19 ม.ค.53 เช้านี้ฟังข่าวว่ามีนักศึกษาสาวราชภัฏนครปฐม รำกระบองไฟถูกไฟไหม้ตัว เหตุเกิดจากอมน้ำมันพ่นไฟ แล้วไฟย้อนเข้าปากลุกท่วมใบหน้าได้รับบาดเจ็บขณะรำกระบองไฟในพิธีไหว้ครู ในงานประจำปีคืนสุดท้ายของวัดห้วยจระเข้ จ.นครปฐม ซึ่งผู้เสียหายเป็นบุตรของครูที่สอนด้านการแสดง และออกแสดงมาแล้วหลายปี อุบัติเหตุครั้งนี้ทำให้ผู้เสียหายถูกไฟไหม้บริเวณใบหน้าและลำตัว จนผิวหนังพุพอง เข้ารับการรักษาที่ รพ.ศูนย์นครปฐม .. ฟังข่าวแล้วก็ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีกในโลก ทำได้โดยมนุษย์จะไม่จัดกิจกรรมที่เสี่ยงเช่นนี้อีก ไม่เป็นผู้ดู ไม่เป็นผู้จัด ไม่ส่งเสริม ก็น่าจะลดจำนวนอุบัติเหตุที่ไม่คาดหมายไปได้ไม่น้อย เช่นเดียวกับการสนับสนุนให้งดการจุดพลุ และดอกไม้ไฟ
Category: สังคม วัฒนธรรม เกษตร
สังคม วัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่น ศาสนา ศิลปะ ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิต
ขบวนแห่กัณฑ์เทศในงานตั้งธรรมหลวงเวียงละกอน
14 ม.ค.53 งานวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ขอเชิญชวนอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษามหาวิทยาลัยโยนก ร่วมกิจกรรม 2 งานคือ 1) แห่กัณฑ์เทศ วันที่ 14 เวลา 7.00-9.00น. จากโรงเรียนเทศบาล4 ไปศาลหลักเมือง และ 2) ร่วมฟังเทศน์มหาชาติ กัณฑ์มัทรี จากพระราชธรรมาลังการ เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์ พระอารามหลวง จ.ลำปาง ในวันที่ 15 เวลา 13.00-14.00น. ณ ศาลหลักเมือง แล้วในวันนี้คณะวิทย์ฯ ไปร่วมแห่กัณฑ์เทศ และมีโอกาสเก็บภาพ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาที่ไปร่วมกิจกรรมกว่า 30 คน เป็นความสุขใจในฐานะกลุ่มพุทธศาสนิกชน ที่มีโอกาสได้ร่วมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้ดำรงสืบไป เพื่อนร่วมบุญครั้งนี้มีมากมาย อาทิ อ.ใหญ่ อ.เอก อ.โก อ.นงลักษณ์ อ.เอ็ม อ.พจน์ อ.นัน อ.น้ำค้าง พี่ริน พี่แบงค์ พี่รัชนีย์ ส่วนนักศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้มากที่สุด รองลงมาเป็นคณะนิติศาสตร์
งานบุญครั้งนี้เป็นกิจกรรมทางศาสนาพุทธในจังหวัดลำปาง การร่วมกิจกรรมก็มีทั้งเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ข้าราชการ การแต่งกายก็เป็นไปตามฟอร์มของแต่ละองค์กร เช่น นักเรียนก็ชุดนักเรียน ส่วนนักศึกษาก็จะเป็นชุดนักศึกษา ซึ่งหลายสถาบันมีนักศึกษาแต่งกายตามปกติวิสัย ที่พระสงฆ์ดูชุดนักศึกาษาสมัยนี้แล้วอาจมีความคิดเห็นไปในทางไม่สงบมากไป ปัจจุบันโลกไร้พรมแดนเป็นจริง ความคิดก็เริ่มไม่มีพรมแดน ดังนโยบายของรัฐบาล หรือคำขวัญวันเด็กก็จะมีคำว่า ความคิดสร้างสรรค์เข้ามา ทำให้ความคิด หรือพฤติกรรมเริ่มหลุดออกนอกกรอบ พระสงฆ์เริ่มใช้กล้องดิจิทอล อ.