นักศึกษาด้านไอทีอย่างน้อยต้องทำ responsive เป็น

นักศึกษาด้านไอทีอย่างน้อยต้องทำ responsive เป็น

เว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์

ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น
ที่นักศึกษาต้องรู้ว่าตัวเองเป็นใคร
Who am i?
เพราะไม่ใช่นักเรียนที่จะไปเข้า #ค่ายค้นหาตัวตน
แล้วหาว่า ตนเหมาะกับอาชีพใด
ถ้าเป็นนักศึกษาก็แสดงว่าเลือกแล้ว
ไม่ใช่กำลังจะเลือก
ตอนนี้มาได้ครึ่งทางแล้วที่จะไปสู่อาชีพที่คาดหวัง
ทุกหลักสูตรมีวิชามากมายต้องเรียนเชื่อมต่อกันเป็น jigsaw
กว่าจะได้ภาพสวยผืนใหญ่ ใส่กรอบ โชว์
ก็ใช้เวลาหลายปี ระหว่างทางต้องทบทวนเป็นระยะ
ว่าทำอะไร เรียนอะไร รู้อะไรไปแล้วบ้าง
หัวข้อต้องรู้มีมากมาย
แต่อย่างน้อยต้องรู้ว่าเรา ทำอะไรเป็นบ้าง
ในสายไอทีก็มีเรื่องเว็บเพจ (webpage)
โดยสิ่งที่ควรรู้ คือ Responsive web design
เพราะแนวโน้มชาวโลกจะขยับไปหา mobile device
ดังนั้นหัวข้ออบรมความรู้เบื้องต้น
เสนอว่าให้นักศึกษาเขียนเว็บเพจด้วย html
จำนวน 3 หน้า ตัวตน ผลงาน และตนเอง
คือ index.html project.htm aboutme.htm
แต่แสดงผลได้ในอุปกรณ์ขนาดต่าง ๆ ได้เหมาะสม

 

ฝากไว้กับ firebase.com หรือ wordpress หรือ facebook ก็ได้

เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับเรา

http://www.thaiall.com/webmaster/responsive

โครงการ (project)
โครงการ (project)
หน้าแรก (index) เป็นสารบัญ ดัชนี หรือบทนำ
ที่ฉายภาพรวมความเป็นตัวเรา
แต่ไม่ลึกเท่าโปรเจค หรือเกี่ยวกับเรา
หน้าแรกของนักศึกษาน่าจะมีเนื้อหา
ที่มุ่งขายตัวเรา ตัวอย่างหัวข้อดังนี้
- คนต้นแบบมืออาชีพที่ประทับใจ
- กลุ่มที่สนใจที่เราติดตามประจำ
- บทความ ประเด็น หรือข่าวสำคัญ
- เว็บไซต์ที่แนะนำ
- รายการผลงานเด่นที่สะท้อน skill
- ข้อมูลการติดต่อ หรือ อวตารของเรา

 

หน้าโครงการ หรือโปรเจค (Project)
เป็นการขายตัวเรา (ถ้ามี linkin จะดีมาก)
ที่ผ่านมาสวมบท "นักศึกษา" แล้วทำอะไรไปบ้าง
มีงานอะไรที่เราทำส่งอาจารย์แล้วประทับใจ
เทอมหนึ่งเรียน 6 วิชา ๆ ละ 1 งานก็ปีละ 12 งาน
เลือกนำมาแบ่งปัน เพราะนั่นสะท้อนให้เห็น skill 
เว็บเพจหน้านี้จะบ่งบอกอัตลักษณ์ของเรา
ผลงานต้องเป็นที่ประจักษ์ อยู่ในความทรงจำไม่ได้
แนะนำว่าผลงานทุกชิ้นให้เขียนเป็นบล็อก
จะทำเอง ร่วมกัน หรือฟังเขามาก็เขียนบล็อกได้
แต่ถ้านักศึกษาไอทีจะต้องมีโฮมเพจเป็นของตนเอง
แล้วเชื่อมทุกอย่างเข้ากับ social media + blog
เนื้อหาในหน้านี้ มีรายละเอียดผลงานที่ครบถ้วน
มีที่มา เนื้อหา สรุป และลิงค์ดาวน์โหลดจะดีมาก
ทั้งหมดในหน้านี้ก็จะสะท้อน skill เพื่อขายตัวเรา

 

หน้าเกี่ยวกับเรา (About me)
ความเป็นส่วนตัวสำคัญมาก 
แต่การอยู่ในสังคมก็ต้องลดความเป็นส่วนตัวลงบ้าง 
และไม่เปิดเผยอะไรที่ไม่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน 
เราต้องเป็นนักประชาสัมพันธ์ตนเองอย่างมีเป้าหมาย
นักศึกษาต้องบอกว่าตนเอง
มี skill อะไร
มี project อะไรผ่านมือมาบ้าง
มี avatar ให้ว่าที่นายจ้างไปติดตามที่ไหน
มี experience กับอะไรที่เป็นงานอดิเรก 
มี interested กับอะไรที่เป็นแผนในอนาคต
แต่ถ้าทำงานในองค์กรเมื่อใด ระดับความเป็นส่วนตัว
จะแปรผันตามนโยบายขององค์กรทันที

ปรับพื้นฐานนักศึกษาใหม่

เตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่
เตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่

