การเพิ่ม profile widget ของ twitter

profile widget
profile widget

ข้อมูลมากมายไหลอยู่ในโลกเสมือนจริง กลุ่มคนที่ใช้ twitter ก็จะส่งเสียง tweet กันอยู่ตลอดเวลา เสียงที่ออกมาอยู่ในรูปข้อความ 140 ตัวอักษร ที่แนบลิงค์ได้ และเราสามารถนำเสียงนั้นไปแสดงในเว็บเพจได้ด้วยบริการที่เรียกว่า widget ซึ่งมีตัวเลือก 4 ตัวคือ profile widget, search widget, faves widget หรือ list widget หรือจะใช้ facebook application ก็ทำได้

เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2555 ผมตัดสินใจผูก profile widget เข้ากับ blog  ที่ดูแลอยู่ เพื่อเข้าถึงกลุ่มคนอีกกลุ่มที่ติดอยู่ในโลกของ twitter เท่าที่สังเกต มีผู้คนไม่น้อยอยู่แต่ใน  twitter เพราะเขาไม่ได้ใช้ชีวิตกับการสืบค้นข้อมูล เพียงแค่ tweet ที่พลั่งพลูออกมา ก็หมดเวลาจะเหลียวซ้ายแลขวาแล้ว ถ้าจะพบพวกเขาก็ต้องเข้าไปในโลกของเขา

ดังคำว่า ไม่เข้าถ้ำเสือก็ไม่ได้ลูกเสือ แล้วนี่ก็ไม่ใช่เสือ แต่เป็น twitter

https://twitter.com/about/resources/widgets

โดยเพิ่ม profile widget เข้าไปใน wordpress ผ่าน Menu, Appearance, Widgets, Text ก็จะได้ผลเหมือนกล่อง twitter สีดำที่อยู่ทางขวาล่างของภาพ

<script charset=”utf-8″
src=”http://widgets.twimg.com/j/2/widget.js”></script>
<script>
new TWTR.Widget({
version: 2,
type: ‘profile’,
rpp: 9,
interval: 30000,
width: 200,
height: 300,
theme: {
shell: {
background: ‘#333333’,
color: ‘#ffffff’
},
tweets: {
background: ‘#000000’,
color: ‘#ffffff’,
links: ‘#4aed05’
}
},
features: {
scrollbar: false,
loop: false,
live: false,
behavior: ‘all’
}
}).render().setUser(‘thaiabc’).start();
</script>


Profile Widget
Display your most recent Twitter updates on any webpage.

Search Widget
Displays search results in real time! Ideal for live events, broadcastings, conferences, TV Shows, or even just keeping up with the news.

Faves Widget
Show off your favorite tweets! Also in real time, this widget will pull in the tweets you’ve starred as favorites. It’s great for moderation.

List Widget
Put your favorite tweeps into a list! Then show ’em off in a widget. Also great for moderation.

5w จาก ohec newsletter

ohec newsletter
ohec newsletter

พบคำว่า 5 w จาก จดหมายข่าวของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (OHEC Newsletter) ซึ่งประกอบกอบด้วย who what when where และ why หรือใคร ทำอะไร เมื่อไร ที่ไหน ทำไม ซึ่งคาดว่าต้องการให้ผู้อ่านได้ตระหนักในการทำกิจกรรม / โครงการ ว่าต้องคิดอย่างไร จากแนวเริ่มต้นที่ให้มาทั้ง 5 มีดังนี้
1. งานนั้นใครรับผิดชอบ หรือมีเจ้าภาพ
2. งานนั้นคืออะไร ทำอะไร หรือเพื่ออะไร
3. งานนั้นทำเมื่อไร เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องทำแต่ละช่วงเวลา
4. งานนั้นทำที่ไหน ภายนอก/ภายใน เตรียมตามแผนอย่างไร
5. งานนั้นทำไปทำไม จำเป็นแค่ไหน สมเหตุสมผลที่จะทำหรือไม่
ผมว่า สกอ. คงเสนอว่านี้เป็นการเริ่มต้น หากก้าวพ้นแนวคิดเริ่มต้นด้วยความเข้าใจได้ คงไปถึง AAR ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมก่อนกระบวนการวนรอบจะครบถ้วนสมบูรณ์
http://www.thaiall.com/pdf/ohec/
http://www.mua.go.th/pr_web/ohecnewsletter/index.html

