เด็ก จับฉลาก แพะตาย แต่ต้องคืนเงินค่าฉลากทั้งหมด

risk about goat
risk about goat

เรื่องน่าคิด ของ ดช.ปัญญา กับ ชาวนา และแพะ 1 ตัว
เค้าว่าเป็น forward mail และเป็นเรื่องแต่ง
ต้นฉบับอ่านได้จากลิงค์ด้านล่าง
.. เหมาะกับ การเล่าให้ผู้ประกอบการฟัง และ สอนเรื่องคุณธรรมจริยธรรม

http://www.ranthong.com/smf/index.php?topic=22925.0 28 สิงหาคม 2552
https://www.gotoknow.org/posts/251779 25 มีนาคม 2552
+ http://lib.edu.chula.ac.th/cuappl/libedu2007/lib_talk/aspboard_Question.asp?GID=72 15 ธันวาคม 2551
+ http://www.vitara4x4.com/webboard/show.php?Category=all&No=5093 8 ตุลาคม 2551
+ http://jumkesinee.blogspot.com/2011/04/blog-post_14.html 14 เมษายน 2554
เรื่องราวจาก forward mail เนื้อหาเดิมที่ส่งต่อ และชื่นชม ดช.ปัญญา

เรื่องราวเดิมที่แชร์กัน เกี่ยวกับ ดช.ปัญญา

ดช.ปัญญา เป็นเด็กที่เกิดในเมืองแต่ย้ายไปอยู่ในชนบท
วันหนึ่งไปซื้อแพะจากชาวนาในราคา 1000 บาท
ซึ่งชาวนายินดีที่จะส่งมอบแพะในวันรุ่งขึ้น

พอวันรุ่งขึ้น
ชาวนาก็ไปหา ดช.ปัญญา
แล้วบอกว่า “ข่าวร้ายหนูเพราะแพะเพิ่งตายไปเมื่อคืนที่แล้วเอง
ดช.ปัญญา ก็บอกว่า “ไม่เป็นไรถ้าเช่นนั้นคืนเงินให้ผมก็แล้วกัน
โอ เสียใจด้วยจริงๆ แต่ฉันใช้เงินนั่นไปหมดแล้ว” ชาวนาพูดด้วยสีหน้าเศร้า ๆ
ไม่เป็นไร ถ้างั้นเอาแพะตัวนั้นมาให้ฉัน
หนูจะเอาแพะตายไปทำอะไร
(หมู่บ้านนี้จะฝังแพะที่ตายเอง ไม่นำมากิน)
” ชาวนาถามด้วยความฉงน
ฉันจะเอาไปจับฉลากขาย
จะไปจับฉลากแพะที่ตายได้อย่างไร ใครจะไปซื้อ
ได้ซิ คอยดูละกัน
จากนั้นชาวนาก็มอบแพะที่ตายให้ดช.ปัญญาไป

หนึ่งเดือนผ่านไป
ชาวนาพบกับดช.ปัญญาจึงถามว่าตกลงเอาแพะที่ตายไปทำอะไร
ฉันก็ทำฉลาก 500 ใบ ขายใบละ 10 บาท
แล้วบอกว่าใครดวงดีจับฉลากได้ก็ได้แพะไปเลย 1 ตัว

ฉันได้เงินมา 5000 บาท ได้กำไรหลังจากหักที่จ่ายให้ลุงชาวนาไปแล้ว 3990 บาท

เงียบไปแป๊ปนึง
แล้วไม่มีคนโวยวายหรือ (เพราะแพะตายแล้ว)” ชาวนาถามด้วยความสงสัย
ก็มี มีคนเดียวคือคนที่จับฉลากได้ และฉันก็แค่คืนเงินค่าฉลากจำนวน 10 บาทให้คนๆนั้นไป
ในเรื่องบอกว่า ดช.ปัญญาต่อมาเติบโตและเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างมาก

 

