การใช้สองจอภาพในการนำเสนอด้วย Projector

dual monitor
dual monitor

5 ก.พ.54 การใช้ Dual monitor ในห้องประชุม เพื่อนำเสนองานโดยใช้ 2 จอภาพ
จอภาพแรกเป็น Primary monitor ของผู้นำเสนอ และอีกจอภาพถูกฉายขึ้น Projector
มีขั้นตอนดังนี้
1. ต่อสาย Projector เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วเข้า Display Properties, Settings
2. เลือกจอภาพที่ 2 ด้วยการ Click ที่เลข 2 ตามภาพ
3. Click : Extend my Windows desktop ..
4. กดปุ่ม Apply ผลคือจะมีจอภาพใหม่รถถูกใช้งาน
5. เลื่อนจอ Windows ของ IE หรือ PPT ไปทางขวา ก็จะใช้งานจอภาพทางขวาได้อิสระ

การทำให้โค้ดมีประสิทธิภาพ

optimization
optimization

Code Optimization คือ การทำให้โค้ดมีประสิทธิภาพ ทั้งลดเวลาในการประมวลผล (Time to Execute) การใช้ทรัพยากร (Resource Using) และการนำกลับมาแก้ไขได้ง่าย (Easy to Update) ซึ่งตัวอย่างต่อไปนี้เน้นที่การเปรียบเทียบการเขียนโค้ด (Source Code) แบบก่อนปรับกระบวนการ และหลังปรับกระบวนการของโค้ด

อาจใช้วิธีการเขียนแบบโมดูลหรือฟังก์ชัน ใช้สมการทางคณิตศาสตร์แทน การเลือกใช้คำสั่งที่สั้นกว่า หรือการใช้อัลกอริทึมที่เหมาะสม ซึ่งภาษาที่ใช้นำเสนอ คือ Javascript และเกี่ยวข้องกับ 2 เว็บเพจ ได้แก่ programming และ javascript

ในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์

คำว่า program optimization หรือ software optimization หมายถึง กระบวนการปรับปรุงแก้ไขระบบซอฟท์แวร์หนึ่ง ในบางแง่มุมของงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือใช้ทรัพยากรน้อยกว่าเดิม
ความหมายโดยทั่วไปของ Optimization : โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่อาจถูกทำให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อนำมาประมวลผล หรือสามารถดำเนินการ โดยใช้หน่วยความจำลดลง ใช้ทรัพยากรน้อยลง หรือลดการใช้พลังงาน

http://en.wikipedia.org/wiki/Program_optimization
http://www.thaiall.com/optimization/

