดสอบการใช้ VNC (ตัวนี้ใช้เยอะครับ) เข้าควบคุมเครื่องในวง LAN
มี viewer เป็น app บน Android ได้ทดสอบ 2 กรณี
ทั้งจาก WIFI ในเครื่องข่าย ADSL ที่บ้านหัวหน้า
และเครื่องข่าย WIFI ที่แชร์ผ่าน Hotspot 1 Mbps จากโทรศัพท์
พบว่ามีปัญหา หากไม่จัดการเรื่อง Firewall
ถ้าไม่อยากเข้า Firewall ลึก ๆ ก็ปิดไปเลย เดี๋ยวค่อยเปิดใหม่
แต่ถ้าเข้าไปเปิด Allow app แล้วก็สบายใจได้ว่า Firewall ยังทำงานอยู่
การทดสอบ สิงหาคม 2561 มีขั้นตอนดังนี้
1. ติดตั้ง VNC Server บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ลง Win10
2. ติดตั้ง VNC Viewer บนโทรศัพท์ที่ลง Android
3. ปิด Firewall หรือเปิด Allow app
4. มองหา ip ที่ถูกต้องบน Server เพื่อให้ Viewer เชื่อมเข้ามา
กรอกเลขผิด หมดสิทธิสื่อสารกันเลยครับ
5. มีวิธีการ authen หลายวิธี
จากการทดสอบผมเลือก VNC password แล้วไปกำหนดรหัสผ่านให้ Admin
ลองมองหาปุ่มตามภาพ
6. เปิด viewer กำหนด ip ที่ได้จากข้อ 4
ถ้าเชื่อมต่อได้ ก็จะมีช่อง user และ password มาให้กรอก
หากกรอกตรงกับที่กำหนดในข้อ 5 ก็จะมองเห็นหน้าจอ win10
บน android และเข้าควบคุมได้เลย
7. เรื่องความเร็ว หายห่วง เพราะเป็น home network
ทดสอบในเครื่องข่ายบนวง LAN เดียวกัน
เสียก็แต่หน้าจอเล็กไปหน่อย ถ้าใช้ Tablet น่าจะได้จอเต็ม ๆ
กว่าใช้โทรศัพท์หน้าจอเล็ก ๆ น่ะครับ

 

อุดมศึกษาไทยที่จะอยู่รอดในยุคแข่งขันเดือดและผู้เรียนลดลง อย่างไร

เรื่อง “อุดมศึกษาไทยที่จะอยู่รอดในยุคแข่งขันเดือดและผู้เรียนลดลง อย่างไร
บทความโดย ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
พบว่า อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง แชร์มาในกลุ่ม จึงนำมาแชร์ต่อ

ทุกวันนี้ สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาไทย (ป.ตรี – เอก) ทั้งของรัฐ และเอกชน ต่างก็มีปัญหา เพื่อความอยู่รอดของกลไกตลาด (Market Mechanism) ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีหลัก ๆ คือ

1. สถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน มีมากเกินกว่า “ตลาดผู้เรียน” เรียกว่าเป็น “สภาพการณ์อุปทานล้น (Over Supply Circumstances)” ของ อุปสงค์ (Demand) และ อุปทาน (Supply) เนื่องจากโครงสร้างการเกิดของประชากรที่ลดลง จะเห็นได้ว่ารับกันหลายรอบ ต่างก็ไม่เต็มกันแทบทุกหลักสูตร ทุกสถาบัน

