การแก้ปัญหาภาษาไทยใน editplus 3

editplus 3
editplus 3
การแก้ปัญหาภาษาไทยใน editplus 3
เคยใช้ editplus ตั้งแต่เวอร์ชั่น 1 วันนี้เปลี่ยน os เป็น win8
แล้วก็หา editplus 3 มาใช้
พบว่าการพิมพ์ข้อมูลภาษาไทย และ save file ทุกครั้ง
จะมีปัญหาเรื่อง encoding
มีค่า default เป็น ANSI ซึ่งไม่รับภาษาไทย พบ ?? หรือยึกยือบ้าง
แล้วผมก็ไม่ได้ออกแบบเว็บเพจที่ใช้ unicode หรือ utf8 ซะด้วย
ปัญหา คือ จัดเก็บแล้วก็จะฟ้องว่าอาจเก็บไม่สมบูรณ์
จะเปลี่ยนเป็น  unicode หรือ utf8 ผมก็ไม่ชอบ
เพราะขนาดแฟ้ัมจะใหญ่ ของเดิมใช้ plaintext
สรุปว่าในรุ่น 3 นี้ต้องกำหนด default encoding
เป็น thai (windows) 874 จึงจะได้แบบเดิม
คือ text file แบบดั้งเดิม ที่ไม่ต้องเข้ารหัส
ส่วน screen font ผมตั้งเป็น ms sans serif
ถ้าชอบ font อื่นก็ลองหาดูครับ แต่ผมว่าตัวนี้ work แล้ว

ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

impact factor 2555
impact factor 2555

12 มิถุนายน 2557 เพื่อนของผม อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และ อ.จิรศักดิ์ ประทุมรัตน์
ส่งอีเมลพร้อม attach file เป็น excel
ว่ามีการอัพเดทค่า impact factor ของวารสารแต่ละฉบับ
ในแฟ้ม excel สามารถคลิ๊กลิงค์เข้าไปดูรายละเอียดในเว็บไซต์ของ TCI
จึงนำแฟ้มนี้ไปแขวนไว้ในระบบฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยเนชั่น
เพื่อสะดวกในด้านการบริหารจัดการ และสนับสนุนข้อมูลด้านการวิจัยต่อไป
ที่ http://it.nation.ac.th/studentresearch
แล้วนำชื่อวารสารในกลุ่มมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ส่วนหนึ่งมาแบ่งปัน ดังนี้
ที่    ชื่อวารสาร    Journal Title
1    วารสารพฤติกรรมศาสตร์    Journal of Behavioral Science
2    The Journal of Risk Management and Insurance
3    วารสารวิทยาการจัดการ    Journal of Management Sciences
4    วารสารศิลปศาสตร์    Journal of Liberal Arts
5    วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น    UMT-Poly Journal
6    วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง    Journal of Architectural/Planning Research and Studies
7    วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์    Journal of Commerce-Burapha Review
8    หน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย    NAJUA history of architecture Thai architecture
9    วารสารวิธีวิทยาการวิจัย    Journal of Research Methodology
10    วารสารสถาบันพระปกเกล้า    King Prajadhipoks Institute Journal
11    วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา    Journal of Behavioral Science for Development
12    International Journal of Behavioral Science
13    วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์    Nakhon Sawan Rajabhat University Graduate Studies Journal
14    อินฟอร์เมชั่น    Information
15    วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์    Songklanakarin Journal of Social Sciences and Humanities
16    วารสารวิจัย มสด. สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์    SDU Research Journal Social Science and Humanities
17    The Journal : Journal of the Faculty of Arts
18    วารสารพัฒนบริหารศาสตร์    NIDA Development Journal
19    วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    University of the Thai Chamber of Commerce Journal
20    วารสารร่มพฤกษ์    Krirk University Journal
21    วารสารนิด้าภาษาและการสื่อสาร    NIDA Journal of Language and Communication
22    วารสารบริหารธุรกิจ    Journal of Business Administration
23    วารสารอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน    Mekong-Salween Civilization Studies Journal
24    วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม    Journal of Education Mahasarakham University
25    วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์    Kasetsart Journal (Social Sciences)
26    วารสารรัฐประศาสนศาสตร์    Thai Journal of Public Administration
27    Journal of Supply Chain Management Research and Practice
28    วารสารบริหารธุรกิจ นิด้า    NIDA Business Journal
29    วารสารประชากรศาสตร์    Journal of Demography
30    วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์    Journal of Social Sciences and Humanities
31    วารสารบรรณศาสตร์ มศว    Journal of Library and Information Science Srinakharinwirot University
32    จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์    Chulalongkorn Business Review
33    วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ    TLA Research Journal (Thai Library Association)
34    วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี    Journal of Education Prince of Songkla University
35    วารสารวิชาการศาลปกครอง    Administrative Courts Journal
36    วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง    Journal of Mekong Societies
37    Mon-Khmer Studies: A Journal of Southeast Asian Languages and Cultures
38    วารสารนักบริหาร    Executive Journal
39    ศิลปากร    Silpakorn Journal
40    BU Academic Review    BU Academic Review
41    บทบัณฑิตย์
42    วารสารยุโรปศึกษา    Journal of European Studies
43    วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย    Journal of politics, administration and law
44    วารสารกฎหมายปกครอง    Administrative Law Journal
45    วารสารศาลรัฐธรรมนูญ    Constitutional Tribunal Journal
46    วารสารเทคโนโลยีสุรนารี    Suranaree Journal of Social Science
47    วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ    Journal of Social Sciences Srinakharinwirot University
48    Journal of Population and Social Studies
49    กระแสวัฒนธรรม    Cultural Approach
50    จุลนิติ
51    วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย    Quality of Life and Law Journal
52    กระแสอาคเนย์    Southeast current
53    มนุษยศาสตร์สาร    Journal of Human Sciences
54    วารสารสมาคมนักวิจัย    Journal of the Association of Researchers
55    Veridian E-Journal, Silpakorn University
56    วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา    Journal of Yala Rajabhat university
57    วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร    Journal of Education Naresuan University
58    วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร    Silpakorn University Journal
59    วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ    Economics and Public Policy Journal
60    ABAC Journal
61    วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา    Journal of Public Relations and Advertising
62    วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร    MUT Journal of Business Administration
63    วารสารรูสมิแล    RUSAMELAE JOURNAL
64    วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์
65    วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)    Journal of Srinakharinwirot Research and Development
66    วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
67    วารสารวิจัยทางการศึกษา    Journal of Educational Research
68    วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร    Journal of Humanities Naresuan University
69    สักทอง : วารสารสังคมศาสตร์    The Golden Teak : social science journal
70    ดำรงวิชาการ    Damrong : Journal of the Faculty of Archaeology
71    วารสารวิชาชีพบัญชี    Journal of Accounting Professions
72    วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์    Sripatum Review of humanities and social sciences
73    วารสารสุทธิปริทัศน์    Suthiparithat Journal
74    ดุลพาห
75    นิเทศศาสตร์ปริทัศน์
76    วารสารกระบวนการยุติธรรม    Journal of Thai Justice System
77    วารสารการบริหารและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม    Journal of Administration and Development Mahasarakham University
78    วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์    Kasetsart Educational Review
79    วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม    Journal of Educational Measurement Mahasarakham University
80    วารสารศึกษาศาสตร์    Journal of Education
81    วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี    Sripatum Chonburi journal
82    ศิลปวัฒนธรรม    Art and Culture Magazine
83    สารคดี    Sarakadee Magazine