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงาน ม.เกษตร

ผลการดำเนินงานเทคโนโลยีสารสนเทศปี พ.ศ. 2548 – 2550
http://www.ku.ac.th/e-university/result2548-2550.html
1. ระบบงบประมาณ
โครงการพัฒนาระบบงบประมาณ หรือ โครงการบัญชี 3 มิติ (https://acc3d.ku.ac.th/) มีระบบงานย่อยที่เปิดใช้ รวมทั้งสิ้น 3 ระบบ ได้แก่ ระบบจัดทำงบประมาณเงินรายได้ประจำปี 2550 ปี 2551 การจัดสรรเงินงบประมาณ และ การจัดสรรเงินประจำงวด ได้ดำเนินการจัดอบรมให้แก่บุคลากรหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้มีความเข้าใจในระบบงานบัญชี 3 มิติ และสามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริง โดยเนื้อหาการจัดอบรม ประกอบด้วย 4 ระบบงานหลัก ได้แก่ งบประมาณ พัสดุ การเงิน และการบัญชี มีบุคลากรเข้ารับการอบรมจำนวน 917 คน แยกเป็น วิทยาเขตศรีราชา จำนวน 72 คน วิทยาเขตสุพรรณบุรี จำนวน 15 คน วิทยาเขตบางเขน จำนวน 539 คน วิทยาเขตลพบุรี จำนวน 11 คน วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 231 คน วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร จำนวน 39 คน และวิทยาเขตกระบี่ จำนวน 10 คน
2. ระบบการเงินและบัญชี
เป็นระบบ สารสนเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบัญชี 3 มิติ ที่ใช้งานโดยกองคลังและหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัย เพื่อบันทึกรายละเอียดการดำเนินงานด้านการเงินของโครงการ เช่น การรับเงินและการออกใบเสร็จ รายงาน ณ สิ้นวัน/เดือน/ปี รายการใบนำส่ง/ใบนำฝาก พิมพ์เช็ค การโอนเงิน เงินทดรองจ่าย รายการลงบัญชีงบดุล เป็นต้น และสามารถใช้เพื่อจัดทำรายงานทางการเงินในรูปแบบงบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงาน งบกระแสเงินสด โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา
3. ระบบพัสดุและทะเบียนทรัพย์สิน
เป็นระบบสารสนเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ 3 มิติ ช่วยสนับสนุนการจัดซื้อ จัดจ้าง ควบคุมครุภัณฑ์และทะเบียนทรัพย์สินและทะเบียนวัสดุ เป็นต้น โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา https://acc3d.ku.ac.th/
4. ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์
เริ่มใช้ระบบนี้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 ในการประชุมผู้บริหารระดับสูงอื่น ได้แก่ การประชุมคณบดี การประชุม อ.ก.ม. และการประชุมสภามหาวิทยาลัย การประชุมแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นการประชุมที่พิจารณาข้อมูลวาระการประชุมผ่าน เครือข่าย เพื่อให้การประชุมในแต่ละครั้งมีความสะดวก รวดเร็ว และทันสมัย อีกทั้งสามารถค้นหาและอ่านข้อมูลได้โดยสะดวกในทุกเวลาและทุกสถานที่ ที่ http://emeeting.ku.ac.th
5. ระบบทวนสอบข้อมูลบุคลากร
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ได้ให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและการจัดทำโปรแกรม และการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล ระบบทวนสอบข้อมูลบุคลากรมหาวิทยาลัย โดยมีกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บข้อมูลหลักของข้าราชการและลูกจ้างประจำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งการทวนสอบข้อมูลเป็นช่องทางหนึ่งของการสำรวจสถานภาพที่แท้จริงของ บุคลากรมหาวิทยาลัยประเภทต่าง ๆ ที่ https://mis.person.ku.ac.th/report_person/profile/
6. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ร่วมกับสถาบันวิจัย และพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาระบบงานสารบรรณ และการจัดการระบบเอกสารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถออนไลน์ผ่านทางเครือข่ายได้ทันที ทำให้ระบบการรับ-ส่ง หนังสือบันทึกราชการ ประกาศ และหนังสือเวียนต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย สามารถรับ-ส่ง ถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลา ทรัพยากร ทั้งด้านกำลังคน กระดาษ และงบประมาณได้อย่างมาก ที่ http://life.ku.ac.th

ระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน
1. ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน M@xLearn
ระบบสนับสนุนการเรียนการสอนผ่านเว็บของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ( Learning/Content Management System : LMS หรือ LCMS) ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทดลองใช้มาตั้งแต่ปี 2542 ต่อมาได้ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ พร้อมกับขยายการใช้งานไปสู่ระดับ มหาวิทยาลัยในปี 2544 และสนับสนุนการเปิดสอนหลักสูตรที่เรียนแบบออนไลน์ของคณะฯ ในปี พ.ศ. 2546 โดยได้ตั้งชื่อซอฟท์แวร์ LMS ดังกล่าวอย่างเป็น ทางการว่า M@xLearn (Maximum Learning) ที่ http://course.ku.ac.th
2. ระบบหลักสูตรระดับบัณฑิตวิทยาลัยและข้อมูลสนับสนุนผู้บริการของบัณฑิตวิทยาลัย
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างของฐานข้อมูลหลักสูตรระดับบัณฑิตวิทยาลัยและฐาน ข้อมูลอื่นของบัณฑิตวิทยาลัย ให้มีมาตรฐานเดียวกัน และสามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2548 พร้อมกับได้พัฒนาระบบสารสนเทศวิทยานิพนธ์เพื่อการเรียกค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์ ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ โดยเริ่ม ใช้งาน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2548
3. พัฒนาระบบลงทะเบียนอบรม/สัมมนาออนไลน์
ระบบลงทะเบียนอบรม/สัมมนาออนไลน์ ช่วยให้บัณฑิตวิทยาลัยบริหารการลงทะเบียนเข้าร่วมการอบรม/สัมมนาที่หน่วยงาน จัดขึ้นได้โดยผ่านทางเครือข่ายนนทรี และทำให้การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่สะดวกและคล่องตัวขึ้น โดยเริ่มใช้ในงานสัมมนาทางวิชาการในเดือนตุลาคม 2548 และจะเป็นต้นแบบของการใช้งานในส่วนกลางของมหาวิทยาลัยต่อไป
4. พัฒนาระบบประเมินการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์
ระบบประเมินการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ ได้เริ่มใช้ตั้งแต่ ภาคต้น ปีการศึกษา 2547 ระบบได้อำนวยความสะดวกให้อาจารย์และนิสิต โดยสามารถทำการประเมินได้อย่างรวดเร็ว แบ่งการประเมินเป็น 3 ประเภท ได้แก่ นิสิตประเมินการสอนของอาจารย์ นิสิตประเมินการเรียนของตนเอง และอาจารย์ประเมินการสอนของตนเอง โดยในขณะนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนา ปรับปรุงระบบฯ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพ ตามระบบถามตอบ และข้อเสนอแนะของผู้ใช้ เว็บไซด์ระบบฯ ที่ https://eassess.ku.ac.th/