เห็นกิจกรรมการปรับพื้นฐานนักศึกษาใหม่ แล้วชอบครับ
เพราะปัจจุบันทุกหลักสูตรในประเทศไทยต้องมีกิจกรรมนี้
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่
ทั้งกาย ใจ ความรู้ ความเข้าใจในหลักสูตร สถาบัน และการเรียนป.ตรี
ให้พร้อมก่อนเข้าเรียนในหลักสูตรที่เลือกไว้
เพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในชั้นปีที่ 1
– ไม่เข้าใจในหลักสูตรว่าเรียนเกี่ยวกับอะไร
– ไม่เข้าใจกระบวนการเรียนในระดับอุดมศึกษา
– ไม่ทราบถึงสิ่งที่สถาบันจัดเตรียมไว้สนับสนุนการเรียนการสอน
– ขาดความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน และอาจารย์ในหลักสูตร
– ขาดความคุ้นเคย ใกล้ชิด หรือไม่รู้จักผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลนักศึกษา
สอดรับกับเกณฑ์ประกันระดับหลักสูตร ปี 2557
องค์ประกอบที่ 3 หน้า 67 ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การรับนักศึกษา
https://www.facebook.com/NationUNews/photos/?tab=album&album_id=1024154837661601

ระบบและกลไก การกินป่าของคนไทย คนหนึ่งปีหนึ่งเฉลี่ยกินพื้นที่ปลูก 20 ตารางเมตร

ระบบข้าวโพด
ระบบข้าวโพด

เคยดูรายการ สามัญชนคนไทย
ตอน คนไทยกินป่าเป็นอาหาร

แล้วสนใจระบบและกลไกการกินป่าของคนไทย
ในรายการแจงไว้ชัดเจนว่ากลไกการสนับสนุนให้คนไทยกินป่ามี 5 กลุ่ม
1. กลุ่มชาวบ้าน
2. กลุ่มนายทุน/แปรรูป
3. กลุ่มเงินกู้/กองทุนทุกประเภท
4. กระบวนการส่งเสริม/นักส่งเสริมการเกษตร/นักวิจัย
5. นโยบายส่งเสริมจำนำ/ประกันราคา

หลังมีข่าว ก็มีการออกมาเคลื่อนไหวด้วยวิธีต่าง ๆ
ตามความสามารถของแต่ละบุคคล ผู้ว่าก็ทำอย่าง
นายกก็ทำอย่าง ทหารก็ทำอย่าง กรมป่าไม้ก็ทำอย่าง
ดาราก็ทำอย่าง โรงเรียนก็ทำอย่าง นักเลงคีย์บอร์ดก็ทำอย่าง
มีผลในแต่ละอย่างก็เพื่อช่วยป่า ช่วยเขา ไม่ให้โล้นไปกว่านี้

http://www.thaiall.com/blog/burin/7482/

หากมองระบบที่ทำให้เขาหัวโล้น ลองมามองภาพดู
ว่ามีขั้นตอนอย่างไร จะมองจากปัญหาไปต้นเหตุ หรือต้นเหตุไปปัญหาก็ได้
1. คนไทย ซื้อสัตว์มากินเป็นอาหาร
2. ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ซื้ออาหารสัตว์สำเร็จรูป
3. โรงงานอาหารสัตว์ ซื้อข้าวโพดและถั่วเหลือง
4. คนปลูกข้าวโพด ซื้อที่ดินไว้ปลูก โค่นต้นไม้ใหญ่
5. ที่ดินไม่พอ ต้องไปบุกรุกพื้นที่ป่า

คนกินป่าเป็นอาหาร
คนกินป่าเป็นอาหาร

ต.ย.โครงการนาแลกป่า
เพื่อให้ได้พื้นที่ป่าคืนมา หลังได้มาแล้วก็ต้องดูแลให้ต้นไม้เติบโตเป็นป่า
ข้อมูลในปี 2556 พบว่าพื้นที่ป่าสงวนถูกนำไปปลูกพืชไร่สูงถึง 1.5 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 24% ของพื้นที่ป่าทั้งหมดในจังหวัดน่าน
โครงการนาแลกป่า ในปี 2558 สามารถคืนผืนป่ามาสู่การจัดการอย่างยั่งยืนได้ถึง 315.25 ไร่
1. กลยุทธ์นาแลกป่า เมื่อเกษตรกรคืนพื้นที่ป่า 4 ไร่ โครงการจะขุดนาให้ 1 ไร่
โดยขุดร่องน้ำ ปรับหน้าดิน เตรียมการจัดการน้ำ เพื่อให้ชาวบ้านปลูกข้าวหรือทำเกษตรแบบประณีต
2. กลยุทธ์ระบบน้ำแลกป่า เน้นการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำ
เพื่อการเกษตรให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อแลกกับพื้นที่ที่นำไปปลูกข้าวโพด
เนื่องจากมีน้ำไม่เพียงพอต่อการปลูกข้าวหรือพืชอื่นๆ
ซึ่งการมีน้ำพอใช้สำหรับการเกษตรก็ทำให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้นด้วยพื้นที่ที่น้อยลง
ปี 2558  โครงการขอคืนผืนป่าได้ทั้งหมด 108 ไร่
3. กลยุทธ์อาชีพทางเลือกแลกป่า เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดส่วนใหญ่ก็อยากจะเลิกปลูกข้าวโพด
และมีอาชีพใหม่ทดแทน ทางโครงการจึงได้จัดหาอาชีพทางเลือก
ได้แก่ อาชีพปลูกพืชหลังนา เกษตรผสมผสาน
และการชดเชยเป็นค่าตอบแทนสำหรับเกษตรกรสูงอายุที่ไม่สามารถทำอาชีพทางเลือกอื่น ๆ ได้
ปี 2558  โครงการได้สร้างอาชีพทางเลือกและขอคืนผืนป่าได้ทั้งหมด 108 ไร่
http://www.schoolofchangemakers.com/home/knowledge?knowledge_id=389

ต.ย. ดารา ยอมควักเงินส่วนตัว ร่วมปลูกป่าน่าน
เฉพาะพื้นที่ที่เคยเป็นไร่ข้าวโพด เป็นจิตอาสาที่อยากรักษาป่าต้นน้ำ
http://www.nationtv.tv/main/content/social/378498989/

