อภิธานศัพท์ (Glossary)

glossary
glossary

25 ส.ค.54 การทำ Glossary เป็นสิ่งที่คิดจะทำมานานแล้ว แต่หาเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานไม่ได้ และไม่มีเหตุจูงใจมากพอ จนได้พบกับ moodle 1.9 ซึ่งมีจุดเด่นคือ 1) เป็น glossary ภายใต้ระบบ e-learning ที่เป็นมาตรฐาน 2) สามารถ export ออกไปเป็น xml ที่จะนำไปใช้ต่อได้ง่าย 3) เป็นระบบฐานข้อมูลรองรับการสืบค้น แบ่งหน้า และแบ่งกลุ่มได้ 4) การสร้าง glossary สามารถพิมพ์ในระบบอื่น แล้ว import เข้าระบบของ moodle เพื่อเผยแพร่ต่อได้ .. ในเบื้องต้นแบ่งไว้ 2 เล่ม คือ technical term และ software glossary

อภิธานศัพท์ (Glossary) คือ การคำอธิบายความหมายของคำ เรียงตามตัวอักษร ซึ่งเดิมจะพบ Glossary อยู่ส่วนท้ายของหนังสือ เพื่อช่วยให้ความหมายที่ผู้แต่งเห็นควรนำมาอธิบายเพิ่มเติม ให้ผู้อ่านได้มีความเข้าใจอย่างชัดเจน

แหล่งรวบรวมอภิธานศัพท์

อัตลักษณ์ (identity)

identity and uniqueness
identity and uniqueness

ถ้ามองว่าเว็บไซต์ คือ แหล่งข้อมูลและสารสนเทศ
แล้วเว็บมาสเตอร์มีความคาดหวังว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์
ที่เข้ามารับข้อมูลและสารสนเทศไปแล้ว
ผู้เข้าชมเหล่านั้นควรเปลี่ยนไปเป็นอย่างไร (identity)
หรือความสำเร็จของเว็บไซต์ตามจุดเน้นคืออะไร (Uniqueness)

อาจสะท้อนออกมา เป็น อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ ของเว็บไซต์ได้ว่า
อัตลักษณ์ของไทยออล คือ มีทักษะทางวิชาการ และวิชาชีพด้านคอมพิวเตอร์
เอกลักษณ์ของไทยออล คือ เว็บไซต์วิชาการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยู่ในสิบอันดับแรกด้านแหล่งข้อมูลความรู้

ถ้าเป็นของสถาบันการศึกษา อ่านเพิ่มเติมที่ http://www.thaiall.com/blog/burin/3476/

นิยาม
อัตลักษณ์ (Identity) หมายถึง ผลผลิตของผู้เรียนตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
เอกลักษณ์ (Uniqueness) หมายถึง ความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนให้เห็นเป็นลักษณะโดดเด่นเป็นหนึ่งของสถานศึกษา

แหล่งอ้างอิง จากบทความของ ดร.สุพักตร์ พิบูลย์
http://drsuphakedqa.blogspot.com/2010/07/07.html
http://www.gotoknow.org/blog/cityedu/422459
http://qa.bu.ac.th/buqa/index.php/kmqa/60-identity

การเพิ่มเสียงให้กับคลิ๊ปวิดีโอ

up sound level
up sound level

24 ส.ค.54

คำถาม มีนักศึกษาถามว่า เสียงในคลิ๊ปวิดีโอเบาไปหน่อย ต้องแก้ไขอย่างไร
คำตอบ แก้ไขได้ 4 กรณี ดังนี้ 1) ใน windows movie maker for xp ให้คลิ๊ปปุ่ม sound level ทางซ้าย แล้วเลือกเพิ่มเสียงให้กับวิดีโอ 2) ใน windows live movie maker for win7 ให้คลิ๊กขาวที่ใน scene ที่ต้องการแล้วเลือกตัวเลือกเพิ่มเสียง 3) ถ้าเป็นเฉพาะบางคลิ๊ป ให้ทำการเพิ่มเสียงเฉพาะคลิ๊ปนั้น แล้วค่อยนำเข้า windows movie maker 4) บันทึกเสียงใหม่แทนเสียงในวิดีโอ แต่ใช้คลิ๊ปเดิมด้วยการบันทึกเสียงผ่านโปรแกรม sound recorder หรือ cdex แล้วค่อยใส่เข้าไปในคลิ๊ป เหมือนที่เห็นในละครทีวีบ่อย ๆ ครับ