รายชื่อวารสารในฐานข้อมูล TCI 538 รายการ
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/list%20journal.php
รายชื่อวารสารสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 260 รายการ
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/list%20journal.php?branch=S
รายชื่อวารสารสาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ 278 รายการ
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/list%20journal.php?branch=H

ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยเนชั่น
ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยเนชั่น

ไมค์พร้อมหูฟัง ราคาเยาว์ก็ย่อมมี

microphone & headphone
microphone & headphone

ได้ไมค์ (microphone) พร้อมหูฟัง (headphone)
ยี่ห้อ OKER รุ่น OE750 ราคาเพียง 100 บาท
ที่ร้านบอกว่าถ้าไมค์ติดกับสาย ราคาเหลือเพียง 90 บาท
แต่ผมเลือกแบบไมค์ใกล้ปาก น่าจะรับเสียงได้ดีกว่าอยู่ที่สาย

เหตุเพราะต้องการติดต่อสื่อสาร (communication) กับผู้คนแบบสาธารณะ
โดยใช้เสียง (sound) นำสาร (message) ผ่านไปตามคลื่นวิทยุ (radio wave)
มีตัวส่งสัญญาณ (Transmitter) คือสถานีวิทยุ (Radio station)
แล้วมีมนุษย์เป็นผู้ส่ง (sender) มีมนุษย์เช่นกันเป็นผู้รับ (Receiver)
แต่ฝั่งผู้รับก็ต้องมีอุปกรณ์ในการรับสัญญาณคลื่นวิทยุไปแปลงเป็นสัญญาณเสียง
แล้วส่งออกไปยังเครื่องขยายเสียง (speaker)

อุปกรณ์ที่ซื้อมานี้ช่วยบันทึกเสียงผ่านโปรแกรม sound recorder
แล้วบันทึกเสียงเป็นแฟ้มดิจิทอล (digital file) ในแบบ mp3
หากไม่สะดวกไปจัดรายการด้วยเสียงสด ก็ส่งแฟ้มที่บันทึกไว้
ส่งไปให้กับผู้ดูแลสถานีได้ แล้วเปิดให้กับผู้ฟังทั่วไปผ่านโปรแกรม winamp

อุปกรณ์ตัวนี้ ซื้อที่ร้านพาวเวอร์คอมพิวเตอร์ อยู่หลังห้างรุ่งเรืองเฟอร์นิเจอร์
เจ้าของร้านให้เบอร์มา 082-3921269 083-4817213 093-1403894

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.10152464061997272.1073741864.350024507271

ไทยรัฐ ทำสกู๊ปออนไลน์ได้ตรงไปตรงมา โดยเฉพาะเรื่อง โชว์เซ็กซ์

ไทยรัฐทำสกู๊ปออนไลน์ เรื่อง ถอดรหัส FB หล่อ สวย โชว์ เซ็กซ์ ทำไมฟีเวอร์
ไทยรัฐทำสกู๊ปออนไลน์ เรื่อง ถอดรหัส FB หล่อ สวย โชว์ เซ็กซ์ ทำไมฟีเวอร์

พบว่า ไทยรัฐทำสกู๊ปออนไลน์ เรื่อง ถอดรหัส FB หล่อ สวย โชว์ เซ็กซ์ ทำไมฟีเวอร์
คำว่า ฟีเวอร์ (Fever) ในที่นี้น่าจะหมายถึงชื่นชอบมาก หรือคลั่งไคล้
การเรียบเรียงสะท้อนพฤติกรรมของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี

แต่ถ้าผู้ทรงศีลมาอ่านเข้าอาจจะบอกว่าไม่จริงนะ ไม่ใช่มนุษย์ทุกคน
เพราะบางคนหลุดพ้นไปแล้ว

มีระบบแสดงความคิดเห็นว่าชอบเรื่องนี้มากกว่า 50%
ลองกดดู เห็นว่าระบบรับการคลิ๊กของผมหลาย ๆ ครั้งติดต่อกันได้
ทำให้ % เปลี่ยนทุกครั้งต่อคลิ๊ก แสดงว่าคนหนึ่งสามารถทำรัวคลิ๊กได้ด้วย

http://www.thairath.co.th/content/427293

ข้อความข้างล่างนี้จากเว็บไซต์ thairath.co.th ทั้งหมด

“เชื่อมั้ยว่าในปัจจุบันเราเปิดเข้าดูเว็บไซต์เพื่อดูภาพโป๊ ภาพอนาจารน้อยลง ดูหนังโป๊น้อยลง มีผลการวิจัยออกมาว่าการเข้าถึงของเว็บไซต์เพื่อดูรูปโป๊น้อยลง แต่จริงๆ แล้วความต้องการเหล่านั้นมันไม่ได้หายไปเลย” นั่นเป็นเพราะอะไร…” ไทยรัฐออนไลน์” จะพาไปถอดรหัสกับเรื่องราวของความฟีเวอร์ของกระแสแฟนเพจในเฟซบุ๊ก