ต.ย. กิจกรรมพิทักษ์ป่า
Nation TV – เว็บไซต์สถานีข่าวอันดับ 1 ของเมืองไทย
“ร่วมโพสต์ท่าต้นไม้ ติด hashtag ‪#‎ปลูกเลย‬ แสดงพลัง!”ฟื้นฟูป่าให้ลูกหลาน
http://www.nationtv.tv/main/content/social/378503463/
https://www.facebook.com/cartooneggcat/photos/a.136226233446771.1073741828.136187606783967/173673336368727/

ต.ย. อธิบายเรื่องข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่ทำให้ผืนป่าที่หายไป ใครควรต้องรับผิดชอบบ้าง
สรุปว่า “คนไทย ที่บริโภคเนื้อไก่ขาวจากฟาร์มในระบบปิด
ซึ่งเลี้ยงด้วยอาหารที่มีส่วนผสมของข้าวโพด มีส่วนสนับสนุนการทำลายป่าจากการบริโภคเนื้อไก่ เฉลี่ยคนละประมาณ 20 ตารางเมตร
http://landjustice4thai.org/news.php?id=252

ต.ย. ลอยแพชาวบ้าน เมื่อทุนใหญ่ต้องการภาพลักษณ์ที่งามสง่า
มีหนังสือว่าต่อไปบริษัทจะรับซื้อข้าวโพดมีเงื่อนไขคือ
ต้องปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างในพื้นที่ที่มีเอกสิทธิ์ถูกต้อง
หรือพื้นที่ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการ
http://www.landjustice4thai.org/news.php?id=278

รู้ล่ะ ป่าเมืองน่านหายไปไหน ที่แท้มีไอ้ตัวร้ายทำลายป่าเมืองน่านอยู่นี่เอง

รู้ล่ะ ใครคือไอ้ตัวร้าย ทำลายป่าเมืองน่าน
รู้ล่ะ ใครคือไอ้ตัวร้าย ทำลายป่าเมืองน่าน

ดูสารคดี ThaiPBS รายการสามัญชนไทย ของ มาโนช พุฒตาล
เค้าชวนคิด เผื่อว่าจะทำให้เมืองไทยดีขึ้น กับปัญหาทำลายป่าต้นน้ำ
มีคำถามว่าป่าเมืองน่าน หายไปไหน
ขึ้นไปที่ความสูง 9500 ฟุต น่านฟ้า จังหวัดน่าน
นาทีที่ 2.23 เค้าบอกว่า “มีการลุกล้ำเปลี่ยนป่าต้นน้ำ เป็นภูเขาแห่งทุ่งข้าวโพด”
ซึ่งเป็นอาหารของไก่ แล้วเราก็ได้ปีกไก่บนมาเข้าไมโครเวฟในนาทีที่ 2.41
เค้าว่าคนไทยทุกคนกลายเป็นห่วงโซ่แห่งการทำลายล้าง
คุณมาโนช พุฒตาลบอกว่า “คนไทยกินป่าเป็นอาหาร”

