ร่างโครงการ ช่วงพัฒนาโจทย์

11 พ.ย.53 รายงาน ขอเล่าให้เพื่อนผู้อาสาร่วมทีมวิจัยเพื่อท้องถิ่นว่า .. ช่วงเช้าเข้าพบทีมวิจัยหลายท่านล้วนเป็นผู้มีความพร้อมหลายประการ บัดนี้ได้แล้ว 9 ขุนศึก ที่จะร่วมเป็นนักวิจัยในโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยเลือกพื้นที่เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษา จากการหารือในช่วงพัฒนาโจทย์นี้ และได้คำตอบเพิ่มเติมหลายประเด็น เช่น หลักสูตร คณะ และชั้นปี ปรับรายละเอียดกิจกรรม และการใช้งบประมาณเพิ่มเติม ปรับคำถามการวิจัยใหม่โดย อ.เบญ ปรับเพิ่มกิจกรรมโดย อ.หนุ่ย ผู้เป็นขุนศึกษาคนสุดท้ายที่อาสาเข้ามาพัฒนาชุมชนโยนกคนสุดท้าย และ brief ให้ท่านอธิการฟังแล้ว .. บัดนี้ปรับรายละเอียดโครงการรอบ 2 ก่อน อ.ธวัชชัย จะนำไปปรับใหญ่ แล้วจะมีการนำเสนอในเวทีของ 9 ขุนศึกต่อไป เอกสารข้อเสนอโครงการยกร่างรุ่น 2 พร้อมชื่อ อีเมล และ fb ในทีม ที่ http://www.yonok.ac.th/doc/burin/proposal_class_process_v2_531111.doc

น.ศ.เรียนรู้ผ่านการวิจัย

สรุปผลการพัฒนาโจทย์
สรุปผลการพัฒนาโจทย์

9 พ.ย.53 มีคำสำคัญ 2 คำที่ผมนำเสนอใน เวทีพัฒนาโจทย์วิจัยหรือเหลาโจทย์ หลังยกร่างให้กับทีมแล้ว คือ 1) สร้างตัวคูณ และ 2) วิจัยซ้อนวิจัย โดยผู้ร่วมวิจัยเป็นทั้งผู้ถูกสร้าง และผู้สร้าง ผู้ร่วมวิจัยเป็นผู้วิจัย และทำให้นักศึกษาเป็นนักวิจัยเพื่อการเรียนรู้ ถ้าในทีมวิจัยรู้ว่างานวิจัยนี้เป็นงานของตนเอง โอกาสประสบความสำเร็จเกิดขึ้นแล้ว แต่ถ้าในทีมคิดว่างานนี้เป็นงานของใครคนใดคนหนึ่ง เป้าหมายของความสำเร็จลดลงไปแล้วครึ่งหนึ่ง .. ความยากของการทำงานคือทัศนคติ ที่จะแก้ปัญหาความยาก 4 ข้อที่ผมนำเสนอในเวทีคือ 1) กระบวนการไม่มีรูปแบบชัดเจน 2) ไม่ถูกยอมรับแพร่หลายในแวดวงวิชาการ 3) ทัศนคติทำให้เข้าใจยาก 4) โครงสร้างในสถาบันมักไม่เอื้ออย่างชัดเจน .. ปัจจุบันมีผู้ร่วมทีมแล้ว 8 คน .. เพราะข้อเสนอหนึ่งจากในวางทำให้ผมต้องใช้หลักการเป็นตัวแทน ที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการทิ้งงานของนักวิจัย ซึ่งเป็นหลักที่มีการพูดคุยกันในการวิจัยเพื่อท้องถิ่นบ่อยครั้ง การเพิ่มจำนวนจึงลดความเสี่ยงในการเสียทีมไประหว่างการทำงาน .. ขณะนี้รองหัวหน้าโครงการคือ อ.ธวัชชัย เข้าใจแล้วว่าเขาเป็นเจ้าของโครงการ และอาสาช่วยยกร่าง ส่วนเหรัญญิกผมทาบอ.อ้อมไว้แล้ว .. มีหลักสูตร และชั้นปีที่เข้ามาในชุมชนหลากหลายแล้ว เหลือที่ควรทาบทามอีก 2 – 3 คน

