airplane_indonesia_malaysia
นั่งค้นข้อมูลว่าเครื่องบิน 2 ลำในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ตก
ในปี 2557 มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร เพราะเป็นไปได้ว่า
ข้อสอบเข้า ม.3 วิชาสังคม อาจหยิบเหตุการณ์ในข่าวมาออกข้อสอบ
ก็ต้องหาข่าวมาอ่านกันหน่อยว่าตกที่ไหน เพราะอะไร
ทั้งที่ปี 2557 มีตกถึง 15 ครั้ง แล้ว 2 ครั้งนี้สำคัญอย่างไร
http://www.thaiall.com/blog/burin/6685/
เหตุเครื่องบิน QZ8501 ของสายการบินแอร์ เอเชีย ทำให้หลายคนย้อนนึกถึงเหตุการณ์เครื่องบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส เที่ยวบินที่ MH 370 ซึ่งหายไปอย่างเป็นปริศนามาเป็นเวลานานถึง 10 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2557 ที่ผ่านมา และยังไม่พบร่องรอยจนถึงขณะนี้
จุดที่คล้ายกันระหว่างสองเหตุการณ์คือ เป็นเครื่องบินของสายการบินของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหายในลักษณะขาดการติดต่อ แต่ไมเคิล เพอร์สัน ผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็น เสนอมุมมองว่าเหตุการณ์และปฏิบัติการค้นหาของทั้ง 2 กรณีมีความแตกต่างกันด้วยเหตุผล 3 ประการคือ
—
หนึ่ง สมมุติฐานเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เครื่องขาดการติดต่อแตกต่างกัน ในกรณีของเอ็มเอช 370 มีข้อมูลชี้ว่า มีการปิดเครื่องส่งสัญญาณบนตัวเครื่องโดยไม่ทราบสาเหตุ ก่อนที่เครื่องจะบินออกนอกเส้นทางกระทันหัน ทำให้มีความกังวลว่าการหายไปอย่างเป็นปริศนาของเครื่องบินเอ็มเอช 370 อาจเกี่ยวข้องกับการจี้เครื่องบินหรือการก่อการร้าย
ส่วนกรณีของเครื่องบินแอร์เอเชีย เที่ยวบินคิวแซด 8501 แม้จะยังไม่มีข้อสรุปถึงสาเหตุที่เครื่องบินสัญญาณขาดหาย แต่นักวิเคราะห์ต่างพุ่งเป้าไปที่สภาพอากาศว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ก่อนขาดการติดต่อ กัปตันได้ส่งสัญญาณระดับการบินจากความสูง 32,000 ฟุต เป็น 38,000 ฟุต เหนือระดับน้ำทะเล เพื่อหลบหลีกมวลกลุ่มเมฆที่จับตัวหนา
—
เหตุผลประการที่2 คือ น่านน้ำที่ปฏิบัติการค้นหาเครื่องบินทั้ง 2 ลำ มีความแตกต่างกันในแง่ภูมิศาสตร์ซึ่งอาจส่งผลต่อความยากง่าย และระยะเวลาในการค้นหา โดยกรณีเอ็มเอช 370 ซึ่งทางการมาเลเซียประกาศว่าตกลงไปในมหาสมุทรอินเดีย นอกชายฝั่งเมืองเพิร์ธของออสเตรเลีย การค้นหาเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากมหาสมุทรอินเดียมีความลึกมากกว่า 6 พันเมตร ทั้งยังไม่เคยมีการทำแผนที่อธิบายลักษณะของพื้นใต้ทะเลเอาไว้ ประกอบกับพื้นที่ค้นหานั้นห่างไกลจากจุดสุดท้ายที่ติดต่อเครื่องบินเอ็มเอช 370 ได้ ทำให้เป็นปัจจัยสำคัญที่การค้นหาต้องใช้เวลานาน ขณะที่ปฏิบัติการค้นหาเครื่องบินคิวแซด8501 ในทะเลชวาอาจง่ายกว่าตรงที่ทะเลชวาตื้นกว่ามหาสมุทรอินเดีย โดยมีความลึกประมาณ 46 เมตร ทั้งยังเป็นเส้นทางเดินเรือพาณิชย์ ซึ่งอาจทำให้ปฏิบัติการค้นหาเครื่องบินคิวแซด 8501 กินเวลาน้อยกว่าเครื่องบินเอ็มเอช 370
—
