เรื่องนี้เป็น 1 ใน 3 ของ structured programming

เรื่องนี้เป็น 1 ใน 3 ของ structured programming

ความรุนแรง (violent)
ความรุนแรง (violent)

ในชีวิตจริง
มีคำว่า if .. then .. ให้เห็นอยู่เสมอตามข่าว
เช่น ระเบิดที่ ถ.บรรทัดทอง
เพราะการระเบิดที่ทำให้ผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บ
จะมีผลให้สถานการณ์เปลี่ยนไป

เขียนเป็น pseudocode ได้ว่า
ถ้า มีความรุนแรง และมีผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บ
แล้ว รัฐบาลต้องรับผิดชอบ หรือเปลี่ยนผู้บริหารประเทศ
หรือ
if $violent == true then
change(“yes”)
else
change(“no”)


http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9570000006295

คนกินเจ กับคนเขียงหมู

หยิน หยาง ในดำมีขาว และในขาวก็มีดำ
หยิน หยาง ในดำมีขาว และในขาวก็มีดำ

ศุกร์ที่ 27 ธ.ค.56 ได้ฟัง senior
เล่าเรื่องความขัดแย้ง 2 เรื่อง ที่ดูเหมือนหวังว่าจะพูดคุยกันได้
ซึ่งเป็น case study เกี่ยวกับ ความเชื่อที่แตกต่างกัน
แล้วทำให้นึกถึงการอุปมาอุปมัยระหว่าง “คนกินเจ กับคนเขียงหมู
เพราะคนกินเจมีคำสำคัญคือ “เมตตา” แต่คนเขียงหมูมีคำว่า “อยู่รอด
.. ผมเชื่อว่าคน 2 กลุ่มนี้เถียงกันไม่จบสิ้น .. ไปถึงวันสิ้นโลก

อีกตัวอย่างของความเชื่อของ 4 คนที่ไม่มีวันลงรอยกัน
เมื่อต้องทานอาหารหม้อเดียวกัน
คือ คนไม่กินหมู คนไม่กินไก่ คนไม่กินผัก และคนกินเจ
แต่คนโลกสวยก็บอกว่าให้บูรณาการ

อุปมาอุปไมย คือ ประโยคเปรียบเทียบ 2 เรื่อง
อุปมา หมายถึง สิ่งที่ต้องการนำไปเปรียบเทียบ
อุปไมย หมายถึง สิ่งที่ต้องการถูกเปรียบเทียบ
เช่น “ความขัดแย้งระหว่างคนกินเจและคนเขียงหมู กับพรรคการเมืองสองขั้ว
หรือ “ดีเหมือนพระ” หรือ “ขาวเหมือนนุ่น

ดร.นิรันดร์ และนิก ณ แม่น้ำลูอิส

ดร.นิรันดร์ และนิก ณ แม่น้ำลูอิส

salmon ที่แม่น้ำลูอิส
salmon ที่แม่น้ำลูอิส

ดร.นิรันดร์ และนิก เอกพร จิวะสันติการ
ไปตกปลากับเพื่อน ๆ เมื่อ 12 ตุลาคม 2556
ณ แม่น้ำลูอิส รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
ได้ปลาแซลมอนตัวใหญ่มาหลายตัว ส่งเข้าโรงงานกระป๋อง
เก็บไว้ทานได้นานวัน

