ใช้ ckeditor แทน fckeditor

ckeditor for webpage editor
ckeditor for webpage editor

8 ก.ค.54 ต้องการใช้ text editor เป็น plug-in ของ textarea จึง download script จาก http://ckeditor.com/download
ได้รุ่น CKEditor 3.6.1, released on 16 June 2011 เมื่อคลาย zip ลงที่ root ก็ได้ห้อง /ckeditor แล้วเขียน code test.htm มีรายละเอียดว่า

<head><script type=”text/javascript” src=”ckeditor/ckeditor.js”></script></head>
<body><form action=”xxx.php” method=”post”>
<textarea cols=”80″ id=”editor1″ name=”editor1″ rows=”10″></textarea>
<script type=”text/javascript”>
//<![CDATA[
CKEDITOR.replace( ‘editor1’,    {fullPage : true,   extraPlugins : ‘docprops’   });
//]]>
</script>
<p><input type=”submit” value=”Submit” /></p>
</form>
</body></html>

แต่ toolbar ที่ได้เป็นแบบ full option จึงกำหนดรูปแบบในแฟ้ม config.js

config.toolbar =
[
[ ‘Source’, ‘-‘, ‘Bold’, ‘Italic’, syntaxhighlight’ ]
];

ซึ่งมีรายละเอียดศึกษาเกี่ยวกับ config ได้ที่
http://docs.cksource.com/ckeditor_api/symbols/CKEDITOR.config.html

มีคำถามเรื่องลิงค์เสีย

dead link
dead link

6 ก.ค.54 เป็นกรณีศึกษา ที่ผมจะนำไปถามนักศึกษาว่า เวลาทำลิงค์ใน word แล้ว ทำไมคลิ๊กแล้วเปิดเว็บไซต์ตามลิงค์นี้ไม่ได้ .. จะมีใครรู้บ้างนะว่าเกิดจากอะไร แล้วต้องแก้ไขอย่างไรนะ
ประเด็นที่นึกถึงคือ dead link, url, host name, technology gap, spelling เป็นต้น

เปิด telnet ให้นักศึกษาเข้า fedora 15

telnet
telnet

4 ก.ค.54 จัดทำ Fedora Live USB แล้วก็ติดตั้งลงไปใน Harddisk โดยกำหนด Boot Loader เป็น /dev/sda ทำให้ได้ระบบปฏิบัติการตัวที่สองของเครื่อง แล้วเข้าไปแก้ grub.conf ใน /boot/grub เพื่อเปลี่ยน default ของ os ที่บูทเป็น Windows (เผื่อว่าเด็กมาเล่นจะได้เข้าระบบ windows ที่พวกเขาคุ้นเคย) .. เมื่อนำเครื่องไปมหาวิทยาลัยก็ต้องการให้ทุกคนเข้าระบบ Linux ผ่าน Telnet จึงดำเนินการเปิด Port 23 คือ Telnet ดังนี้
#yum install telnet-server เพื่อติดตั้ง telnet
#chkconfig telnet on เพื่อเปิดบริการ telnet เมื่อเปิดเครื่อง
#/etc/init.d/xinetd restart เพื่อเปิดบริการ xinetd
#setup แล้วเพิ่ม tcp:23 เข้าไปใน Firewall ไม่งั้นน.ศ.เข้าไม่ได้
#netstat -na|more ตรวจว่าเปิดพอร์ทรับบริการหรือไม่

#yum install vsftpd เพื่อติดตั้ง ftp server
#chkconfig vsftpd on เพื่อเปิดบริการ vsftpd เมื่อเปิดเครื่อง
#/etc/init.d/vsftpd restart เพื่อเปิดบริการ ftp
#/etc/init.d/xinetd restart เพื่อเปิดบริการ xinetd
#setup แล้วเปิดการอนุญาต ftp ใน firewall
#ftp localhost เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อ

#yum install httpd เพื่อติดตั้ง web server
#chkconfig httpd on เพื่อเปิดบริการ httpd เมื่อเปิดเครื่อง
#/etc/init.d/httpd restart เพื่อเปิดบริการ web server
#/etc/init.d/xinetd restart เพื่อเปิดบริการ xinetd
#setup แล้วเปิดการอนุญาต httpd ใน firewall

