
นับวันภาพเสมือนจริง จะเหมือนจริงเพิ่มขึ้นทุกวัน
ในภาพชุดของ shu มีรูปแบบของตัวเองที่น่าสนใจ
จึงนำมาแบ่งปัน เข้าได้ที่ http://www.shu-littlebit.com
ซึ่งนำเสนอภาพด้วย flash อย่างสวยงาม
บล็อกที่มีเนื้อหาเน้นทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
นับวันภาพเสมือนจริง จะเหมือนจริงเพิ่มขึ้นทุกวัน
ในภาพชุดของ shu มีรูปแบบของตัวเองที่น่าสนใจ
จึงนำมาแบ่งปัน เข้าได้ที่ http://www.shu-littlebit.com
ซึ่งนำเสนอภาพด้วย flash อย่างสวยงาม
รูปของเราก็คือเราในขณะเวลาหนึ่ง
จะสวย หล่อ หรือไม่ ก็คือตัวเรา ..
การบันทึกภาพของมิตรภาพระหว่างเพื่อน คนรู้จัก หรือมิตร
ณ ขณะหายใจออกครั้งหนึ่งของชีวิต
เป็นโอกาสที่ทำได้เพียงครั้งเดียวในวินาทีนั้น
…ที่ไม่มีใครสามารถย้อนเวลาไปบันทึกไว้ได้
การมีไมตรีที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมชั้นเรียน
เป็นความสุขในวัยเรียนที่จะหาไม่ได้อีกแล้วหลังสำเร็จการศึกษา
จงซึมซับ จดจำ บันทึก ในขณะที่มีโอกาส ซึ่งเป็นโอกาสที่สั้นมาก
เมื่อเทียบเวลาที่เหลือของการใช้ชีวิต
.. สรุปข้อเท็จจริง คือ ในภาพนั้นเป็นเรา
6 ม.ค.54 กรณีศึกษา เรื่อง อ่านหนังสือออกแล้วนี่
ดร.อ : ถามว่า .. คนที่หมู่บ้านคุณทราบไหมว่า ไฟแดงคือหยุด ไฟเขียวคือไป
ผม : ก็ตอบไปว่า .. คงรู้
ดร.อ : ถามว่า .. เขาจะรู้ได้อย่างไร
ผม : ก็ตอบไปว่า .. ก็ที่ haward U. เขาสอนเรื่องนี้กันแล้ว
ดร.อ : ถามว่า .. แล้วจะมาถึงคนในหมู่บ้านได้อย่างไร
ผม : ก็ตอบไปว่า .. มีหนังสือก็อ่านกันเอาเอง อ่านกันออกแล้ว
ดร.อ : ถามว่า .. แล้วที่ฝ่าไฟแดง จนรถชนตายนั่นหละ
ผม : ก็ตอบไปว่า .. ช่วยไม่ได้ ไม่อ่านหนังสือกันเอง ทุกคนมีหน้าที่อ่านหนังสือ
ดร.อ : รำพึง .. งั้นก็ตายกันต่อไป
ผม : ผมไม่ตอบครับ .. จบ
คิดต่อ : กรณีสุราในชีวิตจริง
.. เราทราบว่าสุรา เป็นสาเหตุของการทำให้ตับแข็ง และเสียชีวิต
.. แม้อ่านหนังสือออก หรือพออ่านออก อาจไม่ช่วยให้บางคนลด ละ เลิกดื่มสุราได้
.. บางทีคนที่ Haward U. ก็อาจใช้หลักเดียวกันว่า .. มีหนังสือให้อ่านแล้วนี่
.. คนมีการศึกษาย่อมรู้โทษของสุรา และรักตัวกลัวตาย .. กว่าคนไม่รู้หนังสือ
.. ผล คือ ทุกคนกลัวตาย จึงไม่มีใครดื่มสุรา เพราุะทุกคนอ่านหนังสือออก
4 ม.ค.54 วันนี้ลองดูเลขตัวหนึ่งก็พบเลข 512 เป็นเลขสวยในกลุ่มสแตติกเว็บเพจของผมครับ เพราะวันนี้เพิ่มโฮมเพจ /sketchup เข้าไปอีก 1 เว็บเพจ (ได้แรงบันดาลใจมาจาก อ.หนุ่ย มืออาร์ทของมหาวิทยาลัย) และคิดว่าในชีวิตจำเลข 512 ที่คู่กับ sketchup น่าจะดี ที่สนใจก็เพราะ 512 มีค่าเท่ากับ 1 sector หรือครึ่งหนึ่งของ 1 KB นั่นเอง เป็นเลขที่เคยทำให้ผมต้องปิดเว็บไซต์ counterthai.com ด้วยนโยบาย static file ที่แยกแต่ละ page ตาม user และเครื่องที่เช่าไว้กำหนดขนาดของ cluster เท่ากับ 8 sectors นั่นหละครับ
