วิพากษ์ระบบฐานข้อมูลมหาวิทยาลัยโยนก

     รายงานการประชุม วิพากษ์ระบบฐานข้อมูลมหาวิทยาลัยโยนก วันพุธที่ 12 พฤษภาคม 2553  เวลา  10.00 – 12.00 น. ณ  ห้องประชุมอาคารดร.เทียม โชควัฒนา มีเพื่อนบุคลากรเข้าร่วมประชุม 31 ท่าน ประกอบด้วยผู้บริหารจำนวน 5 ท่านได้แก่ 1. รศ.อรวรรณ ทิตย์วรรณ 2. อ.อติชาต หาญชาญชัย  3. นายวิเชพ ใจบุญ 4. อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง  5. อ.คนึงสุข นันทชมภู  ประกอบด้วยอาจารย์ที่ทำงานมามากกว่า 1 ปีจำนวน 12 ท่านได้แก่ 6. ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ 7. ผศ.สุรัตน์ วรางค์รัตน์  8. อ. ศรีเพชร สร้อยชื่อ 9. อ.ปฏิญญา ธรรมเมือง 10. อ.แดน กุลรูป 11. อ.บุญรักษา ปัญญายืน 12. อ.สุริยพันธุ์ ยอดดี 13. อ.คงศักดิ์ ตุ้ยสืบ 14. อ.เกศริน อินเพลา  15. อ.ชินพันธ์ โรจนไพบูลย์ 16. อ.ปาริชาต สอนสมบูรณ์  17. อ.ศรินยา โพธิ์ขำ
     ประกอบด้วยอาจารย์ใหม่ที่ทำงานมาน้อยกว่า 1 ปีจำนวน 4 ท่านได้แก่ 18. อ.ภาณี วิภาศรีนิมิต 19. อ.เบญจวรรณ นันทชัย 20. อ.ฉัตรชัย หมื่นก้อนแก้ว 21. อ.สกุลศักดิ์ อินหล้า ประกอบด้วยหัวหน้าหน่วยงานและเจ้าหน้าที่จำนวน 10 ท่านได้แก่ 22. นางอังคณา เนตรรัศมี  23. นางสาวเรณู อินทะวงศ์ 24. นางลัดดาวรรณ เรือนทัศนีย์ 25. นางเจนจิรา เชิงดี 26. นางสาวบุหลัน เครือเป็งกุล 27. นางกานต์ เลิศวิภาภัทร 28. นางสาวกัลยา รังสรรค์ 29. นางสาวจินดา คำภิโลชัย  30. นางสาวอนุสรา สัญญารักษกุล 31. นายธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ      
     ประเด็นที่นำเสนอก่อนการวิพากษ์ประกอบด้วย 1) การปฐมนิเทศน์บุคลากรใหม่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) ผลการพัฒนาระบบในปีการศึกษา 2552 3) การประชาสัมพันธ์ระบบอินทราเน็ต และการตอบรับ 4) การดำเนินการในแต่ละระบบ 5) การนำเสนอโดยเจ้าของระบบฐานข้อมูล
     ประเด็นข้อสรุปที่ได้จากการวิพากษ์ประกอบด้วย 1) ประเด็นสารสนเทศของบุคลากรที่นำเสนอสู่ภายนอก 2) ประเด็นเชื่อมโยงรายงานวิจัยบุคลากรกับระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง 3) ประเด็นเชื่อมโยงผลงานกับการประเมินบุคลากรสิ้นปีการศึกษา 4) ประเด็นเกณฑ์ประเมินการเรียนการสอน 5) ประเด็นการให้สารสนเทศผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย
+ http://www.yonok.ac.th/person
+ http://www.yonok.ac.th/intranet
+ http://yoso.yonok.ac.th
+ http://www.4shared.com/document/53FstSVa/meeting_vipark_530512_v2.html