ระบบสารสนเทศเพื่อการวิจัย
1. ระบบฐานข้อมูลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้ดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้เกิดการรวบรวมงานวิจัยของ บุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเป็นฐานข้อมูลเพื่อเผยแพร่อ้างอิงได้ อีกทั้ง มีกลไกการเรียกค้นและนำไปใช้งานต่อไปได้ ระบบฐานข้อมูลงานตีพิมพ์ จะแสดงรายการงานตีพิมพ์ในรูปแบบ เดียวกับเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ พร้อมทั้งมีแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์บรรจุผลงานเพื่อให้ผู้สนใจสามารถเปิดอ่านได้ ในปี 2549 มีข้อมูลงานตีพิมพ์ทางวิชาการแล้ว ทั้งสิ้น 1,621 รายการ โดยสามารถป้อนข้อมูลและการสืบค้นผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่ https://pindex.ku.ac.th/

ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริการ
1. ระบบปฏิทินกิจกรรม มก. (e-Calendar)
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้จัดทำเว็บเพจปฏิทินกิจกรรมของมหาวิทยาลัย เพื่อใช้ในการแจ้งข่าวสารและประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยโดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่เพื่อให้สะดวกในการค้นหา เช่น ทุนการศึกษา การประชุมทางวิชาการ การฝึกอบรม การรับสมัครงาน เป็นต้น ระบบปฏิทินกิจกรรม มก. เปิดบริการตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2549 ผู้ที่สนใจสามารถเรียกดูได้ที่หน้าแรกของโฮมเพจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือที่ http://calendar.ku.ac.th

ระบบบริการอื่น
1. ระบบโทรทัศน์ผ่านเครือข่าย (ไอพีทีวี)
ไอพีทีวี เป็นรูปแบบหนึ่งของการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านเครือข่าย ด้วยความพร้อมด้านโครงข่ายสัญญาณที่ครอบคลุมในวิทยาเขต มหาวิทยาลัยได้มอบให้ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ถ่ายทอดสัญญาณผ่านเครือข่ายนนทรี โดยแพร่ภาพกิจกรรมที่ถ่ายทำไว้ล่วงหน้าหรือถ่ายทอดสดงานที่จัดขึ้นใน มหาวิทยาลัยภายใต้ ความร่วมมือกับบริษัท บีลิงค์ มีเดีย จำกัด ในโครงการ KU Channel โดยสำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้ดำเนินการ ติดตั้งจอพลาสมาพร้อมสายสัญญาณ เพื่อกระจายสัญญาณตามจุดต่าง ๆ ทั้งสิ้น 8 จุด จำนวน 12 ตัว คือ โรงอาหารกลาง 1 จำนวน 2 ตัว โรงอาหารกลาง 2 จำนวน 2 ตัว บัณฑิตวิทยาลัย จำนวน 1 ตัว ศูนย์เรียนรวม 1 จำนวน 1 ตัว ศูนย์เรียนรวม 2 จำนวน 1 ตัว ศูนย์เรียนรวม 3 จำนวน 1 ตัว อาคารสารนิเทศ 50 ปีบริเวณชั้น U และชั้น 1 จำนวน 3 ตัว และคณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 ตัว
2. ระบบ E-Security
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสำนักบริการคอมพิวเตอร์ ดำเนินการติดตั้งกล้องรักษาความปลอดภัย ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ภายใต้โครงการ e-Security ระยะแรก จํานวนทั้งสิ้น 36 ตัว เชื่อมโยงเข้าเป็นระบบเดียวกันที่สามารถบริหารจัดการได้สะดวก ตามจุดต่าง ๆ ได้แก่ บริเวณอาคารศูนย์ เรียนรวม 1 จํานวน 5 ตัว อาคารศูนย์เรียนรวม 2 จํานวน 2 ตัว อาคารศูนย์เรียนรวม 3 จํานวน 5 ตัว โรงอาหารกลาง 1 จํานวน 4 ตัว โรงอาหารกลาง 2 จํานวน 3 ตัว อาคาร Kasetsart IT Square (KITS) จํานวน 7 ตัว อาคารสํานักบริการคอมพิวเตอร์ จํานวน 5 ตัว อาคารศูนย์มัลติมีเดีย จํานวน 2 ตัว และอาคารจักรพันธ์ ฯ จํานวน 3 ตัว อีกทั้งมีระบบจัดเก็บข้อมูลที่สํานักบริการคอมพิวเตอร์ และมีจอตรวจสอบเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่ศูนย์เกษตรรวมใจ งานรักษาความปลอดภัยประตูงามวงศ์วาน โดยกล้อง ทุกตัวจะเชื่อมเข้าเครือข่ายนนทรี ทําให้สามารถตรวจสอบการทํางานระยะไกลจากคอมพิวเตอร์ได้โดยตรงผ่านเว็บ และยังสามารถดูภาพจากกล้องทุกตัวได้พร้อมกัน ตลอดจนมีระบบบันทึกภาพเพื่อเปิดดูย้อนหลังได้

