นักศึกษาด้านไอทีอย่างน้อยต้องทำ responsive เป็น

นักศึกษาด้านไอทีอย่างน้อยต้องทำ responsive เป็น

เว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์

ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น
ที่นักศึกษาต้องรู้ว่าตัวเองเป็นใคร
Who am i?
เพราะไม่ใช่นักเรียนที่จะไปเข้า #ค่ายค้นหาตัวตน
แล้วหาว่า ตนเหมาะกับอาชีพใด
ถ้าเป็นนักศึกษาก็แสดงว่าเลือกแล้ว
ไม่ใช่กำลังจะเลือก
ตอนนี้มาได้ครึ่งทางแล้วที่จะไปสู่อาชีพที่คาดหวัง
ทุกหลักสูตรมีวิชามากมายต้องเรียนเชื่อมต่อกันเป็น jigsaw
กว่าจะได้ภาพสวยผืนใหญ่ ใส่กรอบ โชว์
ก็ใช้เวลาหลายปี ระหว่างทางต้องทบทวนเป็นระยะ
ว่าทำอะไร เรียนอะไร รู้อะไรไปแล้วบ้าง
หัวข้อต้องรู้มีมากมาย
แต่อย่างน้อยต้องรู้ว่าเรา ทำอะไรเป็นบ้าง
ในสายไอทีก็มีเรื่องเว็บเพจ (webpage)
โดยสิ่งที่ควรรู้ คือ Responsive web design
เพราะแนวโน้มชาวโลกจะขยับไปหา mobile device
ดังนั้นหัวข้ออบรมความรู้เบื้องต้น
เสนอว่าให้นักศึกษาเขียนเว็บเพจด้วย html
จำนวน 3 หน้า ตัวตน ผลงาน และตนเอง
คือ index.html project.htm aboutme.htm
แต่แสดงผลได้ในอุปกรณ์ขนาดต่าง ๆ ได้เหมาะสม

 

ฝากไว้กับ firebase.com หรือ wordpress หรือ facebook ก็ได้

เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับเรา

http://www.thaiall.com/webmaster/responsive

โครงการ (project)
โครงการ (project)
หน้าแรก (index) เป็นสารบัญ ดัชนี หรือบทนำ
ที่ฉายภาพรวมความเป็นตัวเรา
แต่ไม่ลึกเท่าโปรเจค หรือเกี่ยวกับเรา
หน้าแรกของนักศึกษาน่าจะมีเนื้อหา
ที่มุ่งขายตัวเรา ตัวอย่างหัวข้อดังนี้
- คนต้นแบบมืออาชีพที่ประทับใจ
- กลุ่มที่สนใจที่เราติดตามประจำ
- บทความ ประเด็น หรือข่าวสำคัญ
- เว็บไซต์ที่แนะนำ
- รายการผลงานเด่นที่สะท้อน skill
- ข้อมูลการติดต่อ หรือ อวตารของเรา

 

หน้าโครงการ หรือโปรเจค (Project)
เป็นการขายตัวเรา (ถ้ามี linkin จะดีมาก)
ที่ผ่านมาสวมบท "นักศึกษา" แล้วทำอะไรไปบ้าง
มีงานอะไรที่เราทำส่งอาจารย์แล้วประทับใจ
เทอมหนึ่งเรียน 6 วิชา ๆ ละ 1 งานก็ปีละ 12 งาน
เลือกนำมาแบ่งปัน เพราะนั่นสะท้อนให้เห็น skill 
เว็บเพจหน้านี้จะบ่งบอกอัตลักษณ์ของเรา
ผลงานต้องเป็นที่ประจักษ์ อยู่ในความทรงจำไม่ได้
แนะนำว่าผลงานทุกชิ้นให้เขียนเป็นบล็อก
จะทำเอง ร่วมกัน หรือฟังเขามาก็เขียนบล็อกได้
แต่ถ้านักศึกษาไอทีจะต้องมีโฮมเพจเป็นของตนเอง
แล้วเชื่อมทุกอย่างเข้ากับ social media + blog
เนื้อหาในหน้านี้ มีรายละเอียดผลงานที่ครบถ้วน
มีที่มา เนื้อหา สรุป และลิงค์ดาวน์โหลดจะดีมาก
ทั้งหมดในหน้านี้ก็จะสะท้อน skill เพื่อขายตัวเรา