เรื่องราวแต่งใหม่ ที่อาจเป็นจริงในปัจจุบัน กับชาวนาผู้ซื่อสัตย์

ดช.ปัญญา เป็นเด็กที่เกิดในเมืองแต่ย้ายไปอยู่ในชนบท
วันหนึ่งไปซื้อแพะจากชาวนาในราคา 1000 บาท
ซึ่งชาวนายินดีที่จะส่งมอบแพะในวันรุ่งขึ้น

พอวันรุ่งขึ้น
ชาวนาก็ไปหา ดช.ปัญญา
แล้วบอกว่า “ข่าวร้ายหนูเพราะแพะเพิ่งตายไปเมื่อคืนที่แล้วเอง
ดช.ปัญญา ก็บอกว่า “ไม่เป็นไรถ้าเช่นนั้นคืนเงินให้ผมก็แล้วกัน
โอ เสียใจด้วยจริง ๆ แต่ฉันใช้เงินนั่นไปหมดแล้ว” ชาวนาพูดด้วยสีหน้าเศร้า ๆ
ไม่เป็นไร ถ้างั้นเอาแพะตัวนั้นมาให้ฉัน
หนูจะเอาแพะตายไปทำอะไร
(หมู่บ้านนี้จะฝังแพะที่ตายเอง ไม่นำมากิน)
” ชาวนาถามด้วยความฉงน
ฉันจะเอาไปจับฉลากขาย
จะไปจับฉลากแพะที่ตายได้อย่างไร ใครจะไปซื้อ
ได้ซิ คอยดูละกัน
จากนั้นชาวนาก็มอบแพะที่ตายให้ดช.ปัญญาไป

หนึ่งเดือนผ่านไป
ชาวนาพบกับดช.ปัญญาจึงถามว่าตกลงเอาแพะที่ตายไปทำอะไร
ฉันก็ทำฉลาก 500 ใบ ขายใบละ 10 บาท
แล้วบอกว่าใครดวงดีจับฉลากได้ก็ได้แพะไปเลย 1 ตัว
(โดยไม่บอกใครว่าแพะตายแล้ว)

ฉันได้เงินมา 5000 บาท ได้กำไรหลังจากหักที่จ่ายให้ลุงชาวนาไปแล้ว 3990 บาท

เงียบไปแป๊ปนึง
แล้วไม่มีคนโวยวายหรือ (เพราะแพะตายแล้ว)” ชาวนาถามด้วยความสงสัย
ก็มี .. มีคนเดียวคือคนที่จับฉลากได้
และฉันก็แค่คืนเงินค่าฉลากจำนวน 10 บาทให้คน ๆ นั้นไป

ดช.ปัญญา เงียบไปอีกแป๊ปนึง
แล้วเล่าต่อว่า “คนที่ได้ตังคืน 10 บาท
กลับไปบอกเพื่อน ๆ ที่ซื้อฉลากไปอีก 499 ใบ
ว่าแพะที่ ดช.ปัญญา เอามาประกาศตายก่อนหน้านั้นแล้ว
พอพวกแม่ค้า พ่อค้า ชาวไร่ ชาวนา รู้ความจริงเข้า
เค้าก็มาเข้าแถว .. ขอเงินค่าฉลากคืนกันหมด

งั้นเอ็งก็ไม่มีเงินเหลือที่ได้จากฉลากเลยสิ
ไม่เป็นไรหรอก .. ข้าเก็บเงินได้มากพอ เอามาคืนให้เอ็งแล้ว
เอ้านี้ 1200 บาท ข้าคืนให้พร้อมดอกเบี้ย
” ชาวนาพูดพร้อมยื่นเงินให้
ในเรื่องบอกว่า ชาวนาเป็นคนซื่อสัตย์
ต่อมาก็ค้าขายกลายเป็นเศรษฐีใจบุญผู้ซื่อสัตย์ มีความสุข และพอเพียง

 

นั่งมองหน้าแรกของ google.com

google homepage
google homepage

1. วันนี้ดูหน้าแรกของ google.com
แล้วรู้สึกว่าบริษัท google ออกแบบหน้าแรกได้เรียบง่ายมาก
ประกอบกับได้พูดคุยกับเพื่อน เรื่อง scratch ที่รู้สึกว่าง่าย
ในการผ่าน 20 ด่านของ angry bird ที่เป็นเกมสำหรับเด็ก

https://studio.code.org/hoc/1
2. กลับมาดู google.com อีกครั้ง
คราวนี้ views source
พบว่าหน้าตาที่ดูว่างเปล่า กลับอัดแน่นด้วย javascript
ภาษาวัยรุ่นคงใช้คำว่า “จัดเต็ม