การฟื้นฟูสภาพป่ามีหลายวิธี
คนกลุ่มหนึ่งใช้วิธีสร้างจิตสำนึก ตั้งวงดนตรี แต่งเพลง เล่นเพลง
ชื่อเพลง “รักป่านาน”
เห็นภาพภูเขาแล้ว เหมือนภูเขาหัวโล้นกำลังร้องไห้ ยามฝนตก
สิ่งที่เค้าต้องการจากการถางป่าคือข้าวโพด ปลูกได้ปีละ 4 เดือน
ตอนนี้เห็นหัวโล้น อีก 2 เดือนเค้ามาปลูกก็จะเขียว
ที่นี่คือป่าสงวนแห่งชาติ ไม่มีสิทธิตัดไม้ปลูกข้าวโพด
แต่พื้นที่นี้ยังบังคับใช้กฎหมายไม่ได้ ชาวบ้านและชาวเขายังบุกรุกผืนป่ากันทุกปี
นาที 7.39 “ชาวบ้านก็บอกว่า อยากจับก็จับนายทุนสิ นายทุนจ้างเรามาทำ”
เราไม่สามารถสาวไปถึงนายทุน แต่ท่านปลัดรู้ และรู้กันทุกคน ทั้งประเทศ
นาที 8.44 “ข้าวโพดบุกรุกป่ารึเปล่านี่ ไม่ใช่นะ คนบุกรุก โทษข้าวโพดไม่ได้หรอก”
ข้าวโพดรุกคืบเข้ามาเรื่อย ๆ ด้วยเทคนิควางยาสลบต้นไม้
นาที 11.37 พื้นที่บุกรุกมีทั่วทั้งจังหวัด พื้นที่ป่าลดลง 7หมื่น – แสนไร่ต่อไป
นาที 12.55 ผืนป่าที่ลดลง สัมพันธ์กับ พื้นที่ปลูกข้าวโพด
ผลการศึกษา ทำวิจัยพบว่าพื้นที่ข้าวโพด 60% เคยเป็นพื้นที่ป่า
และเข้าไปทำไร่ข้าวโพดในพื้นที่ป่ามากขึ้น
นาที 14.05 พื้นที่ปลูกข้าวโพดของน่าน มาเป็นอันดับ 5 ของประเทศ
รวมข้าวโพดที่ได้กว่า 4 แสนตันต่อไป
นาที 14.13 พื้นที่ปลูกข้าวโพด
อันดับ 1 เพชรบูรณ์ 1,075,536 ไร่
อันดับ 2 นครราชสีมา 816,805 ไร่
อันดับ 3 จังหวัดเลย 825,735 ไร่
อันดับ 4 จังหวัดตาก 686,013 ไร่
อันดับ 5 น่าน
รวมพื้นที่ทั้งหมด 7,366,996 ไร่
ที่มา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2555
นาที 14.30 การวิจัยพบว่า 90% ของข้าวโพด นำไปทำเป็นอาหารสัตว์ทั้งนั้นเลย
ไปให้สัตว์ในฟาร์มกิน ทั้งไก่ ทั้งไข่ ก็เลี้ยงไว้ให้พวกคนไทยนั่นหละครับกิน
นาที 14.50 มาดูความคุ้มค่า ความยั่งยืน ถ้าเราเอาข้าวโพด ไปแลกกับผืนป่า
แสดงว่ากำลังเอาอาหารและความมั่นคงของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
ไปแลกกับการปลูกข้าวโพดเท่านั้น
นาที 15.44 ผลสำรวจ คนไทยกินไก่ เฉลี่ย 15 กิโลกรัมต่อปี
คิดเป็นไก่ประมาณ 10 ตัว คนไทย 70 ล้านก็กินไก่ประมาณ 700 ล้านตัว
จำเป็นต้องมีอาหารมาป้อนไก่ ใช้ข้าวโพดประมาณ 53% เป็นวัตถุดิบ
ทำให้เราต้องผลิตข้าวโพดถึง 6.2 ล้านตัน ก็ต้องปลูกบนผืนดิน
นาที 16.43 คนไทยกินไก่ ไก่กินข้าวโพด ไปกระทบผืนป่าภาคเหนือ
เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะเมืองไทย เช่น อเมริกา เขาไปจ้างบราซิลถางป่าอเมซอล
เพื่อปลูกข้าวโพดมาให้วัวอเมริกากิน
นาที 17.31 พูดถึงเพลง “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” ของวงเฉลียง
เค้าว่า กินแฮมเบอเกอร์ 1 ชิ้น สะเทือนถึงผืนป่าอเมซอลในบราซิล
เช่นเดียวกับการกินไส้กรอก 1 ชิ้น สะเทือนถึงผืนป่าจังหวัดน่าน
นาที 18.30 อยากจะกินไก่ กลายเป็นทำร้ายป่า
นาที 30.40 ชาวบ้านยิ่งทำงานหนัก ยิ่งรายได้น้อย ยิ่งขาดทุน ชีวิตลำบากกว่าเดิม
นายทุนที่เอาข้าวโพดไปทำอาหารสัตว์ กลับรวยขึ้น
นาที 35.01 มี 5 พลังร่วมแห่งการทำลาย
1. กลุ่มชาวบ้าน
2. กลุ่มนายทุน/แปรรูป
3. กลุ่มเงินกู้/กองทุนทุกประเภท
4. กระบวนการส่งเสริม/นักส่งเสริมการเกษตร/นักวิจัย
5. นโยบายส่งเสริมจำนำ/ประกันราคา
นาที 38.43 นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย บอกว่า ส่งเสริมให้ปลูกข้าวโพด
แต่ไม่ส่งเสริมให้ทำลายป่า ไม่มีใครทำอย่างนั้น
เราต้องไปแก้ที่การจัดการ มีมูลค่าทั้งระบบอย่างน้อย 1 ล้านล้าน
นาที 40.01 พูดอีกล่ะ คนไทยกินป่าน่านเป็นอาหาร
นาที 40.45 โรงเรียนมีแนวคิดอนุรักษ์ป่าด้วยการทำโครงการ 1 คน 1 ต้น 1 ปี รวมครูด้วย
นาที 41.58 ถ้าอยากได้ป่าตรงที่โล้นคืน ชาวบ้านก็ยอมคืน แล้วคุณต้องมีที่นาคืนให้เขาทำกิน
มีคนยอมร่วมโครงการป่าแลกนา คือได้นา 1 ไร่ แลกพื้นที่ป่า 3 ไร่
ปัญหานี้ไม่ได้เกิดจากใครคนใดคนหนึ่ง เกิดจากทุกภาพส่วน
โดยเฉพาะ “ตัวเรา สามัญชนคนไทย ที่ต้องกินต้องอยู่”
นาที 45.30 เซ็งเป็ด หรือเซ็งไก่ดี จะไปซื้อไก่กิน เราเป็นไอ้ตัวร้ายทำลายป่าเมืองน่าน
เราต้องกิน ต้องใช้ ต้องบริโภค แต่ไม่มีวิธีกินให้ยั่งยืนหรือ ต้องรู้ต้นกำเนิด ไม่กินทิ้งกินขว้าง

สมการหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเกิดขึ้น

framework
framework

การจัดการองค์กรในปัจจุบันจำเป็นต้องประยุกต์ใช้สารสนเทศ แต่สารสนเทศที่ดีจำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ แล้วมีการใช้สารสนเทศเพื่อสนับสนุน กำกับการทำงานให้มีประสิทธิภาพตอบเป้าหมายขององค์กร ทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับการจัดการ ระดับบริหาร และระดับนโยบาย

ดังนั้นกรอบแนวคิดของการได้สารสนเทศมาเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทุกระดับ คือ การมีเว็บไซต์ที่ทุกฝ่ายเข้าถึงได้ (Website) การใช้กระบวนการจัดการกำกับให้มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล (POSDC) การพัฒนาระบบเป็นวงจร (ADDIE) การจัดการความรู้ที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย (KM) และประเด็นสารสนเทศที่พัฒนาได้แก่ ระบบฐานข้อมูลเนื้อหาของหน่วยงานที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์ (Content Management) ระบบรายงานผลการเรียนให้นิสิตได้ทราบระดับความสามารถของตนเองเพื่อการพัฒนาต่อไป (Online Grade Report) ระบบประเมินการเรียนการสอน และสิ่งสนับสนุนให้อาจารย์และผู้เกี่ยวข้องได้ข้อมูลย้อนกลับจากนิสิตมาปรับปรุงงานของตน (Teaching Evaluation)