พจน์ ให้ข้อสังเกตุว่า มีพระสงฆ์ใช้กล้องถ่ายรูปเก็บภาพนักศึกษาหญิง ซึ่งดูแล้วก็ใช้ทัศนคติของผู้เคร่งวินัยตัดสินความไปในทางหนึ่งซะแล้ว แต่ผมให้ความเห็นว่าเขาคงเก็บไปทำ case study ส่วนผมเห็นพระสงฆ์ใช้วิทยุสื่อสาร ก็คิดว่าทันสมัยดี มีอะไรให้พูดคุยสื่อสารกันแน่นอน มีกิจกรรมทางโลกให้พระสงฆ์ได้เข้ามาทำกิจกรรม มากกว่าที่คาดหวังอยู่ไม่น้อย .. วิถีของแต่ละคน .. ตนย่อมเป็นผู้กำหนด
รับเมล เรื่องการเลือกเรียนเพราะบรรยากาศน่าเรียน
11 ม.ค.53 อ.มงคล ใจสุข ส่งอีเมลให้ผม มีภาพ 11 ภาพ ซึ่งสำเนาถึงเพื่อนอาจารย์อีกกว่า 20 คน หลังเราเข้าอบรม creative+ กับ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ จึงเข้าใจคำว่าภาพศิลปะ เพราะคำว่าภาพศิลปะ หมายถึงภาพที่มีอารมณ์ น่าจะเป็นเพราะต้องการส่งภาพให้นำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ หรือเป็นตัวอย่างความคิดสร้างสรรค์จากการถ่ายภาพเชิงสร้างสรรค์ ที่ชี้ให้เห็นความสุขของนักศึกษาที่มาเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ .. ผมก็คิดไปทำนองนั้น จึงตัดต่อมาให้ชื่นชมครับ
งานเลี้ยงปีใหม่ที่มหาวิทยาลัย ปี 2553
8 ม.ค.53 มนุษย์เกิดมาเป็นสัตว์สังคม ความสุขหนึ่งที่ปุถุชนส่วนใหญ่ไม่ปฏิเสธคือการอยู่รวมกันเป็นสังคมและได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การพบปะสังสรรค์เป็นครั้งคราว พูดคุยแลกเปลี่ยน เพราะปกติไม่ค่อยได้คุยกัน ทุกคนมักยุ่งอยู่แต่ภารกิจที่ได้รับมอบหมาย จนลืมความสัมพันธ์ในตัวตน ในครอบครัว ในองค์กร ในสังคมภายนอก การพบปะมักมีกิจกรรมที่ไม่ปกติ หรือถึงขั้นผิดปกติอยู่หลายกิจกรรม ก็เพื่อให้ความผิดปกติเหล่านั้นแปลสภาพเป็นตัวขับความบันเทิงให้เกิดขึ้นในจิตใจของเรา ด้วยอาศัยสิ่งเร้าจากภายนอกมาทำให้เกิดความสุขสำราญขึ้นในจิตเราผ่านอุบายมากมาย เช่น แสงสี เสียง รอยยิ้ม มุกขอพิธีกร ความเอื้ออาทรของผู้บริหาร และการได้ทรัพย์มาโดยไม่ได้คาดหมาย .. ทุกอย่างที่จะบันดาลสุขก็มีขึ้นในวาระนี้
