ผลพิจารณาบทความ NCCIT10 ครั้งที่ 1

บทความวิชาการ

27 เม.ย.53 ทราบผลการประกาศบทความที่ผ่านการพิจารณาครั้งที่ 1 สำหรับเข้าร่วมนำเสนอใน The 6th National Conference on Computing and Information Technology and The 10 th International Conference on Innovative Internet Community Systems ระหว่าง 3-5 มิถุนายน 2553 ณ โรงแรมอีสติน มักกะสัน กรุงเทพฯ ซึ่งมีบทความผ่านครั้งที่ 1 จำนวน 27 จากมากกว่า 200 บทความ ซึ่งบทความที่ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อ.วันชาติ นภาศรี คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และ อ.อัศนีย์ ณ น่าน สำนักประกันคุณภาพการศึกษา ส่งไปนำเสนอนั้น คือ “A Development of Self Assessment Report Database: A Case study of Yonok University in Lampang Provinceผ่านการพิจารณาในครั้งที่ 1 เรียบร้อยแล้ว ก็ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ทุกท่านในรายชื่อผู้เสนอบทความลำดับที่ 6 (ตามแฟ้มแนบ)
     สำหรับบทความที่ไ ม่ปรากฎในประกาศผลการพิจารณาอย่างเป็นทางครั้งที่ 1 เนื่องจากบทความยังไ ม่ได้ทำการแก้ไขให้เรียบร้อยและเป็นไปตามรูปแบบของงานประชุม ให้เจ้าของความทำการแก้ไข พร้อมส่งกลับภายในวันที่ 28 เมษายน 2553 หรือรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณกาญจนา และคุณวัชรีวรรณ โทร.02-913-2500 ต่อ 2703 Note – Some papers do not appear in the preliminary decisions, because the authors have not made changes to the papers according to the reviewers’ comments, and/or the papers are not in the correct NCCIT’10 format The authors must correct the format and return the paper by 28th April 2010. Contact: Khun Kanchana or Khun Watchareewan Tel.02-913-2500 # 2703
+ http://www.thaiall.com/research/nccit10/nccit10_accept1.pdf
+ http://www.nccit.net
+ http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm

ปรับนิยามเกณฑ์การประเมินบุคลากรนิดหน่อย

21 เม.ย.53 มีโอกาสประเมินเพื่อนร่วมงาน (evaluation) โดยฝ่ายทรัพยากรบุคคลส่งแบบประเมิน ที่ใช้คะแนน 5 ระดับ แบ่งคำถามเป็น 3 กลุ่ม 1) เกี่ยวกับงาน 2 ) เกี่ยวกับลักษณะบุคคล 3 ) ด้านอื่น ผมใช้วิธีส่งเกณฑ์ประเมินให้เพื่อนร่วมงานประเมินตนเองแบบปากเปล่า แล้วส่งผลที่ผมประเมินให้เขาพิจารณาก่อนเซ็นให้ความเห็นชอบ พบว่าเพื่อนร่วมงานทุกคนประเมินตนเองต่ำกว่าที่ผมประเมิน .. วิธีนี้ทำให้ทุกคนยอมรับผลประเมินของผมมากกว่าให้เขารับผลประเมินจากผมด้านเดียว
     ซึ่งสรุปได้ว่ามีคำถามทั้งหมด 20 ข้อรวมเต็ม 100 คะแนน ประกอบด้วย 1) ความรู้พื้นฐาน หมายถึง ความรู้ในงานตามหน้าที่อย่างครบถ้วน มีความเข้าใจ และทราบขั้นตอนการปฏิบัติงานลุล่วงสำเร็จตามภารกิจ 2) ความรอบรู้ในภารกิจ หมายถึง ความสามารถในการที่จะทำงานให้สำเร็จ และได้ผลดีที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ 3) การเรียนรู้งาน หมายถึง ความสามารถในการเรียนรู้ที่จะปฏิบัติงานได้ตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง 4) ความตั้งใจ ใส่ใจในการทำงาน หมายถึง การอุทิศตนเอง และทำงานเต็มความสามารถ 5) ความรับผิดชอบ หมายถึง ความใส่ใจในรายละเอียดให้งานบรรลุตามเป้าหมายและกรอบเวลา 6) มีการมาทำงาน สาย หรือขาดงาน ไม่เกิน 10% ของวันทำการ หรือไม่เกิน 3 วัน  7) การเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัยจะอนุโลมตามหลักการให้คะแนนของข้อ 6 8 ) การประสานงาน หมายถึง ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น สื่อสาร ให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ 9) ความคิดริเริ่ม หมายถึง ความสามารถให้ข้อเสนอแนะ คิดงานใหม่ให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม 10) ความไว้วางใจ หมายถึง มีความละเอียด รอบคอบ ตั้งใจ ติดตามงา โดยไม่ต้องถูกควบคุมใกล้ชิดตลอดเวลา 11) การใช้ทรัพยากร หมายถึง ประหยัด มีหลักในการใช้จ่าย และใช้อุปกรณ์สำนักงานเสมือนเป็นของตน 12) การวางแผนจัดระบบงาน หมายถึง ความสามารถวางแผน คาดการณ์ กำหนดวัตถุประสงค์ ตัวบ่งชี้ และเป้าหมายได้ชัดเจน 13) การตัดสินใจแก้ปัญหา หมายถึง ความสามารถแก้ปัญหาในหน้าที่ที่รับผิดชอบให้ลุล่วง 14) ทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการพูด เขียน หรือสื่อสารได้ถูกต้องชัดเจน 15) ความเป็นผู้นำ หมายถึง ความสามารถและมีทักษะนำหน่วยงานให้ปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จ 16) การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา หมายถึง  ความสนใจแนะนำ พัฒนาศักยภาพของเพื่อนร่วมงานอยู่เสมอ 17) การมีมนุษยสัมพันธ์ หมายถึง มีความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น 18) นวัตกรรม หมายถึง ความสามารถประยุกต์หรือพัฒนางานแนวใหม่อย่างมีคุณภาพ 19) คุณภาพของงาน หมายถึง ความถูกต้อง ความประณีต ความเรียบร้อย ของการทำงานทันเวลาตามเป้าหมายที่กำหนด 20) ปริมาณงาน หมายถึง ผลงานที่สามารถจะทำได้สำเร็จตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย หรือในเวลาที่ควรจะต้องทำ