+ http://www.thaiall.com/sketchup
+ http://sketchup.google.com/
+ http://www.thaiall.com/update.htm
ท่านสามารถตรวจจำนวน cluster ผ่าน computer management, defragmentation, report ได้ครับ
4 ม.ค.54 วันนี้ทำโปรแกรมระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง /sar เพิ่มอีกนิดหน่อย โดยจัดการส่วนแสดงการรวมเอกสารทั้งหมดจากบุคลากร (มีน้องสาว 3 หน่วยงานกับหัวหน้าหนุ่มมากวนใจ) เพื่อแสดงแบบรายการแยกตามเกณฑ์มาตรฐาน ที่ส่งเอกสารผ่านระบบ e-document มีประโยชน์กับฝ่ายประกันคุณภาพทั้งคณะวิชาและมหาวิทยาลัยได้แล้ว ในอนาคตอันใกล้คณะวิชา หรือมหาวิทยาลัยจะคัดกรองออกไปใช้ ก็จะเลือกคลิ๊กตามชื่อของเจ้าของแฟ้ม หรือชื่อคณะวิชา .. ซึ่งพัฒนาตามความต้องการของทีมวิจัยประกันคุณภาพการศึกษา แต่ยังขาดบูรณาการ เพราะอยู่ระหว่างพัฒนา Prototype
เทคนิคนี้เป็นการรวมก่อนแยก เพราะนี่เป็นรุ่น 2 ซึ่งรุ่นแรกทำแบบแยก และไม่เห็นรวม แต่มหาวิทยาลัยต้องการมองแบบรวม จึงทำแบบรวมเป็น default ไว้ก่อน น่าจะมีประโยชน์ในภาพรวม
ระบบนี้ยังสับสนเรื่อง account ของระบบ intranet กับ sar เพราะปีที่ผ่านมาทำให้ใช้ได้ทั้งบัญชีของ intranet กับ sar ซึ่งยุ่งในการสร้างพื้นที่รองรับในส่วนของ sar เฉพาะแต่ละบุคคล แต่ปีนี้ตั้งใจจะยุบการรองรับ account ที่มาจาก sar ให้เหลือเฉพาะ intranet แต่สำหรับคณะวิชา และมหาวิทยาลัย ยังจำเป็นต้องมี account ของ sar เพื่อกำหนดพื้นที่เฉพาะสำหรับข้อมูลอื่น เช่น เป้าหมายและผลการประเมินตนเอง ซึ่งระดับบุคคลไม่มีส่วนนี้
วันนี้ทำงานกับคนที่อยากทำงาน รู้สึกใจสงบครับ
4 ม.ค.54 หัวหน้าที่ใช้งานระบบ e-learning แจ้งว่า พบปัญหาใน moodle 1.5.3 ที่มีปีให้เลือกถึงค.ศ.2010 การขยายปีออกไปทำได้โดยแก้ไขแฟ้ม lib/weblib.php หาคำสั่ง for ($i=2000; $i<=2010; $i++) แล้วก็เปลี่ยนจาก 2010 เป็นปีที่ต้องการ เท่านี้ก็ขยายปีออกไปได้แล้ว
http://kampol.htc.ac.th/km52/index.php?topic=64.0
ถ้าเป็นคำแนะนำอื่น จะบอกว่าให้ upgrade version ของ moodle.org
2 ม.ค.53 ประเด็นที่ผม post ข่าวนี้ คือ BB เครื่องเป็นหมื่น ไม่ต้องประกาศเลิกใช้ ผมว่าคนไทยส่วนใหญ่ก็คงไม่ซื้อมาใช้เป็นแน่ ถ้ารวยขนาดซื้อเป็นหมื่นยังมี apple iphone ที่เป็นทางเลือกที่ดูดีไปอีกแนว สำหรับผมรอให้โทรศัทพ์เสียก็จะซื้อเครื่องดูทีวีได้ราคาไม่เกิน 3000 บาทเท่านั้น .. โทรศัพท์ราคาเป็นหมื่นคงเกินฐานะผมเป็นแน่ ยกเว้นมีใครปาทิ้งเพื่อหาของใหม่อินเทรน แล้วผมเก็บได้ก็อีกเรื่องหนึ่งครับ