2. นโยบายและการกำกับของรัฐ ที่มีรายละเอียดมาก ทั้งการควบคุม มาตรฐาน การประกันคุณภาพ สารพัดองค์/ตัวบ่งชี้ และ เกณฑ์ในการคัดเลือกเข้าระบบ TCAS (Thai University Center Admission System) ที่ซับซ้อน เปลี่ยนแปลงบ่อย อีกทั้งยังมีหลายมาตรฐานควบคุม ระหว่าง 1) มหาวิทยาลัยรัฐ 2) กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ- ราชมงคล 3) มหาวิทยาลัยของรัฐนอกระบบ / ในกำกับ (Autonomous University) 4) มหาวิทยาลัย-สถาบัน-วิทยาลัย เอกชน ซึ่งในหลายๆมิติ จะเห็นว่าบุคลากรทางการศึกษา ต้องใช้เวลาหลายอย่างมากกว่าเน้นการจัดการสอน
http://www.cheqa.mua.go.th/

3. โอกาสเปิดกว้างกับสถาบันอุดมศึกษาจากต่างประเทศ และ การเรียนผ่านระบบเครือข่าย (Online Degree and Courses) ที่เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดเรียนในชั้นปกติ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (ในขณะที่มาตรฐานองค์รวมของสถาบันอุดมศึกษาไทยขยับตัวพัฒนาช้า จนทำให้มาตรฐานดูพัฒนาในภาพรวมช้า
https://www.thaicyberu.go.th/

4. ตลาดแรงงานที่เปลี่ยนมุมมองของคน Generation Y และ Generation Z ซึ่งรวมถึงคนวัย 30 ลงมาถึง teenage ที่มีเกือบครึ่งประเทศ ต้องการมีอิสระ และทางเลือกของตนเอง ดังนั้นทั้งต้องการเรียนรู้เอง ต้องการหาประสบการณ์ และ อาชีพเฉพาะตน/ SME มากขึ้น

ทั้งปัญหา ตลาด ระบบ คู่แข่งขันหน้าใหม่ และ วิถีชีวิต ที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น สถาบันการศึกษาไทย จึงต้องปรับตัว ขอตอบด้วยทฤษฎี Ansoff Matrix จากที่ทำได้ง่ายสุด ไปถึงที่ทำยากสุด ดังนี้

1. กลยุทธ์เจาะตลาด (Market Penetration) ลงลึก เน้นหนักตลาดปัจจุบัน ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ (Present Market + Present Product)

สถาบันนั้นๆต้องปรับตัว เน้นทำตลาดให้ชัด สื่อสารการตลาดครบวงจร (Integrated Marketing Communication:IMC) ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย ทันการณ์ สดใส ทั้ง คณาจารย์ สร้างภาพมืออาชีพ เน้นใช้เทคโนโลยีช่วยสอน สร้างภาพลักษณ์ที่ดีเชิงประจักษ์ ทำ CSR (Corporate Social Responsibility) , CRM (Customer Relationship Management), CEM (Customer Experience Management) ให้ตลาดเห็นสถาบันเรามีตัวตน โดดเด่น (Outstanding) ออกมา พร้อมทั้งสร้างจุดเด่นจุดยืน (Brand Positioning) หาจุดยืนให้ชัดไปเลยว่าเราเป็นใครในตลาด เช่น เราคือ สถาบันวิจัย เราคือ สถาบันที่มีมาตรฐานการสอนสูงสุด เราคือผู้นำด้านสื่อสารมวลชน เป็นต้น หาแม่เหล็ก (Magnets) ด้วยตัวแทนสร้างชื่อ (Brand Ambassadorship) เน้นนำเสนอ เหล่าดารา นักกีฬา นักธุรกิจ มาเรียนที่เรา และอย่าลืม ลดต้นทุน ที่ไม่สำคัญออก ส่วนใดตัด Outsourcing ได้ ก็ทำ

2. กลยุทธ์พัฒนาตลาด (Market Development) หาตลาดใหม่ ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีเดิม (New Market + Present Product)

เป็นวิธีที่เราเชื่อว่าสถาบันมีหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอนที่ดีแล้ว ก็หาตลาดใหม่ เปิดตลาดหาผู้เรียนจากต่างชาติเป็นภาษาไทย หรือปรับหลักสูตรให้เป็นภาษาที่ 2 หรือ 3 นำหลักสูตรไปหาตลาดต่างประเทศ สอนในต่างประเทศ ทั้งนี้ รวมถึงใช้เทคโนโลยีหาตลาดใหม่ด้วยการศึกษา Online ในหลักสูตร/ คณะต่างๆ เพิ่มขึ้น

