ผลประเมินจากเวทีวิจัยในชั้นเรียน

เวทีวิจัยในชั้นเรียน
เวทีวิจัยในชั้นเรียน

20 ต.ค.53 ผลประเมินความพึงพอใจต่อเวทีวิจัยในชั้นเรียน 2553 (แบบกัลยาณมิตร) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีจำนวน 5 ใน 6 หัวข้อ ซึ่งข้อที่แตกต่างหนึ่งข้อนั้นมีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด คือ ประโยชน์ที่ได้รับ .. ทีแรกคิดว่า 1) ห้องสัมมนาจะมีความพึงพอใจต่ำสุด เพราะมีเพื่อนหลายคนนิยมนั่งหลังเพื่อปฏิบัติภารกิจบางประการ แต่ผมจัดเวทีในรูปเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เปิดให้ทุกคนมีบทบาทเสมอกัน (อาจมีบางท่านคิดว่าเสมอภาคย่อมไม่ยุติธรรม) ส่วนประเด็นที่อยากกล่าวถึงมี 4 ประเด็น คือ 1) ระยะเวลา พอใจต่ำสุด น่าจะเกิดจากเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนกัน แต่จำกัดเพียง 2 ชม. หลายคนจึงไม่มีโอกาสได้แสดงทัศนะของตนเอง 2) ผู้้นำเสนอผลงาน ต่ำรองลงมา เพราะในจำนวน 4 ชิ้นงานมีผู้สะดวกมานำเสนอเพียง 2 ชิ้นงาน อีกปัญหาต่อผู้นำเสนอคือ จำกัดเวลาด้วยวิธีการนำเสนอ ซึ่งต้องแลกกับรูปแบบการจัดเวทีแบบเปิด 3) เอกสาร ที่แจกให้ทุกคนมีเพียงบทคัดย่อ ไม่แจกล่วงหน้า ไม่มีรูปแบบมาตรฐาน และไม่มีความสมบูรณ์ในการเป็นบทคัดย่อของงานวิจัย 4) ประโยชน์ที่ได้รับ ผู้ร่วมเวทีได้ทราบนโยบายที่มีความชัดเจน อาจารย์หลายท่านกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ประทับใจนโยบายชัดเจน นักวิชาการจากภายนอกมีความชำนาญขั้นพระอินทร์ในการจัดเวทีเสวนาแบบนี้ได้ชวนคนในวงให้พูดคุยและก็ชวนได้สำเร็จ (ตอนแรกผมนึกว่าจะปิดประชุมในชั่วโมงแรกซะแล้ว เพราะมีน้ำแข็งเกาะใจผมอยู่) อ.แม็ค เป็นผู้จุดประเด็นให้เวทีมีรสชาติ เกิดการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย สุดท้ายท่านอธิการนำเวทีกลับเข้าสู่การวิพากษ์บทคัดย่อได้สำเร็จ แล้วนำไปสู่การพัฒนาในอนาคตต่อไป .. ที่เขียนนี้เป็นรุ่นเผยแพร่ทั่วไปสำหรับ google.com และไว้อ่านหลังเกษียณ ถ้าเขียนเป็นรายงานในมหาวิทยาลัยจะเขียนอีกแบบครับ

ปรับระบบช่วยนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา วางแผนการเรียน

grade 2010
grade 2010

19 ต.ค.53 มีการปรับ code ให้งานทะเบียนสามารถ update ข้อมูลในระบบรายงานผลการเรียนได้โดยง่าย ทำให้อาจารย์ส่งผลการเรียนมายังงานทะเบียน และตรวจสอบแล้ว สามารถ update กับระบบข้อมูลออนไลน์ได้ทันที นักศึกษาจึงตรวจสอบผลการเรียน และคำนวณผลการเรียนล่วงหน้าสำหรับภาคเรียนต่อไป หรืออาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบผลการเรียนประกอบการให้คำปรึกษาโดยใกล้ชิด ทำให้นักศึกษาสามารถวางแผนการเรียนของตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม
if(!isset($_REQUEST[“yr”])) {
echo “yr=20101”;
exit;
}
$fn = “limitlc” . $_REQUEST[“yr”];