โดยสารสนเทศที่ได้มาจากระบบจะกลับเข้าสู่ระบบบริหารจัดการองค์กร เข้าสู่ระบบในระดับนโยบายเพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ แผนงาน/โครงการ ตามเป้าหมายของสถาบัน และสนับสนุนให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีคุณภาพ เกิดการบูรณาการ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องต่อไป

นิยามศัพท์

W (Website) คือ แหล่งสารสนเทศให้บุคลากร นักศึกษา และผู้สนใจเข้าถึงได้

POSDC คือ กระบวนการจัดการ ของ แฮร์โรลด์ คูนตซ์

ADDIE คือ โมเดลการพัฒนาระบบ

KM คือ การจัดการความรู้ เสนอโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

C (Content Management) คือ ระบบจัดการเนื้อหาที่ดูแลโดยหน่วยงานต่าง ๆ

G (Online Grade Report) คือ ระบบรายงานผลการเรียนสำหรับนักศึกษา

E (Teaching Evaluation) คือ ระบบประเมินการเรียนการสอนของอาจารย์ และสิ่งสนับสนุน

I (Information) คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และผู้บริหาร

Tea party

tea party
tea party

กรณีศึกษา tea party #KnowledgeManagement
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เปิดให้บุคลากร
ได้มาพบปะ เป็นการละลายพฤติกรรมที่นิยมในหลายองค์กร
แบบ mouth to mouth หรือ mouth ๆ นั่นเอง
องค์กรใดสนใจ หยิบจับไปทำได้นะครับ
นั่งล้อมวงซดกาแฟ ชา และขนมปังกรอบกัน

แหล่งนำเสนอผลงานทางวิชาการ

2 dean from 2 university : national and international conference
2 dean from 2 university : national and international conference

นิยามศัพท์ ที่เกี่ยวข้องกับ การประชุมวิชาการระดับชาติ และ การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ

การเผยแพร่ผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ หมายถึง การนำเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการและบทความฉบับสมบูรณ์(Fullpaper)ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) โดยมี กองบรรณาธิการจัดทำรายงานการประชุม หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วย ศาสตราจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ จากนอกสถาบันเจ้าภาพ อย่างน้อยร้อยละ 25 โดยต้องมีผู้ประเมินบทความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นด้วย และมีบทความที่มาจากหน่วยงานภายนอกสถาบันอย่างน้อย 3 หน่วยงาน และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 25

การเผยแพร่ผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หมายถึง การนำเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการ และบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม(Proceedings) โดยมีกองบรรณาธิการจัดทำรายงานฯ หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วยศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ จากต่างประเทศอย่างน้อยร้อยละ 25 และมีผู้ประเมินบทความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น และบทความที่มาจากต่างประเทศอย่างน้อย 3 ประเทศ และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 25

** บทความในการประชุมวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ ที่นำเสนอให้กองบรรณาธิการหรือคณะกรรมการจัดประชุมพิจารณาคัดเลือก ต้องเป็นฉบับสมบูรณ์ (Full paper) และได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้

อ้างอิง คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 หน้า 35 – 36


Proceedings คือ เอกสารหรือหนังสือที่รวบรวมบทความวิจัย บทคัดย่อ หรือเอกสารนำเสนอในการประชุมวิชาการหรือวิชาชีพ ที่จัดขึ้นทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยสมาคม หน่วยงาน หรือองค์กร จัดให้มีการประชุม เพื่อเป็นการพบปะระหว่างนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาชีพ ในสาขาวิชาเดียวกันอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และความร่วมมือกัน มีการนำเสนอผลการค้นคว้าวิจัยใหม่ในที่ประชุม

รายงานการประชุมที่เผยแพร่เป็นรูปเล่ม (Proceedings) ดำเนินการตีพิมพ์ผลงานฉบับสมบูรณ์เผยแพร่หลังการประชุม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ (International Conference)
2. การประชุมวิชาการระดับชาติ (National Conference)
เช่น http://202.44.34.144/nccitedoc/
หรือ  http://www.techno.edu.nu.ac.th/proceedingsEdtech.pdf
http://thaiglossary.org/node/10552

การประชุมระดับนานาชาติ (International Conferences) คือ การประชุมระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการระหว่าง ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากหลาย ๆ ประเทศ เพื่อพิจารณาหาทางระงับปัญหาระหว่างประเทศ การประชุมเช่นนี้บางทีเรียกว่า คองเกรสระหว่างประเทศ แม้จะเรียกต่างกัน แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันที่สำคัญระหว่างสองคำนี้ บ้างมีความเห็นว่า ใช้คำคองเกรส ดูจะมีความสำคัญและมีลักษณะเป็นทางการมากกว่าใช้คำ คอนเฟอเรนซ์ผู้แทนจากประเทศที่ร่วมการประชุมในบางโอกาส ได้แก่บุคคลในระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือเอกอัครราชทูต แล้วแต่ว่าการประชุมนั้น ๆ มีความสำคัญระดับใดในการประชุมระหว่างประเทศ แต่เดิมใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกันมากทั้งสองภาษา มาในภายหลังมักนิยมใช้ภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด ส่วนการประชุมระหว่างประเทศที่องค์การสหประชาชาติเป็นผู้จัด จะใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย และจีน รวม 5 ภาษาตามปกติ มักจะเลือกหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศเจ้าภาพให้ทำหน้าที่ประธานการประชุม ส่วนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของการประชุม ได้แก่ รองประธาน เลขานุการของการประชุม ประธานกรรมการ และผู้บันทึกรายงานสำหรับรายงานการประชุม ข้อมติของที่ประชุมและข้อเสนอแนะนั้น จะรวมเข้าไว้ในเอกสารที่เรียกว่า กรรมสารสุดท้าย (Final Act) ซึ่งผู้แทนประเทศผู้มีอำนาจเต็มจะเป็นผู้ลงนามในเอกสารนั้นในการประชุมครั้งสุดท้าย

