แผนผังการใช้งานระบบฐานข้อมูลประเมินตนเอง

แผนผังแสดงการใช้งานระบบฐานข้อมูลประเมินตนเอง

 10 พ.ค.53 หลายปีก่อนจำได้ว่าเขียนแผนภาพแสดงขั้นตอนการจัดการแฟ้ม เพื่อส่งเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง โดยใช้วงจร PDCA เพื่ออธิบายให้เพื่อนร่วมงานได้เข้าใจ แล้วเข้าไปใช้งานระบบเพื่อประเมินตนเองได้ง่าย มีวันที่สร้างติดอยู่ใน diagram นี้ด้วย คือวันที่ 7 มีนาคม 2551 แล้วก็จัดกิจกรรมมาแล้ว 2 ปี ๆ ละหลายครั้ง ซึ่งเป็นการใช้งานระบบที่ไม่ซับซ้อนเลย ปีนี้คือปี 2553 ก็มีแผนจัดอบรมอีกแล้ว แต่เป็นระดับบุคคล ก็จะใช้เวทีของการวิพากษ์ระบบฐานข้อมูลเป็นอีกเวทีหนึ่งในการนำเสนอเรื่องนี้ และจะนำภาพนี้เข้าไปไว้ในคู่มือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยลัยด้วย
+ http://www.thaiall.com/sar/sar_flow50.gif

ร่าง แผนที่ยุทธศาสตร์ ปีการศึกษา 2553

strategy map ยกร่างโดย อ.ทันฉลอง รุ่งวิทู

5 เม.ย.53 แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map) คือ แผนภาพที่จะใช้แสดงทิศทาง การเชื่อมโยงแต่ละเป้าหมายขององค์กรและการพัฒนาในแต่ละด้านอย่างเป็นรูปธรรม  เป็นเครื่องมือสื่อสาร และถ่ายทอดกลยุทธ์ไปสู่คนในองค์กรให้มีเข้าใจชัดเจน ตรงกัน และเป็นรูปธรรม
     เมื่อวันที่ 2 เม.ย.53 อ.ทันฉลอง รุ่งวิทู เป็นผู้ยกร่าง Strategy map ของมหาวิทยาลัยโยนกและจัดอบรมการเขียนแผนปฏิบัติการ โดยแผนที่ยุทธศาสตร์นี้แบ่งยุทธศาสตร์เป็น 2 กรอบคือ กรอบยุทธศาสตร์ตามพันธกิจ และกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การ โดยเชื่อมโยงกับมิติ 4 ด้านคือ 1) การพัฒนาบุคลากร 2) การบริหารจัดการ 3) คุณภาพการให้บริการ 4) ประสิทธิผลตามพันธกิจ ซึ่งสอดรับกับที่ไปอ่านพบว่า Professor  Robert  Kaplan และ Dr.David Norton ได้เสนอในวารสาร Harvard Business Review  ปี 1992 ว่าการประเมินองค์การควรมี 4 ด้านคือ 1) มิติด้านการเงิน (Financial Perspective) 2) มิติด้านลูกค้า (Customer Perspective) 3) มิติด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective) 4) มิติด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective)
+ http://www.thaiall.com/swot
+ http://www.naewna.com/news.asp?ID=86939 (ประวัติ อ.ทันฉลอง รุ่งวิทู)

แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy map)