+ http://blog.yonok.ac.th/burin/1394/
+ http://www.yonok.ac.th/grade

เวทีแลกเปลี่ยนผู้ทำงานประกันคุณภาพระดับคณะ

6 ต.ค.53 ณ ห้องบ่มเพาะ เวลา 9.30 – 12.00น. มีผู้ทำงานประกันคุณภาพระดับคณะ ประกอบด้วย อ.เบญ อ.จอม อ.อดิศักดิ์ อ.กิ๊ก คุณแนน คุณต่าย คุณแอ๋ว และอ.เก๋ มารวมกัน โดยรับการสนับสนุนจาก อ.อุษณีย์ ณ น่าน ด้วยดี เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษา ตามคู่มือฉบับ กรกฎาคม 2553 ที่ประกาศโดย สกอ. เป็นครั้งแรก เพื่อแลกเปลี่ยนและเตรียมพร้อมเข้าฟังการบรรยายจาก อ.อุษณีย์ คำประกอบ ในปลายเดือน เพื่อแบ่งปันประสบการณ์การทำงาน เอกสาร และศึกษาการเป้าหมายร่วมกันเบื้องต้นเชิงบูรณาการ ก่อนเข้าระบบของมหาวิทยาลัยที่ยกร่างเป้าหมายระดับมหาวิทยาลัย ให้คณะวิชาพิจารณามากำหนดเป้าหมายของคณะเป็นลำดับต่อไป เป็นอีกเวทีหนึ่งในการจัดการความรู้ที่เกิดจากกลไกของคณะวิชา และทีมวิจัยฐานข้อมูลประกันคุณภาพการศึกษา

จับเวลา scan หนังสือ 34 หน้า

26 ก.ย.53 วันนี้จับเวลาการ scan หนังสือเรื่อง “ชาวบ้านวิจัยไหล่หิน : อยู่หรือตาย จัดการได้อย่างพอเพียง” ในชุดประสบการณ์วิจัยจากพื้นที่ เล่มที่ 44 ซึ่งมี 34 หน้า ด้วย HP Deskjet f2480 และโปรแกรม Irfan view ใช้เวลารวมประมาณ 15 นาที โดยวิธีตัดขอบ แล้ว scan ครั้งละ 2 หน้า เมื่อได้แฟ้มประมาณ 17 แฟ้มก็นำมาตัดออกทีละหน้า ซึ่งเวลาในการ crop นั้นไม่รวมอยู่ใน 15 นาทีข้างต้น .. เล่าสู่กันฟัง

แก้ top menu ของ wordpress

top menu
top menu

22 ก.ย.53 มีเหตุต้องแก้เมนูด้านบนของ word press ใน wp-clear theme จากการแกะโค้ดตามหา Top menu พบว่า ถ้าแก้แบบเพิ่มลิงค์หัวท้ายของเมนู สามารถเข้าไปแก้แฟ้ม wp-content/themes/wp-clear/header.php ได้ไม่ยาก หาคำว่า  id=”topnav” ก็จะมีให้แก้แบบ html แต่ถ้าในรายการของ Categories และต้องการเปลี่ยนลิงค์เฉพาะบาง item ต้องเข้าไปใน wp-includes/classes.php พบฟังก์ชัน start_el แล้วแก้ไขบรรทัดที่มี tag ว่า cat-item โดยเติม if คุมตามที่ต้องการ

