ความสำคัญของระบบอีดอคคิวเมนท์

5 มี.ค.54 ความสำคัญของระบบอีดอคคิวเมนท์ที่มีต่อการประกันคุณภาพ สนับสนุนการสื่อสารแลกเปลี่ยน ใช้ปฏิบัติงาน และติดตามผลงานของบุคลากร หน่วยงาน คณะวิชา และมหาวิทยาลัย โดยสอดรับกับเกณฑ์คุณภาพการศึกษาภายใน ดังนี้
1. เกณฑ์ที่ 7.3.2 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจตามพันธกิจของสถาบัน โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริหารจัดการ และการเงิน และสามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานประกันคุณภาพ
– ผู้บริหารมอบหมายหน่วยงานฯ พัฒนาระบบและส่งสารสนเทศเข้าสู่ระบบ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ
– ระบบอีดอคคิวเมนท์เป็นเครื่องมือส่งสารสนเทศจากแต่ละบุคคล และเชื่อมโยงกับพันธกิจด้านต่าง ๆ

2. เกณฑ์ที่ 9.1.6 มีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบทั้ง 9 องค์ประกอบคุณภาพ
– ระบบอีดอคคิวเมน์เปิดให้กำหนดเอกสารที่ต้องการถูกอ้างอิง เข้าระบบต่าง ๆ
– เจ้าของเอกสารพิจารณาเลือกเชื่อมโยงหลักฐานเข้ากับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง
– งานประกันฯ คณะวิชา และมหาวิทยาลัย พิจารณาเอกสารไปจัดทำรายงานปลายปี

3. เกณฑ์ที่ 2.4.4 มีระบบการติดตามให้คณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนนำความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
– การแบ่งปันไฟล์ให้นักศึกษาเข้าถึงแฟ้มประกอบการสอน หรือส่งงาน
– การส่งหลักฐานเข้าตามภาระงาน และเชื่อมโยงเข้ากับรายงานการปฏิบัติงาน
– การส่งหลักฐานถูกใช้โดยผู้บังคับบัญชาในการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

4. เกณฑ์ที่ 7.3.3 มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
– เริ่มจากการใช้งานระบบอินทราเน็ตที่เชื่อมโยงกับระบบอีดอคคิวเมนท์
– มีการดำเนินการโดยคณะกรรมการเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ

หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด

หลวงตามหาบัว กับคำสั่งเสีย
หลวงตามหาบัว กับคำสั่งเสีย

5 มี.ค.54 หลวงตามหาบัวแห่งวัดป่าเกสรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด)
ละสังขารแล้วเมื่อวันที่ 30 ม.ค.2554 เวลา 03.53 น. สิริรวมอายุ 98 ปี หลังอาพาธด้วยอาการปอดติดเชื้อมาเป็นเวลานาน ในเวลาต่อมาชาวพุทธเข้าสักการะสรีระสังขารหลวงตามหาบัว ณ วัดป่าบ้านตาด และร่วมพิธีพระราชทานเพลิงในวันที่ 5 มี.ค.2554 เริ่ม 13.00น.
คำสั่งเสีย “มือของครูอาจารย์ กับมือของลูกศิษย์ลูกหา ญาติมิตรเพื่อนฝูง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ใช้แทนกันได้ ไว้ใจกันได้” และมีคำสั่งเสียอื่น อาทิ ใช้หีบไม้ และไม่สร้างเจดีย์ .. เป็นธรรมทานให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้สัจธรรม .. คล้ายกับพระพุทธทาส
http://www.atnnonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=26828:2011-03-03-15-26-35&catid=83:variety&Itemid=77
http://www.thairath.co.th/today/view/153594
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRJNU5qUXdNREV5TVE9PQ==

สูตรรวยเจ้าพ่อ คอม-ลิงค์ ศิริธัช โรจนพฤกษ์

nation university
nation university http://www.nation-u.com

ข่าวจาก bangkokbiznews.com สูตรรวยเจ้าพ่อ คอม-ลิงค์ ศิริธัช โรจนพฤกษ์

ศิริธัช โรจนพฤกษ์ เจ้าพ่อคอม-ลิงค์ สอนวิธี ‘รวย’ ฉบับมือใหม่ ‘ให้เงินทำงาน’ ด้วยการซื้อหุ้นปันผลสูงกว่าดอกเบี้ย และขายเมื่อขึ้นมา 2-3 เท่า

นานทีปีหนที่ ศิริธัช โรจนพฤกษ์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คอม-ลิงค์ จำกัด จะออกมาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเขามักถูกพูดถึงในทำนอง “มิสเตอร์ Shadow” เข้าไปเกี่ยวข้องกับหุ้น (ร้อน) หลายบริษัทโดยเฉพาะในยุคที่ บล.บีฟิท (BSEC) รุ่งเรืองซึ่งในอดีตโบรกเกอร์แห่งนี้ถือเป็นแหล่งชุมมังกรซ่อนพยัคฆ์ ปัจจุบันศิริธัชยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ บง.กรุงเทพธนาทร (BFIT) บริษัทแม่ของ “บล.บีฟิท”

