precision และ recall

precision and recall
precision and recall

precision คือ การวัดความสามารถในการที่จะขจัดเอกสารที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป โดย precision เป็น อัตราส่วนของจำนวนเอกสารที่เกี่ยวข้องและถูกดึงออกมา กับจำนวนเอกสารที่ถูกดึงออกมาทั้งหมด
recall คือ การวัดความสามารถของระบบในการดึงเอกสารที่เกี่ยวข้องออกมา โดย recall เป็น อัตราส่วนของจำนวนเอกสารที่เกี่ยวข้องและถูกดึงออกมา กับจำนวนเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
relevant คือ จำนวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง
retrieved คือ จำนวนเอกสารที่ถูกดึงออกมา

การวัด recall และ precision ไม่ง่ายทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ
เพราะเงื่อนไขคือการตีความของความเกี่ยวข้อง

recall กับ precision
recall กับ precision

นิยม ความเกี่ยวข้อง คือ ความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับเอกสาร
ซึ่งพิจารณาจากปริมาณที่เอกสารที่ครอบคลุมเอกสารที่เหมาะสมหรือเกี่ยวเนื่องกับข้อคำถาม

http://e-book.ram.edu/e-book/c/CT477/CT477-6.pdf
https://en.wikipedia.org/wiki/Precision_and_recall

5w จาก ohec newsletter

ohec newsletter
ohec newsletter

พบคำว่า 5 w จาก จดหมายข่าวของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (OHEC Newsletter) ซึ่งประกอบกอบด้วย who what when where และ why หรือใคร ทำอะไร เมื่อไร ที่ไหน ทำไม ซึ่งคาดว่าต้องการให้ผู้อ่านได้ตระหนักในการทำกิจกรรม / โครงการ ว่าต้องคิดอย่างไร จากแนวเริ่มต้นที่ให้มาทั้ง 5 มีดังนี้
1. งานนั้นใครรับผิดชอบ หรือมีเจ้าภาพ
2. งานนั้นคืออะไร ทำอะไร หรือเพื่ออะไร
3. งานนั้นทำเมื่อไร เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องทำแต่ละช่วงเวลา
4. งานนั้นทำที่ไหน ภายนอก/ภายใน เตรียมตามแผนอย่างไร
5. งานนั้นทำไปทำไม จำเป็นแค่ไหน สมเหตุสมผลที่จะทำหรือไม่
ผมว่า สกอ. คงเสนอว่านี้เป็นการเริ่มต้น หากก้าวพ้นแนวคิดเริ่มต้นด้วยความเข้าใจได้ คงไปถึง AAR ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมก่อนกระบวนการวนรอบจะครบถ้วนสมบูรณ์
http://www.thaiall.com/pdf/ohec/
http://www.mua.go.th/pr_web/ohecnewsletter/index.html

อัตลักษณ์ (identity)

identity and uniqueness
identity and uniqueness

ถ้ามองว่าเว็บไซต์ คือ แหล่งข้อมูลและสารสนเทศ
แล้วเว็บมาสเตอร์มีความคาดหวังว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์
ที่เข้ามารับข้อมูลและสารสนเทศไปแล้ว
ผู้เข้าชมเหล่านั้นควรเปลี่ยนไปเป็นอย่างไร (identity)
หรือความสำเร็จของเว็บไซต์ตามจุดเน้นคืออะไร (Uniqueness)

อาจสะท้อนออกมา เป็น อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ ของเว็บไซต์ได้ว่า
อัตลักษณ์ของไทยออล คือ มีทักษะทางวิชาการ และวิชาชีพด้านคอมพิวเตอร์
เอกลักษณ์ของไทยออล คือ เว็บไซต์วิชาการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยู่ในสิบอันดับแรกด้านแหล่งข้อมูลความรู้

ถ้าเป็นของสถาบันการศึกษา อ่านเพิ่มเติมที่ http://www.thaiall.com/blog/burin/3476/