http://thaiglossary.org/node/36943


กระบวนการพิจารณา (Review Procedures)
KST = Knowledge and Smart Technology
http://kst.buu.ac.th/2017/submit_paper.html

review procedures
review procedures

เกณฑ์มาตรฐานวารสารวิชาการกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๒

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ร่วมมือกันในการที่จะยกมาตรฐานการเผยแพร่งานวิชาการในประเทศให้มีคุณภาพและเพื่อผลักดันให้เกิดมาตรฐานที่ใกล้เคียง หรือเทียบได้กับนานาชาติ มาตรการหนึ่งในบรรดามาตรการทั้งหลายคือการสนับสนุนให้เกิดวารสารทางวิชาการกลางอันจะเป็นที่รวมและเผยแพร่ความรู้ของประชาคมวิชาการในประเทศไทยโดยไม่เพียงแต่สนองความต้องการของสถาบันใดสถาบันหนึ่ง

เพื่อให้วารสารวิชาการของสถาบันการศึกษาในประเทศไทยได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งกลางในการเผยแพร่งานวิชาการของประชาคมอุดมศึกษาให้มีมาตรฐานเทียบเคียงกับระดับนานาชาติ ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงกำหนดเกณฑ์คุณภาพวารสารวิชาการที่สมควรได้รับการสนับสนุนไว้ ดังนี้

๑. กองบรรณาธิการของวารสารวิชาการในประเทศต้องมีศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกจากภายนอกสถาบันที่จัดพิมพ์วารสารนั้น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานโดดเด่นอย่างต่อเนื่องเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ

๒. ผู้ประเมินบทความต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ทำ งานวิจัยและมีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง

๓. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ต้องมีบทความที่ผู้เขียนมาจากสถาบันอื่นที่มิใช่สถาบันที่จัดทำวารสารนั้นไม่น้อยกว่า ๑๐% ของจำนวนบทความทั้งหมด ในอนาคตควรมีการเพิ่มจำนวนบทความประเภทดังกล่าวให้ถึง ๒๕% ของบทความทั้งหมดเพื่อเป็นการพัฒนา คุณภาพวิชาการของประเทศ

๔. บทความที่เขียนโดยนักวิชาการในสถาบันที่จัดทำวารสารนั้นต้องมีผู้ประเมินจากสถาบันภายนอกไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ประเมินทั้งหมด

๕. กำหนดให้มีการประเมินคุณภาพวารสารทุกๆ ๒ ปี ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

๖. บทความแต่ละบทความต้องมีบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ในกรณีที่ตีพิมพ์เป็นภาษาต่างประเทศต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาไทยด้วย

๗. วารสารต้องออกตรงตามเวลาอย่างต่อเนื่อง

๘. วารสารต้องมีบทวิจารณ์หนังสือ (book review)

๙. วารสารควรมีการตีพิมพ์บทความปริทรรศน์ (review article) เป็นครั้งคราว

http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/document/gain.pdf

เกณฑ์คุณภาพวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/document/gain%20vit-techno.pdf

ประมูลทีวีดิจิตอล วัดกันที่เงิน ยอดสูงกว่าก็ได้ไป

กสทช.ประกาศประมูลทีวีดิจิตอลในวันที่ 26-27 ธ.ค. 2556 คาดประกาศรับรองผลได้ในวันที่ 6 ม.ค. 2557พร้อมแก้ไขหลักปฏิบัติการประมูลใหม่หลังพบปัญหาช่วงทดสอบระบบ “พ.อ.นที” ขู่ใครฮั้วประมูลโดนอาญาและชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/viewNews.aspx?NewsID=9560000154399

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ด กสท.เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.ว่า ที่ประชุมได้มีมติประกาศให้วันที่ 26-27 ธ.ค. 2556 ตั้งแต่เวลา 08.00-20.00 น. เป็นวันประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ 24 ช่อง ที่บริษัท กสท โทรคมนาคม เขตบางรัก โดยจะใช้พื้นที่ของชั้นที่ 27-30 จำนวน 16 ห้องที่ใช้สำหรับในการประมูล และ 1 ห้องเป็นห้องควบคุมการประมูลครั้งนี้

ทั้งนี้ การประมูลดังกล่าวจะแบ่งการประมูลออกเป็น 2 วัน คือวันที่ 26 ธ.ค. 2556 ช่วงเช้า ตั้งแต่ 08.00-14.00 น. เป็นการประมูลประเภทช่องทั่วไป (วาไรตี) ความคมชัดสูง (HD) และช่วงบ่ายตั้งแต่ 14.00-20.00 น.เป็นการประมูลประเภทช่องทั่วไป (วาไรตี) ความคมชัดมาตรฐาน (SD) และในวันที่ 27 ธ.ค. 2556 ช่วงเช้า 08.00-14.00 น. เป็นการประมูลประเภทช่องข่าวสารสาระ และช่วงบ่ายตั้งแต่ 14.00-20.00 น.เป็นการประมูลประเภทช่องเด็กและครอบครัว