อบรม social media ศูนย์เนชั่นทาวเวอร์

 

คลิ๊ปที่ 28 จากโครงการอบรมการประยุกต์ใช้
Social Media สำหรับการเรียนการสอน

 
วิทยากร คือ อ.เมธา เกรียงปริญญากิจ  (@mehtaxz) จาก socialmer.com และ facebookgoo.com เมื่อ 26 ธ.ค. 2554 จัดโดย มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์เนชั่นทาวเวอร์ อบรมให้กับคุณครูระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย ซึ่งในตอนท้ายของการอบรม คุณสุทธิชัย หยุ่น (idol ของผม) ได้ฝากข้อคิดที่น่าสนใจแก่ผู้เข้ารับการอบรม

พอสรุปได้ว่า วิทยากรบรรยายให้เห็นภาพการแบ่งปันประสบการณ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการใช้ dropbox.com, 4shared.com, scribd.com, slideshare.net, soundcloud.com, twitter.com, youtube.com และ facebook.com  เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนได้อย่างลงตัว

ลองฟัง คุณสุทธิชัย หยุ่น เล่าได้ครับ ว่าการเป็นนักข่าว ต้องทำงานกับนักข่าวหลายร้อยคน มีเนื้อหาต้องแลกเปลี่ยน สื่อสารตลอดเวลานั้น จะใช้งาน social media ได้อย่างไร

คลิ๊ปทั้งหมด ติดตามได้ที่
http://www.youtube.com/user/NationUniversity

social network
social network

ปรากฏการณ์ สื่อ สังคมออนไลน์แห่งการเรียนรู้ใหม่ด้วย Social Network
http://itg.nrct.go.th/itg2010/index.php/training-seminar/training/Social-Network

เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ คุยกับวู้ดดี้



พบคลิ๊ปนี้มี 4 ตอน ตอนนี้เป็นตอนที่ 2 ฟังบทสนทนาตอนท้าย ๆ ของคลิ๊ปนี้ แล้วสงสารวู้ดดี้เลย ติ้งต่างว่าถ้าเป็นผมสมัยก่อนคงคุมอารมณ์ได้ยาก เพราะความเชื่อที่แตกต่างของอาจารย์เฉลิมชัย กับวู้ดดี้แตกต่างกันมาก เรียกว่า ฟ้ากับเหวเลย

แต่คิดอีกที วู้ดดี้ กำลังทำงาน ซึ่งงานเป็นการพูดคุยที่ต้องดึงทัศนคติของคู่สนทนาออกมา (เท่าที่เห็นวู้ดดี้ไม่ค่อยได้ให้ความคิดเห็นของตนเท่าใดนัก) เมื่อดึงออกมาก็นำเสนอ เขาไม่ได้นำประเด็นเหล่านั้นมาใส่ใจให้เป็นอารมณ์

นักพูดที่กล้าพูดตรง ๆ แบบ อ.เฉลิมชัย มีอีกหลายท่าน แต่อาจารย์กล้าชี้ให้เห็นความต่างของความเชื่อ กับความจริงได้ชัดมาก .. คนกล้าเท่านั้นที่พูดแบบนี้ได้

การดูคลิ๊ปนี้จนครบ 4 ตอนเกิดเพราะ คุณธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ นำพระสงฆ์มาร่วมเสวนาในสุนทรียสนทนา ห้อง 4204 มหาวิทยาลัยเนชั่น เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2555 แล้วพระท่านเปิดคลิ๊ปทั้ง 4 ตอน ให้ดู .. ทำให้เห็นประเด็นที่ อ.เฉลิมชัย พยายามชี้นำ ซึ่งสอดรับกับคำว่าจิตอาสา หรือจิตสาธารณะ ตรงตามเป้าหมายของการบรรยาย
ปล. ครั้งหน้า คุณธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ จะเล่าเรื่อง stephen hawking

