ปรับพื้นฐานนักศึกษาใหม่

เตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่
เตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่

เห็นกิจกรรมการปรับพื้นฐานนักศึกษาใหม่ แล้วชอบครับ
เพราะปัจจุบันทุกหลักสูตรในประเทศไทยต้องมีกิจกรรมนี้
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่
ทั้งกาย ใจ ความรู้ ความเข้าใจในหลักสูตร สถาบัน และการเรียนป.ตรี
ให้พร้อมก่อนเข้าเรียนในหลักสูตรที่เลือกไว้
เพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในชั้นปีที่ 1
– ไม่เข้าใจในหลักสูตรว่าเรียนเกี่ยวกับอะไร
– ไม่เข้าใจกระบวนการเรียนในระดับอุดมศึกษา
– ไม่ทราบถึงสิ่งที่สถาบันจัดเตรียมไว้สนับสนุนการเรียนการสอน
– ขาดความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน และอาจารย์ในหลักสูตร
– ขาดความคุ้นเคย ใกล้ชิด หรือไม่รู้จักผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลนักศึกษา
สอดรับกับเกณฑ์ประกันระดับหลักสูตร ปี 2557
องค์ประกอบที่ 3 หน้า 67 ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การรับนักศึกษา
https://www.facebook.com/NationUNews/photos/?tab=album&album_id=1024154837661601

ระบบและกลไก การกินป่าของคนไทย คนหนึ่งปีหนึ่งเฉลี่ยกินพื้นที่ปลูก 20 ตารางเมตร

ระบบข้าวโพด
ระบบข้าวโพด

เคยดูรายการ สามัญชนคนไทย
ตอน คนไทยกินป่าเป็นอาหาร

แล้วสนใจระบบและกลไกการกินป่าของคนไทย
ในรายการแจงไว้ชัดเจนว่ากลไกการสนับสนุนให้คนไทยกินป่ามี 5 กลุ่ม
1. กลุ่มชาวบ้าน
2. กลุ่มนายทุน/แปรรูป
3. กลุ่มเงินกู้/กองทุนทุกประเภท
4. กระบวนการส่งเสริม/นักส่งเสริมการเกษตร/นักวิจัย
5. นโยบายส่งเสริมจำนำ/ประกันราคา

หลังมีข่าว ก็มีการออกมาเคลื่อนไหวด้วยวิธีต่าง ๆ
ตามความสามารถของแต่ละบุคคล ผู้ว่าก็ทำอย่าง
นายกก็ทำอย่าง ทหารก็ทำอย่าง กรมป่าไม้ก็ทำอย่าง
ดาราก็ทำอย่าง โรงเรียนก็ทำอย่าง นักเลงคีย์บอร์ดก็ทำอย่าง
มีผลในแต่ละอย่างก็เพื่อช่วยป่า ช่วยเขา ไม่ให้โล้นไปกว่านี้

http://www.thaiall.com/blog/burin/7482/

หากมองระบบที่ทำให้เขาหัวโล้น ลองมามองภาพดู
ว่ามีขั้นตอนอย่างไร จะมองจากปัญหาไปต้นเหตุ หรือต้นเหตุไปปัญหาก็ได้
1. คนไทย ซื้อสัตว์มากินเป็นอาหาร
2. ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ซื้ออาหารสัตว์สำเร็จรูป
3. โรงงานอาหารสัตว์ ซื้อข้าวโพดและถั่วเหลือง
4. คนปลูกข้าวโพด ซื้อที่ดินไว้ปลูก โค่นต้นไม้ใหญ่
5. ที่ดินไม่พอ ต้องไปบุกรุกพื้นที่ป่า

คนกินป่าเป็นอาหาร
คนกินป่าเป็นอาหาร

ต.ย.โครงการนาแลกป่า
เพื่อให้ได้พื้นที่ป่าคืนมา หลังได้มาแล้วก็ต้องดูแลให้ต้นไม้เติบโตเป็นป่า
ข้อมูลในปี 2556 พบว่าพื้นที่ป่าสงวนถูกนำไปปลูกพืชไร่สูงถึง 1.5 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 24% ของพื้นที่ป่าทั้งหมดในจังหวัดน่าน
โครงการนาแลกป่า ในปี 2558 สามารถคืนผืนป่ามาสู่การจัดการอย่างยั่งยืนได้ถึง 315.25 ไร่
1. กลยุทธ์นาแลกป่า เมื่อเกษตรกรคืนพื้นที่ป่า 4 ไร่ โครงการจะขุดนาให้ 1 ไร่
โดยขุดร่องน้ำ ปรับหน้าดิน เตรียมการจัดการน้ำ เพื่อให้ชาวบ้านปลูกข้าวหรือทำเกษตรแบบประณีต
2. กลยุทธ์ระบบน้ำแลกป่า เน้นการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำ
เพื่อการเกษตรให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อแลกกับพื้นที่ที่นำไปปลูกข้าวโพด
เนื่องจากมีน้ำไม่เพียงพอต่อการปลูกข้าวหรือพืชอื่นๆ
ซึ่งการมีน้ำพอใช้สำหรับการเกษตรก็ทำให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้นด้วยพื้นที่ที่น้อยลง
ปี 2558  โครงการขอคืนผืนป่าได้ทั้งหมด 108 ไร่
3. กลยุทธ์อาชีพทางเลือกแลกป่า เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดส่วนใหญ่ก็อยากจะเลิกปลูกข้าวโพด
และมีอาชีพใหม่ทดแทน ทางโครงการจึงได้จัดหาอาชีพทางเลือก
ได้แก่ อาชีพปลูกพืชหลังนา เกษตรผสมผสาน
และการชดเชยเป็นค่าตอบแทนสำหรับเกษตรกรสูงอายุที่ไม่สามารถทำอาชีพทางเลือกอื่น ๆ ได้
ปี 2558  โครงการได้สร้างอาชีพทางเลือกและขอคืนผืนป่าได้ทั้งหมด 108 ไร่
http://www.schoolofchangemakers.com/home/knowledge?knowledge_id=389