วีรบุรุษที่ต้องเลือกระหว่างความยุติธรรมกับความสงบสุข

ความยุติธรรม กับ ความสงบสุข

20 เม.ย.53 หลายเหตุการณ์ทำให้นึกเปรียบเทียบคำว่า ถูกต้องหรือยุติธรรม กับ สงบสุข ได้บทเรียนจากภาพยนต์เรื่อง hero ที่พระเอกตัดสินใจละทิ้งความถูกต้อง แล้วเสียสละเพื่อความสงบสุข เป็นการพลิกวิถีปฏิบัติของปุถุชนทั่วไปและน้อยคนที่จะเข้าใจ เพราะเห็นพฤติกรรมของผู้คนในปัจจุบันแล้ว รู้เลยว่าคงไม่เข้าใจประเด็นความต่างของ ความถูกต้อง และความสงบสุข
     เปรียบเทียบเรื่องการเมืองที่หลายคนคงมองข้ามความสงบสุข สนใจแต่เพียงความถูกต้อง สนใจแต่ความยุติธรรมบนฐานคิดของตนเอง ก็เป็นสิ่งที่คิดได้ มีเหตุผลรองรับเสมอ และไม่แปลกด้วย มีกรณีเปรียบเทียบ อาทิ 1) ในหลายหมู่บ้านมีข้าราชการท้องถิ่นเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้องต่อตนเอง แต่ไม่สนใจความสงบสุขของชุมชนส่วนรวม 2) ในหลายองค์กรก็จะมีบางคนสนใจความถูกต้องด้วยเหตุผลของตนเอง แต่ไม่สนใจความสงบสุขขององค์กร 3) ในประเทศจีนโบราณจิ๋นซีบุกตีเมืองต่าง ๆ ผู้คนล้มตายจำนวนมาก การล้างแค้นเป็นความถูกต้อง เมื่อชายคนหนึ่งมีโอกาสล้างแค้นพร้อมลงมือฆ่าจิ๋นซีแต่เขาก็ตัดสินใจปล่อยให้จิ๋นซีมีชีวิต มีอำนาจล้นฟ้า ครองแผ่นดินจีนไว้แต่เพียงผู้เดียว ทำให้หยุดการทำสงครามระหว่างแคว้นลงได้ .. ดังนั้นพระเอกหรือฮีโร่จึงตัดสินใจเลือกความสงบสุขเหนือความยุติธรรม .. สารภาพตรงนี้เลยว่าเป็นผมก็ยึดความยุติธรรมครับ เพราะไม่อยากเป็นพระเอก มีชีวิตอย่างปุถุชนดีกว่าเป็นฮีโร่แน่นอน .. แต่ก็ไม่ลืมคำว่าสงครามสร้างวีรบุรุษ .. ถ้าถามชาวโลกก็คงตอบแบบไม่คิดมากว่า ถ้าเลือกได้ก็เลือกทั้ง 2 อย่างพร้อมกัน

ฝืนกฎและอัตราค่าบำรุงการใช้อาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัยโยนก

19 เม.ย.53 โดยปกติผมไม่เขียน blog ในเวลางาน เชื่อว่าเป็นเรื่องผิดจรรยาบรรณร้ายแรง แต่วันนี้ขอฝืนกฎเพราะเชื่อว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทำงานโดยตรง ไม่ใช้เวลามาก และไม่น่ารบกวนการทำงานปกติ โดยมีประเด็นที่ชวนให้บันทึกไว้ดังนี้
     ที่มหาวิทยาลัย วันนี้มีโอกาสได้ให้บริการบริษัทแห่งหนึ่งในการใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัย จัดฝึกอบรมการใช้ Openoffice และฝึกอบรมแก่บุคลากรของบริษัทนั้นในจังหวัดลำปาง ทำให้ต้องอ้างอิงเอกสารสำคัญคือ ประกาศมหาวิทยาลัยโยนก เรื่อง อัตราค่าบำรุงการใช้อาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัยโยนก ประกาศ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2552 โดยอัตราค่าบำรุงแบ่งเป็น 2 แบบคือ ต่อวัน และต่อครึ่งวัน ซึ่งสถานที่ถูกแบบได้ 9 ลักษณะ(ต่อวัน/ครึ่งวัน) คือ 1) ห้องประชุมใหญ่อาคารคณะบริหารธุรกิจ 6000/4000 บาท 2) ห้องประชุมใหญ่อาคารคณะนิเทศศาสตร์หรืออาคารอเนกประสงค์ 5000/3000 บาท 3) ห้องประชุมอาคาร ดร.เทียม โชควัฒนา 3000/2000 บาท 4) ห้องประชุมอาคารศูนย์นักศึกษาคริสเตียน 3000/2000 บาท 5) ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 4000/3000 บาท 6) ห้องตามอาคารต่าง ๆ 1000/700 บาท 7) ลานข่วงดาว 2000 บาท 8 ) อัฒจันทร์กลางแจ้ง 3000 บาท 9) ลานดาวอาคาร ดร.เทียม โชควัฒนา 1000 บาท ก็เป็นสารสนเทศที่จะได้ใช้อ้างอิงในโอกาสต่อไปสำหรับคณะทำงาน และผู้สนใจที่ต้องการข้อมูลประกอบการตัดสินใจ