ดิจิทัลวีดิโอมาแรง สร้างสรรค์เพื่อบอกต่อจนฉุดไม่อยู่

ดิจิทัลวีดิโอมาแรง สร้างสรรค์เพื่อบอกต่อจนฉุดไม่อยู่

ความแรงของดิจิทัลวีดิโอ สร้างความฮือฮาอยู่เนืองๆ ไม่ว่าจะเป็นวีดิโอที่สร้างขึ้นเพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์องค์กร หรือเป็นวีดิโอปล่อยมุกเพื่อสร้างความน่าสนใจให้กลายเป็นกระแสนิยมของเหล่าวีดิโอบล็อกเกอร์ ดิจิทัลวีดิโอแพลตฟอร์ม อย่าง ยูทูบ กลายเป็นเครื่องมือในการทำการตลาดชั้นเยี่ยม ความท้าทายคงอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะสร้างวีดิโอหรือหนังโฆษณาให้ได้รับการคลิกเพื่อดูและบอกต่อ หรือจะเลือกใครมาเป็น Voice of Brand ที่เหมาะสม

การใช้งานดิจิทัลวีดิโอ

เป้าหมายหลักของดิจิทัลวีดิโอ มักเน้นสร้างการรับรู้ของแบรนด์ สร้างความนิยมในแบรนด์ และทำให้เกิดการต่อยอดซื้อสินค้า การใช้หนังโฆษณาทางโทรทัศน์มาตัดต่อใหม่เพื่อฉายบนสื่อออนไลน์ หรือการสร้างเว็บวีดิโอเพื่อใช้บนออนไลน์โดยเฉพาะ อาจให้ผลต่างกันตามกลุ่มเป้าหมายและวัตถุประสงค์ เว็บวีดิโอที่ผลิตสำหรับออนไลน์มักให้ผลในการสร้างความนิยมในแบรนด์ได้ดี

รูปแบบของมีเดีย

ดิจิทัลวีดิโอมีรูปแบบมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อโฆษณากับรายการภาพยนตร์ออนไลน์ ซื้อโฆษณาผ่านสื่ออย่างเฟซบุ๊ค รูปแบบที่เป็น In-Game และ In-Application รูปแบบที่เล่นอยู่บนแบรนด์ไซต์ และรูปแบบที่ปรากฏอยู่บน Earned Media อย่าง ยูทูบ

นักการตลาดจะต้องวางแผนเลือกใช้มีเดียและแพลตฟอร์มให้เหมาะสม เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด หากกลยุทธ์ที่ใช้ต้องการความต่อเนื่องในการสื่อสาร จะต้องคิดถึงการสร้างแบรนด์ไซต์เพื่อรองรับ นอกจากนี้ฟอร์แมตของวีดิโอที่สร้างขึ้นจะต้องได้มาตรฐาน และคำนึงถึงแพลตฟอร์มในการดิสเพลย์ ไม่ว่าจะเป็นบนมือถือ แทบเล็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ เว็บทีวี

ยูทูบ ซูเปอร์สตาร์

วันนี้ เมื่อเราพูดกันเรื่องซูเปอร์สตาร์บนยูทูบ ไม่ได้หมายถึงเหล่าเซเลบที่เราคุ้นเคยกันแล้ว แต่เป็นวีดิโอบล็อกเกอร์คนดัง ที่สร้างความดังมาจากการโพสต์วีดิโอคลิปลงบนยูทูบ ไม่ว่าจะเป็นนักดนตรี นักร้อง ดาวตลก ที่ดังกันเปรี้ยงปร้าง และเป็นที่น่าสนใจ

ที่คุ้นหน้าคุ้นตากับแฟนบ้านเราเกี่ยวกับเรื่องการแต่งหน้าแบบสร้างสรรค์ คงจะเป็น มิเชล ฟาน ที่มีสมาชิกมากกว่า 1.5 ล้านราย เฉพาะคลิปแต่งหน้าแบบ เลดี้ กาก้า ตอนนี้มีคนดูถึง 29.9 ล้านครั้ง เธอเป็นหนึ่งใน YouTube Partnership Program ที่สร้างรายได้สูงจากสัดส่วนการโฆษณาเป็นอันดับต้นๆ จนปัจจุบันเธอเปิดตัวแบรนด์สกินแคร์ของตัวเอง เรียกว่าชีวิตพลิกผันด้วยพลังของยูทูบ