3. ภาพนี้ใช้เตือนสติ
ว่า ถ้าจะเขียนโปรแกรมใช้งานจริง
จะใช้หลักแบบ scratch ของ MIT หรือ blockly ของ Google
คงไม่สะดวก ที่จะเก็บรายละเอียด
ในระหว่างพัฒนาโปรแกรมได้หมด
เพราะมีรายละเอียดที่ต้องดำเนินการมากไป

4. หน้าแรกมี 343 บรรทัด
ดูแล้วบรรทัดที่ 341 จะยาวอยู่สักหน่อย
จากการ view source เมื่อ 12 ก.ย.59

i belive i can fly

คลิ๊ปนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับเพลง i belive i can fly
แปลเป็นไทยว่า ฉันเชื่อว่าฉันบินได้

ผมจะทำคลิ๊ปตัวอย่างให้นักศึกษาดูการตัดพื้นสีเขียว
ด้วย proshow producer
ก็ถ่ายคลิ๊ปตนเองลุกนั่ง ลุกนั่ง กับฉากที่เตรียมไว้อย่างง่าย ๆ
แล้วก็นำมาสร้างเรื่อง ว่ากำลังบิน

 

ขั้นตอนตามภาพนิ่งด้านหลังคลิ๊ป

1. เข้า Layer Setting
insert layer
ก็เริ่มจากการนำภาพนิ่ง กับคลิ๊ปมาต่อกันเป็น 2 layer
เข้า slide ด้วย double click
แล้วก็เลือก add layer
แต่ละ layer สามารถลด หรือขยายได้ หรือหมุนได้
2. เข้า Layer Setting
มีหลายบริการ เช่น Trim + Sync Time + Speed + Zoom
คลิ๊ปอาจยาวไป ก็เลือก trim ตัดหัวท้าย
จากนั้นก็ต้องปรับเวลาให้ตรงกับขนาดของคลิ๊ป
เลือกปรับความเร็วให้เร็วขึ้น หรือช้าลงได้
3. เข้า adjustments
มีตัวเลือก Chroma key เข้าไปเลือกสีที่จะลบออก
และปรับตัวเลือกด้านล่าง ขยายพื้นที่การลบออกได้ตามต้องการ
แล้วยังเลือก crop ให้ได้คลิ๊ปขนาดเท่าที่ต้องการได้
4. เข้า Effect
ในแต่ละคลิ๊ปเลือกให้วัตถุเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปอีกจุดได้
5. กลับสู่หน้าหลัก
เปลี่ยนตัวเลือกในการเปลี่ยนสไลด์ด้วย transition
หรือจะปรับเวลาของแต่ละ slide ก็ทำได้เลย

 

 

ตู้อาหารหยอดเหรียญ สำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

foodied ตู้อาหารหยอดเหรียญ สำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกสบาย
foodied ตู้อาหารหยอดเหรียญ สำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกสบาย

ตู้อาหารหยอดเหรียญ มาสนองความต้องการของมนุษย์เหมือนตู้อื่นอีกมากมาย
อยากทานอะไรก็ไปเลือกตามรายการที่ตู้
ใส่เงินเข้าไป กดปุ่ม แล้วอาหารก็ออกมาให้เราทานจนอิ่ม
สนองความต้องการที่เป็นปัจจัย 4 ของมนุษย์
หลักก็คล้ายกับตู้เอทีเอ็ม ตู้จำหน่ายตั๋วรถ ตู้น้ำอัดลม ตู้น้ำดื่ม ตู้จ่ายค่าสาธารณูปโภค
มีตู้หยอดเหรียญจำหน่ายอื่น ๆ ที่ http://www.lionvending.com/