ระบบการปรับปรุงรายงานขาดลาสายออนไลน์

22 ม.ค.53 วัตถุประสงค์ของระบบคือ ปรับปรุงข้อมูลที่ใช้รายงานจำนวนวันและชั่วโมง ที่บุคลากร ขาด ลา และสาย ให้บริการแก่บุคลากร หัวหน้างาน และผู้บริหาร ให้เป็นข้อมูลอ้างอิงที่สรุปภาพรวมของแต่ละเดือน กลไกที่รับผิดชอบในการดำเนินการตามระบบ คือ บุคากรที่หัวหน้างานทรัพยากรบุคคลมอบหมายให้ดำเนินการมีหน้าที่ดำเนินการทุกสิ้นเดือน และทำไปพร้อมกับการจัดทำรายงานการขาดลาสายของบุคลากรเสนอต่อผู้บริหาร
     มีขั้นตอนดังนี้ ๑) จัดทำรายงานการขาดลาสายของบุคลากรเสนอต่อผู้บริหาร แล้วบันทึกข้อมูลด้วย MS Excel ๒) เปิดแฟ้มข้อมูลต้นแบบ ๔ แฟ้มในเครื่องของตนเอง คือ ๒.๑ แฟ้มข้อมูลบุคลากร (empl.csv) ๒.๒ แฟ้มข้อมูลการขาดลาของเจ้าหน้าที่ (leavework_officer.csv) ๒.๓ แฟ้มข้อมูลการขาดลาของพนักงาน (leavework_empl.csv) ๒.๔ แฟ้มข้อมูลการขาดลาของอาจารย์ (leavework_ajarn.csv) แล้วปรับปรุงข้อมูลด้วยการเพิ่มข้อมูลเดือนใหม่ หรือเพิ่มลบบุคลากร ๓) เข้าสู่ระบบ e-document ของมหาวิทยาลัยในห้อง person ๔) upload แฟ้มทั้ง ๔ ที่มีรูปแบบเป็น CSV ๕) เข้าระบบอินทราเน็ตตรวจสอบการปรับปรุงว่ามีการรายงานข้อมูลการขาดลาสายถูกต้องหรือไม่ ๖) แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ

ระบบหรือขั้นตอนการปรับปรุงผลการเรียนออนไลน์

ตัวย่างแฟ้ม csv ที่เปิดด้วย excel

22 ม.ค.53 นำขั้นตอนเดิมที่เผยแพร่เมื่อ 25 พ.ย.2552 มาปรับปรุง และประชาสัมพันธ์ให้เกิดการคิดต่อในการเขียนระบบและขั้นตอนของงานหน่วยอื่นต่อไป โดยมีรายละเอียดใหม่ดังนี้ วัตถุประสงค์ของระบบคือ ปรับปรุงข้อมูลผลการเรียนของนักศึกษา ที่ให้บริการแก่นักศึกษาตรวจผลการเรียนด้วยตนเองผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ให้เป็นข้อมูลล่าสุดหลังจากคณะวิชาส่งผลการเรียนทุกสิ้นภาคการศึกษา กลไกที่รับผิดชอบในการดำเนินการตามระบบ คือ บุคลากรที่หัวหน้างานทะเบียนมอบหมายให้ดำเนินการมีหน้าที่ดำเนินการทุกสิ้นภาคการศึกษา และหลังเปิดภาคเรียนไปแล้วประมาณ ๓ สัปดาห์
     มีขั้นตอนดังนี้ ๑) งานทะเบียนรับผลการเรียนจากอาจารย์ผู้สอนในแต่ละคณะวิชา ๒) ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล แล้วกรอกข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล ๓) เลือกส่งออกข้อมูลที่จำเป็นไปเป็นแฟ้มข้อมูลเฉพาะเรื่อง ได้แก่ แฟ้มผลการเรียน แฟ้มอาจารย์ และแฟ้มวิชา ให้อยู่ในแฟ้มที่มีรูปแบบเป็น CSV ๔) เข้าสู่ระบบ e-document ของมหาวิทยาลัยในห้อง grade ๕) upload แฟ้มผลการเรียนเฉพาะเรื่องที่มีรูปแบบเป็น CSV สำหรับแฟ้มผลการเรียนให้แยกเป็นภาคเรียนละ ๑ แฟ้ม ๖) สั่งปรับปรุงข้อมูลในเครื่อง yn1 โดยใช้ข้อมูลจากเครื่อง it ให้มีข้อมูลตรงกัน โดยมีตัวอย่าง URL ดังนี้ http://yn1.yonok.ac.th/grade/_regist20083.php ๗) ตรวจสอบผลการปรับปรุงว่านักศึกษาได้ข้อมูลผลการเรียนล่าสุดของตนหรือไม่ จาก URL ดังนี้ http://www.yonok.ac.th/grade ๘) ประชาสัมพันธ์ให้คณะวิชา และนักศึกษาได้รับทราบ

