เพื่อนใหม่ที่ศูนย์เนชั่นทาวเวอร์

20 ม.ค.55 เพื่อนร่วมงานใหม่ เป็นอะไรที่เป็นสีสรรขององค์กร เพราะนั่นหมายถึงอะไรใหม่ ๆ มากมายที่จะตามมา โดยเฉพาะคำว่าการเปลี่ยนแปลง (Change) เหมือนที่อ่านได้จากหนังสือของ Steve Jobs ในฐานะนักนวัตกรรมระดับโลก พบว่าเขาเปลี่ยนงาน และเพื่อนร่วมงานบ่อย มีผู้คนที่มีความคิด ความสามารถ เข้ามาในชีวิตของเขาตลอดเวลา ผมเองก็ดีใจที่ได้เพื่อนร่วมงานใหม่

รับแจ้งมาว่าผมมีเพื่อนใหม่ในองค์กรที่ศูนย์เนชั่นทาวเวอร์ เพิ่มอีก 6 ท่าน
คือ
1. อาจารย์รัตนาวดี ลำพาย ผู้อำนวยการศูนย์เนชั่นทาวเวอร์
2. อาจารย์วนิดา วินิจจะกูล รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์
3. อาจารย์ภรภัทร ปิติโชตินันท์ รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
4. อาจารย์ดรรชกร ศรีไพศาล รองคณบดีคณะบริหารธุรกิจ
5. อาจารย์ภฎะ รองรัตน์ หัวหน้างานกิจกรรมนักศึกษา
6. อาจารย์รุ่งรัตน์ ธนบดีธาดา หัวหน้างานสำนักงานสภามหาวิทยาลัย
ก่อนหน้านี้เคยพบทุกท่านทาง social media มาแล้ว ตัวจริงก็พบบางท่านแล้ว

บันทึกชื่อไว้ใน blog นี่หละครับ จะได้ใช้อ้างอิง เพื่อ communication
เพราะเป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่
( หนังสือ มนช.044/2555 )
http://www.nation.ac.th
ติดต่อเบอร์โทร 02-338-3000 กด 8

ชื่องานวิจัยที่น่าสนใจ

รายชื่องานวิจัยเกี่ยวกับการขาย และการทำธุรกิจออนไลน์ที่น่าสนใจ

  1. การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความภักดีของกลุ่มแฟนคลับต่อสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาคร
    โดย นเรศ บัวลวย และ ศุภกาญจน์ จำเริญรักษ์
  2. การใช้ซอฟต์แวร์ทางการบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสงขลา โดย นุชษรา พึ่งวิริยะ
  3. สถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มความต้องการบุคลากรที่มีความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์ ของจังหวัดสงขลา โดย ชัยรัตน์ จุลปาโล
  4. การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา : ดอกไม้ประดิษฐ์จากใบยางพาราในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดย วีระวรรณ ศิริพงษ์
  5. การศึกษาเปรียบเทียบซอฟต์แวร์สาธารณะบนอินเทอร์เน็ตในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับ จังหวัดสงขลา โดย ชาญยุทธ กาญจนวงษ์
  6. การรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ของนักเรียนในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคใต้ โดย ดวงฤดี ปลอดภัย และคณะ
  7. พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า iPod ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดย พากภูมิ พร้อมไวพล 
  8. ความพึงพอใจของตัวแทนจำหน่ายที่มีต่อคุณภาพสินค้าและการบริการของ บริษัท เทคนิโก้ เซลล์ (ประเทศไทย) จำกัด โดย อิสรีย์ นลินธรรมรัชต์ 
  9. การวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันในตลาดไมโครคอมพิวเตอร์ กรณีศึกษาในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ โดย จิรพงษ์ เธียรธิติ
  10. การศึกษาโครงสร้างและการดำเนินการในระบบขายตรงหลายชั้น กรณี : บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด โดย สมคิด ภิรมย์
  11. ความต้องการในการพัฒนาตนเองของพนักงานระดับผู้จัดการเขตของบริษัทขายตรงชั้นเดียวโดย สุพัชญกรณ์ พรพัฒน์กุล
  12. ความสัมพันธ์ระหว่างสถานส่วนตัว ความฉลาดทางอารมณ์ และพฤติกรรมการเผชิญปัญหากับผลการปฏิบัติงานของพนักงานขายตรง โดย ปวีณา ปักษา
  13. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางระบบขายตรงของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร โดย สุกัญญา ปรมาธิกุล
  14. ปัจจัยแรงจูงใจและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจการตลาดแบบเครือข่าย กรณีศึกษา: บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด โดย จิราวรรณ ห่วงกระโทก
  15. ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการขายตรง : ศึกษากรณีการขายยาแผนโบราณ โดย ไพฑูรย์ นิภานันท์
  16. อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของการตลาดขายตรงผ่านสื่อโทรทัศน์ต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค โดย ธนันพร เหล่าทรงฤทธิ์

