18 ก.ย.52 คุณเรณู อินทวงศ์ แจ้งว่าส่งต่อ (forward) แฟ้มแนบ 7 MB เข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ คุณอนุชิต ยอดใจยา ได้ทดสอบ พบว่า แฟ้มที่ขนาดไม่ถึง 5 MB ส่งได้ ถ้าสูงกว่า 5 MB จะส่งไม่เข้า และเด้งกลับไป hotmail.com ในเวลาอันสั้น จึงดำเนินการค้นหาข้อมูล และทดสอบในหลายกรณีดังนี้ 1)พบว่า Windows Live Hotmail ไม่ได้รองรับการแนบไฟล์บางประเภท ทำให้ผู้รับอีเมลจะไม่สามารถดาวน์โหลดหรือเปิดสิ่งที่แนบได้ แฟ้มที่อนุญาต เช่น .zip .rar .doc เป็นต้น ส่วนแฟ้มที่ไม่อนุญาต เช่น .asp .bas .bat .mdb .mde .tmp .url .vb .vbe .vbs .exe เป็นต้น ถ้าพยายามแนบแฟ้มจาก hotmail.com จะพบคำว่า “เพื่อรักษาความปลอดภัยของคุณและความปลอดภัยของบุคคลอื่น คุณไม่สามารถแนบไฟล์ที่มีนามสกุลนี้” 2)ขนาดแฟ้มแนบต่อครั้งมิใช่ต่อแฟ้ม มีขนาดสูงสุดไม่เกิน 10 MB 3)ทดสอบส่งอีเมลขนาด 7 MB จาก hotmail.com ของคุณเรณู ถึงมหาวิทยาลัย พบข้อความว่า “Delivery Status Notification (Failure)” ตอบมาจาก postmaster@mail.hotmail.com เมื่อค้นหาจาก google.com พบมากกว่า 1 ล้านเว็บเพจ เมื่ออ่านในแฟ้มที่แนบกลับมาคือแฟ้ม ATT00001 พบคำว่า “Size greater than allowed by Remote Host” จึงมั่นใจว่าปัญหาอยู่ที่ Remote Host หรือเครื่องของผมเอง 4)ผมเข้าไปตรวจสอบ postfix ด้วย postconf -n แสดงค่าที่ config และ postconf -d แสดงค่าปริยาย จึงได้ข้อสรุปจากการทดสอบว่า ต้องแก้แฟ้ม /etc/postfix/main.conf โดยเพิ่ม message_size_limit = 51000000 เพื่อขยายการรับต่อฉบับเป็น 50 MB แม้ค่าปริยายของ message_size_limit = 10240000 ก็ไม่มีผล จึงรับขนาด 7 MB ไม่ได้ในตอนแรก สรุปว่า Forward แฟ้ม 7 MB จาก hotmail.com เข้ามหาวิทยาลัยได้แล้วแต่ผลการทดสอบมี delay นิดหน่อย
Category: เทคโนโลยีรอบตัวเรา
ทดสอบหลังใช้ @platinumcyber

17 ก.ย.52 ทดสอบความเร็วกับ totisp.net หรือ YONOK ให้ผลไม่ต่างกัน เพราะอยู่ในประเทศไทยเหมือนกัน พบว่า Download เป็น 1512 Kbps และ Upload เป็น 425 Kbps นี่เป็นการทดสอบหลัง Upgrade เป็น @platinumcyber ซึ่งเจ้าหน้าที่บอกว่า ถ้าได้ 3 Mbps มีค่าบริการ 590 บาทต่อเดือน แต่ถ้าไม่ได้ให้มาติดต่ออีกครั้งจะเสีย 490 บาทต่อเดือนสำหรับ 2 Mbps ผลทดสอบคาดว่าระยะของบ้านผมอาจไม่อยู่ในรัศมีบริการของ 3 Mbps ก็ได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องน่าห่วง เมื่อก่อนใช้ Modem ก็ยังมีชีวิตอยู่ได้บนความเร็ว 56 Kbps แล้วนี่ปาไปตั้ง 1500 Kbps ทำไมจะต้องมีปัญหาด้วยนะ ทดสอบอย่าง video.sanook.com หรือ video.mthai.com หรือ movie.kapook.com ก็เร็วเหมือนดูภาพยนต์เลย เช่น Clip ประเภท HD ก็เปิดได้ปกติ ไม่ประสบปัญหาใดใด แต่ทดสอบกับต่างประเทศ คือ Hongkong พบว่า Download เป็น 60 Kbps และ Upload เป็น 40 Kbps ซึ่งเป็นผลการทดสอบตามปกติ ตั้งแต่ตอนทดสอบกับความเร็ว 1 Mbps ที่ผมมีอยู่เดิม คิดจะแก้ปัญหาด้วยการหา Proxy ซึ่งเป็นช่องทางออกต่างประเทศที่เร็ว ๆ หน่อย ก็หาไม่พบ เพราะคงไม่มีใครใจดียอมให้ใช้เป็นช่องทางออกต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่มีเงื่อนไขใดใดเป็นแน่
+ http://www.totisp.net
ทดสอบ bestcyber ก่อนใช้ platinumcyber

15 ก.ย.52 ได้รับจดหมายจาก tot ว่าสามารถ upgrade speed internet ที่บ้าน จาก 1Mbps/512Kbps เป็น 3 Mbps/512Kbps แต่จ่าย 590 บาท เท่าเดิม แต่ถ้าบ้านไม่อยู่ในรัศมี ก็จะลดเหลือ 490 บาทที่ความเร็ว 2Mbps/512Kbps ก่อน upgrade จาก @bestcyber เป็น @platinumcyber โดยมี user และ password เป็นเบอร์บ้าน 9 หลัก จึงใช้ speedtest.net เมื่อวันที่ 15 ก.ย.52 ทดสอบความเร็วก่อนผล การ upgrade จะมีผล คือ 1)ทดสอบความเร็วกับเครื่องบริการ 2 เครื่องในประเทศ ซึ่งผลการทดสอบใกล้เคียงกันพบว่า download 0.88Mbps และ upload 0.43Mbps (Suksonhost.com) 2)การทดสอบกับ Malasia 2 ครั้ง พบว่า Download 50 Kbps และ Upload 80 Kbps (Vdslnetwork.com) 3)การทดสอบกับ DC พบว่า Download 60 Kbps และ Upload 90 Kbps (speedtest.net)
ลบปุ่มบันทึกจาก phpbb
14 ก.ย.52 ระบบเว็บบอร์ด phpbb ได้รับความนิยมอย่างมากในโลกไซเบอร์ มาวันนี้คุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ ทีมงานสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศเลือกใช้ phpbb3 เพื่อบริการเว็บบอร์ดในมหาวิทยาลัย (อีกครั้ง) ซึ่งเป็นระบบที่สำนักงานจังหวัดฯ เคยติดตั้งเมื่อหลายปีก่อนเช่นกัน และผมติดตั้ง pnphpbb2 ใน thaiabc.com ตั้งแต่วันที่ 16 มิ.ย.48 ซึ่งตอนนั้นผมเลือกใช้เป็นส่วน plug-in ใน postnuke ส่วนรุ่นใหม่คือ phpbb3 ใน thaiabc.com นั้นมีตั้งแต่วันที่ 5 ม.ค.51 มาวันนี้พบว่าผู้ใช้มีปัญหาการเลือกกดปุ่มระหว่าง บันทึก กับ ตั้งกระทู้ หากกดปุ่ม บันทึก ก็จะกลายเป็นกระทู้ฉบับร่าง หากจะนำมาตั้งเป็นกระทู้ ก็จะมีขั้นตอนที่ซับซ้อน จึงตัดสินใจยกเลิกปุ่มนี้ออกไป
วิธีการลบปุ่มบันทึก เริ่มจากก็นั่งหาแบบมองด้วยตาเปล่าในระบบแก้ template ของ phpbb3 กับคุณ bank แต่มองไม่เห็น จึงต้องใช้วิธีกดปุ่มตั้งกระทู้ และ view source จนพบคำว่า save แล้วใช้ search ของ windows หาคำว่า save ใน folder phpbb3 ของ thaiabc.com พบในแฟ้ม posting_editor.html บรรทัดที่ 184 แล้วก็ลบทั้งบรรทัด บรรทัดที่ลบคือ <!– IF S_SAVE_ALLOWED –> <input type=”submit” accesskey=”k” tabindex=”8″ name=”save” value=”{L_SAVE}” /> <!– ENDIF –>
