วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง ผลของการเรียนบนเครือข่ายต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

รวมงานวิจัยในชั้นเรียน (class research)
รวมงานวิจัยในชั้นเรียน (class research) https://drive.google.com/folderview?id=0B_dx3cf4F2pkTmpyak5Pb3FpMzA

จุฑารัตน์  ศราวณะวงศ์ (2543) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง ผลของการเรียนบนเครือข่ายต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การใช้เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนบนเครือข่าย มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 96 คน ทดลองให้เรียนจากโฮมเพจรายวิชา ที่ทำการปรับปรุงจนมีประสิทธิภาพ และค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 81.50/85.33 และ 0.59 ก่อนเรียนได้ทำแบบทดสอบก่อนเรียน และเมื่อเรียนจบบทเรียนก็ได้ทำแบบทดสอบหลังเรียน พร้อมกับตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ เมื่อทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติ T-Test พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยต่างกันร้อยละ 27.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และความพึงพอใจของการเรียนอยู่ในระดับมาก
อ้างอิงจาก
จุฑารัตน์  ศราวณะวงศ์ (2543), ผลของการเรียนบนเครือข่ายต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การใช้เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2557, แหล่งที่มา
https://docs.google.com/file/d/0B_dx3cf4F2pkWWVtZjZPUUNWbDg/


รวมงานวิจัยในชั้นเรียน ที่สมบูรณ์มีถึง 199 รายการ
https://drive.google.com/folderview?id=0B_dx3cf4F2pkTmpyak5Pb3FpMzA

ใช้ crosstabs และ chi-square แสดงความสัมพันธ์ของสองตัวแปร

crosstab กับ chi-square

สืบเนื่องจาก ดร.ลภัสรดา จ่างแก้ว แนะนำนักศึกษา MBA ให้ใช้ crosstab กับ chi-square นำเสนอผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เป็นค่าสถิติที่เข้าใจง่าย และนำไปอธิบายตารางได้ทันที ว่า การรับรู้ และการนำไปปฏิบัตินั้น มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

การใช้ค่า Chi-square และการทำ Crosstabs นั้น สามารถหาได้ว่า 2 ตัวแปรนี้มีผลต่อกันหรือไม่ ถ้าข้อมูลไม่สัมพันธ์กัน ค่า sig ก็จะมากกว่า 0.05 อย่างกรณีนี้ ข้อมูลของ v1 กับ v2 สัมพันธ์กัน ทำให้ค่า Sig. Pearson Chi-square ได้ 0.002

สำหรับงานวิจัยที่ต้องการ เปรียบเทียบการรับรู้ และ การนำไปใช้ ก็สามารถใช้ Chi-square และทำการแจกแจงแบบตารางไขว้ (Crosstabs) ซึ่งนำเสนอผลการศึกษาได้ชัดเจน ดังภาพประกอบ แต่การใช้ตาราง Crosstabs ก็ต้องอ่านตารางด้วยความเข้าใจ และอธิบายเชิงพรรณาให้ชัดเจน ว่าทำไมจึงมีความสัมพันธ์แบบนั้นเกิดขึ้น

ตัวอย่างการใช้ Chi-Square – เมื่อได้อ่านงานวิจัย ของ Thongphanh Chanthalak และ พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบริจากโลหิตด้วยความสมัครในไม่หวังสิ่งตอบแทนของประชาชน ชุมชนเมืองจันทะบูลี นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2), 34-41. พบว่า มีการใช้ค่าสถิติ Chi-Square test มาทดสอบ ตัวแปรต้นต่าง ๆ กับความถี่ในการบริจาคโลหิตของประชาชน คราวละตัวแปร แล้วได้ค่า p-value มาเขียนรายงานการวิจัย เช่น ตัวแปรเพศมีความสัมพันธ์กับการบริจาคโลหิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p-value < 0.001) โดยพบว่าเพศชายบริจาคโลหิตมากกว่าเพศหญิงประมาณ 1.7 เท่า

http://www.thaiall.com/spss/chisquare/

ประชุมเครือข่ายพัฒนาประเด็นวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม

research
research

26 ก.ย.57 ประชุมเครือข่ายพัฒนาประเด็นวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม
ร่วมกัน ผศ.ดร.จรีรัตน์ สุวรรณ์ และดร.พิมผกา โพธิลังกา  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
พร้อม อ.รพีพงษ์ อินต๊ะสืบ วิทยาลัยอินเตอร์เทค และอ.ธวัชชัย แสนชมภู มหาวิทยาลัยเนชั่น
ที่ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา ชั้น 2 อาคารโอฬารโรจน์หิรัญ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ประเด็นสืบเนื่องจากการประชุมเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตสถาน ภาคเหนือตอนบน
เมื่อวันที่ 22 ส.ค.57 โดยประเด็นที่พูดคุยเป็นการหาแนวทางกับประเด็นที่ได้รับมา
คือ “การจัดการที่ดิน เพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและปัญหาหมอกควัน”
ซึ่งลำปางมีหลายพื้นที่ที่เป็นสีแดง ซึ่งแต่ละสถาบันก็สนใจในพื้นที่ที่แตกต่างกัน
เช่น อ.งาว อ.เมือง อ.เถิน เป็นต้น
ต่อจากนี้ก็จะมีการสร้างเครือข่ายสถาบันการศึกษาด้านการวิจัย เพื่อให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพ
โดยแต่ละสถาบันก็จะมีโครงการเสนอเข้าไปที่แม่ข่าย คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ได้แก่ โครงการเกี่ยวกับหมอกควัน และการศึกษา
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.898656623481803.1073741932.506818005999002