3. กลยุทธ์พัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) หาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่โดนใจตลาดเดิม (Present Market + New Product)

สถาบันที่มีศักยภาพในความพร้อมทั้งบุคลากร เงินทุน เครื่องมือ และระบบสนับสนุนต่าง ๆ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกมา (ต้องตอบโจทย์ที่เป็นที่ต้องการตลาดด้วย) ได้แก่ การเปิดคณะใหม่/ สาขาใหม่ ที่รองรับตาม Trend เช่น สังคมสูงวัย (Aging Society) ดังนั้นให้เปิดคณะ/ สาขา ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์- สุขภาพ ครบวงจร

อีกทั้งพัฒนาบริการที่เกี่ยวเนื่องการศึกษาอื่น ๆ (Subsidiaries) เช่น เป็นศูนย์บริการเชิงพาณิชย์ เช่น วิจัยธุรกิจ ที่ปรึกษาธุรกิจ ฝึกอบรม บริการสอนให้วุฒิบัตรต่าง ๆ (certificate) และยังสามารถมองตลาดแบบพัฒนาถอยหลัง (Backward Integrations) ลงไปเชื่อมธุรกิจกับระดับโรงเรียนมัธยม/ ปวช-ปวส หรือ พัฒนาเดินหน้า (Forward Integrations)เชื่อมเป็น Partner กับภาคธุรกิจ- ภาครัฐ รูปแบบต่าง ๆ

4. กลยุทธ์เข้าธุรกิจใหม่ (Diversification) หาผลิตภัณฑ์และตลาดที่มีศักยภาพใหม่ ที่เราพร้อมลุย
(New Market + New Product)

มองหาธุรกิจใหม่เพิ่มเติม ที่ทีมบริหาร เห็นโอกาส ว่ายอดขาย กำไร และ ส่วนแบ่งตลาด ที่เราทำได้ อาจใกล้ตัวหรือไกลตัว เช่น ธุรกิจหอพัก ศูนย์การค้า บริษัทการค้าต่าง ๆ เป็นต้น

สถาบันต่าง ๆ ควรต้องปรับตัว/ พัฒนา ไปทางใดทางหนึ่ง อย่าหยุดนิ่ง ซึ่งนึกถึงกฎของเมอฟี่ (Murphy’s Law) ที่ว่า “Anything that can go wrong, will go wrong” คือ “อะไรที่มีทิศทางเชิงลบ อย่าปล่อยไป” และ “อย่าปล่อยโอกาสให้มีการผิดพลาด โดยไม่สนใจ” เรารู้อยู่แล้วว่าอุดมศึกษาไทยแข่งเดือด แย่งกัน หลายสถาบันกำลังไปไม่รอด เริ่มมีสัญญาณปิดตัว โดนต่างชาติยึด เริ่มควบรวม เป็นต้น

หมายเหตุ: ทั้งหมดนี้ แค่มุมมองส่วนตัว ในฐานะที่เป็นอาจารย์คนหนึ่งที่ผ่านร้อนผ่านหนาวในวงการอุดมศึกษาไทยมา 21 ปี

ทฤษฎี Ansoff Matrix
ทฤษฎี Ansoff Matrix

https://www.tutor2u.net/business/reference/ansoffs-matrix

มีอีกเรื่องที่ยังไม่รู้ เกี่ยวกับ MS Word ว่าทำไมใช้ึคีย์ลัดไม่ได้

วันนี้ (13 ก.ค.61) ไปฟังโปรเจคห้องสมุดของ โม (บุณยดา สูงติวงค์) แล้ว หนึ่ง (สุรวิชญ์ สุริยะวงค์) สะกิด พร้อมยิงคำถามมาว่า “อาจารย์ครับ กด Ctrl-C Ctrl-V ไม่ได้” ผมก็คิดว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะใช้มา ก็ไม่เคยพบ แต่เหมียว (แพรทิวา ขันเงิน) ที่นั่งใกล้กัน บอกว่า แก้ได้ ต้องเข้าไปเซต เพราะบางครั้งหายไป แล้วหนึ่งก็ไปเรียนจากเหมียว แล้วกลับมาแก้ไขได้