“อย่างไรก็ตาม กรอบเวลาดังกล่าวนั้นเป็นการกำหนดเวลาทั้งหมดเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วเชื่อว่าจะเริ่มการเคาะประมูลรอบเช้าได้ในเวลา 11 นาฬิกา ขณะที่ช่วงบ่ายจะเริ่มเคาะ 16 นาฬิกา โดยคาดว่าจะใช้เวลาการประมูลแต่ละประเภทไม่เกิน 1 ชั่วโมง”

ขณะที่ภายหลังการประมูลเสร็จสิ้นลงจะรู้ผลผู้ชนะการประมูลในทันที แต่จะสามารถรับรองผลการประมูลได้ภายหลัง 15 วันเมื่อการประมูลจบลง และจะดำเนินการออกใบอนุญาตให้แล้วเสร็จในเดือน ม.ค. 2557 และให้ออกอากาศได้ภายในเดือน ก.พ. 2557 ต่อไป

“กสท.อาจจะสามารถประกาศรับรองผลการประมูลทีวีดิจิตอลได้ในวันที่ 6 ม.ค. 2557 ซึ่งถือเป็นการประชุมบอร์ดครั้งแรกหลังการประมูลเสร็จสิ้นลงนั่นเอง”

นอกจากนี้ ภายหลังการประกาศรับรองผลการประมูล 30 วัน ผู้ชนะการประมูลจะต้องนำเงินมาชำระค่าใบอนุญาตทีวีดิจิตอลซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. ชำระราคาขั้นต้นการประมูลแบ่งจ่ายเป็น 4 งวด คือในปีแรกจำนวน 50% ปีที่ 2 จำนวน 30% ปีที่ 3 จำนวน 10% และปีที่ 4 จำนวน 10% และในส่วนที่ 2 ชำระ10% ของราคาที่เกินมาจากราคาขั้นต้น

พ.อ.นทีกล่าวว่า ที่ประชุมยังมีมติปรับปรุงหลักปฏิบัติในการประมูลทีวีดิจอตอลครั้งนี้ ได้แก่ 1. มีการแก้ไขกระบวนการจับฉลากเพื่อเลือกหมายเลขห้องการประมูล ลำดับที่การประมูล และรหัสผ่านที่ใช้ในการประมูล 2. มีการแก้ไขให้ผู้เข้าประมูลสามารถออกมาเข้าห้องน้ำได้แต่ต้องมีเจ้าหน้าที่ติดตามไปด้วยจากเดิมไม่ให้ผู้เข้าประมูลออกมาจากห้องเลยไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม 3. ไม่อนุญาตให้ผู้เข้าประมูลนำอุปกรณ์สื่อสารใดๆ เข้าห้องประมูลได้ยกเว้นแต่เจ้าหน้าที่ที่คอยดูแลระบบเท่านั้น และ 4. ปรับให้ผู้เข้าร่วมประมูลสามารถนำเอาเอกสารต่างๆ ที่สำคัญ อาทิ แผนธุรกิจเข้าไปในห้องประมูลได้แต่ต้องไม่เกิน 10 หน้าขนาด A4 โดยสาเหตุที่ต้องมีการแก้ไขหลักปฏิบัติในครั้งนี้เนื่องจากเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ ผ่านมา กสท.จัดให้มีการทดลองการประมูลกับผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมประมูล ซึ่งผลปรากฏว่าเกิดปัญหาต่างๆ ในระหว่างการทดสอบระบบดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการแก้ไขหลักปฏิบัติ

ขณะเดียวกัน ตัวแทนผู้เข้าร่วมประมูลแต่ละบริษัทที่มีความประสงค์จะเข้าห้องเพื่อเคาะประมูลซึ่งไม่เกิน 5 คนนั้นจะต้องส่งรายชื่อก่อนวันประมูล 5 วัน และในวันประมูลจริงได้ใช้เจ้าหน้าที่ดำเนินการประมูลจำนวน 175 คน โดยรวมการประมูลทีวีดิจิตอลในครั้งนี้ กสท.ใช้งบประมาณไปราว 20 ล้านบาท

อีกทั้งหากกรณีเกิดปัญหาในวันประมูลที่ไม่ส่งผลกระทบต่อราคาการประมูลให้รักษาการ กสทช.ด้าน กสท.เป็นคนตัดสินใจ แต่หากมีผลต่อราคาการประมูลต้องให้ประธาน กสท.เป็นคนตัดสินใจเท่านั้น

“หากในวันประมูลเกิดจับได้ว่าผู้เข้าร่วมประมูลมีพฤติกรรมเข้าข่ายไปในการฮั้วประมูลเกิดขึ้น โดยผู้กระทำความผิดดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ชำระค่าเสียหายจากการประมูลทั้งหมด รวมไปถึงถือเป็นคดีอาญาด้วย ส่วนกรณีมีการสละสิทธิ์ หรือไม่มีการเคาะประมูลเกิดขึ้นก็จะต้องชดใช้ค่าเสียหายในการประมูลเช่นเดียวกัน”

สำหรับรายละเอียดการประมูลนั้น ประเภทช่องทั่วไป (วาไรตี) ความคมชัดสูง (HD) ราคาเริ่มต้น 1,510 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 10 ล้านบาท ประเภทช่องทั่วไป (วาไรตี) ความคมชัดมาตรฐาน (SD) ราคาเริ่มต้น 380 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 5 ล้านบาท ช่องข่าวสารสาระราคาเริ่มต้นประมูล 220 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 2 ล้านบาท และช่องเด็กและครอบครัวราคาเริ่มต้น 140 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 2 ล้านบาท

ผลการศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษากลุ่มหนึ่ง

ผลการศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษากลุ่มหนึ่ง
ผลการศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษากลุ่มหนึ่ง