ใช้ ppt นำเสนอผลการเปรียบเทียบ

job evaluation
job evaluation

1 มี.ค.54 ภาพนี้ทำขึ้นมาด้วย Powerpoint ว่าจะใช้เป็นตัวอย่างให้นักศึกษาเห็นการประยุกต์ใช้ Powerpoint นำเสนอแทนตัวอักษร เพราะแผนภาพจะทำให้เข้าใจได้ง่าย และรวดเร็ว .. ดังโบราณว่าไว้ 10 ปากว่าไม่เท่าหนึ่งตาเห็น และสิบตาเห็นไม่เท่าหนึ่งมือคลำ และสิบมือคลำไม่เท่าพบสัจธรรมด้วยหนึ่งใจ
http://www.thaiall.com/office
ผมเพิ่มคุณธรรม เพราะเห็นเอกสารข้างล่างนี้ครับ
http://www.edupolice.org/edu_P/indicate/criterion/doc/3.1.21%283%29.pdf

แก้ปัญหาข่าวหายไปจากระบบอย่างไร้ร่องรอย

news nivate
ระบบจัดการข่าว .. ที่ข่าวหายไปอย่างไร้ร่องรอย

22 ก.พ.54 ระบบจัดการข่าวออนไลน์ที่มีการพัฒนาขึ้น และใช้งานมาแล้วระยะหนึ่ง .. ช่วงหลังผู้ใช้งานระบบพบปัญหาว่าข่าวเดิมหายไป แล้วเขาเชื่อว่ามีผู้ไม่ประสงค์ดีเข้าไปลบข่าวออก เมื่อตรวจพฤติกรรมของผู้ใช้งานระบบก็พบว่า มีการเปิดเว็บเพจระบบจัดการข่าวผ่าน bookmark ประกอบกับการปฏิบัติการทันทีเมื่อคลิ๊ก เช่น ลบเมื่อคลิ๊ก เปลี่ยนสถานะเมื่อคลิ๊ก โดยไม่มีการกรองผ่าน captcha หรือ password verify ซึ่งปัญหาอาจเกิดจาก  google.com หรือ browser เข้ามาดูดเว็บเพจ ทำให้มีการเรียกใช้ลิงค์จนเกิด action อย่างไม่ตั้งใจ
จึงแก้ไขโปรแกรมอย่างง่าย ด้วยการเพิ่ม password verify ผ่านการพิมพ์ก่อน action ทำให้การกดปุ่มลบหรือเปลี่ยนสถานะการแสดงข่าวไม่ทำงาน จนกว่าจะรับข้อมูลที่ยืนยันผ่านผู้ใช้งานระบบ ก็เชื่อว่าปัญหาข่าวหายไปอย่างไร้ร่องรอยจะไม่เกิดขึ้นอีก

ลิงค์ภาพจาก fb ไปแสดงในเว็บศิษย์เก่า

yonok album of facebook.com
รวมภาพจากอัลบั้นของศิษย์เก่า

21 ก.พ.54 วันนี้ใช้ประโยชน์จากระบบ album ของ facebook.com โดยดึงภาพออกมาแสดงในเว็บไซต์ของศิษย์เก่าโยนก (thaiabc.com/ynalumni) และศิษย์เก่าอัสสัมชัญ (aclalumni.com) แล้วเชื่อมลิงค์กลับไปยัง album นั้น ซึ่งเจ้าของอาจเป็นใครก็ได้ที่เป็นศิษย์เก่า หรือสมาชิกขององค์กร ทำให้มีความยืดหยุ่นในการเชื่อม album และไม่จำเป็นต้องเป็นเพื่อน เพียงแต่สามารถมองเห็นภาพ และคัดลอกลิงค์ออกมาก็นำไปเผยแพร่ต่อได้แล้ว