ประชุมตั้งมหาวิทยาลัยลำปางที่กศน

มหาวิทยาลัยลำปาง
มหาวิทยาลัยลำปาง

20 ก.ย.53 ในเวทีหารือการทำงานร่วมกันของสถาบันการศึกษาจังหวัดลำปาง และทิศทางการเคลื่อนงานมหาวิทยาลัยลำปาง ซึ่งผมรู้สึกว่าเป็นแกะดำในกลุ่มครูกบฎ เพราะพระครูปลัดอนันต์ ญาณสวโร ปล่อยมุขว่าถ้าพวกเราทำสำเร็จก็จะเรียกว่าผู้ก่อการดี แต่ถ้าล้มเหลวก็แสดงว่าเป็นกบฎ แล้วผมก็ย้ำไปว่าที่มาประชุมกันนี้ ผู้บริหารระดับสูงเข้าใจหรือไม่ ในวาระที่นำชื่อมหาวิทยาลัยมารวมกัน เพื่อหารือการจัดตั้งมหาวิทยาลัยลำปาง ซึ่งเป้าหมายของมหาวิทยาลัยลำปางคือ “บูรณาการระบบการศึกษาเพื่อสร้างการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพ” แล้ว ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ ก็แสดงทัศนะที่เห็นต่างไปจากรายงานสรุป (ในสรุปมี 2 รูปแบบคือ มองยุทธศาสตร์จังหวัด และแยกกันทำ หรือรวมเป็นพื้นที่) ว่าการมีขึ้นของมหาวิทยาลัยลำปาง น่าจะเป็นการคิดใหม่แบบล่างขึ้นบน มิใช่บนลงล่างแบบเดิม ซึ่งเสนอว่าต้องเริ่มจากการเข้าเรียนรู้ ศึกษาปัญหาของชุมชน ว่าชุมชนต้องการอะไรอย่างแท้จริง ใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือนำในการแก้ปัญหา แล้วนำบทเรียนมาปรับการเรียนการสอน ให้ได้นักศึกษาที่ตรงกับความต้องการของชุมชน .. แล้วผมก็ได้พบนักคิด 2 ท่านจาก มทร.คือ ผศ.ดร.สาวิทตร มีจุ้ย และ ผศ.สันติ  ช่างเจรจา ซึ่งช่วงท้าย ๆ มีการหารือกันอื้ออึง เกี่ยวกับประเด็นมหาวิทยาลัยลำปาง ของชาวลำปาง เพื่อชาวลำปาง โดยชาวลำปาง และเกิดผลในลำปาง อย่างเอาจริงเอาจังเกิดขึ้น

แล้วงานที่ผมรับปากไปในเวที ในบทบาทของอาจารย์โยนก คือการขยับงานปี 2554 โดยเสนอประเด็นที่สนใจคือ “การสร้างครูนักจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในสถาบัน และการขยายผล” และมี อ.กฤตภาส เสมอพิทักษ์ คอยให้กำลังใจอยู่ไม่ห่าง .. โดยมี คุณภัทรา มาน้อย เป็นพี่เลี้ยงผู้ใจดี เพราะถ้าใจร้ายผมคงหนีตะเหริดเปิดเปิงไปแล้ว จากภาระงานปกติที่รุมเร้าอยู่ทุกวัน

ยกร่างรายงานผลการวิจัย sar52

17 ก.ย.53 วันนี้เปิดงานการเขียนรายงานการวิจัย(สถาบัน)แล้ว เริ่มเขียนส่วนที่ง่ายที่สุดคือ กิติกรรมประกาศ หาอีเมลของแต่ละคน และสรุปรายชื่อผู้ร่วมวิจัย ซึ่งงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง สำหรับปีการศึกษา 2552 กรณีศึกษามหาวิทยาลัยโยนก” มีเพื่อนร่วมวิจัย 8 ท่านประกอบด้วย อ.วันชาติ  นภาศรี อ.อัศนีย์  ณ น่าน อ.คนึงสุข  นันทชมภู อ.ทันฉลอง  รุ่งวิทู อ.อดิศักดิ์  จำปาทอง อ.ศิรินธร อุทิศชลานนท์ อ.ศศิวิมล  แรงสิงห์ ซึ่งการดำเนินการที่สำคัญมี 3 ส่วนคือ พัฒนาโปรแกรม อบรมระดับบุคคล และประเมินความพึงพอใจ สำหรับการหาอีเมลเนื่องจากโครงการนี้มีเป้าหมายจะเขียนบทความจากงานวิจัย
เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติกลางปีหน้า การส่งบทความ และรายชื่อเพื่อนทุกคนต้องใช้อีเมลในการอ้างอิง .. นั่นเป็นเรื่องอนาคตที่ผมยังทำไม่เสร็จ