สุจินต์ เพิ่มพิทักษ์ และทัศนีย์นารถ ลิ้มสุทธิวันภูมิ (2553) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พบว่า ระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยปัจจุบัยด้านเพศ อายุ และภูมิลำเนาส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ

โดยมีคำถามในแบบสอบถามถึงแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ดังนี้
– ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น”
– ข้าพเจ้าความตั้งใจแน่วแน่ เพื่อบรรลุเป้าหมายของการเรียนแต่ละวิชา
– ข้าพเจ้าตัดสินใจสมัครเข้าเรียนคณะบัญชีมหาวิทยาลัยกรุงเทพด้วยตนเอง
– ข้าพเจ้าจะฝ่าฟันปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้การเรียนบรรลุเป้าหมาย
– เมื่อข้าพเจ้าทำคะแนนสอบได้น้อย ข้าพเจ้าจะอ่านและทบทวนวิชานั้นให้มากขึ้น
– แม้งานที่ได้รับมอบหมายจะได้คะแนนน้อย ข้าพเจ้าก็จะพยายามอย่างเต็มที่
– ถึงแม้ว่าวิชาที่เรียนจะยาก ข้าพเจ้าจะตั้งใจเรียนให้เต็มที่
– ขณะที่เรียนข้าพเจ้าตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนตลอดเวลา
– ข้าพเจ้าตั้งใจทำงานทุกอย่างที่อาจารย์มอบหมาย
– แม้การเรียนจะลำบากเพียงไร ข้าพเจ้าจะไม่ย่อท้อ
– เมื่อพบข้อบกพร่องในการเรียน ข้าพเจ้าจะไม่ย่อท้อ
– ข้าพเจ้าชอบค้นคว้าหาความรู้ เพื่อนำมาใช้ในการศึกษาพัฒนาการเรียน
– ข้าพเจ้ารู้สึกกระตือรือร้น เมื่อถึงวันและเวลาที่เรียน
–  ข้าพเจ้าจะคอยประเมินผลการเรียนของทุกวิชาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาข้อบกพร่องและแนวทางแก้ไข
– ไม่เพียงแต่จะเรียนให้สำเร็จเท่านั้น ข้าพเจ้าคอยตรวจสอบข้อบกพร่องในการเรียนด้วย
– สิ่งแวดล้อมการเรียนจะเป็นอย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าก็ยังมีสมาธิแน่วแน่ในการเรียนอย่างเต็มที่
– ข้าพเจ้าสนใจเรียนทุกวิชาเท่า ๆ กัน
– ข้าพเจ้าจะพยายามเอาชนะความง่วงและอ่อนเพลีย เมื่ออ่านหนังสือ หรือทำการบ้าน
– ข้าพเจ้าชอบค้นคว้าหาความรู้ เพื่อนำมาใช้ในการศึกษาพัฒนาการเรียน
– เมื่อเกิดอาการง่วงนอนขณะอ่านหนังสือ ข้าพเจ้าจะหาวิธีแก้ไข เพื่อให้อ่านหนังสือต่อได้
– ข้าพเจ้าชอบค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม นอกเหนือจากที่อาจารย์สอน
– ข้าพเจ้าใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนสำหรับการทบทวนบทเรียนเสมอ

http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/epaper/special_may2010/pdf/Page_153.pdf

พีบีแอล (PBL = Project-Based Learning)

John Dewey 1902
John Dewey 1902

จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ได้นำเสนอแนวคิด “เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ (Learning by doing)” ว่า “ครูไม่ใช่ผู้กำหนดความคิด หรือจัดพฤติกรรมแบบหนึ่งแบบใดให้กับเด็ก แต่เป็นสมาชิกของชุมชนที่จะสร้างอิทธิพลที่มีผลให้เด็กช่วยตนเองได้ตอบสนองกลับมาอย่างเหมาะสม ที่จะเกิดการแสดงออกที่สร้างสรรค์ภายในศูนย์การเรียนรู้ที่ถูกต้อง” (Dewey,1897)

ต่อมาเกิดรูปแบบการเรียนรู้จาก แนวคิดของดิวอี้ หลายรูปแบบ
ได้แก่
– การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning)
– การเรียนรู้แบบช่วยเหลือกัน (Collaborative learning)
– การเรียนรู้โดยการค้นคว้าอย่างอิสระ (Independent investigation method)
– การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning)
– การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based learning)

ทอม มาร์คาม (Thom Markham, 2011)
ได้อธิบายความหมายของ PBL = Project-Based Learning ว่าเป็น
การบูรณาการความรู้ และการปฏิบัติ
โดยนักเรียนจะได้เรียนรู้องค์ประกอบสำคัญที่ต้องรู้
แต่จะประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหา และได้ผลเป็นชิ้นงานขึ้นมา
เด็กที่เรียนรู้แบบนี้จะได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือดิจิทอลคุณภาพสูง
และได้ชิ้นงานที่เกิดจากการผสมผสาน
พีบีแอลจะปรับมุมมองของการศึกษาสู่ระดับโลก และได้อีกหลายอย่างตามมา
ทั้งแรงขับ ความรัก ความคิดสร้างสรรค์ การเอาใจใส่ และความยืดหยุ่น

PBL integrates knowing and doing. Students learn knowledge and elements of the core curriculum, but also apply what they know to solve authentic problems and produce results that matter. PBL students take advantage of digital tools to produce high quality, collaborative products. PBL refocuses education on the student, not the curriculum–a shift mandated by the global world, which rewards intangible assets such as drive, passion, creativity, empathy, and resiliency. These cannot be taught out of a textbook, but must be activated through experience.
(Thom Markham,2011)
http://en.wikipedia.org/wiki/Project-based_learning

http://www.amazon.com/Project-Based-Learning-Handbook-Standards-Focused/dp/0974034304
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=775406