กระบวนการเรียนรู้ทั้ง 10 แบบ

อ.พจนา ทรัพย์สมาน

14 พ.ค.53 เข้ารับการอบรมเรื่อง การสอนให้ผู้เรียน แสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง โดย อ.พจนา ทรัพย์สมาน สพท.นครสวรรค์ เขต 1 ซึ่งวิทยากรได้ให้แนวการเขียนกระบวนการเรียนรู้ ทั้งหมด 10 กระบวนการดังนี้
     1. กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด ประกอบด้วย 1) สังเกต 2) จำแนกความแตกต่าง 3) หาลักษณะร่วม 4) ระบุชื่อความคิดรวบยอด 5) ทดสอบและนำไปใช้
     2. กระบวนการสร้างความตระหนัก ประกอบด้วย  1) สังเกต 2) วิเคราะห์ วิจารณ์ 3) สรุป
     3. กระบวนการแก้ปัญหา ประกอบด้วย 1) กำหนดและวิเคราะห์ปัญหา 2) สร้างและประเมินทางเลือก 3) วางแผนกำหนดวิธีการแก้ปัญหา 4) ลงมือแก้ปัญหาตามแผน 5) ประเมิน ปรับปรุงสรุปผลการแก้ปัญหา
     4. กระบวนการปฏิบัติ ประกอบด้วย  1) สังเกต รับรู้ 2) ทำตามแบบ 3) ทำโดยไม่มีแบบ 4) ฝึกทำให้ชำนาญ 5) ทำอย่างสร้างสรรค์
     5. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ประกอบด้วย  1) ตั้งปัญหา 2) ตั้งสมมติฐาน 3) รวบรวมข้อมูล 4) วิเคราะห์ข้อมูล 5) สรุปผล
     6. กระบวนการศึกษาค้นคว้า ประกอบด้วย  1) กำหนดจุดประสงค์ 2) วางแผน 3) ศึกษาค้นคว้าและบันทึกข้อมูล 4) นำเสนอ ข้อมูล วิเคราะห์อภิปราย 5) สรุปความรู้
     7. กระบวนการสำรวจรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) กำหนดจุดประสงค์ 2) วางแผน 3) สำรวจและบันทึกข้อมูล 4) นำเสนอ ข้อมูล วิเคราะห์อภิปราย 5) สรุปความรู้
     8. กระบวนการสร้างสุขนิสัย ประกอบด้วย  1) สังเกต รับรู้ 2) คิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ 3) สร้างแนวปฏิบัติที่เหมาะสม 4) วางแผนการปฏิบัติ 5) ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
     9. กระบวนการสร้างค่านิยม  ประกอบด้วย  1) สังเกต ตระหนัก 2) ประเมินเชิงเหตุผล 3) กำหนดค่านิยม 4) วางแผนการปฏิบัติ 5) ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
     10. กระบวนการเรียนภาษา ประกอบด้วย  1) ทำความเข้าใจสัญลักษณ์ 2) สร้างความคิดรวบยอด 3) สื่อความหมาย ถ่ายทอดความคิด 4) พัฒนาความสามารถทางภาษา
+ http://www.pojana.com
+ http://www.facebook.com/photo.php?pid=3881467&id=814248894
+ http://www.thaiall.com/e-learning

แผนผังการใช้งานระบบฐานข้อมูลประเมินตนเอง

แผนผังแสดงการใช้งานระบบฐานข้อมูลประเมินตนเอง

 10 พ.ค.53 หลายปีก่อนจำได้ว่าเขียนแผนภาพแสดงขั้นตอนการจัดการแฟ้ม เพื่อส่งเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง โดยใช้วงจร PDCA เพื่ออธิบายให้เพื่อนร่วมงานได้เข้าใจ แล้วเข้าไปใช้งานระบบเพื่อประเมินตนเองได้ง่าย มีวันที่สร้างติดอยู่ใน diagram นี้ด้วย คือวันที่ 7 มีนาคม 2551 แล้วก็จัดกิจกรรมมาแล้ว 2 ปี ๆ ละหลายครั้ง ซึ่งเป็นการใช้งานระบบที่ไม่ซับซ้อนเลย ปีนี้คือปี 2553 ก็มีแผนจัดอบรมอีกแล้ว แต่เป็นระดับบุคคล ก็จะใช้เวทีของการวิพากษ์ระบบฐานข้อมูลเป็นอีกเวทีหนึ่งในการนำเสนอเรื่องนี้ และจะนำภาพนี้เข้าไปไว้ในคู่มือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยลัยด้วย
+ http://www.thaiall.com/sar/sar_flow50.gif