จ่อเลิกใช้ “บีบี” ในไทย “กทช.”ถาม “ไอซีที” กรณีแบล็คเบอร์รี่ (BlackBerry) มีระบบจัดส่งข้อมูลอัตโนมัติ หวั่นผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
เมื่อ เวลา 16.00 น. วันที่ 18 ส.ค.2553 พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด)ว่า กรณีที่องค์กรกำกับกิจการโทรคมนาคมของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือยูเออี ระงับการให้บริการ รับส่งข้อความ และการเข้าถึงเว็บไซต์ผ่านเครื่องแบล็คเบอร์รี่ (บีบี) ตั้งแต่วันที่ 11 ต.ค.53 โดยครอบคลุมนักท่องเที่ยว และนักธุรกิจที่เดินทางเข้าประเทศ โดยยูเออี ระบุว่า แบล็คเบอร์รี่ให้บริการเกินขอบเขตกฎหมายของประเทศ จนก่อให้เกิดความกังวลด้านสังคมและความมั่นคง โดยเฉพาะเรื่องการจัดเก็บข้อมูลที่แบล็คเบอร์รี่มีระบบจัดส่งข้อมูล อัตโนมัติจากผู้ใช้ไปยังผู้ให้บริการในต่างประเทศ หากมีการทำผิดกฎหมายจะส่งผลให้ทางการยูเออีไม่สามารถเอาผิดได้ ตนจึงนำประเด็นดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุม
บอร์ด กทช.กล่าวต่อว่า จากการที่แบล็คเบอร์รี่มีระบบจัดส่งข้อมูลอัตโนมัติจากผู้ใช้ ไปยังผู้ให้บริการในต่างประเทศ ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถจัดการข้อมูลได้เมื่อต้องการใช้ข้อมูล และมีความกังวลใจว่าข้อมูลที่ส่งถึงกันระหว่างผู้ใช้งานจะเข้าข่ายผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 หรือไม่ ในส่วนของการเก็บข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ 90 วัน (ล็อกไฟล์) ซึ่งต้องสอบถามไปยังกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ผู้ดูแลและปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยที่บอร์ด กทช. มีมติให้ทำหนังสือสอบถามให้เร็วที่สุด
“ในมุมมองของไทยไม่ได้มองว่าบีบีมีความละเอียดอ่อนต่อความมั่นคงของประเทศ เพราะข้อมูลที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ของบีบี เป็นเพียงข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าเท่านั้น ซึ่งในประเทศไทยไม่มีหน่วยงานใดใช้บีบีในการติดต่อสื่อสารกัน เหมือนกับประเทศที่ออกมาให้เรียกร้องก่อนหน้านี้ที่ต้องใช้บีบีในการสื่อสาร ซึ่งไทยมีช่องทางในการสื่อสารที่หลากหลาย”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ประเทศที่มีการเรียกร้องให้ยกเลิกการใช้งานโปรแกรมบีบี ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินเดีย ซาอุดิอาราเบีย สำหรับเซิร์ฟเวอร์ของบริษัท รีเสิร์ช อินโมชั่น จำกัด หรือริม ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนแบล็คเบอร์รี่ ตั้งอยู่ที่ประเทศแคนาดา อย่างไรก็ตามช่วงที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประกาศไม่ให้ใช้โปรแกรมแชทของแบล็คเบอร์รี่ “ริม” ได้ออกแถลงการณ์ถึงกรณีดังกล่าวว่า ริมเคารพต่อกฎหมายของแต่ละประเทศ ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยของผู้ใช้เป็นหลัก โดยยืนยันว่าข้อมูลขององค์กรธุรกิจที่รับส่งผ่านระบบแบล็คเบอร์รี่มีความปลอดภัยสูง ไม่มีใครสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ แม้แต่พนักงานของริม เพราะแบล็คเบอร์รี่ใช้โซลูชั่น แบล็คเบอร์รี่ เอนเตอร์ไพรส์ ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและเป็นจุดขายของแบล็คเบอร์รี่ในการทำตลาด ภาครัฐและลูกค้าธุรกิจ
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
http://www.oknation.net/blog/motorcyrubjang/2010/08/19/entry-1
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=17006.0
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1293938410
28 ธ.ค.53 นั่งทำระบบ e-cards อยู่ 2 วัน พัฒนาเป็นระบบส่ง parameter ผ่าน url หรือที่เรียกว่าการกำหนด action method แบบ get เหมือนที่ google.com ใช้ แต่พบปัญหา 2 ประการ คือ ภาพไม่ปรากฎใน ie8 และภาพไม่ปรากฎอัตโนมัติในเฟสบุ๊คเพื่อแสดง thumb nail
สรุปปัญหาแรก คือ การกำหนดความกว้างของภาพเป็น % เป็นผลให้ไม่สามารถแสดงผลใน ie8 ภาพหายไปเฉย ๆ แต่ไม่พบปัญหาใน browser ตัวอื่น แม้แต่ ie6 ก็ไม่พบปัญหา แก้ไขโดยกำหนดเป็น pixel ตามปกติ ก็ใช้ได้กับ brower ทุกตัวที่เข้ามาทดสอบ ปัญหาที่สอง คือ เขียน card.php ตัวเดียว แล้วใช้วิธีส่งค่าแทนการสร้างสคริ๊ปขึ้นใหม่สำหรับแต่ละภาพ พบว่า การวาง url ใน status ของ fb จะไม่มีการเรียก url ผ่าน parameter เพื่อดึงภาพจากเว็บเพจมาทำเป็น thumb เช่น ส่ง card.php?x=1 ผลที่ fb อ่านคือ card.php เท่านั้น แก้ไขโดยกำหนดค่า default สำหรับการเรียก card.php ขึ้นมา เพื่อให้ fb ได้ภาพที่ต้องการสำหรับแสดง thumb nail มิเช่นนั้นจะว่างเปล่า
สมมติฐานที่ทีแรกสงสัยว่าภาพไม่ปรากฎใน fb จากกการวาง url คือ การเขียน html tag ไม่เป็นมาตรฐาน หรือการเขียน table หลายชั้น แต่ความจริงเป็นเพราะ fb ไม่รับ parameter ในการเลือกภาพมาแสดงเป็น thumb nail ของ status และปัญหาจากรุ่นของ browser เข้ามาผสมโรงในตอนท้ายของการทดสอบ
http://www.yonok.ac.th/cards
พบปัญหาการตัดอักษรจากชื่อแฟ้มผิดพลาดในระบบ e-document รุ่นที่ใช้กับมหาวิทยาลัย จากที่เคยทดสอบจะไม่ใช้ . ในชื่อแฟ้ม เพราะ . นิยมใช้กั้นระหว่างชื่อแฟ้มกับนามสกุลแฟ้ม แต่มีผู้ใช้บางท่านใช้ . เป็นบางส่วนของชื่อแฟ้ม ทำให้การแสดงรายชื่อแฟ้มไม่ครบตามที่ผู้ใช้คาดหวัง จึงเพิ่มบรรทัดที่ 142 สำหรับรวบรวมชื่อแฟ้มใหม่ให้ถูกต้อง และเปลี่ยนการแสดงชื่อแฟ้มจากอาร์เรย์ตัวที่ 0 มาเป็น $newcut ในบรรทัด 145 ตามตัวอย่าง (script ตัวนี้ไม่เผยแพร่ เพราะ upgrade สำหรับงานเฉพาะของมหาวิทยาลัย ที่ทำงานร่วมกับระบบภาระงาน และเอกสารประกันคุณภาพแล้ว) แต่รุ่นที่เผยแพร่คือ http://www.thaiall.com/perlphpasp/source.pl?9102