ต.ย. ดารา ยอมควักเงินส่วนตัว ร่วมปลูกป่าน่าน
เฉพาะพื้นที่ที่เคยเป็นไร่ข้าวโพด เป็นจิตอาสาที่อยากรักษาป่าต้นน้ำ
http://www.nationtv.tv/main/content/social/378498989/

ต.ย. กิจกรรมพิทักษ์ป่า
Nation TV – เว็บไซต์สถานีข่าวอันดับ 1 ของเมืองไทย
“ร่วมโพสต์ท่าต้นไม้ ติด hashtag ‪#‎ปลูกเลย‬ แสดงพลัง!”ฟื้นฟูป่าให้ลูกหลาน
http://www.nationtv.tv/main/content/social/378503463/
https://www.facebook.com/cartooneggcat/photos/a.136226233446771.1073741828.136187606783967/173673336368727/

ต.ย. อธิบายเรื่องข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่ทำให้ผืนป่าที่หายไป ใครควรต้องรับผิดชอบบ้าง
สรุปว่า “คนไทย ที่บริโภคเนื้อไก่ขาวจากฟาร์มในระบบปิด
ซึ่งเลี้ยงด้วยอาหารที่มีส่วนผสมของข้าวโพด มีส่วนสนับสนุนการทำลายป่าจากการบริโภคเนื้อไก่ เฉลี่ยคนละประมาณ 20 ตารางเมตร
http://landjustice4thai.org/news.php?id=252

ต.ย. ลอยแพชาวบ้าน เมื่อทุนใหญ่ต้องการภาพลักษณ์ที่งามสง่า
มีหนังสือว่าต่อไปบริษัทจะรับซื้อข้าวโพดมีเงื่อนไขคือ
ต้องปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างในพื้นที่ที่มีเอกสิทธิ์ถูกต้อง
หรือพื้นที่ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการ
http://www.landjustice4thai.org/news.php?id=278

รู้ล่ะ ป่าเมืองน่านหายไปไหน ที่แท้มีไอ้ตัวร้ายทำลายป่าเมืองน่านอยู่นี่เอง

รู้ล่ะ ใครคือไอ้ตัวร้าย ทำลายป่าเมืองน่าน
รู้ล่ะ ใครคือไอ้ตัวร้าย ทำลายป่าเมืองน่าน

ดูสารคดี ThaiPBS รายการสามัญชนไทย ของ มาโนช พุฒตาล
เค้าชวนคิด เผื่อว่าจะทำให้เมืองไทยดีขึ้น กับปัญหาทำลายป่าต้นน้ำ
มีคำถามว่าป่าเมืองน่าน หายไปไหน
ขึ้นไปที่ความสูง 9500 ฟุต น่านฟ้า จังหวัดน่าน
นาทีที่ 2.23 เค้าบอกว่า “มีการลุกล้ำเปลี่ยนป่าต้นน้ำ เป็นภูเขาแห่งทุ่งข้าวโพด”
ซึ่งเป็นอาหารของไก่ แล้วเราก็ได้ปีกไก่บนมาเข้าไมโครเวฟในนาทีที่ 2.41
เค้าว่าคนไทยทุกคนกลายเป็นห่วงโซ่แห่งการทำลายล้าง
คุณมาโนช พุฒตาลบอกว่า “คนไทยกินป่าเป็นอาหาร”