ต่อมาปี 2549 เจ้าพ่อคอม-ลิงค์ถูกมองว่าอยู่เบื้องหลัง วรเจตน์  อินทามระ และ สมโภชน์ อาหุนัย เข้าเทคโอเวอร์ บมจ.ซีฮอร์ส (SH) ก่อนจะเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจจากอาหารทะเลแช่แข็งมาทำธุรกิจพลังงานทดแทนใน ชื่อบริษัทใหม่ บมจ.อีเทอเนิล เอนเนอยี (EE) จากนั้นศิริธัชค่อย ๆ ก้าวออกมาอยู่เบื้องหน้าในฐานะ “เจ้าของตัวจริง” และลามือจาก “หุ้นร้อน” เกือบหมดสิ้น

ปัจจุบันเขาและกลุ่มคอม-ลิงค์ ยังถือหุ้นใหญ่อาคารไอทาวเวอร์ (อาคารฐานเศรษฐกิจเดิม) เป็นเจ้าของเว็บไซต์อีไฟแนนซ์ไทยดอทคอม และเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป (NMG) ผ่านบริษัท ปรีดาปราโมทย์ จำกัด ก่อนจะมีการโอนขายหุ้นไปอยู่ในชื่อ มยุรี สุขศรีวงศ์ เมื่อปลายปี 2551

ในขณะที่กลุ่มคอม-ลิงค์ เป็นแหล่งรวมของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ของเมืองไทยมีผู้ถือหุ้นได้แก่ กลุ่มโรจนพฤกษ์ 18.62% กลุ่มสันติ ภิรมย์ภักดี 17.5% กลุ่มสุขศรีวงศ์ 14.45% ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล 8.34% ธนาคารกสิกรไทย 6.25% ตระกูลอดิเรกสาร 8.76% และตระกูลล่ำซำ 5.2% เป็นต้น

เมื่อ 2-3 ปีก่อนกลุ่มคอม-ลิงค์ มีเงินลงทุนในตลาดหุ้นสูงกว่า 4,000 ล้านบาท ช่วงนั้นศิริธัชเปิดตัวต่อสื่อมวลชนครั้งแรกมีนักข่าวถามเขาว่า พอร์ตการลงทุนของกลุ่มโรจนพฤกษ์ และกลุ่มคอม-ลิงค์ มีมูลค่าเท่าไร

ศิริธัช กล่าวว่า “ไม่ขอตอบ” เดี๋ยวจะหาว่า “ผมขี้โม้” (ฟังแล้วอาจไม่เชื่อ) แต่บอกได้คร่าวๆ ว่า มีการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยในต่างประเทศจะเน้นลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ประเภทโรงแรม เนื่องจากสามารถเก็บกินผลประโยชน์ได้ในระยะยาว รวมทั้งได้ลงทุนในมหาวิทยาลัยโยนก จังหวัดลำปาง ซึ่งล่าสุดได้ขายใบอนุญาตประกอบกิจการให้กับเครือเนชั่น และกลุ่มเสริมสิน สะมะลาภา ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น “มหาวิทยาลัยเนชั่น”

หากคุณอยากร่ำรวยเหมือนผมจงให้เงินทำงาน อย่าให้มันนอนนิ่ง ๆ” ศิริธัชกล่าว ล่าสุดเขากำลังปลุกปั้น บมจ.อีเทอเนิล เอนเนอยี (EE) มีแผนผลิตเอทานอล 6.5 แสนลิตรต่อวัน มูลค่าเงินลงทุนสูงถึง 5,950 ล้านบาท

เจ้าพ่อคอม-ลิงค์ กล่าวว่า คุณรู้หรือไม่ทุกวันนี้ที่ผมร่ำรวยไม่ได้เป็นเพราะผมเก่ง แต่มันเกิดจาก “ความเฮง” ล้วนๆ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับ “บุญวาสนา” ต่อให้เก่งมากขนาดไหนแต่ไม่มีวาสนาเลยชีวิตคุณก็คงไปไม่ถึงดวงดาว

คำแนะนำของเศรษฐีรุ่นใหญ่วัย 65 ปีรายนี้บอกเล่าถึงวิธี “รวยหุ้น” ให้กับมือใหม่ว่า หาก มีเงินเย็นๆ อยู่ในมือให้เอาไปซื้อหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงกว่าดอกเบี้ย หรือไปซื้อหุ้นที่มีสภาพคล่องรอให้ราคาปรับตัวลงมาแล้วค่อยเข้าไปซื้อ เขายกตัวอย่างหุ้นราคา 100 บาท ถ้าได้รับปันผลปีละ 5 บาท แค่นี้ก็คุ้มเกินคุ้มแล้ว

“ซื้อแล้วไม่ใช่ปล่อยให้มันนอนแช่นิ่งๆ ต้องดูแลมันด้วย ถ้าราคาหุ้นขึ้นไป 2-3 เท่าจากต้นทุนก็ควร “ขายออก” แล้วกำเงินสดไว้เพื่อรอจังหวะนำไปลงทุนอย่างอื่นต่อไป…ผมเรียกมันว่า “เงินต่อเงิน” เงินมันต้องทำงานอย่าให้มันนั่งนอนอยู่เฉยๆ” เขาเผยเคล็ดลับ

