แก้ปัญหาลืมรหัสผ่านของ moodle

กรณีลืมรหัสผ่านเข้า moodle
กรณีลืมรหัสผ่านเข้า moodle

วันนี้ มีเพื่อนที่เป็น admin ถามกรณีลืมรหัสผ่านเข้า moodle
พอมีเวลาเพราะวันนี้ไม่ง่วงนอน จึงเข้าไปแกะ table ใน moodle
แล้วผมตอบไปว่า การเปลี่ยนรหัสผ่านของ admin หรือ user ใด
ใน moodle เข้าไปเปลี่ยนได้ไม่ยากครับ สำหรับกรณีลืมรหัสผ่าน
1. ใช้ phpmyadmin เข้าไปดูรหัสผ่านในตาราง mdl_user
2. รหัสผ่านจะเข้ารหัสไว้อ่านไม่ออก แต่คัดลอกไปวางให้คนอื่นได้เลย
เช่น p ก็จะเป็น 83878c91171338902e0fe0fb97a8c47a
3. เลือกรหัสผ่านของคนอื่นที่เข้าระบบได้ ที่เราทราบรหัสผ่านนั้น
แล้วคัดลอกไปวางแทนรหัสผ่านของ admin
ก่อนคัดลอกไปวาง ก็คัดลอกรหัสผ่านของ admin เก็บไว้ก่อน
เท่านี้ก็เข้าระบบด้วย user ของ admin ได้แล้ว
4. ถ้าไม่มีรหัสผ่านที่ทราบเลย ลองของผมก็ได้
รหัสผ่านคือ p เข้ารหัสแล้วก็เป็นตามข้อ 2
5. วิธีนี้ผมทดสอบกับ 1.5 และ 1.9
ซึ่ง user กับ password ไม่ผูกโยงกัน
Password#2555 = 54f24d3ceb6c4c264cd93d8aee2b2d3e
p = 83878c91171338902e0fe0fb97a8c47a

ผมใช้ระบบใน http://www.thaiabc.com

คำสั่ง pwd

pwd
pwd

คำสั่ง pwd ย่อมาจากคำว่า print working directory คือ คำสั่งแสดงชื่อไดเรกทรอรี่ปัจจุบัน ว่ากำลังทำงานอยู่ที่ไดเรกทรอรี่ใด เป็นคำสั่งที่มีใน shell พื้นฐาน จึงมีทั้งใน sh (Bourne shell 1977) และ bash (Basic Shell 1989)     ..
pwd – print name of current/working directory
Print the full filename of the current working directory.

การแสดงชื่อไดเรกทรอรี่ปัจจุบัน มีความจำเป็นอย่างมาก ถ้าต้องเปิดพร้อมกันหลาย terminal เพราะคำสั่งที่จะเรียกใช้ได้ต้องอยู่ใน working directory จึงต้องมั่นใจว่าอยู่ในห้องที่ถูกต้อง เช่นห้อง /var/log /etc /home /bin ล้วนมีแฟ้มที่ต้องให้ดำเนินการแตกต่างกันไป
นอกจากวิธีนี้แล้ว ยังสามารถใช้คำสั่ง $export PS1=.. เพื่อเปลี่ยน prompt string ของ shell เพื่อแสดง working directory หรือข้อมูลอื่นได้โดยสะดวก

ปิดวงจร ล่าจารชน closed circuit

ปิดวงจร ล่าจารชน #closed #circuit

เป็นเรื่องราวของอำนาจที่มีอยู่ในหน่วยสืบราชการลับ
กับสายลับที่ทำผิดพลาดไป แต่ key ของเรื่อง
อยู่ที่ [แฮ ก เกอ ร์ ผู้รู้ความจริง] ว่าทั้งหมดคืออะไร
ทนายจะเก่งแค่ไหน แต่ก็แพ้อำนาจอยู่ดี
สุดท้าย วงจรก็ถูกปิด เพราะคดีที่ผู้ร้ายตายในคุก
ก็ไม่ต้องสืบสวนในชั้นศาลอีกต่อไป
.. เขียนสั้น ๆ .. ถ้าอยากรู้ต้องไปดูเองครับ
.. เกรงว่าจะมีคนบอกว่า สปอย #spoil