รายงานการประชุมวิเคราะห์ความรู้จากอาจารย์แต่ละคน

การวิเคราะห์ความรู้

11 เม.ย.53 มีโอกาสทำรายงานการประชุมตามแผนการจัดการความรู้ (KM : Knowledge Management) กิจกรรมวิเคราะห์ความรู้จากอาจารย์แต่ละคน เรื่องการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ หลายท่านขอสงวนนามไว้ แต่มีรายละเอียดชวนให้เรียนรู้ เป็นแนวคิดของแต่ละคน ที่มีความมุ่งมั่นพัฒนาการเรียนการสอน ดังนี้
     1) อ.อติบุ๋ม  ให้รายละเอียดว่ามีประเด็นความรู้จากกิจกรรมแสวงหาความรู้หลายประเด็นพอสรุปได้ คือ 1) คะแนนพัฒนาการ 2) เทคนิคการสอน 11 ประเด็น 3) แฟ้มเค้าโครงรายวิชาและแบบสอบ ซึ่งวันนี้จะมีท่านใดให้รายละเอียดเพิ่มเติมก็ยินดีรับฟัง ขอย้ำว่ากิจกรรมครั้งนี้คือการนำประเด็นที่ได้มาแยกให้เห็นรายละเอียดและประเด็นสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอน
     2) อ.ศศิแนน ให้ความคิดเห็นว่าเหตุผลที่ต้องมีการพัฒนาการเรียนการสอนคือ เป็นหนึ่งในพันธกิจสำคัญของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ต้องดำเนินการ และสัมพันธ์กับการประกันคุณภาพอย่างที่แยกกันไม่ได้ ซึ่งการได้มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเรียนการสอนจะสนับสนุนให้เกิดบทเรียนร่วมกันและนำเทคนิคที่ได้พูดคุยกันไปใช้พัฒนาการสอนในวิชาหรือกิจกรรมที่ตนรับผิดชอบ รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ ที่จะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจกรรมการเรียนการสอน และส่งผลสุดท้ายต่อการได้บัณฑิตที่มีคุณภาพ จากกระบวนการที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยหวังใจว่าเราจะไปถึงจุดนั้น
     3) อ.วิบุญ ให้ความคิดเห็นว่าการให้ความสำคัญกับนักศึกษานั้นต้องมีกระบวนการรองรับที่เป็นรูปธรรม มีระบบ กลไก แผนงาน ซึ่งปกติการพัฒนาการเรียนการสอนต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษา ต้องมีคู่มือให้คำปรึกษา มีการรายงานผลการให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล และจัดทำสรุปสิ้นภาคเรียนหรือสิ้นปีการศึกษาสำหรับภาพรวมของการให้คำปรึกษา แล้วประชุมสรุปงานอาจารย์ที่ปรึกษาสิ้นปีเพื่อทบทวนคู่มือ ระบบ กลไก และพัฒนาการให้คำปรึกษาให้ครอบคลุมทั้งวิชาการ วิชาชีวิต การนำปัญหามาแลกเปลี่ยน หาทางออก วิเคราะห์ความเสี่ยง และพัฒนาข้อมูลที่จะนำไปใช้จัดทำแผนปฏิบัติการ หรือแผนกลยุทธ์ ทั้งหมดนี้สอดรับกับระบบ PDCA ที่ต้องดำเนินการไปพร้อมกับการพัฒนาการเรียนการสอน ดังคำที่ว่าถ้านักศึกษาไม่พร้อมจะเรียน แล้วอาจารย์จะจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพได้อย่างไร
     4) อ.ทนงเมือง ให้ความคิดเห็นว่าเทคนิคที่ใช้ในการเรียนการสอนนั้นมีหลายวิธี โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่า การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small – Group Discussion) เป็นวิธีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกวิชา เพราะทำให้นักศึกษาได้ฝึกการเป็นคนใจกว้างที่ให้ข้อมูลแก่เพื่อนร่วมทีมยอมรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน หาวิธีแก้ปัญหาร่วมกันเชิงบูรณาการ ไม่ใช่การโยนหน้าที่ให้กันหรือเกี่ยงกันรับผิดชอบแต่เป็นการรับผิดชอบร่วมกัน การฝึกแบบนี้จะทำให้นักศึกษารู้จักประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อแก้ปัญหาที่จำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วม ทำให้การยึดมั่นถือมั่นว่าตนเองถูกเสมอเบาบางลงได้ เทคนิคนี้ทำให้ต้องมีระบบและกลไกเกิดกระบวนการแบ่งภาระหน้าที่ให้แก่คนในทีม เช่น ประธาน และเลขานุการของกลุ่ม ที่ต้องคอยประสาน คอยกำกับดูแล ส่วนสมาชิกก็ต้องเรียนรู้การเป็นผู้ตามที่ดี เพื่อให้เป้าหมายของกลุ่มสำเร็จลุล่วง
     5) อ.เกศลา เห็นด้วยกับแนวความคิดของอาจารย์ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น แต่ในเวลาที่จำกัดของการประชุม ขอเสนอให้ทุกวิชาเพิ่มเทคนิคการใช้ กรณีศึกษา (Case Studies) เพราะทำให้นักศึกษาได้เห็นตัวอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง และทราบว่าหลายวิชาก็ใช้เทคนิคนี้ เช่น วิชากฎหมาย วิชาสถิติ วิชาการโปรแกรม ส่วนวิชาอีคอมเมอร์ซที่สอนอยู่ก็มีกรณีศึกษาให้นักศึกษาได้เรียนรู้มากมาย และใช้สอบนักศึกษา ส่วนวิชาโครงงานก็ต้องใช้กรณีศึกษาในภาคธุรกิจ ที่ปัจจุบันนักศึกษาต้องเข้าศึกษาการกระบวนการทำงานของธุรกิจที่ตนสนใจเฉพาะบุคคล ช่วยให้นักศึกษาได้เข้าใจการทำงานของภาคธุรกิจก่อนสำเร็จการศึกษา เมื่อไปสมัครงานก็จะทำให้ได้งานง่ายขึ้น เพราะมีประสบการณ์มาแล้วระดับหนึ่ง
     6) อ.บุพันธุ์ เสริมว่าหลายวิชาก็ยังใช้เทคนิคการเรียนแบบแก้ปัญหา (Problem-solving) ด้วยการที่อาจารย์กำหนดปัญหาขึ้นมา แล้วให้นักศึกษาฝึกแก้ปัญหาในชั้นเรียน บางวิชาอาจเปิดให้นักศึกษาเป็นผู้ตั้งโจทย์แล้วเพื่อนในชั้นเรียนร่วมกันแก้ไข หากมีข้อสงสัยอาจารย์ก็ต้องเข้าไปช่วยเหลือ ไม่ปล่อยให้นักศึกษาออกไปนอกห้องเรียนแล้วไปพูดว่าอาจารย์ลอยแพ อมภูมิ ไม่รู้เรื่อง หรือไม่เต็มใจสอน การเปิดให้นักศึกษาตั้งโจทย์อาจเป็นเทคนิคที่ต้องมีการควบคุมใกล้ชิด ซึ่งเป็นเทคนิคส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลอย่างมาก การเรียนการสอนในปัจจุบันต้องไม่น่าเบื่อเหมือนในอดีตที่อาจารย์ทำหน้าที่บรรยายอยู่หน้าชั้นเพียงอย่างเดียว ถึงเวลาสอบก็ให้นักศึกษาไปเดาข้อสอบกันเองอย่างนี้ไม่ควรเกิดขึ้น
     7) อ.แตบุตร เพิ่มประเด็นว่าการสอนนักศึกษาต้องเปลี่ยนไปจากในอดีต อาจารย์จะสั่งงานและทำตัวเป็นผู้มีอำนาจเหนือนักศึกษาไม่ได้แล้ว เพราะคำสั่งหรือสั่งแบบไม่เข้าใจธรรมชาติของนักศึกษา อาจทำให้นักศึกษาไม่พอใจ ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิผลของการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้ หากอาจารย์สอนด้วยความรักความเข้าใจ รู้จักใช้กัลยาณมิตรด้วยความบริสุทธิ์ใจ นักศึกษาก็จะมีความสนใจ และไม่เกิดแรงต้านที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่จากผู้ที่พวกเขาเรียกว่าอาจารย์ แต่ถ้าลูกศิษย์ตั้งฉายาอาจารย์ว่าพ่อมด หรือแม่มด ก็คงเป็นอุปสรรค์ในการเรียนรู้อย่างแน่นอน ซึ่งอาจารย์ต้องรู้สึกว่านั้นคือความรับผิดชอบที่จะต้องดำเนินการแก้ไขทั้งตนเอง และลูกศิษย์ไปพร้อมกัน