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก ยิ่งในสังคมเฟซบุ๊กด้วยแล้ว ช่างยิ่งใหญ่กว้างขวางซะเหลือเกิน ถ้าถามว่าวันนึงไม่มีเฟซบุ๊กขึ้นมาจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ก็ได้คำตอบกันไปแล้วในวันที่ 28 พ.ค. ที่ผ่านมา ชาวโซเชียลทั้งหลายแทบจะชักดิ้นชักงอที่ “เฟซบุ๊ก” ในประเทศไทย ไม่สามารถใช้งานได้เป็นเวลานานถึง 40 นาที และนอกจากนี้ไม่ว่าประเทศไทยจะอยู่ในภาวะไหน สังคมเฟซบุ๊กก็จะมีอะไรมาเป็นสีสันให้ได้ฟีเวอร์กันอยู่เสมอ นั่นเป็นเพราะอะไร เราไปหาคำตอบกันเลย

เฟซบุ๊ก เซลฟ์โปรโมต…?

ธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการด้านสื่อ วิเคราะห์ผ่านไทยรัฐออนไลน์ ถึงเหตุผลที่ทำไมเพจต่างๆ โดยเฉพาะจำพวกขายหน้าตา หนุ่มหล่อ สาวสวย เซ็กซี่ ถึงได้รับความนิยมในเฟซบุ๊ก มีคนไลค์เป็นหมื่นเป็นแสน เหตุผลของมันจริงๆ คือ ปัจจุบันได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมขึ้น เชื่อมั้ยว่าในปัจจุบันเราเปิดเข้าดูเว็บไซต์เพื่อดูภาพโป๊ อนาจารน้อยลง ดูหนังโป๊น้อยลง มีผลการวิจัยออกมาว่าการเข้าถึงของเว็บไซต์เพื่อดูรูปโป๊น้อยลง แต่จริงๆ แล้วความต้องการเหล่านั้นมันไม่ได้หายไปเลย แต่เมื่อเกิดโซเชียลมีเดียขึ้น ยกตัวอย่างให้ได้เห็นกันชัดๆ อย่างเช่นเมื่อเกิดเฟซบุ๊กขึ้น ได้ทำให้ใครๆ ก็มีช่องทางโพสต์รูป ระบายเรื่องของตัวเอง แล้วเมื่อคนเปลี่ยนจากการดูภาพลามกในเว็บไซต์ต่างๆ จึงหันมาให้ความสนใจจากคนด้วยกันเอง

ถ้าเราสังเกตคนที่มีจำนวนฟอลโลเวอร์เป็นหมื่นเป็นแสน ส่วนมากจะเป็นพวกผู้หญิงสวย น่ารักๆ และผู้ชายหล่อๆ หุ่นดี มีซิกซ์แพ็ก มันบ่งบอกถึงพฤติกรรมว่าคนเราเริ่มที่จะขายตัวเอง เรียกว่า เซลฟ์โปรโมต คือการทำยังไงให้เราเป็นที่รู้จัก วิธีการที่ง่ายที่สุดในการโปรโมตตัวเองก็คือการโพสต์รูปในลักษณะเย้ายวนทางเพศ วาบหวิว น่ารัก คิขุ อาโนเนะ เพราะว่ามันง่ายที่จำทำให้คนจะรู้จักมากขึ้น ซึ่งต้องบอกไว้เลยว่าการเสพเรื่องเพศในอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องธรรมชาติ พอเราไม่เสพรูปโป๊แบบฉบับเก่าในอินเทอร์เน็ตแล้ว เราจึงต้องมาเสพความสัมพันธ์ของบุคคลที่เราสามารถเข้าถึงได้ง่ายโดยตรง

เปลี่ยนช่องทาง…เสพเรื่องเพศ !

การเห็นรูปคนสวย คนหล่อ หน้าตาน่ารัก เซ็กซี่ วาบหวิว มันก็เป็นการสื่อสาร หรือการเสพในเรื่องเพศตามเดิม เพียงแต่มันไม่ได้อยู่ในลักษะเก่า มันแค่เปลี่ยนรูปแบบไป และรูปแบบที่มันเปลี่ยนไปคือ เราเสพหน้าตาของเขาด้วย แต่เราไม่ได้ดูแค่ภาพ เรายังได้ติดตามชีวิตส่วนตัวของคนคนนั้นด้วย และสัญชาตญาณของมนุษย์ทุกคนล้วนมีการอยากดู อยากรู้ อยากเห็นเรื่องของคนอื่น ยิ่งหน้าเพจเฟซบุ๊กคุณจะสามารถดูเรื่องราวของเขาได้ตลอดเลย ไม่ว่าจะทำอะไร เราก็สามารถเข้าถึงเขาได้ และมีสิทธิอย่างเต็มที่

ถ้าย้อนไปแต่ก่อน คุณจะทำแบบนี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันยิ่งบ่งบอกว่า ในสังคมปัจจุบันมีคนแบบนี้เยอะ มีคนที่ขายตัวเองและตามคนอื่น ด้วยเหตุนี้ก็อาจจะบอกได้ว่าในปัจจุบันการเข้าถึงเรื่องเพศเป็นในลักษณะที่เป็นการติดตามซึ่งกันและกัน คนที่โพสต์ก็จะรู้สึกมีความมั่นใจมากขึ้น ว่าฉันมีคนที่แอบดูตั้งเยอะแหน่ะ ส่วนใหญ่เท่าที่เห็นก็จะเป็นจำพวกเพจผู้หญิงที่มีคนติดตามเยอะ เพราะในเชิงจิตวิทยา เรื่องเพศหญิงจะมีความรู้สึกที่พึงพอใจเมื่อได้ถูกมอง นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมผู้หญิงถึงต้องแต่งตัวสวย

