ไดชาร์จเสีย ตายกลางสี่แยกแต่ผมรอด

อาการไดชาร์จของรถยนต์ไฟฟ้าเสีย
คือ ระบบควบคุมพวงมาลัยหยุดทำงาน
ไฟเตือนแจ้งสว่างหลายดวง เลี่ยวตามปกติไม่ได้ ไฟแบตเตอรี่ กับไฟเอบีเอสก็สว่าง ขณะมีอาการพารถเดินหน้า แต่เลี้ยวได้ยากมาก และพาไปรถไปจอดในจุดที่ปลอดภัยได้

เมื่อหยุดรถเข้าในที่ปลอดภัยแล้ว จะสตาร์ทในทันทีไม่ได้ เช็คน้ำและน้ำมันก็พบว่า อยู่ในระดับที่ไม่ขาด การสั่งสตาร์ทมีเสียงดังเหมือนไดชาร์จเสียในรถรุ่นเก่า กรณีของผมพักเครื่องสักครู่แล้วจะสตาร์ทติดขึ้นมาได้ (ซึ่งรถเก่าที่ผมเคยใช้จะสตาร์ทไม่ได้เลยหากมีอาการแบบนี้ ก็จะเป็นที่ไดสตาร์ท) หากโชคดีสตาร์ทติด แล้วขับต่อไปไม่เกิน 100 เมตร พบว่า มีอาการไฟพวงมาลัยติด ๆ ดับ ๆ คุมพวงมาลัยได้บ้าง ฝืดบ้าง อันตรายอย่างมาก

ไปถึงอู่ซ่อมรถในเช้าวันเสาร์ อู่เปิดเวลา  8.00น. นอนรอสักพัก ช่างก็ออกมาเปิดร้าน พอเล่าอาการปุ๊ป ช่างก็บอกว่าเป็นที่ไดชาร์จต้องหามาเปลี่ยน ตรงกับที่ค้นจากเน็ตมาเลย จึงฝากรถไว้ให้ช่างช่วยซ่อมให้หน่อย แล้วผมก็เดิกลับบ้าน ในใจคิดว่าเสียตังอีกล่ะ แต่โชคดีล่ะที่เสียในเวลา และสถานที่ที่สามารถจัดการรถได้ง่าย

– ของแท้ค้นจากเน็ต ทั้งลูก ราคา 11,500 บาท

– ของเชียงกงเชียงใหม่ (รับประกัน) อะไหล่บวกค่าแรง ราคา 2,800 บาท

ไดสตาร์ท หรือมอเตอร์สตาร์ท (Starter Motor) คือ ตัวเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล ซึ่งทำงานด้วยไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันต่ำ เชื่อมต่อแบตเตอรี่และสวิตช์กุญแจ มีหน้าที่ฉุดเครื่องยนต์ให้ทำงาน หรือมีหน้าที่สตาร์ทเครื่องยนต์ ดังนั้นเมื่อสตาร์ทติดก็จะหมดหน้าที่ของไดสตาร์ท

ส่วนไดชาร์จ หรือเครื่องปั่นไฟ หรืออัลเทอร์เนเตอร์ (Alternator) คือ อุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อไปเลี้ยงระบบในรถยนต์  จะส่งไฟฟ้าไปเก็บในแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง เพื่อใช้ในการสตาร์ทเครื่องยนต์ 

รถเสีย น่ะซ่อมได้
แต่คนเสีย บางทีก็ซ่อมไม่ได้
ป้องกันรถเสีย ด้วยการบำรุงรักษา
คนก็เช่นกัน อยู่ด้วยความไม่ประมาท

@thaiall

ทำให้นึกถึงเพื่อน
ที่เค้าซ่อมเก่งอยู่คนหนึ่ง
เราคุยกันเรื่อง
“น็อตใช้ถูกที่ถูกเวลาตัวละแสน”
เค้ามักมาเล่าประสบการณ์ในกลุ่มไลน์
เรื่องการซ่อมอยู่เสมอ

https://www.thaiall.com/blog/admin/10140/

บรรยากาศ ยามเช้า บนถนนในอำเถอ

ชวนฟัง อ.kirk เล่าประวัติ เคยอยู่วิทยาลัยโยนก ในงาน Some one หนึ่งในหลาย

For A.Kirk at YONOK College (Nation University)