ร่างผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระหว่างอบรมอีเลินนิ่ง

8 พ.ค.53 จากการอบรมอีเลินนิ่งเมื่อ 29-30 เม.ย.53 เพื่อนได้ชวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (อาจารย์บางท่านขอสงวนนาม) แล้วผมก็บันทึกข้อเสนอแนะไว้ จากนี้ก็จะส่งให้เพื่อนได้ทบทวนก่อนจัดทำรูปเล่มดังนี้ 1) อ.ภามิตร เสนอให้มีการติดตามการใช้งานอีเลินนิ่ง และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากการใช้งานโปรแกรมภายหลังการอบรมไปแล้วระยะหนึ่ง ซึ่ง อ.ฉัตรแก้ว ให้ความเห็นสนับสนุนให้มีกิจกรรมติดตามผลการอบรมเช่นกัน 2) อ.อดิทอง เสนอให้มีระบบบริการครบวงจรมีพี่เลี้ยงแบบสายฟ้าแล็บที่ใกล้ชิดกับผู้สอนอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้ความรู้ตั้งแต่เริ่มต้นหลักสูตร การจัดตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานในแต่ละคณะวิชา การกำกับดูแลมาตรฐาน การออกแบบเนื้อหาสอดรับกับธรรมชาติของหลักสูตรและมหาวิทยาลัย การทดสอบใช้งาน การติดตามช่วยเหลือนักศึกษาในการใช้งานสอดรับกับแต่ละเนื้อหาหรือกิจกรรม และการจัดทำสื่อมัลติมีเดียสนับสนุนให้การพัฒนาอีเลินนิ่งเป็นไปอย่างสมบูรณ์ 3) อ.คงสืบ เสนอให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องมีความจริงใจ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสมเหตุสมผล เห็นประโยชน์ของคนทำงานมากกว่าสิ่งอื่นใด เพื่อให้การทำงาน การสนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอนมีระบบและกลไกที่เอื้อต่อการพัฒนา จัดหาฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ และพีเพิลแวร์ที่เพียงพอ 4) อ.เกศลา เสนอให้มหาวิทยาลัยวางแผนเรื่องภาระของบุคลากร เพราะปัจจุบันไม่มีเวลาในการพัฒนาระบบอีเลินนิ่ง หากมีเวลาในการพัฒนาอีเลินนิ่งเพิ่มก็จะดีมาก 5) อ.คนึงภู เสนอว่าการอบรมควรมีคู่มือ เพราะคู่มือในดีวีดีมีเพียงไม่กี่สถาบัน และมีคู่มือของอ.ทนงฝั้น และคู่มือของอ.บุพันธุ์ ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากการบรรยายมีรายละเอียดค่อนข้างมาก หากมีคู่มือที่ละเอียดและมีขั้นตอนตามที่อบรมก็จะดีมาก  ซึ่ง อ.สกุลหล้า ให้เหตุผลสนับสนุนข้อเสนอนี้ 6) อ.สุทธิ์สกุล เสนอให้มีการอบรมนักศึกษาในการใช้งานอีเลินนิ่ง เพื่อให้การพัฒนาอีเลินนิ่งสามารถถูกใช้โดยนักศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นการบูรณาการกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพมากกว่าอาจารย์แต่ละคนจะไปอบรมในชั้นเรียนของตนเอง 7) อ.วีรัตน์ เสนอให้มหาวิทยาลัยจัดคอมพิวเตอร์ให้กับอาจารย์ จัดคอมพิวเตอร์ให้หน่วยงานระดับสาขา จัดคอมพิวเตอร์ให้กับนักศึกษา ปรับความพร้อมและทัศนคติของอาจารย์ และนักศึกษา เพราะสิ่งเหล่านี้ยังไม่พร้อม ซึ่ง อ.ศรินขำ มีความเห็นไปในทางเดียวกันกับข้อเสนอนี้