กิติกรรมประกาศ เขียนไว้ 4 ย่อหน้า ดังนี้
+ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ สำเร็จลุล่วงด้วยดี ด้วยการสนับสนุนทุนในการทำวิจัยจาก มหาวิทยาลัยโยนก และความร่วมมือจากผู้ร่วมวิจัย ซึ่งเป็นตัวแทนจากคณะวิชา และหน่วยงาน
+ ขอขอบพระคุณ ทีมผู้ประเมินระดับคณะวิชา เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพทั้งในระดับคณะวิชา และหน่วยงานที่ให้ข้อเสนอแนะ และข้อมูลจนกระทั่งดำเนินงานพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประกันคุณภาพจนมีความพร้อมใช้งาน
+ ขอขอบพระคุณ นายอนุชิต ยอดใจยา นายอรรถชัย เตชะสาย และนายธรณินทร์  สุรินทร์ปันยศ ที่ร่วมเป็นวิทยากรอบรมการใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง จัดตั้งและดูแลเครื่องบริการระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง อำนวยความสะดวกให้ทุกหน่วยงานเข้าใช้งานได้โดยสะดวก
+ สุดท้ายขอขอบพระคุณท่านอธิการบดีที่มีนโยบายสนับสนุนงานวิจัย การพัฒนาคุณภาพการศึกษา จัดสรรทรัพยากร งบประมาณ และบุคลากร จนทำให้งานวิจัยนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี

ใช้แนวการเขียนจาก http://www.scc.ac.th/research/method/method01.asp
ที่ผมใช้เป็นแนวการเขียนรายงานการวิจัยตั้งแต่ ก.ย. 2553

ทั้งหมดนี้ก็เพียงเล่าสู่กันฟัง

ผ้าจำนำพรรษา 2553

15 ก.ย.53 การถวายผ้าจำนำพรรษา เป็นกิจกรรมทางวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตของชาวพุทธอีกรูปแบบหนึ่ง คำว่าผ้าจำนำพรรษา คือ ผ้าที่ชาวพุทธนำไปถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาครบสามเดือนแล้ว เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้ใช้ผลัดเปลี่ยน เป็นประเพณีที่ทำสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล และปรากฎว่ามีเป็นแบบแผนขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งปรากฎในพระราชพิธีสิบสองเดือนที่เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ปัจจุบันจะงดราชพิธีนี้ไปแล้ว แต่ชาวพุทธก็ยังปฏิบัติเป็นประเพณีกันโดยทั่วไป การถวายผ้าจะมีพิธีสวดมนต์เลี้ยงพระ และถวายปัจจัยไทยทาน ในช่วงเวลาระหว่างแรม ๑ ค่ำเดือนสิบเอ็ด (ประมาณต้นตุลาคม) ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนสิบสอง (ประมาณต้นพฤศจิกายน) เท่านั้น ถ้าถวายผ้านอกกาลนี้ไม่นับเป็นผ้าจำนำพรรษา สำหรับปี 2553 สามารถทำได้ระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม 2553 ถึง 21 พฤศจิกายน 2553

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

4 ก.ย.53 พบงานวิจัยของ 2 เรื่องที่น่าสนใจ และผมนำไปอ้างอิงในงานวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง “ศึกษาการมอบหมายงานกลุ่มในการจัดทำสื่อวีดีทัศน์ประกอบการสอนการใช้โปรแกรม Powerpoint ในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสืบค้นข้อมูลเบื้องต้น (COMP 100)” ที่ผมทำร่วมกับ อ.อัศนีย์ ณ น่าน คือ งานวิจัยของ อ.จันทร์จิรา เมธาจิโนทัย และของ อ.วินทฎา วิเศษศิริกุล มีประเด็นสรุปจากบทคัดย่อได้ดังนี้

จันทร์จิรา เมธาจิโนทัย (2549) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง เจตคติและความสนใจของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 2 ที่มีต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ นำเสนอว่า พื้นฐานของเจตคติและความสนใจทางการเรียนของสัมพันธ์กับการจัดรูปแบบและวิธี การสอนที่หลากหลาย ทําให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและกระตือรือร้นต่อการเรียนรู้ เพราะการสอนโดยเน้นเนื้อหาทฤษฎีที่ไม่เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียนจะทำ ให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย และสนใจกับเนื้อหาในช่วงเวลาสั้น ๆ จึงควรจัดวิธีการเรียนการสอนที่ไม่ซ้ำรูปแบบเดิม ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน

วินทฎา วิเศษศิริกุล (2546) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ระดับ ปวส. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจวิทยาลัยเทคนิคนครนายก โดยการจับคู่ดูแลกัน นำเสนอ ผลการศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ธุรกิจชั้น ปวส.1 ห้อง 2 ปีการศึกษา 2545 ต่อเนื่ องชั้น ปวส.2 ปีการศึกษา 2546 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ พบว่าผลการทดลองจับคู่ดูแลนักศึกษาที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำโดยเพื่อนที่ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ทำให้นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น จากเดิมร้อยละ 100 แต่ผู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงแล้วมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นจาก เดิมร้อยละ 90.90

เนื่องจากการจับคู่ดูแลกัน ทำให้ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา แนะแนว และทบทวนบทเรียนทั้งในระหว่างเรียน และหลังเลิกเรียนแล้วนั่นเอง

เล่าเรื่องระบบภาระงานคณาจารย์

รายงานภาระงานคณาจารย์
รายงานภาระงานคณาจารย์

30 ส.ค.53 พัฒนาระบบกรอกข้อมูลภาระงานคณาจารย์ ที่แบ่งหมวดสำคัญไว้ 3 หมวดหลัก คือ การเรียนการสอน การวิจัย และด้านอื่น ซึ่งด้านอื่นแบ่งย่อยเป็น 6 หมวด สำหรับการประมวลผลที่สำคัญคือการ insert กับ update แต่พบปัญหาส่งระเบียนข้อมูลว่างเป็นระเบียนล่าสุดโดยไม่ทราบสาเหตุสำหรับบางคน จึงใช้วิธีเรียกข้อมูลจากที่เคยบันทึกไว้ใน log และกู้คืนตามเวลาที่ต้องการโดยเจ้าของประวัติ เมื่อใช้งานไปอีกระยะหนึ่งพบปัญหาใหม่คือ ไม่มีข้อมูลเข้าในหัวข้อสุดท้ายของสมาชิก และเป็นหัวข้อไม่สำคัญ ตรวจพบภายหลังว่าชื่อเขตข้อมูลผิด แต่โปรแกรมใช้การ include จึงไม่แสดงอาการผิดพลาดระหว่างตรวจสอบ
การแก้ปัญหา insert ระเบียนที่เป็นค่าว่างเข้า master file เกิดได้หลายกรณี  แต่วิธีหนึ่งที่น่าจะแก้ไขได้คือ การยกเลิกระบบ update แต่ใช้การ insert เข้า log แล้วเรียกระเบียนสุดท้ายมาเสมอ แทนการสั่ง update ไปยัง master file แต่ก็ไม่ได้ทำ เพราะเวลาจำกัด และจะปิดรับข้อมูลในวันรุ่งขึ้น คาดว่าหลังปิดระบบจะพัฒนาส่วนนี้ต่อไป  เพื่อป้องกันปัญหาการใช้งานระบบนี้ในอนาคต จึงใช้เวลาที่เหลือพัฒนาระบบรายงาน สำหรับติดตามการส่งข้อมูล แล้วรวบรวมเสนอผู้บริหารตามลำดับชั้นต่อไป
ทำให้ปัจจุบันมีโปรแกรมสำหรับระบบนี้ 5 โปรแกรม คือ ฟอร์มหลัก โปรแกรมเพิ่มข้อมูล โปรแกรมพิมพ์แบบฟอร์ม โปรแกรมแสดงสถานะ และโปรแกรมแสดงรายงาน ถ้ามีโอกาสจะทำ demo แสดงการวางแผน และพัฒนาโปรแกรมชุดนี้ครับ เพื่อให้นักศึกษาที่สนใจการพัฒนาโปรแกรมด้วย php กับ mysql ได้เรียนรู้อีกมุมหนึ่งของการพัฒนาระบบ