นิยามศัพท์เฉพาะ ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล

13 ธ.ค.52 ปีการศึกษานี้เริ่มการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล ซึ่งหลายท่านไม่ทราบนิยามศัพท์ของคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจึงได้จัดทำ นิยามศัพท์เฉพาะ ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล โดยรับความอนุเคราะห์เรียบเรียงจาก อ.วิเชพ ใจบุญ และ อ.เกศริน อินเทลา  และเผยแพร่ให้ทุกคณะ และหน่วยงานได้รับทราบผ่านบันทึก งทส. ๔๑/๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดดังนี้
     ๑. ระบบฐานข้อมูล (Database System) คือ การรวมและจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันเข้าด้วยกัน (Integration) โดยมีการจัดกลุ่มข้อมูลให้อยู่ในรูปตาราง (Grouping) ที่สามารถเชื่อมโยงตารางทั้งหมดเข้าหากัน(Sharing) เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บ (Non Redundancy) ไม่มีความขัดแย้งของข้อมูล (Inconsistency) และมีความคงสภาพของข้อมูล (Integrity)
     ๒. ข้อมูล (Data) คือ ค่าของความจริงที่ปรากฏขึ้น โดยค่าความจริงที่ได้จะนำมาจัดการ ปรับแต่งหรือประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
     ๓. สารสนเทศ (Information) คือ กลุ่มของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลตามกฎเกณฑ์ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นมีความหมายและมีประโยชน์ตามความต้องการของผู้ใช้
     ๔. ระบบ (System) คือ สิ่งที่ประกอบขึ้นมาจากหน่วยย่อยหรือองค์ประกอบย่อย ที่มีความสัมพันธ์และทำหน้าที่ร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
    ๕. ระบบ (System) มีความหมายอธิบายในคู่มือของ สกอ. (พ.ค.52) หน้า 222
ระบบ (System) ประกอบด้วย 1)วัตถุประสงค์ (Objective) 2)ปัจจัยนำเข้า (Input) 3)กระบวนการ (Process) และ 4)ผลผลิต (Output) แต่ในการประเมินตามคู่มือของ สกอ. คำว่าระบบ จะเน้นที่กระบวนการ หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะปรากฎให้ทราบโดยทั่วกันไม่ว่าจะในรูปของเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือโดยวิธีการอื่น ๆ
     ๖. ระบบและกลไก มีความหมายอธิบายในคู่มือของ สกอ. (พ.ค.52) หน้า 162
     ระบบและกลไก คือ ขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยบุคลากร ทรัพยากร กฎเกณฑ์ มาตรการ แนวปฏิบัติ และปัจจัยต่าง ๆ เป็นกลไกให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย

เรียบเรียงโดย อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ระบบและกลไก ประเมินระบบฐานข้อมูล 3 ด้าน

14 พ.ย.52 คำว่าระบบในความหมายด้านการประกันคุณภาพ ได้รับคำอธิบายอย่างมุ่งมั่นตั้งใจอยู่บ่อยครั้งจาก อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ ผอ.สำนักประกันคุณภาพ พบว่ามีตัวบ่งชี้หนึ่งที่ต้องมีการประเมินอย่างน้อย 3 ด้าน ผมจึงใช้ความรู้ที่ได้มาจากท่าน มายกร่างระบบสำหรับงานนี้ ซึ่งมีอยู่ 9 ข้อ และมี กลไกแรก คือคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูล กลไกที่สอง คือตัวแทนอาจารย์คณะวิทย์ฯ ได้แก่ อ.วิเชพ ใจบุญ อ.เกศริน  อินเพลา อ.ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น มาเป็นผู้เชี่ยวชาญ กลไกที่สาม คือผู้พัฒนาได้แก่ นายอนุชิต ยอดใจยา และนายธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ และ กระบวนการจัดตั้งคณะกรรมการ มีอีก 4 ขั้นตอน คือ 1)หนังสือขอตัวแทนจากหน่วยงาน 2)ทบทวนรายชื่อคณะกรรมการ 3)ขออนุมัติท่านอธิการ 4)ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการ
     ระบบการประเมินฯ มีขั้นตอนดังนี้ 1)ขออนุมัติโครงการ “ประเมินประสิทธิภาพ ความปลอดภัยของระบบฐานข้อมูล และความพึงพอใจของผู้ใช้ฐานข้อมูล2)มีกระบวนการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่มาจากเกี่ยว ข้องทุกด้าน 3)ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลมหาวิทยาลัยโยนก 4)แจ้งให้กับเจ้าของระบบฐานข้อมูลทราบและเตรียมรับการประเมินใน ๓ ด้าน 5)ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อพิจารณาแบบประเมิน และกำหนดสายการประเมิน 6)ดำเนินการประเมินทั้ง ๓ ด้าน 7)รายงานผลการประเมินต่อเจ้าของระบบฐานข้อมูลและเปิดให้มีการส่งหลักฐานเพิ่มเติม 8)ประชุมพิจารณาผลการประเมินโดยคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลร่วมและเจ้าของระบบฐานข้อมูล เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาต่อไป 9)จัดทำรายงานสรุปผล ซึ่งระบบฯนี้ได้ส่งให้เจ้าของระบบฐานข้อมูลทราบตามขั้นตอนที่ 4 แล้ว ส่วนคณะกรรมการจะทำงานหลังประกาศฯ ถูกเผยแพร่อย่างเป็นทางการ .. บางขั้นตอนยังไม่เรียบร้อย แต่งานต้องเดินต่อไป