อบรม TQF ที่มหาวิทยาลัยโยนก โดย อ.อุาณีย์ คำประกอบ

วิทยากร อาจารย์ และทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัย

6 พ.ค.53 ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยโยนก โดย อ.อติชาต หาญชาญชัย จัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education) ซึ่งมีผู้อำนวยการสำนักประกันคุณภาพจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้เกียรติมาเป็นวิชาการ คือ รศ.อุษณีย์ คำประกอบ สำหรับเนื้อหาประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับแบบฟอร์มที่ต้องจัดทำทั้งหมด 7 แบบ คือ มคอ.1) การพัฒนามาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา มคอ.2) กรอบมาตรฐานคุณวุฒิกับการพัฒนารายละเอียดของหลักสูตร มคอ.3) การพัฒนารายละเอียดของรายวิชา (Course Specification) มคอ.4) การพัฒนารายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Specification) มคอ.5) การรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (Course Report) มคอ.6) การรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Report) มคอ.7) การรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร (Programme Report)
     เอกสารของ รศ.อุษณีย์ คำประกอบ ฝากให้กับคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย PowerPoint และแฟ้มตัวอย่างของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่ท่านรวบรวมไว้สำหรับเป็นตัวอย่างให้ทุกคนได้เรียนรู้ เพื่อเป็นตัวแบบในการใช้ประกอบพิจารณา และปรับปรุงให้สอดรับกับการจัดทำ TQF ในหลักสูตรของตนเอง
Download : http://www.yonok.ac.th/doc/oit/TQF_530506.zip
Download : http://www.yonok.ac.th/doc/oit/tqf_yonok_530506.ppt
+ http://www.thaiall.com/tqf
+ http://www.qa.rmutk.ac.th/Download/
+ http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/
+ http://www.eqd.cmu.ac.th
+ http://eoffice.pharmacy.cmu.ac.th/mis/person/view_person_detail.asp?id=6246