ศิริธัชบอกว่าพนักงานในบริษัทของเขาส่วนใหญ่จะเคยฟังเขาปฐมนิเทศเกี่ยว กับเคล็ดลับความร่ำรวยเสมอๆ เจ้าตัวไม่ขอตอบคำถามการลงทุนในส่วนอื่นๆ และหลีกเลี่ยงที่จะแนะนำหุ้นรายตัว โดยบอกเพียงว่า “ไปหาซื้อหุ้นที่มีคุณลักษณะตามที่ผมบอก (จ่ายเงินปันผลสูงกว่าดอกเบี้ยและมีสภาพคล่อง) เดี๋ยวก็ได้พบเจอกับคำว่า “รวย” อีกอย่างถ้าพูดว่าหุ้นตัวไหนจะดี คนเขาก็หาว่าผมปั่นหุ้น พอบอกว่าตัวไหนไม่ดีก็หาว่าผมทุบหุ้น”

ที่ผ่านมามีหลายครั้งที่ชื่อของเขาหลุดเข้าไปเกี่ยวข้องกับหุ้นร้อนหลาย บริษัทแต่ศิริธัชก็ไม่เคยออกมาแก้ข่าวหรือโต้ตอบใดๆ เขากล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งจะบอกเสมออย่าพูดอะไรจะดีกว่า ปล่อยให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์เองดูอย่างเรื่องที่ผมอยากทำโรงงานผลิตเอทา นอลตอนนั้นคนก็ไม่เชื่อนะ (คิดว่าปั่นหุ้น) แต่วันนี้เห็นแล้วว่าผมทำจริงและแสงสว่างปลายอุโมงค์ก็เกิดขึ้นแล้ว

เศรษฐีรายนี้เชื่อเรื่องบุญกรรมและชอบทำบุญเป็นประจำเขาเชื่อว่าที่ร่ำ รวยมาได้ทุกวันนี้เป็นเพราะ “พระท่านให้พร” บวกกับได้สะสมบุญบารมีมาตลอดชีวิต ทุกครั้งที่จะพูดหรือทำอะไรผมจะคิดเสมอว่าขอให้บุคคลเหล่านั้นเข้าใจในสิ่ง ที่เราพูด ในทุกๆ วันเขาจะนั่งสมาธิวันละ 2 เวลา ช่วงเช้าและก่อนนอนครั้งละ “ครึ่งชั่วโมง”

“ผมหัดนั่งสมาธิมาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ ผมเคยเดินสมาธิจากถนนสามเสนไปแถวสนามหลวง หายใจเข้าออกพุทโธ ฝึกจิตให้อยู่กับตัวเราตลอดเวลา นี่ตั้งใจว่าจะนั่งสมาธิวันละ 3 เวลา ครั้งละ 5 นาที ตามที่พระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร (เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล วัย 91 ปี) สั่งสอน”

ศิริธัชเป็นหนึ่งในศิษย์เอกของหลวงพ่อวิริยังค์ เจ้าตัวบอกว่า เดี๋ยววันที่ 20 มีนาคม 2554 นี้ ท่านจะมาสอนฝึกพลังจิตพระอาจารย์บอกว่าหากเราทุกคนมีพลังจิตอยู่ในตัวมันจะ เหมือนฝากเงินไว้ในธนาคารเราสามารถจะถอนออกมาใช้ได้ พลังจิตจะทำให้ร่างกายสดชื่น…ผมเชื่อว่าหากเราทุกคนมีพลังจิตจะทำอะไรก็ ประสบความสำเร็จ

EE (Ethanol Energy) เริ่มมีกำไรสุทธิ ปี 2557

โครงการผลิตเอทานอลของ บมจ.อีเทอเนิล เอนเนอยี (EE) ก่อสร้างบนพื้นที่ 1,500 ไร่ ในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี โรงงานจะแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2555

บริษัท แคปปิตอล พลัส แอดไวซอรี่ จำกัด ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ ได้ประมาณการรายได้และกำไรสุทธิของ EE บนสมมติฐานปี 2556 ใช้กำลังการผลิต 65% และช่วงปี 2557-2563 ใช้กำลังการผลิตที่ 70% โดยในปี 2554-2555 บริษัทจะมีรายได้จากการขายมันสำปะหลังปีละ 22 ล้านบาท โดยจะเริ่มมีรายได้จากการผลิตเอทานอลในปี 2556 จำนวน 1,988 ล้านบาท แต่ผลการดำเนินงานยัง “ขาดทุน” ในช่วง 3 ปีนี้ (2554-2556)

ในปี 2557 อีเทอเนิล เอนเนอยีจะ เริ่มมีกำไรสุทธิเป็นปีแรกประมาณ 300 ล้านบาท บนประมาณการรายได้ก้าวกระโดดเป็น 4,435 ล้านบาท บนสมมติฐานระยะเวลาในการคืนทุน 8.35 ปี อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี (IRR) ที่ 17.25% บนประมาณการราคาขายเอทานอลเฉลี่ยอยู่ที่ลิตรละ 28.52 บาท

ศิริธัช โรจนพฤกษ์ ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อีเทอเนิล เอนเนอยี เชื่อว่าอนาคตบริษัทจะสดใส เผลอๆ จะทำได้ดีกว่าที่บริษัท แคปปิตอล พลัส แอดไวซอรี่ ประมาณการไว้ด้วย เพราะที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเขาประเมินผลประกอบการเพียงแค่ 70% ส่วนตัวคิดว่า 100% เราทำได้มันไม่ใช่เรื่องยากอะไร ตลาดในประเทศเราก็มีลูกค้าอยู่แล้ว ล่าสุดก็เซ็นสัญญาขายเอทานอลให้กับ ปตท. ขณะที่ตลาดต่างประเทศอย่างจีน ก็เล็งจะส่งไปขายด้วย