แหล่งสืบค้นงานวิจัย

  1. ศูนย์ข้อมูลการวิจัย Digital “วช.” – https://dric.nrct.go.th/Index
  2. คลังข้อมูลงานวิจัยไทย – https://tnrr.nriis.go.th/#/
  3. ระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย – https://www.tci-thaijo.org/
  4. ฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม – https://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php
  5. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย – http://www.thaithesis.org/search.php
  6. ประตูสู่งานวิจัย ค้นหาข้อมูลทั้งหมดได้จากจุดเดียว – http://researchgateway.in.th/
  7. ฐานข้อมูลงานวิจัย สกว. – https://elibrary.trf.or.th/
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์

อัตลักษณ์ (identity)

identity and uniqueness
identity and uniqueness

ถ้ามองว่าเว็บไซต์ คือ แหล่งข้อมูลและสารสนเทศ
แล้วเว็บมาสเตอร์มีความคาดหวังว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์
ที่เข้ามารับข้อมูลและสารสนเทศไปแล้ว
ผู้เข้าชมเหล่านั้นควรเปลี่ยนไปเป็นอย่างไร (identity)
หรือความสำเร็จของเว็บไซต์ตามจุดเน้นคืออะไร (Uniqueness)

อาจสะท้อนออกมา เป็น อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ ของเว็บไซต์ได้ว่า
อัตลักษณ์ของไทยออล คือ มีทักษะทางวิชาการ และวิชาชีพด้านคอมพิวเตอร์
เอกลักษณ์ของไทยออล คือ เว็บไซต์วิชาการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยู่ในสิบอันดับแรกด้านแหล่งข้อมูลความรู้

ถ้าเป็นของสถาบันการศึกษา อ่านเพิ่มเติมที่ http://www.thaiall.com/blog/burin/3476/

นิยาม
อัตลักษณ์ (Identity) หมายถึง ผลผลิตของผู้เรียนตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
เอกลักษณ์ (Uniqueness) หมายถึง ความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนให้เห็นเป็นลักษณะโดดเด่นเป็นหนึ่งของสถานศึกษา

แหล่งอ้างอิง จากบทความของ ดร.สุพักตร์ พิบูลย์
http://drsuphakedqa.blogspot.com/2010/07/07.html
http://www.gotoknow.org/blog/cityedu/422459
http://qa.bu.ac.th/buqa/index.php/kmqa/60-identity

ตัวอย่างกราฟประเมินวิดีโอ

graph of evaluation
graph of evaluation

เป็นการใช้ MS Excel 2010 กรอกข้อมูล แล้วใช้ฟังก์ชัน sum และ averagea หาค่าผลรวม และค่าเฉลี่ย เปรียบเทียบเกณฑ์ที่ใช้ประเมินจำนวน 5 เกณฑ์ ซึ่งผลของผลรวม กับค่าเฉลี่ยต่างกัน เนื่องจากมีผู้ประเมินคนหนึ่งไม่ประสงค์ จะแสดงความเห็นเรื่องนักแสดง การหาค่าเฉลี่ยจึงใช้ averagea ที่สามารถเลือกเฉพาะค่าที่มีตัวเลขมาหาค่าเฉลี่ย กราฟของรวม และเฉลี่ยจึงมีความหมายต่างกัน

แต่ในเกณฑ์ที่ผมเสนอให้นักศึกษาใช้มี
1. เนื้อหา
2. ตัวละคร
3. ภาพ
4. เสียง
5. เทคนิค
6. ความคิดสร้างสรรค์
7. ความสมบูรณ์ในภาพรวม
เพื่อให้นักศึกษาพึงระวังในระหว่างการจัดทำ ว่ามีประเด็นได้ต้องให้ความสำคัญ และต้องนำไปใส่ใน MS Powerpoint ในการนำเสนอคลิ๊ปวีดีโอ .. กรณีนี้ใช้สำหรับ BCOM 500 มีนักศึกษา 46 คน