ประชุมเครือข่ายสหวิทยาการ กลุ่มภาคเหนือตอนบน ที่เชียงใหม่แกรนด์วิว

เครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตสถาน ภาคเหนือตอนบน และเครือข่ายเชิงประเด็น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เครือข่าย C - อพ.สธ.) เครือข่ายอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนบน
เครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตสถาน ภาคเหนือตอนบน และเครือข่ายเชิงประเด็น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เครือข่าย C - อพ.สธ.) เครือข่ายอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนบน

22 สิงหาคม 2557 มีโอกาสร่วมประชุมสัมมนาใน
โครงการประชุมสัมมนาพัฒนาและขยายผลประเด็นกลยุทธ์แก้ไขปัญหาชุมชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
สำหรับเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตสถาน ภาคเหนือตอนบน
และเครือข่ายเชิงประเด็น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เครือข่าย C – อพ.สธ.)
เครือข่ายอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนบน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗

มีวัตถุประสงค์ 6 ข้อ
1. เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่ายฯ และขยายความร่วมมือด้านการวิจัย และวิชาการกับเครือข่ายอื่นในภูมิภาคภาคเหนือตอนบน
2. เพื่อต่อยอดการพัฒนาแนวทางในการประสานงานและทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการระหว่างนักวิจัย นักวิชาการและภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาท้องถิ่นสำคัญ
3. เพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยแบบสหวิทยาการของเครือข่ายภาคเหนือตอนบนเพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาท้องถิ่นที่สำคัญ
4. เพื่อนำผลที่ได้จากการประชุมระดมสมอง ไปใช้ประโยชน์จริงตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวมถึงชุมชนอย่างแท้จริง
5. เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตยสถานภาคเหนือ ภาคเหนือตอนบน และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เครือข่าย C – อพ.สธ.) เครือข่ายอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนบน
6. เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาข้อเสนอโครงการภายใต้ประเด็นปัญหาของภาคเหนือตอนบนและพัฒนาต่อยอดร่วมกันในเครือข่ายต่อไป
กิจกรรมช่วงเช้า เป็นการบรรยาย ประกอบด้วย
1. กล่าวต้อนรับ และกล่าวเปิดประชุม
โดย รศ.ดร.เสริมเกียรติ จอมจันทร์ยอง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. กล่าวบรรยายพิเศษ “การดำเนินงานของเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน”
โดย รศ.ดร.คมกฤต เล็กสกุล ผู้อำนวยการศูนย์บริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. บรรายายพิเศษ “แนวคิดและทิศทางการดำเนินงานและพัฒนาของเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตยสถานภาคเหนือตอนบนกับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาท้องถิ่น”
โดย ศ.นพ.ยงยุทธ  วัชรดุลย์ ประธานคณะกรรมการสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนา
4. การบรรยาย เรื่อง
“การดำเนินงาน/แผนงาน/โครงการเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตยสถานภาคเหนือตอนบน”
โดย รศ.ดร.อาวรณ์  โอภาสพัฒนกิจ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ

กิจกรรมช่วงบ่าย แยกกลุ่มตามประเด็น
ห้องที่ 1 ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม (หมอกควัน) ห้องประชุมทิพย์พิมาน
ประเด็น “การพัฒนาประเด็นเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม (หมอกควัน) ในส่วนภูมิภาค (ภาคเหนือตอนบน)”
ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ
ผลจากการประชุมได้ร่างชื่อชุดโครงการวิจัยว่า
การจัดการที่ดินเพื่อลดปัญหาหมอกควัน
แล้วนัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 3 ตุลาคม 2557 ที่จะเกิดขึ้น
หลังแต่ละสถาบันไปเขียนข้อเสนอโครงการย่อยเชิงบูรณาการ
แล้วนำโครงการทั้งหมดมาเชื่อมโยงกัน และพูดคุยกันอีกครั้ง
โดยมี อ.ธวัชชัย แสนชมภู เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยเนชั่นร่วมแลกเปลี่ยน

