There was a problem sending the command

There was a problem sending the command
There was a problem sending the command
พบข้อความว่า There was a problem sending the command to the program ในโปรแกรม excel 2007 และ 2010 เมื่อ double click บน icon ของ excel file จะต้องใช้วิธี open file ตามปกติจาก menu bar
แก้ไขโดย
1. คลิ๊ก Office button, Excel Options, Advanced
2. คลิ๊ก checkbox หน้าตัวเลือก Ignore Other Applications that use Dynamic Data Exchange (DDE)

วงจรในการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพภายใน

คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554-2556
คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554-2556

วงจรในการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพภายใน
จากหัวข้อแนวทางการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน
หน้า 201
ของ คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554-2556
(Quality Assurance Manual 2554-2556)

1. สถาบันวางแผนการประเมินคุณภาพประจำปีการศึกษาใหม่ โดยประกาศตัวบ่งชี้ก่อนเริ่มต้นปีการศึกษาใหม่ และแจกคู่มือการจัดทำ SAR (กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวบ่งชี้ วิธีการ และกำหนดการประเมินคุณภาพภายในประจำปี)
2. สถาบันเก็บข้อมูลระยะ 12 เดือนตามตัวบ่งชี้ที่ได้ประกาศใช้บนระบบ CHEQA Online (มีทีมงานให้คำปรึกษากับบุคลากร และหรือหน่วยงานและหรือภาควิชาในการเก็บข้อมูล พร้อมทั้งพิจารณาปรับปรุงการดำเนินงานตามความเหมาะสม)
3. สาขาวิชา ศูนย์นอกที่ตั้ง จัดทำ SAR และเตรียมการประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้ง
4. ประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้ง
5. คณะวิชาและศูนย์นอกที่ตั้ง นำผลการประเมินมาจัดทำ SAR บนระบบ CHEQA Online และเตรียมการประเมินระดับสถาบัน และแต่งตั้งกรรมการประเมินระดับสถาบัน
6. ประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้งบนระบบ CHEQA Online
7. สถาบันนำผลการประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้งมาจัดทำ SAR บนระบบ CHEQA Online และเตรียมการประเมินระดับสถาบัน และแต่งตั้งกรรมการประเมินระดับสถาบัน
8. ประเมินระดับสถาบันบนระบบ CHEQA Online และนำผลการประเมินเสนอสภาสถาบันเพื่อพิจารณาวางแผนพัฒนาสถาบันในปีการศึกษาถัดไป
9. ผู้บริหารของสถาบันอุดมศึกษานำผลการประเมินและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน (รวมทั้งข้อเสนอแนะของสภาสถาบัน) มาวางแผนปรับปรุงการดำเนิน หรือปรับแผนกลยุทธ์/แผนปฏิบัติการประจำปีและเสนอตั้งงบประมาณปีถัดไป หรือจัดทำโครงการพัฒนาและเสนอใช้งบประมาณกลางปี
10. ส่งรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน (ประกอบด้วย SAR และผลการประเมินคุณภาพภายในระดับคณะวิชา ศูนย์นอกที่ตั้ง และระดับสถาบัน) ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาผ่านระบบ CHEQA Online และหน่วยงานต้นสังกัด (ภายใน 120 วันนับจากสิ้นปีการศึกษา)

http://www.mua.go.th/users/bhes/bhes2/QA%20MUA_54/ManualQA_MUA_February2554.pdf

http://www.cheqa.mua.go.th/

เปรียบเทียบเนื้อข้อมูลของ UTF-8 กับ Unicode หรือ UTF-16

เปรียบเทียบ utf8 utf16 และ unicode
เปรียบเทียบ utf8 utf16 และ unicode

ปกติผมจะเรียกว่าประเภทตัวอักษรแบบ Unicode
แต่ใน Firefox และ Chrome เรียกว่า UTF-16
ในบราวเซอร์รุ่นใหม่จะรู้อัตโนมัติว่าเป็นแฟ้มข้อมูลแบบใด เพื่อการแสดงผล