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 มีโอกาสเข้า กลุ่มไลน์เพื่อนโยนก พบว่า เพื่อน ๆ พูดคุยแลกเปลี่ยนกันเสมอ มีเรื่องน่าสนใจมากมาย เช่น เพื่อนบิวแชร์คลิปเมื่อหกปีก่อน ที่ อ. Kirk R. Person,Ph D. พูดเรื่อง MLE ที่ประเทศอินเดีย ส่วนเพื่อนภูเบศร์ ชวนฟัง TEDTalk ของ อ. Kirk ที่พูดในงานประชุมวิชาการวิชาการ หรืองานเปิดตัวสารคดี พบคลิปที่แชร์ผ่านเฟซบุ๊กเป็นเวลาหลายชั่วโมงถ่ายทอด Live จากแฟนเพจ “สารคดี Some one หนึ่งในหลาย” ของ มหาวิทยาลัยมหิดล

MLE = Multilingual Education

ในตอนต้นรายการ ได้ฟัง อ.Kirk เล่าประวัติ ตั้งแต่วัยเด็ก เติบโต มาพบรักที่วิทยาลัยโยนก ไปทำงานบนดอย จนแต่งงาน มีลูกที่น่ารักหลายคน มีลูกสาวได้ร้องเพลงในงานกีฬาสีที่กรุงเทพ ท่านศึกษาเรื่องภาษา พบว่า ประเทศไทยมีมากกว่า 70 ภาษา และในโลกเรามีมากถึง 7151 ภาษา และมีมากถึง 193 ประเทศในสหประชาชาติ ย้ำให้เห็นว่าประเทศไทย หรือคนไทย เราไม่ได้มีเพียงชาติเดียวในโลก

สรุปได้ว่า เราเป็นเพียงหนึ่งในหลายเชื้อชาติ หลายภาษา แตกต่างตามเส้นเขตแดน วัฒนธรรม วิถีชีวิตของชุมชน และครอบครัว

Some one หนึ่งในหลาย

ท่านนำภาพหมู่ของนักศึกษาวิทยาลัยโยนก (มหาวิทยาลัยเนชั่น)
ขึ้นสไลด์ TEDTalk ซึ่งเป็นช่วงชีวิตอีกช่วงหนึ่งที่ท่านประทับใจ

ในช่วงหนึ่งของชีวิต ของ อ.Kirk ตอนที่ได้มาอยู่ประเทศไทยใหม่ ๆ นั้น ท่านได้ฉายภาพหมู่ของนักศึกษาโยนกปี 2 (ประมาณปี พ.ศ.2532) ที่หน้าอาคารเรียนรวมหลังแรก ของ วิทยาลัยโยนก (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยเนชั่น ปีพ.ศ.2554 และย้ายไปวิทยาเขตใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533) ที่วิทยาเขตศรีปงชัย ต.ชมพู ลำปาง ซึ่งในภาพนั้นมีผมและเพื่อน ๆ รุ่นหนึ่ง ที่เพื่อนบิวได้ capture นำไปแชร์ในกลุ่ม เป็นภาพความทรงจำ ที่ อ.Kirk คิดถึงพวกเราเสมอ

ศูนย์ไลก์ Zero like กับ ล้านไลก์ Million likes

โดยปกติ เรามักสนใจผู้คนรอบตัวเรา เพราะเราเป็นสัตว์สังคม และมักใช้เครือข่ายสังคม เพื่อสื่อสารพูดคุยกับเพื่อน หรือคนรู้จัก มีอยู่วันหนึ่งเข้าไป ส่อง ดูเฟซบุ๊กของคนที่ไม่ใช่เพื่อน เพราะสถานะบนเฟซบุ๊กบอกว่าเรายังไม่ใช่เพื่อนกัน พบว่า มีหลายโพสต์ของเพื่อนคนที่ไม่ใช่เพื่อน มียอด like เป็น 0 และมีจำนวนโพสต์แบบ zero like นี้มากกว่าโพสต์ของผมอย่างชัดเจน เพื่อนคนนี้เป็นคนแรก ที่พบสถิติ zero like สูงขนาดนี้ รู้สึกว่าตัวเลขเราจะใกล้เคียงกัน คือ เข้าใกล้ 0 แต่ของผมจะยอด like สูงกว่าหน่อย