พบคลิ๊ปประชาสัมพันธ์มิติใหม่ของอาหารกล่องแช่แข็ง CP ผ่านตู้หยอดเหรียญ Foodie:D
เริ่มจำหน่ายในอาคารสำนักงาน และในมหาวิทยาลัย เพราะมีความต้องการสูง
http://hilight.kapook.com/view/141555

ในยุคดิจิทัล ตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่เห็นชอบเมื่อ 5 เม.ย.59
http://www.thaiall.com/digitalcommunity

ที่เป็นปัจจัยสำคัญนำพาประเทศไปสู่ Thailand 4.0 ได้อย่างรวดเร็ว
ที่ผ่านมา ประเทศไทย 1.0 เน้นภาคการเกษตร
ประเทศไทย 2.0 เน้นอุตสาหกรรมเบา
ประเทศไทย 3.0 เน้นอุตสาหกรรมหนัก
แล้ว ประเทศไทย 4.0 เราจะปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ
ไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
https://www.facebook.com/DigitalNativeLive/posts/578087365695391

สำหรับผมแล้ว
คิดว่าเราจะได้เห็นการพัฒนามากมายที่มี 2 หัวหอกทะลวงฟัน
เปิดทางให้เศรษฐกิจใหม่ 4.0 เข้าไปแทนที่เศรษฐกิจแบบดั่งเดิมทั้งหมด
คือ Startup และ IoT (Internet of Things)
http://www.thaiall.com/mis/startup.htm
http://www.thaiall.com/iot/

การเรียนรู้ในระบบเปิดสำหรับมหาชน (itinlife567)

thai mooc
thai mooc

มีโอกาสฟังบรรยายเรื่อง ไทยมุก หรือ โครงการพัฒนาระบบการเรียนการสอนออนไลน์ ระบบเปิดสำหรับมหาชน (Thai MOOC = Massive Open Online Course) ที่ รศ.ดร.ฐาปนีย์ ธรรมเมธา ผอ.มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย และสอนแบบ Live ไปยังผู้เรียนวิชาไอทีเพื่อการศึกษาผ่านระบบไทยมุกที่สอนโดย รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ซึ่งระบบนี้สามารถสอนนักเรียนได้จำนวนมากนับพันพร้อมกัน และการพัฒนาการศึกษาด้วยไทยมุกปรากฎในแผนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีนิยามว่า ไทยมุก คือ บริการการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ที่ผู้เรียนจำนวนมาก สามารถเรียนได้แบบทุกที่ ทุกเวลา (และส่วนใหญ่ไม่มีค่าใช้จ่าย) โดยมีทั้งสื่อวิดิโอ หนังสือ แบบฝึกหัด พื้นที่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถือเป็นการปฏิวัติการศึกษาของโลก โดยต่อยอดจากระบบอีเลินนิ่งที่มักเป็นการเรียนแบบกลุ่มจำกัด ไปสู่การเรียนรู้ของมหาชนไม่จำกัด อายุ หรือขอบเขตทางกายภาพ หลักสูตรของ MOOC นี้ อาจเน้นการเรียนในระบบ หรือนอกระบบ หรือตามความสนใจของผู้เรียนได้ทั้งสิ้น

เมื่อค้นคำว่า mooc list ใน google จะพบหลักสูตรมากมายที่เปิดให้เข้าไปเรียนได้ฟรี หรือจะมีค่าใช้จ่ายก็ขึ้นกับนโยบายของแต่ละวิชาที่มาจากแหล่ง MOOC อาทิ edx, coursera, novoEd, Kadenze, Futurelearn จุดเด่นของ MOOC คือ ผู้เรียนเข้าไปเรียนผ่านคลิ๊ปวีดีโอมากกว่า 90% ทำให้แต่ละวิชาสามารถรองรับจำนวนนักเรียนได้มาก สอดรับกับกระแสการใช้โซเชียลมีเดียในไทยที่มียอดเข้า youtube.com เป็นอันดับหนึ่ง การเรียนแบบ MOOC ต่างกับ Blended Learning ที่เป็นการเรียนแบบผสมผสานระหว่างในชั้นเรียนกับเรียนด้วยตนเอง แต่แบบ MOOC นักเรียนเข้าเรียนด้วยตนเองได้นับหมื่นคนพร้อมกัน