UTF-8
UTF-8 เป็นมาตรฐานของตัวอักษร มี Character table ที่กำหนดอย่างชัดเจน
หากสร้างแฟ้มแบบ UTF-8 ที่มีตัวอักษร 3 ตัวคือ “กขค” จะใช้พื้นที่ทั้งหมด 12 bytes
โดยใช้พื้นที่เก็บข้อมูลตัวอักษรละ 3 bytes และส่วน header คงที่อีก 3 bytes
เมื่อใช้โปรแกรม editplus ที่กำหนด encoding type เป็น UTF-8 แล้วสร้างแฟ้ม พบว่า

กอไก่ คือ E0 B8 81 ฐาน 16
ขอไข่ คือ E0 B8 82 ฐาน 16
คอควาย คือ  E0 B8 84 ฐาน 16
โดย 3 Bytes แรกของแฟ้ม คือ EF BB BF ฐาน 16

แต่ตัวเลขในแฟ้มประเภท UTF-8 จะใช้ค่าตามตาราง ASCII เหมือนเดิม
แต่อักษร 3 bytes แรกก็ยังมีอยู่เหมือนเดิม
เมื่อสร้างแฟ้มที่มี “012” ก็จะได้แฟ้มขนาด 6 Bytes
ซึ่งมาตรฐานนี้กำหนดว่าภาษาไทยอยู่ระหว่าง 0xe0 0xb8 0x80 ถึง 0xe0 0xb9 0xbf
แต่ถ้าเป็นมาตรฐาน unicode หรือ UTF-16 จะอยู่ระหว่าง U+0E00 ถึง U+0E7F

UTF-16
หากกำหนดประเภทแฟ้มเป็น unicode หรือ UTF-16 แล้ว save as ข้อมูล “กขค”
จะใช้พื้นที่ขนาด 8 bytes พบว่า

กอไก่ คือ 01 0E ฐาน 16
ขอไข่ คือ 02 0E ฐาน 16
คอควาย คือ  04 0E ฐาน 16
โดย 2 bytes แรก คือ FF FE ฐาน 16

แต่ถ้าเป็นตัวเลข “012” ก็จะมีขนาดเท่ากับ “กขค” ที่ใช้พื้นที่ 8 bytes
โดย 2 bytes แรกเหมือนเดิม แต่ข้อมูลคือ 30 00 31 00 32 00
ซึ่ง unicode จะมีขนาดแฟ้มแน่นอน คือ ตัวอักษรละ 2 bytes
เมื่อรวมกับ header อีก 2 bytes ก็จะรู้ว่าแฟ้มนี้มีกี่ตัวอักษร
เช่น “ก0ข1ค2” จะมีขนาด 14 bytes

ขนาดแฟ้มที่แตกต่าง
เมื่อพิจารณาดูความต่างของขนาดแฟ้มจะพบว่า
ประเภท UTF-8 จะมีขนาดแฟ้มแปรผัน
ตามลักษณะของข้อมูล โดยตัวเลขใช้ 1 byte แต่ตัวอักษรใช้ 3 bytes
เช่น  “ก0ข1ค2” จะมีขนาด 15 bytes
เพราะ กขค ใช้พื้นที่ 9 bytes และ 012 ใช้พื้นที่ 3 bytes
รวม header 3 bytes ก็จะเป็น 15 bytes