หนังเข้าฉายเครือเมเจอร์  ฉาย 5 ก.ย.56

http://www.majorcineplex.com/movie/closed-circuit/

ผิดมหันต์ หากเข้าเมืองตาหลิ่ว แล้วไม่หลิ่วตาตาม

ทรมานคนเด็ก
ทรมานคนเด็ก

หลักการ .. เยาวชนต้องมาก่อน
แต่เขาว่า ทรมานคนแก่


กาลครั้งหนึ่ง .. มีหมู่บ้านคนดีรักเด็กแห่งหนึ่ง
การพัฒนาหมู่บ้าน เน้นพัฒนาที่เยาวชน
พวกเขารักเด็กให้เกียรติเยาวชนเป็นที่สุด
เด็กอยากเรียนก็ได้เรียน อยากเล่นก็ได้เล่น
อยากอยู่บ้านเฉย ๆ ช่วยดูแลบ้านก็ได้อยู่
เพราะ เยาวชนคืออนาคตของชาติ
กฎของหมู่บ้านคือไม่เอาเปรียบเด็ก
หากมีใครเอาเปรียบเด็ก ไม่ว่าทางใดก็ตาม
จะถูกขับไล่ออกจากหมู่บ้าน ไม่ฟังคำโต้แย้ง
และไม่มีคำว่าให้อภัยสำหรับการกระทำนั้น

และแล้ว
วันหนึ่ง มีตา หลาน จูงลาผ่านหมู่บ้าน
โดยตานั่งบนลา
แล้วให้หลานจูงนำทาง
เพียงก้าวแรกที่เหยียบเข้าหมู่บ้าน
ก็ถูกชาวบ้านรุมประนาม ว่าสิ้นคิดอย่างมหันต์
ก่อนจะไปถึงครึ่งหมู่บ้าน
ผู้ใหญ่บ้านก็พาคนออกมาขวาง พูดสุภาพว่าห้ามผ่าน
บอกว่า ตาจะผ่านหมู่บ้านนี้ไปไม่ได้นะจ๊ะ
เพราะเป็นกฎ เป็นเกณฑ์ ที่ยึดถือมานับร้อยปี
การกระทำแบบนี้จะต้องไม่เกิดขึ้นในหมู่บ้านนี้
จงกลับไปทางเดิม และห้ามผ่านหมู่บ้านนี้อีก
เพราะหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านคนดีรักเด็ก
จะเอาเปรียบเด็ก ให้เด็กจูงลา
แล้วมีตานั่งสบายบนหลังลาไม่ได้เป็นอันขาด

สรุปว่า .. สองตาหลานเข้าใจ รีบเดินกลับทันที
และตกลงกันว่า
ถ้าผ่านหมู่บ้านต่อไป ตาจะไม่เอาเปรียบหลานอีก
เพราะชีวิตต้องดำเนินต่อไป
เข้าเมืองตาหลิ่ว ให้หลิ่วตาตาม .. เสมอ
http://www.dek-d.com/board/view/1397577/
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=585743691439766&set=a.506822259331910.127514.506818005999002

ภัยจากเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Disaster)

ขั้นตอนการปฏิบัติการตามวัฏจักรของสาธารณภัย
ขั้นตอนการปฏิบัติการตามวัฏจักรของสาธารณภัย

วัฏจักรของสาธารณภัย
1. เกิดสาธารณภัย
2. การตอบโต้และบรรเทาทุกข์
3. การฟื้นฟูบูรณะและก่อสร้างใหม่
4. การป้องกันและลดผลกระทบ
5. การเตรียมความพร้อมรับภัย

เล่าสู่กันฟัง
ว่าพบนิยามของ คำว่า ภัยจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
(Information Technology Disaster)
ในบทที่ 24 หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยอาจเกิดความเสียหายขึ้นกับระบบ Hardware, Software, Network, Peopleware
แฟ้มข้อมูล และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ถูกทำลาย ทำให้เกิดความเสียหาย
และเป็นสาธารณภัยที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้เกิดผลกระทบ
และความเดือดร้อนต่อการดำรงชีวิตของประชาชน

+ http://61.19.100.58/cpn/anewweb/Policy/Draft%20Cpn_DPM_Plan53-57.pdf

+ https://www.facebook.com/groups/thaiebook/281685345315624/

คำสั่ง ls เพื่อแสดงรายชื่อแฟ้มในห้องเก็บแฟ้ม

ls - list directory contents
ls - list directory contents

คำสั่ง ls ย่อมาจากคำว่า List คือ คำสั่งสำหรับแสดงรายชื่อแฟ้ม ขนาดแฟ้ม และข้อมูลเบื้องต้นของแต่ละแฟ้มที่จัดเก็บในห้องเก็บข้อมูล (Directory หรือ Folder)

ls – list directory contents
List information about the FILEs (the current directory by default).