แต่สำหรับผมแล้ว การมีโพสต์ที่มี zero like ถือว่าเป็นปกติ โดยเฉพาะในแฟนเพจ รวมเพื่อนไทยออล หรือ สวนนายบู เพราะผมไม่ตั้งใจโพสต์เพื่อให้ได้ like จากกลุ่มเป้าหมาย เช่นเดียวกับเพื่อนที่ผมเข้าไปพบโพสต์เหล่านั้น ซึ่งพฤติกรรมที่เห็นได้ชัดของคนที่มี zero like คือ
1) ไม่พยายามสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเฟส
2) เรื่องที่แชร์ไม่อยู่ในความสนใจของเพื่อนเฟส
3) มีวัตถุประสงค์ที่ไม่ใช่ของตนเอง

อยากถามว่า ท่านเคยพบคนที่มีพฤติกรรม 3 ลักษณะนี้หรือไม่

https://www.thaiall.com/socialmedia/

ในสื่อสังคม ยอดติดตาม ยอดเข้าถึงโพสต์ ยอดการมีส่วนร่วมกับโพสต์ ยอดไลก์ ยอดแชร์ ยอดแสดงความคิดเห็น สะท้อนถึงจำนวนสมาชิกที่เกี่ยวข้องในมุมมองที่หลากหลาย จากภาพในโพสต์ของ Wiriyah Eduzones เมื่อ 12 ก.พ.2566 พบว่า เกิดการมีส่วนร่วมกับโพสต์ในระดับหลักล้าน เท่ากับมีข้อมูลเข้าจำนวนมาก เมื่อท่านได้ สรุปเอาความคิดและข้อมูล นั่นหมายถึง เสียงของประชาชนกลุ่มนี้ ว่าสรุปไปในทิศทางใด ที่จะเสนอต่อไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ทางด้านการศึกษา

ผมชอบติดตามเรื่องราวในเพจของ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ชอบอ่านความคิดเห็นของคุณครู แล้วเก็บเรื่องราวไปเล่าให้นิสิต คุณครู เพื่อนได้รับทราบ เพราะเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ บางเรื่องสื่อส่วนกลางก็นำไปแชร์ต่ออย่างกว้างขวาง เช่น “จรรยาบรรณวิชาชีพครู กับคำถามครูสวมชุดว่ายน้ำ” เมื่อหันไปมองเทียบกับโพสต์ศูนย์ไลก์ ที่อยู่บนเพจของผม หรือในโปรไฟร์ของผม ก็ทำให้คิดถึง Input, Process, Output, Outcome หรือ Feedback ที่มีต่อเป้าหมายของแต่ละโพสต์ รวมถึง SEO, Promotion และ Ranking ว่าจะถูกพัฒนาต่อยอดไปอย่างไร

Wiriyah Eduzones

ทานข้าวกับเพื่อนที่อุดรนัว

ทานข้าวตอน กับ #เพื่อน2565
ถือเป็นเรื่องปกติของเพื่อนที่ทำงาน
ที่มักออกไปหาของอร่อยยามเที่ยงวัน
แต่ปี 2565 เป็นปีที่ไม่เหมือนเดิม
ในกลุ่มนี้นับได้ 8 คน เมื่อรวมช่างภาพ
นี่เป็นภาพแห่งความทรงจำอีกภาพหนึ่ง
เป็นภาพสุดท้ายที่ถ่ายได้ในวันนี้
เรานัดกันมา
พบกันที่ร้านอุดรนัว แม่ค้ายังคนเดิม
ย้ายจากติดถนน มาอยู่เกือบสุดซอย
ทำเลมีความพร้อมหลายด้าน
คนเข้าร้านต่อเนื่อง
ดูแล้ว น่าจะเป็นลูกค้าประจำ
มีต้นลั่นทมสองต้นอยู่ในร้านคอยให้ร่มเงา
มีหัวข้อพูดคุยระหว่างมื้อที่หลากหลาย
ก็จะเน้นเรื่องอาหารการกิน
ว่าคนไหนชอบแบบไหน
แซบมากน้อยต่างกัน
ใครกินอะไรได้ อะไรไม่ได้
จานไหนอร่อย จานไหนเผ็ด
ในกลุ่มของเรา
พูดถึงไข่ขาวที่ต้มเก็บไว้เป็นแผง
กินแล้วดีต่อสุขภาพแบบขั้นสุด
ฟังแล้วอยากวาร์ปไปต้มไข่กินตอนนั้นเลย
เพราะผมซื้อไข่ขาวสกัดให้ผู้ใหญ่บ่อย ๆ