รู้จัก YouTube Partnership Program

สิ่งที่ทำให้บล็อกเกอร์เหล่านี้ประสบความสำเร็จไม่ใช่ความบังเอิญ แต่เป็นความตั้งใจในการสร้างคอนเทนต์ ที่มีทั้งไอเดียแรงๆ และมีคุณภาพ สำหรับเงื่อนไขและคุณสมบัติของ YouTube Partnership Program ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 20,000 คนทั่วโลก จะต้องผ่านการพิจารณาและกฎเกณฑ์ ที่สำคัญจะต้องเป็นเจ้าของเนื้อหาในวีดิโอ 100% และเนื้อหามีไอเดียที่แตกต่าง ส่วนการสร้างรายได้ก็มาจากโฆษณาและการเช่าใช้ ซึ่งทำได้ในบางประเทศเท่านั้น

การสร้าง แบรนด์ แชนแนล

แบรนด์ดังๆ ต่างใช้โซเชียลมีเดียเป็นพื้นที่ในการปล่อยวีดิโอเพื่อเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมายในการสื่อสารสินค้าและบริการ ด้วยความน่าสนใจของเนื้อหาในวีดิโอทำให้สามารถดึงดูดผู้ชมให้อยู่บนเว็บไซต์ได้นานขึ้น สังเกตได้จากสินค้าแบรนด์หรู หรือรถยนต์ ที่ใช้ดิจิทัลวีดิโอสร้างประสบการณ์กับแบรนด์และสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนมากจะเป็นการปล่อยวีดิโอทั้งบนโซเชียลมีเดียและแบรนด์ไซต์ไปพร้อมๆ กัน

การตั้งใจสร้าง แบรนด์ แชนแนล ที่น่าสนใจบนโซเชียลมีเดียอย่าง ยูทูบ ทำให้แบรนด์อย่าง ไนกี้ โคคา-โคลา เป๊ปซี่ และฮาร์เลย์ เดวิดสัน สามารถจัดการเนื้อหา สร้างแคมเปญและโปรแกรมที่เหมาะสมกับผู้ชม และเชื่อมโยงไปยังแบรนด์ไซต์ เพื่อต่อยอดการซื้อในโลกออฟไลน์

เปลี่ยนมุมมองเพิ่มความคุ้มค่า

แม้ดิจิทัลวีดิโอจะเป็นที่สนใจและมีกระแสแรง แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าแบรนด์ที่ตั้งใจสร้างคอนเทนต์คุณภาพเพื่อใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ยังมีน้อย ขณะที่นักการตลาดส่วนใหญ่มองว่า โซเชียลมีเดียเป็นพื้นที่ฟรีและไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องใช้ทีมงานในการสร้างดิจิทัลวีดิโออย่างมีคุณภาพเท่าไหร่ ซึ่งเป็นการมองข้ามโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย

วันนี้คงถึงเวลาต้องเปลี่ยนมุมมองและแผนการสื่อสารที่ใช้กลยุทธ์และการลงทุนสร้างสื่อที่มีพลังนี้แล้ว เพราะเมื่อใดที่โดนใจคนดูหมู่มาก เมื่อนั้นแบรนด์ก็จะได้รับการบอกต่ออย่างคุ้มค่าไม่รู้จบ

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/review/20110819/405599/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87-%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%89%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88.html

10 วิชาที่น่าสนใจเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์

CPSC 103  ตรรกะดิจิทัล  3(3-0-6)
(Digital Logic)
ระบบจำนวนและรหัสคอมพิวเตอร์ พีชคณิตบูลีน การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ตรรกะคอมบิเนชันนัล ฟังก์ชันสวิทชิง รูปแบบคาโนนิคัล แผนที่คาร์นอฟ เทคนิคการลดรูป วงจรแนนและวงจรนอร์หลายระดับ และภัยในวงจร การวิเคราะห์และสังเคราะห์ตรรกะ ซีเควนเชียล การนำฟลิปฟล็อปมาสร้างตรรกะ ตัวแปรสถานะ แผนภาพแสดง การเปลี่ยนสถานะ ตารางแสดงสถานะ การลดจำนวนสถานะ เทคนิคการกำหนดสถานะ และสภาวะการแข่งขัน
Number systems and computer codes, Boolean algebra, analysis and synthesis of combinational logic, switching function, canonical forms, Karnaugh map, minimization techniques, multilevel NAND and NOR circuits and hazards, analysis and synthesis of sequential logic, logic implementation with flip flop, state variables, state transition diagram, state table, minimization of states, state assignment techniques, and race conditions.