รายงานการประชุมแสวงหาความรู้จากอาจารย์แต่ละคน

ทัศนะของรุ่นพี่ ที่ฉายภาพในคณะวิทย์

6 เม.ย.53 มีโอกาสทำรายงานการประชุมตามแผนการจัดการความรู้ (KM : Knowledge Management) ของอาจารย์กลุ่มหนึ่ง เรื่องการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ หลายท่านขอสงวนนามไว้ แต่มีรายละเอียดชวนให้เรียนรู้ เป็นแนวคิดของแต่ละคน ที่มีความมุ่งมั่นพัฒนาการเรียนการสอน ดังนี้
     1) อ.อติบุ๋มให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ในฐานะที่เป็นผู้มีประสบการณ์ตรงในด้านนี้ว่า ในการพัฒนาสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ที่มีบรรยากาศในการเรียนรู้ในระดับบุคคลและกลุ่มบุคคล จำเป็นต้องมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และสามารถประมวลผลความรู้ในแต่ละด้าน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งการแสวงหา แลกเปลี่ยน และพัฒนาความรู้ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการปฏิบัติงาน อันเป็นผลมาจากความรู้ใหม่ อันจะนำไปสู่การสร้างบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
      2) อ.ศศิแนนให้ความคิดเห็นว่าการพัฒนาการเรียนการสอนนั้นมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมาย ทั้งบุคลากร นักศึกษา อาจารย์ สิ่งอำนวยความสะดวก สภาพแวดล้อม กระบวนการจัดการเรียนการสอน การดูแลเอาใจใส่ แหล่งค้นคว้า ทัศนคติ เป้าหมายที่ต้องเป็นไปในทางเดียวกัน เสริมซึ่งกันและกัน จึงจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิผล โดยเฉพาะการให้คะแนนนั้นต้องเป็นไปในทางเดียวกันคือมีคะแนนพัฒนาการวิชาละ 5 คะแนน เพื่อวัดพัฒนาการหรือความก้าวหน้าในการเรียนรายบุคคล จากประสบการณ์ใช้วิธีบันทึกว่านักศึกษาแต่ละคนก่อนเรียนเป็นอย่างไร เมื่อให้งานแล้วผลการเรียน หรือผลสอบพัฒนาขึ้นมากน้อยเพียงไร ก็จะใช้เป็นเกณฑ์ในการให้คะแนนพัฒนาการ
     3) อ.วิบุญให้ความคิดเห็นว่าอาจารย์จำเป็นต้องเห็นนักศึกษาคือลูก ต้องทำตัวเป็นพ่อผู้ให้ความรักอย่างเอื้ออาทร และแสดงออกให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ เพราะทุกคนมีคุณค่า หากเริ่มต้นด้วยจิตใจที่ดีแล้ว ทุกอย่างก็จะดีงามเป็นเงาตามตัว ขอให้ทุกคนคิดดีด้วยจิตใจที่งามเห็นนักศึกษาเป็นลูกหลาน แล้วการให้คำปรึกษา การสอน หรือการปฏิบัติตนต่อนักศึกษาก็จะเป็นไปในแบบกัลยาณมิตร นักศึกษาก็จะเข้าเรียนอย่างมีความสุขกับพ่อพระที่ทำหน้าที่อบรมสั่งสอน ชี้แนะลูกทุกคน อย่างมีความสุขด้วยความเท่าเทียม การจัดการความรู้เป็นสิ่งที่ดีทำให้ทุกคนได้มาประชุมร่วมกันหากมีสิ่งดี ๆ ก็จะได้นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบนี้อีก ทำให้เกิดกำลังใจหนุ่นเสริมให้การทำงานเป็นไปอย่างมีความสุข และไม่รู้สึกว่าทำงานอีกต่อไป แต่รู้สึกว่าเป็นการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าและเป็นสุขอยู่ตลอดเวลา
     4) อ.ทนงเมืองให้ความคิดเห็นว่าการพัฒนาการเรียนการสอนต้องมีเทคนิควิธีในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ซึ่งต้องบูรณาการเทคนิคเข้ากับวิชาที่ตนสอน โดยมีประเด็นนำเสนอทั้งหมด 5 ประเด็น คือ 1) การอภิปรายกลุ่มใหญ่ (Whole – Class Discussion) 2) การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small – Group Discussion) 3) การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) 4) สถานการณ์จำลอง (Simulation) 5) ละคร (Dramatization) นำเสนอประสบการณ์ว่าได้จัดกิจกรรมกลุ่มที่เปิดให้นักศึกษารวมกันเป็นกลุ่มเล็ก แบ่งหน้าที่กันทำงาน เรียนรู้ที่จะทำงานอย่างบูรณาการ รู้หน้าที่ของกันและกัน จำลองเหตุการณ์เพื่อแก้ปัญหา เช่นวิชาด้านความปลอดภัยที่เปิดให้ค้นคว้า แบ่งกันหาข้อมูล นำมาแลกเปลี่ยนและสรุปร่วมกัน และนำเสนออย่างรู้หน้าที่ร่วมกัน
     5) อ.เกศลาเห็นพร้องกับ อ.ทนงเมือง และเสนอประเด็นหรือเทคนิคที่สามารถนำไปใช้ในชั้นเรียนอีก 6 ประเด็นคือ 1) กระบวนการสืบค้น (Inquiry Process) 2) การตั้งคำถาม (Questioning) 3) การศึกษาเป็นรายบุคคล (Individual Study) 4) การจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี (Technology – Related Instruction) 5) การฝึกปฏิบัติการ (Practice) 6) กรณีศึกษา (Case Studies) ตัวอย่างเช่นวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้นที่ให้นักศึกษาทำโครงงานประจำวิชา ได้สืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ตั้งโจทย์ด้วยตนเองที่ต้องนำเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นรายบุคคล ฝึกปฏิบัติสร้างภาพยนต์ด้วยโปรแกรม Flash หรือเรียนรู้จากกรณีศึกษา และวิเคราะห์ร่วมกัน ซึ่งถูกใช้ในหลายวิชา และสอดแทรกไปอยู่เสมอ การใช้เทคนิคเหล่านี้เป็นไปโดยธรรมชาติ การได้นำเสนอให้เกิดการแลกเปลี่ยนในครั้งนี้รู้สึกดี และเสนอให้จัดขึ้นบ่อย ๆ เพราะถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นในชั้นเรียนก็จะได้นำมาแลกเปลี่ยนร่วมกันได้
     6) อ.บุพันธุ์ เสริมว่ายังมีอีก 2 ประเด็นคือ การเรียนแบบค้นพบ   (Discovery Learning) และ  การเรียนแบบแก้ปัญหา (Problem-solving) ตัวอย่างเช่นวิชาการโปรแกรมจาวาที่ให้นักศึกษาเรียนการใช้ฟังก์ชัน และสร้างฟังก์ชันขึ้นใช้เอง เพื่อใช้สำหรับแก้ปัญหาที่ต้องการ นอกจากนี้ยังมีรหัสต้นฉบับให้กับนักศึกษาและให้นักศึกษาค้นหาว่ารหัสต้นฉบับที่ให้นั้นมีคำสั่งใด รูปแบบ หรือผลลัพธ์ผิดพลาดอย่างไร ถ้าพบปัญหาแล้วจะต้องแก้ไขอย่างไร
     7) นางสาวพัชวรรณ เสริมว่าแผนการสอน หรือเอกสารประกอบการสอนขออาจารย์ทุกท่านสามารถขอดูได้ที่เลขานุการเพื่อนำไปเรียนรู้ หรือเป็นบทเรียนในการพัฒนาการเรียนการสอนภายในคณะ ปัจจุบันคณะมีคลังแผนการสอนที่สั่งสมมาหลายปีหากมีการนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรมก็จะเกิดประโยชน์ได้