ด้านหลังของกระป๋องปลาแซลมอน
ด้านหลังของกระป๋องปลาแซลมอน

http://www.youtube.com/user/nirundjiva

หนังสือที่ระลึกงานทำบุญครบ 100 วัน

หนังสือที่ระลึกงานทำบุญครบ 100 วัน
หนังสือที่ระลึกงานทำบุญครบ 100 วัน

ผมเสียพี่ชายคนหนึ่งไป มักเรียกท่านว่าพี่โอ
เป็นโรคปัจจุบันทันด่วน ปวดท้อง ไปเสียที่โรงพยาบาล
เสียเมื่อ 1 ก.ย.56 อายุ 45 ปี
แล้ววันที่ 7 ธ.ค.56 ทำบุญ 100 วัน
ป้าวรรณ แจกหนังสือผู้ร่วมงานบุญ ผมก็ได้รับหนังสือที่ระลึกมาด้วย
อ่านแล้วรู้สึกว่าให้คติเตือนใจที่ดีมาก ๆ
แปลจากบางส่วนของหนังสือ ชีวิตหลังความตาย (Live After Death)
เขียนโดย นพ.ดีปัก โชปรา หรือดีพัค โชปรา (Deepak Chopra)
แปลโดย พวงแสด และแบงค์
เป็นเรื่องราวของหนุ่มรูปงาม สัตยาวรรณ กับภรรยาแสนสวยชื่อ สาวิตรี
โดยมีพญายม กับ รามา ในฐานะองค์ศักดิ์สิทธิ์
.. ได้คติว่า ทุกคนต้องตาย และเกิด และตาย
ที่เรารู้ว่ามีอยู่ คือ ตอนมีชีวิต
แล้วตอนเราไม่มีชีวิต เราก็ไม่รู้
แต่ไม่ได้หมายความว่า การไม่มี จะหมายถึงไม่มี
เสมือนน้ำใสสะท้อนแสงจันทร์
ถ้าใจขุ่นก็ไม่เห็นเงา แต่จันทร์ก็ไม่ได้หายไปไหน
.. และอีกมากมาย
http://www.youtube.com/watch?v=T_rdYiLAz38

โคมยี่เป็ง กับสามคำ “ไม่เลิก ไม่รอ ไม่รับ”

27 พ.ย.56 หลังเทศกาลปล่อยโคมช่วงงานลอยกระทง หรือล่องสะเปา
ตามประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อของชาวล้านนา
ก็มีประเด็นเรื่องการปล่อยโคมในภาพยนตร์
ซึ่งชาวล้านนาไม่สบายใจนัก ที่เห็นการปล่อยโคมแบบพิศดาล
ที่คาดไม่ถึงในเรื่อง “โอ้! มายโกส ต์คุณผีช่วย”

โคมยี่เป็งกับ 4 คูหา
โคมยี่เป็งกับ 4 คูหา

สำนักข่าวนอร์ทพับบลิคนิวส์
14 พ.ย.2556 รองปลัดเทศบาลนครเชียงใหม่ กล่าวด้วยว่า ประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ ปี 2556
กำหนดแนวคิดว่า แอ่วยี่เป็งเจียงใหม่ ปลอดประทัดยักษ์ ไร้แอลกอฮอล์
นอกจากนี้ ยังรณรงค์ให้งดปล่อยโคม ทั้งโคมควันและโคมไฟ
หรือหากต้องการปล่อย ต้องใช้โคมที่ได้มาตรฐานและปล่อยตามเวลา
ที่ไม่กระทบต่อระบบการบินและอากาศยาน
คือ หลังเวลา 21.00น. เป็นต้นไป
http://www.northpublicnews.com/?p=3854

ลดปล่อยโคม
ลดปล่อยโคม

โคมลอย ลอยทำไม ลอยเพื่อใคร
ที่มาของการจุด “โคมลอย” หรือที่คนล้านนาโบราณเรียกว่า “ว่าวไฟ” “ว่าวควัน” หรือ “ว่าวลม” (ว่าวฮม) นั้น
จุดประสงค์ดั้งเดิมที่แท้จริงหาใช่เพื่อความรื่นเริงบันเทิงไม่
หากแต่จุดเพื่อเป็นพุทธบูชาถวายแด่พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่ประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ตามพุทธประวัติกล่าวว่าภายหลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงปลงพระเกศาด้วยพระขรรค์เพื่อดำรงสมณเพศ ณ ริมฝั่งอโนมานทีนั้น
พระอินทร์ได้นำพระเกศธาตุหรือมวยผมของพระองค์ก่อนจะบรรลุธรรมมาเก็บรักษาไว้ให้ห่างไกลจากมนุษยโลก
เนื่องจากเป็นของสูงของศักดิ์สิทธิ์ บรรจุไว้ในพระเจดีย์องค์หนึ่งมีชื่อว่า “จุฬามณี” หรือ “จุฑาศรี”
และเชื่อว่าเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว พระบรมสารีริกธาตุทั้งหมดจะมารวมตัวกันอยู่ในพระเจดีย์จุฬามณีเป็นหนึ่งเดียว