วิธีการสอน/พัฒนา 37 วิธี

เรียบเรียงจากวิธีการสอน/พัฒนาใน Course Specification ของ CU-CAS
1. การบรรยาย (Lecture)
2. การอภิปราย (Discussion)
3. การสอนแบบสัมมนา (Seminar)
4. การสอนโดยใช้การนิรนัย/อนุมาน (Deductive) คือ อ้างความรู้เดิมให้ได้ความรู้ใหม่หรือข้อสรุป
5. การสอนโดยใช้การอุปนัย/อุปมาน (Inductive) คือ การสรุปจากความจริงย่อยหลายข้อมาเป็นข้อสรุป
6. การใช้กรณีศึกษา (Case)
7. การแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)
8. ภาคสนาม (Field Work)
9. การไปทัศนศึกษา (Site Tour)
10. การใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation)
11. การแสดงละคร (Dramatization)
12. การสาธิต (Demonstration)
13. การสอนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)
14. การใช้เกม (Game)
15. การทดลอง (Experiment)
16. การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction)/ การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน /การเรียนแบบผสมผสาน/การเรียนแบบออนไลน์
17. การฝึกปฏิบัติ (Practice)
18. การฝึกงาน/การฝึกสอน (Training)
19. การสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research-based Instruction)
20. การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Instruction)
21. การสะท้อนความคิด (Reflective Thinking)
22. การสอนแบบสืบสอบ (Inquiry-based instruction)
23. การศึกษาค้นคว้าโดยอิสระ (Independent Study)
24. การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (Self-directed Learning)
25. การสอนโดยใช้โครงงาน (Project-based Instruction)
26. การเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบ/ปราชญ์ (Professional Model)
27. การเรียนการสอนแบบจุลภาค (Micro Teaching)
28. การนิเทศการปฏิบัติการวิชาชีพ (Supervision)
29. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
30. การให้คำปรึกษารายบุคคล (Individual Advisor)
31. กลุ่มติวเตอร์ (Tutorial Group)
32. การระดมสมอง (Brain Storming)
33. การสรุปประเด็นสำคัญ / การนำเสนอผลของการสืบค้นที่ได้รับมอบหมาย (Conclusion Presentation)
34. กิจกรรม (Activities)
35. การสอนข้างเตียง/เรียนจากผู้ป่วย (Problem Learning)
36. การฝึกแสดงออกทางพฤติกรรม (Behavior Presentation)
37. การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Study)

อบรมใช้ excel ทำ qa อย่างมืออาชีพ

cheqa excel
cheqa excel

พบโครงการอบรมการใช้ excel เพื่องานประกันคุณภาพของ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ ในชื่อโครงการ “โครงการอบรม การจัดเก็บข้อมูลและเขียนรายงานประกันคุณภาพอย่างมืออาชีพ (54/1)

มีหลักการและเหตุผล ดังนี้ ส่วนสำคัญของระบบประกันคุณภาพการศึกษาคือข้อมูลผลการดำเนินงานตามพันธกิจ ถึงแม้ว่าบางสถาบันการศึกษาจะมีระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการ (Enterprise Resource Planning) แต่การจัดทำข้อมูลเพื่อตอบสนองความต้องการของระบบประกันคุณภาพยังมีความจำเป็นในการเชื่อมโยงข้อมูลในระบบงาน และมีความจำเป็นในการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม โปรแกรมเอ๊กเชลล์ยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดเก็บข้อมูลดิบ หรือช่วยในการเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบงานต่างๆ และผู้มีส่วนรวมในการจัดเก็บข้อมูลคือบุคลากรของสถาบันนั่นเอง จากการเปิดอบรมหลักสูตรการจัดเก็บข้อมูลประกันคุณภาพด้วยเอ๊กเชลล์ที่ผ่านมา 10 รุ่น มีข้อมูลจากการประเมินผลการอบรมแสดงว่าสถาบันการศึกษายังมีความต้องการอย่างมากในการพัฒนาบุคคลากรให้สามารถใช้เครื่องมือโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการทำงานของบุคคลกร เพื่อให้สามารถใช้เครื่องมือในการลดระยะเวลาในการทำงาน และมีข้อมูลที่สามารถตอบสนองความต้องการของระบบประกันคุณภาพต่าง ๆ แม้ตัวบ่งชี้ประกันคุณภาพภายใน (สกอ. ปี 2554) และตัวบ่งชี้ สมศ รอบ 3 จำนวนตัวบ่งชี้ลง แต่มีความต้องการรายละเอียดข้อมูลเชิงลึกมากขึ้นส่งผลการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อความพร้อมในการรับตรวจใช้เวลาเพิ่มมากขึ้น ถ้าระบบบริหารจัดการข้อมูลไม่ดี