“เราใช้เวลาหลายปีในการศึกษาโครงการนี้ ผมจึงมั่นใจว่าดีแน่นอน ถามว่าที่ผ่านมาเหนื่อยมั้ย! ผมว่ามันกำลังจะเริ่มเหนื่อยมากกว่า ธุรกิจที่ทำมันมีความเสี่ยงก็จริงแต่มันเสี่ยงน้อยที่สุด และคุ้มค่ามากด้วย” ศิริธัช มั่นใจสุดๆ

เขาบอกว่า ผลการศึกษาของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระถ้าราคาขายเอทานอลเฉลี่ยอยู่ที่ลิตร ละ 27.09 บาท ผลตอบแทนจากการลงทุนจะอยู่ที่ 13.26% ต่อปี ระยะเวลาคืนทุน 10 ปี ถ้าราคาขายอยู่ที่ลิตรละ 28.52 บาท จะได้ผลตอบแทนปีละ 17.25% คืนทุนในเวลา 8.35 ปี แต่ถ้าราคาขายขึ้นไป 29.94 บาทต่อลิตร  ผลตอบแทนเฉลี่ยจะอยู่ที่ 20.83% ต่อปี คืนทุนใน 7.3 ปี

เจ้าพ่อคอม-ลิงค์ กล่าวทิ้งท้ายว่า อีเทอเนิล เอนเนอยี (EE) กำลังจะดีขึ้นตามลำดับ เพราะผมตั้งใจกับมันมาก (ลากเสียงยาว) ถ้ารักแล้วรอหน่อยเถอะครับ!

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/bizweek/20110301/379604/%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3-%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1-%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C-%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%8A-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C.html
http://www.toro.in.th/1299/%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B5.html

การใช้สองจอภาพในการนำเสนอด้วย Projector

dual monitor
dual monitor

5 ก.พ.54 การใช้ Dual monitor ในห้องประชุม เพื่อนำเสนองานโดยใช้ 2 จอภาพ
จอภาพแรกเป็น Primary monitor ของผู้นำเสนอ และอีกจอภาพถูกฉายขึ้น Projector
มีขั้นตอนดังนี้
1. ต่อสาย Projector เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วเข้า Display Properties, Settings
2. เลือกจอภาพที่ 2 ด้วยการ Click ที่เลข 2 ตามภาพ
3. Click : Extend my Windows desktop ..
4. กดปุ่ม Apply ผลคือจะมีจอภาพใหม่รถถูกใช้งาน
5. เลื่อนจอ Windows ของ IE หรือ PPT ไปทางขวา ก็จะใช้งานจอภาพทางขวาได้อิสระ

การทำให้โค้ดมีประสิทธิภาพ

optimization
optimization

Code Optimization คือ การทำให้โค้ดมีประสิทธิภาพ ทั้งลดเวลาในการประมวลผล (Time to Execute) การใช้ทรัพยากร (Resource Using) และการนำกลับมาแก้ไขได้ง่าย (Easy to Update) ซึ่งตัวอย่างต่อไปนี้เน้นที่การเปรียบเทียบการเขียนโค้ด (Source Code) แบบก่อนปรับกระบวนการ และหลังปรับกระบวนการของโค้ด

อาจใช้วิธีการเขียนแบบโมดูลหรือฟังก์ชัน ใช้สมการทางคณิตศาสตร์แทน การเลือกใช้คำสั่งที่สั้นกว่า หรือการใช้อัลกอริทึมที่เหมาะสม ซึ่งภาษาที่ใช้นำเสนอ คือ Javascript และเกี่ยวข้องกับ 2 เว็บเพจ ได้แก่ programming และ javascript

ในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์

คำว่า program optimization หรือ software optimization หมายถึง กระบวนการปรับปรุงแก้ไขระบบซอฟท์แวร์หนึ่ง ในบางแง่มุมของงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือใช้ทรัพยากรน้อยกว่าเดิม
ความหมายโดยทั่วไปของ Optimization : โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่อาจถูกทำให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อนำมาประมวลผล หรือสามารถดำเนินการ โดยใช้หน่วยความจำลดลง ใช้ทรัพยากรน้อยลง หรือลดการใช้พลังงาน

http://en.wikipedia.org/wiki/Program_optimization
http://www.thaiall.com/optimization/