แนวทางการแก้ไขนักเรียนที่ติด 0,ร,มส

in complete
in complete

แนวทางการแก้ไขนักเรียนที่ติด 0,ร,มส ด้วยวิธีการสอนซ่อมเสริมและกระบวนการติดตามผล เนื่องจากในแต่และภาคเรียนมีนักเรียนที่ติด 0, ร, มส  จำนวนมาก โรงเรียนได้จัดสอบแก้ตัว 2 ครั้ง แต่ยังมีนักเรียนอีกหลายคนสอบแก้ตัวไม่ผ่าน หรือไม่ดำเนินการสอบแก้ตัว จึงทำให้นักเรียนเหล่านั้นไม่สามารถจบหลักสูตรได้ ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว งานวัดผลจึงกำหนดขั้นตอนและแนวทางการสอบแก้ตัวของนักเรียนที่ติด 0 , ร , มส ตามแนวทางของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินผลการเรียน ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533) และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินผลการเรียน ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายพุทธศักราช 2524 (ฉบับปรับปรุง 2533) ซึ่งกำหนดแนวทางการเปลี่ยนระดับผลการเรียน “0” โดยให้สถานศึกษาจัดสอนซ่อมเสริมในจุดประสงค์ที่ผู้เรียนสอบไม่ผ่านก่อน แล้วจึงสอบแก้ตัวและให้สอบแก้ตัวได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ทั้งนี้ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นในภาคเรียนถัดไป ถ้าผู้เรียนไม่มาดำเนินการสอบแก้ตัวตามระยะเวลาที่กำหนดไว้นี้ ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าสถานศึกษาที่จะพิจารณาขยายเวลาการแก้ “0” ออกไปอีกหนึ่งภาคเรียน เพื่อให้วิธีการดังกล่าวปฏิบัติได้จริง มีผลดีต่อนักเรียนช่วยลดจำนวนติด “0” ให้น้อยลง จึงกำหนดแนวทางของโรงเรียนดังนี้

แนวทางการแก้ “0”
1. การแก้  “0”  ครั้งที่ 1  ให้อาจารย์ประจำวิชาสอนซ่อมเสริมในจุดประสงค์ที่นักเรียนสอบไม่ผ่านโดยใช้เวลาในคาบที่ 8 หรือ ในวันหยุด โดยใช้ระยะเวลาในการซ่อม 1 เดือน แล้วให้บันทึกผลการสอนซ่อมเสริมและผลการสอบซ่อมตามแบบที่ฝ่ายวัดผลกำหนด
2. ถ้านักเรียนสอบซ่อมครั้งที่ 1 ไม่ผ่านหรือไม่ดำเนินการสอบซ่อม ให้นักเรียนลงทะเบียนสอบซ่อมใหม่ โดยนำผู้ปกครองมารับทราบปัญหาและวิธีการสอบซ่อมในครั้งที่ 2
3. การแก้ “0” ครั้งที่ 2  ให้อาจารย์ประจำวิชาสอนซ่อมเสริมในจุดประสงค์ที่นักเรียนยังสอบไม่ผ่านโดยใช้เวลาในคาบที่ 8 หรือในวันหยุด ใช้ระยะเวลาในการสอนซ่อมเสริมและสอบซ่อมให้เสร็จสิ้นก่อนการสอบปลายภาคเรียนนั้นๆ ทั้งนี้การสอนซ่อมเสริมและสอบซ่อมต้องให้ผู้ปกครองนักเรียนรับทราบ และให้มีบันทึกผลการสอนซ่อมเสริมและผลการสอบซ่อม
4. หากดำเนินการสอบซ่อมทั้ง 2 ครั้ง หรือเลยเวลาสอบซ่อมที่โรงเรียนกำหนด แต่นักเรียนไม่สามารถแก้ “0” ได้ และเป็นรายวิชาที่จะทำให้ไม่จบหลักสูตรจะต้องกลับไปเรียนซ้ำชั้นใหม่

สาเหตุการให้ผลการเรียน “ร”
1. ผู้เรียนไม่ได้วัดผลกลางภาคเรียนหรือปลายภาคเรียน (กลางภาคควรดำเนินการได้ก่อน)
2. ผู้เรียนไม่ได้รับการประเมินผลตามจุประประสงค์การเรียนรู้ ในช่องของคะแนนวัดผลระหว่างเรียน รวมกันตั้งแต่ร้อยละ 20 ของคะแนนรวมทั้งหมด
3. ผู้เรียนไม่ส่งงานชิ้นสำคัญของรายวิชานั้น
กรณีที่ 3 ให้ “ร” เพราะไม่ส่งงานชิ้นสำคัญที่มีคะแนนไม่ถึงร้อย 20 ของคะแนนทั้งหมด ต้องขออนุมัติจากผู้หัวหน้าสถานศึกษาก่อน