ในเชิงจิตวิทยาบอกไว้ว่า ผู้หญิงจะรูุ้สึกมีคุณค่ามากขึ้นเมื่อเป็นที่หมายปองในลักษณะทางเพศ ส่วนผู้ชายมีความสุขเมื่อได้จ้องมอง นี่เป็นแนวคิดเรื่องสื่อลามก เป็นการตอบสนองเชิงจิตวิทยาในเรื่องเพศ ซึ่งไม่ใช่เรื่องลามกสัปดนอะไร เพราะว่ามันเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจึงกลายเป็นตอนนี้ บุคคลที่เป็นคนธรรมดาก็สามารถมีเสน่ห์ดึงดูดและมีคนที่ติดตามเราได้ง่ายขึ้น เป็นเรียลลิตี้ขึ้น แล้วก็ลึกมากขึ้น

“เมื่อเทียบกับแต่ก่อน พวกรูปโป๊เป็นเพียงแค่การจินตนาการจากการเห็นในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ แต่ตอนนี้ไม่ใช่เพราะเราเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้นจากเฟซบุ๊ก เราสามารถเห็นได้ว่า อ๋อ! นี่รูปกินข้าว ว่ายน้ำ ไปเที่ยวทะเล เซ็กซี่ วาบหวิว ดังนั้นการจินตนาการของเราเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นเพราะว่าผู้ใช้งานเฟซบุ๊กปัจจุบันได้เผยแพร่ตัวเอง เล่าเรื่องตัวเองแถมรูปอีกด้วย มันทำให้เรารู้สึกเหมือนได้ใกล้ชิดกับคนนั้นๆ โดยที่เราไม่ต้องไปจินตนาการแบบแต่ก่อน”

วัฒนธรรม ‘เน็ตไอดอล’ จากไฮไฟว์ สู่เฟซบุ๊ก

นักวิชาการด้านสื่อ ยังบอกอีกว่า กระแสแฟนเพจสวย หล่อ จริงๆ น่าจะเกิดขึ้นประมาณปี 2008 แต่วัฒนธรรมการเป็นเน็ตไอดอลหรือเรื่องที่คนพูดถึงเรื่องตัวเองมันมีมาตั้งแต่ในยุคของไฮไฟว์ ในยุคนั้นผู้คนสนใจในเรื่องของการปรุงประดิษฐ์เว็บไซต์ของตัวเองในการแต่งรูปโปรไฟล์ แบล็กกราวน์ แต่เมื่อเกิดเฟซบุ๊ก มันมีลูกเล่นมากกว่านั้น ไฮไฟว์เป็นแค่หน้าร้าน แต่เฟซบุ๊กมันเป็นเหมือนสมุดไดอารี่ประจำตัว ที่สามารถอัพเดตเรื่องราวแบบเรียลไทม์ได้

เพราะฉะนั้นคนจึงรู้สึกว่ามันง่ายที่ฉันจะปรุงแต่ง ง่ายต่อการเชื่อมโยงกับคนอื่น และมีสถานะทางสังคม (social status) ได้ดี เพราะฉะนั้นการบูมของเรื่องนี้อาจจะบอกได้ว่าการที่เราโพสต์รูปตัวเอง เรื่องตัวเอง มีการเซลฟี่เกิดขึ้น (Selfie คือการถ่ายรูปตัวเองจากกล้องที่ติดกับกล้องถ่ายรูปมือถือ โทรศัพท์มือถือ หรือกล้องจากคอมพิวเตอร์) เพราะเราอยู่ในยุคการสื่อสารที่ทุกคนพูดเรื่องของตัวเอง (you communication) หรือยุคที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นผู้ผลิตเนื้อหาสารเอง ดังนั้นเนื้อหาสารที่เรารู้ดีที่สุดก็คือเรื่องของเรา

คนปัจจุบันจะพูดเรื่องตัวเองบนเฟซบุ๊ก เพราะว่าเขารู้สึกว่าเป็นพื้นที่ส่วนตัว แต่จริงๆ แล้วเขากำลังใช้พื้นที่ส่วนตัวบนพื้นที่สาธารณะอีกทีหนึ่ง นั่นก็เหมือนการขายตัวเองบนพื้นที่สาธารณะ และเรื่องที่ดีที่สุดที่จะขายก็คือภาพ ทำให้ทุกวันนี้ได้เกิดแฟนเพจหนุ่มหล่อ สาวสวย เซ็กซี่มากมาย

เฟซบุ๊ก ช่องทางอันตราย ขาดความมั่นใจ ขี้เหงา หลงตัวเอง

ธาม เชื้อสถาปนศิริ บอกต่อว่า นอกจากจะมีคนติดตามเราเยอะแล้ว เฟซบุ๊กก็เป็นเหมือนดาบสองคม อาจจะทำให้เกิดผลเสียกับเราได้ เพราะเราจะไม่รู้ตัวว่ามีใครมาหมายปอง ติดตามชีวิตของเรา ในแต่ละวันมีใครเข้ามาบ้าง เพราะฉะนั้นสำหรับคนที่เปิดเผยเรื่องราวชีวิตของตัวเองมากเกินไป เช่น เปิดเผยเรื่องเพศ กิจวัตรประจำวันมากเกินไป คุณอาจจะไม่รู้ตัวว่าคุณเปิดเผยช่องทางอันตรายเหมือนเป็นการเปิดประตูบ้านไว้ตลอดเวลา ยิ่งผู้คนในยุคปัจจุบันมีความกังวลใจน้อยลง เมื่อพูดถึงเรื่องข้อมูลส่วนตัว ที่อยู่ ที่ทำงาน ชีวิตส่วนตัว เพราะว่าทุกคนต้องการเปิดเผยเพื่อให้เป็นที่รู้จัก