แก้ email blocked ของ hotmail.com

hotmail blocked
hotmail blocked

3 ก.ค.54 วันนี้เพื่อนเก่าส่ง message มาให้ช่วยแก้ blocked ของ อีเมลใน hotmail.com ลองเข้าไปดูก็พบว่ามีขั้นตอน คือ verify ด้วย alternate email ซึ่งเป็นอีเมลในองค์กรที่ผมดูแลอยู่ .. จึงเข้าไปสร้าง email ของเพื่อนเก่าในองค์กรขึ้นใหม่ เพราะในอดีตเพื่อนเคยกำหนดไว้ใน hotmail.com แล้วสั่งให้ hotmail.com ส่ง verify code มาตาม email เดิม เพื่อยืนยันการเป็นเจ้าของ .. เมื่อไปเปิดอีเมลในองค์กร ก็จะทราบ verify code แล้วยืนยันกลับไป เพียงเท่านี้ hotmail ก็คืน e-mail ให้กับเพื่อนได้แล้ว .. เหตุที่ถูก blocked น่าจะเป็นเพราะรหัสผ่านเดิมหลวมเกินไป แล้วอาจมี virus เข้าไปจับ แล้วส่งเป็น spam ออกไปให้ใครต่อใคร .. ผมจึงเปลี่ยนรหัสผ่านให้ใหม่ ก็เป็นอันเรียบร้อยครับ

ใช้ grub-install ทำ Drive หายไป 2 Drive

กู้ partition ที่หายไป
กู้ partition ที่หายไป

3 ก.ค.54 ใช้ Fedora 15 ที่ติดตั้งผ่าน Live USB แต่กำหนด Boot Loader เป็น /dev/sdb1 ก็คือ Flash Drive จึงหาวิธีย้าย Boot Loader มาไว้ใน Drive C แต่ทดสอบคำสั่ง #grub-install /dev/sda5 ซึ่งเป็น Drive D และ /dev/sda6 ซึ่งเป็น Drive E เป็นผลให้ Partition แบบ NTFS หายไป เมื่อตรวจด้วย Disk Management ก็ไม่พบอะไรใน Drive C กับ D เลย .. (ยุ่งแล้วสิ)

แก้ไขโดยติดตั้งโปรแกรม Active Partition Recover เลือก Fix Boot Sector แล้วก็พบว่าข้อมูลทั้งหมดกลับมาเหมือนเดิม .. การแก้ไขครั้งนี้ไม่เหมาะจะใช้ recuva ที่ใช้กู้แฟ้มหรือไดเรกทรอรี่ที่ลบไป
http://www.piriform.com/recuva
http://www.partition-recovery.com

ผลเลือกตั้ง 2554 (exit poll)

exit poll 2554
thai pbs : exit poll 2554

3 ก.ค.54 ผลเลือกตั้ง ส.ส. (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) จาก exit poll เมื่อ 3 กรกฎาคม 2554 คือ พรรคเพื่อไทย ชนะ พรรคประชาธิปัตย์ (Democrat Party) ซึ่งผลจาก exit poll นี้ .. ผมไม่ประหลาดใจเมื่อทราบผล เพราะองค์ประกอบของความสำเร็จ คือ ส.ส.ที่อยู่ในพื้นที่ และคนส่วนใหญ่ของประเทศมิใช่ชนชั้นกลาง อีกสาเหตุที่นักวิชาการไม่กล่าวถึงมากนัก คือ เลข 1 เป็นเลขสวยที่กาง่าย (สำหรับพ่อหลวงแม่หลวงในชนชท) .. แต่เห็นในทีวีมักพูดถึงตัวผู้นำ นโยบาย และโค้งสุดท้ายเป็นสำคัญ

ผลสำรวจ exit poll ของ สวนดุสิต ศรีปทุม นิด้า และเอแบค  โดย 2 อันดับแรกจากทั้ง 4 โพล เป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยมี 7 พรรคในรายการนี้ คือ พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรครักประเทศไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน และพรรครักษ์สันติ
http://www.ptp.or.th
http://www.democrat.or.th
http://election54.thaipbs.or.th
http://www.oknation.net/blog/thaiabc/2011/07/03/entry-3

http://www.suthichaiyoon.com/detail/11232
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าตนบอกกับพี่น้องว่าถ้าเลือกเบอร์สิบตนจะเดินหน้าปรองดองอย่างอดทนอดกลั้นอย่างถึงที่สุด แต่ถ้าไม่อยากเลือกเบอร์สิบเพราะกลัวว่าเสื้อแดงจะไม่หยุด ตนก็ต้องบอกว่าถ้าตัดสินใจอย่างนั้นอาจจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปแต่พี่น้องจะเป็นตัวประกันของคนที่นิยมความรุนแรงตลอดไป หรือถ้าพี่น้องบอกว่าไม่อยากเลือกเบอร์สิบอยากจะได้พรรคการเมืองที่เข้ามาแก้ปัญหานี้แล้วไปตายเอาดาบหน้า เราก็กำลังนำพาประเทศไปสู่ความเสี่ยงความวุ่นวายอีกครั้ง