ประชุมทบทวนและเสนอเรื่องใหม่

2 พ.ค.53 มีโอกาสทำรายงานการประชุมทบทวนแผนการจัดการความรู้ (KM : Knowledge Management) หลายท่านขอสงวนนามไว้ แต่มีรายละเอียดชวนให้เรียนรู้ เป็นแนวคิดของแต่ละคน ดังนี้
1) วาระ แจ้งเพื่อทราบ อ.อติบุ๋ม แจ้งให้ทราบว่าในปีการศึกษา 2551 มหาวิทยาลัยมีการจัดการความรู้ในระดับมหาวิทยาลัยเป็นปีแรก โดยเริ่มต้นด้วยการให้ความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยตามแผนการจัดการความรู้ของมหาวิทยลัย ดังนั้นในปีการศึกษา 2552 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควรมีแผนการจัดการความรู้ที่ดำเนินการภายในคณะที่ชัดเจน จึงได้จัดให้มีการประชุมทบทวน และยกร่างแผนการจัดการความรู้ของคณะในครั้งนี้ขึ้น
2) วาระ ทบทวน อ.อติบุ๋ม ให้ข้อมูลแก่ที่ประชุมว่าการจัดการความรู้ในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากร ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกนั้นดำเนินการด้วยความเรียบร้อย
3) อ.วิบุญ แสดงความเห็นสนับสนุนว่าผลการดำเนินงานตามแผนการจัดการความรู้นั้น ได้ให้ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ที่มีประโยชน์ ทำให้เข้าใจว่าความรู้ฝังลึก และความรู้ชัดแจ้งนั้นคืออะไร จึงเข้าใจว่าทำไมรัฐบาลสนับสนุนให้มีการจัดการความรู้ในสถาบันการศึกษา และเกิดการยอมรับทั่วไปในปัจจุบัน ซึ่งเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการจัดการความรู้คือแผนที่ความคิด (Mind Map) ที่สามารถใช้แสดงความคิดที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุม และมีแผนจะนำมาใช้ในการประชุม เพื่อจับประเด็น และหาข้อสรุปที่ได้จากการประชุม
4) อ.ศศิแนน เสนอว่า คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถดำเนินการจัดการความรู้ได้อย่างถูกต้อง เพราะ อ.อติบุ๋มเป็นกำลังสำคัญที่มีความเข้าใจในการจัดการความรู้ และทุกคนให้ความเคารพเชื่อถือ ซึ่งการจัดการความรู้จำเป็นต้องอาศัยความสามัคคี ความเห็นพร้อง ความเป็นผู้นำ ความไม่ยึดมั่นถือมั่น การรับฟัง และแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกัน หากเป็นผู้ที่ไม่มีความเข้าใจมาขับเคลื่อนอาจทำให้การจัดการความรู้ของคณะไม่สำเร็จก็ได้ จึงเสนอให้อ.อติบุ๋ม เป็นผู้นำในการจัดการความรู้ของคณะ
5) อ.ทนงเมือง เสนอว่าการจัดการความรู้ของคณะในปีการศึกษา 2552 ควรแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ มิถุนายน 2552 – พฤศจิกายน 2552 เพื่อให้สอดรับกับการประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์ของ สมศ. ที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในปีพ.ศ.2552 และช่วงที่สอง คือ มกราคม 2553 – พฤษภาคม 2553 เพื่อให้เข้ากับการประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์ของ สกอ. ซึ่งเป็นความพิเศษเฉพาะของคณะฯ ในปีนี้
6) อ.เกศลา ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าจากการอบรมทำให้ทราบว่าขั้นตอนของการจัดการความรู้ตามแนว กพร. มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ 1) การบ่งชี้ความรู้ คือ การระบุประเด็นความรู้ รูปแบบ และผู้รู้ที่สอดรับกับนโยบาย ขอบเขตและเป้าหมายขององค์กร 2) การสร้างและแสวงหาความรู้ คือ การรวบรวมความรู้ใหม่ รักษาความรู้เดิม และกรองความรู้ที่ไม่ใช้ออกจากแหล่งรวบรวม 3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ คือ การวิเคราะห์และคัดแยกความรู้เป็นกลุ่มประเด็นให้ง่ายต่อการเข้าถึงอย่างมีขั้นตอน 4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ คือ การปรับปรุงให้ความรู้มีรูปแบบมาตรฐาน ไม่ซ้ำซ้อน มีความสมบูรณ์ มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ 5) การเข้าถึงความรู้ คือ การสร้างแหล่งเผยแพร่ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา 6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ คือ การนำความรู้เข้าสู่เวทีแลกเปลี่ยนที่มีฐานความรู้หรือฐานข้อมูลรองรับให้ง่ายต่อการเข้าถึงและสืบค้น 7) การเรียนรู้ คือ การใช้ความรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เป็นวงจรความรู้ที่มีการเรียนรู้และพัฒนาให้เกิดประสบการณ์ใหม่อยู่เสมอ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน และนำไปปฏิบัติได้
7) ที่ประชุมมีมติ ว่าการจัดการความรู้ในปีที่ผ่านมาเป็นการปูพื้นฐานให้บุคลากรที่เพียงพอแล้ว ในครั้งต่อไปให้คณะมีแผนการจัดการความรู้ของคณะที่ชัดเจน และถือเป็นงานประจำของคณะที่ต้องดำเนินการทุกปี และมอบให้อ.อติบุ๋ม เป็นผู้ขับเคลื่อนงานการจัดการความรู้ของคณะต่อไป
8) เสนอหัวเรื่อง อ.อติบุ๋ม แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า จากการหารือกับ อ.ศศิแนน ได้ข้อสรุปว่า คณะควรมีหัวเรื่องการจัดการความรู้ที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2552 เป็นการจัดการความรู้สำหรับช่วงแรกในกรอบปีพ.ศ.2552 และจัดทำรายงานตามเกณฑ์ของ สมศ. จึงขอให้อาจารย์ร่วมเสนอหัวเรื่องแล้วพิจารณาร่วมกัน และอ.อติบุ๋ม จะนำหัวเรื่องที่ได้ไปจัดทำแผนการจัดการความรู้ เพื่อเสนอในที่ประชุมผู้บริหารคณะพิจารณาอนุมัติต่อไป
9) อ.บุพันธุ์ เสนอเรื่องหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพราะปัจจุบันผู้คนขาดความรู้ความเข้าใจในหลักสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมบริโภคนิยม และไม่ปฏิบัติตนอย่างสมเหตุสมผล มีความโลภ โกรธ หลงเป็นที่ตั้ง ชีวิตจึงวุ่นวายไม่สิ้นสุด
10) อ.วิบุญ เสนอเรื่องการพัฒนาการเรียนการสอน เพราะเป็นหัวข้อที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ทุกคน และสอดรับกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยด้านการเรียนการสอน
11) ที่ประชุมมีมติ เลือกเรื่องการพัฒนาการเรียนการสอน เป็นหัวข้อการจัดการความรู้ของคณะในช่วงที่หนึ่งส่วนช่วงที่สองให้ดำเนินการช่วงที่หนึ่งให้แล้วเสร็จก่อน