ผมชอบมองหาหลุมทราย และบ่อน้ำในการตีกอล์ฟ เพื่อหาทางหลบให้ไปถึงหลุม .. นี่ผมคิดอย่างคนไม่ตีกอล์ฟครับ
http://www.facebook.com/album.php?aid=252858&id=814248894

บันได 5 ขั้นของงานวิจัยท้องถิ่น

10 ต.ค.53 ได้ฟัง รศ.ดร.ชูเกียรติ  ลีสุวรรณ วิพากษ์งานวิจัย “โครงการการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตน้ำดื่ม ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน ต.บ้านสา อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง” โดยมี อ.แมว กับ อ.แหม่ม เป็นแกนนำของผู้นำเสนอ โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการวิพากษ์ท่านใช้ บันได 5 ขั้นของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ซึ่งผมจับประเด็นได้ดังนี้ 1) เป็นความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่น 2) ความรู้ที่ได้ย้อนกลับให้ท้องถิ่น 3) ท้องถิ่นเป็นเจ้าของ 4) ทำโดยคนในท้องถิ่น 5) ใช้กรอบความคิดของท้องถิ่นเป็นหลัก

วิจัยร่วม พื้นที่ ต.นิคมใหม่พัฒนา

ยกร่างโครงการวิจัย
ยกร่างโครงการวิจัย

9 พ.ย.53 คุณภัทรา มาน้อย ชักชวนให้เครือข่ายสถาบันการศึกษาร่วมกันพัฒนาโจทย์วิจัย จนได้ชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า “แนวทางการทำงานร่วมกันของเครือข่ายสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยลำปาง เพื่อเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชน” ใช้พื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นพื้นที่ในการสร้างการเรียนรู้ของเครือข่ายสถาบันการศึกษา ประกอบไปด้วย มทร. มรภ. มยน. มจร. และกศน. ซึ่งมีเป้าหมาย 2 ประการ คือ 1) เพื่อสร้างแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายการศึกษาลำปาง 2) เพื่อสร้างแนวการทำงานของเครือข่ายสถาบันการศึกษากับชุมชน โดยเน้นการใช้กระบวนการทางการศึกษาแก้ไขปัญหาชุมชน เบื้องต้นมีการบ้านให้เครือข่ายช่วยเพิ่มเติมข้อมูล 1.ประเด็นคือ แนวทาง/ความคาดหวังของสถาบันการศึกษา(หรือชุมชนในพื้นที่)ต่อรูปแบบของการทำงานร่วมกัน ซึ่งทางศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำปางจะยกร่างข้อเสนอโครงการ และส่งให้เครือข่ายพิจารณาเพื่อนำเข้าสู่วงพิจารณากลไกภาคเหนือต่อไป ทั้งนี้รูปธรรมที่เกิดขึ้นเป็นแนวทางของการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันคลังสมองของชาติและสกว.ฝ่ายวิจัยท้องถิ่น โครงการนี้มีตัวแทนจากมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา ตัวแทนละ 3-5 คน รวมทั้งนักวิจัยในพื้นที่เป็นทีมวิจัย มีหัวหน้าโครงการที่ได้รับการเสนอชื่อ คือ ผศ.ดร.ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล จาก มรภ.ลำปาง เป็นหัวหน้าโครงการ