ห้องที่ 2 ประเด็นปฏิรูปด้านการศึกษาเยาวชน (ม.แม่ฟ้าหลวง) ห้องประชุมย่อยฝูเป่า
ประเด็น “การพัฒนาประเด็นปฏิรูปด้านการศึกษาเยาวชนในส่วนภูมิภาค (ภาคเหนือตอนบน)”
ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ และ ดร.พนม วิญญายอง
ผลจากการประชุมได้ร่างชื่อชุดโครงการวิจัยว่า
กระบวนการพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กและเยาวชนตามแนวพระราชดำริ
ซึ่ง ผศ.ดร.เพ็ญพิสุทธิ์ ใจสนิท
เสนอให้ไปค้นข้อมูลเพิ่มเติมที่ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.cf.mahidol.ac.th/
ส่วน ดร.สมคิด แก้วทิพย์ ได้ฉายภาพปัญหาระบบการศึกษาไทย
เป็นปัญหา 4 ระดับ ที่ทำให้ทีมงานพิจารณาร่วมกัน และเห็นภาพได้ชัดเจน
คือ ฐานคิด โครงสร้าง แผนงาน/กระบวนการ ปรากฎผล
ในกลุ่มตกลงร่วมกันว่าจะสื่อสารกันด้วย e-mail และ line กลุ่ม

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.898656623481803.1073741932.506818005999002

แหล่งนำเสนอผลงานทางวิชาการ

2 dean from 2 university : national and international conference
2 dean from 2 university : national and international conference

นิยามศัพท์ ที่เกี่ยวข้องกับ การประชุมวิชาการระดับชาติ และ การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ

การเผยแพร่ผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ หมายถึง การนำเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการและบทความฉบับสมบูรณ์(Fullpaper)ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) โดยมี กองบรรณาธิการจัดทำรายงานการประชุม หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วย ศาสตราจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ จากนอกสถาบันเจ้าภาพ อย่างน้อยร้อยละ 25 โดยต้องมีผู้ประเมินบทความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นด้วย และมีบทความที่มาจากหน่วยงานภายนอกสถาบันอย่างน้อย 3 หน่วยงาน และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 25

การเผยแพร่ผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หมายถึง การนำเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการ และบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม(Proceedings) โดยมีกองบรรณาธิการจัดทำรายงานฯ หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วยศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ จากต่างประเทศอย่างน้อยร้อยละ 25 และมีผู้ประเมินบทความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น และบทความที่มาจากต่างประเทศอย่างน้อย 3 ประเทศ และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 25

** บทความในการประชุมวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ ที่นำเสนอให้กองบรรณาธิการหรือคณะกรรมการจัดประชุมพิจารณาคัดเลือก ต้องเป็นฉบับสมบูรณ์ (Full paper) และได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้

อ้างอิง คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 หน้า 35 – 36


Proceedings คือ เอกสารหรือหนังสือที่รวบรวมบทความวิจัย บทคัดย่อ หรือเอกสารนำเสนอในการประชุมวิชาการหรือวิชาชีพ ที่จัดขึ้นทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยสมาคม หน่วยงาน หรือองค์กร จัดให้มีการประชุม เพื่อเป็นการพบปะระหว่างนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาชีพ ในสาขาวิชาเดียวกันอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และความร่วมมือกัน มีการนำเสนอผลการค้นคว้าวิจัยใหม่ในที่ประชุม

รายงานการประชุมที่เผยแพร่เป็นรูปเล่ม (Proceedings) ดำเนินการตีพิมพ์ผลงานฉบับสมบูรณ์เผยแพร่หลังการประชุม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ (International Conference)
2. การประชุมวิชาการระดับชาติ (National Conference)
เช่น http://202.44.34.144/nccitedoc/
หรือ  http://www.techno.edu.nu.ac.th/proceedingsEdtech.pdf
http://thaiglossary.org/node/10552

การประชุมระดับนานาชาติ (International Conferences) คือ การประชุมระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการระหว่าง ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากหลาย ๆ ประเทศ เพื่อพิจารณาหาทางระงับปัญหาระหว่างประเทศ การประชุมเช่นนี้บางทีเรียกว่า คองเกรสระหว่างประเทศ แม้จะเรียกต่างกัน แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันที่สำคัญระหว่างสองคำนี้ บ้างมีความเห็นว่า ใช้คำคองเกรส ดูจะมีความสำคัญและมีลักษณะเป็นทางการมากกว่าใช้คำ คอนเฟอเรนซ์ผู้แทนจากประเทศที่ร่วมการประชุมในบางโอกาส ได้แก่บุคคลในระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือเอกอัครราชทูต แล้วแต่ว่าการประชุมนั้น ๆ มีความสำคัญระดับใดในการประชุมระหว่างประเทศ แต่เดิมใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกันมากทั้งสองภาษา มาในภายหลังมักนิยมใช้ภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด ส่วนการประชุมระหว่างประเทศที่องค์การสหประชาชาติเป็นผู้จัด จะใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย และจีน รวม 5 ภาษาตามปกติ มักจะเลือกหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศเจ้าภาพให้ทำหน้าที่ประธานการประชุม ส่วนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของการประชุม ได้แก่ รองประธาน เลขานุการของการประชุม ประธานกรรมการ และผู้บันทึกรายงานสำหรับรายงานการประชุม ข้อมติของที่ประชุมและข้อเสนอแนะนั้น จะรวมเข้าไว้ในเอกสารที่เรียกว่า กรรมสารสุดท้าย (Final Act) ซึ่งผู้แทนประเทศผู้มีอำนาจเต็มจะเป็นผู้ลงนามในเอกสารนั้นในการประชุมครั้งสุดท้าย

