การเพิ่ม host name ตัวใหม่คือ creative ใน dns และ webhost

28 ธ.ค.52 การดำเนินการมี 3 ขั้นตอน คือ 1) เพิ่ม host name โดยเข้าเครื่อง DNS เบอร์ 4 แล้ว กำหนดใน Forward Lookup Zones ของ yonok.ac.th ให้ name = creative เป็น alias(CNAME) ชี้ไปที่ www.yonok.ac.th เพื่อใช้พื้นที่ในเครื่องเดียวกับ www เมื่อจบขั้นตอนนี้ ผลการเปิด creative หรือ www ก็จะให้ผลเหมือนกัน 2) เชื่อม hostname กับ web hosting โดยเข้า IIS ในเว็บเซอร์ฟเวอร์เป้าหมายคือเบอร์ 5 แล้วสั่ง new website สร้าง creative โดยกำหนด ip address เป็นเบอร์ 5 คือเครื่องตัวเอง และ Host header value เป็น creative.yonok.ac.th จากนั้นก็กำหนด Home Directory ไปชี้ในห้องที่ต้องการ 3) แก้ไข DNS ใน Linux อีกเครื่องหนึ่ง ให้ CNAME ของ Named ชี้อย่างถูกต้อง แล้วสั่ง restart named เพราะองค์กรมี DNS 2 ตัว

ระบบปฏิทินกิจกรรมแบบได้นก 2 ตัว

ปฎิทินที่ใช้งานใน มูเดิ้ล
ปฎิทินที่ใช้งานใน มูเดิ้ล

24 ธ.ค.52 ระบบปฏิทินกิจกรรมที่ใช้ร่วมกันทั้งองค์กรก็เป็นแบบหนึ่ง คือ ทุกคน 1 ระบบ แต่แบบอื่นก็มี เช่น 1 คน 1 ระบบ หรือ 1 หน่วยงาน 1 ระบบ หรือ 1 คนหลายระบบ หรือ 1 หน่วยงานหลายระบบ คนในสำนักไอทีเคยใช้แบบ 1 คนหลายระบบมาแล้ว พบว่าปัญหาคือใช้กันคนละแบบจะดูของใครก็ต้องเปลี่ยนระบบให้ตรงกับคนนั้น อย่างบริการของ gmail.com hotmail.com yahoo.com หรือ yonok.ac.th แล้วก็ล้มไปในที่สุด คุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ คุณอรรถชัย เตชะสาย หรือคุณอนุชิต ยอดใจยา ให้ข้อมูลได้ เพราะใช้งานแต่ละทีไม่รู้จะใช้ระบบใด มีกันอยู่หลายระบบ ก็เพราะขาดการรวมศูนย์ เหมือนจับปูใส่กระโด้ง
     ถ้าใครจะนำระบบปฏิทินกิจกรรมมาใช้ ก็ใช้ระบบนี้ได้เพราะมีมาแล้วหลายปี ขาดแต่ผู้ใช้ คือ http://class.yonok.ac.th ที่มีบริการให้อาจารย์สามารถเขียนกิจกรรมของเว็บไซต์ประกาศให้ทุกคน หรือนักศึกษาได้ทราบ หรือจะบันทึกกิจกรรมของตนเอง ไว้ดูคนเดียวก็สามารถทำได้ จากภาพจะเห็น 3 ส่วนคือ 1) เมื่อเข้าสู่ระบบและเข้าปฏิทินของมูเดิ้ลจะสร้างกิจกรรมใหม่ได้ 2) การสร้างกิจกรรมเลือกระหว่าง กิจกรรมของสมาชิก หรือกิจกรรมของเว็บไซต์ 3) ผลคือกิจกรรมของสมาชิก จะไม่แสดงผลเมื่อสมาชิกท่านอื่นเข้าสู่ระบบ แต่กิจกรรมของเว็บไซต์จะเห็นกันทุกคน ระบบนี้ใช้งานทั้งมหาวิทยาลัย เพราะเป็นเงื่อนไขในการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และสนับสนุนการเรียนการสอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย จุดเด่นคือเร็วที่สุด