ร่าง แผนที่ยุทธศาสตร์ ปีการศึกษา 2553

strategy map ยกร่างโดย อ.ทันฉลอง รุ่งวิทู

5 เม.ย.53 แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map) คือ แผนภาพที่จะใช้แสดงทิศทาง การเชื่อมโยงแต่ละเป้าหมายขององค์กรและการพัฒนาในแต่ละด้านอย่างเป็นรูปธรรม  เป็นเครื่องมือสื่อสาร และถ่ายทอดกลยุทธ์ไปสู่คนในองค์กรให้มีเข้าใจชัดเจน ตรงกัน และเป็นรูปธรรม
     เมื่อวันที่ 2 เม.ย.53 อ.ทันฉลอง รุ่งวิทู เป็นผู้ยกร่าง Strategy map ของมหาวิทยาลัยโยนกและจัดอบรมการเขียนแผนปฏิบัติการ โดยแผนที่ยุทธศาสตร์นี้แบ่งยุทธศาสตร์เป็น 2 กรอบคือ กรอบยุทธศาสตร์ตามพันธกิจ และกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การ โดยเชื่อมโยงกับมิติ 4 ด้านคือ 1) การพัฒนาบุคลากร 2) การบริหารจัดการ 3) คุณภาพการให้บริการ 4) ประสิทธิผลตามพันธกิจ ซึ่งสอดรับกับที่ไปอ่านพบว่า Professor  Robert  Kaplan และ Dr.David Norton ได้เสนอในวารสาร Harvard Business Review  ปี 1992 ว่าการประเมินองค์การควรมี 4 ด้านคือ 1) มิติด้านการเงิน (Financial Perspective) 2) มิติด้านลูกค้า (Customer Perspective) 3) มิติด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective) 4) มิติด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective)
+ http://www.thaiall.com/swot
+ http://www.naewna.com/news.asp?ID=86939 (ประวัติ อ.ทันฉลอง รุ่งวิทู)

แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy map)