นิยาม
อัตลักษณ์ (Identity) หมายถึง ผลผลิตของผู้เรียนตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
เอกลักษณ์ (Uniqueness) หมายถึง ความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนให้เห็นเป็นลักษณะโดดเด่นเป็นหนึ่งของสถานศึกษา

แหล่งอ้างอิง จากบทความของ ดร.สุพักตร์ พิบูลย์
http://drsuphakedqa.blogspot.com/2010/07/07.html
http://www.gotoknow.org/blog/cityedu/422459
http://qa.bu.ac.th/buqa/index.php/kmqa/60-identity

วิธีการสอน/พัฒนา 37 วิธี

เรียบเรียงจากวิธีการสอน/พัฒนาใน Course Specification ของ CU-CAS
1. การบรรยาย (Lecture)
2. การอภิปราย (Discussion)
3. การสอนแบบสัมมนา (Seminar)
4. การสอนโดยใช้การนิรนัย/อนุมาน (Deductive) คือ อ้างความรู้เดิมให้ได้ความรู้ใหม่หรือข้อสรุป
5. การสอนโดยใช้การอุปนัย/อุปมาน (Inductive) คือ การสรุปจากความจริงย่อยหลายข้อมาเป็นข้อสรุป
6. การใช้กรณีศึกษา (Case)
7. การแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)
8. ภาคสนาม (Field Work)
9. การไปทัศนศึกษา (Site Tour)
10. การใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation)
11. การแสดงละคร (Dramatization)
12. การสาธิต (Demonstration)
13. การสอนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)
14. การใช้เกม (Game)
15. การทดลอง (Experiment)
16. การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction)/ การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน /การเรียนแบบผสมผสาน/การเรียนแบบออนไลน์
17. การฝึกปฏิบัติ (Practice)
18. การฝึกงาน/การฝึกสอน (Training)
19. การสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research-based Instruction)
20. การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Instruction)
21. การสะท้อนความคิด (Reflective Thinking)
22. การสอนแบบสืบสอบ (Inquiry-based instruction)
23. การศึกษาค้นคว้าโดยอิสระ (Independent Study)
24. การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (Self-directed Learning)
25. การสอนโดยใช้โครงงาน (Project-based Instruction)
26. การเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบ/ปราชญ์ (Professional Model)
27. การเรียนการสอนแบบจุลภาค (Micro Teaching)
28. การนิเทศการปฏิบัติการวิชาชีพ (Supervision)
29. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
30. การให้คำปรึกษารายบุคคล (Individual Advisor)
31. กลุ่มติวเตอร์ (Tutorial Group)
32. การระดมสมอง (Brain Storming)
33. การสรุปประเด็นสำคัญ / การนำเสนอผลของการสืบค้นที่ได้รับมอบหมาย (Conclusion Presentation)
34. กิจกรรม (Activities)
35. การสอนข้างเตียง/เรียนจากผู้ป่วย (Problem Learning)
36. การฝึกแสดงออกทางพฤติกรรม (Behavior Presentation)
37. การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Study)

ผลการวิพากษ์เค้าโครงรายวิชา

8 มิ.ย.54 ผลการวิพากษ์เค้าโครงรายวิชา (Syllabus Defending) ระดับกลุ่มสาขาวันนี้ได้ข้อสรุปว่า ต่อไปหัวข้อในการประเมินผลการเรียน ไม่ควรแตกต่าง และมีความเป็นมาตรฐานตรงกันทุกวิชา จึงทำข้อตกลงเสนอเป็นหัวข้อให้พิจารณาจัดทำในรายวิชาของตน มีลำดับและชื่อหัวข้อดังนี้
1. การเข้าชั้นเรียน
2. ความรับผิดชอบ
3. งานที่มอบหมาย
4. ฝึกปฏิบัติการ
5. โครงงาน
6. สอบย่อย
7. สอบกลางภาค
8. สอบปลายภาค