ตัวตายตัวแทนกับปัญหาเน็ตล่ม

18 ธ.ค.52 วันนี้ระบบ DHCP Server ที่ทำหน้าที่แจกไอพีทำงานผิดปกติ ช่วงเช้ามีสายเข้ามาหน่วยงานไอทีมากกว่า 10 สาย ลองทดสอบดูก็พบว่ามีปัญหาจริง แต่ผู้ดูแลระบบมือหนึ่งติดภาระกิจ และอยู่นอกพื้นที่ ครั้งนี้โชคดีที่ อ.วิเชพ ใจบุญ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบเครือข่ายเข้ามาช่วยดู ทำให้พบหลายประเด็นที่นำไปสู่การแก้ไข ดังนี้ 1) วันนี้ระบบอินเทอร์เน็ตภายในที่ร้องขอบริการจากเครื่อง DHCP ไม่แสดงหน้า Login ทำให้ไม่มีใครในองค์กรใช้อินเทอร์เน็ตได้ 2) 2 วันที่ผ่านมามีการ upgrade  DHCP Server 3) 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาระบบ Login ของ DHCP Server ตอบสนองช้าผิดปกติ จึงเป็นที่มาของข้อ 2 4) อ.วิเชพ พบว่าเมื่อยกเลิก User Authentication แล้วเข้าอินเทอร์เน็ตได้ปกติ 5) แต่เวลาต่อมาพบว่าเข้าอินเทอร์เน็ตได้เฉพาะเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย ออกไปเว็บไซ์ภายนอกไม่ได้
     6) พบว่ามีนโยบายกำหนด Load Balance ทำงานกับ ADSL และ Leased Line แต่ ADSL ล่ม ทำให้อินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ทุกคนล่มด้วย ถ้าแก้ไขก็ทำได้ด้วยการ config ให้ล่มขาใดแต่ออกอีกขาได้เอง .. เจอกรณีนี้เพราะทั้งองค์กรมีเครื่อง อ.เชพ ออกเน็ตได้เครื่องเดียว เนื่องจากกำหนดนโยบายให้ออก Leased Line แต่ของทุกคนในมหาวิทยาลัยผ่าน Load Balance เมื่อ Load Balance ล้ม ทำให้เครื่องของ อ.เชพ เป็นเครื่องเดียวที่หลุดผ่านนโยบายข้อนี้ออกไปได้ และเป็นเหตุให้พบปัญหาที่การ config ที่เกิดขึ้นหลัง upgrade DHCP Server 7) ผลการตรวจ ADSL พบว่าไม่สามารถเชื่อมกับผู้ให้บริการ คือไฟ internet ที่ router ไม่ขึ้น จึงย้าย Net ทั้งหมดมาไว้กับ Leased Line เป็นวิธีแก้ปัญหาจากข้อ 6 8) แก้ปัญหา ADSL ล่มได้ แต่ Login ยังช้าเหมือนเดิม เป็นปัญหาพื้นฐานที่พึงเกิดขึ้นไม่นานมานี้
     9) อ.วิเชพ สงสัยว่าการย้ายข้อมูลผู้ใช้ เป็นแบบ import หรือ copy เพราะถ้า DHCP Server ต่างรุ่น การคัดลอกมาอาจมีปัญหา ต้องรอสอบถามจากผู้ดูแลระบบมือหนึ่งก่อน เพราะระบบสมาชิกองค์กรเป็นเรื่องใหญ่ ที่อาจเป็นต้นเหตุของหลายปัญหาได้
10) พบว่าการกำหนด Gateway 2 เบอร์ผิดจากที่ควรจะเป็น แต่แก้ไขให้เลือกเบอร์เดียวก็ไม่ทำให้ปัญหาหมดไป 11) มีข้อสงสัยเรื่องเว็บเพจ Login ที่มีการแก้ไขมาหลายสัปดาห์แล้ว และแก้กลับคืน แต่วันนี้พบเว็บเพจ Login รุ่นเดิมที่ใส่ภาพกิจกรรมนักศึกษาเข้าไป ซึ่งไม่น่าจะแสดงขึ้นมาได้อีก อาจเป็นปัญหาทาง Script ของระบบที่ incompatible กับ DHCP Server 12) มีการแก้ไขให้ใช้ได้ และผ่าน  User Authentication ประมาณ 13.00น. แล้วผลทดสอบก็ใช้งานได้ แต่ได้รับแจ้งจาก อ.ตา และ อ.บอย ว่า 17.00น. ยังมีปัญหาเข้า net ไม่ได้เกิดขึ้นอีก ถ้าเป็นจริงคงต้องยกเลิก User Authentication เหมือนที่ทำในข้อ 4 ไปก่อน เพื่อให้ใช้งานได้ และรอหารือกับผู้ดูแลระบบมือหนึ่งที่ติดภาระกิจ และอยู่นอกพื้นที่
??? เรื่องนี้ผู้ใช้ทั่วไปคงอ่านเข้าใจยาก .. ผมใช้เตือนความจำระหว่างทีมไอทีเป็นเป้าหมาย