แนวทางการแก้ “ร”
การเปลี่ยนผลการเรียน “ร” ให้กระทำให้เสร็จสิ้นภายในเดือนแรกของภาคเรียนถัดไป ถ้านักเรียนแก้ “ร” แล้วเป็น “0” ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับการแก้ “0” และให้เสร็จในภาคเรียนเดียวกัน  ถ้าผู้เรียนไม่มาดำเนินการแก้ “ ร ” ภายในเดือนแรกของภาคถัดไปนั้นให้แจ้งผู้ปกครองรับทราบเพื่อแก้ปัญหาต่อไป

แนวทางการแก้ “มส”
แนวทางการแก้ “มส” ที่มีเวลาเรียนไม่ครบ 80% ให้ครูประจำวิชาสอนเพิ่มเติมในคาบเรียนที่ 8 หรือชั่วโมงซ่อมเสริม หรือเวลาว่าง หรือวันหยุด หรือมอบหมายงานให้ทำจนมีเวลาครบตามที่กำหนดไว้ในรายวิชานั้น แล้วจึงดำเนินการสอบแก้ “มส” ผลการสอบแก้ “มส” ให้ได้ระดับผลการเรียนไม่เกิน “1” และดำเนินการให้เสร็จสิ้นในภาคเรียนถัดไป ถ้าผู้เรียนไม่มาดำเนินการแก้ “มส” ตามระยะเวลาที่โรงเรียนกำหนดให้เรียนซ้ำ ยกเว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าสถานศึกษาที่จะขยายเวลาการแก้ “มส” ออกไปอีก 1 ภาคเรียนแต่เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้เรียนซ้ำ หรือให้เปลี่ยนรายวิชาใหม่ในกรณีที่ไม่ใช่วิชาบังคับจบ ถ้านักเรียน แก้ “มส” แล้ว เป็น “0” ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับการแก้ “0” ถ้าแก้ไม่ทันให้ขยายเวลาไปอีก 1 ภาคเรียน

ข้อมูลจาก http://gpa.tmk.ac.th/downlode/evalution3.htm
http://www.thairath.co.th/content/edu/111241
http://www.sw-sch.net/new_www/text/11.doc

student group in moodle e-learning system

student group in moodle
student group in moodle
moodle เป็นระบบ e-learning ที่รองรับระบบกลุ่ม สามารถจัดกลุ่มนักศึกษา (group) ในกรณีใช้ course เดียว แต่มีนักศึกษาหลายกลุ่ม (multi group) ได้ หากไม่จัดเป็น multi group ก็จะมีปัญหาเรื่องข้อมูลอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงต้อง edit course settings แล้วกำหนด Group mode เป็น Separate groups และ Force group mode เป็น yes
การเปลี่ยน properties ข้างต้น มีผลให้การเข้าดูผลการเรียน หรือการบ้านของนักศึกษาในแต่ละกลุ่ม จะปรากฎตัวเลือก Separate groups ให้เลือกได้ว่าจะทำงานกับกลุ่มใด ซึ่งเหมาะกับวิชาที่เปิดให้นักศึกษาต่างกลุ่ม หรือต่างปี สามารถเข้ามาเรียนรู้การพัฒนาการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นได้ แต่สิ่งสำคัญ คือ เนื้อหาต้องไม่ต่างไปจากเดิมมากนัก จึงเหมาะกับกลุ่มที่รับเนื้อหา content ใกล้เคียงกัน และกรณีของผมก็ไม่ได้ปรับ content มากนัก ในความต่างของกลุ่มที่เกิดขึ้น จึงใช้แนวนี้ได้

ตัวอย่างการเชื่อม vs.net + console + winapp + mysql + xampp + mysql connector

vs.net + console + winapp + mysql + xampp + mysql connector
vs.net + console + winapp + mysql + xampp + mysql connector

ตัวอย่างมีโปรแกรม 2 ส่วน ที่แสดงความสัมพันธ์ของการทำงานกับส่วนต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน ได้แก่ vs.net + console application + class library + winapp + mysql + xampp + mysql connector ประกอบด้วย
1. solution ที่เป็น class library มี method ทำงานกับ mysql ในการ insert, delete, update, select
โดยรองรับการทำงานแบบ console และนำไปใช้งานบน windows forms application
http://www.thaiall.com/vsnet/mysql_sidu2.zip
2. solution ที่เป็น windows forms application มีฟอร์มเรียกใช้ class ใน class library เชื่อมต่อกับ mysql
http://www.thaiall.com/vsnet/mysql_form2.zip