การฟื้นฟูสภาพป่ามีหลายวิธี
คนกลุ่มหนึ่งใช้วิธีสร้างจิตสำนึก ตั้งวงดนตรี แต่งเพลง เล่นเพลง
ชื่อเพลง “รักป่านาน”
เห็นภาพภูเขาแล้ว เหมือนภูเขาหัวโล้นกำลังร้องไห้ ยามฝนตก
สิ่งที่เค้าต้องการจากการถางป่าคือข้าวโพด ปลูกได้ปีละ 4 เดือน
ตอนนี้เห็นหัวโล้น อีก 2 เดือนเค้ามาปลูกก็จะเขียว
ที่นี่คือป่าสงวนแห่งชาติ ไม่มีสิทธิตัดไม้ปลูกข้าวโพด
แต่พื้นที่นี้ยังบังคับใช้กฎหมายไม่ได้ ชาวบ้านและชาวเขายังบุกรุกผืนป่ากันทุกปี
นาที 7.39 “ชาวบ้านก็บอกว่า อยากจับก็จับนายทุนสิ นายทุนจ้างเรามาทำ”
เราไม่สามารถสาวไปถึงนายทุน แต่ท่านปลัดรู้ และรู้กันทุกคน ทั้งประเทศ
นาที 8.44 “ข้าวโพดบุกรุกป่ารึเปล่านี่ ไม่ใช่นะ คนบุกรุก โทษข้าวโพดไม่ได้หรอก”
ข้าวโพดรุกคืบเข้ามาเรื่อย ๆ ด้วยเทคนิควางยาสลบต้นไม้
นาที 11.37 พื้นที่บุกรุกมีทั่วทั้งจังหวัด พื้นที่ป่าลดลง 7หมื่น – แสนไร่ต่อไป
นาที 12.55 ผืนป่าที่ลดลง สัมพันธ์กับ พื้นที่ปลูกข้าวโพด
ผลการศึกษา ทำวิจัยพบว่าพื้นที่ข้าวโพด 60% เคยเป็นพื้นที่ป่า
และเข้าไปทำไร่ข้าวโพดในพื้นที่ป่ามากขึ้น
นาที 14.05 พื้นที่ปลูกข้าวโพดของน่าน มาเป็นอันดับ 5 ของประเทศ
รวมข้าวโพดที่ได้กว่า 4 แสนตันต่อไป
นาที 14.13 พื้นที่ปลูกข้าวโพด
อันดับ 1 เพชรบูรณ์ 1,075,536 ไร่
อันดับ 2 นครราชสีมา 816,805 ไร่
อันดับ 3 จังหวัดเลย 825,735 ไร่
อันดับ 4 จังหวัดตาก 686,013 ไร่
อันดับ 5 น่าน
รวมพื้นที่ทั้งหมด 7,366,996 ไร่
ที่มา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2555
นาที 14.30 การวิจัยพบว่า 90% ของข้าวโพด นำไปทำเป็นอาหารสัตว์ทั้งนั้นเลย
ไปให้สัตว์ในฟาร์มกิน ทั้งไก่ ทั้งไข่ ก็เลี้ยงไว้ให้พวกคนไทยนั่นหละครับกิน
นาที 14.50 มาดูความคุ้มค่า ความยั่งยืน ถ้าเราเอาข้าวโพด ไปแลกกับผืนป่า
แสดงว่ากำลังเอาอาหารและความมั่นคงของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
ไปแลกกับการปลูกข้าวโพดเท่านั้น
นาที 15.44 ผลสำรวจ คนไทยกินไก่ เฉลี่ย 15 กิโลกรัมต่อปี
คิดเป็นไก่ประมาณ 10 ตัว คนไทย 70 ล้านก็กินไก่ประมาณ 700 ล้านตัว
จำเป็นต้องมีอาหารมาป้อนไก่ ใช้ข้าวโพดประมาณ 53% เป็นวัตถุดิบ
ทำให้เราต้องผลิตข้าวโพดถึง 6.2 ล้านตัน ก็ต้องปลูกบนผืนดิน
นาที 16.43 คนไทยกินไก่ ไก่กินข้าวโพด ไปกระทบผืนป่าภาคเหนือ
เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะเมืองไทย เช่น อเมริกา เขาไปจ้างบราซิลถางป่าอเมซอล
เพื่อปลูกข้าวโพดมาให้วัวอเมริกากิน
นาที 17.31 พูดถึงเพลง “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” ของวงเฉลียง
เค้าว่า กินแฮมเบอเกอร์ 1 ชิ้น สะเทือนถึงผืนป่าอเมซอลในบราซิล
เช่นเดียวกับการกินไส้กรอก 1 ชิ้น สะเทือนถึงผืนป่าจังหวัดน่าน
นาที 18.30 อยากจะกินไก่ กลายเป็นทำร้ายป่า
นาที 30.40 ชาวบ้านยิ่งทำงานหนัก ยิ่งรายได้น้อย ยิ่งขาดทุน ชีวิตลำบากกว่าเดิม
นายทุนที่เอาข้าวโพดไปทำอาหารสัตว์ กลับรวยขึ้น
นาที 35.01 มี 5 พลังร่วมแห่งการทำลาย
1. กลุ่มชาวบ้าน
2. กลุ่มนายทุน/แปรรูป
3. กลุ่มเงินกู้/กองทุนทุกประเภท
4. กระบวนการส่งเสริม/นักส่งเสริมการเกษตร/นักวิจัย
5. นโยบายส่งเสริมจำนำ/ประกันราคา
นาที 38.43 นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย บอกว่า ส่งเสริมให้ปลูกข้าวโพด
แต่ไม่ส่งเสริมให้ทำลายป่า ไม่มีใครทำอย่างนั้น
เราต้องไปแก้ที่การจัดการ มีมูลค่าทั้งระบบอย่างน้อย 1 ล้านล้าน
นาที 40.01 พูดอีกล่ะ คนไทยกินป่าน่านเป็นอาหาร
นาที 40.45 โรงเรียนมีแนวคิดอนุรักษ์ป่าด้วยการทำโครงการ 1 คน 1 ต้น 1 ปี รวมครูด้วย
นาที 41.58 ถ้าอยากได้ป่าตรงที่โล้นคืน ชาวบ้านก็ยอมคืน แล้วคุณต้องมีที่นาคืนให้เขาทำกิน
มีคนยอมร่วมโครงการป่าแลกนา คือได้นา 1 ไร่ แลกพื้นที่ป่า 3 ไร่
ปัญหานี้ไม่ได้เกิดจากใครคนใดคนหนึ่ง เกิดจากทุกภาพส่วน
โดยเฉพาะ “ตัวเรา สามัญชนคนไทย ที่ต้องกินต้องอยู่”
นาที 45.30 เซ็งเป็ด หรือเซ็งไก่ดี จะไปซื้อไก่กิน เราเป็นไอ้ตัวร้ายทำลายป่าเมืองน่าน
เราต้องกิน ต้องใช้ ต้องบริโภค แต่ไม่มีวิธีกินให้ยั่งยืนหรือ ต้องรู้ต้นกำเนิด ไม่กินทิ้งกินขว้าง

จำนวนตัวเหี้ยเพิ่มที่สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม เพราะที่นั่นไม่มีใครรับประทานเจ้าตัวนี้

เหี้ย มีชื่ออังกฤษว่า Water monitor ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Varanus salvator http://www.arkive.org/asian-water-monitor-lizard/varanus-salvator/image-G57993.html
เหี้ย มีชื่ออังกฤษว่า Water monitor ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Varanus salvator
http://www.arkive.org/asian-water-monitor-lizard/varanus-salvator/image-G57993.html