ร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจรับงานจัดทำเว็บไซต์

เว็บไซต์จากอินเทอร์เน็ต

2 เม.ย.53 มีเพื่อนชวนไปเป็นกรรมการตรวจรับงานจัดทำเว็บไซต์หนึ่ง มีงบจัดจ้าง 133200 บาท แบ่งเป็นค่าบริการออกแบบและจัดทำทั้งหมด 5 รายการ คือ a) เว็บหลัก 36000 b) เว็บสองภาษา 37000 c) โครงการเยส 21000 d) สังคมออนไลน์ 34000 e) เว็บบอร์ด 5200 การเป็นกรรมการครั้งนี้ได้ใบส่งของ (invoice) ซึ่งมีรายละเอียดว่าจะทำอะไรบ้าง แล้วผมก็ลองหยิบมาตรวจตามรายการ  ตรวจ a) เว็บหลัก พบว่า  1) สิ่งที่ยังไม่ทำ 2 หน้า คือ สารจากผู้บริหาร และติดต่อ ส่วนที่พิมพ์ผิดมีหลายหน้า คือ วิสัยทัศน์ เจ้าของ ชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร แผนที่ 2) สินค้า สิ่งที่พบคือ ปัดบรรทัดผิด และผู้บริหารยังไม่ยอมรับเนื้อหาที่ขัดกับคุณภาพขององค์กร เช่น ไม่เช็คชื่อบ้าง 3) รายการระดับไม่ครบ
     ตรวจ b) เว็บสองภาษา พบรายการที่ทำแล้วเพียงกึ่งหนึ่ง ตรวจ c) โครงการเยส พบรายการที่ทำแล้วไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ตรวจ d) สังคมออนไลน์ รายการน่าจะครบ แต่มีข้อสังเกตเรื่อง back office ว่าใครได้หรือไม่ ตรวจ e) เว็บบอร์ด เห็นคำว่าปรับปรุง กับคำว่า re-design คนละรายการ .. ที่เล่านี่ก็เป็นประสบการณ์หนึ่งที่อยากจะแบ่งปัน .. ยามตรวจงานเสร็จ