เราคุยเรื่องงาน เรื่องสอน เรื่องเด็ก เรื่องไหว้ครู
โผล่มาเป็นหัวข้อสนทนาบ้าง
เหมือนประชุมคณะนอกสถานที่
ก็จะประมาณนั้น ผมก็นั่งฟังเพลิน ๆ
สรุปว่า ขากลับ แวะซื้อกล้วย มัน กรอย
แล้วต่อด้วยชากาแฟ ทำให้สดชื่นขึ้น
ถ้ามีโอกาสคงกลับมาทานข้าวกันอีกนะ

นัดกันทานเที่ยงที่ร้านอุดรนัว

ด้วยรักและผูกพันธ์

ทำงานกับเพื่อนมาก็หลายปี
อยู่สำนักวิชาการไม่กี่ปี
แต่เหมือนอยู่มาได้ 35 ปี
ส่วนคณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์
ก็เหมือนเรียนจบคณะนี้
ทำงานเป็นคุณครูคณะนี้
หัวหน้าก็มีมาหลายคนแล้ว
วันนี้ ดร.อัศนีย์ ณ น่าน ผอ.สำนักวิชาการ
เลี้ยงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
ขอบคุณสำหรับอาหารแซบ ๆ
ที่ #อุดรนัว 15 ธ.ค.2565

ที่ #อุดรนัว 15 ธ.ค.2565

สังคมปักหมุด

หลังภาพยนตร์หลายเรื่องเกี่ยวกับ Mutiverse ออกฉายอย่างต่อเนื่อง
เช่น Doctor Strange in the Multiverse of Madness (2022)
หรือ Everything Everywhere All at Once (2022)
ทำให้นึกถึงคำว่า #โลกหลายใบของใครหลายคน
ซึ่งปัจจุบัน ชาวสื่อสังคม ก็มีโลกหลายใบเช่นกัน
เรามองเห็น #platform หรือเวทีที่ชาวสื่อสังคมเลือกใช้ชีวิต
ซึ่งมีอยู่หลายสื่อสังคมที่แตกต่างกันไป
สังคมปักหมุด สังคมหนัง สังคมเพลง สังคมภาพถ่าย สังคมหนังสือ สังคมเล่าเรื่อง
พบว่า ผู้คนรอบตัวเรา เลือกใช้ชีวิตกันแตกต่างกันไป
ช่วงนี้เข้าสังคมปักหมุด ซึ่งมี pinterest.com เป็นผู้นำในสื่อกลุ่มนี้
ผู้อยู่ในสังคมนี้สามารถสร้างบอร์ด ซึ่งผมได้สร้างบอร์ดขึ้นมาชื่อ NTU page
แล้วทำการปักพิน (Pin) ไว้ในบอร์ดนี้ทั้งหมด 17 พิน (15 ก.ค.65)
เป็นพินในแบบที่เป็นโพสต์จากแฟนเพจทั้งหมด
ได้เห็นเรื่องราวที่แฟนเพจสื่อสารมา แล้วอยากเก็บไว้เป็นเซต
ซึ่งแฟนเพจถือเป็น front-end ของหลายมหาวิทยาลัย
ที่แบ่งปันในสังคมนั้น สำหรับสังคมปักหมุด
ผมเสนอสองลิงค์ข้างล่างนี้ ซึ่งเป็นโปรไฟล์ของผมในสังคมนี้
เมื่อเข้าไปแล้วจะพบหลายบอร์ด หากเลือกเข้าบอร์ด NTU page จะพบ 17 พิน