ติดตั้ง cheqa ในเครื่องบริการจำลองของสถาบัน

cheqa คืออะไร

17 มี.ค.53 cheqa (Commission on Higher Education Quality Assessment) online system คือ ระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา พัฒนาโดย CITCOMS Innovation Center เพื่อให้สถาบันการศึกษาใช้ส่งข้อมูลให้สกอ. ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัด และมีการพัฒนาต่อยอดให้นำไปใช้บริหารจัดการข้อมูลด้านการประกันคุณภาพในแต่ละมหาวิทยาลัย
     มีสองเรื่องที่เป็นแรงจูงใจให้เขียนเรื่องนี้คือ อ.แหม่ม ชวนไปประชุมเตรียมความพร้อมการใช้ CHE QA Online และ อ.วิเชพ เสนอว่าระบบที่พัฒนาขึ้นต้องสอบถามความต้องการของผู้ใช้ เป็นเหตุให้นึกถึงระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพ ที่สกอ. พัฒนาร่วมกับ CITCOMS เพราะท่านเสนอว่าการพัฒนาระบบต้องเกิดจากความต้องการของผู้ใช้เหมือนที่เคยสอนนักศึกษา ในวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ซึ่งผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลประกันคุณภาพก็มีทั้งประชาชน มหาวิทยาลัย คณะวิชา และนักคอมพิวเตอร์ ที่จะส่งผลให้ผู้ใช้ทุกระดับได้ใช้โปรแกรมอย่างมีความสุขเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เหมือนที่ได้สอนนักศึกษาไป .. คิดว่าท่านว่าอย่างนั้น
      การติดตั้งระบบตามคู่มือในฐานะมือใหม่ ซึ่งต้องไปสื่อสารกับทีมงานไอทีของมหาวิทยาลัยก็ต้องเรียนรู้กันใหม่หลายเรื่อง จึงเขียนบทเรียนเป็นขั้นตอนการติดตั้งไว้ดังนี้ 1) Download โปรแกรม Cheqa รุ่นใหม่ เผยแพร่วันที่ 31 ม.ค.53 เนื่องจากรุ่นก่อนหน้านี้หมดอายุวันที่ 6 มี.ค.53 จะย้อนวันที่ก็คงไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง เพื่อเข้าไปจัดการข้อมูลเก่าอย่างต่อเนื่อง จาก www.cheqa.mua.go.th โดยใช้ account ของผู้ดูแลระบบ จะได้แฟ้ม che.sql แฟ้มคู่มือ และโปรแกรมสำหรับติดตั้ง  2) ติดตั้ง SQL Express Server, Framework และ IIS ในเครื่องบริการ โดยกำหนด User : sa และ Password : 1234 เป็นต้น 3) คลายโปรแกรมติดตั้งไว้ในห้อง c:\build แล้วใช้ Web Sharing ชื่อ build เพื่อให้เปิด localhost/build 4) ดำเนินการเกี่ยวกับ SQL Express ซึ่งพบว่า sqlservr.exe ใน Task Manager แสดงว่าเปิดบริการอยู่
– DOS>regedit แก้ MSSQL.1\MSSQLServer\LoginMode จาก 1 เป็น 2
– DOS>sqlcmd -S.\SQLEXPRESS -E
> alter login sa enable
> go
> sp_password @old = null, @new = ‘1234’, @loginame = ‘sa’
> go
> create database cheuniv
> go
– DOS> osql -U sa -S .\SQLEXPRESS -i che.sql
     5) เข้า www.cheqa.mua.go.th ไปลงทะเบียนจะได้ web.config แล้วนำไปทับในห้อง c:\build กำหนด เซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล = .\sqlexpress ชื่อฐานข้อมูล = cheuniv Username = sa Password = 1234 website 1: http://localhost/build และ website 2: http://localhost 6) เข้า www.cheqa.mua.go.th/chetest/genuser.aspx ไปขอ sql สำหรับสร้างรหัสผู้ใช้เข้าระบบในเครื่องบริการจำลอง แล้วนำ code ไปวางไว้ใน Microsoft SQL SERVER Managment Studio Express แล้ว Execute โดยใช้ user: test password:1234 เป็นตัวอย่างผู้ดูแลระบบ 7) คัดลอกห้อง c:\build\pix ไปไว้ใน root directory 8) กำหนดห้อง c:\build\security ของห้อง log ให้ Users เป็น Modify Allow 9) เปิด http://localhost/build/default.aspx 10) ทดสอบเพิ่มปีแล้วมีปัญหา ข้อความแจ้งว่าไม่พบ procedure ชื่อ usp_InsertObjectFromPolicy ใน D:\Project สกอ \Projects \CHEOnlineSolution \CHEOnlineWebUniv \YearEdit.aspx.vb
ซึ่งโปรแกรมได้จากการคลาย zip 11) ติดตั้งโปรแกรมอีกครั้งด้วยชุดติดตั้ง cheunivsetup.msi และต้องติดตั้ง dotnetfx 3.5 ผลคือสร้าง virtual directory ชื่อ cheqa ซึ่งเป็นการสร้าง directory ใน root directory 12) นำแฟ้ม web.config มาแก้ไขแล้ว ส่งเข้าห้อง cheqa  13) เปิด http://localhost/cheqa ผลคือไม่พบ usp_InsertObjectFromPolicy เหมือนเดิม 14) คงต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือหาโปรแกรมรุ่นใหม่มาติดตั้งซะแล้วครับ .. เพราะไปต่อไม่ได้
เอกสารอ้างอิง
http://www.npu.ac.th/QA/txt/che.txt
http://www.thaiall.com/sqlserver/cheqa_setup_handbook.pdf
http://www.thaiall.com/sqlserver/netfx35sp1.zip
http://www.cheqa.mua.go.th ใช้จริง
http://www.cheqa.mua.go.th/chetest ใช้ทดสอบ

เศร้า .. สัตว์สายพันธุ์ใกล้มนุษย์กินพวกเดียวกัน

ชิมแปนซีกินลิงพวกเดียวกัน

ลิงชิมแปนซี (อังกฤษ: Chimpanzee; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pan troglodytes) คือ ลิงที่ไม่มีหาง มีขนสีดำ มีลักษณะคล้ายมนุษย์ที่เดินยืดตัวตรงได้ ตัวผู้สูงประมาณ 5 ฟุต ตัวเมียสูงประมาณ 4 ฟุต มีความจำดีเฉลียวฉลาด มีอารมณ์ความรู้สึกเช่นเดียวกับมนุษย์ โดยนักวิทยาศาสตร์ระบุว่าลิงชิมแปนซีเป็นสัตว์โลกที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์มากที่สุด สัตว์ชนิดนี้กินลิงด้วยกันเป็นอาหาร .. แต่มนุษย์เราแตกต่างออกไป ซึ่งวีดีโอเรื่องนี้ผมเก็บไว้เปิดให้นักศึกษาได้เรียนรู้ว่าชีวิตคือการต่อสู้ ในห้อง downloadx
Chimps killing and eating a monkey
+ http://atcloud.com/stories/64793
+ http://video.showded.com/watch?vdoId=70423
+ http://www.theync.com/media.php
+ http://www.thaiall.com/downloadx/monkeyeating.flv
+ http://www.youtube.com/watch?v=KTPkmH4hWCs
+ http://www.youtube.com/watch?v=XQepG7sD6vk