http://thaiglossary.org/node/36943


กระบวนการพิจารณา (Review Procedures)
KST = Knowledge and Smart Technology
http://kst.buu.ac.th/2017/submit_paper.html

review procedures
review procedures

เกณฑ์มาตรฐานวารสารวิชาการกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๒

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ร่วมมือกันในการที่จะยกมาตรฐานการเผยแพร่งานวิชาการในประเทศให้มีคุณภาพและเพื่อผลักดันให้เกิดมาตรฐานที่ใกล้เคียง หรือเทียบได้กับนานาชาติ มาตรการหนึ่งในบรรดามาตรการทั้งหลายคือการสนับสนุนให้เกิดวารสารทางวิชาการกลางอันจะเป็นที่รวมและเผยแพร่ความรู้ของประชาคมวิชาการในประเทศไทยโดยไม่เพียงแต่สนองความต้องการของสถาบันใดสถาบันหนึ่ง

เพื่อให้วารสารวิชาการของสถาบันการศึกษาในประเทศไทยได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งกลางในการเผยแพร่งานวิชาการของประชาคมอุดมศึกษาให้มีมาตรฐานเทียบเคียงกับระดับนานาชาติ ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงกำหนดเกณฑ์คุณภาพวารสารวิชาการที่สมควรได้รับการสนับสนุนไว้ ดังนี้

๑. กองบรรณาธิการของวารสารวิชาการในประเทศต้องมีศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกจากภายนอกสถาบันที่จัดพิมพ์วารสารนั้น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานโดดเด่นอย่างต่อเนื่องเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ

๒. ผู้ประเมินบทความต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ทำ งานวิจัยและมีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง

๓. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ต้องมีบทความที่ผู้เขียนมาจากสถาบันอื่นที่มิใช่สถาบันที่จัดทำวารสารนั้นไม่น้อยกว่า ๑๐% ของจำนวนบทความทั้งหมด ในอนาคตควรมีการเพิ่มจำนวนบทความประเภทดังกล่าวให้ถึง ๒๕% ของบทความทั้งหมดเพื่อเป็นการพัฒนา คุณภาพวิชาการของประเทศ

๔. บทความที่เขียนโดยนักวิชาการในสถาบันที่จัดทำวารสารนั้นต้องมีผู้ประเมินจากสถาบันภายนอกไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ประเมินทั้งหมด

๕. กำหนดให้มีการประเมินคุณภาพวารสารทุกๆ ๒ ปี ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

๖. บทความแต่ละบทความต้องมีบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ในกรณีที่ตีพิมพ์เป็นภาษาต่างประเทศต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาไทยด้วย

๗. วารสารต้องออกตรงตามเวลาอย่างต่อเนื่อง

๘. วารสารต้องมีบทวิจารณ์หนังสือ (book review)

๙. วารสารควรมีการตีพิมพ์บทความปริทรรศน์ (review article) เป็นครั้งคราว

http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/document/gain.pdf

เกณฑ์คุณภาพวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/document/gain%20vit-techno.pdf

พบนักวิชาการเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ปาย

burin @cmu
burin @cmu

2 ก.พ.57 ได้รับโอกาสพบนักวิชาการ 3 ท่านคือ
ผศ.ดร.สาวิตร มีจุ้ย อ.รณวีร์ สุวรรณทะมาลี
และ รศ.ดร.ศักดิ์ดา  จงแก้ววัฒนา
ณ ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แล้วได้พูดเรื่องการใช้งานวิจัยพัฒนาชุมชน
ประเด็นการท่องเที่ยว และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
มีพื้นที่คือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
โดยการทำงานจะแบ่งเป็น 4 ช่วง
คือ ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์และสังเคราะห์ และจัดกิจกรรม
ซึ่งการท่องเที่ยวนั้นมีเส้นทางแบ่งได้เป็น ธรรมชาติ เกษตร และวัฒนธรรม

ระบบที่พัฒนาขึ้น ส่วนหนึ่งจะช่วยสนับสนุนนักท่องเที่ยวในการตัดสินใจ
เลือกเส้นทางการท่องเที่ยวภายใต้ งบประมาณ เวลา และความสนใจ
ด้วยการนำเสนอเส้นทาง ข้อมูล และแผนการเดินทางผ่านเว็บไซต์