มนุษย์เราก็เลือกรับประทานนะ
หลัง ๆ มาเลือกทานสิ่งมีชีวิตไม่กี่ประเภท
ไม่เหมือนสมัยก่อน เจออะไรในป่าดิ้นได้ .. จับกินหมด
แต่ละภูมิภาคเค้าก็จะจับสัตว์กินไม่เหมือนกัน
ผมว่านะ แลน กับ เห้ หรือ เห้ย หรือตัวเงินตัวทอง นี่หน้าตาเหมื้อนเหมือนกันเลย
เหี้ย มีชื่ออังกฤษว่า Water monitor ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Varanus salvator
ที่ประเทศอื่น เค้าก็กินกัน และนำหนังมาทำกระเป๋า รองเท้าเหมือนจระเข้
เกี่ยวกับเห้ เพราะศึกษากันมาหลายปีแล้วว่าจะนำมาทำอะไรได้บ้าง
เห้เหมือนเป็นลูกผสมของ งู จระเข้ และกิ้งก่า
แล้วเห้ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย
ต้องขออนุญาตเพราะเลี้ยงจากกรมอุทยาน
จะจับมาเลี้ยงเอง จูงเดินไปเดินมา ไม่ได้นะครับ ผิดกฎหมาย
[ระหว่างสุนัขกับตัวเหี้ย] ตัวไหนกฎหมายคุ้มครองมากกว่ากัน
– เลี้ยงสุนัข ไม่ต้องไปขออนุญาตใคร เลี้ยงได้เลย
– เลี้ยงตัวเหี้ย ต้องไปขออนุญาตเลี้ยงจากกรมอุทยาน

ตัวเหี้ยสมุทรสาครสมบูรณ์หนักเพิ่มพรวดแซงกรุงเทพฯ ลามไปอยุธยาแล้ว
http://www.matichon.co.th/news/128489

ประโยชน์-โทษตัวเห้ ชื่อแย่แต่ราคาเยี่ยม! – 12 ก.ย.54
http://www.thairath.co.th/content/200891
เห้เป็นสัตว์เลื้อยคลาน ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535
ต้องขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
ให้จับตัวเงินตัวทองเพื่อนำย้ายถิ่นฐานได้
ไม่นานมานี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงครามเครียด สั่งจับเห้ในพื้นที่ 4 ตำบล
เจ้าหน้าที่ออกไปด้อม ๆ มอง ๆ แล้วกระชับพื้นที่ ได้มารวม 184 ตัว
ก่อนส่งไปอยู่ในถิ่นที่ใหม่ใกล้ ๆ กัน
คือ ที่ควบคุมสัตว์สงวน ศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี

เรื่องของเหี้ย และก๊วนเลื้อยคลาน (sat11) – 4 ก.ค.51
การนำมาเลี้ยงเห็นว่าไม่คุ้ม
เพราะกินจุ โตช้า และกัดกันเป็นแผล เสียราคา
http://www.oknation.net/blog/zoozoo/2008/07/04/entry-1

ว่อนเน็ต! เลี้ยงตัวเงินตัวทอง กรมอุทยานชี้ผิดกฎหมาย – 1 ก.ค.58
http://news.mthai.com/hot-news/social-news/446063.html

วิธีการนำแลนมารับประทาน – 15 พ.ย.54
http://board.postjung.com/676915.html
http://www.oknation.net/blog/nokkhao-toziro/2011/11/15/entry-1

บุกสำรวจ”ฟาร์มตัวเงินตัวทอง” แห่งแรกของประเทศไทย เปิดโฉม”สัตว์เศรษฐกิจ”โกอินเตอร์ส่งนอก – 23 ส.ค.54
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1314013157

เลี้ยงตัวเงินตัวทองเป็นอาชีพ – 11 พ.ย.55
http://news.voicetv.co.th/thailand/55686.html

ฟาร์มตัวเหี้ย ตอน 1 : แปลกใหม่ใหญ่ดัง – 14 พ.ค.56


ฟาร์มเหี้ย เส้นทางเศรษฐี – 28 เม.ย.56


สุนัขสู้กับตัวเงินตัวทอง – 11 ต.ค.54


ตัวเหี้ยที่สมุทรสาคร – 7 พ.ค.59

หลักของพาเรโต 80/20 มีตัวอย่างในหลายสาขาวิชา

output is hello world
output is hello world

The distribution is claimed to appear in several different aspects
relevant to entrepreneurs and business managers.
For example:
    80% of problems can be attributed to 20% of causes.
    80% of a company’s profits come from 20% of its customers
    80% of a company’s complaints come from 20% of its customers
    80% of a company’s profits come from 20% of the time its staff spend
    80% of a company’s sales come from 20% of its products
    80% of a company’s sales are made by 20% of its sales staff

http://c2.com/cgi/wiki?EightyTwentyRule

ตัวอย่างทางคอมพิวเตอร์ก็มี 4 ตัวอย่าง
1. Microsoft noted that by fixing the top 20% of the most-reported bugs, 80% of the related errors and crashes in a given system would be eliminated.
ไมโครซอฟต์บันทึกไว้ว่า การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย 20% ที่รายงานมากที่สุด จะทำให้ปัญหาที่เกี่ยวข้องอีก 80% ถูกจัดการไปด้วย
2. In load testing, it is common practice to estimate that 80% of the traffic occurs during 20% of the time.
ในการทดสอบการโหลด พบว่า 80% ระหว่างการโหลดนั้น ทุ่มไปกับ 20% ที่เป็นเรื่องของเวลา
http://www.somkiat.cc/think-before-load-testing/
3. In software engineering, Lowell Arthur expressed a corollary principle: “20 percent of the code has 80 percent of the errors. Find them, fix them!”
โลเวล อาร์เธอร์ นำเสนอหลักการข้อพิสูจน์ว่า “20% ของโค้ด มีข้อผิดพลาดอยู่ 80% ค้นหาและแก้ไขซะ”
Lowell Arthur คือ ผู้สั่งการภารกิจ Apollo 13
https://en.wikipedia.org/wiki/Jim_Lovell (James Arthur “Jim” Lovell, Jr.)
4. Software frameworks have often been observed to make 80% of use cases easier to implement and 20% of use cases much more difficult to implement.
กรอบซอฟต์แวร์ถูกพบได้บ่อยว่าการทำโปรแกรมเพื่อใช้ที่ง่ายขึ้น 80% มาจากส่วนที่ยากขึ้น 20%
อ้างอิงจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Pareto_principle

ตามคลิ๊ปอธิบายกฎนี้ว่า
อะไรก็ตามที่อยู่เต็ม 100%
80% จาก 100% จะถูกครอบครองโดย 20%
และอะไรก็ตามที่เหลือจาก 20% จะถูกครอบครองโดย 80%