จริงๆ มนุษย์ทุกคนต้องการเป็น somebody ในสังคม แต่คุณหารู้ไม่ว่าคุณจะต้องเสี่ยงที่จะสูญเสียตัวเองพอสมควร เพราะว่าการสร้างสถานะถูกสร้างมาจากแรงกดดัน ของคนที่อยู่ในโซเชียลมีเดีย คุณอาจจะมีคนฟอลโลว์เป็นหมื่น แต่ในความเป็นจริงแล้วคุณเป็นคนขี้เหงา ขาดความมั่นใจ และอาจจะเป็นคนหลงตัวเองมากขึ้น เพราะการเล่าเรื่องตัวเองบ่อยๆ เซลฟี่บ่อยๆ ก็จะทำให้คุณเป็นคนที่เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางของการสื่อสาร นำมาสู่เรื่องของภาวะซึมเศร้า โรคติดเฟซบุ๊ก เริ่มกระวนกระวายใจเมื่อไม่มีคนมากดไลค์ คอมเมนต์ หรือมีคนมาคอมเมนต์ในทางที่ไม่ดี ความคิดเห็นต่างๆ เหล่านั้นในโซเชียลมีเดียมาคิดปนกับชีวิตจริง เพราะฉะนั้นสถานการณ์ปัจจุบันอยากจะดังมากขึ้น จนต้องยอมที่จะสูญเสียอัตลักษณ์ แต่บางคนก็บอกว่าวิธีการสร้างสถานะให้สังคมยอมรับคือ ต้องสร้างสถานะทางเฟซบุ๊กให้ดีแล้วจะมีคนติดตาม บางครั้งมันก็จะนำมาสู่การสูญเสียความสัมพันธ์ และความสามารถในการที่จะปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือคนในครอบครัว

บางรายมีถึงขั้นโดนหลอกลวงด้วย เนื่องจากมันง่ายมาก เพราะช่องทางในโซเชียลมีเดียเหมือนการคุยกับคนแปลกหน้า อย่าลืมว่าถ้าเราคุยกับคนในชีวิตจริง เราจะเห็นหน้า แต่ในเฟซบุ๊กทุกคนแต่งและประดิษฐ์ได้ คนส่วนมากมักจะโพสต์แต่เรื่องที่ดี ไม่มีใครบอกเรื่องแย่ๆ ของตัวเองมีอะไรบ้าง ทุกคนจะประดิษฐ์ตกแต่งชีวิตตัวเองให้มันดูสวยงาม เพราะเมื่อสวยงามก็ดูเย้ายวนให้น่าติดตาม พอน่าติดตามก็นำไปสู่การที่จะถูกล่อลวง เพราะบางคนเปิดเผยเรื่องตัวเองมากเกินไป มันเป็นช่องทาง 24 ชม. ของอาชญากรที่มุ่งจะจ้องชีวิตเราอยู่ ยิ่งเปิดเผยมากก็อันตรายมาก เพราะฉะนั้นหลายๆ ครั้งสำหรับเด็กที่มีวุฒิภาวะต่ำในการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป เพราะมันนำไปสู่อาชญากรรมทางออนไลน์ คดีที่เกิดขึ้นก็เป็นคดีที่มีแรงจูงใจทางเพศ

นักวิชาการด้านสื่อ ยังกล่าวทิ้งท้ายไว้ให้ได้คิดอีกว่า มีงานวิจัยออกมาว่า ต่อให้มีเพื่อนประมาณห้าพันคนแต่โดยเฉลี่ยแล้วเพื่อนที่คุณรู้จักจริงๆ เคยเห็นหน้าต่ำกว่า 200 คน แล้วสิ่งที่คุณต้องคิดมากขึ้น หน้าฟีดหรือไทม์ไลน์ข่าวสารของคุณ ระบบทำความสะอาดของเฟซบุ๊กมันจะคำนวณให้ว่าคุณเคยมีปฏิสัมพันธ์กับใครบ้าง โดยรวมๆ จะอยู่แค่ 20-30 คนเท่านั้น เพราะฉะนั้นเราต้องเข้าใจว่าความสัมพันธ์ของผู้คนจริงๆ ในโลกออนไลน์มันไม่ใช่ความสัมพันธ์ในชีวิตจริง มันคนละเรื่องกัน ต้องแยกให้ออก เพราะโลกออนไลน์คือโลกเสมือนจริง อีกอย่างก็คือเฟซบุ๊กทำให้ระยะห่างของความเป็นคนแปลกหน้ามันสั้นลง และที่สำคัญคือความไว้วางใจ เราก็รู้สึกที่จะวางใจเพื่อนในเฟซบุ๊กมากขึ้น มีระยะห่างของคนแปลกหน้าน้อยลงและวางใจอะไรได้ง่าย

นักวิชาการด้านสื่อได้วิเคราะห์ถึงเรื่องความฟีเวอร์ในเฟซบุ๊กไปแล้ว ต่อไป “ไทยรัฐออนไลน์” จะเจาะหาสาเหตุ ที่มาที่ไป และกระบวนการขั้นตอนของแฟนเพจพวกนี้ว่าเกิดขึ้นได้ยังไง และทำไมถึงได้ฮอตขนาดนี้!!

แฟนเพจสุดฮอต ยอดไลค์พุ่งกระฉูด !

แอดมินเพจสมาคมนิยมสาวสวยแห่งประเทศไทย (สสสท.) บอกว่า จุดเด่นของเพจนี้อย่างแรกคือชื่อ “สมาคมนิยมสาวสวยแห่งประเทศไทย (สสสท.)” อ่านง่ายจำได้ ติดตาดีด้วย ในส่วนเรื่องรูปผู้หญิงโป๊นั้น ไม่จำเป็นต้องโป๊แต่เซ็กซี่ต้องมีแน่ๆ เพจเรามีหลายแนว มีทั้งแบบ น่ารัก สวย หมวย อึ๋ม สาวมหาลัย มัธยม วัยทำงาน เราสร้างแฟนเพจนี้ขึ้นมาเพราะเห็นคนอื่นทำก็เลยอยากลองทำดูบ้าง ช่วงนั้นว่างๆ อยู่ด้วย ทำไปทำมารู้ตัวอีกทีก็ทำมาเรื่อยๆ แล้ว ยอดไลค์พุ่งกระฉูดสองล้านกว่า ตอนนั้นก็รู้สึกเกินคาดมาก ไม่คิดว่าจะถึงสองล้านเร็วขนาดนี้เท่านั้นเอง