ขั้นตอน และโปรแกรมที่จำเป็นต้องติดตั้งเพื่อใช้งาน solution ทั้ง 2 ข้างต้น

1. ติดตั้ง vs.net 2010
http://msdn.microsoft.com/en-us/library/dd831853%28v=vs.100%29.aspx
2. ติดตั้ง mysql connector .net เพื่อการเชื่อมต่อกับ mysql
http://dev.mysql.com/get/Downloads/Connector-Net/mysql-connector-net-6.5.4.msi/from/http://cdn.mysql.com/
12.8 MB
3. ติดตั้ง xampp เพื่อบริการ mysql
http://www.apachefriends.org/download.php?xampp-win32-1.8.1-VC9-installer.exe
99 MB
4. คลาย .zip ทั้ง 2 solution ใน c:\ แบบ extract here
5. start mysql ใน xampp
6. เปิด c:\mysql_sidu2\mysql_sidu2.sln
7. เปลี่ยน application type เป็น console application
8. กด F5 = Start Debugging แล้ว กด s,1,10 คนละบรรทัดครับ เพื่อทดสอบ
9. เปิด c:\mysql_form2\mysql_form2.sln
10. กด F5 = Start Debugging เพื่อทดสอบ insert, delete, update, select

text processing แบบ csv ในภาษา perl

ตัวอย่างผลแบบ csv
ตัวอย่างผลแบบ csv

มีโอกาสรื้อโค้ดภาษา perl อ่าน course กับ regist
ซึ่งจัดเก็บแบบ csv โดยส่งรหัสนักศึกษา ปี และภาค ไปถาม
แล้วตอบกลับเป็นรายวิชาที่ลงทะเบียน
ทำให้รู้ว่าลงวิชาอะไรไปบ้างในแต่ละภาคเรียน
เป็นเพียงช่วงหนึ่งของ code หลักที่ใช้ทำ transcript
แต่มีเพื่อนต้องการข้อมูลเพียงเท่านี้ไปประมวลผลต่อ
จึงตัด code ออกมาให้เหลือข้อมูลเท่านี้
มีตัวอย่าง code ดังนี้
#!/usr/bin/perl
# ?idstd=1234&yr=2012&sem=1
&parse;
print “Content-type:text/html\n\n”;
open(FILE,”course.txt”); @rec=<FILE>; close(FILE);
foreach $r(@rec) {
@d = split(“,”,$r);
$dd = join ‘,’,$d[2],$d[3],$d[4]; #code, subject name, credit
$scode{$d[0]} = $dd;
}
# ==================
$file = join ”,”regist”, $config{‘yr’} , $config{‘sem’} ,”.txt”;
open(FILE,”$file”); @rec=<FILE>; close(FILE);
foreach $r(@rec) {
@r = split(“\n”,$r);
@d = split(“,”,$r[0]);
if ($config{‘idstd’} eq $d[2]) {  print  $d[1] . “,”.$scode{$d[2]}.”,<br/>”; }
}
# ==================
sub parse {
if ($ENV{‘REQUEST_METHOD’} eq ‘GET’) {
@pairs = split(/&/, $ENV{‘QUERY_STRING’});
} elsif ($ENV{‘REQUEST_METHOD’} eq ‘POST’) {
read(STDIN, $buffer, $ENV{‘CONTENT_LENGTH’});
@pairs = split(/&/, $buffer);
}
foreach $pair (@pairs) {
local($name, $value) = split(/=/, $pair);
$name =~ tr/+/ /;
$name =~ s/%([a-fA-F0-9][a-fA-F0-9])/pack(“C”, hex($1))/eg;
$name =~ s/~!/~!/g;
$value =~ tr/+/ /;
$value =~ s/%([a-fA-F0-9][a-fA-F0-9])/pack(“C”, hex($1))/eg;
$value =~ s/~!/~!/g;
$value =~ s/<!–(.|\n)*–>//g;
$config{$name} = $value;
}
}

แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา 4 ปี : 2551 – 2554

จำนวนประชากร 18 - 24 ปี
จำนวนประชากร 18 - 24 ปี

มีโอกาสอ่านคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปี 2554 – 2556 โดยสำนักงานมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา ม.เนชั่น หน้า 43 ระบุในเกณฑ์ที่ 1.1.1 ว่า การจัดแผนกลยุทธ์ให้มีความสอดคล้องกับ แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2551-2554) ซึ่งแผนนี้จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มี 49 หน้า แบ่งได้ 5 บท

บทที่ 1 ภาพอนาคตที่จะมีผลกระทบต่ออุดมศึกษาไทย
บทที่  2 ผลการดำาเนินงานในช่วงแผนพัฒนาการศึกษา
บทที่  3 วิสัยทัศน์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์
บทท  4 สรุปเป้าหมายการรับนกศกษาเข้าใหม่ นักศึกษารวมทั้งหมด
บทท  5 การแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล

ในบทที่ 3 มี วิสัยทัศน์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ โดยวิสัยทัศน์มี 2 วงเล็บ ส่วนเป้าหมายมี 2 แบบ คือ แบบแรกมี 4 วงเล็บ แบบสองมี 11 วงเล็บ ส่วนยุทธศาสตร์มี 5 ข้อ แต่ละข้อแบ่งเป็นเป้าหมาย และมาตรการ อย่างชัดเจน ในบทที่ 4 จะมุ่งประเด็นที่เป้าหมายรับนักศึกษา ซึ่งจำแนกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีเป้าหมายการรับนักศึกษาลดลง แต่อีก 2 กลุ่มที่เหลือมีเพิ่มขึ้น

กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีเป้าหมายการรับนักศึกษาลดลง
กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีเป้าหมายการรับนักศึกษาลดลง

รายละเอียด ที่ http://www.thaiall.com/pdf/he_plan_10_2551_2554.pdf

กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี : 2551 – 2565

กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี : 2551 - 2565
กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี : 2551 - 2565

จากในคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554 – 2556 (Quality Assurance Manual) ที่จัดทำโดยสำนักงานมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่น หน้า 43 ระบุเกณฑ์คุณภาพ ตัวที่ 1.1.1 ว่า การจัดแผนกลยุทธ์ให้มีความสอดคล้องกับ กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบัยที่ 2 (พ.ศ.2551 – 2565) โดยกรอบแผนนี้ลงวันที่ 30 กันยายน 2550 มี 72 หน้า เนื้อหาตั้งแต่หน้า 12 – 63 แบ่งออกเป็นข้อได้ถึง 178 ข้อ .. ผมยังอ่านไม่จบเลย แล้วข้อไหนก็เขียนดี รู้สึกดีกับประเทศของเราทุกข้อ
รายละเอียด ที่ http://www.thaiall.com/pdf/he_frame_2_2551_2556.pdf