อบรมการพัฒนาสื่อการสอนอีเลินนิ่ง

อบรมการใช้ moodle อีกครั้ง

29 เม.ย.53 วันนี้เป็นวันแรกในสองวันของการอบรมการพัฒนาสื่อการสอนอีเลินนิ่ง (e-learning) ซึ่งมี อ.ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้พื้นฐาน และมีผู้ได้รับคัดเลือกเป็นผู้พัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่งระดับดี ประจำปีการศึกษา 2552 ซึ่งเป็นปีแรกที่มอบประกาศนียบัตรมาเป็นผู้บรรยายประสบการณ์ในการใช้ประโยชน์จากระบบอีเลินนิ่ง ประกอบด้วย อ.ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น อ.อติชาต หาญชาญชัย อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ และอ.คงศักดิ์ ตุ้ยสืบ จากนั้นก็มีผู้ดูแลงานไอทีมาบรรยายการใช้โปรแกรม moodle แบบ offline โดยใช้โปรแกรม thaiabc.com เป็นเครื่องมืออบรม ซึ่งมีผู้ช่วยวิทยากรคือ อ.เกศริน อินเพลา และคุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ และผู้ประสานงานโครงการคือคุณศิริพร ยาสมุทร
ในการอบรมเน้นให้อาจารย์แต่ละคนจำลองตนเองเป็น ผู้ดูแลระบบ ครู และนักเรียน สลับบทบาทไปมาอย่างเข้าใจ เพื่อให้กลับไปจัดทำแผนการสอน และใช้เครื่องมือได้อย่างลงตัว ทำความเข้าใจแหล่งเอกสารระหว่างในไซต์กับจากนอกไซต์ แล้วฝึกใช้เครื่องมือทั้ง resource และ activities ซึ่งทั้งหมดเป็นการเรียนรู้แบบออฟไลน์ด้วยโปรแกรม thaiabc.com ทำให้รวมเร็ว และไม่มีผลต่อเครื่องบริการหลักของมหาวิทยาลัย ก่อนปิดคลาสวันนี้ ได้ฝึกให้อาจารย์สร้างการบ้าน และจำลองเป็นนักเรียน 2 คนเข้ามาส่งการบ้าน และอาจารย์ให้คะแนน ซึ่งมีผลเป็นการรวมคะแนนที่ได้จากการบ้าน 2 ชิ้น
+ http://www.thaiall.com/e-learning/moodle.htm
+ http://www.weerapun.com
+ http://www.facebook.com/album.php?aid=168683&id=814248894
+ http://www.4shared.com/dir/38358133/530e46a/train_elearning.html

ความไว้วางใจในหมู่มนุษย์

สัตว์ที่มีความสามัคคี

29 เม.ย.53 มนุษย์เรามีหัวหน้ามากมายตามบทบาทที่แตกต่าง ในชุมชนหรือกลุ่มคนที่มีวิสัยทัศน์ร่วมกันที่ต้องการจะไปให้ถึงย่อมต้องมีหัวหน้าเป็นผู้นำไปสู่เส้นชัย เช่น หมู่บ้านก็ย่อมมีผู้ใหญ่หน้าเป็นหัวหน้า สมาคมศิษย์เก่าก็ย่อมมีนายกเป็นหัวหน้า จังหวัดก็ย่อมมีผู้ว่าเป็นหัวหน้า ครอบครัวย่อมมีภรรยาเป็นหัวหน้าแม่บ้าน กลุ่มเสื้อแดงก็ต้องมีคนตัดสินใจเรื่องกลยุทธ์ รัฐบาลก็ต้องมีนายก แล้ววันหนึ่งผมก็ได้รับมอบหมายงานหนึ่งที่ทำให้ไม่สบายใจนัก แม้จะเห็นหัวหน้ายิ้มอย่างมีความสุขที่มอบหมายงานให้ผมทำงานซ้ำรอบสอง  แต่อาจเป็นเพราะหัวหน้าไม่วางใจผู้ทำงานคนแรกและสงสัยในผลที่ได้ จึงให้ผมทำงานซ้ำเพื่อตรวจสอบการทำงานของเพื่อนร่วมงานคนแรก บางทีหัวหน้าอาจทราบผลและไม่กล้าออกหน้าด้วยเกรงบารมีของผู้ทำงานคนแรก ซึ่งผมเองก็เกรงบารมีนั้นเช่นกัน .. ในโลกแห่งภาพยนต์มีเหตุการณ์แบบนี้เสมอ .. ก็แค่เรื่องเล่าถึงคำว่าบารมีของสมาชิกในครอบครัวที่หัวหน้าก็ยังต้องเกรงต่อบารมีนั้น