ในส่วนของกระบวนการในการอัพรูปนั้นคือ ในสมัยก่อนจะเว้นเวลาระหว่างรูปละสิบนาทีก็อัพได้เลย แต่สมัยนี้ปรับเปลี่ยนมาเป็น สามสิบนาทีถึงหนึ่งชั่วโมงแทน เนื่องมาจากการปรับเปลี่ยนกฎของเฟซบุ๊ก และกลัวว่าสมาชิกจะเบื่อที่รูปจะเยอะเกินไปในหน้า news feed ของแต่ละบุคคล ซึ่งจะทำให้เกิดการ unlike เพจที่มากเกินไป ส่วนแอดมินมีหลายคน ระบุจำนวนแน่นอนไม่ได้ เดี๋ยวมีเข้ามีออก มีทั้งหญิงชาย แต่จะมีคนดูแลเพจที่ใหญ่ที่สุดอยู่คนนึง ที่จะเป็นคนตัดสินใจขั้นสุดท้ายในเรื่องที่คนอื่นตัดสินใจกันไม่ได้

หนึ่งในแอดมินแฟนเพจ สสสท.
แอดมินเพจ สสสท. เล่าต่ออีกว่า ส่วนเรื่องของการนำรูปมาอัพเราได้มีการขออนุญาตเจ้าตัวด้วย และบางคนก็เสนอตัวขอให้ลงรูปให้ นอกเหนือจากสองอย่างนี้คือหารูปจากที่ต่างๆ ที่หาได้ตามได้อินเทอร์เน็ต บางครั้งก็มีเหตุการณ์ดราม่าเกิดขึ้นบ้าง เป็นเรื่องปกติที่จะมีดราม่าเกิดขึ้นครับ ไม่ว่าจะเป็นตัวปลอมมาฝากอัพรูปจนตัวจริงเห็นและตามมาต่อว่าหรือไม่พอใจที่ไม่ยอมอัพรูปให้ซักที

“เราก็คิดว่าจะทำเพจไปเรื่อยๆ ครับ ตอนนี้มีการคุยเรื่องอนาคตของเพจกันบ้าง ว่าจะต่อยอดไปทางไหนดี สมควรเพิ่มเติมอะไรเข้าไปดีนอกจากรูปสาวๆ ไหม หรือจะไปเปิดเป็นบริษัทแมวมอง จัดหาคู่ ฯลฯ เป็นต้น ก็คิดกันไปเรื่อยๆ แต่นั่นก็เป็นเรื่องของอนาคต แต่ยังไงเราก็ต้องทำวันนี้ให้ดีก่อน เราต้องขอบคุณทุกคนที่กดติดตามและเข้ามาดูรูปของเพจเรา ถ้าไม่มีพวกคุณเพจนี้ก็จะไม่มีใครรู้จัก และเพจเราอาจไม่มีสาระอะไรเลย เพราะมีแค่รูปสาวสวยที่เอาไว้ดูเพลิดเพลินเท่านั้น แต่แค่นี้ก็ทำให้จิตใจที่เหนื่อยล้านั้น กลับมากระชุ่มกระชวยได้ ว่าโลกนี้สาวสวยยังมีอีกเยอะ (หัวเราะ)” แอดมินเพจ สสสท. เล่าอย่างสนุกสนาน

แอดมินแฟนเพจ BTS cuteguys เพจใหม่มาแรง บอกผ่านไทยรัฐออนไลน์ว่า จุดเด่นของเพจนี้ที่ไม่เหมือนใคร คือ มัน Real และทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ มันเป็น Insight ของผู้หญิงและเกย์หลายๆ คน เวลาเจอผู้ชายน่าสนใจ ถ้ามีโอกาสจะถ่ายรูปให้เพื่อนสาวช่วยพิจารณา/กรี๊ดกร๊าดกันในกรุ๊ปไลน์ เกิดเป็นบทสนทนาฮาๆ ตามมาในกลุ่มเพื่อน เช่น “เค้าคือของฉัน” “ฉันรักเค้า” “เจอแล้วสามีในอนาคต” “ฟินนนนนน” “สิบ สิบ สิบ” etc. ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างเพจ โดยเรามีความเชื่อว่ามันไม่ใช่แค่กลุ่มเราแน่ๆ ที่ทำกัน น่าจะมีผู้หญิงหรือเกย์อีกเยอะที่ทำแบบนี้ในกลุ่มเพื่อน ไหนๆ ก็ไหนๆ สร้างที่ให้มาร่วมกันฟินกันไปเลย ซึ่งตัวแอดมินทั้ง 3 คนเอง ตอนแรกก็แอบถ่ายส่งให้ดูกันในกรุ๊ปไลน์เล่นๆ ขำๆ มีวันนึงแอดมินคนนึงพูดขึ้นมาว่า พี่เปิดเพจเถอะ ก็เลยลองดู ทำเอาฮา
ถ้าถามว่ารู้สึกอย่างไรเมื่อมีคนติดตามเราเยอะ ยอดไลค์พุ่งกระฉูด ภายในเวลาไม่นาน เราก็รู้สึกตกใจเหมือนกันไม่รู้ว่าตัวเพจจะ Viral ได้ขนาดนี้ เพราะว่าตอนเริ่มทำก็เริ่มทำกันเอาฮา คิดว่าคงมีลูกเพจจำนวนนึง แต่ไม่คิดว่าจะมาถึงจุดนี้ ซึ่งทุกวันนี้เราก็ได้รับผลตอบรับจากลูกเพจในหลายๆ รูปแบบที่ส่งเข้ามาใน inbox หลากอารมณ์มาก แต่ส่วนใหญ่จะดีใจที่มีเพจแบบนี้ เราก็มีแอดมินเป็นกลุ่มเพื่อนร่วมงาน 3 คน จริงๆ ก็ไม่ได้แบ่งหน้าที่อะไรกันชัดเจน แรกๆ ก็พยายามช่วยกันถ่ายรูป หลังๆ แทบไม่ต้องเลย เพราะมีส่งมาทาง Inbox เยอะมาก ก็มีพี่ใหญ่หนึ่งคนที่เป็นคนคอยคัดเลือกรูปจาก inbox มาลง
“เราก็อยากจะทำเพจนี้ไปนานๆ จนกว่าจะไม่มีคนส่งภาพมา แต่เราก็อยากให้มองว่าเพจนี้เป็นที่พักสายตา สนุกๆ ขำๆ อย่าซีเรียส อย่าจริงจัง และก็อยากให้มองว่ามันเป็นชุมชนหนึ่งของคนที่มีอุดมการณ์เดียวกัน อยากแบ่งปันความฟินให้กับคนอีกหลายๆ คน แล้วก็ที่สำคัญฝากถึงคุณผู้ชายทุกคนที่รูปปรากฏขึ้นในเพจของเรา ว่าจงภูมิใจเถิด เพราะคุณหล่อ คุณถึงโดนถ่าย แล้วเราก็ไม่ใช่โรคจิตนะค้าาา” แอดมินเพจ BTS cuteguys บอกทิ้งท้าย