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงาน ม.เกษตร

ผลการดำเนินงานเทคโนโลยีสารสนเทศปี พ.ศ. 2548 – 2550
http://www.ku.ac.th/e-university/result2548-2550.html
1. ระบบงบประมาณ
โครงการพัฒนาระบบงบประมาณ หรือ โครงการบัญชี 3 มิติ (https://acc3d.ku.ac.th/) มีระบบงานย่อยที่เปิดใช้ รวมทั้งสิ้น 3 ระบบ ได้แก่ ระบบจัดทำงบประมาณเงินรายได้ประจำปี 2550 ปี 2551 การจัดสรรเงินงบประมาณ และ การจัดสรรเงินประจำงวด ได้ดำเนินการจัดอบรมให้แก่บุคลากรหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้มีความเข้าใจในระบบงานบัญชี 3 มิติ และสามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริง โดยเนื้อหาการจัดอบรม ประกอบด้วย 4 ระบบงานหลัก ได้แก่ งบประมาณ พัสดุ การเงิน และการบัญชี มีบุคลากรเข้ารับการอบรมจำนวน 917 คน แยกเป็น วิทยาเขตศรีราชา จำนวน 72 คน วิทยาเขตสุพรรณบุรี จำนวน 15 คน วิทยาเขตบางเขน จำนวน 539 คน วิทยาเขตลพบุรี จำนวน 11 คน วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 231 คน วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร จำนวน 39 คน และวิทยาเขตกระบี่ จำนวน 10 คน
2. ระบบการเงินและบัญชี
เป็นระบบ สารสนเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบัญชี 3 มิติ ที่ใช้งานโดยกองคลังและหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัย เพื่อบันทึกรายละเอียดการดำเนินงานด้านการเงินของโครงการ เช่น การรับเงินและการออกใบเสร็จ รายงาน ณ สิ้นวัน/เดือน/ปี รายการใบนำส่ง/ใบนำฝาก พิมพ์เช็ค การโอนเงิน เงินทดรองจ่าย รายการลงบัญชีงบดุล เป็นต้น และสามารถใช้เพื่อจัดทำรายงานทางการเงินในรูปแบบงบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงาน งบกระแสเงินสด โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา
3. ระบบพัสดุและทะเบียนทรัพย์สิน
เป็นระบบสารสนเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ 3 มิติ ช่วยสนับสนุนการจัดซื้อ จัดจ้าง ควบคุมครุภัณฑ์และทะเบียนทรัพย์สินและทะเบียนวัสดุ เป็นต้น โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา https://acc3d.ku.ac.th/
4. ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์
เริ่มใช้ระบบนี้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 ในการประชุมผู้บริหารระดับสูงอื่น ได้แก่ การประชุมคณบดี การประชุม อ.ก.ม. และการประชุมสภามหาวิทยาลัย การประชุมแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นการประชุมที่พิจารณาข้อมูลวาระการประชุมผ่าน เครือข่าย เพื่อให้การประชุมในแต่ละครั้งมีความสะดวก รวดเร็ว และทันสมัย อีกทั้งสามารถค้นหาและอ่านข้อมูลได้โดยสะดวกในทุกเวลาและทุกสถานที่ ที่ http://emeeting.ku.ac.th
5. ระบบทวนสอบข้อมูลบุคลากร
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ได้ให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและการจัดทำโปรแกรม และการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล ระบบทวนสอบข้อมูลบุคลากรมหาวิทยาลัย โดยมีกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บข้อมูลหลักของข้าราชการและลูกจ้างประจำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งการทวนสอบข้อมูลเป็นช่องทางหนึ่งของการสำรวจสถานภาพที่แท้จริงของ บุคลากรมหาวิทยาลัยประเภทต่าง ๆ ที่ https://mis.person.ku.ac.th/report_person/profile/
6. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ร่วมกับสถาบันวิจัย และพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาระบบงานสารบรรณ และการจัดการระบบเอกสารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถออนไลน์ผ่านทางเครือข่ายได้ทันที ทำให้ระบบการรับ-ส่ง หนังสือบันทึกราชการ ประกาศ และหนังสือเวียนต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย สามารถรับ-ส่ง ถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลา ทรัพยากร ทั้งด้านกำลังคน กระดาษ และงบประมาณได้อย่างมาก ที่ http://life.ku.ac.th

ระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน
1. ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน M@xLearn
ระบบสนับสนุนการเรียนการสอนผ่านเว็บของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ( Learning/Content Management System : LMS หรือ LCMS) ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทดลองใช้มาตั้งแต่ปี 2542 ต่อมาได้ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ พร้อมกับขยายการใช้งานไปสู่ระดับ มหาวิทยาลัยในปี 2544 และสนับสนุนการเปิดสอนหลักสูตรที่เรียนแบบออนไลน์ของคณะฯ ในปี พ.ศ. 2546 โดยได้ตั้งชื่อซอฟท์แวร์ LMS ดังกล่าวอย่างเป็น ทางการว่า M@xLearn (Maximum Learning) ที่ http://course.ku.ac.th
2. ระบบหลักสูตรระดับบัณฑิตวิทยาลัยและข้อมูลสนับสนุนผู้บริการของบัณฑิตวิทยาลัย
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างของฐานข้อมูลหลักสูตรระดับบัณฑิตวิทยาลัยและฐาน ข้อมูลอื่นของบัณฑิตวิทยาลัย ให้มีมาตรฐานเดียวกัน และสามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2548 พร้อมกับได้พัฒนาระบบสารสนเทศวิทยานิพนธ์เพื่อการเรียกค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์ ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ โดยเริ่ม ใช้งาน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2548
3. พัฒนาระบบลงทะเบียนอบรม/สัมมนาออนไลน์
ระบบลงทะเบียนอบรม/สัมมนาออนไลน์ ช่วยให้บัณฑิตวิทยาลัยบริหารการลงทะเบียนเข้าร่วมการอบรม/สัมมนาที่หน่วยงาน จัดขึ้นได้โดยผ่านทางเครือข่ายนนทรี และทำให้การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่สะดวกและคล่องตัวขึ้น โดยเริ่มใช้ในงานสัมมนาทางวิชาการในเดือนตุลาคม 2548 และจะเป็นต้นแบบของการใช้งานในส่วนกลางของมหาวิทยาลัยต่อไป
4. พัฒนาระบบประเมินการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์
ระบบประเมินการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ ได้เริ่มใช้ตั้งแต่ ภาคต้น ปีการศึกษา 2547 ระบบได้อำนวยความสะดวกให้อาจารย์และนิสิต โดยสามารถทำการประเมินได้อย่างรวดเร็ว แบ่งการประเมินเป็น 3 ประเภท ได้แก่ นิสิตประเมินการสอนของอาจารย์ นิสิตประเมินการเรียนของตนเอง และอาจารย์ประเมินการสอนของตนเอง โดยในขณะนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนา ปรับปรุงระบบฯ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพ ตามระบบถามตอบ และข้อเสนอแนะของผู้ใช้ เว็บไซด์ระบบฯ ที่ https://eassess.ku.ac.th/