https://pin.it/1u4iFvk

https://www.pinterest.com/thaiall

ส่วนภาพหน้าจอที่ใช้ประกอบเรื่อง เป็นภาพตัวอย่างล่าสุดของบอร์ดโปรไฟล์
จะพบว่าเป็นพินภาพป้ายไวนิลของกิจกรรม
วันงานวันเทคนิคการแพทย์ไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่น่าสนใจ
ที่ส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีของคนไทย ของสังคมในมหาวิทยาลัยเนชั่น

thaiall home

สามช่วงวัย กับเพลง บ้านเกิดเมืองนอน

โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารีย์

พบมิวสิกวิดีโอ เพลง บ้านเกิดเมืองนอน ของนักเรียนโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารีย์ จังหวัดลำปาง นักร้องนำคือ นางสาวเจวรินทร์ มุงเมือง มีฉากเป็นเรื่องราวของเด็กนักเรียนตัวเล็กตัวน้อยนุ่งชุดประจำชนเผ่า พบการขับร้องตอนท้ายด้วยภาษาม้ง และภาษาปกาเกอะญอ สะท้อนชีวิตของนักเรียน ที่เดินทางจากบ้านเกิดเมืองนอน มาเรียนอยู่ในโรงเรียนกินนอนที่ลำปาง มีฉากโรงเรียน ฉากหมู่บ้าน และต้มไข่ที่น้ำพุร้อนแจ้ซ้อน ผมพบการแชร์คลิปโดยผู้ใหญ่ใจดี 2 ท่านเข้ากลุ่มสังคมคนรักอ่าน เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 ได้นั่งฟังเพลง และดูการถ่ายทอดเรื่องราวอย่างเพลินใจ

บ้านเกิดเมืองนอน
โรงเรียนลำปางกัลยาณี

เมื่อค้นต่อไป พบเพลง บ้านเกิดเมืองนอน ของโรงเรียนลำปางกัลยาณี ที่ระบุว่าเป็น กิจกรรมการประกวด “ขับร้องบทเพลงส่งเสริมความรัก ความสามัคคี เสริมสร้างจิตสำนึกที่ดีงาม และความภาคภูมิใจในความเป็นไทย” นักเรียนร่วมแรงร่วมใจร้องเพลงเต้นรำได้อย่างมีชีวิตชีวา ปล่อยพลังกันสุดฤทธิ์สุดเดช เห็นได้ถึงความสนุกสนานร่าเริง นักร้องนำมี 3 สาว คือ นางสาวอรอุมา แก้ววงศ์ นางสาวปานทิพย์ ทินกร ณ อยุธยา และเด็กหญิงพุทธรักษา ทองสุขา ร่วมกันร้องเต้นกับเพื่อนหลายสิบคน หลายชุด และหลายสถานที่ ดูกันเพลิน ๆ กับมิวสิกเพลงนี้

บ้านเกิดเมืองนอน


จากนั้นค้นในยูทูป พบเพลง บ้านเกิดเมืองนอน 2564 – EP.1 ROCK FULL VERSION เป็นคลิปที่มียอดวิวสูงสุด คือ 1,120,336 ครั้ง ขับร้องโดยมืออาชีพยกแก็ง เป็นฉากที่หนุ่มขี่มอเตอร์ไซค์สวมเสื้อหนังสีดำกลับบ้าน ชวนให้รู้สึกรักถิ่นฐานบ้านเกิดเมืองนอนขึ้นมาจับใจ นักร้องเป็นชายล้วน มาในธีมเสื้อยืดสีขาว ส่วนหนุ่มที่ขับมอเตอร์ไซค์ มุ่งหน้าลงใต้ติดชายทะเล กลับไปทางข้าวทานแกงกับคุณพ่อคุณแม่อยู่ริมทุ่งนาอย่างมีความสุข