นอกจาก 2 เพจนี้ก็ยังมีอีกหลาย ๆ เพจที่เป็นที่นิยม

เช่น
สมาคมนิยมสาวมหาลัยแห่งประเทศไทย (สสมท)
สมาคมนิยมนิสิต นักศึกษาแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (สนพท.)
สมาคมหนุ่มหล่อแห่งประเทศไทย
หนุ่มไฉไล by นายร้อยครับผม
ทหารหล่อบอกด้วย
สมาคมนิยมผู้ชายมีหนวด

ส่งภาพเข้าผิดห้อง หลังย้าย directory ของ blog

wordpress media folder
wordpress media folder

ในระบบ blog ของเครื่องบริการเครื่องหนึ่งที่ผมร่วมดูแล
พบว่า หลายคืนมาแล้วที่ส่งภาพ image เข้า blog แล้วหาย
ไม่ฟ้อง error เหมือนใคร ๆ เขา
เหมือนส่งเข้าได้ปกติ แต่กลับไม่แสดงผล
ก็คิดว่าเป็นปัญหาที่ระบบ directory
วันนี้นั่งหาวิธีแก้ไขว่าอะไรคือสาเหตุ

สุดท้ายก็พบว่า wordpress ที่เริ่ม post แรก
ตั้งแต่ 8 เมษายน 2009 นั้น มีการย้ายระบบมาหลายรอบ
อัพเกรดก็หลายครั้ง ล่าสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2557
มีการย้ายจาก appserv เป็น xampp
แต่มีค่า config ใน mysql ได้บันทึกชื่อ directory ไว้
สำหรับห้องเก็บ media เมื่อย้าย directory ของ script
แต่ไม่ไปแก่ config ก็ทำให้ระบบสับสนว่าจะเลือกห้องเก็บภาพที่ไหน
ตอนส่งภาพเข้าไป ก็ส่งเข้าห้องเก่า แต่ตอนเรียกใช้ กลับเรียกจากห้องใหม่
จากความพยายามหาว่าอะไรคือสาเหตุ ก็ได้มีการ upgrade version
เป็น 3.9.1 เป็นที่เรียบร้อย ดูทันสมัยขึ้นพอสมควร

ทำ ubuntu หาย แต่ชวน grub กลับมาได้

disk management
disk management

เล่าสู่กันฟัง (กันตนเองลืม)
.. เหตุเกิดเพราะได้คอมพิวเตอร์มา 1 เครื่อง
1. ผมให้ร้านแบ่ง partition เป็น 3 ส่วน
คือ Primary partition กับอีก 2 logical drive
ใน Extended partiton
โดยลง win7 ใน Primary partition ไปก่อน
2. มาถึงบ้านก็ลง Ubuntu 14.04 server
ใน drive สุดท้ายของ harddisk
โดยเลือกให้แบ่ง partition แบบอัตโนมัติ
แล้วก็เกิด /sda6 กับ /sda7 เป็น root กับ swap
ซึ่ง ubuntu ลง grub ทับ /dev/sda
แต่เพิ่ม option ให้เข้าถึง win7 ได้ .. จึงไม่เป็นไร
ยังเข้าได้ 2 OS ทั้ง ubuntu และ win7
3. ลง win8 ใน drive d: แต่ถ้า boot ด้วย win8
จะสลับให้เห็น drive d: เป็น drive c:
ถ้าลง drive เดียวกับ win7 ไม่ได้จะย้ายเป็น windows.old
แสดงว่าการลง windows 2 ตัว ใน drive เดียวกันจะมีปัญหา
4. ผลการลง win8 ซึ่งระบบปฏิบัติการได้สร้าง option ให้เลือก
ว่าจะเปิดด้วย windows ตัวใดก็ได้ ข่าวร้ายคือ ubuntu หรือ grub หายไป
แต่แก้ไขได้ สำหรับปัญหาที่ mbr ซึ่งเคยมี grub ถูก win8 ทับไป
5. การแก้ไขต้องใช้แผ่นของ ubuntu เพื่อ boot ขึ้นมา
แล้วเลือก rescure mode แล้วเลือกไปตามตัวเลือก
เมื่อเข้าไปที่ root prompt ผมลองใช้ update-grub
ในห้อง /etc/default/ ซึ่งเก็บแฟ้ม grub
ก็พบว่า update และเห็น win8 ในผลการ update
6. ขั้นตอนสุดท้าย
ให้ทำการ reinstall grub boot loader
โดยเลือกให้ติดตั้งใน /dev/sda
จากนั้นก็ reboot ซึ่งทำให้ grub ใน /dev/sda เหมือนเดิม
7. จากนี้ก็จะเลือกได้ว่าจะ boot เข้า os ใด
ระหว่าง ubuntu, win7 หรือ win8

ปล. ผมไม่เลือกใช้ virtual box สำหรับ ubuntu ตัวนี้
เพราะต้องการใช้ ubuntu ให้เหมือน os ที่ใช้งานจริง
ไม่ต้องการสภาพแวดล้อมเสมือน