ปัญหาเกิดขึ้น ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ทาง fb เริ่มใช้ hightlightbox คือแสดงภาพด้วยการ popup เฉพาะตัวภาพ แล้วปิดการคัดลอกลิงค์ภาพ ทำให้ยุ่งยากขึ้นในการคัดลอกลิงค์ภาพที่ต้องการ หากต้องการก็ต้องใช้วิธีกด share แล้ว copy image link ออกมาในขั้นตอนนั้น แล้วเรียกภาพนั้นไปแสดงเป็น album listing ภายนอก facebook.com ดังตัวอย่าง

มหาวิทยาลัยเนชั่น (Nation University)

เนชั่นกรุ๊ปรุกตลาดการศึกษา

21 ก.พ.54 นายธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ NMG กล่าวว่า จากความมุ่งมั่นของ NMG ที่จะเผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ และความบันเทิง อย่างสร้างสรรค์ ในปีที่ผ่านมาบริษัทได้ปรับโครงสร้างธุรกิจเป็นบริษัทย่อยเพื่อพัฒนา ผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบสนองความต้องการด้านข่าวสาร

บริษัท ได้เล็งเห็นโอกาสในการขยายสายธุรกิจด้านความรู้ จึงได้พิจารณากรณีศึกษาจากต่างประเทศในด้านความร่วมมือระหว่างบริษัทสื่อกับ สถานศึกษา เช่น ผู้พิมพ์จำหน่ายนิตยสารรายใหญ่ที่สุดของยุโรป Gruner + Jahr GmbH ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Bertelsmann ได้ร่วมกับ Henri-Nannen School เปิดสอนหลักสูตรนิเทศศาสตร์   ในสหรัฐอเมริกา Washington Post ได้ขยายกิจการด้านการศึกษาผ่าน Kaplan ซึ่งเป็นบริษัทลูก ปัจจุบันมีเครือข่ายมหาวิทยาลัยและศูนย์การศึกษามากกว่า 500 แห่ง ใน 30 ประเทศ และมีผลประกอบการเติบโตต่อเนื่องมาตลอด 10 ปี

ล่าสุด NMG จึงได้ร่วมทุนกับมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ (SAU) ซึ่งมีประสบการณ์ด้านบริหารการศึกษากว่า 30 ปี และมีจำนวนนักศึกษาปัจจุบันกว่า 7,000 คน  เพื่อจัดตั้งบริษัท เนชั่น ยู จำกัด ผนึกกับความแข็งแกร่งด้านสื่อและการตลาดของเนชั่นก่อตั้ง “มหาวิทยาลัยเนชั่น” (Nation University)   โดยได้ซื้อใบอนุญาตประกอบกิจการสถานศึกษา จาก มหาวิทยาลัยโยนก  จังหวัดลำปาง   และเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยเนชั่น โดยจะเริ่มเปิดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ 1 เดือน พ.ค.2554

นายธนาชัย กล่าวต่อว่ามหาวิทยาลัย เนชั่น มีแผนที่จะขยายเครือข่ายการศึกษาไปทั่วทุกภูมิภาค โดยเริ่มจากวิทยาเขตภาคเหนือ และวิทยาเขตกรุงเทพภายในปี พ.ศ.2554 โดยมหาวิทยาลัยจะเข้าทำการบริหาร ปรับโครงสร้าง พัฒนาศักยภาพ และเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยโยนก (Yonok University) จังหวัดลำปาง เป็น มหาวิทยาลัย เนชั่น (Nation University) วิทยาเขตโยนก ส่วนวิทยาเขตกรุงเทพจะใช้ชื่อว่า มหาวิทยาลัย เนชั่น วิทยาเขตกรุงเทพ

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัย เนชั่น วิทยาเขตโยนก มีพื้นที่รวมกว่า 164 ไร่ และมีพื้นที่ส่วนอาคาร 14,000 ตร.ม. โดยจะมุ่งเน้นการสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์ บริหารธุรกิจ ศิลปศาสตร์ (ภาษาอังกฤษและจีน) และวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยมีเป้าหมายจำนวนนักศึกษารวม 1,300 คนภายใน 4 ปี และ 1,800 คนภายใน 10 ปี