วิลเฟรโด พาเรโต นักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาเลี่ยน
พูดถึงหลักของพาเรโต ตั้งแต่ค.ศ.1895
โดยอธิบายว่า “สิ่งที่สำคัญจะมีอยู่เป็นจำนวนที่น้อยกว่าสิ่งที่ไม่สำคัญ
หรือ “สิ่งที่มีประโยชน์จะมีอยู่เป็นจำนวนที่น้อยกว่าสิ่งที่ไม่มีประโยชน์
ในอัตราส่วน 20 ต่อ 80 หรือ ที่เรียกกันว่า กฎ 80/20
[ด้านเศรษฐศาสตร์]
การผลิตของมีตำหนิขึ้น 20% จะเป็นปัญหา 80% ของปัญหาทั้งหมด
เสื้อผ้า 100 ตัว จะใจประจำอยู่เพียง 20 ตัว
จับกลุ่มทำรายงาน 10 คน จะมีเพียง 2 – 3 คนที่เป็นแกนนำ
อ่านหนังสือ 100 หน้า จะมีเพียง 20 หน้าเท่านั้นที่ถูกนำมาออกข้อสอบ
คน 100 คนทำงาน มีเพียง 20 คนที่มุ่งมั่นทำงาน และเจริญก้าวหน้า
ร้านขายของชำมีสินค้านับ 100 รายการ แต่รายได้ 80% มาจากสินค้าเพียง 20%
ประเทศทุนนิยม คนรวย 20% สร้างรายได้ให้ประเทศเป็น 80% ของรายได้ทั้งประเทศ
มูลค่ารายจ่ายกว่า 80% มาจากรายการที่ใช้จ่ายเพียง 20% ของรายการทั้งหมด
อ้างอิงจาก http://www.oknation.net/blog/knowledge09/2009/08/15/entry-1

อ้างอิงเพิ่มเติม http://www.clairenewton.co.za/my-articles/paretos-principle-the-80-20-rule.html

แลกเปลี่ยนกับนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นพะเยา ของบ้านสันป่าส้าน ภูกามยาว, บ้านต๋อมดง, ต.ภูซาง, ต.แม่จั๊วะ ปง

แลกเปลี่ยนกับนักวิจัยเพื่อท้องถิ่น พะเยา
แลกเปลี่ยนกับนักวิจัยเพื่อท้องถิ่น พะเยา

19 ก.พ. 59 (6.30 – 20.00) ตามที่ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำปาง
ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น
พัฒนางานวิจัยเรื่อง “แนวทางของการยกระดับองค์ความรู้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นสู่การใช้ประโยชน์
และการขยายผลในพื้นที่รูปธรรมทางการศึกษา ในปี 2557-2560”
โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ
1. เพื่อต่อยอดการพัฒนาโจทย์วิจัยเชิงพื้นที่ที่สอดคล้อง
กับการจัดการศึกษาท้องถิ่นในกลุ่มภาคีเครือข่ายทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ
สำหรับเป็นข้อมูลในการประมวลความรู้สู่แนวทางการปฏิรูปการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา
ในพื้นที่จังหวัดและพะเยา
2. เพื่อติดตามโครงการวิจัยที่ดำเนินงานภายใต้การสนับสนุนของ สกว. ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นให้เกิดงานวิจัย
ที่มีคุณภาพ สามารถและสร้างการเปลี่ยนแปลง ในเชิงโครงสร้างของหน่วยงานการศึกษา
องค์ความรู้ และการเปลี่ยนแปลงของนักวิจัย
3. สังเคราะห์วิธีวิทยาในการหนุนเสริมกระบวนการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นสู่การบูรณาการ
ให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาของกลุ่มเครือข่าย กศน.พื้นที่จังหวัดลำปางและพะเยา
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1212393238774805.1073741986.506818005999002

แล้วก็มีโอกาสเดินทางไปจังหวัดพะเยาร่วมกับเพื่อน ๆ รวม 7 คน
คือ ปุ๋ย บัญชา โบว์ ผศ.ดร.อภิชาติ ชิดบุรี ผศ.สันติ ช่างเจรจา ผศ.ดร.สาวิตร มีจุ้ย และและผม
ไปกันที่ กศน.พะเยา
ช่วงเช้า นายปัณณพงศ์ ท้าวอาจ ผู้อำนวยการ สนง.กศน.จ.พะเยา
ทำหน้าที่เปิดกิจกรรม และถ่ายรูปร่วมกัน
ท่านเข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนในการทำกลุ่มย่อยเป็นระยะ
และให้การสนับสนุนการทำงานเต็มที่
ทั้งยังเป็นโครงการที่รวมกันระหว่าง กศน. และสกว.
1. ก่อนการทำงานเราประชุม เรามีการทำ Bar : Before Action Review
เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินงาน เพราะแต่ละท่านก็มาจากต่างสถาบัน
http://blog.lib.kmitl.ac.th/?p=918
2. การนำเสนอโดยนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นจาก 4 พื้นที่
ครั้งนี้เป็นการนำเสนอของนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นหน้าใหม่
สำหรับนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นพี่เลี้ยงในพื้นที่พะเยาจะแลกเปลี่ยนหลังนำเสนอ
และนักวิจัยทีม ม.ลำปาง จะแลกเปลี่ยนไม่มากนัก
เพราะต้องการให้ทีมพี่เลี้ยงในพื้นที่พะเยาแสดงบทบาท
เราตกลงกันว่า ม.ลำปางจะทำหน้าที่เป็นเปลือกไข่
นักวิจัยเพื่อท้องถิ่นพี่เลี้ยงในพื้นที่พะเยา ทำหน้าที่ กำกับติดตามสนับสนุนใกล้ชิดกับพื้นที่
นักวิจัย ม.ลำปาง กำกับติดตามอยู่ห่าง ๆ
กลุ่มเฟส https://www.facebook.com/groups/1536974936614424/1552067021771882/
3. แยกกลุ่มตามพื้นที่ เพื่อช่วยดูการเขียนร่างข้อเสนอโครงการ
เรียงดังนี้
3.1 การเงิน – บ้านสันป่าส้าน ภูกามยาว – บุรินทร์
3.2 สุขภาพ – บ้านต๋อมดง – อภิชาติ
3.3 สหพันธ์แม่ญิ๊งลาว – ต.ภูซาง – สันติ
3.4 น้ำ – ต.แม่จั๊วะ ปง – สาวิตร
4. แต่ละโครงการ ออกมาสรุปว่าไปคุยกัน 2 ชั่วโมง ได้ผลเป็นอย่างไร
การปรับก็มีข้อเสนอในหลายรูปแบบ แตกต่างกันไปในแต่ละโครงการ
เช่น ชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ กรอบแนวคิด รายละเอียดกิจกรรม
ระยะเวลาดำเนินงาน การเชื่อมโยงเครือข่าย
ที่สำคัญคือทำให้ทีมวิจัยในพื้นที่ได้ร่วมกันคิด
ร่วมกันทบทวนกิจกรรมของโครงการโดยละเอียดอีกครั้ง
5. มีการทำ AAR : After Action Review นำโดย ผศ.ดร.สาวิตร มีจุ้ย
โดยเปิดให้ทุกคนสะท้อนคิดถึงเรื่องราวต่าง ๆ จากการทำงาน
และพูดคุยแลกเปลี่ยน และวางแผนสำหรับการทำงานช่วงต่อไป
ต่อไปจะเข้าไปพิจารณาข้อเสนออีกครั้งในวันที่ 29 ก.พ.2559