ขณะที่ข้อแตกต่างประการที่สาม ระหว่าง 2 เหตุการณ์ นั่นคือปฏิกิริยาตอบสนองของทั้ง 2 สายการบินและรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศ ต่อครอบครัวผู้โดยสารและลูกเรือที่แตกต่างกัน โดยภายหลังจากที่เครื่องบินเอ็มเอช 370 ขาดการติดต่อไป ข้อมูลทั้งจากสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์สและรัฐบาลมาเลเซียมีความสับสนไม่ชัดเจน ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้ครอบครัวผู้สูญหายเป็นอย่างมาก
แต่เหตุการณ์คิวแซด 8501 นั้นแตกต่างอย่างสิ้นเชิง โดยทันทีที่ทราบว่าเครื่องบินขาดการติดต่อ นายโทนี่ เฟอร์นันเดส ผู้บริการสายการบินแอร์ เอเชีย ไม่รีรอที่จะทวีตข้อความสื่อสารว่าสิ่งสำคัญที่สุด คือ ความรู้สึกของครอบครัวผู้โดยสารและลูกเรือในช่วงเวลาเลวร้ายนี้ โดยสายการบินจะทำทุกวิถีทางในการให้ข้อมูลที่ชัดเจนและโปร่งใสต่อครอบครัวผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 162 คน
—
นอกจากนี้ นายเฟอร์นันเดสได้เดินทางไปยังเมืองสุราบายาทันทีในคืนวันเกิดเหตุพร้อมเจ้าหน้าที่อินโดนีเซีย แอร์เอเชีย และเข้าพบกับครอบครัวผู้ประสบเหตุเพื่อพูดคุยเป็นการส่วนตัวในวันรุ่งขึ้น ซึ่งวิธีการตอบสนองต่อเหตุการณ์และการให้ข้อมูลของนายเฟอร์นันเดซ ก็ได้รับเสียงชื่นชมจากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการวิกฤตว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุดต่อสถานการณ์เช่นนี้
ขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการบินต่างเชื่อว่า อินโดนีเซียมีศักยภาพสูงในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยอุบัติเหตุเรือล่มและเครื่องบินตกจากประสบการณ์หลายครั้ง รวมทั้งสภาพภูมิประเทศที่เป็นหมู่เกาะกว่า 18,000 แห่ง ก็น่าจะทำให้การรับมือกับวิกฤตครั้งนี้มีความคล่องตัวกว่า
แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การค้นหาเครื่องบินคิวแซด 8501 เป็นไปอย่างลำบาก น่าจะเป็นเรื่องสภาพอากาศที่เลวร้ายบริเวณพื้นที่ค้นหา เนื่องจากมรสุมประจำปีเหตุเครื่องบินQZ8501 ของสายการบินแอร์ เอเชีย ทำให้หลายคนย้อนนึกถึงเหตุการณ์เครื่องบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส เที่ยวบินที่MH 370 ซึ่งหายไปอย่างเป็นปริศนามาเป็นเวลานานถึง 10 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา และยังไม่พบร่องรอยจนถึงขณะนี้
จุดที่คล้ายกันระหว่างสองเหตุการณ์คือ เป็นเครื่องบินของสายการบินของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหายในลักษณะขาดการติดต่อ แต่ไมเคิล เพอร์สัน ผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็น เสนอมุมมองว่าเหตุการณ์และปฏิบัติการค้นหาของทั้ง 2 กรณีมีความแตกต่างกันด้วยเหตุผล 3 ประการคือ
หนึ่ง สมมุติฐานเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เครื่องขาดการติดต่อแตกต่างกัน ในกรณีของเอ็มเอช 370 มีข้อมูลชี้ว่า มีการปิดเครื่องส่งสัญญาณบนตัวเครื่องโดยไม่ทราบสาเหตุ ก่อนที่เครื่องจะบินออกนอกเส้นทางกระทันหัน ทำให้มีความกังวลว่าการหายไปอย่างเป็นปริศนาของเครื่องบินเอ็มเอช 370 อาจเกี่ยวข้องกับการจี้เครื่องบินหรือการก่อการร้าย
ส่วนกรณีของเครื่องบินแอร์เอเชีย เที่ยวบินคิวแซด 8501 แม้จะยังไม่มีข้อสรุปถึงสาเหตุที่เครื่องบินสัญญาณขาดหาย แต่นักวิเคราะห์ต่างพุ่งเป้าไปที่สภาพอากาศว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ก่อนขาดการติดต่อ กัปตันได้ส่งสัญญาณระดับการบินจากความสูง 32,000 ฟุต เป็น 38,000 ฟุต เหนือระดับน้ำทะเล เพื่อหลบหลีกมวลกลุ่มเมฆที่จับตัวหนา