พร้อมกันนี้ ได้เปิดมหาวิทยาลัย เนชั่น วิทยาเขตกรุงเทพ ในรูปแบบ Downtown Campus หรือ Campus บนตึกสูงโดยใช้พื้นที่อาคาร i-Tower ถนนวิภาวดี ใกล้ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว เพื่อความสะดวกในการเดินทางของนักศึกษาที่ทำงานในเมืองช่วงกลางวัน โดยจะเปิดสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์ บริหารธุรกิจ และ MBA โดยมีเป้าหมายจำนวนนักศึกษารวม 1,000 คนภายใน 4 ปี และ 2,000 คนภายใน 10 ปี บริษัทได้วางงบลงทุน 250 ล้านบาทเพื่อพัฒนา 2 วิทยาเขตแรก

ในส่วนของ แผนการตลาด NMG จะใช้สื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ และออนไลน์ เพื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งการทำการตลาดร่วมกับพันธมิตร เช่น โครงการทบทวนความรู้สู่มหาวิทยาลัยกับ มาม่า ซึ่งมีนักเรียนมัธยมปลายลงทะเบียนปีละกว่า 8 หมื่นคน และงาน U-Expo ซึ่งจัดร่วมกับ Eduzones.com คาดว่าจะมีนักเรียนมัธยมปลายเข้าชมงานประมาณ 5 หมื่นคน

NMG เชื่อมั่นว่าความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ในการเปิดมหาวิทยาลัย เนชั่น จะมีส่วนในการพัฒนาประเทศไทยด้วยการร่วมสร้างผู้นำด้านสื่อสารมวลชน โฆษณาประชาสัมพันธ์ ธุรกิจ และบริการสาธารณสุข มหาวิทยาลัย เนชั่น พร้อมขยายโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพด้วยโครงการที่จะพัฒนาวิทยาเขตภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้ครอบคลุมทั่วภูมิภาคในอนาคต รวมทั้งการต่อยอดบริการการศึกษาไปทางด้านการสอนหลักสูตรระยะสั้นประเภท Non-Degree Program, e-Learning เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นต่อไป

ด้านนายสุทธิชัย หยุ่น บรรณาธิการอำนวยการ กล่าวว่ามหาวิทยาลัย เนชั่น จะสร้างจุดต่างด้วยความได้เปรียบในการ “เรียนกับมืออาชีพ” โดยนักศึกษามีโอกาสพัฒนาทักษะและประสบการณ์นอกเหนือจากภาคทฤษฎี ด้วยการเรียนกับอุปกรณ์ปฏิบัติการของจริง ในสภาพการทำงานจริง และกับมืออาชีพในสายงานหนังสือพิมพ์ นิตยสาร โทรทัศน์ วิทยุ New Media การโฆษณา และบริหารธุรกิจ ส่วนในสายงานอื่น ๆ เช่น เอเจนซีโฆษณา ธุรกิจบันเทิง ผู้ผลิตภาพยนตร์/ ละคร นักศึกษาสามารถเรียนรู้และฝึกงานกับบริษัทพันธมิตร ทำให้นักศึกษาที่จบมามีโอกาสในการหางานทำได้สูงกว่า โดยสามารถเลือกทำงานกับบริษัทในกลุ่มและพันธมิตรของ NMG ได้หากผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

นอกจากนี้ หลักสูตรนิเทศศาสตร์ของมหาวิทยาลัย เนชั่น จะมุ่งเน้นด้าน New Media เพื่อรองรับสื่อยุคดิจิตอลและ Social Media ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่วน NMG จะได้ประโยชน์ร่วมกับมหาวิทยาลัยจากการคัดเลือกบุคลากรจากนักศึกษาฝึกงานที่ มีผลงานดีเข้าทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งแรงงานนักศึกษาฝึกงานที่มีต้นทุนไม่สูงมาก นอกจากนี้บริษัทยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากความร่วมมือของสายธุรกิจต่าง ๆ กับมหาวิทยาลัย เนชั่น เช่น NINE และ NBC ในการผลิต Content จากผลงานนักศึกษา หรือ NINE สามารถขยายธุรกิจสิ่งพิมพ์ด้านวิชาการเพิ่มเติมเพื่อผลิต คู่มือ ตำราเรียน หนังสือความรู้ด้านธุรกิจหรือด้านสื่อ ผลงานวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัย เนชั่น คล้ายกับ Harvard Business Publishing ของ Harvard Business School

executive of nation university
ผู้บริหารในพิธีแถลงข่าวประกาศเปิดตัวมหาวิทยาลัยเนชั่น

+ http://76.nationchannel.com/playvideo.php?id=136881
+ http://www.bangkokbiznews.com
+ http://www.suthichaiyoon.com/detail/8553
+ http://www.ryt9.com/s/prg/1093392
+ http://www.nation-u.com

เนชั่นกรุ๊ป ผุด บริษัทร่วมทุน “ เนชั่น ยู” ทุ่ม 250 ล้านบาท
http://www2.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000023556