CPSC 201    สถาปัตยกรรมและองค์ประกอบคอมพิวเตอร์  3 (3 – 0 – 6)
(Computer Architecture and Organization)
ระบบคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ มอดูลรับเข้า/ส่งออก การเชื่อมต่อองค์ประกอบดังกล่าว หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยควบคุม เรจิสเตอร์ หน่วยคำนวณทางคณิตศาสตร์และตรรกะ หน่วยคำสั่งและการเชื่อมต่อของหน่วยดังกล่าว สถาปัตยกรรม การออกแบบชุดคำสั่งและชนิดข้อมูล หัวข้อการจัดระบบ การทำไปป์ไลน์ การจัดระบบคอมพิวเตอร์แบบขนาน การจัดระบบหน่วยประมวลผลหลายชุด และการประมวลผลเชิงเวกเตอร์
Computer system, processor, memory and Input/Output modules, interconnections among these major components, central processing unit, control unit, registers, arithmetic and logic unit, instruction unit and interconnections among these components, architectural issues, instruction-set design and data types, organizational issues, pipelining, parallel organization, multiple processors and vector processing organizations.

CPSC 317     ระบบปฏิบัติการ 3 (3 – 0 – 6)

(Operating Systems)
สถาปัตยกรรม เป้าหมายและโครงสร้างของระบบปฏิบัติการ การจัดการการประมวลผล การกำหนดการการประมวลผล ความร่วมมือและการประสานเวลาของการประมวลผล สภาวะติดตาย สาเหตุ เงื่อนไข การป้องกัน การจัดการหน่วยความจำ หน่วยความจำกายภาพ หน่วยความจำเสมือน การจัดการหน่วยเก็บรอง จานบันทึก หน่วยเก็บขั้นสาม หน่วยรับเข้า/ส่งออก แฟ้มข้อมูล สารบบ ระบบปฏิบัติการแบบกระจายเบื้องต้น
Architecture, goals, and structure of operating system, process management, processes scheduling, process coordination and synchronization, deadlock, causes, conditions, prevention, memory management, physical memory, virtual memory, secondary storage management, disk, tertiary storage, Input/Output (I/O), file, directory, introduction to distributed operating systems.

CPSC 319    การพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงอ็อบเจกต์ 3 (2 – 2 – 6)
(Object-Oriented Software Development)
การเขียนโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์ คลาส อ็อบเจกต์ ชนิดข้อมูลนามธรรม การรับคุณสมบัติถ่ายทอด การห่อหุ้ม ภาวะพหุสัณฐาน และการนำของเดิมมาใช้ใหม่ กระบวนทัศน์การพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงอ็อบเจกต์ การวิเคราะห์ ออกแบบและประยุกต์ใช้ระบบงานเชิงอ็อบเจกต์
Object-oriented programming, classes, objects, abstract data types, inheritance, encapsulation, polymorphism and reuse, object-oriented software development paradigm, analysis, design and applications of object-oriented systems.

CPSC 334    ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ 3 (3 – 0 – 6)
(Human-Computer Interaction)
พฤติกรรมมนุษย์ กระบวนวิธีการบันทึกและแปลพฤติกรรมมนุษย์ การวิเคราะห์ การทำงาน เทคนิคการสังเกต การออกแบบสอบถาม เทคนิคการวิเคราะห์และการโมเดลงาน วิธีแสดงส่วนปฏิสัมพันธ์และเครื่องมือสร้างต้นแบบ ขั้นตอนการเรียนรู้ การศึกษาการใช้งานและการวิเคราะห์โพรโทคอลการใช้คำ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์  แนวทางการทดลองทำจริง การเรียนรู้ของมนุษย์ การทำนายและการเลียนแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์และกรณีศึกษา
Human behavior, methodologies for obtaining and interpreting human behavior: work activity analysis, observation techniques, questionnaire, task analysis and modeling techniques, methods for interface representation and prototyping tools, cognitive walkthroughs, usability studies and verbal protocol analysis, the four approaches to human-computer interaction, empirical, cognitive, predictive, and anthropomorphic and case studies.

CPSC 350    การโปรแกรมแบบลูกข่าย-แม่ข่าย 3 (2 – 2 – 6)
(Client-Server Programming)
โมเดลและการโปรแกรมการสื่อสารแบบลูกข่าย-แม่ข่าย การออกแบบซอฟต์แวร์ การประมวลผลพร้อมกัน การเชื่อมต่อโปรแกรมประยุกต์กับโพรโทคอล ซ็อกเก็ตเอพีไอ ขั้นตอนวิธีดำเนินงานที่ฝั่งลูกข่ายและประเด็นที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนวิธีดำเนินงานที่ฝั่งแม่ข่ายและประเด็นที่เกี่ยวข้อง แม่ข่ายแบบไม่กำหนดการเชื่อมต่อ และแม่ข่ายแบบกำหนดการเชื่อมต่อ
Client-server communication model and programming, software design, concurrent processing, application interface to protocols, socket Application Protocol Interface (API), client side algorithms and issues, server side algorithms and issues, connectionless servers, and connection-oriented servers.