เปิดศูนย์นอกที่ตั้ง ต้องมีผลประเมิน สมศ. ระดับดีมาก

ระบบวงเวียนแทนสัญญาณไฟจราจร บริเวณห้าแยกหอนาฬิกาลำปาง
ระบบวงเวียนแทนสัญญาณไฟจราจร บริเวณห้าแยกหอนาฬิกาลำปาง
มีเพื่อนเล่าให้ฟังว่า กกอ. จะเข้มงวดกับศูนย์นอกที่ตั้ง ว่าต้องผ่านการประเมินจาก สมศ. ระดับดีมาก
ขอแค่ระดับดี หรือ พอใช้ไม่ได้แล้ว พอไปค้นดูก็พบจาก 2 สื่อ คือ ไทยโพสต์ กับเดลินิวส์ เมื่อกลางสิงหาคม 2555
แล้วได้ยินนักวิชาการพูดเรื่องนี้ว่าต่อไปจะเหมือนออก license เป็นใบเขียว ใบเหลือง และใบแดง ผมฟังแล้วเหมือนสัญญาณไฟตามแยกของถนนเลยครับ ที่มีสัญญาณ 3 ประเภท
1) ออกกฎเหล็กการเปิดศูนย์นอกที่ตั้ง ต้องให้รมว.ศธ.เซ็น/หลังผลตรวจล่าสุดน่าระอาไม่ผ่านประเมินอื้อ (ไทยโพสต์)
สกอ.เตรียมประกาศ เพิ่มขั้นตอนการเปิด และคงหลักสูตรการเรียนศูนย์นอกที่ตั้งมหาวิทยาลัย เบื้องต้นเพิ่มความเข้มงวดมหา’ลัยที่เปิดได้ต้องให้ รมว.ศธ.เห็นชอบ และต้องมีผลประเมิน สมศ. ระดับดีมาก โดยจะเสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาเร็วๆ นี้ “กำจร” เผยผลตรวจศูนย์นอกที่ตั้งประจำปี 2555 พบหลักสูตรไม่ผ่านการประเมินอื้อ ส่วนใหญ่เป็นระดับ ป.ตรี สั่งออกมาตรการแล้ว หลักสูตรใดไม่ผ่านการประเมินต้องหยุดรับนักศึกษาปี 56 ทันที
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เมื่อเร็วๆนี้ ได้รับทราบผลการตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ประจำปี 2555 ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ระหว่างวันที่ 10 มี.ค.-30 มิ.ย.นี้ ซึ่งผลสรุปการตรวจประเมินจำนวน 14 สถาบัน 18 ศูนย์ 50 หลักสูตร พบว่า มีหลักสูตรผ่านการประเมิน 2 หลักสูตร 2 สถาบัน 2 ศูนย์ ไม่ผ่านการประเมิน 41 หลักสูตร 8 สถาบัน 11 ศูนย์ และต้องปรับปรุง 7 หลักสูตร 5 สถาบัน 5 ศูนย์ ทั้งนี้ หลักสูตรที่ไม่ผ่านส่วนใหญ่จะเป็นระดับปริญญาตรี อาทิ หลักสูตรบริหารธุรกิจ รัฐประศาสนศาสตร์ และครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ สกอ.ไปตรวจประเมินยังพบว่ามีศูนย์นอกที่ตั้ง ซึ่งยังไม่ถึงคิวประเมินได้ปิดตัวเองไปแล้วจำนวน 57 ศูนย์ ดังนั้นจะมีศูนย์นอกที่ตั้งที่ต้องไปตรวจประเมินในปี 2555 อีกจำนวน 162 ศูนย์ ประมาณ 300 กว่าหลักสูตร
รองเลขาฯ กกอ.กล่าวต่อว่า ผลการตรวจประเมินดังกล่าวทำให้ กกอ.มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แต่ให้ปรับเพิ่มเล็กน้อย ก่อนที่จะเสนอนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ ลงนาม จากนั้นจะต้องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อประกาศใช้ต่อไปหากมีร่างดังกล่าวเชื่อว่าจะทำให้สถาบันอุดมศึกษาทั้งรัฐและเอกชนจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งมีคุณภาพมากขึ้น ขณะที่สถาบันไหนจัดการศึกษาไม่มีคุณภาพจะต้องปิดตัวไป และที่สำคัญการเปิดสอนนอกที่ตั้งไม่สามารถดำเนินการได้ง่ายเหมือนที่ผ่านมาจนเกิดปัญหาเหมือนปัจจุบันนี้
ส่วนสาระสำคัญของร่างดังกล่าว หากสถาบันอุดมศึกษาใดจะเปิดสอนนอกสถานที่ตั้งจะต้องขออนุญาตจาก รมว.ศึกษาธิการ ก่อนที่จะไปเปิดการเรียนการสอน ขณะที่หลักสูตรที่จะเปิดจะต้องเป็นความต้องการของสังคมและชุมชน รวมทั้งเปิดสอนในหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ อีกทั้งหลักสูตรที่จะเปิดสอนนั้นจะต้องรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในระดับดีมาก และสถาบันอุดมศึกษาจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาที่จะสิ้นสุดการดำเนินการ จำนวนอาจารย์ที่มีอยู่และจำนวนนิสิตนักศึกษาที่จะรับด้วย ซึ่งถ้าทำได้ตามนี้จะทำให้การศึกษานอกสถานที่ตั้งมีคุณภาพแน่นอน
สำหรับผลการตรวจประเมินศูนย์นอกที่ตั้ง ทาง สกอ.จะแจ้งผลให้สถาบันอุดมศึกษาที่เข้ารับการประเมินรับทราบ และหากสถาบันใดต้องการจะทักทวงผลการตรวจประเมินต้องดำเนินการภายใน 30 วัน ตั้งแต่ได้รับทราบผลจาก สกอ. สำหรับหลักสูตรที่ไม่ผ่านการประเมินนั้นจะต้องไม่เปิดรับนิสิตนักศึกษาในหลักสูตรนั้นในปีการศึกษา 2556 แต่จะไม่มีผลกระทบกับนิสิตนักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่.
2) สกอ.มั่นใจจัดระเบียบสอนนอกที่ตั้งได้ผล (เดลินิวส์)
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา  (กกอ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลการตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ประจำปี 2555 ระหว่างวันที่ 10 มี.ค.- 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการตรวจประเมินใน 14 สถาบัน 18 ศูนย์ 50 หลักสูตร โดยพบว่า มีที่ผ่านการประเมิน 2 หลักสูตร 2 สถาบัน 2 ศูนย์ ไม่ผ่านการประเมิน 41 หลักสูตร 8 สถาบัน 11 ศูนย์ และต้องปรับปรุง 7 หลักสูตร 5 สถาบัน 5 ศูนย์  ซึ่งหลักสูตรที่ไม่ผ่านส่วนใหญ่จะเป็นระดับปริญญาตรีบริหารธุรกิจ รัฐประศาสนศาสตร์ และครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ และจากการตรวจประเมินยังพบว่ามีศูนย์นอกที่ตั้งได้ปิดตัวเองไปแล้วจำนวน 57 ศูนย์ ทำให้เหลือศูนย์นอกที่ตั้งที่ต้องไปตรวจประเมินในปี 2555 อีกจำนวน 162 ศูนย์ ประมาณ 300 กว่าหลักสูตร