ส่วนผม ก็ค้น google พบว่า Greecha Katpratoom
เล่าใน sites.google.com ว่า

เค้าก็เจอ แล้วถามทาง Microsoft help ปรากฎว่าอาการนี้ มักจะเกิดกรณีเปลี่ยนคีบอร์ดเป็นภาษาไทย แล้วไปเปิดโปรแกรม MS Word 2010 อาจทำให้ไม่สามารถใช้ Shortcut บางคำสั่ง ถ้าแป้นพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษจะไม่เป็นไร (ก่อนเปิดโปรแกรม Word 2010)

วิธีแก้ไข
1. เข้า Menu, File, Option
2. เลือก Customize Ribbon, Keyboard shortcuts: Customize
3. เลือก Home Tab, EditCopy
4. ช่อง Current Keys: ถ้าไม่พบ Ctrl+C
ก็ให้พิมพ์เพิ่มเข้าไปในช่อง Press new shortcut key
5. ทำตามข้อ 3 ต่อสำหรับ Shortcut อื่น เช่น EditPaste
แล้วลองทำดูนะครับ จะพบปัญหาเข้า

ใช้คีย์ลัด หรือแป้นพิมพ์ลัด ไม่ได้
ใช้คีย์ลัด หรือแป้นพิมพ์ลัด ไม่ได้

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดลำปาง

private university
private university

การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกสถานศึกษาที่ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ในอำเภอเมืองลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปางแยกเป็น โรงเรียนเอกชน จำนวน 1 โรงเรียน ได้แก่โรงเรียนมัธยมวิทยา และโรงเรียนรัฐบาล จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย โรงเรียนปงแสนทองวิทยา และโรงเรียนกิ่วลมวิทยา จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 287 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีดำเนินการ ประกอบด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ในการอธิบายข้อมูล โดยสรุปผลการวิจัยพบปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกสถานศึกษาที่ถูกเลือกเป็นอันดับแรกใน แต่ละด้าน ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานที่มีของนักเรียน สาขาวิชาที่เปิดสอนที่ตรงกับความต้องการ คำแนะนำของอาจารย์แนะแนวการหาข้อมูลเกี่ยวกับคณะสถาบันหรือวิชาที่เปิดสอนจากอินเทอร์เน็ต การสอบเข้าศึกษาต่อโดยวิธีการสอบตรงหรือสอบโควตา ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย ความพร้อมและความทันสมัยของอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอน ค่าเล่าเรียนในการศึกษาต่อ

This was the research project on “Factors influencing in the choosing private higher-education institution of matayom 6 students in Muang Lampang district, Lampang province”. It was the quantitative research. The objective was to study personal factors and marketing factors that have influence to choose higher-education institution. Data sampling had 287 students of matayom 6in schools of downtown district, Lampang province that had Bunyawat school, Pongsantong school, Matayom school, and Kewlom school. Research tool is questionnaire.
Methodologist composed of the collection of information and data analysis. The statistic using in conclusion was percentage, mean and standard deviation. The research conclusion founded that the factors to choose higher-education institution was the basic skill and knowledge, the requirement curriculum, the suggestion of advisor, the searching of institution information from internet, the examination and quota, the reputation of the university, the preparation and modernization for learning and teaching, the fee for education.