CPSC 351    เทคโนโลยีการเชื่อมต่อเครือข่าย 3 ( 3 – 0 – 6 )
(Internetworking Technology)
ที่อยู่ไอพี โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต ไอพี อาร์พ อาร์อาร์พ ไอซีเอ็มพี ไอจีเอ็มพี แนวคิดของการจัดเส้นทาง การจัดเส้นทางแบบคงที่ การจัดเส้นทางแบบพลวัต ริพ โอเอสพีเอฟ บีจีพี การส่งข้อมูลจากโพรเซสถึงโพรเซส พีพีพี การควบคุมความแออัดในเครือข่าย คิวโอเอส ดีเอ็นเอส ไอเอสดีเอ็น เอซีแอล ดีดีอาร์กับไอเอสดีเอ็น แนท ดีเอชซีพี การส่งสื่อประสม การจัดการเครือข่าย และเอสเอ็นเอ็มพี
Internet Protocol (IP) Addressing, Internet Protocols: IP, ARP/RARP, ICMP, IGMP; routing concepts, static routing, dynamic routing: RIP, OSPF, BGP; Process-to-Process Delivery, PPP, Congestion control, QoS, DNS, ISDN, ACL, DDR with ISDN, NAT, DHCP, Multimedia transmission, Network Management, and SNMP.

CPSC 381    การค้นคืนสารสนเทศ 3 (3 – 0 – 6)
(Information Retrieval)
การค้นคืนข้อความ ธรรมชาติของสารสนเทศ การแทนและโครงสร้างสารสนเทศ การค้นคืนข้อความหรือการค้นคืนสารสนเทศอย่างเต็มทั้งแบบมีข้อกำหนด และไม่มีข้อกำหนด องค์ประกอบของระบบค้นคืนสารสนเทศ ปัญหาในการค้นคืนข้อความอย่างเต็ม โพลีกามี ซีโนนีมี ไฮเปอร์นีมี ไฮโปนีมี ข้อคำถามเชิงข้อความ ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ของระบบค้นคืนสารสนเทศ วิธีการค้นคืนข้อความ วิธีเชิงอินเด็กซ์ วิธีจับคู่สตริงอย่างง่าย ขั้นตอนวิธีเคเอ็มพี การประมาณการการจับคู่ ต้นไม้แบบแพ็ต การวิเคราะห์การจัดกลุ่ม พื้นที่เวกเตอร์ การทำอินเด็กซ์เชิงความหมายแฝง การประมวลผลภาษาธรรมชาติ เครือข่ายใยประสาทเทียม และเครื่องช่วยการค้นคืนข้อความ
Text-retrieval, nature of information, representation and structure of information, restricted and un-restricted text/full-text retrieval, information retrieval systems components, problems in full-text search: polygamy, synonymy, hypernymy, hyponymy, textbase queries, user interfaces to information retrieval systems, text retrieval approaches, simple index-based, na?ve string matching, KMP algorithms, approximate matching, PAT trees, cluster analysis, vector space, latent semantic indexing, natural langrage processing, artificial neural network and text-retrieval machine.

CPSC 401    ภาษาโปรแกรมทางเลือก 3 (2 – 2 – 6)
(Selected Programming Language)
การศึกษาภาษาโปรแกรมอย่างลึกซึ้งหนึ่งภาษาหรือมากกว่าที่เป็นกรณีศึกษา ภาษาที่เปิดสอนอาจเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละภาคการศึกษา และจะมีการแจ้งให้นักศึกษาทราบล่วงหน้า วัตถุประสงค์ของรายวิชานี้คือเพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักภาษาโปรแกรมเพิ่มเติม
A comprehensive study of one or more selected programming languages. Selected languages may vary from semester to semester and will be announced before the starting of each semester. The objective is to introduce students to alternative programming languages.

CPSC 452     การจัดการเครือข่าย 3 (3 – 0 – 6)
(Network Management)
หน้าที่ของการจัดการเครือข่าย โมเดลการจัดการเครือข่าย มาตรฐานการจัดการเครือข่าย เครือข่ายการจัดการโทรคมนาคม(ทีเอ็มเอ็น) โพรโทคอลจัดการเครือข่ายอย่างง่าย (เอ็สเอ็นเอ็มพี) การเฝ้าระวังระยะไกล(อาร์มอน) โพรโทคอลสารสนเทศร่วมเพื่อการจัดการ(ซีเอ็มไอพี) และ ฐานสารสนเทศเพื่อการจัดการ (เอ็มไอบี) และเครื่องมือและเทคนิคในการจัดการเครือข่าย
Network management functions, network management model, network management standards, Telecommunications Management Network (TMN), Simple Network Management Protocol (SNMP), Remote Monitoring (RMON), Common Management Information Protocol (CMIP), and Management Information Base (MIB), and tools and techniques for network management.