มีแนวโน้มว่าประเทศไทยกำลังพัฒนาคลังข้อสอบ ควบคู่ไปกับธนาคารเครดิต ที่รองรับการเรียนผ่าน MOOC ตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หากนักเรียนนักศึกษาลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ การวิจัย เศรษฐศาสตร์ สังคม ภาษาไทย เทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมาย จริยธรรม บัญชี ธุรกิจ การปฐมพยาบาล การเกษตร ดนตรี แล้วเข้าระบบวัดและประเมินที่น่าเชื่อถือจากคลังข้อสอบ แล้วเก็บหน่วยกิตเพื่อการเทียบโอนไปเรียนต่อในแต่ละสถาบัน ก็จะทำให้เยาวชนไทยลดเวลาที่ต้องใช้ชีวิตในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย แต่มีเวลาเรียนรู้ชีวิตนอกห้องเรียนมากขึ้น แนวทางการพัฒนาจะเป็นอย่างไรต้องติดตามนโยบายทางการศึกษาของภาครัฐต่อไป

https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10154391011453895.1073741907.814248894&type=3

พี่ ๆ สอนน้องปี 1 ตัดพื้นหลัง ให้เหลือแต่ตัว

freshman clip
freshman clip

25 ส.ค.59 เห็นคุณเบนซ์ กับคุณเปรม กำลังสอนนักศึกษาตัดต่อคลิ๊ป
ปีนี้จะให้น้องปี 1 ตัดพื้นหลังออก ซ้อนหลาย layer
ผมก็เข้าไปแจมด้วย ลอง import ภาพ .gif เป็น layer ใหม่
เข้าไปเป็นตัวเดินเรื่อง มีหน้าที่เดินอย่างเดียวเลย
แต่ใช้เสียง background จาก youtube.com
แล้วยก tense มาเป็นเนื้อหา ก็ลงตัวนะกับ 50 วินาที
ที่ https://www.youtube.com/watch?v=84-ffOEC90o
ส่วนคลิ๊ปแนะนำตัวของนักศึกษาที่หยิบมาเป็นตัวอย่าง 3 คน
1. ฝ้าย สาขาออกแบบ (571) ที่ตัดพื้นได้ดี

2. กาญจนา สาขาบัญชี (581) ที่แสดงออกได้ดี

3. บุญบง สาขาบริหาร (542) ตัดพื้นออกได้สะอาดดี

ทั้งตำรวจ และขโมยต่างใช้ GPS Tracker ติดตามรถ

gps tracker
gps tracker

หัวหน้าแนนแชร์ข่าว
การประยุกต์ใช้ GPS Tracker ในทางที่ไม่ถูกต้อง
ค้นดู พบว่าน่าสนใจ ก็จะไปเล่าเรื่องการใช้ดิจิทัลในทางที่ผิด
จาก 3,900 บาทเหลือตัวละ 1,890 บาท น่าซื้อมาใช้นะครับ จะได้อุ่นใจ

http://www.ezonemarket.com/product-th-785116-3845886-GPS+Tracker+%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1.html

20 ส.ค.59 การประยุกต์ใช้ GPS Tracker ที่น่าสนใจ
โจรชาย-หญิง ไฮเทคใช้จีพีเอส (GPS Tracker) ช่วยขโมยรถจักรยานยนต์
ตั้งแต่ต้นปี 2559 เป็นต้นมามีรถจักรยานยนต์หายไปกว่า 50 คัน
ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สุดท้ายกล้องวงจรปิดบันทึกไว้ได้
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9590000083292

เล่าข่าวเรื่อง “โจรไฮเทคใช้ GPS Tracker ช่วยขโมยมอเตอร์ไซค์ ในเชียงใหม่ นับร้อยกว่าคัน”
https://www.youtube.com/watch?v=QdqH6x2U5zc