โคมลอยฟ้านั้น ชาวสยามในราชสำนักเริ่มรู้จักมาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๑๖
เพราะเป็นคำที่ปรากฏอยู่ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ (หมายเหตุไม่ได้พิมพ์ผิด หนังสือเล่มนี้ใช้ “ศรับท์” แทน “ศัพท์”) หรือนิยมเรียกกันง่าย ๆ ว่า พจนานุกรมภาษาสยาม ที่ ดร.แดน บีช แบรดเลย์ จัดพิมพ์ขึ้น
(Dictionary of the Siamese Language by Dr.Dan Beach Bradley
, Bangkok 1873) โดย “หมอบรัดเล” เรียกโคมลอยว่า Balloon
และอธิบายว่า โคมลอย คือ ประทีปเครื่องสำหรับจุดไฟในนั้นให้สว่าง แล้วควันไฟก็กลุ้มอบอยู่ในนั้น ภาโคมให้ลอยขึ้นไปได้บนอากาษ (หน้า ๑๐๕)

ความนิยมจุด “โคมลอย” ทุกวันนี้ มีกันจนเฝือ แทบจะทุกงานประเพณีบุญ แพร่ลามมาถึงทุกงานเลี้ยงขันโตก
มีอยู่ช่วงหนึ่ง กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือเวียนถึงผู้ว่าราชการแปดจังหวัดภาคเหนือตอนบน สั่งเตือนชาวให้ล้านนาเพลา ๆ
เรื่องการจุดโคมลอยให้น้อยลงหน่อย หรือหากงดจุดไปเลยได้ก็จะยิ่งดี
ข้ออ้าง คือ หาว่ามารบกวนวิถีการบินทำให้เครื่องบินเกิดอันตราย อันเป็นที่มาของการลุกฮือขึ้นประท้วงโดยชาวล้านนา
พร้อมกับคำถามแทงใจดำที่ว่า “ระหว่างเครื่องบินกับประเพณีการจุดโคมลอยของชาวล้านนาที่มีมาหลายร้อยปีแล้ว
ใครที่ควรเป็นฝ่ายถอย หากจะห้ามไม่ให้พวกเราจุดโคมลอย ควรไปห้ามไม่ให้มีเที่ยวบินน่าจะง่ายกว่า”
เหตุการณ์ขัดแย้งนั้นค่อนข้างรุนแรงอยู่หลายปี นำมาซึ่งกฎระเบียบมากมายในช่วงเทศกาลสำคัญ ๆ
เช่น การกำหนดระยะเวลาการจุดโคมลอยว่าให้สามารถกระทำได้ในระหว่างช่วงเวลาใดและสถานที่ไหนบ้าง
เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ตรงกับช่วงที่เครื่องบินจะเหินฟ้าออกจากท่าอากาศยาน เป็นที่ทราบกันดีว่า
ช่วงหัวค่ำระหว่างหนึ่งทุ่มถึงสามทุ่มนั้นเป็นช่วงที่สายการบินชุกที่สุด แถมยังเป็นช่วงที่คนนิยมจุดโคมลอยมากที่สุดอีกเช่นกัน
แล้วใครควรเป็นฝ่ายถอย
วุ่นวายถึงคณะวิศวกรรมศาสตร์ของสถาบันการศึกษาหลายสำนัก ทั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และแม่โจ้
ต่างก็ใช้วิกฤติที่กำลังขัดแย้งอยู่นั้นให้เป็นโอกาส ด้วยการแข่งขันกันออกแบบโคมลอยชนิดที่เวิร์คที่สุด
อาทิ สามารถเผาไหม้ในตัวเองภายในระยะเวลาไม่เกินกี่นาที หรือเมื่อลอยไปปะทะกับเครื่องบินแล้ว
จะไม่รบกวนสมาธิของกัปตัน เป็นต้น