การแสดงรายชื่อแฟ้ม ทางจอภาพ หรือ console เป็นความสามารถปกติของคำสั่งนี้ แต่ความสามารถหนึ่งที่ผมมักใช้เสมอ คือ การแสดงรายชื่อแฟ้มไปสร้างแฟ้มใหม่ เพื่อใช้ทดสอบเกี่ยวกับการจัดการแฟ้ม โดยสร้างแฟ้มขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เช่น คำสั่ง ls > a เพื่อให้ได้แฟ้มชื่อ a อย่างรวดเร็ว ถ้าต้องการเพิ่มขนาดหรือข้อมูลในแฟ้ม ก็จะใช้ ls >>a เพื่อเพิ่มต่อท้ายแฟ้มเดิม ซึ่งเป็นความรู้จากระบบ DOS ที่เคยใช้ประจำ

การแสดงขนาดของแฟ้ม ด้วยคำสั่ง ls -l ซึ่งเป็นขนาดข้อมูลที่อยู่ในแฟ้ม เช่น แฟ้มที่มีตัวอักษร 3 ตัวก็จะใช้ 3 bytes แต่ระบบปฏิบัติการส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้พื้นที่ในดิสก์ (disk) เพียง 3 bytes แต่ใช้เท่าขนาดกล่อง (block) ซึ่งอุปกรณ์แต่ละประเภทจะมีขนาดกล่อง (block) ไม่เท่ากัน

การใช้พื้นที่ในดิสก์ สามารถใช้คำสั่ง ls -s ซึ่งแฟ้มจะใช้พื้นที่ในดิสก์เริ่มที่จำนวน 8 sectors แม้แฟ้มเหล่านั้นจะมีขนาดเล็กกว่า แต่เป็นไปตามข้อกำหนดของระบบแฟ้มในแต่ละอุปกรณ์ บางอุปกรณ์ที่มี IO Block = 4096 bytes แต่บางอุปกรณ์อาจเป็น 2048 bytes หรือ 4 sectors สามารถใช้คำสั่ง $blockdev –getbsz /dev/sda หรือ $stat [file-name] ตรวจดูขนาดของ IO Block ได้ ซึ่ง 8 sectors = 8 * 512 bytes = 4096 bytes โดยแฟ้มที่มีขนาดไม่ถึง 4096 จะใช้พื้นที่ในดิสก์เป็น 4096 bytes หรือ 8 sectors ถ้าขนาดของแฟ้มเป็น 4100 bytes จะใช้พื้นที่ในดิสก์เป็น 16 sectors หรือ 8192 bytes หากต้องการทราบว่าระบบแฟ้มในเครื่องแบ่งระบบแฟ้มไว้อย่างไรให้ใช้คำสั่ง $df -a และ $df -i แล้วสามารถใช้คำสั่งแสดงจำนวน block หรือพื้นที่เก็บข้อมูลของแต่ละ device

http://www.thaiall.com/isinthai/linux_ls.php

เช่น $blockdev –getsz /dev/sda
208,782 sectors = 1 disk = 106,896,384 KB = 101.9 MB
71,132,000 sectors = 1 disk = 36,419,584,000 KB = 34,732.4 MB

ต.ย. ตัวเลือก (options)
-a, –all = show hidden and unhidden
-l = use a long listing format
-s, –size = print size of each file, in blocks
-S = sort by file size (not show size)