เพียงเท่านี้ก็ไม่ต้องเกรงว่าผู้ใช้มือใหม่จะกดปุ่ม บันทึก แล้วไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร แล้วโทรมาถามกันบ่อย ๆ หรือไม่ก็บอกว่าระบบผิดพลาดแล้วบ่นอยู่ในใจคนเดียว สิ่งที่ทีมงานเกรงว่าจะเกิดขึ้นก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน แต่ปัญหาที่ hotmail.com เปลี่ยนนโยบายเรื่อง security ขอให้กรอก captcha บ่อย ๆ ผู้ใช้ก็มาบอกว่าเป็นความผิดพลาดของระบบอีเมลมหาวิทยาลัย ผมก็ถึงกับอึ้งว่า .. ทุกสาเหตุของปัญหามาจากสำนักไอทีหรือนี่ ก็คงเป็นหน้าที่ที่ทีมงานต้องช่วยกันวิเคราะห์ความเสี่ยง และหามาตรการป้องกันในแต่ละปัจจัยเสียงกันไปให้ครบเท่าที่จะสามารถทำได้
ป.4 เขียนโปรแกรม
7 ก.ย.52 ถ้ามีคนพูดว่านักเรียน ป.4 เขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน หลายคนก็คงบอกว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ที่โรงเรียนอนุบาลลำปาง (เขลางค์รัตน์อนุสรณ์) เริ่มสอนนักเรียนวาดรูปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ชั้น ป.1 เมื่อมีพื้นฐานการใช้แป้นพิมพ์ เมาส์ การใช้เมนูบาร์ ไฟล์เมเนเจอร์ การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การคัดลอกข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาทำรายงานส่งครู การวาดรูปด้วยไมโครซอฟท์เพนท์ แล้วก็สอนการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก้ (Logo Writer) ในชั้น ป.4
การเขียนโปรแกรมนั้นเปรียบเสมือนการเขียนขั้นตอนหรือระบบหรือกระบวนการ ซึ่งพบว่าสอดคล้องกับงานประกันคุณภาพการศึกษาที่ อาจารย์ศศิวิมล แรงสิงห์ มหาวิทยาลัยโยนก จัดให้มีการวิพากษ์รายงานการประเมินตนเองทั้งในระดับคณะวิชาและระดับมหาวิทยาลัย โดยผู้เกี่ยวข้องมาร่วมพิจารณาความสมเหตุสมผลของหลักฐานประกอบเกณฑ์มาตรฐานในตัวบ่งชี้แต่ละข้อ และพบว่าสิ่งแรกที่ต้องทำในหลายตัวบ่งชี้คือการมีระบบ ดังนั้นการปูพื้นฐานการคิดของนักเรียนอย่างเป็นระบบและมีขั้นตอนตั้งแต่ระดับประถม จะทำให้เยาวชนของชาติมีคุณภาพและเข้าใจหลักข้อแรกของการทำงานเมื่อโตขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ระบบประกันคุณภาพการศึกษาที่จัดให้มีขึ้นในสถาบันการศึกษาทุกระดับดังเช่นตัวอย่างข้างต้น ที่ต้องเริ่มต้นการทำงานด้วยการเขียนระบบหรือขั้นตอนการทำงานเป็นลายลักษณ์อักษรและเผยแพร่ให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน
เนื้อหาการเรียนการเขียนโปรแกรมของนักเรียน ป.4 เริ่มต้นจาก 1)การสอนให้พวกเขาอ่านโจทย์ให้เข้าใจ แล้ววางแผนแก้ปัญหาจากโจทย์หรือตัวบ่งชี้ความสำเร็จที่กำหนดอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน ถ้านักเรียนคนใดอ่านโจทย์แล้วไม่เข้าใจไม่สามารถกำหนดขั้นตอนการทำงานได้ก็คงล้มเหลวที่จะทำตัวบ่งชี้นั้นสำเร็จลงได้ ถ้าวางแผนได้อย่างเป็นระบบก็จะ 2)เข้าสู่ขั้นตอนการลงมือปฏิบัติ 3)พร้อมการตรวจสอบและแก้ไขในทันที เมื่อพบข้อผิดพลาด 4)หากทำได้แล้วก็จะเรียนรู้ประเด็นปัญหาใหม่ วางแผนแก้ปัญหาใหม่ ดำเนินการและแก้ไข อย่างนี้เรื่อยไป ตามวงจร PDCA (Plan Do Check Action) เมื่อเรียนต่อไปในชั้นประถม 5 และ 6 ต้องเรียนไมโครซอฟท์เวิร์ด เอ็กเซล เขียนเว็บเพจ ตัดต่อวีดีโอหรือจัดทำสื่อมัลติมีเดียจากกรณีศึกษาในชุมชน เป็นต้น นี่เป็นภาพที่ผู้ปกครองของนักเรียนคนหนึ่งมองเห็น กิจกรรมการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นในโรงเรียนนี้
+ http://www.thaiall.com/logo/logowr.zip
+ http://www.dosbox.com
การเขียนซีดีที่ป้องกันการคัดลอก

30 ส.ค.52 ทดสอบสร้างแผ่น CD ที่ป้องกันการคัดลอกด้วยการเพิ่มขนาดแฟ้มให้ใหญ่เกินจริง โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1)โปรแกรม Nero แล้วเลือก ทำ CD ข้อมูล, Add แฟ้มที่ต้องการ 2)สั่ง Burn ผ่าน Image Recorder เช่น myfile.iso 3)โปรแกรม TZ Copy Protection รุ่น 1.54 (comdlg32.ocx) 4)คลิ๊ก Viewer เลือกเปิดแฟ้ม myfile.iso 5)คลิ๊กแฟ้มที่ต้องการปรับขนาดหลอกเครื่องอ่านซีดี เช่น แฟ้ม clip.jpg หรือแฟ้มอื่น แล้วคลิ๊ก Step 3 บนเมนูบาร์ มีผลให้ขนาดแฟ้มที่เลือกเป็น 2 GB หรือ 2147483647 Byte 6)เสร็จสิ้นการปรับแต่งแล้ว คลิ๊กปุ่ม Make Cue บนเมนูบาร์ จะได้แฟ้ม myfile.cue 69 Byte และแฟ้ม myfile.iso ได้ถูกปรับไปแล้ว 7)ใช้ Ultraiso เปิดแฟ้ม myfile.iso พบว่าขนาดของแฟ้มถูกเปลี่ยนไปแล้ว 8)ใช้ Nero Express สั่งเขียน CD จาก image file พบว่าซีดีที่ได้มีแฟ้มที่ถูกปรับขนาด เช่น clip.jpg มีขนาด 2 GB 9)ใช้ Nero สั่งคัดลอก CD ที่ได้ลงใน Image Recorder จะได้ image file ชื่อ image.nrg 10)แฟ้ม .nrg ที่ได้แม้มีขนาดไม่กี่ MB แต่ไม่อาจเขียนลง CD ขนาด 700 MB ซึ่งเป็นผลจากการใช้โปรแกรม TZ Copy Protection หลอกให้เครื่องเขียนซีดี มองแฟ้มที่ถูกปรับขนาด ว่ามีขนาดใหญ่เกินจะเขียนลงซีดีได้
แหล่งอ้างอิง
+ http://xirbit.com/html/articles/protectcd.html
+ http://wave.prohosting.com/tzcp/files.html
+ http://tzcopyprotection.tk/