อย่างไรเสีย ชาวล้านนายังคงยืนกรานแน่นหนักว่า “ไม่เลิก ไม่รอ ไม่รับ”
(ไม่เลิกจุดโคมลอย ไม่รอเวลาว่ากี่ทุ่มถึงกี่ทุ่ม และไม่รับรูปแบบโคมประยุกต์ที่ทางการกำหนดให้จุดได้เท่านั้น)
http://goo.gl/F1uNDP
จาก note ของ https://www.facebook.com/pensupa.sukkatajaiinn/notes

เลือกหมาป่า หรือสิงโต .. ดีนะ

เลือกหมาป่า หรือสิงโต .. ดีนะ

เลือกหมาป่า หรือสิงโต
เลือกหมาป่า หรือสิงโต

https://www.facebook.com/drsikares
ตอนที่ 1
หลายปีก่อน .. ผลการเลือกตั้งผ่านไปด้วยดี
สิงโตได้รับเลือก จากนั้นสิงโตก็ปกครองตามปกติ
เหล่าลูกแกะต่างก็มีความสุข
ในมุมหนึ่งของป่า มีลูกแกะส่วนหนึ่งไม่พอใจ
ที่เห็นสิงโต แอบกินลูกแกะเป็นอาหาร
ยอมรับไม่ได้ที่สิงโตไม่เป็นมัง .. จึงรวมตัว

ตอนที่ 2
ลูกแกะที่รวมตัวแถวหน้า .. ออกมาแสดงความไม่พอใจ
หมาป่าได้โอกาส นำเหล่าลูกแกะแถวหน้า และปลุกลูกแกะทั้งหมด
รวมตัว ล้มการปกครองของสิงโตที่ไม่เป็นมัง
ถ้าล้มสำเร็จ ก็จะมีการเลือกตั้งใหม่
หมาป่ารอโอกาสได้รับเลือกอีกครั้ง
(คงมีลูกแกะแถวหน้าสนใจตำแหน่งนี้)
ถ้าล้มได้ ก็จะรอความยุติธรรมครั้งใหม่ รอเลือกกันใหม่
.. ที่จะมาถึง ในวันพรุ่ง

ตอนที่ 3
แล้วลูกแกะแถวหน้า กับหมาป่า
.. ก็จะพอใจที่ล้มผลการเลือกตั้งครั้งเดิมนู้นได้
แล้วเริ่มต้นเลือกกันใหม่ .. อย่างยุติธรรม
แต่ผลของความยุติธรรมครั้งใหม่ที่จะมาถึง
.. คือ ลูกแกะส่วนใหญ่ยังคงเลือก (..) มาปกครองตน
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10152019366987272&set=a.423083752271.195205.350024507271

เรื่องขำ ๆ ของฝรั่ง #joke
พบภาพนี้ใน fb profile ของ ดร.สิขเรศ ศิรากานต์
ทำให้รู้สึกว่า ความยุติธรรมเกิดขึ้นได้
(ยุติธรรม คือ การกระทำที่ยุติ โดยไม่มีการคัดค้าน ยอมรับทุกฝ่าย)
เรื่องนี้ยุติได้ เพราะหมาป่า #fox กับสิงโต #lion
ยอมรับกติกาว่า จะปล่อยให้ลูกแกะเป็นฝ่ายเลือก #election
เพราะในภาพไม่มีลูกแกะตัวใดเป็นที่ยอมรับของลูกแกะทั้งฝูงได้
ถ้ามีลูกแกะตัวใด ขึ้นมาอยู่ข้างบน
.. ก็คงถูกหมาป่ากับสิงโตรับประทาน .. เป็นแน่
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=580005988715333&set=a.486450358070897.1073741825.230495236999745