เตือนผู้หญิงที่กำความลับ

7 พ.ย.53 เรื่อง เตือนผู้หญิงที่กำความลับ มีรายละเอียดดังนี้
(1) หลักการและเหตุผล ปัจจุบัน เทคโนโลยีถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับการ เปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่งด้วยความระมัดระวัง จำเป็นต้องตระหนักรู้ถึงภัยคุกคามหลากหลายรูปแบบ และเข้าใจวัฒนธรรมของความปลอดภัย (Culture of Security)ในสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้ไม่ประสงค์ดีพัฒนารูปแบบการคุก คามผู้ใช้อยู่ตลอดเวลา การรวมกลุ่ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ ศึกษาวิธีป้องกัน ดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท แบ่งปันประสบการณ์เทคนิควิธีเพื่อสร้างรูปแบบพฤติกรรมแห่งความปลอดภัย ให้เข้าใจ และปฏิบัติกันโดยทั่วไป จึงเป็นสิ่งที่ควรดำเนินการเชิงบูรณาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อ เนื่อง

(2) กลุ่มเป้าหมายสำหรับสื่อที่จัดทำ นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป

(3) เนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ การ ทำลายสิ่งที่ไม่ต้องการเผยแพร่ 2 รูปแบบ คือ เอกสารกระดาษ (Hardcopy) และแฟ้มดิจิทอล (Softfile) ซึ่งการวางใจแล้วทำลายเอกสารด้วยวิธีง่าย ๆ  มีบทเรียนให้เห็นทางทีวีอยู่บ่อยครั้ง ว่าผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถนำข้อมูลที่ผู้ใช้คิดว่าทำลายไปแล้วกลับมาใช้ใหม่ จนทำให้ผู้ใช้เสียหาย ผู้ใช้จึงควรมีความตระหนักถึงการทำลายเอกสารทั้งสองรูปแบบอย่างจริงจัง

(4) เทคโนโลยี เทคนิค วิธีการและเครื่องมือ ใช้โปรกรม Proshow producer ในการจัดทำ และเขียนออกมาเป็น DVD format 16:9 ได้แฟ้มสกุล .mpg และใช้ Camstudio จับการทำงานบนจอภาพได้แฟ้มสกุล .avi โดยใช้ภาพนิ่ง วีดีโอคลิ๊ป แฟ้มเสียง และแฟ้มเพลงบรรเลง ประกอบการจัดทำวีดีโอคลิ๊ป

สรุปขั้นดำเนินโครงการของงานสัมมนา

จากส่วนหนึ่งของรายงานสรุปผล

ขั้นดำเนินโครงการ การสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การวิจัยในชั้นเรียน มีผู้ส่งผลงานวิจัยในชั้นเรียนเพื่อใช้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมด 4 ผลงาน ในรูปของบทคัดย่อ ประกอบด้วย เรื่องแรก คือ “ศึกษาการมอบหมายงานกลุ่มในการจัดทำสื่อวีดีทัศน์ประกอบการสอนการใช้โปรแกรม Powerpoint ในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสืบค้นข้อมูลเบื้องต้น” โดย ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ และ อ.อัศนีย์ ณ น่าน เรื่องที่สอง คือ “การสร้างสื่อการสอนการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา วิชาการภาษีอากร สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยโยนก” โดย อ.สุรพงษ์  วงศ์เหลือง   เรื่องที่สาม คือ “การศึกษาประสิทธิภาพวิธีการสอนโดยระบบ E-Learning วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน HRMT 411 ปีการศึกษาที่ 1/2553 มหาวิทยาลัยโยนก” โดย อาจารย์วีระพันธ์ แก้วรัตน์ เรื่องที่สี่ คือ “A Developmental Practice of Teaching the Thai Language in a Multicultural Context : Study of Thai 302 : Reading and Writing Thai 1” โดย อ.สุจิรา หาผล

1. การดำเนินการมีวาระสำคัญ จำนวน 7 วาระ ประกอบด้วย 1) อ.ทันฉลอง รุ่งวิทู รักษาการอธิการกล่าวเปิดงานสัมมนา 2) อ.ชินพันธ์ โรจนไพบูลย์ บรรยายให้ความรู้เรื่องการวิจัยในชั้นเรียน 3) นักวิจัยนำเสนอผลการวิจัย 2 คน ได้แก่ ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ และ อ.วีระพันธ์  แก้วรัตน์ 4) คุณภัทรา  มาน้อย ศูนย์ประสานงานจังหวัดลำปาง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และ คุณกฤษฎา  เขียวสนุก  สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวไทย 5) เปิดเวทีให้อาจารย์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 6) อ.ทันฉลอง รุ่งวิทู วิพากษ์การเขียนบทคัดย่อของงานวิจัยในชั้นเรียนแต่ละเรื่อง 7) สรุปผลที่นำไปสู่การพัฒนาการวิจัยในสถาบันต่อไป