เพื่อนใหม่ที่ศูนย์เนชั่นทาวเวอร์

20 ม.ค.55 เพื่อนร่วมงานใหม่ เป็นอะไรที่เป็นสีสรรขององค์กร เพราะนั่นหมายถึงอะไรใหม่ ๆ มากมายที่จะตามมา โดยเฉพาะคำว่าการเปลี่ยนแปลง (Change) เหมือนที่อ่านได้จากหนังสือของ Steve Jobs ในฐานะนักนวัตกรรมระดับโลก พบว่าเขาเปลี่ยนงาน และเพื่อนร่วมงานบ่อย มีผู้คนที่มีความคิด ความสามารถ เข้ามาในชีวิตของเขาตลอดเวลา ผมเองก็ดีใจที่ได้เพื่อนร่วมงานใหม่

รับแจ้งมาว่าผมมีเพื่อนใหม่ในองค์กรที่ศูนย์เนชั่นทาวเวอร์ เพิ่มอีก 6 ท่าน
คือ
1. อาจารย์รัตนาวดี ลำพาย ผู้อำนวยการศูนย์เนชั่นทาวเวอร์
2. อาจารย์วนิดา วินิจจะกูล รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์
3. อาจารย์ภรภัทร ปิติโชตินันท์ รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
4. อาจารย์ดรรชกร ศรีไพศาล รองคณบดีคณะบริหารธุรกิจ
5. อาจารย์ภฎะ รองรัตน์ หัวหน้างานกิจกรรมนักศึกษา
6. อาจารย์รุ่งรัตน์ ธนบดีธาดา หัวหน้างานสำนักงานสภามหาวิทยาลัย
ก่อนหน้านี้เคยพบทุกท่านทาง social media มาแล้ว ตัวจริงก็พบบางท่านแล้ว

บันทึกชื่อไว้ใน blog นี่หละครับ จะได้ใช้อ้างอิง เพื่อ communication
เพราะเป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่
( หนังสือ มนช.044/2555 )
http://www.nation.ac.th
ติดต่อเบอร์โทร 02-338-3000 กด 8

macro to copy 3 sheets to sheet1 & sort

25 ม.ค.55 มีโอกาสเขียน macro ใน excel คัดลอกข้อมูลจาก 3 sheets มาต่อกัน แล้วก็จัดเรียงตามวันที่ ซึ่งอยู่ใน column b และ ยังไม่ได้ปรับ code ให้เป็น function ครับ ทำให้ code ค่อนข้างยาว แต่ผมว่าอ่านง่าย ตรงไปตรงมาดี

Sub copy_sheets()
Dim start As String, tr As Integer
start = “a3” ‘ start row 3
tr = 0
‘=========
ActiveWorkbook.Worksheets(“¡”).Select
Set tbl = Range(start).CurrentRegion
tbl.Offset(2, 0).Resize(tbl.Rows.Count – 2, tbl.Columns.Count).Copy
tr = tr + tbl.Rows.Count
Range(start).CurrentRegion.Copy
ActiveWorkbook.Worksheets(“sheet1”).Select
Range(“a1”).Activate
ActiveSheet.Paste
‘=========
ActiveWorkbook.Worksheets(“¢”).Select
Set tbl = Range(start).CurrentRegion
tbl.Offset(2, 0).Resize(tbl.Rows.Count – 2, tbl.Columns.Count).Copy
tr = tr + tbl.Rows.Count
ActiveWorkbook.Worksheets(“sheet1”).Select
Range(“a13”).Activate
ActiveSheet.Paste
‘=========
ActiveWorkbook.Worksheets(“¤”).Select
Set tbl = Range(start).CurrentRegion
tbl.Offset(2, 0).Resize(tbl.Rows.Count – 2, tbl.Columns.Count).Copy
tr = tr + tbl.Rows.Count
ActiveWorkbook.Worksheets(“sheet1”).Select
Range(“a23”).Activate
ActiveSheet.Paste
‘=========
ActiveWorkbook.Worksheets(“Sheet1”).Sort.SortFields.Add Key:=Range(“B3:B” & tr) _
, SortOn:=xlSortOnValues, Order:=xlAscending, DataOption:=xlSortNormal
With ActiveWorkbook.Worksheets(“Sheet1”).Sort
.SetRange Range(“A3:L” & tr)
.Header = xlGuess
.MatchCase = False
.Orientation = xlTopToBottom
.SortMethod = xlPinYin
.Apply
End With
End Sub

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ คล้ายคนไทยที่พึงประสงค์

mindmap
mindmap http://portal.edu.chula.ac.th/edu52/view.php?Page=1242480890782745