มีโอกาสเดินทางไปกรุงเทพด้วยรถตู้หลังคาสูง ซึ่งพนักงานขับรถเป็นคนลำปาง จึงใช้อุปกรณ์แนะนำเส้นทางติดรถยนตร์ (GPS = Global Positioning System) นำผู้เขียนไปในสถานที่ที่ต้องการรอบกรุงเทพ อุปกรณ์แนะนำเส้นทางเป็นนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บอกเส้นทางสู่ที่หมาย คอยแนะนำผู้ขับพาหนะให้เลี้ยวซ้าย ขวา และเตือนให้ทราบระยะทาง หากเปลี่ยนทิศ หรือออกนอกเส้นทางที่แนะนำจะคอยเตือนว่าออกนอกเส้นทางไปแล้ว อุปกรณ์นี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ถ้าซื้อจากบริษัทที่น่าเชื่อถือจะมีราคาหลายพันบาท แต่ถ้าซื้อจากท่าขี้เหล็กฝั่งพม่าก็ต้องรับความเสี่ยงเรื่องคุณภาพด้วยราคา ต่ำกว่าปกติครึ่งหนึ่ง
อุปกรณ์แนะนำเส้นทางสามารถระบุได้ว่าเราอยู่ที่ตำแหน่งใดบนพื้นโลก ในอนาคตอาจมีการรวมความสามารถนี้เข้ากับโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วไป เพราะสามารถเป็นไปได้ในทางเทคนิค เมื่อมีความนิยมเพิ่มขึ้นราคาก็จะลดลง ในรถยนต์รุ่นใหม่หลายคันเริ่มติดตั้งอุปกรณ์แนะนำเส้นทางเพื่อให้ความสะดวก แก่ผู้ขับยานพาหนะ ส่วนนักขับรถแข่งแรลลี่มืออาชีพเห็นความสำคัญของอุปกรณ์นี้ เพราะจำเป็นต้องใช้บอกเส้นทางไปสู่เส้นชัย แต่นักเรียนคงไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์นี้บอกเส้นทางจากบ้านไปยังสถานศึกษา คงไม่มีใครเปลี่ยนเส้นทางเดินรถทุกวัน ต่างกับผู้มีรถตู้ให้เช่าที่เส้นทางจะถูกกำหนดโดยผู้เช่าเป็นหลัก และบ่อยครั้งที่พนักงานขับรถไม่รู้เส้นทาง
แม้อุปกรณ์บอกเส้นทางจะมีความสามารถแนะนำเส้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็ยังมีข้อจำกัด และถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ข้อมูล และส่วนติดต่อกับผู้ใช้ โดยผู้เขียนมีประสบการณ์ไม่ดีนักเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์บอกเส้นทางใน กรุงเทพฯ เพราะบางพื้นที่มีเส้นทางที่ซับซ้อน มีหลายเส้นทาง และกฎจราจรเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ทำให้อุปกรณ์ไม่สามารถแนะนำเส้นทางที่เหมาะสมได้อย่างถูกต้อง หรืออาจพาอ้อมไปหลายสิบกิโลเมตร คนโบราณท่านว่า อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง ต่อไปอาจต้องเพิ่มคำว่า อย่างมั่นใจจีพีเอส ให้เป็นคติเตือนใจสำหรับผู้ใช้จีพีเอสมือใหม่
http://www.facebook.com/note.php?note_id=173599146004516&id=350024507271