ก่อนไปทำงาน ลงพื้นที่ คุณภัทรา มาน้อย
แขวนเอกสารเรื่อง “การฝึกทดลองการคิดอย่างเป็นระบบในชีวิตประจำวัน
เรียบเรียงโดย มกราพันธุ์ จูฑะรสก เมื่อวันที่ 18 ก.พ.59 ในกลุ่มเฟส

โครงการที่เข้านำเสนอครั้งแรกในกลไก ประกอบด้วย 4 โครงการ
1. ร่างชื่อเรื่อง “แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพสะใภ้ลาว
หมู่ที่ 3,4,12 ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
ให้มีการดำเนินชีวิตอย่างมีเกียรติและเป็นที่รอมรับของชุมชน

โดย นายวสันต์ สุธรรมมา และนางสาวจิราพร  สุริวงศา

2. ร่างชื่อเรื่อง “แนวทางการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรให้ทั่วถึงและเพียงพอ
ของชุมชนบ้านจั๊วะ หมู่ 10 ตำบลปง อำเภอปง จังหวัดพะเยา

โดย นางสาวลีลาวดี สีหบัณฑ์ และนายกิตติธัช สวนดอก

3. ร่างชื่อเรื่อง “แนวทางการจัดการการเงินในระดับครัวเรือน
บ้านสันป่าส้าน หมู่ 12 ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

โดย นางวารณี วิชัยศิริ และนายประเสริฐ รูปศรี

4. ร่างชื่อเรื่อง “แนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
บ้านต๋อมดง หมู่ 6 ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

โดย นายแดนชัย ชอบจิตร และนายพรเกษตร วงศ์ปัญญา

ใช้ Silicone ทา CPU บริเวณที่สัมผัสกับ Heatsink

silicone : heatsink compound
silicone : heatsink compound

ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ค้าง (Hang) บ่อยหลังใช้งานไปแล้วหลายปี
โดยไม่ทราบสาเหตุ และมั่นใจว่าไม่ได้เป็นเพราะ Software
ก็เสนอให้ทำความสะอาด Hardware ซึ่งมีหลายทางเลือก
1) การใช้น้ำยาล้างหน้าสัมผัสทางไฟฟ้า (Co-Contract Cleaner)
สำหรับทำความสะอาดอุปกรณือิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะ
ฉีดไปตาม RAM หรือ CPU หรือจุดเชื่อมต่อต่าง ๆ

สำหรับ CRC Co-contact clearner ที่ใช้อยู่นี้
ขนาด 350 กรัม ราคาประมาณ 400 บาท
https://www.kaidee.com/product-4148190/

2) แต่ถ้าสงสัยว่า CPU ร้อนเกิน เนื่องมาจาก Silicone ที่ใช้ทา CPU
เกิดเสื่อมสภาพ และต้องการทาใหม่ ก็ไปหาซื้อมาได้ครับ
Heatsink compound หรือ Silicone หลอดหนึ่ง ผมซื้อ 20 บาท
ใช้ได้ 1 ครั้ง เพราะมีประมาณ 1 ซีซี

3) อีกวิธีที่ประหยัด คือ ถอด RAM แล้วใช้ยางลบถูบริเวณทองแดง
ที่เสียบลงไปใน slot แล้วทำความสะอาดให้เรียบร้อยก่อนเสียบลงไป
ซึ่งบ่อยครั้ง แก้ปัญหาเครื่อง Hang โดยไม่ทราบสาเหตุได้