ประเมินคุณภาพ กับระบบและกลไก

 
kington business school
kington business school

28 ส.ค.52 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รับการประเมินคุณภาพการศึกษา การดำเนินงานในปีการศึกษา 2551 เมื่อวัน 19 และ 20 สิงหาคม 2552 กรรมการประเมินนำโดย รศ.ปราโมทย์ ทิพย์ดวงตา อ.คนึงสุข นันทชมภู และ คุณอังคณา เนตรรัศมี มีข้อเสนอแนะมากมาย โดยเฉพาะเรื่องระบบและกลไก ที่กรรมการให้ข้อเสนอแนะว่าต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ต้องมีแผน ความหมายของ ระบบ คือ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง  เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ  ส่วนกลไก คือ สิ่งที่ทำให้ระบบมีการขับเคลื่อน หรือดำเนินอยู่ได้ โดยมีการจัดสรรทรัพยากร  มีการจัดองค์กร หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลให้เป็นผู้ดำเนินงาน  สรุปผลการประเมินในปีนี้ต่างกับปี 2551 ที่เกิดการจัดกการความรู้ในการนำเสนอผลการประเมินอย่างไม่เป็นทางการ โดยมีท่านอธิการเป็นประธานรับฟังผลการประเมินร่วมกับคณะ และมีหลายคณะวิชาเข้าร่วมรับฟัง  เพื่อให้เกิดบทเรียนในการทำงาน และนำไปสู่การพัฒนาเป็นลำดับต่อไป
     ขอเล่าประสบการณ์ ก่อนรับการประเมิน เรื่องระบบและกลไก ที่ผมมีโอกาสประชุมกับทีมพัฒนาหลักสูตร  เมื่อวันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2552 เป็นหลักสูตรร่วมของโยนกกับ Kington Business School, Pattaya  โดยตัวแทนของ KBS คือ ดร.นิมิตร ใคร้วานิช ก่อนการประชุม ผมได้รับมอบหมายให้เขียน ระบบการลงทะเบียนออนไลน์ โดยมีโจทย์ว่า “นักเรียนต้องผ่าน KBS เรียบร้อยแล้ว จึงจะลงทะเบียนออนไลน์ได้” แม้จะขัดกับความรู้สึกและทฤษฏี แต่ผมก็ยกร่างระบบหรือกระบวนการไว้ดังนี้ 1)นักเรียนสมัครเรียนกับ KBS แล้วได้เอกสาร ข้อมูลจนครบ 2)นักเรียนเปิดเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยโยนกแล้วกรอกข้อมูล 3)นักเรียนได้ข้อมูลจากเว็บไซต์ เกี่ยวกับวิชา ตารางเรียน ยอดเงิน วิธีการชำระเงิน และขั้นตอนอีกครั้ง 4)นักเรียนไปชำระเงิน อาจเป็นตู้เอทีเอ็ม หรือโอนเงินผ่านธนาคาร หรือวิธีอื่นใด 5)นำหลักฐานการโอนเงินมาส่งข้อมูลเข้าอินเทอร์เน็ตให้สถาบันรับทราบ 6)สถาบันส่งข้อมูลกลับไปให้นักเรียนทางอีเมล หรือนักเรียนกลับมาตรวจสอบสถานะอีกครั้ง  7)นักเรียนเข้าเรียนตามวิชาที่กำหนดในตารางเรียน
     เมื่อมีการประชุมพิจารณายกร่างระบบดังกล่าว คุณเรณู อินทะวงศ์ ได้ชวนแลกเปลี่ยนว่า ในศูนย์ต่าง ๆ ของเราใช้ระบบ one stop service คือ มีระบบที่จบภายในศูนย์  สะดวก รวดเร็ว ควบคุมได้ ผ่านกลไกของผู้ดูแล และระบบเอกสารที่มีขั้นตอนชัดเจนตรวจสอบได้ ซึ่ง ดร.นิมิตร ก็เห็นด้วย และเลือกแบบ one stop service แทนการเพิ่มไอทีมาเป็นภาระแก่นักศึกษา เมื่อผ่านขั้นตอนการลงทะเบียนและชำระเงินเรียบร้อยก็ส่งเอกสาร และโอนเงินเข้าสถาบัน  เพื่อตรวจสอบตามระบบและกลไกที่มีในสำนักทะเบียน สำนักวิชาการ และสำนักการเงิน ในการดำเนินการ .. ต่อจากนี้ก็คาดว่า จะมีคนยกร่างระบบและกลไกที่เหมาะสมเป็นลายลักษณ์อักษร  แต่หากจะให้ผมช่วยยกร่างให้ก็ยินดี เพียงแต่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดต้องกำหนดให้ผมว่าอะไรเป็นอะไรในรายละเอียดทั้งหมดเท่านั้นเอง