 

หน้าเกี่ยวกับเรา (About me)
ความเป็นส่วนตัวสำคัญมาก 
แต่การอยู่ในสังคมก็ต้องลดความเป็นส่วนตัวลงบ้าง 
และไม่เปิดเผยอะไรที่ไม่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน 
เราต้องเป็นนักประชาสัมพันธ์ตนเองอย่างมีเป้าหมาย
นักศึกษาต้องบอกว่าตนเอง
มี skill อะไร
มี project อะไรผ่านมือมาบ้าง
มี avatar ให้ว่าที่นายจ้างไปติดตามที่ไหน
มี experience กับอะไรที่เป็นงานอดิเรก 
มี interested กับอะไรที่เป็นแผนในอนาคต
แต่ถ้าทำงานในองค์กรเมื่อใด ระดับความเป็นส่วนตัว
จะแปรผันตามนโยบายขององค์กรทันที

บทความสุดท้ายของ ดร.อภิวัฒน์ ชวนคิดเรื่องเวลาที่เหลือ

medicine
medicine

เคยอ่านบทความ มีข้อความตอนหนึ่ง ว่า
การทุ่มเทเวลาให้กับงานจนลืมให้ความสําคัญกับตัวเอง
ไม่ใช่การใช้ชีวิตที่ถูกต้อง
เพราะเวลาที่เราเจ็บป่วย ก็จะมีแต่คนที่เรารักเท่านั้นคอยดูแล
หากเหตุผลของการทํางานหนัก คือ เพื่อเลี้ยงดูลูกเมีย
ในที่สุดแล้วผลที่เกิดขึ้นก็จะมีแต่ลูกเมียเท่านั้น
ที่ได้รับความทุกข์นี้
http://board.postjung.com/756971.html
ดังนั้น ถ้าวันใดที่บุพการีของเราเจ็บป่วย
ก็จะรำลึกได้ว่าในอดีตยามเราเจ็บป่วย
ก็ได้บุพการีนั่นหละที่คอยดูแลเรา
เคยเห็นหลาย ๆ คนทุ่มเทชีวิตกับให้คนที่เรารัก
แต่มีคนไม่น้อยที่ทุ่มเทชีวิต
.. ให้กับคนที่รักเรา .. เช่นกัน
#loveisfamily
#familyislove
สรุปว่า เวลาที่เหลือ จะทำเพื่อใคร
จะคืนชีวิตให้ใคร หรือไม่คืน

จิตใจและร่างกาย

เช้าวันอาทิตย์ 7โมงเช้า พระอาทิตย์สีขาว
ช่วงปลายฝนต้นหนาว
เห็น “ต้นชวนชม” เรียงรายอยู่หน้าโรงพยาบาลสวย
น่าปลูกทำสวนชวนชมที่บ้านเลยนะ
โบราณว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว”
หากกายป่วยขึ้นมา เห็นกายคุมจิตทุกที
ผมว่านะ จิตกับกายนี่สลับกันเป็นนายเป็นบ่าว
ไปเฝ้าญาติที่หอกระดูก รู้เลยว่า
สังคมในโรงพยาบาลต้องการจิตอาสาเข้าไปช่วย
ในหลายบทบาท และต้องการเพิ่มในสังคมผู้สูงอายุ
การเจ็บป่วยก็เป็นเรื่องน่าห่วง
แต่เจ็บป่วยซ้ำซ้อนน่าเป็นห่วงยิ่งกว่าเยอะเลย

ในหอผู้ป่วยมีผู้ป่วยไม่น้อยที่ต้องการกำลังใจ
และการดูแลเป็นพิเศษ
เคยดูเรื่อง The English Patient
มีเรื่องราวน่าเรียนรู้นะครับ