เหตุผลประการที่2 คือ น่านน้ำที่ปฏิบัติการค้นหาเครื่องบินทั้ง 2 ลำ มีความแตกต่างกันในแง่ภูมิศาสตร์ซึ่งอาจส่งผลต่อความยากง่าย และระยะเวลาในการค้นหา โดยกรณีเอ็มเอช 370 ซึ่งทางการมาเลเซียประกาศว่าตกลงไปในมหาสมุทรอินเดีย นอกชายฝั่งเมืองเพิร์ธของออสเตรเลีย การค้นหาเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากมหาสมุทรอินเดียมีความลึกมากกว่า 6 พันเมตร ทั้งยังไม่เคยมีการทำแผนที่อธิบายลักษณะของพื้นใต้ทะเลเอาไว้ ประกอบกับพื้นที่ค้นหานั้นห่างไกลจากจุดสุดท้ายที่ติดต่อเครื่องบินเอ็มเอช 370 ได้ ทำให้เป็นปัจจัยสำคัญที่การค้นหาต้องใช้เวลานาน ขณะที่ปฏิบัติการค้นหาเครื่องบินคิวแซด8501 ในทะเลชวาอาจง่ายกว่าตรงที่ทะเลชวาตื้นกว่ามหาสมุทรอินเดีย โดยมีความลึกประมาณ 46 เมตร ทั้งยังเป็นเส้นทางเดินเรือพาณิชย์ ซึ่งอาจทำให้ปฏิบัติการค้นหาเครื่องบินคิวแซด 8501 กินเวลาน้อยกว่าเครื่องบินเอ็มเอช 370
ขณะที่ข้อแตกต่างประการที่สามระหว่าง 2 เหตุการณ์ นั่นคือปฏิกิริยาตอบสนองของทั้ง 2 สายการบินและรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศต่อครอบครัวผู้โดยสารและลูกเรือที่แตกต่างกัน โดยภายหลังจากที่เครื่องบินเอ็มเอช 370 ขาดการติดต่อไป ข้อมูลทั้งจากสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์สและรัฐบาลมาเลเซียมีความสับสนไม่ชัดเจน ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้ครอบครัวผู้สูญหายเป็นอย่างมาก
แต่เหตุการณ์คิวแซด 8501 นั้นแตกต่างอย่างสิ้นเชิง โดยทันทีที่ทราบว่าเครื่องบินขาดการติดต่อ นายโทนี่ เฟอร์นันเดส ผู้บริการสายการบินแอร์ เอเชีย ไม่รีรอที่จะทวีตข้อความสื่อสารว่าสิ่งสำคัญที่สุด คือ ความรู้สึกของครอบครัวผู้โดยสารและลูกเรือในช่วงเวลาเลวร้ายนี้ โดยสายการบินจะทำทุกวิถีทางในการให้ข้อมูลที่ชัดเจนและโปร่งใสต่อครอบครัวผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 162 คน
นอกจากนี้ นายเฟอร์นันเดสได้เดินทางไปยังเมืองสุราบายาทันทีในคืนวันเกิดเหตุพร้อมเจ้าหน้าที่อินโดนีเซีย แอร์เอเชีย และเข้าพบกับครอบครัวผู้ประสบเหตุเพื่อพูดคุยเป็นการส่วนตัวในวันรุ่งขึ้น ซึ่งวิธีการตอบสนองต่อเหตุการณ์และการให้ข้อมูลของนายเฟอร์นันเดซ ก็ได้รับเสียงชื่นชมจากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการวิกฤตว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุดต่อสถานการณ์เช่นนี้
ขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการบินต่างเชื่อว่า อินโดนีเซียมีศักยภาพสูงในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยอุบัติเหตุเรือล่มและเครื่องบินตกจากประสบการณ์หลายครั้ง รวมทั้งสภาพภูมิประเทศที่เป็นหมู่เกาะกว่า 18,000 แห่ง ก็น่าจะทำให้การรับมือกับวิกฤตครั้งนี้มีความคล่องตัวกว่า
แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การค้นหาเครื่องบินคิวแซด 8501 เป็นไปอย่างลำบาก น่าจะเป็นเรื่องสภาพอากาศที่เลวร้ายบริเวณพื้นที่ค้นหา เนื่องจากมรสุมประจำปี
http://news.sanook.com/1722913/
http://www.thairath.co.th/clip/10505