ผลการทดสอบติดตั้ง Skype และใช้ video

 

ทดสอบใช้ skype
ทดสอบใช้ skype

20 ธ.ค.52 ผู้ใหญ่ใจดีแนะนำให้ใช้โปรแกรม skype ที่ช่วยในการสื่อสารชั้นเยี่ยม คู่แข่งของ camfrog และ msn ผมจึงแนะนำ อ.บอย กับ อ.เอก ให้ติดตั้ง และทดสอบกับ น้องแบงค์ และน้องหนึ่ง และ อ.วิเชพ รับทราบว่าผลการทดสอบใช้ได้ แต่ติดปัญหาเรื่องไม่มี webcam ภายนอก
     ขั้นตอน เริ่มจากการติดตั้ง เปิดใช้ Skype แล้ว Sign in เข้าระบบ จากนั้นเลือก Menu Bar, Contacts, New Contact แล้วค้นหาเพื่อน ด้วย Skype Name หรือ full name เช่น yonokburin เมื่อพบแล้วก็ Add Contact แล้วผู้รับจะพบข้อความใน conversations เท่านี้ก็สามารถ call + answer เพื่อสื่อสารกันได้
     หากคู่สนทนา กดปุ่ม turn on : video คู่สนทนาจะเห็น video ของอีกฝ่าย แล้ว skype สามารถมองเห็น video แบบ full screen ได้  ซึ่งยอมรับว่าเป็นวีดีโอที่ชัดมากจาก web cam build-in ธรรมดาของ notebook พบว่า video มีคุณสมบัติที่น่าสนใจ เช่น 1) share full screen 2) Take a snapshot  3) เรื่องเสียงชัดดี แต่พบปัญหาเสียงหอน เพราะเครื่องรับกับเครื่องส่งอยู่ติดกัน ถ้าใช้เวลาในที่ทำงานเล่น skype คงไม่มีปัญหาเรื่องเสียงแน่
+ http://it.yonok.ac.th/anuchit/SkypeSetup.rar

ติดตั้ง camfrog แบบแม่และผู้ใช้ ไว้ประชุมกับผู้ใหญ่ใจดี

การสนทนาด้วย camfrog แบบเห็นภาพ
การสนทนาด้วย camfrog แบบเห็นภาพ

16 ธ.ค.52 โดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่ชอบคุยกับคนแปลกหน้าโดยไร้เหตุผล เพราะไม่คิดว่าจะได้อะไรจากคนแปลกหน้า คนที่รู้จักก็เดินไปคุย โทรไปคุย หรือเมลก็ได้ ทำให้ผมไม่คิดจะใช้ camfrog แต่อยู่มาวันหนึ่งมีผู้ใหญ่ใจดีบอกว่า เขาใช้ camfrog ในการประชุมออนไลน์จากต่างจังหวัด ทำให้ต้องหา camfrog มาติดตั้ง โดยดาวน์โหลดรุ่นที่เผยแพร่ใน camfrog.com เป็นตัวติดตั้งสำหรับเครื่องแม่ รุ่น 4.2 และตัวติดตั้งสำหรับผู้ใช้รุ่น 5.3
     เมื่อติดตั้งแล้วพบว่า 1) ต้องสมัครเปิดเป็นเครื่องแม่ ผมตั้งเครื่องแม่ชื่อ yonokyoso 2) ต้องสมัครเป็นเครื่องผู้ใช้อีกชื่อหนึ่ง เช่น yonokburin เพื่อ join chat หรือสนทนาตัวต่อตัวกับใครใครผ่าน Add a Contact 3) ตอนนี้ทดสอบผ่าน net ของ tot ที่ได้ fake ip ทำให้เครื่องแม่ที่ทดสอบใช้งานไม่ได้ เพราะไม่มีใครเข้าถึงได้ 4) ทดสอบ call ไปยังเครื่องภรรยาที่มี webcam เมื่อเขายอมรับ (Accept) เราก็จะเห็นหน้าเขา  5) พรุ่งนี้คงต้องไปทดสอบกับเครื่องที่มหาวิทยาลัยหา ip จริงให้เขาสักเลข เพื่อทดสอบ และเปิดให้ผู้ใหญ่ใจดี  ได้ประชุมกับสมาชิกกลุ่ม yoso ได้โดยสะดวก ซึ่งปกติท่านใช้ 3 วิธี อีก 2 วิธีคือ MSN Video chat และ Skype แล้วในโอกาสต่อไปก็จะจัดอบรมวิธีการใช้เครื่องมือไว้สื่อสารกับผู้คนในโลกอินเทอร์เน็ตให้บุคลากรได้ใช้เป็นช่องทาง ตามแต่เป้าหมายของแต่ละบุคคล
+ http://www.camfrog.in.th/downloads/detail.asp?iFile=310&iType=28
+ http://download.camfrog.com/
+ http://www.thaiabc.com/download/camfrog_svr42_cln53.zip 18 MB