สร้าง Live USB : fedora 15

creating live usb : fedora os
creating live usb : fedora os

3 ก.ค.54 การสร้าง live usb ด้วย OS ของ Fedora 15 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ USB Drive มาติดตั้งระบบปฏิบัติการ Linux และทำงานทันทีที่เปิดเครื่อง โดยไม่ต้องติดตั้งลงไปในเครื่อง มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
1. ใช้พื้นที่ประมาณ 600 MB และข้อมูลใน USB ยังอยู่ครบถ้วน เพราะไม่ได้ทำการ Format USB แต่เพิ่มห้องเก็บข้อมูล 4 ห้อง คือ Boot, EFI, syslinux และ LiveOS ส่วนห้อง Root มีแฟ้มชื่อ GPL
2. เครื่องที่ใช้ทดสอบคือ ASUS ต้องกด F2 เมื่อเปิดเครื่องแล้วเข้า Boot, Hard disk drives เลือกเลื่อน USB ซึ่งเป็น Harddisk ตัวที่ 2 ขึ้นมา มิเช่นนั้น จะเลือก Harddisk ตัวแรกเสมอ ทำให้ไม่เรียก USB ขึ้นมาทำงานตามที่ตั้งใจไว้
3. Download โปรแกรมติดตั้ง Live USB และแฟ้ม Fedora OS มาไว้ในเครื่อง
4. เมื่อ boot ขึ้นมา สามารถแก้ไขได้ แต่ผลการแก้ไขไม่ได้บันทึกไว้ เพราะทำงานใน RAM เมื่อ boot ใหม่ก็จะไม่เห็นผลการแก้ไข เช่น เปลี่ยน background หรือ create user
5. สามารถกำหนดการเชื่อมต่อแบบ wireless หรือ wired แล้วใช้งานได้ปกติ
6. มีตัวเลือกให้สั่งติดตั้งระบบปฏิบัติการลงไปใน Harddisk ได้

http://fedoraproject.org/wiki/How_to_create_and_use_Live_USB
https://fedorahosted.org/liveusb-creator/
https://fedorahosted.org/releases/l/i/liveusb-creator/liveusb-creator-3.11.1-setup.exe
http://fedoraproject.org/get-fedora
http://download.fedoraproject.org/pub/fedora/linux/releases/15/Live/i686/Fedora-15-i686-Live-Desktop.iso

เครื่องบริการฝากแฟ้มขององค์กร (itinlife296)

e-document
e-document

2 ก.ค.54 ในกลุ่มคนที่ต้องทำงานร่วมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และต้องการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ การมีเครื่องบริการฝากแฟ้มเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document Server) เพื่อให้เป็นแหล่งรวมทรัพยากรที่ถูกใช้สนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learning Exchange) ระหว่างสมาชิก อาทิ รายงานการประชุม ผลการประเมินโครงการ ภาพถ่าย หรือวิดีโอคลิ๊ป ซึ่งสมาชิกทุกคนสามารถเข้าถึงเอกสารร่วมกันได้จากทุกที่ทุกเวลา โดยมีเครื่องบริการที่มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบดูแลให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ และอำนวยความสะดวก ย่อมสนับสนุนให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายขององค์กรตามแผนที่วางไว้

แฟ้มเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มักเป็นสำเนาจากเอกสารต้นฉบับที่เจ้าของสามารถส่งเข้าสู่เครื่องบริการฝากแฟ้ม และสำเนาไปเพื่อเผยแพร่ต่อได้ อาทิ ส่งเป็นเอกสารให้เลขานุการใช้เป็นหลักฐาน ส่งอีเมลให้กับตนเอง หรือส่งเข้าเว็บไซต์ 4shared.com หรือ mediafire.com ที่ให้บริการรับฝากแฟ้มทั่วไป ยิ่งทำสำเนามากเท่าใด ก็ยิ่งลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียแฟ้มเอกสารเท่านั้น เพราะโลกแห่งการสื่อสาร จำเป็นต้องสื่อสารด้วยแฟ้มดิจิทอล ถ้ามีการสื่อสารเพิ่มขึ้นก็ต้องใช้จำนวนแฟ้มเพิ่มขึ้น แล้วจำนวนสำเนาก็จะเพิ่มเป็นเงาตามตัว ทั้งนี้ต้องมีการวางระบบที่เกี่ยวข้องไม่ให้การจัดเก็บ เรียกใช้ หรือปรับปรุงเกิดความผิดพลาดล่าช้า