ผลโพลล์สวนทางกับผลเลือกตั้งได้เหมือนกัน

vote
vote
ปัญหาของ Poll หรือ Exit poll คือ คนตอบโพลล์ตอบไม่ตรงกับที่ตัวเองกากบาท
หรืออีก 7 เหตุผลที่ทำให้ผลโพลล์เพี้ยน
Exit poll เลือกตั้งในกรุงเทพฯ ไม่ตรงกับผลเลือกตั้ง ดังนี้
1. เลือกตั้งส.ส. 2554 ในกรุงเทพฯ
พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.จำนวน 23 ราย
พรรคเพื่อไทย จำนวน 10 คน จาก 33 เขตเลือกตั้ง
ผลโพลล์ครั้งแรก พรรคเพื่อไทยนำ 19 เขต  พรรคประชาธิปัตย์มีนำ 5 เขต
ผลโพลล์ครั้งที่สอง พรรคเพื่อไทยนำ 18  เขต  พรรคประชาธิปัตย์นำ 6 เขต
2. เลือกตั้งผู้ว่ากทม. 2556
ผลสำรวจออกมาว่า พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ จาก พรรคเพื่อไทย มีคะแนนนำ
แต่ผลการเลือกตั้ง หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร จาก พรรคประชาธิปัตย์ ชนะ
ด้วย 47.75% ต่อ 40.97%
สำนักโพลล์ = สถาบันสำรวจความคิดเห็น
เอ็กซิท โพล (Exit Poll) คือ การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งลงคะแนน
หลังจากที่ออกจากคูหามาแล้ว โดยผู้สำรวจจะไปสอบถามหลังจากลงคะแนนเสียงว่าเลือกใคร
ซึ่งบางครั้งมีทั้งผู้ที่ตอบออกมาแบบตรง ๆ  หรือบางครั้งอาจไม่ตอบเนื่องจากเป็นสิทธิแต่ละบุคคล หรือบางคนอาจจะตอบตรงกันข้าม
ในส่วนขั้นตอนการดำเนินงานและวางแผน เอ็กซิท โพลนั้น
รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานดำเนินงานสวนดุสิตโพล ระบุว่า การวางแผนต้องรอบคอบ
โดยคำถามที่จะถามผู้ที่ลงคะแนนเสียงจากคูหาจะมีเพียงประเด็นเดียวเท่านั้นที่ถามว่า  “เลือกใคร”
จากนั้นผู้สำรวจจะต้องส่งข้อมูลกลับมาโดยรวดเร็ว ซึ่งสวนดุสิตโพลจะใช้ในระบบออนไลน์
ทั้งโทรศัพท์ ทั้งในส่วนที่เป็นศูนย์การศึกษาที่มีอยู่ทั้งประเทศ
ที่ส่งในลักษณะที่เป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เข้ามา
เอ็กซิทโพลล์” จึงนับได้ว่า เป็นการสะท้อนผลสำรวจความคิดเห็นอย่างไม่เป็นทางการอย่างรวดเร็วที่สุด
และยังต้องคลาดเคลื่อนกับผลคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างเป็นทางการให้น้อยที่สุดด้วย
ถ้าสำนักโพลแห่งใดนำเสนอผลสำรวจเอ็กซิท โพลได้แม่นยำที่สุด
ความน่าเชื่อถือของสาธารณชนที่มีให้ต่อสำนักโพลแห่งนั้นย่อมมีมาก
ดังนั้น การแข่งขันนำเสนอผลสำรวจจะดุเดือดอีกครั้งในการเลือกตั้งปลายปีนี้ด้วย
โพลล์ (Poll) คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสาร (Information) จากประชาชน
และโพลล์กับงานวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) คือ สิ่งเดียวกัน
เพียงแต่ว่า โพลล์ถูกใช้โดยองค์กรสื่อมวลชน แต่งานวิจัยเชิงสำรวจถูกทำขึ้นโดยนักวิจัยของสถาบันการศึกษา
และนี่เองที่เอแบคโพลล์ได้ใช้คำว่า “งานวิจัยเชิงสำรวจ” ในการทำโพลล์มาโดยตลอด

สื่อทำตามหน้าที่ คือ นำเสนอความจริง ก็เท่านั้น

ฟังท่าน พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กล่าวว่า
คุณไปลือกันเองหรือเปล่า นักข่าวทั้งหลายปีที่แล้วพวกคุณจำกันได้หรือไม่
ส่งเสริมสนับสนุนยกย่อง ตามข่าวทั้งหมดพวกคุณทั้งนั้น ปีนี้คุณก็มาใส่ร้ายป้ายสีเขา
ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน คงจะต้องมีการตรวจผู้สื่อข่าวเหมือนกัน มีอยู่กลุ่มหนึ่ง
พอถึงเวลาก็เปลี่ยนท่าที ปีที่แล้วชมกันจัง ยกยอปอปั้น สารพัด
ปีนี้ให้ร้ายเขาแล้ว มีอะไรหรือเปล่าผมไม่รู้

+ http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000128838
+ http://www.komchadluek.net/detail/20151120/217214.html

รู้สึกได้ว่า พล.อ.ธีรชัย นาควานิช คาดหวังความรู้สึกของสื่อ มาเป็นเกณฑ์ตัดสินใจ
น่าจะคาดว่าคนที่รักเรา จะรักเราเสมอ คนที่เกลียดเรา ก็จะเกลียดเราเสมอ
ในความเป็นจริง มีผลประโยชน์เข้ามาเป็นปัจจัยในความรักอยู่เสมอ
อะไรที่สื่อนำไปขายได้เขาก็ขาย เรียกว่า ขายข่าวความจริง
ดังนั้น ชอบหรือไม่ชอบ คงไม่ใช่ประเด็น
เพราะจรรยาบรรณสื่อบอกว่าต้องสื่อความจริง โดยไม่ลำเอียง
ถ้าการเมืองขาขึ้น เขาก็ขายได้ ขาลงเขาก็ขายได้
เพราะไม่ได้ยึดติดไปกับการเมือง เรียกว่า ไม่มีหมกเม็ด
+ http://hilight.kapook.com/view/129393