โครงการอบรมการจัดเก็บข้อมูลประกันคุณภาพอย่างมืออาชีพด้วยเอ๊กเชลล์ เป็นโครงการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถาบันการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ไมโครซอฟต์ออฟฟิศอย่างมืออาชีพ และสามารถทำงานอย่างบูรณาการ เชื่อมโยงการออกแบบจัดเก็บข้อมูลดิบ การออกรายงานสำหรับผู้บริหาร มีข้อมูลพร้อมในการการจัดทำรายงานประจำปี รายการการประเมินตนเอง และจัดเตรียมข้อมูลพร้อมโหลดเข้าสู่ฐานข้อมูล CHEQA แม้หน่วยงานที่มีฐานข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูลประกันคุณภาพ ยังมีความต้องการในการพัฒนาบุคลากร ให้สามารถนำข้อมูลจากฐานข้อมูลมาจัดทำรายงานตามความต้องการข้อมูลที่พลวัต

http://pirun.ku.ac.th/~fscichj/qa/Train/
http://pirun.ku.ac.th/~fscichj/qa/Train/v54-1/qa-project.pdf
http://pirun.ku.ac.th/~fscichj/course/52/qa2/qa-project2.htm
http://www.thaiall.com/pdf/qa_excel_pro.pdf

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์

factor computer subject
factor computer subject

ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ของอดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์ และไพบูลย์ เกียรติโกมล ในส่วนของความสัมพันธ์ของเจตคติที่มีต่อการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีตัวแปรดังนี้ ความสนใจในวิชาชีพ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทักษะพื้นฐาน ความรับผิดชอบ การปรับตัวของนักเรียนกับเพื่อน การปรับตัวของนักเรียนกับครู (Full Article)
http://www.thaiall.com/research/it/research_factor_computer.pdf

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้อินเตอร์เน็ต

factor behavior internet
factor behavior internet

พบโครงร่างวิทยานิพนท์ เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลกับพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ผู้วิจัย นายเทพศิรินทร์ วุฒิยางกูร ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 2550 มีปัจจัยที่น่าสนใจที่หลายปัจจัย อาทิ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกสถานที่ใช้อินเตอร์เน็ต
ปัจจัยที่ส่งผลต่อเหตุผลในการใช้อินเตอร์เน็ต
ปัจจัยของการเลือกวันที่ใช้อินเตอร์เน็ต
ปัจจัยการเลือกช่วงเวลาที่ใช้อินเตอร์เน็ต
ปัจจัยของลักษณะการใช้อินเตอร์เน็ตตามลำพังหรือร่วมกับผู้อื่น
ปัจจัยของลักษณะการเลือกใช้บริการของอินเตอร์เน็ต
ปัจจัยของวัตถุประสงค์ในการใช้อินเตอร์เน็ต
การเข้าเลือกใช้ภาษา
การปฏิบัติหลังการใช้อินเตอร์เน็ต
http://www.thaiall.com/research/it/research_factor_behavior_internet.doc

ประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

it efficiently research
it efficiently research

พบเอกสารการทบทวนวรรณกรรม โครงการวิจัย “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ” เขียนได้ดีมีประโยชน์มากครับ เป็นกรณีศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และมี diagram แสดงตัวแปรต้น กับตัวแปรตามได้ชัดเจน มีเนื้อหา 7 หน้า
อ้างอิง : อนุทิน  จิตตะสิริ.2541  ประสิทธิฟลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาระบบงานบริหารเอกสาร: ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง
http://www.thaiall.com/research/it/research_it_efficiently.doc

ระดับของทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

http://61.19.244.9/personel/form/framru_taksa/Pakpanouk.doc

คุณวุฒิ คุณภาพ คุณธรรม

คุณวุฒิ  คุณภาพ  คุณธรรม : คำทั้ง ๓ คำนี้   เชื่อว่าผู้อ่านคงคุ้นเคยอยู่      และคงเป็นคำที่ทุก ๆ คนปรารถนาจะให้เกิดขึ้นกับตัวเอง   และกับบุคคลข้างเคียง    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง   อยากจะให้เกิดกับคนในองค์กรเดียวกัน   ตั้งแต่ระดับหัวหน้าสูงสุดลงไปเลย  ก็เพราะอานุภาพของความหมายของคำทั้งสามคำนั่นเอง

บทความโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภิเษก  จันทร์เอี่ยม

“คุณวุฒิ” เป็นสิ่งที่คนในแวดวงวิชาการอย่างพวกเราจะแสวงหามาใส่ตัวเสมอ     หากมีมาก ๆ จนเป็นที่เชื่อถือได้   ก็จะได้รับการยกย่องหรือขนานนามให้ว่า  เป็น   “ผู้ทรงคุณวุฒิ”

สิ่งที่เรียกว่า  “คุณวุฒิ” นั้นได้มาจากไหน      หนทางหนึ่งได้มาจากการเป็นผู้ที่ร่ำเรียนในหลักสูตร สาขาวิชาใดวิชาหนึ่งจนถึงขั้นสูงหรือสูงสุดเท่าที่จะมีให้เรียน       เมื่อได้รับ “คุณวุฒิ” ทางการศึกษามา      ก็จะกลายเป็นผู้รอบรู้      เชี่ยวชาญในศาสตร์สาขานั้น  ๆ          อีกทางหนึ่งก็ได้จากการที่บุคคลผู้นั้นได้พยายามคิดสร้างผลงานทางวิชาการจนเป็นที่เชื่อถือได้ว่า             ผลงานนั้นสมควรได้รับการยอมรับ  ได้รับเกียรติ   ได้รับการยกย่องจากผู้ทรงคุณวุฒิกว่านั้น      จึงทำให้ได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น   อันเป็นผลมาจากการทุ่มเทกำลังกาย  กำลังปัญญา     เพื่อให้ตนเองมีความรู้  มีความเชี่ยวชาญ  ในศาสตร์แขนงนั้น ๆ เช่นกัน

การที่บุคคลมีคุณวุฒิหรือได้รับคุณวุฒิสูงขึ้น    นั่นหมายถึงบุคคลคนนั้นจะสามารถคิด  อ่าน   กระทำการใด ๆ  ได้หลากหลาย  ซับซ้อนมากกว่าคนอื่น    บุคคลรอบข้างก็จะคาดหวังผลงานของผู้ทรงคุณวุฒิไว้ในระดับสูงทีเดียว

ความเป็น “ผู้ทรงคุณวุฒิ”   จึงทำให้บุคคลนั้นกลายเป็นคนที่  จะคิด  จะพูด  จะกระทำการใด ๆ ก็ตาม    ผู้อื่นย่อมหมายเอาว่า  สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นถ้อยคำวาจา   หรือพฤติกรรม    ย่อมเป็นสิ่งที่เชื่อถือได้   เพราะได้กลั่นกรองมาจากสติปัญญาของผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าว

ดังนั้น   เมื่อบุคคลใดมีคุณวุฒิ     หรือได้รับคุณวุฒิสูงขึ้น           ย่อมต้องพึงระมัดระวังพฤติกรรมที่แสดงออกทั้ง  การคิด  การพูด  การกระทำต้องให้สมกับความเป็นผู้มีคุณวุฒิหรือที่เรียกกันว่า “ผู้ทรงคุณวุฒิ”นั่นเอง

“คุณภาพ” เป็นคำที่เราจะได้ยินได้ฟังบ่อยที่สุดในยุคปัจจุบัน   เพราะเป็นยุคที่โหยหาสิ่งที่เรียกว่า “คุณภาพ”  ในทุก ๆ วงการ         โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการศึกษา   ทั้งในเชิงคุณภาพของบุคลากรในวงการศึกษา    และคุณภาพของการศึกษา    รวมถึงคุณภาพของสถานศึกษาด้วย   จะเห็นว่า  ในปัจจุบันนี้มีองค์กรที่ทำหน้าที่รับประกันคุณภาพหรือรับรองคุณภาพการศึกษาอยู่มากมาย