เครื่องบริการฝากแฟ้มเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ก็เหมือนกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปที่ไม่อาจวางใจได้โดยสมบูรณ์ เหมือนกับรถยนต์ที่อาจยางแตก หรือคอมพิวเตอร์ที่อาจเปิดไม่ออกกระทันหัน เพราะอุบัติเหตุทางซอฟท์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และพีเพิลแวร์เกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องมีแผนสองรองรับในกรณีเกิดปัญหาขึ้น เนื่องจากเป็นเครื่องบริการก็ย่อมมีโอกาสติดไวรัสหรือถูกโจมตีจากภายนอก  อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความร้อนย่อมมีการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาหรือชำรุดจากไฟตกหรือไฟดับได้ ส่วนการดูแลโดยบุคลากรด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นมนุษย์ที่อาจดำเนินการผิดพลาด ละเลยต่อหน้าที่ เลือกดำเนินการอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งหมดคือสิ่งที่อาจเกิดขึ้น และเป็นหน้าที่ของผู้เป็นเจ้าของแฟ้มที่ต้องเตรียมรับมือกับปัญหาที่ไม่คาดคิด

ผลจากไวรัสเข้าเปลี่ยน hosts

hosts
hosts

2 ก.ค.54 ค้นข้อมูล Endpoint แล้วมีเหตุให้ต้องเข้าเว็บไซต์ symantec.com แต่เข้าไม่ได้ ตรวจจาก zend2.com ก็พบว่าเว็บไซต์เปิดใช้งานได้ปกติ .. ก็คิดว่าเครื่องเราคงผิดปกติแล้วแน่ .. จึงสั่ง net stop dnscache ก็ไม่มีผล .. จากนั้นก็ตรวจแฟ้ม hosts ใน c:\windows\system32\drivers\etc ก็พบว่ามีการเปลี่ยนเส้นทางของเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับระบบความปลอดภัย หรือระบบปฏิบัติการ .. สรุปได้ว่าคงเป็นฝีมือไวรัสอีกแล้ว และไม่ทราบว่าเกิดเมื่อใด เพราะบางกรณีไวรัสเข้ามาทำงาน แต่ก็ถูกกำจัดในเวลาต่อมา เพียงแต่ผลของไวรัสอาจไม่ได้หายไปตามตัวไวรัสเท่านั้น .. ต่อไปนี้ เป็นข้อมูลที่อยู่ในแฟ้ม hosts ที่ผมทำการลบออกทั้งหมด เป็นผลให้เข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้เป็นปกติ