มองเว็บไซต์มหาวิทยาลัยในแต่ละรุ่นย้อนหลัง 3 ปี

แต่ละรุ่นของเว็บไซต์ในหลายปีที่ผ่านมา15 ธ.ค.52 วันนี้ทราบจาก อ.ศักดา ดีคำป้อ ว่ารูปแบบของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยใหม่มีความชัดเจนแล้ว การเปลี่ยนแปลงย่อมนำมาซึ่งสิ่งที่ดีกว่า ทำให้ผมลองมองย้อนกลับไปในอดีตว่าเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเคยมีหน้าตาเป็นอย่างไรบ้าง ก็พบว่า 3 – 4 ปีหลังมีรุ่นของเว็บไซต์ค่อนข้างหลากหลาย เพราะมีเว็บมาสเตอร์เปลี่ยนหลายรุ่น ทั้ง .พิมาย วงค์ทา คุณนุชจรีย์ นะนันวี และคุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ เป็นคนปัจจุบัน
     มองอดีต ไม่ขอกล่าวถึงรุ่นก่อนประวัติศาสตร์ เพราะหาข้อมูลไม่พบแล้ว 1) มายุคแรกในสมัยของ อ.พิมาย วงค์ทา การออกแบบเว็บไซต์ค่อนข้างเน้นที่ความเรียบง่าย ส่วนใหญ่เป็นแบบมาตรฐานคือ กว่า 800 * 600 แบ่ง 3 column เหมือนของ eduzones.com หรือ sanook.com ที่แบ่งเนื้อหาออกเป็น block แต่มี comment เข้ามาบ่อย ทำให้เว็บไซต์ต้องเปลี่ยนรูปแบบหลายครั้ง ช่วงหนึ่งใช้แบบของเว็บไซต์แบบธุรกิจบัณฑิต 2) คุณนุชจรีย์ นะนันวี เข้ามาช่วงสั้น ๆ ในช่วงนี้เว็บไซต์ยังไม่ลงตัวนัก เพราะผู้ให้ข้อเสนอแนะมีจำนวนมาก และไม่มีใครได้สิทธ์ขาดในการตัดสินใจ แต่ก็ยังมีเสียงบ่นว่าไม่สวยเช่นเคย 3) คุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ เริ่มใช้ action script เข้ามาควบคุมระบบเว็บเพจของคณะและหน่วยงาน แบบของเว็บไซต์ถูกดูแลโดยคณะกรรมการจัดทำสื่อและกำกับโดยท่านอธิการ มีการใช้ flash ประกอบเว็บไซต์มากขึ้น ทำให้การออกแบบมีเอกภาพมากที่สุดตั้งแต่เปิดมหาวิทยาลัยมา ส่วนเนื้อหาในเว็บของแต่ละคณะดูแลโดยเลขานุการคณะ ช่วงนี้ไม่ได้ยินเสียงคนในมหาวิทยาลัยบ่นเรื่องรูปแบบเว็บไซต์เท่าใดนัก และภาพกิจกรรมก็เปลี่ยนแปลงตลอดด้วยความทันสมัย ตั้งแต่เปลี่ยนท่านอธิการทีมพัฒนาเว็บไซต์ก็ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงแบบเว็บไซต์เลย เพราะทางคณะกรรมการที่ดูแลเว็บไซต์ยังไม่ให้รูปแบบใหม่ที่สอดรับกับภาพลักษณ์องค์กรใหม่นั่นเอง