http://it.nation.ac.th/studentresearch/search.php?id=74

#research #kounchanok

หา driver ให้กับอุปกรณ์เก่าไม่พบ มีทั้งผิดหวัง และสมหวัง

Wireless USB Adapter
Wireless USB Adapter

มีเครื่อง PC ที่ไม่ได้เชื่อม Internet ผ่านสาย LAN
แต่มี Wireless USB Adapter ตัวเก่าตัวหนึ่ง
เอามาใช้ก็พยายามติดตั้งไปตามปกติ แบบ Off-line
พบว่า Driver ไม่ตรง หรือไม่พบที่ใช้งานได้
เล่าถึงขั้นตอน ดังนี้
1. เอายี่ห้อ และรุ่น
ไปค้นจาก website เจ้าของอุปกรณ์
ก็ไม่มี driver ให้ download เพราะอุปกรณ์เก่ามาก
เลิกดูแลลูกค้าที่ใช้อุปกรณ์เก่า
2. หาจาก google.com หลายตัว
*เริ่มมีหวัง
ลอง download ที่น่าจะใช้
ก็ไม่มีตัวไหนใช้งานได้
* ผิดหวังหลายรอบ เพราะน่าจะได้สักตัว ก็ไม่ใช่สักตัว
3. สงสัยว่าอุปกรณ์จะเสีย * เริ่มสิ้นหวัง
เปลี่ยนไปยังเครื่องที่ online
แล้วใช้ search driver แบบ online
พบว่า install hardware ได้ปกติ และใช้งานได้
* สมหวังครับ ยิ้มแป้นเลย แต่ไม่ใช่เครื่องนี้
4. เอาชื่ออุปกรณ์ที่ install hardware ได้แล้ว
ไปค้นหาจาก website ของ microsoft.com
แล้วพบแฟ้ม .cab หลายแฟ้ม ก็ download ที่น่าจะใช้มา 3 ตัว
* ก็มั่นใจว่าชื่อตรงแล้ว มาเลยหลายตัว กันพลาด
5. ใช้ winrar ทำ extract driver ที่เป็น .cab ทุกแฟ้ม
เป็น folder ที่น่าจะใช่ทุกตัว
ลุ้นไปทีละตัว สุดท้ายก็ install สำเร็จ จากที่ได้มา 1 ตัว

ภาคผนวก ก. เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
* มีผิดหวัง ย่อมมีสมหวัง และมีผิดหวังครั้งใหม่ วน ๆ กันไป
เมื่อมาทำงานสายไอที

ภาคผนวก ข. ที่มา
ผมถอน Fiber optic ออก ประหยัดเดือนละหลายร้อย
ต่อไปใช้ Net ความเร็ว 256 Kbps จาก 3G
ที่แชร์ Hotspot จาก Smartphone ก็พอแล้ว
ทำให้เครื่อง PC ที่เคยต่อสาย Lan เข้า Switch
เกิดต่อ Net ไม่ได้ขึ้นมากระทันหัน
http://www.thaiall.com/mis/mis05.htm

กว่าเด็กบ่อแฮ้ว ลำปาง ที่จบการตลาด จะสอบติดทหารอากาศ

นายฐิตินันท์ ดำรงสิทธิ์ หรือพี่ฟลุค ของน้องนักศึกษาเนชั่น
บอกเล่าเรื่องราว 9 ข้อ กว่าจะสอบติดทหารอากาศ ไว้ในเฟสบุ๊ค
เค้าเล่าเฉพาะเส้นทางการสอบจนถึงที่หมาย ไม่ได้พูดถึงการเป็นนายกฯ
งานพิธีกรที่มูลนิธิโยนกและมหาวิทยาลัย หรือเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนที่ญี่ปุ่น
เรามาติดตามเส้นทางการสอบเป็นทหารอากาศดีกว่า
ว่า ถึงไหม ท้อไหม ถึงปลายทางฝันตรงไหน มาติดตามกันครับ
พบว่า บรรทัดสุดท้ายของบทความที่ฟลุคเขียนฝากไว้
คือ “อนาคตที่ดี มาจากการกระทำในปัจจุบันที่ดี