+ http://my.opera.com/abysscross/blog/show.dml/517165
+ http://www.afreeocx.com/ocx/info/comdlg32_ocx.html
คัดลอกซีดีที่ป้องกันการคัดลอก

30 ส.ค.52 สมมติว่าเพื่อนร่วมงานท่านหนึ่งทำแผ่นซีดีข้อมูลที่ป้องกันการคัดลอกซีดี แล้วเพื่อนท่านนั้นก็จากไปก่อนวัยทำงานอันควร แต่หน่วยงานต้องการนำแผ่นข้อมูลต้นฉบับไปคัดลอก เพื่อสำรองหรือใช้หลายเครื่อง จะใช้ Nero หรือ CloneCD ก็คัดลอกแผ่นไม่สำเร็จ เนื่องจาก พยายามคัดลอกแล้ว พบว่า 1) แผ่นซีดีที่ได้มานั้นเป็นแผ่นที่ว่างเปล่า 2) อีกกรณีคือเขียนแผ่นซีดีที่ป้องกันการคัดลอกไปเป็น .nrg หรือ .iso แล้วใช้ ImageDrive ของ nero หรือ Daemon-Tools อ่านในแบบ Virtual CD Drive ก็ไม่สำเร็จ ผลที่ได้คือมองเห็น Drive นั้นว่างเปล่าเช่นเดิม เหมือนกับอ่านจากแผ่นคัดลอก จากการค้นข้อมูลจากเน็ต พบวิธีแก้ไข 2 ขั้นตอน ด้วยโปรแกรม Ultraiso คือ 1) Make CD/DVD Image 2) Burn CD/DVD Image
การแก้ปัญหาและนำไปใช้ทำได้ 2 กรณี 1)ใช้ Make CD/DVD Image ของ Ultraiso เพื่ออ่านซีดีแล้วเขียน image เป็นแฟ้ม .iso จากนั้น ก็ใช้โปรแกรม ImageDrive อ่านแฟ้มที่ได้เป็น Virtual CD ได้ตามปกติ ทำให้ผมคัดลอกซีดีที่ป้องกันการคัดลอก มาเป็น image file แล้วเรียกใช้ได้ในภายหลังโดยไม่ต้องใส่แผ่นซีดีทุกครั้ง 2)ใช้ Burn CD/DVD Image ของ Ultraiso เพื่อเขียนซีดีจากแฟ้ม image ที่ได้จากวิธีข้างต้น ทำให้ได้แผ่นซีดีที่ป้องกันการคัดลอกเพิ่มขึ้น นำไปใช้กับเครื่องใดก็ได้ โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมประเภท Virtual CD
สิ่งที่พบในซีดีที่ป้องกันการคัดลอก คือ ขนาดแฟ้มบางแฟ้มที่อาจถูกใช้ หรือไม่ถูกใช้งานมีขนาดใหญ่เกินจริง ทำให้โปรแกรมอ่านเขียนซีดีทั่วไปไม่สามารถดำเนินการกับแผ่นเหล่านั้นได้ มีแผ่นข้อมูลแผ่นหนึ่งพบขนาดรวมทั้งแผ่น อ่านด้วยโปรแกรม UltraISO มี 4 GB แต่มี 2 แฟ้มที่มีขนาดแฟ้มละ 2 GB เมื่อลบทั้ง 2 แฟ้มขนาดโดยรวมจะเหลือเพียง 70 MB เมื่อเขียนแฟ้ม .iso ที่ลบแฟ้มหลอกทั้ง 2 แฟ้มลงไปในแผ่น CD ก็พบว่านำแผ่นที่ได้ไปใช้งานได้ตามปกติ ในกรณีที่ทั้ง 2 แฟ้มนั้นไม่ถูกเรียกใช้งานโดยโปรแกรมใดใด
ตรวจการติด Black List หลังพบปัญหา

27 ส.ค.52 วันนี้ตรวจสอบ queue ของ smtp server พบว่ามี mail ค้างกว่าหมื่นฉบับ ตรวจพบว่าผู้ส่งคือสมาชิกในองค์กรของเรา แต่เขาไม่น่าจะเป็นผู้ส่งเมลขนาดนี้ เมื่อตรวจในรายละเอียดก็พบว่าส่งจาก squirrelmail ซึ่งเป็น webbased mail และก็พบว่าการส่งนั้นมาจาก webbased mail ที่ถูก hack แม้จะใช้ ssl กรองด่านแรกแล้ว แต่ spam bot ก็ยังเจาะตรงเข้าไปได้ พบว่ามี user หลายคนมีพฤติกรรมเช่นนี้ สิ่งที่เหมือนกันของผู้เป็นเหยื่อ spam bot คือกำหนดรหัสผ่านที่เหมือนกับรหัสผู้ใช้ ซึ่งเป็นข้อบกพร่องที่ผมปล่อยให้เกิดขึ้นมาหลายปี และไม่ได้กำชับให้ทุกฝ่ายเข้าใจ คาดว่า spam bot มุ่งเจาะเข้าจุดอ่อนใน squirrelmail และการกำหนดรหัสของผู้ใช้ที่หละหลวม จึงทำการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