ตัวอย่างการใช้ social media ในการทำงาน

การใช้ social media ตามหน้าที่ครู
การใช้ social media ตามหน้าที่ครู

ได้รับมอบหมายให้เล่าถึงการใช้ประโยชน์
จากเครือข่ายสังคม (Social Media)
ให้นักศึกษาฟังว่าจะใช้ประโยชน์ FB ในการทำงานอย่างไร
ตัวอย่างแรก ..
1. ไปอ่านข่าวนักศึกษาได้รางวัลพระราชทาน ใน blog ของมหาวิทยาลัย
http://blog.nation.ac.th/?p=2892
2. นำเรื่องไปแชร์ใน fb profile ของตัวเอง
3. นำเรื่องไปแชร์ใน fb group นักศึกษาก็จะได้เห็น
4. นำเรื่องไปแชร์ใน fb page เหล่าแฟนเพจก็จะได้ทราบข่าว
5. ไปค้นต่อ .. พบคลิ๊ปวีดีโอ 5 คลิ๊ป
แล้วนำไปเขียน blog ในอีกเว็บไซต์หนึ่ง แต่เล่าเชิงวิชาชีพ
http://www.thaiall.com/blog/burin/5752/
6. นำไปเล่าต่อใน blog แบบรวบ clip เชิงข่าวประชาสัมพันธ์
http://www.thaiall.com/blogacla/burin/3659/

ทั้งหมดนี้สอดรับกับจรรยาบรรณครู พ.ศ.2539
ข้อ 2 ว่า
“ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัย ที่ถูกต้องดีงาม
ให้เกิดแก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ”
http://www.thaiall.com/learn/toremember.htm

ทดสอบเจาะโปร่งคลิ๊ปด้วย AVS

avs transparent or chromakey
avs transparent or chromakey

ปกติเลือกใช้ #proshow จัดการคลิ๊ป
เพราะหลายปีก่อน กศน. เคยแนะนำ จึงใช้เรื่อยมา
และมีรุ่น #portable ที่ run ได้เลย
ต่อมาเพื่อนเปรมบอกว่า #AVS ใช้ง่าย
และได้แนะนำ น.ศ. หลายคน
และแล้ววันนี้ได้ลองดูก็ง่ายจริง
รุ่นที่ทดสอบคือ 6.0.1.182
แต่พบปัญหา #TextTypes
จึงหารุ่น 6.2.1.222 มาทดสอบ
พบว่ารุ่นนี้ใช้งานได้ โดยเฉพาะตัวเลือกเจาะโปร่งภาพ jpg
ด้วย #Chromakey #transparent
มี option น้อยกว่า ใน proshow มาก
ลากเส้นให้ปลาเคลื่อนไหวก็ง่าย #trajectory
ส่วนปลาตัวนี้เป็น png ซึ่งโปร่งอยู่แล้ว

จุดที่น่าสนใจคือใช้ง่าย
วางภาพซ้อนกันหลายภาพ หลายเสียงก็ง่าย
ปล. โปรแกรมนี้ไม่มีระบบ slide ให้เลือกครับ

เตรียมบทเรียนสอนนักศึกษาเรียนรู้การใช้งาน linux

linux server
linux server

การสอนนักศึกษาเข้าใช้ linux ผ่าน secure shell
เตรียมการ โดยผมเข้าในฐานะ root
1.1 สร้าง user name ของแต่ละคนผ่าน #useradd
1.2 เปลี่ยนรหัสผ่านให้กับแต่ละคน หลังสร้าง user name แล้ว
1.3 สร้าง folder ในห้อง html ตาม user name
1.4 กำหนด owner ให้แต่ละ folder ตาม user name
1.5 chmod เป็น 777 จะได้เข้าถึงผ่าน url ได้

การใช้งาน โดยนักศึกษาเข้าใช้ในฐานะ user
2.1 ให้นักศึกษา download putty และ filezilla
2.2 ให้เข้า linux ผ่าน putty และเรียนรู้การเข้าไปใช้งานระบบ
มีบทเรียนคำสั่งที่ http://www.thaiall.com/isinthai
2.3 สร้างแฟ้ม index.html ของตนเอง
มีแนวทางการเขียนเว็บเพจที่ http://www.thaiall.com/html
2.4 ส่งแฟ้ม index.html เข้า linux ผ่าน ftps
2.5 เรียก index.html ผ่าน url ของแต่ละคน

http://www.putty.org/ [putty.exe]
https://filezilla-project.org/download.php
http://downloads.sourceforge.net/project/filezilla/FileZilla_Client/3.7.3/FileZilla_3.7.3_win32-setup.exe