ล้ำยุค! โจรไฮเทคสองผัวเมียใช้ GPS Tracker ติดรถเหยื่อก่อนตามไปขโมย
ทั้งเชียงใหม่โดนไปแล้วเกือบ 100 คัน!!!
http://www.johjae.com/highlight-details.php?item=1247


12 พ.ย.57
ตำรวจใช้ GPS Tracker ล่อโจรขโมยรถมอเตอร์ไซค์ ที่สระบุรี
https://www.youtube.com/watch?v=WMjviLp2ruQ

ขั้นตอนการเพิ่ม admin มาร่วมดูแล Page

เหตุเกิดจาก พี่ปอง ต้องการเพิ่ม editor
ในแฟนเพจชื่อ รักเขลางค์บรรพต
ผมจึง capture หน้าจอขั้นตอน
การเพิ่มบทบาท (Page Roles) ให้กับเพื่อนที่จะเข้ามาดูแล
แต่ละอุปกรณ์จะมีหน้าตาแตกต่างกันไป
นี่ก็เป็นอีกหน้าตาหนึ่ง ที่ได้จาก browser แบบ responsive
https://www.facebook.com/1781988542069386/

รวมภาพการเพิ่ม editor หรือ admin
รวมภาพการเพิ่ม editor หรือ admin

ทุกหน่วยงานที่มีเฟสบุ๊คเพจ หรือแฟนเพจ
ซึ่งเชื่อมโยงงานและกิจกรรม
ที่สะท้อนความมีตัวตนขององค์กรผ่านเพจ
มักมีข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานในองค์กร
ดังนั้น การเพิ่ม editor เข้าไปช่วยกันเขียนแบบ story telling
ในเชิงสร้างสรรค์ที่คำนึงถึงหัวอกผู้อ่าน จึงเป็นสิ่งจำเป็น

https://www.facebook.com/digitalcommunitycenter/photos/?tab=album&album_id=1639571929689268

ขั้นตอนการเพิ่ม admin มาร่วมดูแล Page
หากเพื่อน ๆ ที่มีแฟนเพจใน facebook
และต้องการเพิ่มผู้ดูแล
เพราะมีการแบ่งความรับผิดชอบให้กับเพื่อนท่านอื่น
ผมขอยกตัวอย่าง “รักเขลางค์บรรพต
มีขั้นตอนต่าง ๆ ดังภาพ
ซึ่งในแต่ละอุปกรณ์ก็จะมีปุ่มให้กดต่างกันไปเล็กน้อย

ขั้นที่ 1 คลิ๊ก more
ขั้นที่ 1 คลิ๊ก more
ขั้นที่ 2 คลิ๊ก Page Roles
ขั้นที่ 2 คลิ๊ก Page Roles
ขั้นที่ 3 คลิ๊ก Add People to Page
ขั้นที่ 3 คลิ๊ก Add People to Page
ขั้นที่ 4 เลือกเพิ่มเพื่อนที่จะช่วยดูแลเพจ
ขั้นที่ 4 เลือกเพิ่มเพื่อนที่จะช่วยดูแลเพจ
ขั้นที่ 5 กดปุ่ม Add
ขั้นที่ 5 กดปุ่ม Add
ขั้นที่ 6 เรียบร้อย แต่แก้ไขได้
ขั้นที่ 6 เรียบร้อย แต่แก้ไขได้
ขั้นที่ 7 หากเพิ่มผิดคน ก็ลบออกได้
ขั้นที่ 7 หากเพิ่มผิดคน ก็ลบออกได้

อบรมหลักสูตร ผู้จัดการศูนย์ดิจิตอลชุมชน (ผู้ดูแลศูนย์) และ ผู้อำนวยการศูนย์ดิจิตอลชุมชน

ผู้อำนวยการศูนย์ดิจิตอลชุมชน (ผู้บริหารศูนย์)
ผู้อำนวยการศูนย์ดิจิตอลชุมชน (ผู้บริหารศูนย์)