เมื่อเกิดปัญหาแล้ว ก็ตามไปดูว่า ผลของปัญหาดังกล่าวมีปฏิกิริยาลูกโซ่สู่ภายนอกหรือไม่ ด้วยการตรวจว่า smtp server ตัวใหม่ของเราติด black list อีกแล้วหรือไม่ 1)ตรวจกับ spamhaus.org พบว่ามี 7 IP ที่ติดในบริการของ cat.net.th แต่เราไม่ติดในบัญชีดำชุดนี้ 2)ตรวจกับ find-ip-address.org แล้วพบว่าเราไม่ติด 3)ตรวจกับ mxtoolbox.com ซึ่งส่ง ip ไปตรวจใน 111 เครื่องบริการ พบว่า smtp ทั้งสองเครื่องติดใน 5 เครื่องบริการคือ 3.1)sorbs.net/lookup.shtml (ขอ delist) 3.2)barracudacentral.org/rbl (remove request) 3.3)spamrats.com (Removal) 3.4)wpbl.info (Remove Record) 3.5)uceprotect.net (?)
วิธีแก้ไข ที่ดำเนินการคือ 1)หยุดการส่ง spam จากเครื่องของเรา และตรวจสอบอยู่เสมอ 2)ขอแก้ไขกับผู้ให้บริการขึ้นบัญชี black list ทีละราย ซึ่งทำไปกับ 4 รายแล้ว 3)เปลี่ยนเครื่องบริการ smtp และต้องดูแลไม่ให้เกิดขึ้นอีก
แหล่งอ้างอิง
+ http://www.blacklistalert.org
+ http://mxtoolbox.com/blacklists.aspx
+ http://www.find-ip-address.org
+ http://www.spamhaus.org/sbl/index.lasso
+ http://whatismyipaddress.com
bluetooth access point and router

23 ส.ค.52 ปัจจุบัน Notebook รุ่นใหม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้หลายช่องทาง เช่น 1)Bluetooth สามารถเชื่อมต่อกับโทรศัพท์ แล้วใช้สำหรับ Dial เพื่อสร้างการเชื่อมต่อ เช่นเดียวกับ 2) การใช้สาย Data Link หรือ 3) การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย Wireless Lan ตามมาตรฐาน IEEE802.11 บนคลื่นวิทยุที่ความถี่ 2.4 GHz เพราะผมพบคุณสมบัตินี้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นักศึกษาซื้อใหม่ จึงศึกษาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต แล้วนำมาเล่าสู่กันฟัง
ความนิยมในการใช้ Bluetooth สูงขึ้น อุปกรณ์มากมายรองรับการเชื่อมต่อแบบนี้ เช่น printer, pda, computer หรือ phone ทำให้มีการพัฒนา 4) Bluetooth Access Point เพื่อรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน Bluetooth Adapter เพิ่มขึ้นอีกช่องทางหนึ่ง แต่ ADSL Access Point and Router ที่รองรับ Bluetooth พร้อมกันได้ 7 อุปกรณ์ ความเร็วสูงสุด 723 kbps เช่น Billionton APBTC1G, MSP100 Access point, BT-AP1 ยังมีราคาสูงกว่ารุ่นที่รองรับ Wireless Lan หลายเท่า แล้วรุ่นที่จะรองรับทั้ง Bluetooth และ Wireless ได้พร้อมกันในอุปกรณ์ตัวเดียวกัน ก็คงต้องมีราคาสูงขึ้นไปอีก