COMP 100 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2 (2 – 0 – 4)
(Introduction to Computer)
ศึกษาประวัติความเป็นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมประยุกต์
Study of computer history, internet, hardware, software, operating system and application program
TECH 101 สื่อและเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน 2 ( 1 – 2 – 4 )
(Media and Technology in Daily Life)
ศึกษาการใช้เทคโนโลยีและสื่อรูปแบบใหม่ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย การใช้ห้องสมุดและการสืบค้นข้อมูล เครือข่ายสังคม โปรแกรมประยุกต์สำนักงาน ความปลอดภัย คุณธรรม จริยธรรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์
Study of technology and new media using, computer system, network system, library and data searching, social network, office application, security, moral and ethics of computer users
COMP 300 คอมพิวเตอร์เพื่อการทำงาน 2 (1 – 2 – 4)
(Computer for Working)
ศึกษาการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการทำงาน การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ การใช้โปรแกรมสเปรตชีท การใช้โปรแกรมนำเสนองาน และการใช้งานบล็อก
Study of computer for working, word processing program, spread sheet program, presentation program and blog using
CPSC 104    กฎเกณฑ์และความหมายของภาษาโปรแกรม 3 (3 – 0 – 6)
(Syntax and Semantics of Programming Languages)
บททบทวนกฎไวยากรณ์ ภาษากับกฎเกณฑ์และความหมาย การตัดคำและความคลุมเครือ รูปปกติแบบบาร์คัส (บีเอ็นเอฟ) ไวยากรณ์ของสถานะจำกัดและตัวรู้จำ การสแกนคำ การสร้างตารางรหัส ภาษาไร้บริบท พุชดาวน์ออโตมาตา เทคนิคการตัดคำแบบไร้บริบท คำสั่งวนซ้ำ การแปลความก่อนหลังและการแปลความจากซ้ายไปขวาแบบง่าย (เอสแอลอาร์) และการแปลกฎเกณฑ์แบบตรง
Review of grammars, languages and their syntax and semantics, parsing and ambiguity, Backus Normal Form (BNF), finite state grammars and recognizers, lexical scanners, implementation of symbol tables, context-free languages, push-down automata, context-free parsing techniques, recursive descent, precedence and Simple Left to Right (SLR) translation, and syntax directed translation schemes.

http://www.thaiall.com/tqf

http://www.thaiall.com/tqf/cpsc/2555_curr_cpsc_10subj.doc

Tablet PC Review : Acer iconia Tab A500

acer iconia tab a500
acer iconia tab a500

22 ส.ค.54 มีโอกาสยืม Tablet PC จากหน่วยงานของเพื่อน มาทดลองใช้งาน มีประเด็นที่น่าสนใจสรุปได้ 5 ประเด็น ดังนี้
1. สามารถ download แฟ้มจาก e-document อาทิ .doc หรือ .pdf แล้วใช้ app:docs to go เปิดอ่านได้
2. สามารถ upload แฟ้มทั้ง .doc หรือ .pdf จากห้องเก็บแฟ้ม หรือ external memory สามารถเปิดได้ด้วย app:clear.fi
3. สามารถแก้ไขแฟ้มที่อยู่ใน cloud application (up,down,edit) ทำงานได้ทั้งใน hotmail.com และ google.com
(ทดสอบกับ android ใน smart phone เครื่องละไม่ถึง 3 พันก็สามารถจัดการแฟ้ม spreadsheet ได้เช่นกัน)
4. สามารถแสดงผลออกไปทาง HDMI ถ้ามี lcd tv หรือ projector รุ่นที่มี hdmi ก็สามารถเชื่อมต่อออกไปได้ทันที
5. ถ้าไม่ต่อเน็ตอาจมี app ไม่กี่รายการให้ใช้ อาทิ เกม นาฬิกา เครื่องคิดเลข และปฏิทิน