ระบบสารสนเทศเพื่อการวิจัย
1. ระบบฐานข้อมูลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้ดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้เกิดการรวบรวมงานวิจัยของ บุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเป็นฐานข้อมูลเพื่อเผยแพร่อ้างอิงได้ อีกทั้ง มีกลไกการเรียกค้นและนำไปใช้งานต่อไปได้ ระบบฐานข้อมูลงานตีพิมพ์ จะแสดงรายการงานตีพิมพ์ในรูปแบบ เดียวกับเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ พร้อมทั้งมีแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์บรรจุผลงานเพื่อให้ผู้สนใจสามารถเปิดอ่านได้ ในปี 2549 มีข้อมูลงานตีพิมพ์ทางวิชาการแล้ว ทั้งสิ้น 1,621 รายการ โดยสามารถป้อนข้อมูลและการสืบค้นผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่ https://pindex.ku.ac.th/

ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริการ
1. ระบบปฏิทินกิจกรรม มก. (e-Calendar)
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้จัดทำเว็บเพจปฏิทินกิจกรรมของมหาวิทยาลัย เพื่อใช้ในการแจ้งข่าวสารและประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยโดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่เพื่อให้สะดวกในการค้นหา เช่น ทุนการศึกษา การประชุมทางวิชาการ การฝึกอบรม การรับสมัครงาน เป็นต้น ระบบปฏิทินกิจกรรม มก. เปิดบริการตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2549 ผู้ที่สนใจสามารถเรียกดูได้ที่หน้าแรกของโฮมเพจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือที่ http://calendar.ku.ac.th

ระบบบริการอื่น
1. ระบบโทรทัศน์ผ่านเครือข่าย (ไอพีทีวี)
ไอพีทีวี เป็นรูปแบบหนึ่งของการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านเครือข่าย ด้วยความพร้อมด้านโครงข่ายสัญญาณที่ครอบคลุมในวิทยาเขต มหาวิทยาลัยได้มอบให้ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ถ่ายทอดสัญญาณผ่านเครือข่ายนนทรี โดยแพร่ภาพกิจกรรมที่ถ่ายทำไว้ล่วงหน้าหรือถ่ายทอดสดงานที่จัดขึ้นใน มหาวิทยาลัยภายใต้ ความร่วมมือกับบริษัท บีลิงค์ มีเดีย จำกัด ในโครงการ KU Channel โดยสำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้ดำเนินการ ติดตั้งจอพลาสมาพร้อมสายสัญญาณ เพื่อกระจายสัญญาณตามจุดต่าง ๆ ทั้งสิ้น 8 จุด จำนวน 12 ตัว คือ โรงอาหารกลาง 1 จำนวน 2 ตัว โรงอาหารกลาง 2 จำนวน 2 ตัว บัณฑิตวิทยาลัย จำนวน 1 ตัว ศูนย์เรียนรวม 1 จำนวน 1 ตัว ศูนย์เรียนรวม 2 จำนวน 1 ตัว ศูนย์เรียนรวม 3 จำนวน 1 ตัว อาคารสารนิเทศ 50 ปีบริเวณชั้น U และชั้น 1 จำนวน 3 ตัว และคณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 ตัว
2. ระบบ E-Security
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสำนักบริการคอมพิวเตอร์ ดำเนินการติดตั้งกล้องรักษาความปลอดภัย ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ภายใต้โครงการ e-Security ระยะแรก จํานวนทั้งสิ้น 36 ตัว เชื่อมโยงเข้าเป็นระบบเดียวกันที่สามารถบริหารจัดการได้สะดวก ตามจุดต่าง ๆ ได้แก่ บริเวณอาคารศูนย์ เรียนรวม 1 จํานวน 5 ตัว อาคารศูนย์เรียนรวม 2 จํานวน 2 ตัว อาคารศูนย์เรียนรวม 3 จํานวน 5 ตัว โรงอาหารกลาง 1 จํานวน 4 ตัว โรงอาหารกลาง 2 จํานวน 3 ตัว อาคาร Kasetsart IT Square (KITS) จํานวน 7 ตัว อาคารสํานักบริการคอมพิวเตอร์ จํานวน 5 ตัว อาคารศูนย์มัลติมีเดีย จํานวน 2 ตัว และอาคารจักรพันธ์ ฯ จํานวน 3 ตัว อีกทั้งมีระบบจัดเก็บข้อมูลที่สํานักบริการคอมพิวเตอร์ และมีจอตรวจสอบเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่ศูนย์เกษตรรวมใจ งานรักษาความปลอดภัยประตูงามวงศ์วาน โดยกล้อง ทุกตัวจะเชื่อมเข้าเครือข่ายนนทรี ทําให้สามารถตรวจสอบการทํางานระยะไกลจากคอมพิวเตอร์ได้โดยตรงผ่านเว็บ และยังสามารถดูภาพจากกล้องทุกตัวได้พร้อมกัน ตลอดจนมีระบบบันทึกภาพเพื่อเปิดดูย้อนหลังได้