 

อีกเรื่องที่เห็นถึงชีวิต คือ The Diving Bell and the Butterfly (2007)

ความเครียดทำให้หลงลืมได้

เข้าโรงพยาบาลแล้ได้พบหมอ แล้วหมอบอกว่าอาการของผู้สูงอายุที่บ้าน
เรียกว่า “กระดูกข้อสะโพกหัก”
ที่ชาร์ทหน้าห้อง แสดงสถิติบอกว่า
มากกว่า 50% ที่เข้าพักห้องนั้น กระดูกส่วนนี้หัก
ผลการผ่าตัดก็จะทำให้ดีขึ้น แต่ไม่ผ่าย่อมไม่ดีแน่
เช้าคืนแรก
ไปดูแล พบว่า มีความสุขปกติอยู่ได้
ช่วงสาย
แพทย์ได้มาถามอาการ และ xray เพิ่ม
แล้วให้ดึงขาไว้ก่อน รอคิวอีกหลายวัน
ช่วงบ่าย
ได้รับแจ้งว่าจะผ่าได้พรุ่งนี้ก็ดีใจ
ไปเซ็นยอมรับเลือดเรียบร้อย
ญาติเข้าให้กำลังใจหลายคน
เช้าวันผ่าสะโพก
ไปดูแลเช้ากว่าเดิม
พบว่านอนสลับหัวท้าย สงสัยจะนอนดิ้น
ย้ายรถไปผ่าตัดราว 8.30
แล้วกลับออกจากห้องผ่าตัดราว 12.35
ญาติอยู่ป้อนข้าว และเป็นเพื่อนจน 20.00
ก็กลับออกจากโรงพยาบาลไปทำอีกภารกิจหนึ่ง
หลังออกห้องผ่าตัด
ก็เมายาจากดมยาสลบ แต่ฟื้นเร็วกว่าที่ได้ข้อมูลมา
อยู่ห้องผ่าตัดรวมแล้วราว 3 ชั่วโมง
ออกมาไม่บ่นเรื่องแผลผ่าตัด แต่อยากกลับบ้าน

ตอนครึ่งหลับครึ่งตื่นคุยกันเรื่องกลับบ้าน
และพยายามจะลุกจากเตียงมาเดินตลอด
วันนี้วันเสาร์ไปลุ้นกันต่อว่ากายใจดีขึ้นถึงไหน

พยาบาลเล่าว่า
ผู้ป่วยที่สูงอายุไม่น้อยมาที่หอผู้ป่วย
จะเครียดจากการนอนผิดที่
บางคนเดินมาดี ๆ
อยู่ไปสักพักเริ่มมีอาการทางจิต
การรู้ว่าต้องผ่าตัด และมีความเสี่ยงย่อมเครียด
แล้วทำให้หลงไปต่าง ๆ นานาได้
บางคนลืมความเจ็บป่วย
บางคนควบคุมอารมณ์ไม่ได้
บางคนลืมว่าอยู่ที่โรงพยาบาล
อาการไม่แน่นอนในแต่ละคน
ส่วนใหญ่หายเครียด ก็จะหายหลงลืมด้วย

CSR Tollway Contest เปิด vote จน 15 พฤศจิกายน 2559

ชมคลิ๊ปทั้ง 10 ที่ผ่านเข้ารอบ และร่วมพิจารณาให้กำลังใจ

ฟังกรรมการพิจารณา clip ให้คำแนะนำ 10 ทีมสุดท้ายที่เข้ารอบ
ในโครงการ CSR Tollway Contest
มีกรรมการ 4 ท่าน
1. อ.สิทธิโชค โควาบุญพิทักษ์
2. คุณพนา จันทรวิโรจน์
และผู้แทนจาก Tollway