ในวันวุ่นและพลาดประชุมของผมอีกวัน

28 เม.ย.53 วันนี้มีเหตุให้ผมทำงานไม่สำเร็จงานหนึ่ง คือ การจัดประชุมการจัดการความรู้ที่ อ.อติชาต หาญชาญชัย เป็นประธานการประชุมของคณะ ซึ่งมีแผนประชุมเวลา 13.00น. แต่บุคลากรในคณะทั้ง 8 คน ผมมาทราบช่วงก่อนประชุมว่าเพื่อนติดภารกิจ 5 คน จะประชุมก็ไม่สมเหตุสมผลทำให้ต้องเลื่อนการประชุมออกไป ในใจก็ดีใจ (หาย) เพราะอันที่จริงเวลานี้ผมก็มีสอนภาคเรียนฤดูร้อน จึงปลีกตัวไปสอนหนังสือได้ครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งก็ติดเป็นกรรมการสอบแทนหัวหน้าที่ต้องไปประชุมผู้บริหาร ซึ่งพอสรุปกิจกรรมของวันนี้ไว้เป็นบทเรียนให้มีการวางแผนให้ดีก่อนใช้ชีวิตในแต่ละวัน
     เริ่มตั้งแต่ช่วงเช้า 1) จัดทำบันทึกให้ท่านอธิการลงนามในใบประกาศนียบัตรคัดเลือกผู้พัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่ง ก็มีคุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ ช่วยทำใบประกาศสำหรับผู้ถูกคัดเลือก 4 ท่าน และดำเนินการจนสำเร็จ 2) สรุปเอกสารเตรียมจัดอบรมอีเลินนิ่ง โดยมีเอกสารของ อ.ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น เข้ามารวมเป็นเอกสารครบชุด แล้วมอบให้ คุณศิริพร ยาสมุทร ช่วยเตรียมทั้งเอกสาร และอาหารสำหรับอบรมวันรุ่งขึ้น 3) ไปตรวจเอกสารมาตรฐานที่ 3 บริการวิชาการ ในคณะบริหารธุรกิจ และคณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ ร่วมกับคุณลักขณา 4) ประชุมติดตามการดำเนินการมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ร่วมกับ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ในกลุ่มงานวิชาการที่ผมดูแลงานด้านไอทีว่าทิศทางควรเป็นอย่างไร 5) ไปซ่อมและให้คำปรึกษาปัญหาเครื่องพิมพ์ของผู้บริหารท่านหนึ่งหลังสระว่ายน้ำช่วงเที่ยงวัน 6) ก่อนบ่ายโมงจัดทำเอกสารงบประมาณของงานเทคโนโลยีเสนอฝ่ายงบประมาณ 7) บ่ายโมงทราบว่าประชุม KM ต้องเลื่อน จึงไปสอนหนังสือตามปกติ โดยไม่ใช้เทคนิคมอบงานให้เรียนรู้ด้วยตนเองตามแผนที่กำหนดไว้ 8 ) บ่ายสามโมงร่วมเป็นกรรมการสอบกับ อ.เกศริน อินเพลา แทนหัวหน้า ในการสอบหัวข้อของนักศึกษา ที่ชื่อ นฤมล 9) ตั้งแต่ทุ่มจัดทำซีดี 30 แผ่นเตรียมให้อาจารย์ที่ร่วมอบรม e-learning วันรุ่งขึ้น 10) ระหว่างรอเขียน CD 30 แผ่นก็มานั่งเขียน blog นี่หละครับ
     สิ่งที่เตรียมในซีดี คือ 1) โปรแกรม thaiabc สำหรับจำลอง webserver ที่บริการ moodle แบบ noinstall 2) เอกสารสอน moodle ทั้งในฐานะนักเรียน และครู 3) เอกสารสอน e-learning โดย รศ.ดร.มนต์ชัย เทียนทอง 4) เอกสารกรอบ TQF และตัวอย่าง มคอ.3  5) โปรแกรมมัลติมีเดียสำหรับจัดทำ Learning Object อาจใช้ exe หรือ reload หรือ flip หรือ fpf ก็เชื่อได้ว่าอาจารย์ทุกท่านที่ได้ซีดีจะนำประสบการณ์ไปพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่งอย่างสร้างสรรค์
+ http://www.thaiabc.com
+ http://www.thaiall.com/e-learning/moodle.htm