ซึ่งมี template ที่ผมเสนอระหว่างการพูดคุยเรื่อง proposal ตามภาพนี้

googlemap in talking
googlemap in talking

บูมลำปาง สู่เมืองเศรษฐกิจใหม่

ntc2014 : lampang 2020
ntc2014 : lampang 2020

Lampang 2020
บูมลำปาง สู่เมืองเศรษฐกิจใหม่

มหาวิทยาลัยเนชั่น ร่วมระดมสมองเพื่อขับเคลื่อน
เมืองลำปางสู่อนาคตใหม่
ในงานประชุมวิชาการ
อุดมศึกษาไทยกับการพัฒนาประเทศ
ประจำปีการศึกษา 2556
24 – 26 มกราคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น
NTC2014

Proceeding
http://it.nation.ac.th/studentresearch/files/351003.pdf

กำหนดการสัมมนา LAMPANG 2020 : บูมลำปางสู่เมืองเศรษฐกิจใหม่
วันที่ 24-26 มกราคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2557
08.00-08.50 น.    ผู้เข้าประกวดรายงานตัว
08.50-09.00 น.    กล่าวต้อนรับและเปิดงาน โดย คุณสุทธิชัย หยุ่น
09.00-10.00 น.    ประกวดทีมที่ 1-2
10.00-11.00 น.    ประกวดทีมที่ 3-4
11.00-12.00 น.    ประกวดทีมที่ 5-6
12.30-13.00 น.    ประกวดทีมที่ 7
13.00-14.00 น.    ประกวดทีมที่ 8-9
14.00-15.00 น.    ประกวดทีมที่ 10-11
15.00-16.00 น.    ประกาศผลการแข่งขัน
มอบรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 พร้อมเกียรติบัตร โดย สภาวัฒนธรรมจังหวัด
มอบรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 พร้อมเกียรติบัตร โดย คุณสุทธิชัย  หยุ่น
มอบรางวัลชนะเลิศ พร้อมเกียรติบัตร โดย คุณสุทธิชัย  หยุ่น
มอบของที่ระลึกให้กับกรรมการตัดสิน / ถ่ายรูปหมู่

วันเสาร์ที่ 25 มกราคม 2557
07.00-08.30 น.    พิธีทำบุญเนื่องจากคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเนชั่น
08.00-08.45 น.    ลงทะเบียน/ชมวิดีทัศน์แนะนำมหาวิทยาลัย
08.45-9.00 น. กล่าวรายงาน โดย ดร.วันชาติ  นภาศรี รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานบัณฑิตศึกษา
พิธีเปิด โดย ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น
09.00-12.00 น. การนำเสนอผลงานวิชาการ
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-17.30 น. การนำเสนอผลงานวิชาการ

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2557
08.30-09.00 น.    ลงทะเบียน
09.00-09.15 น.    กล่าวต้อนรับ โดย สุทธิชัย หยุ่น ประธานกรรมการบริหารบริษัทเนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด(มหาชน)
09.15-09.45 น.     ปาฐกถาเปิดงาน “มิติใหม่เมืองลำปาง”
โดย ศุภชัย  เอี่ยมสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ปฎิบัติหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง
09.45-10.45 น.    Keynote Speech by Dr.Yotaro Morishima, President, Professor,
Fukui University of Technology “Challenges of Japanese
Universities in the Borderless Era”
10.45-11.15 น.    Thailand Investment in Myanmar by Kin Myoe Nyunt
11.15-11.45 น.     การเตรียมความพร้อมของนักเรียนนักศึกษาไทยสำหรับประชาคมอาเซียน:
กรณีศึกษาโรงเรียนลำปางกัลยาณีและมหาวิทยาลัยเนชั่น  โดย ดร.สุจิรา  หาผล
“Readiness of Thai Students in English Competency for ASEAN Community:
A Case Study in Lampang Kanlayanee School and Nation University”
11.45-12.00 น.    พิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยเนชั่น และ
Fukui University of Technology
12.00-12.15 น.    ชมนิทรรศการผลงานวิชาการ (Poster Session)
12.15-13.15 น    รับประทานอาหารกลางวัน/บรรเลงดนตรีพื้นเมือง ซะล้อ ซอ ซึง/แฟชั่นโชว์
13.15-15.00 น.    เสวนา เรื่อง วางยุทธศาสตร์เมืองลำปางรับ AEC
วิลาวัลย์  ตันรัตนกุล ผู้อำนวยการสำนัก สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือ
พลฤทธิ์  เศรษฐกำเหนิด  ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2  การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
พิชัย  รักตะสิงห์   ผอ. ภูมิภาคเอเชียใต้และแปซิฟิกใต้  กองการตลาดเอเชียใต้ และแปซิฟิกใต้
อธิภูมิ  กำธรวรรินทร์  ประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรม จังหวัดลำปาง
15.00-17.00 น.    เสวนา “บูมลำปางสู่เมืองเศรษฐกิจใหม่”  โดย
อนุชา  จิตะพันธ์กุล  ผู้ช่วยผู้อำนวยการแผนกส่งเสริมการตลาด สาขาเขต 1
บริษัท เซนทรัลพัฒนา จำกัด(มหาชน)
ชนินทร์  พรหมเพ็ชร  ผู้จัดการส่วนการบุคคล บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง)จำกัด
พนาสิน  ธนบดีสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนบดีอาร์ต เซรามิค จำกัด
อนุวัตร  ภูวเศรษฐ์ ประธานหอการค้าจังหวัดลำปาง
ผศ.ดร.พงษ์อินทร์  รักอริยะธรรม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น
http://www.nation.ac.th/ntc2014/