 

top10 csr youtube vote for tollway contest
พวกเราเข้าให้กำลังใจ 1 view = 1 คะแนน
ทีมที่มียอด view สูงสุด รับรางวัล popula vote
ตั้งแต่ 10 ตุลาคม 2559 – 15 พฤศจิกายน 2559
https://www.facebook.com/CSR-Tollway-Contest-1074823469256628/

บทความวิชาการ การถอดบทเรียนการเรียนรู้สุขภาพชุมชน ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

การจัดการความรู้
การจัดการความรู้

บทความวิชาการ การถอดบทเรียนการเรียนรู้สุขภาพชุมชน ตำบลหนองสาหร่าย
อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
(LESSON LEARNED FROM LEARNING COMMUNITY HEALTH CARE OF NONGSARAI DISTRICT, PHANOMTHUAN, KHANCHANABURI)
วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2553)
พัณณ์ชิตา โยคะนิตย์ และ นรินทร์ สังข์รักษา
https://www.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/download/7215/6237
เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้นำชุมชน ประชาชน อสม และบุคลากรสาธารณสุข
ใช้แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และการบันทึกภาคสนาม
ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview)
การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participation Obervation)
การสนทนากลุ่ม  (Focus Group Discussion)
และการวิเคราะห์หลังปฏิบัติ (After Action Review : AAR)
รวมถึงการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis)
สำหรับการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม
ใช้วิธีการเทคนิคลูกโซ่ (Snow ball) กลุ่มละ 5 คน รวมทั้งสิ้น 20 คน)
ผลการศึกษา พบว่าชุมชนมีทุนทางสังคม
มีการสร้างการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน
ปัจจัยสู่ความสำเร็จคือจัดทำเป็นยุทธศาสตร์ของชุมชนอยู่ดีมีสุข
จัดกิจกรรมด้านสุขภาพ
การจัดการความรู้และใช้ความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลมาใช้ในการพัฒนา
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/687657798051708/

นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา

นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกษในสถาบันอุดมศึกษา
นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกษในสถาบันอุดมศึกษา

หลายสถาบันต่างใช้บริการระบบการเรียนออนไลน์ที่ได้มาตรฐาน
เป็นเครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
สอดรับกับที่ สกอ. มีประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เรื่อง นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา
เมื่อ 12 เมษายน 2559 โดย รศ.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ
ประธานกรรมการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ที่กำหนดมาเป็นข้อ ๆ อย่างเป็นระบบ พอสรุปได้ดังนี้
1. กำหนดนโยบาย และเป้าหมายการยกระดับภาษาอังกฤษในระดับที่ใช้งานได้
2. ให้จัดทำแผนเพื่อดำเนินการตามนโยบาย และเป้าหมาย
3. ให้พิจารณาปรับปรุงการสอนวิชาภาษาอังกฤษที่เป็นอยู่
4. ให้จัดกิจกรรมนอกหลักสูตร
5. ให้ทดสอบ แล้วนำผลทดสอบออกเป็นใบรับรองว่าอยู่ระดับใด
ให้เริ่มกันตั้งแต่ปีการศึกษา 2559
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/672016736282481/

SPEEXX คือ โปรแกรมเรียนภาษาด้วยตัวเอง
สำหรับนักศึกษา คนทำงาน และผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ
ที่ประกอบด้วยเนื้อหาที่ตอบสองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างลงตัว
โดยผู้เรียนมีการเรียนรู้ด้วยตนเองและง่ายต่อการใช้งาน
มีบทเรียนในส่วนของไวยากรณ์ คำศัพท์ การออกเสียงและสำเนียงที่ถูกต้อง
รวมไปถึงทักษะความเข้าใจในการอ่านบทความ
http://www.speexx.com
https://www.facebook.com/speexx.thailand/

บริการเรียนออนไลน์ของ SPEEX
นอกจาก Vocabruary และ Grammar และ Reading
ก็ยังมีฟัง (Listening)
 และมีบางบทเรียนที่เทียบเสียงพูด
ควรมีอุปกรณ์ที่จำเป็นคือ หูฟัง โดยเฉพาะการสอบ Placement Test

earphone สำหรับ listening
earphone สำหรับ listening

การแบ่งเนื้อหาของ Speexx แบ่งตามระดับ
ใน CEF (Common European Framework)