192.168.200.3    ad.doubleclick.net
192.168.200.3    ad.fastclick.net
192.168.200.3    ads.fastclick.net
192.168.200.3    ar.atwola.com
192.168.200.3    atdmt.com
192.168.200.3    avp.ch
192.168.200.3    avp.com
192.168.200.3    avp.ru
192.168.200.3    awaps.net
192.168.200.3    banner.fastclick.net
192.168.200.3    banners.fastclick.net
192.168.200.3    ca.com
192.168.200.3    click.atdmt.com
192.168.200.3    clicks.atdmt.com
192.168.200.3    customer.symantec.com
192.168.200.3    dispatch.mcafee.com
192.168.200.3    download.mcafee.com
192.168.200.3    download.microsoft.com
192.168.200.3    downloads-us1.kaspersky-labs.com
192.168.200.3    downloads-us2.kaspersky-labs.com
192.168.200.3    downloads-us3.kaspersky-labs.com
192.168.200.3    downloads.microsoft.com
192.168.200.3    downloads1.kaspersky-labs.com
192.168.200.3    downloads2.kaspersky-labs.com
192.168.200.3    downloads3.kaspersky-labs.com
192.168.200.3    downloads4.kaspersky-labs.com
192.168.200.3    engine.awaps.net
192.168.200.3    f-secure.com
192.168.200.3    fastclick.net
192.168.200.3    ftp.avp.ch
192.168.200.3    ftp.downloads1.kaspersky-labs.com
192.168.200.3    ftp.downloads2.kaspersky-labs.com
192.168.200.3    ftp.downloads3.kaspersky-labs.com
192.168.200.3    ftp.f-secure.com
192.168.200.3    ftp.kasperskylab.ru
192.168.200.3    ftp.sophos.com
192.168.200.3    go.microsoft.com
192.168.200.3    ids.kaspersky-labs.com
192.168.200.3    kaspersky-labs.com
192.168.200.3    kaspersky.com
192.168.200.3    liveupdate.symantec.com
192.168.200.3    liveupdate.symantecliveupdate.com
192.168.200.3    mast.mcafee.com
192.168.200.3    mcafee.com
192.168.200.3    media.fastclick.net
192.168.200.3    microsoft.com
192.168.200.3    msdn.microsoft.com
192.168.200.3    my-etrust.com
192.168.200.3    nai.com
192.168.200.3    networkassociates.com
192.168.200.3    norton.com
192.168.200.3    office.microsoft.com
192.168.200.3    pandasoftware.com
192.168.200.3    phx.corporate-ir.net
192.168.200.3    rads.mcafee.com
192.168.200.3    secure.nai.com
192.168.200.3    securityresponse.symantec.com
192.168.200.3    service1.symantec.com
192.168.200.3    sophos.com
192.168.200.3    spd.atdmt.com
192.168.200.3    support.microsoft.com
192.168.200.3    symantec.com
192.168.200.3    trendmicro.com
192.168.200.3    update.symantec.com
192.168.200.3    updates.symantec.com
192.168.200.3    updates1.kaspersky-labs.com
192.168.200.3    updates2.kaspersky-labs.com
192.168.200.3    updates3.kaspersky-labs.com
192.168.200.3    updates4.kaspersky-labs.com
192.168.200.3    updates5.kaspersky-labs.com
192.168.200.3    us.mcafee.com
192.168.200.3    vil.nai.com
192.168.200.3    viruslist.com
192.168.200.3    viruslist.ru
192.168.200.3    virusscan.jotti.org
192.168.200.3    virustotal.com
192.168.200.3    windowsupdate.microsoft.com
192.168.200.3    www.avp.ch
192.168.200.3    www.avp.com
192.168.200.3    www.avp.ru
192.168.200.3    www.awaps.net
192.168.200.3    www.ca.com
192.168.200.3    www.f-secure.com
192.168.200.3    www.fastclick.net
192.168.200.3    www.grisoft.com
192.168.200.3    www.kaspersky-labs.com
192.168.200.3    www.kaspersky.com
192.168.200.3    www.kaspersky.ru
192.168.200.3    www.mcafee.com
192.168.200.3    www.microsoft.com
192.168.200.3    www.my-etrust.com
192.168.200.3    www.nai.com
192.168.200.3    www.networkassociates.com
192.168.200.3    www.pandasoftware.com
192.168.200.3    www.sophos.com
192.168.200.3    www.symantec.com
192.168.200.3    www.symantec.com
192.168.200.3    www.trendmicro.com
192.168.200.3    www.viruslist.com
192.168.200.3    www.viruslist.ru
192.168.200.3    www.virustotal.com
192.168.200.3    www3.ca.com
127.0.0.1 https://89.149.254.14/*
127.0.0.1 https://85.17.212.185/*
127.0.0.1 http://installs.in/*
127.0.0.1 https://85.17.201.65/*
127.0.0.1 https://85.17.212.185/*
127.0.0.1 https://195.24.77.223/*

ACER Projector รุ่น P5206

ACER Projector รุ่น P5206
ACER Projector รุ่น P5206

ทดสอบ ACER Projector รุ่น P5206 ที่ได้มา 4 ตัววันที่ 29 มิ.ย.54 พบว่า  1) ช่อง USB ที่เชื่อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว สามารถใช้ Remote Control ของ Projector ควบคุมโปรแกรม Powerpoint บนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ทันที 2) ช่อง RJ45 ที่เชื่อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ก็จะได้ IP Address จาก DHCP เมื่อใช้ browser ตามเลข IP ก็จะเข้าควบคุม Projector ได้เหมือนกับ Remote Control แต่ส่งข้อมูล หรือคลิ๊ปวีดีโอไปแสดงผลไม่ได้