ระบบและกลไก คืออะไร

พบนิยามศัพท์ คำว่า ระบบและกลไก
ใน คู่มือการประกันคุณภาพภายใน ระดับอุดมศึกษา ปี 2553 และ ปี 2557
ได้นิยามไว้เหมือนกัน
สกอ. ย้ายโดเมน ! http://www.mua.go.th/users/bhes/
DATA%20BHES2558/upload%20file%20IQA/
iqa%20manual2557.pdf

https://www.thaiall.com/iqa/handbook_mua57ed3.pdf

ระบบ (System) หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง  เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะต้องปรากฎให้ทราบโดยทั่วกันไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยวิธีการอื่น ๆ องค์ประกอบของระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ
ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน

กลไก (Mechanism) หมายถึง สิ่งที่ทำให้ระบบมีการขับเคลื่อนหรือดำเนินอยู่ได้ โดยมีการจัดสรรทรัพยากร มีการจัดองค์การ หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลเป็นผู้ดำเนินงาน

กระบวนการ (Process) หมายถึง กิจกรรมที่ดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนของแต่ละหน่วย และประสานกันเป็นลำดับภายในระบบ เช่น กระบวนการออกข้อสอบ กระบวนการพิมพ์ข้อสอบ กระบวนการสอบสัมภาษณ์ กระบวนการสอบข้อเขียน กระบวนการประกาศผล กระบวนการปฐมนิเทศ ซึ่งทั้งหมดอยู่ในระบบรับนักศึกษา

ระบบ และกลไก

nccit.net system
ตัวอย่างของระบบ

ตัวอย่างระบบ ที่มีองค์ประกอบ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ

! http://rd.vru.ac.th/pdf/announcement_fund/Fund/01.pdf

ขั้นตอนการดำเนินงานการขอยืมเครื่องมือจากศูนย์เครื่องมือฯ

! http://www.coop.sut.ac.th/index.php?sec=tool&vdo=2

ระบบและกลไกงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ระบบและกลไกงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

! http://ethics.knc.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=81&Itemid=54