ตอบช่างไปว่าซื้อคอมพิวเตอร์ไว้ดูหนังฟังเพลง

brochure toppc
brochure toppc

31 พ.ค.57 มีโอกาสไปซื้อคอมพิวเตอร์ประกอบไว้ดูหนังฟังเพลง
มา 1 เครื่อง ผมเลือก spec ต่ำสุดจาก brochure
เพราะใช้งานที่บ้านคนเดียวกับสมาชิกในครอบครัว
โดยเพิ่มขนาด Harddisk ไม่เพิ่มการ์ดจอ เพราะไม่ได้เล่นเกม
แต่ผมของ LAN 2 ช่อง เพราะต้องนำไปทำอะไรบางอย่าง
ร้านเสนอจะลงโปรแกรมให้ผมก็ยินดี เพราะเป็นการทดสอบเครื่องไปด้วย
ผมขอแบ่ง 3 Partition จะได้ไม่ต้องมาแบ่งเอง

กลับมาบ้านก็ได้เด็กที่บ้านช่วยประกอบให้
สมัยนี้ประกอบคอมพิวเตอร์ง่ายมากครับ
แกะจากกล่องแล้วก็หาสายเสียบให้ตรงช่อง
เปิดเครื่องแล้วใช้ได้เลย
อย่างสายลำโพงก็เสียบเข้าช่องสีเขียว

อุปกรณ์ไอที ก็เหมือนร่างกายของเรา
ย่อมเจ็บป่วยได้เป็นธรรมดา
อาจป่วยถาวร ป่วยเรื้อรัง หรือป่วยแล้วหาย
ถ้าเจ็บป่วยก็ต้องแก้ไข อาจเปลี่ยนอะไหล่เมื่อใช้ไปสักพัก
เหมือนเปลี่ยนปอด หัวใจ ตับในมนุษย์
บางทีเครื่องคอมพิวเตอร์ก็เจ็บป่วยตั้งแต่เกิดได้
ถ้าเป็นคนก็อาจทนได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แล้วแต่อาการ

สำหรับกรณีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ เป็นกันตั้งแต่เกิดเลย
หลังลง OS ตัวที่ 2 ก็พบปัญหาจอลายเป็นพัก ๆ
ก็ไม่ได้เช็คว่าเป็นที่จอ หรือคอมฯ เพราะรีบช่วงประกัน
จึงพาไปหาช่างในเช้าวันรุ่งขึ้น

สรุปว่าช่างบริการรวดเร็วทันใจ
ตรวจสอบแล้วบอกว่าเปลี่ยน Mainboard ให้ใหม่
ก็หวังว่าจะเป็น Mainboard ที่อยู่กับเรา
ต่อไปได้อีกนานเท่านาน

เท่าที่อ่านจากเน็ต อาการจอลาย
มักเป็นที่การ์ดจอ กรณีนี้อยู่บน mainboard
และสมัยนี้ไม่ค่อยได้ซ่อมคอมพิวเตอร์กันแล้ว
ส่วนใหญ่เสียก็ต้องเปลี่ยนใหม่ครับ

new computer
new computer

ปล. เหตุที่ต้องหาเครื่องใหม่
เพราะเครื่องเดิมมี RAM 1 GB
CPU 2.11GHz
กับ Harddisk 80 GB
ขยับอะไรแต่ละที ยากเหลือเกินกับ Software
ที่กินจุขึ้นทุกวัน ทั้งพื้นที่ และหน่วยความจำ

สไลด์แนะนำโปรแกรมเสียง 3 โปรแกรม

adobe audition
adobe audition

การใช้โปรแกรมจัดการเสียง
ด้วย Adobe Audition
สำหรับผู้จัดรายการวิทยุชุมชน
ในการเตรียมเสียงมาเปิดที่สถานี
https://www.facebook.com/groups/tourlampang/800107180008575/

การใช้โปรแกรม CDEX
สำหรับบันทึกเสียงจาก Analog Input
หรือ ไมโครโฟน นั่นเอง
เป็นโปรแกรมขนาดเล็กใช้ง่าย
และยังแปลง audio cd มาเป็น mp3 ได้ง่าย
https://www.facebook.com/groups/tourlampang/800107083341918/

การใช้โปรแกรม Sound Recorder ของ Windows
และแนะนำโปรแกรมกลุ่ม audio player
ซึ่งเป็นโปรแกรมพื้นฐานที่มีมากับ windows
สมัยนี้บันทึกเสียงได้ง่ายกว่าแต่ก่อนมาก
เพราะอุปกรณ์รอบตัวเรา รองรับกันหมด
https://www.facebook.com/groups/tourlampang/800108156675144/

Joe Namie พูดถึง Fedex ที่ใช้ webFocus : MIS

ถอดข้อความของ Joe Namie พูดถึง webFocus
พบในอีเลินนิ่งของ najah.edu

Management Information Systems
FedEx testimonial – Information Builder
By: Joe Namie

http://elearning.najah.edu/OldData/docs/Ch1%20FedEx.doc

WebFocus is our front end tool for distributing critical reports across 211 countries world wide. FedEx got two main core competencies:

1-Its airline which is the 5th largest air force in the world.
2-And its IT capacity.

FedEx by its very structure has many databases throughout the corporation and by being able to capture this and capturing the best of this information and putting it to a relational table in our Oracle system and using WebFocus to distributing it for us, we are able to communicate more effectively and plan accordingly across the span of time.

The information comprises the package information down the air-way bay level and all the way up to the executive information which is: Revenue versus plan, volume vs. plan, weight vs. plan for our corporation. We did country, by district, bay region and by division.

Of course, with the two like WebFocus, and some of the other tools that Emory module gives us especially with the report cash and things like that, they just add more the benefit of and more sizzle. The flexibility of reporting and the ability of using the security aspects of it that sold me right away. We had a small base and a rate of return of over 500%.

Capturing the data you need to day and all the indexes you need and making able to trend that data and follow it to what it might leads you to the future gives you the ability like to have our pelage we were ten miles from the air plane we are way out in front of anybody else know what we expect to happen and we can monitor those effects and adjust accordingly before we get in front of any kind of mountain.