อยากเห็นผู้คนมีมารยามากกว่านี้

14 ธ.ค.52 ผมว่ามนุษย์เรามีมารยากันน้อยลง ทำอะไรไม่ค่อยได้คิดกัน ไม่ค่อยเกรงใจ ไม่ค่อยเสแสร้งเพื่อให้คนรอบข้างมีความสุข คนมีมารยาก็จะทำอะไรขัดกับความรู้สึกจริง ก็เพื่ออยู่ในกฎในกรอบที่สังคม องค์กร หรือกลุ่มได้ตั้งไว้ เช่น เกียจคนเจ้าชู้ก็ต้องยิ้มให้ จะฉี่ข้างถนนก็ไม่ได้ต้องหาห้องน้ำ เดินก็ต้องเดินให้สวยทำขากระเพกก็อายเขา จะแก้ผ้าเดินเพราะร้อนก็ไม่ได้ จะกินมูมมามก็เกรงสายตาคนรอบข้าง ไม่อยากฟังอาจารย์ก็ฝืนฟัง ไม่ชอบเสื้อเหลืองเสื้อแดงก็ต้องหุบปาก
     แต่สมัยนี้เราไม่ค่อยมีมารยา เช่น ฟังวิทยากรพูดเรื่องแผนการสอนก็หยิบคอมพิวเตอร์มาเล่นเอ็ม นั่งประชุมอยู่ก็เล่นเกมหรืออ่านนิตยสาร อาจารย์สอนกลับนั่งยิ่มกับเครื่องคอม องค์กรให้เงินเดือนก็ทำตัวเนรคุณ จะเกษียณก็ใส่เกียร์ว่าง นักศึกษาแต่งโป๊ก็ไปด่า ไม่ชอบเจ้านายก็เขียนเมล์ตำหนิ น่าจะเป็นการดีที่เราใส่หน้ากากเข้าหากัน เมื่อก่อนเราเป็นสยามเมืองยิ้ม เจอใครไม่รู้จักยิ้มให้หมด ผมว่าเป็นเมืองที่น่าอยู่นะครับ เจอคนแปลกหน้าก็ไปเรียกเขาลุง เจอเด็กสาวก็เรียกน้อง มีมารยาให้กันและกัน อะไรทำนองนี้ (สมัยนี้แค่แดงเห็นเหลืองก็ตาขวางเข้าใส่ แต่เห็นเป็นพระสงฆ์ก็ละสายตาลง) อยู่บนโลกนี้ชั่วคราว น่าจะปล่อยวาง แล้วหันมาทำให้ตัวเรา คนรอบข้าง และสังคมรอบตัวเรามีความสุข น่าจะคุ้มค่ากับชีวิตที่เหลือบนโลกใบนี้

กระท่อมปลายนาผ่านคูเหมือง หาคำนี้จาก google.com

13 ธ.ค.52 ปลายพฤศจิกายน52 พาเด็กนักศึกษาไป กระท่อมปลายนา ไปกันเป็นฝูง พบอุบัติเหตุตกหลุมโคลนตอนจบ เราไปคุยงานวิจัยท้องถิ่นที่กระท่อมปลายนา (ซึ่งตอนจบโครงการวิจัย ต้องทำเอกสารอีกชุดนอกเหนือจากส่ง สกว. เพื่อสอบกับ อ.วิเชพ ใจบุญ และ อ.เกศริน อินเพลา อีกมาตรฐานหนึ่ง) ตอนที่เดินอยู่ในคูเหมือง เห็นว่าน่าสนใจก็หยิบกล้องที่เคยให้นักศึกษาเขายืมไปทำงานเอามาถ่ายวีดีโอ แล้ว upload เข้า youtube.com ก็มีคุณภาพในระดับพอใช้ได้ แต่ไม่ถึงกับแข่งขันทำหนัง hollywood ระดับโลกได้ เพราะเครื่องบันทึกราคาไม่กี่พัน แต่ทำหนังแผ่นฉายดูที่บ้าน หรือในห้องเรียนก็เท่านั้น จะใช้ฉายในโรงภาพยนต์สามมิติคงไม่สะดวก ใครมีคลิ๊ปนำมา share กันได้นะครับ ของผมมีหลายสิบเรื่องในหลาย account ของ youtube.com
     ภาพยนต์ที่ได้ก็ใช้โปรแกรมตัดต่ออย่าง moviemaker หรือ premiere หรือ ulead หรือ proshow ช่วยปรับแต่ง ผมเคยสอนนักศึกษาผู้ใหญ่ med รุ่นคุณยาย แบบไม่กี่ปีก็เกษียณ ตัดต่อหนังด้วย proshow เห็นใช้แล้วท่านก็ชอบใจกัน เพราะสมัยนี้ใคร ๆ ก็พอมีตังดาวน์กล้องรุ่นใหม่มาใช้ได้แล้ว ส่วนภาพยนต์เรื่องพาหัวใจไปสู่ฝัน ของมหาวิทยาลัยเห็นว่าเป็น DVD คงไม่มีใครหยิบไปเปิด จึงแปลงเป็น vcd แล้วแบ่งครึ่ง upload เข้า youtube.com ก็เป็นอีกเทคนิคหนึ่งของการใช้ประโยชน์จาก youtube.com เท่านั้น .. สรุปว่าเป็นเทคนิคสะท้อนคิด เรื่อง youtube.com จากสิ่งที่เคยพบเห็นมา
กระท่อมปลายนา