แท้จริงแล้ว  การประกันคุณภาพหรือการรับรองคุณภาพนั้นเป็นตัวแปรผล    ซึ่งไม่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก    สิ่งที่เราควรใส่ใจให้มากคือตัวแปรเหตุ   ที่จะนำมาซึ่ง   “คุณภาพ” ของสิ่งที่เราต้องการ    นั่นคือ  “การจัดการคุณภาพ”             เพราะหากไม่จัดการให้คุณภาพเกิดขึ้นเสียก่อน    ก็ป่วยการที่จะประกันหรือรับรองคุณภาพ   เพราะคงหาคุณภาพไม่พบ

ดังนั้น   ก่อนดำเนินการเรื่องใด ๆ   ที่หวังว่าจะทำได้อย่างมีคุณภาพ        จึงควรกำหนดวิธีการจัดการงานนั้นให้แสดงถึงความมีคุณภาพก่อน    แล้วกำกับให้งานดำเนินไปตามแผนที่วางไว้  นั่นคือ    ต้องมีการกำหนดเกณฑ์ (criteria)  และมาตรฐาน (standard)   ของงานหรือการดำเนินงานนั้น ๆ ก่อน     อาจจะต้องมีการกำหนดการเทียบเคียงสมรรถนะ  (benchmark) กับผู้อื่น  หรือองค์กรอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันด้วย            เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพของตนเองให้ใกล้เคียงกับหน่วยงานอื่น ๆ    ในระหว่างการปฏิบัติงาน   บุคลากรที่เกี่ยวข้องต้องคำนึงถึงหลักแห่งคุณภาพเสมอ   และหมั่นตรวจวัดคุณภาพด้วยเครื่องมือต่าง ๆ  ที่เตรียมไว้     และต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของการทำงานเป็นระยะ ๆ ตามแผนที่กำหนดด้วย

หากกระทำดั่งนี้แล้ว   เมื่อมีการประกันคุณภาพ  หรือการรับรองคุณภาพ   ไม่ว่าจะด้วยวิธีการของหน่วยงานใด ๆ ก็ตาม    ย่อมประกันหรือรับรองคุณภาพได้อย่างไม่ยากแน่ ๆ

ในด้านคุณภาพของตัวบุคคลก็เช่นเดียวกัน   ควรคำนึงถึงหลักแห่งคุณภาพด้วยเช่นกัน    และสิ่งสำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ  การคำนึงถึงคุณภาพเฉพาะตัวบุคคล      และคุณภาพในการปฏิบัติงานของบุคคลนั้นด้วย    โดยจะมีการกำหนดเกณฑ์  มาตรฐาน   การเทียบเคียงสมรรถนะ        ตลอดจนเครื่องมือวัดคุณภาพต่างกันออกไป

อย่างไรก็ตาม   คำว่า “คุณภาพ”   จะยังคงเป็นคำสำคัญที่ทุก ๆคน  ทุก ๆ องค์กร  หวังจะให้เกิดขึ้นกับตนเอง    และก็หวังว่า  คนอื่น ๆ และองค์กรอื่น ๆ  ก็คำนึงถึงเรื่องนี้เช่นกัน


“คุณธรรม”
เป็นอีกคำหนึ่งที่จะยังคงเรียกร้องและโหยหาเพื่อให้มีอยู่ในตัวคนทุกคน  ทั้งนี้    เพราะเชื่อว่า  “คุณธรรม”  จะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้บุคคล   ไม่คิด   ไม่พูด    ไม่แสดงออกในทางที่ไม่พึงประสงค์     เพราะจะนำมาซึ่งความเดือดร้อนทั้งแก่ตัวบุคคลนั้น  และบุคคลข้างเคียงหรือคนในสังคมโดยทั่วไป    ความสงบสุขในสังคมก็จะพลอยสูญเสียไปด้วย