เก็บภาพมาฝากจากมุมที่แตกต่าง แต่ภาพดี ๆ คงต้องขอจากพี่เวท และน้องแบงค์ เพราะใช้กล้องคุณภาพสูง ที่จะมีความสุขกันแบบนี้ เนื่องจากหนึ่งปีมีหนเดียวต้องเต็มที่กันหน่อย ก็เหมือนวันเกิด วันปีใหม่ วันตรุษจีน วันสงกรานต์ วันคริสมาสต์ ที่มีเพียงปีละครั้ง มีความสุข สังสรรค์ ด้วยกิจกรรมบันเทิง .. เล่าเท่านี้ครับ ถ้าเล่าต่อเกรงว่าจะเข้ารกเข้าพงไปกันใหญ่ .. สรุปว่ามีความสุขอีกครั้งกับกิจกรรมปีละครั้งในมหาวิทยาลัยร่วมกับเพื่อนร่วมงานที่ยิ้มแย้มอย่างมีความสุขกันถ้วนหน้า
วีดีโอบทเรียนจากการทำวิจัยเพื่อท้องถิ่น
7 ม.ค.52 ได้รับวีดีโอจาก กรและปราง จึง upload ภาพยนต์บทเรียนงานวิจัยจำนวน 2 เรื่องที่นักศึกษาทุน cbpus คือ กร กับปราง (www.ldy69.com) ได้ยกร่างขึ้นมาเพื่อ present ให้ตัวแทนชุมชนที่อยู่ในภาพยนต์ได้เห็นภาพร่วมที่ได้นำเสนอร่วมกัน และใช้สอบถามนักเรียนจากทั้ง 2 โรงเรียนคือ โรงเรียนบ้านไหล่หิน และโรงเรียนไหล่หินวิทยา ช่วงมกราคม 2553 ซึ่งจะได้ประสานกับ อาจารย์ราตรี ดวงไชย และอาจารย์สุดา แผ่นคำ ต่อไป ในระหว่างประสานกับพื้นที่ ได้ส่งภาพยนต์ไปเผยแพร่ใน youtube.com แต่เข้าไปได้เรื่องละประมาณ 70% ต่อเรื่อง เพราะ youtube.com จำกัดความยาวเรื่องละไม่เกิน 10 นาที แต่หนังทั้ง 2 เรื่องยาวเรื่องละ 14 นาที ก็คิดว่าเผยแพร่ให้ดูแบบเรียกน้ำย่อยไปก่อนครับ และที่ส่งเข้าไปก็ลดขนาดแฟ้มลง ที่ท่านเห็นจึงไม่เต็มเรื่อง และมีความละเอียดไม่สูงนัก
+ http://www.youtube.com/watch?v=brdqIYi1Gw4
+ http://www.youtube.com/watch?v=KX52y3QZilQ
เราช่วยกาชาด กาชาดช่วยเรา
1 ม.ค.53 มีโอกาสเป็นตัวแทนนักศึกษา และตัวแทนอาจารย์ ร่วมกับภรรยา และนักศึกษารวมกว่า 8 ชีวิต รับหน้าที่ช่วยผู้ใจบุญที่มาร่วมกิจกรรมตกมัจฉากับกาชาดลำปาง เป็นงานบุญที่ช่วยเหลือผู้ใจบุญที่ไปร่วมให้ทานในงานฤดูหนาวและงานกาชาดจังหวัดลำปาง ประจำปี 2553 จัดขึ้นระหว่าง 26 ธันวาคม 2552 ถึง 4 มกราคม 2553 โดยงานนี้มีนางปริญดา บุญฤทธิพงษ์ นายกเหล่ากาชาด คอยอำนวยการทุกฝ่ายในบูทของกาชาดลำปางอย่างเต็มที่ ทีมนักศึกษาโยนกและผม อยู่กับท่านตั้งแต่ 17.00น. – 24.00น. โดยประมาณ ขนาดผมยังหนุ่ม ๆ ยังเหนื่อยแทบแย่ แต่ท่านนายกอายุปูนนั้นยังกระปรี้กระเปร่ากลับบ้านทีหลังผมซะอีก และท่านก็อยู่ทุกวัน แต่ผมมาวันเดียวก็เหนื่อยแทบแย่แล้ว งานนี้เป็นงานบุญล้วน ๆ เพราะผู้ประกาศบอกว่าภารกิจของกาชาดคือช่วยเหลือผู้เดือดร้อนทั้งในจังหวัด และจังหวัดใกล้เคียง ทุกคนที่มาช่วยงานเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น ไม่มีอามิสสินจ้างใดเลย เย็นวันนี้นอกจากโยนกก็ยังมีเจ้าหน้าที่จากขนส่งและประกันสังคมมาร่วมช่วยงานกันขันแข็ง อีกสิ่งที่ประทับใจคือกาชาดเลี้ยงก๋วยจั๊บแสนอร่อยรอบดึกแก่ทีมงานอาสาทุกคนในเวลาประมาณสี่ทุ่ม