2. สาระในเอกสารประกอบการประชุมที่ได้จากคู่มืองานวิจัย ปี 2552 ซึ่งเผยแพร่โดยสำนักวิชาการ ประกอบด้วย 1) ความหมายของการวิจัย 2) เงื่อนไขในการให้ทุนอุดหนุนงานวิจัย 3) ขั้นตอนการเสนอโครงร่างเพื่อขอรับทุนอุดหนุนงานวิจัย และ 4) ขั้นตอนการดำเนินงานหลังได้รับทุนอุดหนุนงานวิจัย

3. หัวข้อบรรยายโดย อ.ชินพันธ์ โรจนไพบูลย์ มีดังนี้ 1) อะไรคือการวิจัย 2) วงจรการทำวิจัยในชั้นเรียน 3) โครงร่างงานวิจัยในชั้นเรียน 4) การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน และ 5) ความแตกต่างของการวิจัยในชั้นเรียน กับการวิจัยการเรียนการสอน

4. ประเด็นที่มีการแลกเปลี่ยนในเวที อาทิ ความคับข้องใจ ความสุข และปัญหาจากการทำวิจัยในชั้นเรียน รูปแบบการทำวิจัยในชั้นเรียน คุณภาพของงานวิจัยในชั้นเรียน เทคนิคการเขียนบทคัดย่อและรายงานการวิจัยที่ควรได้รับการพัฒนา การให้นโยบายจากผู้บริหารในการส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อนำไปสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ

สังขารกับผลประเมินบริการวิชาการ

ผลประเมิน
ผลประเมิน

26 ต.ค.53 สังขารไม่ค่อยให้เลยครับ ทำงานไปต้องดูเวลาไป เพราะเจ็บร้าวมือไปทั้งแขน ทำงานเสร็จก็ต้องรีบไปประคบน้ำอุ่นวันละหลายรอบ ไม่รู้ว่าจะยึดอาชีพนักคอมพิวเตอร์ได้อีกนานแค่ไหน .. สรุปผลประเมินบริการวิชาการเสร็จ 2 พื้นที่ ก็จะไปประคบร้อนแล้วครับ จะได้มีแรงมือมาทำต่อ .. เพราะงานต่อไปต้องพิมพ์ชื่อเขตข้อมูลภาระงานอีก 8 ตารางกว่า 40 ตัว เข้า code อีกไม่ต่ำกว่า 200 ครั้ง .. คิดแล้วเครียดแทนมือ .. เรื่องกุ้งยิงอีก 5 ตุ่มนี่ทิ้งไว้ก่อน เพราะอยู่ในมือหมอ บางตุ่มหมอบอกว่ากลายเป็นซีดไปแล้ว ต้องทำใจ .. นาน ๆ บ่นเรื่องสังขารซะที

บันทึกกันลืมว่าพรุ่งนี้มี 4 ภารกิจในแผน

พรุ่งนี้มีเอกสาร 4 ฉบับกับ 1 เรื่องที่ต้องมีความก้าวหน้ากว่าเดิมแล้ว ไม่งั้นดินพอกหางหมูต่อไปแน่ คือ 1) คู่มือฝึกงานสำหรับ2553 ที่ทำร่วมกับอ.เกศริน 2) คู่มือโครงงานสำหรับ2553 ที่ทำร่วมกับอ.วิเชพ 3) รายงานสรุปผลโครงการวิจัยชั้นเรียนทำร่วมกับอ.ศรีเพชร 4) รายงานสรุปผลโครงการบริการวิชาการบูรณาการร่วมกับอ.วีระพันธ์ และอ.สุทธิ์พจน์ และ 5) สรุปว่าผลประเมินความพึงพอใจการสอนที่จะปล่อยให้ตกหรือทำให้ผ่านจากการตัดสินใจของผู้รับผิดชอบหลายฝ่าย