conference
conference

Facebook album
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.779721072042026.1073741916.506818005999002

ชวนเสนอบทความในงาน NCCIT2014

ชวนเสนอบทความในงาน NCCIT2014

NCCIT2014 at Angsana Laguna Phuket
NCCIT2014 at Angsana Laguna Phuket

23 มกราคม 2557 ได้รับอีเมลชวนเสนอบทความในงาน NCCIT2014 อีกครั้งหนึ่ง
จาก คุณวัชรีวรรณ จิตต์สกุล [watchareewanj@hotmail.com]
ซึ่งผมสนใจส่ง paper เข้าร่วมนำเสนอหลายปีติดต่อกัน
ในกลุ่ม Information Technology and Computer Education
ว่าปีนี้จัดระหว่างพฤหัสบดีที่ 8 – ศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2014
ที่ Angsana Laguna, Phuket
http://www.angsana.com/en/phuket/

Call for paper NCCIT2014
The 10th National Conference on Computing and Information Technology (NCCIT2014)
8-9 May 2014 At Angsana Laguna, Phuket, Thailand by
King Mongkut’s University of Technology North Bangkok
http://www.nccit.net


NCCIT Areas of  Interest
Conference Topics Include (but not limited to):

– Data Mining and Machine Learning:
Artificial Neural Network, Fuzzy Systems, Hybrid Systems, Evolutionary Computation, Knowledge Discovery, Knowledge Transfer, Knowledge Management, Decision Support, Recommender Systems, Text Mining, and Web Mining.
– Data Network and Communication:
Computer Network, Security & Forensic, Wireless & Sensor Network, Telecommunication, Mobile Ad-Hoc Network, Cloud & Grid Computing, Decentralized computing, P2P networks, P2P protocols, and Semantic P2P networks.
– Human-Computer Interface and Image Processing:
Human Machine Interface, User Customization, Embedded Computation, Augmented Reality, Computer Vision, Feature detection, Medical image processing, and Facial recognition
– Information Technology and Computer Education:
Knowledge Management, Web Application, Web Service, Management Information System, Customer Relation Management, Ontology, Semantic Web and Enterprise Resource Planning, Software engineering and Computer Education

Important Dates(NCCIT)
Paper Submission for Review: January 31, 2014
Decision Notification: February 17, 2014
Camera Ready Version: March 3, 2014
Advanced Registration: March 5, 2014

Conference Format
The conference has two types of presentations: invited keynote
speakers and regular oral presentations. The proceedings of the
conference will be published and distributed in CD-contained format.

Paper Submission
Papers must be written inThai for NCCIT2014
and should describe original work in detail. Each regular
paper, according to instructions, must be accompanied by an
abstract summarizing the contribution it makes to the field.
Each paper will be reviewed by at least three reviewers. Submission of a
paper constitutes a commitment that, if accepted, one or more
authors will attend and participate in the conference. Electronic
submission in camera-ready format and author’s bibliography are
required. Please check information at http://www.nccit.net

Contact Information
Assoc. Prof. Dr.Phayung Meesad, NCCIT2014 Chair
Asst. Prof. Dr.Sirapat Boonkrong, NCCIT2014 Secretary
Faculty of Information Technology
King Mongkut’s University of Technology North Bangkok (KMUTNB)
Pracharat 1 Rd. Wongsawang, Bangsue Bangkok 10800.
Email: pym@kmutnb.ac.th; sirapatb@kmutnb.ac.th
Tel:  +662 555 2000  ext. 2711, 2719, 2726; Fax: +662 555 2734

http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm

AAR หลังประชุมกับ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ลำปาง

AAR หลังประชุมกับ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ลำปาง

AAR หลังประชุมกับ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ลำปาง
AAR หลังประชุมกับ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ลำปาง