เคยเปรียบเรื่องนี้ .. กับ
การล้ม ราชวงศ์ชิง ของ ดร.ซุนยัตเซ็น
ในภาพยนตร์ 1911
http://www.thaiall.com/blog/burin/5609/

อำนาจที่แสนหอมหวาน .. น่าแย่งชิง และเลือกข้าง

อำนาจที่แสนหอมหวาน .. น่าแย่งชิง และเลือกข้าง

พลังของการเจรจา ของศัลยแพทย์ negotiation
พลังของการเจรจา ของศัลยแพทย์ negotiation

ดูหนัง เป็นเรื่องของคนมีอำนาจ ชิงอำนาจกัน
พอชิงอำนาจมาได้ ก็หันมาชิงอำนาจกันเอง #goverment
เป็นบทเรียนเรื่องของอำนาจ ต้องเลือกข้างที่จะชนะเหมือนทหารชิง
1. ดอกเตอร์ซุน รวมสมัครพรรคพวก พยายามโค่นล้มราชวงศ์ชิง
2. พยายามแล้ว แต่สู้ไม่ได้ ต้องหาพวกเพิ่ม
3. ทหารชิง แปรพรรค สมคบกับดอกเตอร์ซุน #change
4. ในที่สุดก็ล้มราชวงศ์ชิงได้สำเร็จ จะตั้งเป็นสาธารณรัฐ #state
5. ในที่สุดก็มีดอกเตอร์เป็นประธานาธิบดีได้แป๊ปนึง #president
6. และแล้วทหารชิง ก็กลับมาหักหลักดอกเตอร์ซุน เพราะอยากใหญ่
7. ทหารชิงคนนั้น ตั้งตัวเป็นจักรพรรดิใหม่ แต่ก็ต้องจากโลกไปในเวลาอันสั้น #king
8. บ้านเมืองขาดผู้นำ ก๊กต่าง ๆ พร้อมใจรบกันเอง เพื่อชิงอำนาจอันหอมหวาน
9. ในที่สุดก็รวมชาติได้ ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์ถึงปัจจุบัน

รายละเอียดผมอาจคลาดเคลื่อน โปรดใช้วิจารณญาณและหาข้อมูลเพิ่มเติม

ปล.ผมชอบฉาก พูดคุยกับนายธนาคาร เป็นผลตัดกำลังราชวงค์ชิง ต้องยอดแพ้ในที่สุด
http://www.iseehistory.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538787083&Ntype=3

ข่าวเรียกร้องความยุติธรรม ว่า นิรโทษกรรม ไม่ยุติธรรม

มีเหตุการณ์มากมายเรียกร้อง ความยุติธรรม
จากเหตุการณ์ ปลายปี 2556 คงไม่มีเรื่องใดร้อนแรงไปกว่า
การชุมนุม “คัดค้าน นิรโทษกรรม
ที่ถูกหยิบยกมาพูดคุย รู้สึกไม่เห็นด้วยมากมาย ว่าไม่ยุติธรรม
สถาบันการศึกษาก็ออกมาแสดงจุดยืนกันถ้วนทั่ว

คัดค้าน นิรโทษกรรม
คัดค้าน นิรโทษกรรม

จาก ASTV (Against the amnesty bill)
จากกรณีเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมในวาระ 2 และ 3 ที่ผ่านไปอย่างรวดเร็ว จากนิรโทษกรรมกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองกลับกลายร่างขยายใหญ่เป็น พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับเหมาเข่งหรือ Set zero ที่ล้างความผิดให้แก่ทุกฝ่าย จนเกิดเป็นกระแสทวงถามถึงความยุติธรรม
ผิดคือผิด ถูกคือถูก…ไม่ว่าจะพิจารณาจากมุมมองไหนร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ก็ถูกมองว่า ไม่มีทางจะสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคม ผลกระทบจากการเสนอ พ.ร.บ.ครั้งนี้จึงกลายเป็นประเด็นร้อนแรงที่หลายฝั่งฝ่ายในสังคมที่เคยเห็นต่างกลับคิดเห็นไปในทางเดียวกัน และแสดงเจตนาเหมือนกันนั่นคือ “คัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

+ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=vinitsiri&month=04-11-2013&group=287&gblog=89

+ http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000137088

คดีปราสาทพระวิหาร ไทยเสียดินแดน

คดีปราสาทพระวิหาร ไทยเสียดินแดน
คดีปราสาทพระวิหาร ไทยเสียดินแดน

11 พ.ย.2556 เวลา 16.00น. ตามเวลาในประเทศไทย มีการอ่านคำพิพากษาการตีความคดีปราสาทพระวิหาร โดยศาลโลก ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที และโมเดิร์นไนน์ทีวี

ทั้งนี้ ในช่วงแรกผู้พิพากษาระบุถึงข้อพิพาทใน 3 แง่ อันเป็นเหตุผลให้ศาลต้องตีความคำพิพากษาในปี 2505 คือ
1.คำพิพากษาในปี 2505 (ค.ศ.1962) มีผลผูกพันถึงเขตแดนของสองประเทศหรือไม่
2.ความหมายหรือขอบเขตของบทปฏิบัติการในคำพิพากษาปี 2505 ที่ระบุให้ปราสาทเป็นของกัมพูชา
3.พันธะผูกพันในการถอนกำลังของฝ่ายไทย

http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000140416

ทั้งนี้เมื่อคำนึงถึงข้อพิพาทดังกล่าวแล้ว ศาลจึงเห็นว่ามีความจำเป็นต้องตีความบทปฏิบัติการ ศาลจึงมีเขตอำนาจในการพิจารณาคำพิพากษาปี 2505 ทั้งปฏิเสธการที่ประเทศไทยกล่าวอ้างว่าศาลไม่มีอำนาจในการตีความคำพิพากษาเพิ่มเติม

ต่อมา นายวีรชัย พลาศัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า จากคำพิพากษาดังกล่าว ถือว่าศาลมีอำนาจตีความคำพิพากษาปี 2505 อย่างไรก็ตาม จากคำพิพากษานี้ ไทยไม่ได้เสียพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร และไม่ได้เสียพื้นที่ภูมะเขือ แต่เสียพื้นที่เล็ก ๆ บริเวณรอบปราสาท ซึ่งจะต้องมีการวัดพิกัดกันต่อไป และไม่ได้มีการรับรองแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ตามภาคผนวก 1 นอกจากนี้ศาลได้แนะนำให้ทั้งสองฝ่ายดูแลพื้นที่ร่วมกัน

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000140517

การจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน

8 พ.ย.56 อ่านงานของ คุณปิยรัตน์ วงศ์จุมมะลิ

เป็นงานชุด CBMAG โครงการ ชื่อ การวิจัยสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนา:
กรณีการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนบ้านนาบอน

หมู่ที่ ๒ ตำบลทุ่งงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง (RDG50N0037)

อ่านแล้วต้องไปตอบคำถามที่ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ลำปาง
ที่ทิ้งโจทย์ไว้ให้ผม 9 ข้อ เป็นงานแรกที่รู้สึกว่าตอบได้ง่าย
คงเพราะคุณปิยรัตน์ วงศ์จุมมะลิ สรุปประเด็นไว้ได้ค่อนข้างดี
สะท้อนคำว่างานวิจัยเพื่อท้องถิ่นได้ชัดเจน

จึงลองมองออกมาเป็นวิธีวิทยา ดังนี้
1. ศึกษาปัญหา และกำหนดวัตถุประสงค์
2. สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง
3. วางแผน และทำความเข้าใจร่วม
4. การประชุมระดมความคิด
5. การให้ความรู้ความเข้าใจเพื่อการปฏิบัติ
6. ลงมือปฏิบัติ และพัฒนา
7. ประเมินผล
8. สรุปผล
9. เผยแพร่บทเรียน และขยายผล

การจัดการขยะบ้านนาบอน
การจัดการขยะบ้านนาบอน


https://www.facebook.com/download/1374270969485598/frame_of_reading.docx