ส่วนหัวข้อใหญ่ในเค้าโครงรายวิชามีดังนี้
1. ชื่อวิชา ชื่อผู้สอน ตามรูปแบบ
2. วิชาบังคับก่อน
3. คำอธิบายรายวิชา
4. จุดประสงค์รายวิชา
5. รายละเอียดการเรียนการสอน
6. การประเมินผลการเรียน
7. เกณฑ์ประเมินผลการเรียน
8. หนังสือบังคับอ่าน
9. หนังสือประกอบการเรียน
10. เว็บไซต์ที่แนะนำ

การบริการวิชาการ ที่แม่เมาะ

บริการวิชาการ แม่เมาะ ปีการศึกษา 2553
บริการวิชาการ แม่เมาะ ปีการศึกษา 2553

คณะวิชาทั้ง 3 คณะ ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยี ส่งนักวิชาการออกบริการวิชาการ ที่ อบต.บ้านดง 21 – 22 ต.ค.2553 ซึ่งสืบเนื่องมาจากการสำรวจความต้องการ และการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เมื่อ 18 ต.ค.53  โดยมีโครงการทั้งสิ้น 3 โครงการ คือ โครงการอบรม “การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย” โดย ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ โครงการอบรม “การให้ความรู้ด้านกฎหมายครอบครัว” โดย อ.สุทธิ์พจน์  ศิริรัตนาสกุล และ โครงการอบรม “EQ กับการทำงานใต้ความกดดันและการบริหารความเครียด” โดย อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.450808788894.247022.814248894

สไลด์เผยแพร่เกี่ยวกับความปลอดภัย
จากการให้บริการวิชาการ ตามโครงการอบรม “การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย” โดย ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์  ที่ อบต.บ้านดง และทต.แม่เมาะ ระหว่าง 21 – 22 ต.ค.2553 พบว่าผู้เข้ารับการอบรมให้ความสนใจเกี่ยวกับความปลอดภัย และขอสไลด์ไว้ศึกษา แล้วคณะวิชาได้พิจารณาเห็นชอบให้นำเสนอได้ จึงนำมาเผยแพร่ให้เพื่อนบุคลากร และผู้สนใจได้ ดาวน์โหลดไปศึกษาได้
ที่ http://www.thaiall.com/security/security_basic.ppt

การเขียนโครงการ (Project Writing)

project
project

22 พ.ค.54 โครงการ คือ กลุ่มของกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อตอบวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ดำเนินการตามกรอบเวลาที่กำหนด
สิ่งที่ควรทราบก่อนเขียนโครงการ
1. ปัญหา หรือความต้องการ
2. ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
3. วิเคราะห์ปัญหา
4. จัดลำดับความสำคัญของปัญหา
5. วิเคราะห์หาสาเหตุ และแนวทางแก้ไข
6. กำหนดวัตถุประสงค์
7. กำหนดกิจกรรม เวลา และทรัพยากร
8. ร้อยเรียงข้อมูลทั้งหมด เป็นโครงการ

องค์ประกอบในโครงการ
1. ชื่อโครงการ
2. ความเป็นมา หลักการและเหตุผล
3. วัตถุประสงค์
4. กลุ่มเป้าหมาย
5. วิธีดำเนินการ
6. ระยะเวลา
7. สถานที่
8. งบประมาณ และแหล่งสนับสนุนทุน
9. ผู้รับผิดชอบ
10. วิธีการประเมินผล
11. ตัวชี้วัดความสำเร็จ
12. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
http://library.uru.ac.th/article/htmlfile/technic_project.pdf