CEF : Common European Framework
CEF : Common European Framework

http://inglesenow.blogspot.com/p/common-european-framework.html
https://en.wikipedia.org/wiki/Common_European_Framework_of_Reference_for_Languages

เกณฑ์มาตรฐานความสามารถภาษาอังกฤษ
เกณฑ์มาตรฐานความสามารถภาษาอังกฤษ

มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่ใช้บริการ หรือเคยใช้ SPEEXX
มหาวิทยาลัยพะเยา
http://intra.up.ac.th/speexx/index.php?p=4
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
http://www.dpu.ac.th/news/44/
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
http://speexx.rmutsb.ac.th/home2015/
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
http://speexx.co.th/mut/speexxmobile/
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
http://uruic.uru.ac.th/speexx_user/
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
http://www.rmutp.ac.th/speexx/
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
http://www.library.rmutt.ac.th/?page_id=12049
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
http://www.lcrru.crru.ac.th/speexx/speexx.html
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
http://speexx.co.th/vru/speexxmobile/
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
http://www.sunandhanews.com/2011-10-14-04-41-27/81-education/1921-2014-02-12-09-06-55.html

สถาบันที่ใช้ Speexx.com ข้อมูลปี 2013
รายชื่อกลุ่มผู้ใช้ในแต่ละสถาบัน
https://www.facebook.com/speexx.thailand/posts/490218924403111
1. มหาวิทยาลัยพะเยา
https://www.facebook.com/groups/639454186065071/
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
https://www.facebook.com/groups/323848411081864/
3. มหาวิทยาลัยนครพนม
https://www.facebook.com/groups/363152973807898/
4. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่
https://www.facebook.com/groups/482602575152823/
5. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://www.facebook.com/groups/601811029849744/
6. มหาวิทยาลัยนเรศวร
https://www.facebook.com/groups/647747385253570/
7. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
https://www.facebook.com/groups/510574289008245/
8. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
https://www.facebook.com/groups/540193626036936/
9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
https://www.facebook.com/groups/157606047761595/
10. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
https://www.facebook.com/groups/367641450031926/
11. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
https://www.facebook.com/groups/164825937042485/
12. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
https://www.facebook.com/groups/400160780095565/
13. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
https://www.facebook.com/groups/152114971653378/
14. มหาวิทยาลัยเนชั่น
https://www.facebook.com/groups/684482298366452/

ข้อมูลเพิ่มอื่น ๆ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พัฒนาขึ้นเอง ไม่เกี่ยวกับ speexx.com)
http://onlineenglish.cmu.ac.th
เคล็ดลับการเรียนด้วยตัวเอง กับ speexx
http://www.thaiall.com/blog/burin/7754/

เวอร์ชั่นก่อนพฤษภาคม 2015 เคยเป็น java
เวอร์ชั่นก่อนพฤษภาคม 2015 เคยเป็น java

เสนอระบบพี่เลี้ยงงานวิจัย

ระบบพี่เลี้ยงงานวิจัย
ระบบพี่เลี้ยงงานวิจัย

5 ส.ค.59 คุณภัทรา มาน้อย ผู้ประสานงาน ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำปาง ได้ชวนทีมงานกลไกสนับสนุนงานวิจัยพื้นที่จังหวัดพะเยา ถอดบทเรียนหลังทำงานในพื้นที่จังหวัดพะเยา ไประยะหนึ่ง ร่วมกับหลายภาคส่วนทั้ง ครูกศน.หลายระดับ วิทยาลัยพยาบาล นักวิชาการในจังหวัดลำปาง และชุมชน ณ ห้องประชุมใน หมู่บ้านเจนแอนด์จอย 2 ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง

ได้เสนอ “(ร่าง) ระบบพี่เลี้ยงงานวิจัย” มี 6 ขั้นตอน ดังนี้

1. ประชุมหารือและวางแผนดำเนินงาน
2. ร่วมกันพัฒนาโจทย์
3. ให้ข้อเสนอแนะการเขียนข้อเสนอโครงการ
4. อบรมให้ความรู้
5. ติดตามและสนับสนุน
6. ถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

อบรมการเขียนบทความวิจัยทางวิชาการ

หน้าปกเอกสารแจก
หน้าปกเอกสารแจก

29 ก.ค.59 มีการอบรมโครงการ “อบรมและพัฒนานักวิจัย” ประจำปี 2559
หลักสูตร “การเขียนบทความวิจัยทางวิชาการ
จัดโดย เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
ร่วมกับ งานบริหารงานวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ณ โรงแรมอิมพีเรียล แม่ปิง เชียงใหม่
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/658232967660858/
http://unrn.rac.oop.cmu.ac.th

ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา ประธานเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา
ประธานเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา ประธานเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา
ประธานเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน

– เปิดงาน
โดย ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา

 

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

ประธานเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
– หัวข้อเรื่อง เขียนบทความวิจัยอย่างไร จึงจะโดนใจบรรณาธิการ
โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ
คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ
คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

– หัวข้อเรื่อง เทคนิคการเขียนบทความวิจัย เพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ
คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อดีตอาจารย์ National University of Singapore

อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และผม เข้ารับการอบรม
อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และผม เข้ารับการอบรม

พบ อ.ศิริอมร กาวีระ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ศิษย์โยนก รุ่น 4 ถ่ายภาพร่วมกับ อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และผม
แล้วก็ถ่ายภาพกับน้องแก้วตาและผม ญาติกันที่ลำปาง

อ.ศิริอมร กาวีระ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
อ.ศิริอมร กาวีระ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
อ.แก้วตา
อ.แก้วตา

มัลติมีเตอร์ อุปกรณ์วัดค่าปริมาณทางไฟฟ้า

มัลติมิเตอร์ (Multimeter)
มัลติมิเตอร์ (Multimeter)

26 มิ.ย.59 มีมัลติมิเตอร์เก่าอยู่ตัวหนึ่ง
วันนี้ต้องการเช็คค่าไฟฟ้าในสาย USB ที่ตัดออกมาแล้วต่อเข้ากับตัวหนีบ
ไว้ใช้งานกับสมาร์ทโฟนที่มีปัญหาเรื่องแบตเตอรี่ คือ ถอดแบตออก แล้วต่อไฟตรงแทน
เพราะสาย USB ก็คือสายสวดทองแดง มีขั้วบวกขั้วลบ เหมือนสายไฟฟ้าตามบ้าน
แต่มีทั้งหมด 4 เส้น เป็นสายไฟฟ้า 2 เส้น และสายข้อมูลอีก 2 เส้น
เส้นที่สำคัญคือ เส้นแดงเป็นเส้นไฟฟ้า หรือขั้วบวก ส่วนเส้นดำเป็น Ground หรือขั้วลบ
สรุปว่าทั้ง 4 เส้นมีดังนี้
1. เส้นแดง Power +5V
2. เส้นขาว Data –
3. เส้นเขียว Data +
4. เส้นดำ Ground

มัลติมิเตอร์ (Multimeter) คือ เครื่องมือวัดค่าปริมาณทางไฟฟ้า
ที่ได้รวมตัววัดหลายแบบเข้าด้วยกัน
1. แอมมิเตอร์ (Ammeter) ที่ใช้สำหรับวัดค่ากระแสไฟฟ้า
2. โวลต์มิเตอร์ (Voltmeter) ที่ใช้สำหรับวัดค่าแรงดันไฟฟ้า
3. โอห์มมิเตอร์ (Ohmmeter) ที่ใช้สำหรับวัดค่าความต้านทาน
มัลติมิเตอร์แบ่งได้ 2 แบบ
1. แบบเข็มชี้ (Analog Multimeter)
2. แบบตัวเลข (Digital Multimeter)