บ้านเกิดเมืองนอน

วัดต้นแบบลดปัจจัยเสี่ยง

กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ที่ส่งเสริมให้ครอบครัวเข้มแข็ง คนในบ้าน ในสังคม อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ลดโรคภัยเบียดเบียนก่อนวัยอันควร ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การพนัน และยาเสพติด ซึ่งการลดปัจจัยเสี่ยงไม่ใช่กิจกรรมที่ต้องทำเฉพาะบ้าน และโรงเรียนเท่านั้น แต่ถ้าเกิดความร่วมมือกันอย่างจริงจัง ของบ้าน วัด และโรงเรียนก็เชื่อได้ว่าจะเสริมพลังที่ทำให้ปัจจัยเสี่ยงต่อสังคมครอบครัวลดลงได้

พบว่า พระครูสิริธรรมบัณฑิต (ภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธี ป.ธ.๕) เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมืองมูล จังหวัดลำปาง ได้แชร์ภาพที่ท่านได้ัรับ ป้ายวัดต้นแบบลดปัจจัยเสี่ยง ซึ่งเป็น 1 ใน 20 วัด โครงการนี้ได้รับการสนับสนุน โดย โครงการการพัฒนาเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2565 จาก พระเดชพระเดชพระคุณ พระเทพเวที รศ.ดร. เจ้าคณะภาค 6 เป็นประธานมอบป้ายในครั้งนี้

พัฒนาสมรรถนะผู้สูงอายุ กรณี โรงเรียนผู้สูงอายุทุ่งกว๋าว

มหาวิทยาลัยเนชั่น ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกว๋าว ทำโครงการ มหาวิทยาลัยเนชั่นบูรณาการวิชาการเพื่อบริการแก่สังคมในสถานการณ์ COVID-19 ประจำปีการศึกษา 2564 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เมื่อวันพุธที่ 11 พฤษภาคม 2565 โดยมี 6 กิจกรรมพัฒนาสมรรถนะนักเรียนผู้สูงอายุ ดังนี้

  1. การตรวจหาเชื้อไวรัสด้วยชุด ATK (เทคนิคการแพทย์)
  2. การล้างมืออย่างไรให้ปลอดภัย (พยาบาลศาสตร์)
  3. การเดินทางโดยเครื่องบิน (สาขาธุรกิจการบินฯ)
  4. ตรวจสุขภาพฟันและแนะนำการดูแลช่องปาก (ทันตแพทยศาสตร์)
  5. การยืดเหยียดสำหรับผู้สูงอายุ (สาธารณสุขศาสตร์)
  6. เทคนิคการถ่ายภาพเพื่อส่งเสริมการขายสินค้า (นิเทศศาสตร์ + MBA)
    เพิ่มเติม ฐานกิจกรรมวาดภาพระบายสี (ศิลปศาสตร์ฯ)
    ดูแลพิธีการโดย อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ (บริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์)

และเป็น โครงการ ดูแล ส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุ โดยหมอมือใหม่ จิตอาสา มหาวิทยาลัยเนชั่นบูรณาการวิชาการเพื่อบริการแก่สังคมในสถานการณ์โควิด (Covid-19) โดย สโมสรนิสิตมหาวิทยาลัยเนชั่น ร่วมกับ คณะกรรมการนิสิต 5 คณะวิชา ซึ่งพบการเล่าเรื่องแบบ Story telling ในสื่อสังคมของมหาวิทยาลัยเนชั่น