คนกาชาดส่วนใหญ่เป็นคนเสียสละ ผมรู้มาว่าคนกาชาดมักเป็นผู้บริจาคโลหิต หรือเกร็ดเลือด เพราะเป็นทานโดยใช้สิ่งที่มีอยู่ในร่างกายของเราโดยตรง เป็นสิ่งที่เหลือใช้จากร่างกาย จะยากดีมีจนก็มีสิทธิ์เท่าเทียมกัน และยังสามารถทำได้ปีละหลายครั้ง ผู้รับเลือดเราไปก็ยังนำไปใช้ประโยชน์ในร่างกายของเขาได้ง่าย และคนกาชาดมักเป็นผู้บริจาคอวัยวะ ซึ่งเป็นความดีที่ไม่สิ้นสุดคือการอุทิศอวัยวะเมื่อยามสิ้นสูญ แต่ทำได้เพียงครั้งเดียวและต้องพิจารณาความเหมาะสมของอวัยวะเป็นรายไป คนที่มีความประสงค์และมีผู้นำอวัยวะไปใช้ประโยชน์ได้นับว่าเป็นผู้มีโชคที่ได้ทำบุญครั้งสุดท้ายของชีวิตในแบบที่ทำกันได้ยากยิ่ง และคนกาชาดยังเป็นผู้บริจาคร่างกายให้นักศึกษาแพทย์นำไปศึกษา หรือที่เรียกว่าอาจารย์ใหญ่ ทำให้พวกเขาได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ตรงจากการเรียนรู้ร่างกายของเราอย่างละเอียด ซึ่งมนุษย์เราทำได้เพียงครั้งเดียว และเงื่อนไขก็ทำให้การบริจาคร่างกายทำได้ยากขึ้น โดยเฉพาะข้อจำกัดเรื่องอายุ โรคที่ทำให้ตาย และความสมบูรณ์ของร่างกาย .. ก็ต้องชื่นชมคนกาชาดที่มีทานเป็นอุดมการณ์นำชีวิตทุกคน และพวกเราชาวโยนกก็จะทะยอยยึดเป็นแนวปฏิบัติกันต่อไป
ภาพบูทด้านข้างและด้านหลังของ booth creative
1 ม.ค.52 มีโอกาสเป็นตัวแทนนักศึกษาของคณะวิทย์ฯ ไปช่วยงานกาชาด รับผิดชอบส่วนบ่อมัจฉา ช่วยอำนวยความสะดวกผู้ร่วมกิจกรรมตกมัจฉา ฉีกบัตร และชี้แจง ก่อนที่ผมจะเข้าช่วยกาชาด 17.00น-24.00น. ได้เก็บภาพด้านข้าง และด้านหลังของ booth yonok 2553 ในงานฤดูหนาวและงานกาชาด เพราะปีหน้าถ้าทำอีกจะได้มีต้นแบบ แนวคิดของบูทเป็น Creative สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล ที่จะเป็น Creative Economy และพบคำนี้ในคำขวัญวันเด็ก 2553 คือ “คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม”
booth งานฤดูหนาวกับ notebook 5 เครื่อง
30 ธ.ค.52 มีโอกาสไปเก็บภาพ booth กลางคืน ของมหาวิทาลัยโยนกในการร่วมกิจกรรมกับจังหวัดลำปาง ที่งานฤดูหนาวและงานกาชาด 2553 ซึ่ง booth อยู่ติดกับกาชาดจังหวัด ภายในบูทมีคำว่า Creative Campus @ YONOK เด่นชัด ประทับใจมาก เพราะเป็นบูทที่ดูไม่ใหญ่นัก แต่มีการนำเสนอและเตรียมพร้อมด้วยเครื่อง Notebook ถึง 5 เครื่อง ในภาพมีบุคลการคอยให้ข้อมูลจาก ซ้ายไปขาวรวม 8 คน คือ 1)นายกสโมสร52 2) อ.บอย 3)ผู้ช่วยนายกสโมฯ 4)อ.โก 5)อ.กิ๊ก 6)คุณเปรมจิต 7)คุณออย ขวาสุดคือ 8)คุณขวัญชนก ส่วนผมใคร ๆ เรียกว่าพี่กล้อง เพราะเป็นตากล้องครั้งนี้ ..