เมื่อ 11 มีนาคม 2558 ได้มีโอกาสพูดคุย เรื่องระบบและกลไก ในเกณฑ์ประกันคุณภาพภายใน ของสกอ. ปี 2557 ที่มีถึง 7 ระบบในระดับหลักสูตร ที่ต้องดำเนินการ และมีหลักฐานว่าได้นำระบบไปสู่การปฏิบัติ กับ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ อ.ธวัชชัย แสนชมภู คุณสาธิจิตต์ นกจันทร์ และคุณเรณู อินทะวงศ์ หลังพูดคุย ผมยกร่างกรอบการเขียนระบบ  (Framework of System) ที่แสดงการเชื่อมโยงของ input – process – output – feedback ไว้ดังนี้

framework ของ system

http://www.thaiall.com/pptx/system.pptx
http://www.thaiall.com/iqa

มีโอกาสได้ฟังคำชี้แจงเรื่อง นิยมศัพท์ของ ระบบและกลไก เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552
โดยคุณเพชรี สุวรรณเลิศ สำนักประกันคุณภาพ ในที่ประชุมผู้บริหารครั้งที่ 9/2552
ตามเอกสารหมายเลข 2 ซึ่งเพิ่มเติมจากคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2551
ระบบ (System) ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ (Objective) ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output)
ตัวอย่างที่ 1 ระบบการผลิตบัณฑิตในแต่ละหลักสูตร
วัตถุประสงค์ การผลิตบัณฑิตตามหลักสูตร
ปัจจัยนำเข้า รับนักศึกษาใหม่ตามหลักสูตร
กระบวนการ การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร ..
ผลผลิต บัณฑิตสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
ตัวอย่างที่ 2 ระบบการจัดทำรายงานผลการเรียนทุกสิ้นภาคการศึกษา
วัตถุประสงค์
การจัดทำรายงานผลการเรียนสิ้นภาคการศึกษา
ปัจจัยนำเข้า อาจารย์ส่งผลการเรียนให้สำนักทะเบียน
กระบวนการ ประมวลผลผลการเรียนตามสูตร และนโยบายของผู้บริหาร …
ผลผลิต พิมพ์รายงานผลการเรียนเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน

แต่ในการประเมินตามคู่มือของ สกอ. คำว่า ระบบ (System) จะเน้นที่กระบวนการ
หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะต้องปรากฎให้ทราบโดยทั่วกัน ไม่ว่าจะในรูปของเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยวิธีการอื่น ๆ องค์ประกอบของระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ
ตัวอย่าง ระบบการจัดทำรายงานผลการเรียนทุกสิ้นภาคการศึกษา
1. รับข้อมูลผลการเรียนจากอาจารย์ผู้สอน หรือคณะวิชาหลังสอบปลายภาค 2 สัปดาห์
2. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ และตรวจสอบความถูกต้อง
3. ประมวลผลตามเงื่อนไขตามหลักสูตร และนโยบาย
4. ตรวจสอบผลการประมวลผลในรายละเอียด และในภาพรวม
5. จัดทำรายงานแยกคณะ แยกประเภท แยกกลุ่มนักศึกษา
6. ส่งรายงาน และประกาศให้ผู้เกี่ยวข้องตามลำดับ และเวลา

กลไก (Mechanism) หมายถึง สิ่งที่ทำให้ระบบมีการขับเคลื่อนหรือดำเนินอยู่ได้ โดยมีการจัดสรรทรัพยากร มีการจัดองค์กร หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลให้เป็นผู้ดำเนินงาน เช่น การแต่งตั้งผู้รับผิดชอบมาดำเนินการ ควบคุมกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนงาน โดยมีรายงานการประชุมคณะทำงาน รายงานผลการดำเนินการ การประเมินระบบ และสรุปผลการดำเนินงานตามระบบที่กำหนดไว้

ระบบของกระบวนการเทคโนโลยี

แผนผังการทำงานเชิงระบบของกระบวนการเทคโนโลยี
1. ข้อมูล (input)
เช่น ปัญหา/ความต้องการ
รวบรวมข้อมูล/หาวิธีแก้ปัญหา
เลือกวิธีการ
2. กระบวนการ (process)
เช่น ออกแบบ/ปฏิบัติการ
3. ผลลัพธ์ (output)
เช่น ทดสอบ
ปรับปรุงแก้ไข
ประเมินผล
ผลสัมฤทธิ์ของงาน
ชิ้นงาน
ผลิตภัณฑ์
4. ข้อมูลย้อนกลับ (feedback)
จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน “การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 หน้า 104

โดย เพ็ญพร ประมวลสุข – มนตรี สมไร่ขิง – วรรณี วงศ์พานิชย์ – ศิริรัตน์ ฉัตรศิขรินทร