เนชั่นกรุ๊ป .. เทคโอเวอร์ มหาวิทยาลัยโยนก พร้อมผุดวิทยาเขตในกทม. อนาคตเล็งเปิดเพิ่มอีกในภาคอีสานและใต้ มองนิวมีเดียและสิ่งพิมพ์ช่องทางสำคัญผลักดันรายได้

นายธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ ประธานคณะกรรมการ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน ) หรือ NMG เปิดเผยว่า ล่าสุดเล็งเห็นโอกาสที่จะเข้ามาต่อยอดธุรกิจทางด้านการศึกษา จึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ (SAU) ก่อตั้งบริษัท เนชั่น ยู จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท โดยทางเนชั่น กรุ๊ป ถือหุ้น 55% และทางSAU และ นายเสริมสิน สมะลาภา ถือหุ้นรวมกันอีก 45% ในการก่อตั้งมหาวิทยาลัย เนชั่น เบื้องต้นใช้งบลงทุนราว 250 ล้านบาท แบ่งเป็น 175 ล้านบาท ในการขอถ่ายโอนใบอนุญาตประกอบการสถานศึกษา (เทคโอเวอร์) จากทาง นาย ศิริธัช โรจนพฤกษ์ เจ้าของมหาวิทยาลัยโยนก จังหวัด ลำปาง มาเป็น มหาวิทยาลัย เนชั่น พร้อมเปิดภาคเรียนแรกในเดือนพ.ค.นี้ ภายใต้หลักสูตรการเรียนการสอน เฉพาะทาง คือ ทางด้านนิเทศศาสตร์ และบริหารธุรกิจ

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยโยนกมีนักศึกษาราว 300 คน ใน 3 คณะ คือ คณะบริหารธุรกิจ คณะ สังคมและมนุษยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยี ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการปรับโครงสร้างคณะผู้บริหาร และวางระบบหลักสูตรใหม่ ตั้งเป้าใน 4 ปี จะมีจำนวนนักศึกษาประมาณ 1,300 คน เพิ่มเป็น 1,800 คน ใน 10 ปี

นอกจากนี้ ยังมีวิทยาเขตอีก 1 ที่ คือ ในกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ที่ ตึก ไอ ทาวเวอร์ ถนนวิภาวดีรังสิต เปิดสอนภาคเรียนการศึกษาปี 2554 ในเดือนพ.ค. นี้เช่นเดียวกัน หลักสูตร นิเทศศาสตร์ บริหารธุรกิจ และMBA ตั้งเป้ามีนักศึกษาไม่ต่ำกว่า 1,000 คนใน 4 ปี เพิ่มเป็น 2,000 คนใน 10 ปี และหลังจากทั้ง 2 แห่งแข็งแกร่ง จะขยายวิทยาเขตอีก 2 แห่ง คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหลือ และภาคใต้ คาดว่าไม่เกิน 5 ปีนี้

นายธนาชัย กล่าวต่อว่า สำหรับภาพรวมรายได้ ของเนชั่น กรุ๊ปในปีที่ผ่านมานั้น มีการเติบโตขึ้น 15% หรือราว 3,000 ล้านบาท ซึ่งในกลุ่มสิ่งพิมพ์ และนิวมีเดีย เป็นกลุ่มหลักที่ผลักดันรายได้ และมีแนวโน้มการเติบโตสูง จากแผนการตลาดที่ขายเป็นแพกเกจ เชื่อว่าจะส่งผลให้ปีนี้ จะมีรายได้รวมเติบโต 15%

+ http://www.facebook.com/video/video.php?v=115773685170144
+ http://77.nationchannel.com/playvideo.php?id=137532
+ http://www.nation-u.com
+ http://www.nationubangkok.com
+ http://www.facebook.com/nationuniversity
+ http://www.facebook.com/nationuclub

วิธีตั้งค่า PSI ของช่อง 9 ใหม่

psi
psi

20 ก.พ.54 หลายเดือนที่ผ่านมาจานดาวเทียมที่บ้านผมรับสัญญาณช่อง 9 ไม่ได้ เข้า google.com หาวิธีการตั้งช่องสัญญาณของช่อง 9 ใหม่ เพราะเชื่อว่ามีปัญหาในการตั้งค่าสัญญาณ ก็พบวิธี และค่าสัญญาณของ ช่อง 3 03803 V 04551 ช่อง 5 03906 V 06250 ช่อง 7 03764 V 05900 ช่อง 9 03520 H 28125 ช่อง NBT 04122 V 04688 ช่อง TPBS 03986 V 04815