โรงเรียนผู้สูงอายุ

https://www.thaiall.com/education/indexo.html

กำหนดการ

ประวัติวัดบ้านต๋อมกลาง

วัดบ้านต๋อมกลาง ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 ต.ต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา มีเนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 45 ตารางวา
ประกาศตั้งวัด พ.ศ.2346 ผูกพันธสีมา พ.ศ.2350 ก่อนจะสร้างวัดนี้ขึ้น ได้มีราษฎรอพยพมาจาก อ.เมือง จ.ลำปาง เพื่อมาตั้งหลักฐานทำมาหากิน ในราว พ.ศ.2346 โดยมี พระภิกษุแสนภาพ เป็นประธาน พร้อมด้วยทายกทายิกา ก่อสร้างสำนักขึ้นเป็นสถานบำเพ็ญกุศล และได้ไปอาราธนานิมนต์ พระภิกษุพิมสาร จากวัดพระเจ้าทันใจ จังหวัดลำปาง มาเป็นประธานสร้างวัด และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส จนสิ้นอายุของท่าน ต่อมาลูกศิษย์ของท่านปกครอบสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ต่อมาพระภิกษุคำมา ธมมวโส (สอนใจ) เป็นประธานพร้อมด้วยทายกทายิกา ได้ก่อสร้างอุโบสถขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2477 โดยใช้ที่ดินก่อตั้งวัด เดิมมีประมาณ 5 ไร่เศษ ต่อมาสร้างถนนตัดผ่าน แยกที่ออกเป็น 2 แปลง ที่ดินส่วนหนึ่งได้สร้างเป็นตาดสดขึ้นด้านทิศใต้ เพื่อเก็บผลประโยชน์บำรุงวัด ส่วนเขตที่ตั้งวัดและเขตที่ธรณีสงฆ์นั้นมีตามใบ น.ส.3 ของวัดแล้ว

ปี พ.ศ. 2521 พระภิกษุบุญมี วชิรญาโณ
เจ้าอาวาสพร้อมด้วยทายกทายิกา
ได้พร้อมกันซื้อที่ดินด้านทิศเหนือ
ในเนื้อที่ 2 งาน 70 ตารางวา
เพื่อขยายเขตวัดออกไป

สิ่งสำคัญประจำวัดนี้ได้แก่ พระวิหารจำลองหลังเล็ก ซึ่งแกะสลักด้วยมีภาพจิตกรรมของโบราณ ซึ่งพระพิมสาร เป็นผู้สร้าง นายแสงภาพเป็นประธานเจ้าภาพ สร้างเมื่อจุลศักราช 1216 ตรงกับพุทธศักราช 2397 วัดนี้เดิมเรียกว่า “วัดศรีดอนไชย” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “วัดบ้านต๋อมกลาง” จนถึงปัจจุบันนี้ เหตุที่เรียกชื่อวัดและหมู่บ้านนี้ อาศัยมูลเหตุมาจากลำแม่น้ำต๋อม

ผู้เรียบเรียงคือ พระอธิการบุญมี วชิราญาโณ (สอนใจ)

ประวัติวัดบ้านต๋อมกลาง

พันธนาการแห่งปราณ

าจารย์อดิศักดิ์ จำปาทอง อ่านหนังสือ แล้วแชร์ประสบการณ์ในเฟสบุ๊กในวันครู 2565 เล่าเรื่องหนังสือของศิษย์รุ่น 2 ที่เขียนเรื่อง อาจารย์น้อยผู้มาสอนธรรม ไว้หลังปกได้น่าอ่าน หนังสือเล่มนี้เขียนโดย หมวย – สมจิต คูมณีปกรณ์ ผู้ใช้นามปากกาว่า จินตะมันตา มีบทชวนอ่านหลังปกที่ชวนให้ติดตาม .. แล้วผมจะต้องรออะไรอีก ก็ซื้อหามาเร่งพลังปราณซะเลย เผื่ออาจารย์น้อยจะฝากศาตราวุธเทพบรรพกาลให้ศิษย์พี่ใหญ่แห่งสยบฟ้าพิชิตปฐพีได้ดูแล ช่วยสู้รบปรบมือกับเผ่ามารอีกแรงหนึ่ง

พันธนาการแห่งปราณ
เมื่อเผ่าสวรรค์เทพเซียนถูกเผ่ามารปีศาจเข้าถล่มโจมตี
นางเป็นเพียงอาจารย์น้อยผู้มาสอนธรรม จะเข้าปกป้อง
เผ่าสวรรค์ได้อย่างไร การต่อสู้ระเบิดพลังปราณเทพเซียน
กับพลังปราณมารปีศาจ อาจารย์น้อยจะทำเช่นไร
เมื่อศาตราวุธเทพบรรพกาลตกอยู่ในมือนางเพียงผู้เดียว
มิตรภาพ ความแค้น ความผูกพันในอดีต หน้าที่อันยิ่งใหญ่
ความยุติธรรม และความรักในปัจจุบัน อาจารย์น้อยจะเลือก
หนทางเดินเช่นไร 

นวนิยาย น่าอ่าน by จินตะมันตา

พันธนาการแห่งปราณ