เรื่อง “ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน
1 .เริ่มต้น
จากการตัดสินใจสมัครสอบแข่งขัน เพื่อเป็นทหารอากาศผ่านทางอินเทอร์เน็ต
ช่วงนั้นมีเวลาเตรียมตัวก่อนสอบ 1 เดือน
ผมซื้อหนังสือเตรียมสอบมาอ่าน และฝึกทำแบบฝึกหัดเป็นประจำทุกวัน
จนผมอ่าน และทำจนครบทุกหน้าภายในเวลา 1 สัปดาห์
หลังจากนั้นผมก็คิดว่าหนังสือที่อ่านเล่มเดียวนั้นคงยังไม่เพียงพอ
ผมจึงสั่งหนังสือแบบไฟล์ PDF มาอ่านผ่านมือถือ
ใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์
ผมก็อ่านจบ และทำความเข้าใจเนื้อหาทั้งหมด
ตลอดระยะเวลาที่อ่านหนังสือ
ผมก็รู้สึกท้อและขี้เกียจมาก
แต่ก็คิดว่า ถ้าเราไม่อ่านแล้วจะสมัครสอบเพื่ออะไร
อย่าเสียเวลาไปสอบเลย แล้วบอกกับตัวเองว่า “อย่ายอมแพ้”

2. ถึงวันสอบ
ผมเดินทางไปสอบที่ธรรมศาสตร์ รังสิตด้วยตัวเอง
ผมเดินทางจากลำปางถึงกรุงเทพ เวลา 6.30น.
ผมไปนั่งรอที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 5 ชั่วโมง
เพราะผมสอบตอนเที่ยง
ระหว่างรอทุกคนที่มาสอบล้วนมีความหวัง และมีความมุ่งมั่น
ว่าตัวเองจะสอบผ่าน ผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้น
แต่ระหว่างรอผมก็เอาไฟล์หนังสือมาอ่าน
เพื่อไม่ให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์
วันนั้นคนสอบเยอะมาก เยอะมากจนเราคิดว่าเราจะสอบผ่านรอบแรกมั้ย
ซึ่งเวลานั้น ผมก็ตั้งใจทำให้ดีที่สุด โดยจะไม่เสียใจ
เพราะผมตั้งใจทำมันดีที่สุดแล้ว

3. วันประกาศผลสอบรอบแรก
ผมสอบติด 1 ใน 18 คน จากตำแหน่งที่ผมสมัครสอบ
มีผู้เข้าสอบประมาณ 40,000 กว่าคน ผ่านรอบแรก3,000 กว่าคน
ซึ่งผมผ่านรอบแรกมาได้ก็รู้สึกภูมิใจ และตั้งเป้าหมายครั้งต่อไป
ว่าเราจะต้องสอบผ่านการทดสอบร่างกาย และการสัมภาษณ์

4. ก่อนการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
ผมมีเวลาเตรียมตัว 2 – 3 อาทิตย์ ผมซ้อมวิ่งระยะทาง 2.5 กม.
ดันพื้น ซิทอัพ เป็นประจำจนถึงทุกวันนี้
พอถึงวันสอบผมเดินทางไปสอบที่ สนามกีฬาจันทรุเบกษา กองทัพอากาศ
ผมไปรอตั้งแต่ตี 4 ได้คิวสอบที่ 43 ตอน 7 โมงเช้า
วันนั้นรู้สึกกลัวว่าตัวเองจะทำไม่ได้
แต่สิ่งที่ทำให้ผมมีกำลังใจสู้ในตอนนั้นก็คือ พ่อแม่
และได้กำลังใจที่ดีจากคนที่ผมรักนั่นก็คือ “ออม”
สุดท้ายผลการทดสอบก็น่าพึงพอใจในระดับหนึ่ง
ผมจะต้องสามารถผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกายได้
ผมเชื่อมั่นแบบนั้น
ผลการทดสอบ การวิ่ง 2.5 กม. เวลา 10.35 นาที
ดันพื้น 49 ครั้งต่อนาที ซิทอัพ 39 ครั้งต่อนาที
ผมทำดีที่สุดแล้ว ณ เวลานั้น