เสียสละสัมพันธ์การกระทำและผู้ถูกกระทำ
29 ธ.ค.52 คำว่าเสียสละถูกพูดบ่อยครั้งในยุคที่มีปัญหารุ่มเร้าทุกหัวระแหง ทั้งด้านพลังงาน การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม คอรัปชั่น อาชญากรรม และการปกครอง ตั้งแต่ระดับโลก ประเทศ จังหวัด หมู่บ้าน องค์กร และกลุ่มบุคคล มีการชวนคิดให้เสียสละในหลายระดับ อาทิ สละชีพเพื่อชาติ สละทรัพย์เพื่อทำนุบำรุงศาสนา สละเวลาเพื่อชุมชน สละร่างกายให้คนข้างหลังนำไปใช้ประโยชน์ สละการเบียดเบียนสัตว์มาเป็นอาหาร
เมื่อพูดถึงคำว่าเสียสละ ในการสนทนาแลกเปลี่ยนกับ อ.ศิรดา ชัยบุตร ทำให้ได้ประเด็นว่า เสียสละนั้นมีความเกี่ยวข้องของ 2 เรื่อง คือ ผู้ถูกกระทำ และการกระทำ 1) ทำสิ่งเป็นคุณที่ส่งผลเป็นคุณต่อผู้มีพระคุณเราเรียกว่ากตัญญู 2) ทำสิ่งเป็นคุณที่ส่งผลเป็นคุณต่อผู้ไม่มีพระคุณเราเรียกว่าเสียสละ 3) ทำสิ่งเป็นโทษที่ส่งผลเป็นโทษต่อผู้มีพระคุณเราเรียกว่าเนรคุณ 4) ทำสิ่งเป็นโทษที่ส่งผลเป็นโทษต่อผู้ไม่มีพระคุณเราเรียกว่าละเมิด เมื่อคุยกันเสร็จผมก็ลองเขียนเมทริกแสดงความสัมพันธ์ของ 2 เรื่องนี้ เพื่ออธิบายว่าคำว่าเสียสละ โดยเชื่อว่าคำนี้มีที่มาที่ไป ไม่อยู่อย่างโดดเดี่ยว ถ้าไม่เสียสละก็ต้องมีคำอื่นมารองรับกับการกระทำที่ส่งผลต่อผู้ถูกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
ส.ค.ส. ๒๕๕๓
29 ธ.ค.52 วันนี้ได้ส.ค.ส.ปี ๒๕๕๓ ออนไลน์จากเพื่อนท่านหนึ่งในหมู่บ้านเป็นปีที่สอง ทำให้นึกขึ้นได้ว่าที่มหาวิทยาลัยแจก ส.ค.ส.เป็นด้วยภาพสวยของอาคารเรียนคณะสังคมฯ ซึ่งเป็นภาพที่เข้ารอบการประกวดภาพถ่ายเมื่อหลายเดือนก่อน ภาพนี้ถูกส่งต่อมาหลายทอด เริ่มจากคุณนิเวศน์ อินติ๊ป ส่งให้คุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ แล้วมาเป็น ส.ค.ส.ออนไลน์ ที่ใช้ข้อความเช่นเดียวกับในบัตรอวยพรของมหาวิทยาลัย ขนาดภาพกำหนดไว้ที่ 1024 * 768 เพื่อให้ถูกนำไปทำ background ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
+ http://it.yonok.ac.th/doc/oit/card2553.jpg