หัวข้อสำหรับเขียนรายงานสรุปผลโครงการ

24 ต.ค.53 การเขียนรายงานที่ได้รับคำแนะนำจาก อ.อัศนีย์ ณ น่าน .. เพราะระดับมหาวิทยาลัยยังไม่มีใครกำหนดชัดเจน หรือถือปฏิบัติเป็นวัฒนธรรม ส่วนที่คณะของผมก็มี อ.วิเชพ ใจบุญ เคยกำหนดแนวไว้ในระดับหนึ่งเช่นกัน ส่วนแนวที่ผมใช้ประจำเป็นแนวของ อ.อัศนีย์ ณ น่าน เพราะท่านเคย comment และให้ข้อเสนอแนะมาจึงต้องใช้ตามนั้น มีหัวข้อสำคัญดังนี้
1. ย่อหน้าแรกเป็นการเล่าวัตถุประสงค์ของการเขียนรายงานสรุปผลโครงการ
2. สรุปสาระสำคัญของโครงการ บอก วัตถุประสงค์ ตัวบ่งชี้ เป้าหมาย เวลา สถานที่ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ อะไรทำนองนี้
3. ผลการดำเนินงานตามโครงการ แยก 3 ประเด็น คือ (1) ขั้นเตรียมการ  (2) ขั้นดำเนินโครงการ (3) ขั้นติดตามและประเมินผลโครงการ
4. บทเรียนที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ แยก 4 ประเด็นคือ คือ (1) การวางแผน (2) การดำเนินการ (3) การประเมินผล และ (4) ข้อเสนอแนะสำหรับการทำโครงการในปีต่อไป
และส่วนหนึ่งของรายงานสรุปผลโครงการที่พยายามใช้แนวข้างต้น คือ
http://www.yonok.ac.th/doc/oit/report_it53_photoshop_v2.3.doc
http://www.yonok.ac.th/doc/oit/report_it531_trainfreshy_final_v9.doc
รายงานของผมส่วนใหญ่ได้คุณอรรถชัย เตชะสาย ช่วยจัดการให้

ผลประเมินความพึงพอใจ ทุกวิชาต้องมากกว่า 3.50

24 ต.ค.53 คุณเรณู อินทะวงค์ เล่าให้ฟังด้วยความห่วงถึงผลประเมิน ตบช.2.6 และชี้ให้ดูว่าในคู่มือประกันของสกอ.ปรับปรุง กรกฎาคม 2553 ซึ่ง download ได้จาก e-document ของสำนักประกันการศึกษาที่ดูแลโดย อ.อัศนีย์ ณ น่าน และได้มีการจัดบรรยายให้ความรู้โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิคือ อ.อุษณีย์ คำประกอบ ไปแล้วนั้น
http://www.yonok.ac.th/doc/handbooks/handbook_cheqa_2553.pdf หรือจาก http://www.yonok.ac.th/intranet หัวข้อคู่มืองานประกันคุณภาพการศึกษา พบว่า ในหน้า 56 ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 เกณฑ์ที่ 6 “มีการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทุกรายวิชา ทุกภาคการศึกษา โดยผลการประเมินความพึงพอใจแต่ละรายวิชาต้องไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5” ถ้าจะได้ 5 คะแนนเต็มนั้น ข้อนี้จะต้องผ่านเกณฑ์ทั้ง 7 ข้อ .. คงต้องหยิบตัวเลขมาดูแล้วครับว่าต่ำกว่าสักหนึ่งวิชาหรือไม่ และวิชาในคณะใดไม่ผ่าน เพราะถ้ามีแค่วิชาเดียวไม่ผ่าน ก็หมายถึงมหาวิทยาลัยไม่ผ่าน .. ข้อมูลอยู่ในมือสำนักวิชาการครับ