พบกิจกรรมดี ๆ ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้การสนับสนุน
โดย อาจารย์ว่าที่ร้อยตรีหญิงเพ็ญนภา ปาละปิน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
เป็นแม่งานจัดอบรม 2 หลักสูตร ในภาคเหนือ
1. หลักสูตร ผู้จัดการศูนย์ดิจิตอลชุมชน (ผู้ดูแลศูนย์) วันที่ 22-26 ส.ค. 59
2. หลักสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ดิจิตอลชุมชน (ผู้บริหารศูนย์) วันที่ 22-23 ส.ค. 59
ณ โรงแรมรีเจนท์ ลอด์จ Regent Hotel & Apartments ต.หัวเวียง อ.เมือง จ.ลำปาง
โดย ดร.สมเกียรติ อัญชนา รองนายกเทศมนตรีนครลำปาง
ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงานในหลักสูตรผู้จัดการศูนย์ดิจิตอลชุมชน
แล้วผมก็ทำหน้าที่วิทยาการหัวข้อ “การตลาดในยุคดิจิทัล และการตลาดผ่านสื่อโซเชียล” เป็นเวลา 3 ชั่วโมง
โครงการนี้หลายหลักสูตร ใช้เวลาอบรม 5 วัน มีหัวข้อน่าสนใจ ดังนี้

– แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และการขับเคลื่อนแผนฯ
– แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (Digital Government)
– การจัดตั้งศูนย์ดิจิทัลชุมชน
– การตลาดในยุคดิจิทัล
– การตลาดผ่านสื่อโซเชียล
– แนวทางขับเคลื่อนนโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมระดับชุมชน
– การซื้อขายทางอินเตอร์เน็ตและสื่อดิจิทัล (E-Commerce, E-Market) และ Digital Money
– เนื้อหาดิจิทัล (Digital Content) สร้างสรรค์เนื้อหาบนเว็บไซต์และสื่อต่าง ๆ ให้น่าสนใจ
– การจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลในชุมชน
– การผลิตสื่อดิจิทัล : การผลิต Video Clip
– การผลิตสื่อดิจิทัล : การถ่ายภาพสินค้าและสถานที่ท่องเที่ยว
– การเล่าเรื่องด้วยสื่อดิจิทัล (Digital Storytelling)
– ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับสื่อสังคม และการขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต

ผู้จัดการศูนย์ดิจิตอลชุมชน (ผู้ดูแลศูนย์)
ผู้จัดการศูนย์ดิจิตอลชุมชน (ผู้ดูแลศูนย์)

เอกสารอบรม
– สไลด์เปิดงานของ วิไลลักษณ์ ชุลีวัฒนกุล http://www.totacademy.com/ict/download/doc_train2_3.pdf
– สไลด์ที่ผมใช้เรื่องตลาดดิจิทัลเบื้องต้น https://www.facebook.com/groups/thaiebook/669305873220234/
– เว็บไซต์ที่ใช้เตรียมเนื้อหา http://www.thaiall.com/digitalcommunity/
– เฟสบุ๊คเพจที่ใช้ฝึกอบรม https://www.facebook.com/digitalcommunitycenter/
– แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม http://www.mict.go.th/assets/portals/1/files/590613_4Digital_Economy_Plan-Book.pdf
– แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี พ.ศ. 2559 – 2561 http://cloudfile.mict.go.th/public.php?service=files&t=b1e88505be0a561af887d3dc1e0363df&download
– แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนารายยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการดิจิทัลของหน่วยงาน
โดย รทก.มาลี วงศาโรจน์ http://www.mict.go.th/assets/portals/1/files/590613_3DE_27-5-59-Dr.Malee.pdf
* งานดิจิทัลไทยแลนด์ 2016 http://www.mict.go.th/view/1/Digital%20Economy

ลิงค์แบบฟอร์มสำหรับลงทะเบียนออนไลน์ และรายชื่อศูนย์ในภาคเหนือ 140 ศูนย์
ที่ https://sites.google.com/site/link2mydrive/home/xeksar-kar-khea-xbrm-suny-dicithal-chumchn

วิทยากร
วิทยากร

รายละเอียด และการแลกเปลี่ยนที่
https://www.facebook.com/digitalcommunitycenter/

โครงการศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน
http://www.thaitelecentre.org/