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ คือ คุณลักษณะที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนอันเป็นคุณลักษณะที่สังคมต้องการ

มาตรฐานการศึกษาของชาติ
มาตรฐานที่ 2 คุณลักษณะของ คนไทยที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลก คนไทยเป็นคน เก่ง คนดี และมีความสุข
คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ ประกอบด้วยเบญจคุณ หรือ คุณ 5 ประการ
1. คุณลักษณ์ มีรูปลักษณ์ (สุขภาพ บุคลิกภาพ) กิจลักษณ์ (พฤติกรรม ทักษะความสามารถ) ดี
2. คุณค่า มีประสบการณ์จากการเรียนรู้ สัมพันธ์เชื่อมโยงกับการพัฒนาชีวิต
3. คุณประโยชน์ มีชีวิตที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม ร่วมสร้างและให้สิ่งดีแก่สังคม
4. คุณภาพ มีชีวิตร่มเย็นเป็นสุข พออยู่พอกิน เป็นสมาชิกครอบครัว พลเมืองและพลโลก ที่ดี
5. คุณธรรม มีความดี เข้าถึงความงามและความจริง ดำเนินชีวิตโดยกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต
http://area.obec.go.th/petchaburi2/ed.standard.htm


ตัวอย่าง
คุณลักษณะบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีปณิธาน (vision) แล้วนำไปแตกเป็น คุณลักษณะบัณฑิตที่ desired
http://stu-aff.oop.cmu.ac.th/student/stu-property.htm

http://information.aru.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=7&Itemid=10

http://scsa.buu.ac.th/2012/?p=124

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.10150528471378895.394757.814248894

การโต้เถียง (Argument หรือ Debate)

คำว่า argument เป็นคำที่ อ.จอห์น (14 ม.ค.55) ใช้เป็นตัวบ่งชี้ว่าท่านประสบความสำเร็จในการสอน
ทำให้ผมนึกขึ้นได้ว่า การสอนที่ทำให้นักศึกษาโต้เถียง (ไม่ใช่โต้ตอบนั้น แบบถามไป ตอบมา) เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ และเครื่องมือที่ใช้สนับสนุนให้มีการโต้เถียงอย่างมีประสิทธิภาพก็มีอยู่น้อยมาก ในจำนวนเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน (37 วิธี จาก CU-CAS)
เพราะการโต้เถียง (Debate) จะมีประสิทธิภาพควรอยู่ในบรรยากาศแบบ face to face of group และเป็นเวทีที่ทุกคนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนอย่างเสมอภาค โดยผ่านการอภิปรายให้เหตุผลประกอบที่ชัดเจน ซึ่งประโยชน์มิได้เกิดจากผล แต่เกิดจากกระบวนการเป็นสำคัญ
ซึ่งชัดเจนว่า e-mail หรือ webboard ไม่มีประสิทธิภาพพอกับกิจกรรมการโต้เถียงของกลุ่มได้ และสื่อใด ๆ ที่เป็นแบบ semi-offline communication ก็จะไม่ตอบเรื่องการโต้เถียงได้เช่นกัน

การใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ (itinlife325)

facebook
facebook

14 มกราคม 2555 นึกถึงภาพยนตร์เรื่อง Sphere ที่มนุษย์ได้แก้วสารพัดนึกมา 1 ลูก แต่คนกลุ่มหนึ่งเป็นระดับหัวกะทิของโลกได้สัมผัสแก้วนี้แล้วพบว่าขาดความพร้อม หรือใช้ไม่ถูกวิธี จนเป็นภัยต่อตนเองและกลุ่ม ในบทสรุปของภาพยนตร์พบว่ากลุ่มที่เหลือรอดพร้อมใจกันทิ้งลูกแก้วนี้ออกไปนอกโลก เพราะมนุษย์ในปัจจุบันยังไม่พร้อมที่จะใช้แก้วสารพัดนึกอย่างมีประสิทธิภาพ แล้วทำให้นึกถึงเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นมากมายในปัจจุบันว่ามีคุณอนันต์ และโทษมหันต์ ตัวอย่างของโทษเช่นอาวุธร้ายที่คิดค้นขึ้นเพื่อทำลายทั้งร่างกายและทรัพย์สิน อินเทอร์เน็ตที่ผู้คนมากมายหลงใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมจนเสียการเรียน เสียคน เสียเงิน หรือเสียงาน
ประโยชน์ของเทคโนโลยีนั้นชัดเจน เพราะเราใช้งานอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพอาจมีประเด็นให้พูดคุยกันหลากหลาย ตัวอย่างปัญหาของการใช้เทคโนโลยี อาทิ การใช้เครือข่ายสังคมในเวลางานจนทำให้ผลงานลดลง ผิดพลาด หรือละเลยการปฏิบัติหน้าที่ การติดเกมในรูปแบบใหม่ทำให้เยาวชนใช้เวลาว่างอย่างไม่เหมาะสมเป็นเหตุให้พ้นสภาพการศึกษา หรือผลการเรียนตกต่ำ การแสดงความคิดเห็นเชิงลบผ่านเครือข่ายสังคมอาจทำให้ตนเองหรือครอบครัวเสื่อมเสีย ซึ่งล้วนเป็นการกระทำที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์