อย่างไรก็ตามหลังจากนี้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะสรุปผลการตรวจประเมินแจ้งให้สถาบันอุดมศึกษารับทราบ เพื่อให้สถาบันทักท้วงผลการตรวจประเมินภายใน 30 วันนับจากได้รับทราบผล ทั้งนี้หลักสูตรที่ไม่ผ่านการประเมินนั้นมีผลทำให้สถาบันไม่สามารถเปิดรับนิสิตนักศึกษาในหลักสูตรนั้นในปีการศึกษา 2556 แต่จะไม่มีผลกระทบกับนิสิตนักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่แล้ว
รองเลขาธิการ กกอ.กล่าวต่อไปว่า กกอ.ยังได้เห็นชอบ ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แต่ให้ปรับปรุงเล็กน้อยก่อนที่จะเสนอ รมว.ศึกษาธิการลงนาม และนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป ทั้งนี้เชื่อว่าเมื่อกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับจะทำให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งมีคุณภาพมากขึ้น ส่วนสถาบันที่จัดไม่มีคุณภาพจะต้องปิดตัวไป ที่สำคัญการเปิดสอนนอกที่ตั้งจะไม่สามารถดำเนินการได้ง่ายเหมือนที่ผ่านมาอีกแล้ว
“สำหรับสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง คือ หากสถาบันอุดมศึกษาใดจะเปิดสอนนอกสถานที่ตั้งจะต้องขออนุญาตจาก รมว.ศึกษาธิการก่อนที่จะไปเปิดการเรียนการสอน หลักสูตรที่เปิดจะต้องเป็นความต้องการของสังคมและชุมชน รวมทั้งต้องเป็นหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ และต้องรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในระดับดีมาก และสถาบันจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาที่จะสิ้นสุดการดำเนินการ จำนวนอาจารย์ที่มีอยู่และจำนวนนิสิตนักศึกษาที่จะรับด้วย ซึ่งถ้าทำได้ตามนี้จะทำให้การศึกษานอกสถานที่ตั้งมีคุณภาพแน่นอน” รศ.นพ.กำจร กล่าว.
ระบบวงเวียนแทนสัญญาณไฟจราจร บริเวณห้าแยกหอนาฬิกาลำปาง