แก้ไขปัญหาภาพ convert enlarge to thumb ได้สำเร็จ

ภาพขนาด full size
ภาพขนาด full size

11 ธ.ค.52 เมื่อวานนี้ได้ถ่ายภาพในบริเวณมหาวิทยาลัยโยนกมามากกว่า 20 ภาพ กำหนดขนาดในกล้องเป็น 6M-S มี resolution 2816px * 2112px แต่ละภาพขนาดประมาณ 1.5MB แล้วก็ใช้โปรแกรม openphotodir.php ที่เคยพัฒนาไว้ระบบ photo directory มา upgrade จนสามารถอ่านภาพขนาดใหญ่มาลดขนาด เพื่อแสดงเป็น thumbnail อย่างอัตโนมัติ ผลการทดสอบกับ thaiabc.com local server ไม่พบปัญหา แต่ upload ทั้งภาพและ script ไปในเครื่องบริการของ hypermart.net พบว่าไม่ได้ เพราะ script ไปตายกับฟังก์ชัน  imagecreatefromjpeg()
     มาวันนี้พยายามทดสอบใหม่ พบว่า 1)ลดขนาดจาก 2816px * 2112px เหลือ 1408px * 1056px ทำให้ระบบแสดง thumbnail ทำงานได้ 2)ฝังฟังก์ชัน ini_set(‘memory_limit’, ’80M’); เข้าไปใน php script ทำให้สามารถทำงานกับแฟ้มภาพขนาดใหญ่ได้ เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ไม่ยากถ้ารู้มาก่อน 3)การเปิดภาพขนาดใหญ่ให้ใครต่อใครเข้าถึงแฟ้มได้ง่ายแบบนี้ ดูไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก จึงเพิ่มการตรวจสอบการพิมพ์ข้อความเข้าไป หากมีการคลิ๊กเลือกภาพ เพื่อต้องการภาพจริง เป็นการกรอง robot ออกจากมนุษย์ด้วย easy captcha
     ซึ่งวิธีนี้ ทำให้เพื่อนอาจารย์ของผมสามารถมีระบบ photo gallery ที่ใช้งานได้สะดวกมาก เพียง upload ภาพเข้าไปด้วยระบบแฟ้มดิจิทอลออนไลน์ (managefile.php) ก็จะพบภาพที่ถูกจัดระเบียบในทันที โดยไม่ต้องปรับแต่งภาพด้วยโปรแกรมใดมาก่อน เห็นภาพได้อย่างรวดเร็วอย่างมือสมัครเล่น
+ http://www.thaiall.com/perlphpasp/source.pl?9130

พัฒนาศักยภาพว่าที่บัณฑิตด้านไอที 30 ชั่วโมง

bundit_development
9 ธ.ค.52
อาจารย์วิเชพ ใจบุญ รักษาการคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยโยนก เปิดเผยว่า ได้จัด โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพว่าที่บัณฑิตด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาและบัณฑิตของมหาวิทยาลัยโยนก มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนานักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา หรือสำเร็จการศึกษาแล้วไม่เกิน ๖ เดือน ให้มีทักษะด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น และเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยีให้กับนักศึกษาที่กำลังจะออกไปทำงานในสังคม ระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2552 ถึง 22 มกราคม 2552 เวลา 18.00น. – 20.00น. ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 ชั้น 3 อาคารบริหารธุรกิจ โดยรุ่นที่ 1 มีผู้สนใจเข้ารับการอบรมมากกว่า 25 คน
+ http://it.yonok.ac.th/doc/oit/bundit_development_enlarge.jpg