ปัญหาใหญ่ของการใช้เทคโนโลยีในการจัดการความรู้เกิดจากการมีอัตตาในตัวบุคคลที่ไม่นิยมแสดงความคิดเห็นให้ผู้อื่นได้นำไปใช้ประโยชน์ มีการพัฒนาเทคโนโลยีรองรับการจัดการความรู้ทั้งในกลุ่มคนทำงาน นักเรียน นักศึกษา นักวิจัย แต่การใช้งานก็ยังเป็นความนิยมในระดับบุคคลมากกว่ากลุ่มองค์กร และมักไม่พบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านสื่อสาธารณะที่จะนำไปใช้เป็นข้อสรุปประกอบการตัดสินใจขององค์กร พบว่าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านบล็อก (Blog) หรือเครือข่ายสังคมมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการแลกเปลี่ยนในห้องประชุมที่มีสมาชิกไม่เกินสิบคน แม้เครือข่ายสังคมจะเป็นเทคโนโลยีที่รองรับจำนวนคนได้พร้อมกันจำนวนมาก กลับพบว่ามีน้อยครั้งที่จะเห็นการใช้ประโยชน์เพื่อหาข้อสรุปจากประเด็นกำหนด แต่ถ้ามีการรวมกลุ่ม กำหนดเป้าหมายตรงกันชัดเจน มีบทบาทหน้าที่ให้แต่ละคน ก็เชื่อได้ว่าจะเป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพอย่างแน่นอน

การใช้ facebook ทำให้เกรดตก

http://ac219pyu22553s1.blogspot.com/2010/11/facebook.html

งานวิจัยระบุว่า ขณะทำการบ้าน ถ้าเปิด facebook ทิ้งไว้เฉย ๆ จะส่งผลให้การเรียนตกต่ำกว่าเพื่อน ๆลง 20 เปอร์เซ็นต์ เทียบระหว่างเด็กที่ใช้ และ ไม่ใช้ ถ้าใช้เกรดเฉลี่ยอยู่ที่ 3.06 ถ้าไม่ใช้อยู่ที่ 3.82

ผลกระทบต่อการทำงาน พบว่า บริษัทที่อนุญาติให้พนักงานใช้ facebook.com ขณะทำงาน ผลผลิตของพนักงานลดลง 1.5 เปอร์เซนต์จากผลผลิตทั้งหมด และมีองค์กรอีกมากที่ไม่ทราบเรื่องนี้

เขาว่า facebook ทำให้การเรียนเสีย ผลงานตก แต่เจ้าตัวไม่รู้
ผมว่าปัญหาใหญ่คือ เจ้าตัวรู้ แต่ผู้ปกครองไม่รู้

forward from gmail.com

forwarding gmail.com
forwarding gmail.com

10 ม.ค.55 มีโอกาสใช้ google mail for education แล้วก็มีเหตุว่าจะต้องย้าย server ประกอบกับเพื่อนถามว่า จะ forward mail จาก server1 ไป server2 อย่างไร เพราะ server3 กำลังจะมีขึ้นมา และ server1 กำลังจะถูกเปลี่ยน ก็ใช้ภาพนี้อธิบายว่าคลิ๊กตรงไหนบ้าง เพื่อกำหนดการส่งต่อ จาก server1 ไป server2 แบบ copy mail