5. วันสัมภาษณ์
ผมเดินทางไปที่โรงเรียนนายทหารชั้นประทวน กองทัพอากาศ
เวลา 8.00 น. ผมเป็นคนสุดท้ายที่ได้สัมภาษณ์เวลา 16.00 น.
ในวันนั้นผมได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับนายทหารที่เคยสอบผ่านเมื่อปีที่แล้ว
นายทหารคนนั้นแนะนำ และชี้แนวทางการตอบคำถามสำหรับผม
ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก และทำให้ผมอาจจะได้เปรียบกว่าคนอื่น
แต่สุดท้ายแล้ว คำแนะนำก็เป็นเพียงแค่คำแนะนำ
ไม่ได้ใช้ในห้องสัมภาษณ์เลย ผมต้องมีสติแล้วตอบคำถามอย่างชัดเจน
ตอบได้ คือ ได้ ตอบไม่ได้ คือ ไม่ได้
ในห้องมีกรรมการทั้งหมด 3 ท่าน คำถามมีดังนี้

5.1 แนะนำตัวเอง
5.2 แนะนำเป็นภาษาอังกฤษ
5.3 คุณมีความสามารถพิเศษอะไร
5.4 โปรไฟล์ดีมาก เรายอมรับว่าคุณเก่งเกินไปสำหรับตำแหน่งที่คุณสมัคร
5.5 คุณจะอยู่อย่างไรคนเดียวในช่วงแรกที่ประจำการ
5.6 ทำไมคุณไม่สมัครตำแหน่งอื่น
5.7 ทำไมคุณถึงเลือกจังหวัดบรรจุ
ถ้าไปสามจังหวัดชายแดนใต้คุณจะทำอย่างไร
5.8 เงินเดือนน้อยทำอย่างไร
5.9 คุณจะใช้ความรู้ของคุณกับตำแหน่งอย่างไร
5.10 ข้อมูลของกองทัพอากาศ
5.11 คุณมีอะไรจะพูดใน 30 วินาทีสุดท้ายไหม
5.12 ครอบครัวของคุณทำงานอะไร
5.13 ทำไมคุณไม่ช่วยครอบครัวสานต่อธุรกิจ
5.14 ถ้าคุณสอบไม่ติดปีนี้คุณจะผิดหวังหรือไม่ แล้วจะทำอย่างไร
5.15 ถ้าคุณมีโอกาสสอบอีก คุณยังจะเลือกสอบตำแหน่งเดิมหรือไม่
5.16 ถ้าผู้บังคับบัญชา การศึกษาน้อยกว่าคุณ คุณจะยอมรับหรือไม่
5.17 ถ้าเพื่อนร่วมงานชวนคุณดื่ม จะทำอย่างไร
5.18 คุณเรียน รด มาไหม เป็นอย่างไรบ้าง มีผลงานมั้ย
5.18 คุณมีเชื้อสายจีนใช่มั้ย
คุณเดินทางมายังไง
5.19 ทำตามคำสั่ง ดันพื้น ยกเก้าอี้ลุกนั่ง ระเบียบแถว
เสียงดังฟังชัด การทวนคำสั่ง ถอดเสื้อ หันหน้า หันหลัง

*คนเก่งแบบคุณ เข้ามาทำงานตำแหน่งนี้แค่แปปเดียว
ก็ย้ายไปทำงานตำแหน่งที่อื่นที่ดีกว่า
นั่นก็หมายความว่ากองทัพจะต้องเปิดรับสมัครตำแหน่งนี้ เพื่อมาแทนที่คุณ
ซึ่งมันเสียงบประมาณ คุณจะทำให้เรามั่นใจได้อย่างไร
ว่าคุณจะไม่เป็นเช่นนั้น
พวกเรายอมรับความเก่งของคุณนะ แต่ทุกอย่างก็ต้องรวบรวมจากผลคะแนนทั้งหมด