เปรียบเทียบกับ smart phone ของ imobile 8500
1. แม้เป็น android รุ่นเก่า แต่ก็สามารถใช้ cloud application ได้
2. upload ทั้งใน moodle และ e-document ไม่ได้ พบว่า upload disabled
3. download แฟ้มเข้าเครื่องได้สำเร็จ และ open ไม่ได้ เพราะไม่มี app รองรับ

http://www.tabletd.com/tablets/34/Acer-Iconia-Tab-A500

shortcut virus ตัวใหม่

22 ส.ค.54 พบไวรัสใน handy drive ของเพื่อน 4 อัน แล้วผมก็ใช้คอมพิวเตอร์ 3 เครื่องจัดการ .. สรุปว่าฆ่า shortcut virus ตัวใหม่ ยังไม่ตายครับ

กรณีปัญหาการจัดการกับไวรัส
1) เครื่องที่ 1 ใช้ handy drive กับเครื่อง win7 ที่ไม่มี antivirus ทำให้ผมจับไวรัสตัวนี้ที่อยู่ใน recycle bin ไว้ได้ ถ้าต้องการเปิดแฟ้ม .zip ต้องใช้รหัสว่า virus
2) เครื่องที่ 2 เป็น win7 ใช้ symantec endpoint รายงานหลอกว่าฆ่าได้ แต่สงสัยว่าทำไมผมแก้ hidden กับ autorun.inf ไม่ได้ จึงเอาตัวเดิมไปลองในเครื่องใหม่ ซึ่งผมได้เอา autorun ออกแล้ว ก่อนเสียบ handy drive แต่การสั่งลบแฟ้ม autorun.inf ก็ยังเป็น access denied เมื่อสั่งลบผ่าน dos แม้ใช้ attrib -h ก็แก้ไม่ได้ ฟ้อง access denied เหมือนเดิม
3) เครื่องที่ 3 นำ handy drive ที่ฆ่าในขั้นสอง มาลองในเครื่องใหม่ พบว่าฆ่าได้อีก นำไปเสียบเครื่องอื่น ก็ฆ่าได้อีก สรุปได้ว่า symantec endpoint ฆ่าไวรัสตัวนี้ไม่ได้ ชื่อที่พบคือ TR/Dropper.Gen ,  W32/rcbot.ng และ trojan.adh ซึ่งไวรัสตัวที่ผมลบแบบ manual สามารถลบได้ตัวเดียว คือ w32/rcbot.ng
4) เครื่องที่ 4 นำเข้าเครื่องเจ้าหน้าที่ใช้ mcafee ที่ update ตลอด พบว่าเครื่องของเขาติดไวรัสตัวนี้เข้าแล้ว
สรุปว่า symantec endpoint และ mcafee ตัว update จัดการ shortcut virus ตัวนี้ไม่ได้ ส่วนแฟ้มไวรัสที่เก็บไว้ ยังไม่ได้ตรวจสอบว่าไวรัสมาทั้ง 2 ตัวหรือไม่ แฟ้มมีขนาดถึง 150 KB

การแก้ไข
1. ใช้ antivirus ฆ่าไวรัส ผลการทดสอบพบว่า antivir สามารถฆ่าได้ทั้ง 3 ตัว
2. ใช้ http://www.thaiall.com/download/unhidden.rar แก้ปัญหา folder ถูกซ่อน และมี shortcut ปรากฎขึ้น

การปิด autorun
1. ปิดผ่าน control panel,  autoplay
2. DOS>gpedit.msc มองไปถึง Administrative Templates, Windows Components, Autoplay Policies
3. กดปุ่ม shift ค้างไว้

แฟ้มไวรัส TR/Dropper.Gen
http://www.4shared.com/file/vwTdC7gS/virus_jwgkvsq.html

วิธีแก้ไขที่ไม่น่าจะใช้กับ virus ตัวนี้สำเร็จ
http://www.ichat.in.th/HRTCOMPUTER/topic-readid30271-page1
http://www.pcccr.ac.th/ict_parinya/web/index.php?option=com_content&view=article&id=96
http://www.navy.mi.th/ncd/main/knowledge/store_knowledge/p1231210140403.pdf

ตัวอย่างกราฟประเมินวิดีโอ

graph of evaluation
graph of evaluation

เป็นการใช้ MS Excel 2010 กรอกข้อมูล แล้วใช้ฟังก์ชัน sum และ averagea หาค่าผลรวม และค่าเฉลี่ย เปรียบเทียบเกณฑ์ที่ใช้ประเมินจำนวน 5 เกณฑ์ ซึ่งผลของผลรวม กับค่าเฉลี่ยต่างกัน เนื่องจากมีผู้ประเมินคนหนึ่งไม่ประสงค์ จะแสดงความเห็นเรื่องนักแสดง การหาค่าเฉลี่ยจึงใช้ averagea ที่สามารถเลือกเฉพาะค่าที่มีตัวเลขมาหาค่าเฉลี่ย กราฟของรวม และเฉลี่ยจึงมีความหมายต่างกัน