โดยเริ่มต้นด้วยการกดปุ่มสีเหลืองที่ remote control แล้วดำเนินการตามตัวเลือกด้านล่าง ซึ่งเชื่อว่าไม่ยากถ้าทราบค่าสัญญาณ เหมือนที่ผมทำมาแล้ว ค่าที่ต้องเปลี่ยนมี ความถี่ขาลง Symbol Rate และแนวการรับ
+ http://www.forwardsat.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538977038

วิวัฒนาการด้านการสื่อสาร (itinlife281)

smart phone or mobile phone : statistic
http://www.marketingoops.com/reports/research/mobile_internet/

ปี 2510 คนในอดีตคงนั่งเหงาในสวนหอม เพราะไม่มีเทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสาร คนต่างจังหวัดยังไม่รู้ความหมายของคำว่าไฟ้ฟ้า เมื่อพระอาทิตย์ตกดินก็จะต้องพึ่งพาแสงสว่างจากเทียนไขหรือตะเกียงเจ้าพายุ ปี 2520 มีการพัฒนาถนนหนทาง การคมนาคมสะดวกขึ้น การอพยพย้ายถิ่น การสื่อสารระหว่างผู้คนทางจดหมาย หรือโทรเลขเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังเป็นบริการสำหรับคนในชุมชนเมืองเป็นส่วนใหญ่  ปี 2530 โทรศัพท์พื้นฐานทำให้แต่ละบ้านติดต่อกันได้สะดวก ตู้โทรศัพท์กลายเป็นอีกสัญลักษณ์ของความทันสมัย ที่ใดไม่มีตู้โทรศัพท์แสดงว่าความเจริญยังเข้าไม่ถึง วัยรุ่นยืนเข้าแถวใช้บริการตู้โทรศัพท์ หรือโต๊ะบริการโทรศัพท์เคยเป็นภาพที่พบเห็นได้ แม้แต่ซุปเปอร์แมนยังอาศัยตู้โทรศัพท์เป็นสถานที่แปลงกายก่อนออกไปพิทักษ์โลก

ปี 2540 โทรศัพท์เคลื่อนที่เริ่มได้รับความนิยมและวิถีในการสื่อสารของมนุษย์เริ่มเปลี่ยนแปลง มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าเพจเจอร์ (Pager) สำหรับส่งข้อมูลสั้นถึงผู้ใช้ เพื่อให้ติดต่อกลับ ในช่วงนี้ตู้โทรศัพท์และบัตรโทรศัพท์ยังมีให้ใช้แล้วเสื่อมความนิยมอย่างต่อเนื่อง ผู้ใช้เริ่มทะยอยยกเลิกการใช้โทรศัพท์พื้นฐานแล้วหันไปใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เพราะทุกคนในครอบครัวมีใช้คนละ 1 เครื่อง สำหรับสถิติในปี 2547 2548 และ 2549 พบว่ามีจำนวนผู้จดทะเบียนโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อจำนวนประชากรคิดเป็นร้อยละ 41.79 46.79 และ 61.69 ตามลำดับ

ปี 2550 โทรศัพท์เคลื่อนที่มิได้มีไว้รับสายและโทรออกเท่านั้น สามารถใช้สื่อสารกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคาร ดูหนัง ฟังเพลง ถ่ายคลิปวิดิโอ บันทึกเสียง หรือดูทีวีได้ มีแป้นพิมพ์ qwerty ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้รับส่งข้อความกับเครือข่ายสังคมอย่าง  facebook.com  หรือ twitter.com บางรุ่นใช้อ่านเขียนเอกสาร word หรือ excel ส่วนรูปทรงเล็กลง เบาขึ้น แหล่งให้พลังงานอยู่ได้นานกว่าเดิม ถ้าต้องทำนายว่าปี 2560 อุปกรณ์เพื่อการสื่อสารจะเป็นอย่างไรเมื่อพิจารณาจากสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็เชื่อได้ว่าในอนาคตอุปกรณ์จะคล้ายกับ bluetooth headset ที่เพิ่มแว่นตาเลนเดียวที่รับคำสั่งด้วยเสียง และเห็นภาพคู่สนทนา รวมทั้งเชื่อมต่อและควบคุมอุปกรณ์รอบตัว สั่งงานอุปกรณ์ภายในบ้าน ที่ทำงาน หรือรถยนต์ส่วนบุคคลได้

+ http://www.marketingoops.com/reports/research/mobile_internet/
+ http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/4534
+ http://www.thaimobilecenter.com/home/mobile_news_detail.asp?nid=2566
+ http://www.imdb.com/title/tt0119925/ (the postman)