พล.อ. ธีรชัย กล่าวว่า คุณลือมั้ง เอางี้นะ นักข่าวทั้งหลาย ปีที่แล้วคุณจำกันได้ไหม ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง ข่าวทั้งหมดมาจากพวกคุณทั้งนั้น ปีนี้ คุณก็มาใส่ร้ายป้ายสีเขา ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน เดี๋ยวก็คงต้องตรวจสอบนักข่าวนะ ผู้สื่อข่าวทั้งหลายมีอยู่กลุ่มหนึ่ง พอถึงเวลาก็เปลี่ยนข้างทันที ที่แล้ว ชมกันจัง ยกยอง ปอปั้น สารพัดสารเพ ปีนี้ให้ร้ายเขาแล้ว มีอะไรหรือเปล่า ผมไม่รู้

http://thaipublica.org/2015/11/uttayan-rajabhadi-20-11-2558/


แนวความคิดทางการบริหารของ ฮาร์โรลด์ ดี คูนซ์ (Harold D. Koontz)

principles of management
Principles of Management

การบริหารเป็นการดำเนินการที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการรวมตัวกันของมนุษย์ ในขณะที่มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มนั้น จำเป็นที่มนุษย์ต้องพยายามหาแนวทางหรือวิธีการควบคุมดูแลกันเองภายในกลุ่มให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมทั้งตอบสนองความต้องการของตนเอง ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงต้องทำความรู้จักกับคำว่า “การบริหาร” เพื่อควบคุมดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อย และเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ในสมัยอดีต มีความพยายามแสวงหาวิธีการในการบริหารให้ได้ผลตามที่ตนเอง กลุ่ม หรือองค์กรต้องการ การบริหารจึงเกิดขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคม เช่น การบริหารบุคคล การบริหารองค์กร และการบริหารประเทศ สำหรับแนวความคิดและทฤษฎีทางการบริหารในสมัยใหม่ที่เริ่มมีการศึกษาอย่างจริงจังนั้น เริ่มขึ้นเมื่อราวหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมานี้เอง โดยแนวความคิดที่เป็นจุดเริ่มของการศึกษาทางการบริหารยุคใหม่ ได้แก่ แนวความคิดของ Frederick W. Taylor ซึ่งนำเอาหลักวิทยาศาสตร์มาใช้ในการบริหาร โดยเสนอแนวความคิด วิทยาศาสตร์การจัดการ (Scientific Management) ขึ้น และทำให้การศึกษาการบริหารมีการศึกษากันอย่างจริงจัง และมีการพัฒนาต่อเนื่องกันมาโดยตลอด พัฒนาการของแนวความคิดและทฤษฎีการบริหารจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง และเทคโนโลยี การนำแนวความคิดและทฤษฎีการบริหารมาใช้ในการบริหารงานนั้น จะแตกต่างกันออกไปตามแนวทางหรือความสนใจของแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ หรือผู้บริหารองค์กร

การบริหารองค์กรในทางวิชาการ เสนอว่า ควรดำเนินการเป็นกระบวนการ คือ ทำไปตามลำดับขั้นตอนต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่มีการขาดตอน การจำแนกขั้นตอนการบริหารที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ ได้แก่ แนวความคิดทางการบริหารของ ฮาร์โรลด์ ดี คูนซ์ (Harold D. Koontz) ได้กำหนดกระบวนการบริหารไว้เป็น 5 ประการ คือ การวางแผน (Planning) การจัดองค์การ (Organizing) การเจ้าหน้าที่ (Staffing) การอำนวยการ  (Directing) และการควบคุมงาน (Controlling) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. การวางแผน (Planning)
เป็นกระบวนการในการกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ นโยบาย โครงสร้าง และวิธีการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุผลในอนาคต ทั้งนี้ผู้บริหารต้องมีความสามารถในการพยากรณ์เหตุการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง รวมทั้งต้องมีการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดมาปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการคาดคะเนผลที่จะได้รับ ให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

2. การจัดองค์กร (Organizing)
เป็นการกำหนดรูปแบบโครงสร้างขององค์กร  จัดระบบ ระเบียบการทำงานขององค์กร เพื่อให้เกิดความสะดวกในการมอบหมายงาน หรือการสั่งการ มีการกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละส่วนงานอย่างชัดเจนเพื่อหลีกเลี่ยงการทำงานที่ซ้ำซ้อน

3. การจัดคนเข้าทำงาน (Staffing)
การจัดคนเข้าทำงาน หรือการบริหารงานบุคคล เป็นการจัดการเกี่ยวกับบุคคล นับตั้งแต่การสรรหา คัดเลือกบุคคลเข้าปฏิบัติงาน การดูแลบำรุงรักษา การแต่งตั้ง โยกย้าย การพัฒนา จนกระทั่งพ้นไปจากการปฏิบัติงาน นับว่าเป็นกระบวนการบริหารจัดการทั้งหมดเกี่ยวกับคน หรือ บุคลากร ที่จะสามารถปฏิบัติงานให้กับองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

4. การอำนวยการ (Directing)
การอำนวยการ หรือการสั่งการ เป็นภาระหน้าที่ของผู้บริหารในการใช้ความสามารถชักจูงบุคลากรให้ ปฏิบัติงานและมีความกระตือรือร้นในการที่จะทำงานให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้องค์กรสามารถทำงานบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องมีภาวะผู้นำ  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และใช้ศิลปะในการบังคับบัญชา

5. การควบคุม (Controlling)
การควบคุม เป็นการติดตาม ตรวจสอบการปฏิบัติงานของบุคคลในองค์กรเพื่อให้งานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้รับมอบหมายหรือหน้าที่ที่กำหนดไว้หรือไม่ การทำงานเป็นไปตามมาตรฐานที่องค์กรกำหนดหรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไรเพื่อนำไปสู่การทำการแก้ไข การควบคุมอาจตรวจสอบจากการใช้งบประมาณ การตรวจงาน  การรายงานผลการปฏิบัติงาน หรือการประเมินผลการปฏิบัติงาน

เรียบเรียงโดย ปฏิญญา ธรรมเมือง



หนังสือ Principles of management , Fourth Edition
หน้า 3 พูดถึง Process of Managment โดย Harold D. Koontz
+ https://books.google.co.th/books?id=trMz8Jy89C8C
+ https://en.wikipedia.org/wiki/Harold_Koontz
+ http://hacha555.blogspot.com/2013/07/harold-koonz.html