6. การประกาศผลสอบรอบสอง
ประกาศผมการสอบสมรรถภาพร่างกายและการสัมภาษณ์
ปรากฎว่าผมสอบผ่าน ติด 1 ใน 4 คนสุดท้าย
และเป็น 1 ใน 665 คน ที่ทางกองทัพอากาศเปิดรับ ผมดีใจมาก
แต่ก็ยังไม่ดีใจถึงที่สุด เพราะเรายังต้องไปทดสอบความถนัดบุคคล และตรวจร่างกาย

7. วันทดสอบความถนัดบุคคลและวิภาววิสัย
ผมเดินทางจากลำปางไปกรุงเทพ สอบที่ มธ. รังสิต สอบ 7.30 น.
การสอบประเภทนี้ไม่ต้องอ่านหนังสือ
เพราะเป็นการสอบประเภทความจำ การรับรู้ เชิงเหตุผล การใช้ภาษา
และพฤติกรรม วันนั้นการสอบก็ผ่านไปด้วยดี

8. การตรวจร่างกาย
ผมได้ตรวจร่างกายที่กองเวชศาสตร์ป้องกัน
กรมแพทย์ทหารอากาศ ผมเดินทางถึงกรุงเทพตี 4
วันนั้นเกิดเหตุสุดวิสัยผมเกือบไปตรวจร่างกายไม่ทันเวลา
ผมนั่งแท็กซี่จากดอนเมืองไปกรมแพทย์ทหารอากาศ 7.00 น.
แต่เกิดอุบัติเหตุรถชนกัน
ทำให้ผมต้องลงจากรถแท็กซี่
แล้ววิ่งจากบริเวณหอประชุมกานตรัตน์ไปยังกรมแพทย์ทหารอากาศ
สุดท้ายผมก็วิ่งไปทันการตรวจร่างกายในวันนั้น
ผมได้คิวตรวจที่ 119 จากการตรวจทั้งหมด 123
ระยะทางที่วิ่งก็ประมาณเกือบ 1 กม.

9. วันประกาศผมสอบรอบสุดท้าย
ผมสอบติดเป็นทหารอากาศอย่างเป็นทางการ

ตลอดระยะเวลาที่ผมสอบนั้น
ผ่านเรื่องราวหลายอย่าง ทั้งเจออุปสรรคมากมาย ต้องมีความตรงต่อเวลา
ต้องมีความอดทน ต้องมีความพยายาม
แต่อย่างไรแล้วเราก็ต้องสู้จนถึงที่สุด “อย่ายอมแพ้”
และที่สำคัญมากไปกว่านั้นก็คือ พ่อแม่ ที่คอยสนับสนุนผม
และคือคนที่ผมกลัวทำให้ผิดหวังที่สุด
คนที่คอยเคียงข้างและให้กำลังใจผมตลอดในเวลาที่ผมท้อนั่นก็คือ ออม
ครูบาอาจารย์มหาวิทยาลัยเนชั่นทุกท่านที่ให้วิชาความรู้
ประสบการณ์หลาย ๆ อย่าง
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผมได้เอาไปใช้ได้จริง และทำให้ผมประสบความสำเร็จ
เพื่อน ๆ ที่คอยช่วยเหลืออย่างที่พักอาศัย
ช่วยในการเดินทางและให้กำลังใจผม

สุดท้ายนี้
ไม่มีอะไรได้มาอย่างงายดาย ทุกอย่างต้องแลกมาด้วยแรงกายแรงใจ
นี่เป็นเพียงการเริ่มต้นการเข้ารับราชการทหารอากาศ
ผมจะไม่มีวันยอมแพ้อีกต่อไป
อนาคตที่ดี มาจากการกระทำในปัจจุบันที่ดี