ทั้งนี้เพราะ “คุณธรรม”   หมายถึง ธรรมชาติฝ่ายที่เป็นคุณ          หรือที่เรียกว่า “กุศลธรรม”  ตรงกันข้ามกับ  “อกุศลธรรม”   ซึ่งเป็นธรรมชาติฝ่ายเป็นโทษ     ธรรมชาติทั้งสองส่วนนี้มีอยู่ทั้งในตัวคน  และรอบ ๆ ตัวคน    ถ้าบุคคลใดประพฤติปฏิบัติในส่วนที่เป็น “กุศลธรรม”  ก็จะสร้างสันติสุขให้กับตนเองและคนข้างเคียงได้              และถ้าทุก ๆ คนในสังคมยึดมั่นอยู่ในความมี “คุณธรรม”   สังคมนั้นก็จะมีแต่สันติสุข        เพราะ “คุณธรรม”  จะเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งไม่ให้คนประพฤติชั่ว   หรือกระทำในสิ่งที่จะนำความเสียหายหรือเดือดร้อนมาสู่ตนเองหรือสังคมรอบข้าง

ธรรมชาติฝ่ายเป็นคุณ  หรือ “คุณธรรม”  ที่พึงประสงค์มีมากมายหลายเรื่องตั้งแต่สิ่งที่เป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตและการอยู่ร่วมกันในสังคม     เช่น  ความขยัน  ความซื่อสัตย์  ความมีเมตตา  กรุณา  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ความเห็นใจผู้อื่น  ความเสียสละ  ความมานะอดทน   เป็นต้น      หากทุกคนในสังคม  หรือในองค์กรให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว     และประพฤติปฏิบัติ “คุณธรรม”ก็เชื่อว่า   บุคคล   องค์กร  และสังคมจะมีสันติสุขยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในทุก ๆ วันนี้

แต่ทั้งนี้   การประพฤติปฏิบัติอย่างมี “คุณธรรม”  นั้น      ไม่มีกฎหมาย  หรือข้อบังคับใด ๆ ที่จะเอาผิดกับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามแนวทางของคุณธรรมได้        จึงเป็นสิ่งที่บุคคลต้องอาศัยความกล้าหาญที่จะประพฤติปฏิบัติคุณธรรมด้วยความสมัครใจ              และกล้าหาญที่จะละเว้นสิ่งที่เป็น “อกุศลธรรม”  แม้ว่าบางครั้งสิ่งเหล่านั้นจะเอื้อประโยชน์ให้ตนมากกว่าก็ตาม          ดังนั้น  เมื่อพูดถึง “คุณธรรม”  แล้ว  จึงมักตามด้วย  “จริยธรรม” เสมอ        เพราะ “จริยะ”  คือการกระทำ  หรือการปฏิบัติ  ในสิ่งที่  เป็น “ธรรม”  นั่นเอง

การปฏิบัติสิ่งที่เป็น “จริยธรรม”    ก็อาศัยความกล้าหาญด้วยเช่นกัน       คือกล้าที่จะประพฤติปฏิบัติ “จริยธรรม”    แม้ไม่มีบทบัญญัติโทษไว้ชัดเจนก็ตาม    แม้จะไม่ได้ผลประโยชน์ตามมาก็ตาม    หากสิ่งนั้นพึงเป็นสิ่งกระทำ  หรือเป็นสิ่งพึงเว้นกระทำ   ก็กล้าที่จะลงมือทำหรือละเว้นการกระทำ   เพื่อให้เกิดสันติสุขขึ้น           ความมี “คุณธรรม” และ “จริยธรรม”  จึงมักจะไปด้วยกันเสมอ

หากในตัวบุคคลใด    มี “คุณ”  ทั้งสามประการนี้   คือ     “คุณวุฒิ      คุณภาพ      และ คุณธรรม”   ย่อมเชื่อได้ว่า   บุคคลนั้นเป็นผู้ทรงอานุภาพแห่งความดี   ความงาม  ที่พร้อมจะบันดาลให้ตนเองประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตและประกอบกิจการงานต่าง ๆ ได้อย่างดี   และสร้างสันติสุข   คือ  “สุขตน”  และ “สุขท่าน”  ได้อย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นคนโดยแท้จริง        และหากองค์กรใด   มีบุคลากรที่เพียบพร้อมด้วย “คุณ”  ทั้งสามประการนี้   องค์กรนั้นก็ย่อมมั่นคงและรุ่งเรือง   เป็นองค์กรที่มีแต่ “สันติสุข”  เช่นกัน

บทความโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.  ภิเษก  จันทร์เอี่ยม
http://www.watjrb.net/index.php?mo=3&art=350276

http://www.kasettak.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=75&Itemid=56