17 ม.ค.57 ได้ประชุมร่วมกับเพื่อนในสถาบันต่าง ๆ
ที่มีประสบการณ์ทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ณ ห้องประชุมอาคาร ดร.เทียม โชควัฒนา 9.00 – 14.30น.
เพื่อจัดประชุม 6 ปีวิชาการเพื่อท้องถิ่น นำทีมโดยคุณภัทรา มาน้อย
มีประเด็นพอที่จะประมวล ในส่วนของหน้าที่ที่ต้องไปทำต่อ ดังนี้
1. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักวิชาการในมหาวิทยาลัย เข้าร่วมประชุม
2. ทาบทามท่านอธิการกล่าวต้อนรับ และร่วมเสวนาเชิงนโยบาย
3. ประสานหานักศึกษา 6 คน ทำงานลงทะเบียน ช่วยงานหน้าเวที (สวย)
4. ประสาน อ.อัศนีย์ ณ น่าน ทำหน้าที่พิธีกรในงาน
5. ปรับแก้ poster และ อ.เชพ แก้ไวนิล ตามมติที่ประชุม
6. ประสานการบันทึกคลิ๊ปวีดีโอ เพื่อประชาสัมพันธ์
7. ประสานคณะต่าง ๆ นำเสนอผลงานที่เกี่ยวกับท้องถิ่น
– สาขาการจัดการ : ซางข้าวโพด
– สาขาวิชาภาษาอังกฤษ : อบรมภาษา
– สาขาวิชาสาธารณสุข : ทำงานในชุมชน
8. ประสานฝ่ายประชาสัมพันธ์จัดบูทนำเสนอหลักสูตร
9. ประสานคุณแอน จัดบูทจำหน่ายหนังสือ
10. ประสานผู้รับผิดชอบอาคาร เตรียมความพร้อมใช้สถานที่
11. สรุปกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยจะทำภายในงาน ส่ง สกว.
12. รอประสานทำคลิ๊ป กับทีมของศูนย์ฯ
เรื่องบริการวิชาการรูปแบบใหม่ ว่าใหม่อย่างไร

กลุ่มเป้าหมาย คือ นักวิชาการ ผู้เกี่ยวข้อง และตัวแทนชุมชนที่สนใจ
ในการพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้การวิจัย จากบทเรียน 6 ปี
ของการวิจัยเพื่อท้องถิ่นในบทบาทของ ศูนย์ฯ ลำปาง
งานมีขึ้นในวันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557

AAR = After Action Review

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.724680400879427.1073741872.506818005999002

ประมูลทีวีดิจิตอล วัดกันที่เงิน ยอดสูงกว่าก็ได้ไป

กสทช.ประกาศประมูลทีวีดิจิตอลในวันที่ 26-27 ธ.ค. 2556 คาดประกาศรับรองผลได้ในวันที่ 6 ม.ค. 2557พร้อมแก้ไขหลักปฏิบัติการประมูลใหม่หลังพบปัญหาช่วงทดสอบระบบ “พ.อ.นที” ขู่ใครฮั้วประมูลโดนอาญาและชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/viewNews.aspx?NewsID=9560000154399

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ด กสท.เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.ว่า ที่ประชุมได้มีมติประกาศให้วันที่ 26-27 ธ.ค. 2556 ตั้งแต่เวลา 08.00-20.00 น. เป็นวันประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ 24 ช่อง ที่บริษัท กสท โทรคมนาคม เขตบางรัก โดยจะใช้พื้นที่ของชั้นที่ 27-30 จำนวน 16 ห้องที่ใช้สำหรับในการประมูล และ 1 ห้องเป็นห้องควบคุมการประมูลครั้งนี้

ทั้งนี้ การประมูลดังกล่าวจะแบ่งการประมูลออกเป็น 2 วัน คือวันที่ 26 ธ.ค. 2556 ช่วงเช้า ตั้งแต่ 08.00-14.00 น. เป็นการประมูลประเภทช่องทั่วไป (วาไรตี) ความคมชัดสูง (HD) และช่วงบ่ายตั้งแต่ 14.00-20.00 น.เป็นการประมูลประเภทช่องทั่วไป (วาไรตี) ความคมชัดมาตรฐาน (SD) และในวันที่ 27 ธ.ค. 2556 ช่วงเช้า 08.00-14.00 น. เป็นการประมูลประเภทช่องข่าวสารสาระ และช่วงบ่ายตั้งแต่ 14.00-20.00 น.เป็นการประมูลประเภทช่องเด็กและครอบครัว

“อย่างไรก็ตาม กรอบเวลาดังกล่าวนั้นเป็นการกำหนดเวลาทั้งหมดเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วเชื่อว่าจะเริ่มการเคาะประมูลรอบเช้าได้ในเวลา 11 นาฬิกา ขณะที่ช่วงบ่ายจะเริ่มเคาะ 16 นาฬิกา โดยคาดว่าจะใช้เวลาการประมูลแต่ละประเภทไม่เกิน 1 ชั่วโมง”