ประชุมเตรียมความพร้อมอาจารย์พิเศษ

mcu schedule
mcu schedule

16 พ.ค.54 ก่อนเปิดภาคการศึกษา มักมีการประชุมเตรียมความพร้อมอาจารย์ประจำ และอาจารย์พิเศษ เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ต้องดำเนินการทุกภาคการศึกษา เพื่อตอบการประกันคุณภาพการศึกษา ได้ทำความเข้าใจกับอาจารย์ผู้สอน เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แล้วนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงระบบและกลไก ให้การเปิดภาคการศึกษามีความพร้อม และดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่สอดรับกับนโยบายของสถาบัน

โดยมีวาระการประชุมเป็นการชี้แจงให้อาจารย์ผู้สอนได้ทราบถึงนโยบายการศึกษา ปฏิทินการศึกษา กฎระเบียบ การดำเนินงานด้านการจัดการเรียนการสอน และการสนับสนุนของหน่วยงานทั้งหมด ซึ่งผู้รับผิดชอบตรงจะทำหน้าที่ให้ข้อมูล อาทิ นโยบายจากผู้บริหาร ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา และหน่วยสนับสนุนที่สำคัญ

มีเอกสารที่อาจารย์ผู้สอนควรพิจารณาทำความเข้าใจก่อนเปิดภาคการศึกษา อาทิ แผนงานของสถาบัน ปฏิทินการศึกษา ตารางบรรยาย มคอ.3 แบบฟอร์ม ข้อมูลสถิติที่ควรทราบ คู่มือ ประกาศ ระเบียบและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง

มาตรฐานผลการเรียนรู้ (Standards of Learning)

learning output
learning output

มาตรฐานผลการเรียนรู้ (Domains of Learning หรือ Standards of Learning) มีทั้งหมด 5 ด้าน คือ 1) คุณธรรม จริยธรรม 2) ความรู้ 3) ทักษะทางปัญญา 4) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ทุกสถาบันการศึกษาจะ ประกาศมาตรฐานผลการเรียนรู้กลาง ที่เป็นคุณลักษณะของบัณฑิตของสถาบัน จากนั้นแต่ละหลักสูตรจะนำไปปรับให้เป็นมาตรฐานการผลการเรียนรู้ของแต่ละหลักสูตร มักจะมีการเพิ่มเติมมาตรฐานผลการเรียนรู้จากมาตรฐานกลาง เพื่อให้สอดรับกับคุณลักษณะของบัณฑิตในแต่ละหลักสูตร

http://www.fish.ku.ac.th/PDF%20EDU/m7.pdf
http://www.academic.nu.ac.th/content_view.php?n_id=42

http://wiki.edu.chula.ac.th/groups/a3394/wiki/17820/

ได้คำถามมาว่าทำอย่างไรให้องค์กรอยู่รอด

business plan
business plan

คำถามที่ธนาคารมักใช้ถามผู้ลงทุนหน้าใหม่ คือ ทำอย่างไรให้องค์กรอยู่รอด แล้วคำตอบก็ออกมา เป็นได้หลายมุมมอง ขึ้นกับบริบทขององค์กรในปัจจุบัน
1. จัดทำ Biz plan ซึ่งมีรายละเอียดอ้างอิงมาจาก คู่มือเขียนแผนธุรกิจอย่างง่ายสำหรับผู้ประกอบการ หัวข้อสำคัญที่ต้องหาคำตอบ คือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เขียนแผนการตลาด แผนการผลิตและดำเนินงาน แผนการบริหารทรัพยากรบุคคล แผนการเงิน เป็นต้น
2. เพื่อแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมายที่จะตอบว่าองค์กรจะอยู่รอดได้อย่างไร  แล้วจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการระยะยาว และระยะสั้น ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย
3. เพื่อพัฒนา จัดทำวิสัยทัศน์ แผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ แผนพัฒนาที่สมเหตุสมผล และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ถ้าไม่มีวิสัยทัศน์ ทุกคนก็จะไม่มีจุดร่วมให้เริ่มต้น และทำงานอย่างไร้ทิศทาง
http://www.1loveshopping.net/books-store/product/?p=174