แต่ในเกณฑ์ที่ผมเสนอให้นักศึกษาใช้มี
1. เนื้อหา
2. ตัวละคร
3. ภาพ
4. เสียง
5. เทคนิค
6. ความคิดสร้างสรรค์
7. ความสมบูรณ์ในภาพรวม
เพื่อให้นักศึกษาพึงระวังในระหว่างการจัดทำ ว่ามีประเด็นได้ต้องให้ความสำคัญ และต้องนำไปใส่ใน MS Powerpoint ในการนำเสนอคลิ๊ปวีดีโอ .. กรณีนี้ใช้สำหรับ BCOM 500 มีนักศึกษา 46 คน

ปรับตัวเลือก ให้นักศึกษาเลือกตอบได้ครั้งเดียว

moodle quiz
moodle quiz

กิจกรรมเกี่ยวกับแบบทดสอบที่ผมดำเนินการมีดังนี้ 1) ก่อนนักศึกษาจะทำข้อสอบได้ ต้องมีรหัสเข้าสู่ระบบซึ่งผมเตรียมไว้ให้ทุกคนเป็น student01 2) เมื่อเข้าไปในแต่ละวิชาให้คลิ๊ก Enrol.. เพื่อสมัครเรียน แล้วทำข้อสอบเก็บคะแนน 3) หลังทำข้อสอบและตรวจแล้ว ผมก็จะลบสมาชิกใน Participant โดยยกเลิกบทบาท Student ของ Participants

สำหรับการสร้าง Quiz แบบ Multiple Choice บน Moodle 1.9 ได้ปรับตัวเลือกต่าง ๆ 4 ตัวเลือกของแบบทดสอบ เมื่อมีการทำข้อสอบก็จะมีตัวเลือกท้ายสุดว่า Submit all and finish
Shuffle questions : Yes
Attempts allowed : 1
Adaptive mode : No
Grading method : First attempt

วิธีการสอน/พัฒนา 37 วิธี

เรียบเรียงจากวิธีการสอน/พัฒนาใน Course Specification ของ CU-CAS
1. การบรรยาย (Lecture)
2. การอภิปราย (Discussion)
3. การสอนแบบสัมมนา (Seminar)
4. การสอนโดยใช้การนิรนัย/อนุมาน (Deductive) คือ อ้างความรู้เดิมให้ได้ความรู้ใหม่หรือข้อสรุป
5. การสอนโดยใช้การอุปนัย/อุปมาน (Inductive) คือ การสรุปจากความจริงย่อยหลายข้อมาเป็นข้อสรุป
6. การใช้กรณีศึกษา (Case)
7. การแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)
8. ภาคสนาม (Field Work)
9. การไปทัศนศึกษา (Site Tour)
10. การใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation)
11. การแสดงละคร (Dramatization)
12. การสาธิต (Demonstration)
13. การสอนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)
14. การใช้เกม (Game)
15. การทดลอง (Experiment)
16. การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction)/ การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน /การเรียนแบบผสมผสาน/การเรียนแบบออนไลน์
17. การฝึกปฏิบัติ (Practice)
18. การฝึกงาน/การฝึกสอน (Training)
19. การสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research-based Instruction)
20. การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Instruction)
21. การสะท้อนความคิด (Reflective Thinking)
22. การสอนแบบสืบสอบ (Inquiry-based instruction)
23. การศึกษาค้นคว้าโดยอิสระ (Independent Study)
24. การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (Self-directed Learning)
25. การสอนโดยใช้โครงงาน (Project-based Instruction)
26. การเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบ/ปราชญ์ (Professional Model)
27. การเรียนการสอนแบบจุลภาค (Micro Teaching)
28. การนิเทศการปฏิบัติการวิชาชีพ (Supervision)
29. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
30. การให้คำปรึกษารายบุคคล (Individual Advisor)
31. กลุ่มติวเตอร์ (Tutorial Group)
32. การระดมสมอง (Brain Storming)
33. การสรุปประเด็นสำคัญ / การนำเสนอผลของการสืบค้นที่ได้รับมอบหมาย (Conclusion Presentation)
34. กิจกรรม (Activities)
35. การสอนข้างเตียง/เรียนจากผู้ป่วย (Problem Learning)
36. การฝึกแสดงออกทางพฤติกรรม (Behavior Presentation)
37. การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Study)