ขณะที่ภายหลังการประมูลเสร็จสิ้นลงจะรู้ผลผู้ชนะการประมูลในทันที แต่จะสามารถรับรองผลการประมูลได้ภายหลัง 15 วันเมื่อการประมูลจบลง และจะดำเนินการออกใบอนุญาตให้แล้วเสร็จในเดือน ม.ค. 2557 และให้ออกอากาศได้ภายในเดือน ก.พ. 2557 ต่อไป

“กสท.อาจจะสามารถประกาศรับรองผลการประมูลทีวีดิจิตอลได้ในวันที่ 6 ม.ค. 2557 ซึ่งถือเป็นการประชุมบอร์ดครั้งแรกหลังการประมูลเสร็จสิ้นลงนั่นเอง”

นอกจากนี้ ภายหลังการประกาศรับรองผลการประมูล 30 วัน ผู้ชนะการประมูลจะต้องนำเงินมาชำระค่าใบอนุญาตทีวีดิจิตอลซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. ชำระราคาขั้นต้นการประมูลแบ่งจ่ายเป็น 4 งวด คือในปีแรกจำนวน 50% ปีที่ 2 จำนวน 30% ปีที่ 3 จำนวน 10% และปีที่ 4 จำนวน 10% และในส่วนที่ 2 ชำระ10% ของราคาที่เกินมาจากราคาขั้นต้น

พ.อ.นทีกล่าวว่า ที่ประชุมยังมีมติปรับปรุงหลักปฏิบัติในการประมูลทีวีดิจอตอลครั้งนี้ ได้แก่ 1. มีการแก้ไขกระบวนการจับฉลากเพื่อเลือกหมายเลขห้องการประมูล ลำดับที่การประมูล และรหัสผ่านที่ใช้ในการประมูล 2. มีการแก้ไขให้ผู้เข้าประมูลสามารถออกมาเข้าห้องน้ำได้แต่ต้องมีเจ้าหน้าที่ติดตามไปด้วยจากเดิมไม่ให้ผู้เข้าประมูลออกมาจากห้องเลยไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม 3. ไม่อนุญาตให้ผู้เข้าประมูลนำอุปกรณ์สื่อสารใดๆ เข้าห้องประมูลได้ยกเว้นแต่เจ้าหน้าที่ที่คอยดูแลระบบเท่านั้น และ 4. ปรับให้ผู้เข้าร่วมประมูลสามารถนำเอาเอกสารต่างๆ ที่สำคัญ อาทิ แผนธุรกิจเข้าไปในห้องประมูลได้แต่ต้องไม่เกิน 10 หน้าขนาด A4 โดยสาเหตุที่ต้องมีการแก้ไขหลักปฏิบัติในครั้งนี้เนื่องจากเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ ผ่านมา กสท.จัดให้มีการทดลองการประมูลกับผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมประมูล ซึ่งผลปรากฏว่าเกิดปัญหาต่างๆ ในระหว่างการทดสอบระบบดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการแก้ไขหลักปฏิบัติ

ขณะเดียวกัน ตัวแทนผู้เข้าร่วมประมูลแต่ละบริษัทที่มีความประสงค์จะเข้าห้องเพื่อเคาะประมูลซึ่งไม่เกิน 5 คนนั้นจะต้องส่งรายชื่อก่อนวันประมูล 5 วัน และในวันประมูลจริงได้ใช้เจ้าหน้าที่ดำเนินการประมูลจำนวน 175 คน โดยรวมการประมูลทีวีดิจิตอลในครั้งนี้ กสท.ใช้งบประมาณไปราว 20 ล้านบาท

อีกทั้งหากกรณีเกิดปัญหาในวันประมูลที่ไม่ส่งผลกระทบต่อราคาการประมูลให้รักษาการ กสทช.ด้าน กสท.เป็นคนตัดสินใจ แต่หากมีผลต่อราคาการประมูลต้องให้ประธาน กสท.เป็นคนตัดสินใจเท่านั้น

“หากในวันประมูลเกิดจับได้ว่าผู้เข้าร่วมประมูลมีพฤติกรรมเข้าข่ายไปในการฮั้วประมูลเกิดขึ้น โดยผู้กระทำความผิดดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ชำระค่าเสียหายจากการประมูลทั้งหมด รวมไปถึงถือเป็นคดีอาญาด้วย ส่วนกรณีมีการสละสิทธิ์ หรือไม่มีการเคาะประมูลเกิดขึ้นก็จะต้องชดใช้ค่าเสียหายในการประมูลเช่นเดียวกัน”

สำหรับรายละเอียดการประมูลนั้น ประเภทช่องทั่วไป (วาไรตี) ความคมชัดสูง (HD) ราคาเริ่มต้น 1,510 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 10 ล้านบาท ประเภทช่องทั่วไป (วาไรตี) ความคมชัดมาตรฐาน (SD) ราคาเริ่มต้น 380 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 5 ล้านบาท ช่องข่าวสารสาระราคาเริ่มต้นประมูล 220 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 2 ล้านบาท และช่องเด็กและครอบครัวราคาเริ่มต้น 140 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 2 ล้านบาท