ที่แน่แน่ คือ บ้านผมยังใช้ ADSL Router ผ่าน 5) UTP ที่แถมมาจาก TOT ทำ Home Network และยังไม่เสีย จึงยังไม่มีแผนซื้อ ADSL Router ตัวใหม่เข้าบ้าน สักวันหนึ่งถ้าอุปกรณ์เสีย ก็อาจมีรุ่นที่รองรับทุกอย่างได้และมีราคาสมเหตุสมผลออกมาจำหน่ายแล้ว .. แล้วผมก็จะพิจารณาอีกครั้งเมื่อวันนั้นมาถึง
แหล่งอ้างอิง
+ http://www.buycoms.com
+ http://www.kanda.com/serial-wireless.html
+ http://www.sena.com
+ http://www.usbmax.com
+ http://bluegiga.com/as/current/doc/html/c2034.html
+ http://www.psism.com/bt-ap1.htm
+ http://www.thaicert.org/paper/wireless/IEEE80211_1.php
แก้ปัญหา dnscache, caretwidth และ virus alert
21 ส.ค.52 สัปดาห์นี้ แก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ระดับบุคคลให้เพื่อน 3 กรณี แต่ทุกปัญหาผมแค่เข้าไปแก้ผล โดยไม่มีเวลาไปหาเหตุของปัญหา เพื่อแก้ไขที่ต้นเหตุอย่างจริงจัง เพียงแต่วิเคราะห์ปัญหาแล้วแก้ไขไม่ให้ปัญหานั้นเกิดขึ้น ก็ถือว่าเสร็จในระดับที่พอใจแล้ว มีดังนี้ 1) เครื่องหัวหน้า ติดต่อ symantec.com เพื่อ update antivirus ไม่ได้ ตรวจแล้วพบว่า ping เข้า www.symantec.com ไม่ตอบไอพีเลย ส่วนเครื่องในเครือข่ายก็ ping ได้หมด ในเครื่องก็ ping ไปเว็บไซต์อื่นได้หมด วิธีแก้ไขคือสั่ง DOS>net stop dnscache ก็สามารถติดต่อกับ symantec.com ได้ปกติ 2) เครื่องเรณู มีขนาด Cursor ใหญ่มาก ทำให้ใช้งานหลายกรณีไม่สะดวก แก้ไขด้วยการเข้า regedit ปรับ CaretWidth จาก 17 เป็น 1 ใน HKCU, Control Panel, Desktop อาจเกิดจากไวรัส หรือการปรับ theme ผิดพลาดก็ได้ 3) เครื่องนิตยา Antivirus Alert ว่ามีแฟ้มใน c:\autorun.inf ตลอดเวลา เข้าใจว่าไวรัสถูกทำลาย แต่มี Alert ขึ้นมาแจ้ง อาจเป็นเรื่องของ message เท่านั้น แต่ผมแก้ไขด้วยการสร้าง folder ชื่อ autorun.inf ใน drive c แล้วกำหนด attrib เป็น -h -r -s -a เป็นผลให้ไม่มีการ Alert มาให้รำคาญใจอีก
การแก้ปัญหา สำหรับวิธีที่ 1 กับ 2 ต้องค้นข้อมูลจาก internet แล้วทดสอบว่าแก้ปัญหาได้หรือไม่ ส่วนเรื่อง virus ใช้ความรู้เดิมและแก้ไขไปตามอาการที่เห็น ไม่ได้ใช้เครื่องมือจากภายนอก คาดว่าไวรัสยังอยู่ในเครื่อง แต่ไม่แสดงอาการหรือไวรัสไม่สามารถทำงานจนจบขั้นตอนก็ได้ สำหรับผมก็ถือว่าสำเร็จในระดับที่พอใจแล้ว