ใช้ ppt นำเสนอผลการเปรียบเทียบ

job evaluation
job evaluation

1 มี.ค.54 ภาพนี้ทำขึ้นมาด้วย Powerpoint ว่าจะใช้เป็นตัวอย่างให้นักศึกษาเห็นการประยุกต์ใช้ Powerpoint นำเสนอแทนตัวอักษร เพราะแผนภาพจะทำให้เข้าใจได้ง่าย และรวดเร็ว .. ดังโบราณว่าไว้ 10 ปากว่าไม่เท่าหนึ่งตาเห็น และสิบตาเห็นไม่เท่าหนึ่งมือคลำ และสิบมือคลำไม่เท่าพบสัจธรรมด้วยหนึ่งใจ
http://www.thaiall.com/office
ผมเพิ่มคุณธรรม เพราะเห็นเอกสารข้างล่างนี้ครับ
http://www.edupolice.org/edu_P/indicate/criterion/doc/3.1.21%283%29.pdf

การสร้างความคุ้มค่าให้กับนักศึกษา


มีคำถามว่า .. จะสร้างความคุ้มค่าให้กับนักศึกษาปัจจุบันได้อย่างไร
.. น่าจะหมายถึง ทำอย่างไรให้นักศึกษารู้สึกว่าเรียนแล้วได้รับมากกว่าที่จ่ายไป
.. เมื่อจบแล้ว ก็ต้องไปทำงาน นายจ้างจะเลือกรับเฉพาะบัณฑิตที่มีค่า คุ้มกับค่าจ้าง
.. ตอบง่าย ๆ .. ว่า ถ้าจบแล้วหางานง่าย แสดงว่าคุ้มค่าแล้วที่ได้เรียน
.. ถ้าเรียนแล้วมี 12 ลักษณะนี้ติดตัวไป(จริง) ซึ่งเป็นลักษณะของบันฑิตพึงประสงค์ของสังคม
.. ก็เชื่อว่านักศึกษาจะรู้สึกว่าคุ้มค่า เพราะเป็นเกณฑ์ตามวุฒิ (ด้านคอมพิวเตอร์) ที่ถูกยอมรับ
.. คำถามง่าย ๆ คือ มีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมอะไร ที่จะตอบแต่ละลักษณะต่อไปนี้
.. ที่สำคัญ .. ลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสาขาหนึ่ง ย่อมต่างกับอีกสาขาอย่างแน่นอน ..
===
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์
คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์
(๑) มีคุณธรรม จริยธรรม ถ่อมตนและทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
(๒) มีความรู้พื้นฐานในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถประยุกต์ได้อย่างเหมาะสม ในการประกอบวิชาชีพ และศึกษาต่อในระดับสูง
(๓) มีความรู้ทันสมัย ใฝ่รู้ และมีความสามารถพัฒนาความรู้ เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางานและพัฒนาสังคม
(๔) คิดเป็น ทำเป็น และเลือกวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบและเหมาะสม
(๕) มีความสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะการบริหารจัดการและทำงานเป็นหมู่คณะ
(๖) รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเองและสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
(๗) มีความสามารถการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ดี
(๘) มีความสามารถวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ ออกแบบ พัฒนา ติดตั้ง และปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ ให้สามารถแก้ไขปัญหาขององค์กรหรือบุคคลตามข้อกำหนด ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้อง กับสภาพแวดล้อมการทำงาน
(๙) สามารถวิเคราะห์ผลกระทบของการประยุกต์คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม รวมทั้งประเด็นทางด้านกฎหมายและจริยธรรม
(๑๐) มีความสามารถเป็นที่ปรึกษาในการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร
(๑๑) มีความสามารถบริหารระบบสารสนเทศในองค์กร
(๑๒) มีความสามารถในการพัฒนาโปรแกรมขนาดเล็กเพื่อใช้งานได้
===
มาตรฐานผลการเรียนรู้ ควรสะท้อนคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ได้
ประกอบด้วย

(๑) คุณธรรม จริยธรรม
(๒) ความรู้
(๓) ทักษะทางปัญญา
(๔) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
(๕) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

http://www.thaiall.com/tqf/computer_m1.pdf

10 ขั้นตอนในการใช้ FB ทำ PR แบบกองโจร

marketing meeting
marketing meeting

24 พ.ย.53 (ปรับ 17 เม.ย.54) เฟสบุ๊ค (facebook.com) คือ เว็บไซต์เครือข่ายสังคม ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อนเชื่อมโยงผู้คนตามความต้องการของผู้ใช้ระดับบุคคล เป็นเครื่องมือช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเพื่อน หรือเพื่อนเฉพาะกลุ่มเกิดขึ้นได้

การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM = Customer Relation Management) หรือ PR (Public Relation) โดยใช้เฟสบุ๊ค ต้องกำหนดกลยุทธ์ให้เหมาะสม ผ่านหลัก 10 ข้อ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนี้

1. ประทับใจครั้งแรก (First Impression)
เทคนิค : ใช้ภาพบุคคล (profile) ที่ดูเป็นมิตรน่าเป็นเพื่อน
2. ชื่อบุคคลที่จำง่าย (Common Name)
เทคนิค : ใช้ชื่อที่จดจำง่าย เป็นทางการ ชวนสร้างสรรค์
3. ข่าวสารที่สมบูรณ์ (Complete Message)
เทคนิค : วางแผนสร้างข้อมูลข่าวสารที่สมบูรณ์ และกำหนดบทบาทอย่างเป็นระบบ
4. มีส่วนร่วม (Participation)
เทคนิค : สร้างข่าวสารที่ต้องสื่อออกไป แล้วทีมต้องร่วมกัน comment หรือ tag ผู้เกี่ยวข้อง
5. เชื่อมโยงกับเว็บไซต์หลัก (Link to Website)
เทคนิค : มีลิงค์ที่นำไปสู่แหล่งข่าวสารหลัก ที่เผยแพร่ผ่านเว็บเพจขององค์กร
6. นำเสนอหลายเวที (Multi Posting)
เทคนิค : สร้างข่าวสารขึ้นมา ต้องทำให้กระจายไปยังทุกเวทีเป้าหมาย
7. เกาะกระแส (Hit Topic)
เทคนิค : มีส่วนร่วมกับเรื่องที่มีผู้สนใจจำนวนมาก ย่อมเปิดช่องทางส่งสารช่องทางใหม่
8. ใช้ประโยชน์เฟสบุ๊ค (FB Utilization)
เทคนิค : เข้าใจและใช้ความสามารถของ page, event หรือ group
9. เรียนรู้โปรแกรมประยุกต์ (Application Learning)
เทคนิค : หมั่นศึกษา application แล้วประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์
10. บูรณาการ (Integration)
เทคนิค : กำหนดเป้าหมาย วางแผน ดำเนินการ ติดตาม ประเมิน และทำงานเป็นทีม
http://www.facebook.com/note.php?note_id=461695935868

28 ก.พ.54 พบคำว่า การตลาดกองโจรแบบสร้างสรรค์ทำอย่างไร
ที่  http://incquity.com/articles/marketing-boost/guerrilla-marketing
คำ จำกัดความของ การตลาดแบบกองโจร หรือ Guerrilla Marketing คือ “ทำยังไงก็ได้ให้ลูกค้าสนใจสินค้าหรือบริการของคุณอย่างรวดเร็วที่สุด ด้วยงบประมาณที่น้อยที่สุด หรือไม่ใช้เลย” ซึ่ง INCquity นำเสนอ 4 ประเด็น ดังนี้
1. ไม่โจมตีจุดแข็งของคู่แข่ง แต่จงยึดพื้นที่จุดอ่อนของเขาแทน
2. ยืนหยุ่นแบบต่อเนื่อง (Hit & Run)
3. แทนที่จะตัดราคา จงตั้งราคาตามความเหมาะสม
4. อย่าบอกว่าคู่แข่งไม่ดี แต่ให้สร้างคุณสมบัติอื่นมากลบเขาแทน
http://en.wikipedia.org/wiki/Guerrilla_marketing

แก้ปัญหาข่าวหายไปจากระบบอย่างไร้ร่องรอย

news nivate
ระบบจัดการข่าว .. ที่ข่าวหายไปอย่างไร้ร่องรอย

22 ก.พ.54 ระบบจัดการข่าวออนไลน์ที่มีการพัฒนาขึ้น และใช้งานมาแล้วระยะหนึ่ง .. ช่วงหลังผู้ใช้งานระบบพบปัญหาว่าข่าวเดิมหายไป แล้วเขาเชื่อว่ามีผู้ไม่ประสงค์ดีเข้าไปลบข่าวออก เมื่อตรวจพฤติกรรมของผู้ใช้งานระบบก็พบว่า มีการเปิดเว็บเพจระบบจัดการข่าวผ่าน bookmark ประกอบกับการปฏิบัติการทันทีเมื่อคลิ๊ก เช่น ลบเมื่อคลิ๊ก เปลี่ยนสถานะเมื่อคลิ๊ก โดยไม่มีการกรองผ่าน captcha หรือ password verify ซึ่งปัญหาอาจเกิดจาก  google.com หรือ browser เข้ามาดูดเว็บเพจ ทำให้มีการเรียกใช้ลิงค์จนเกิด action อย่างไม่ตั้งใจ
จึงแก้ไขโปรแกรมอย่างง่าย ด้วยการเพิ่ม password verify ผ่านการพิมพ์ก่อน action ทำให้การกดปุ่มลบหรือเปลี่ยนสถานะการแสดงข่าวไม่ทำงาน จนกว่าจะรับข้อมูลที่ยืนยันผ่านผู้ใช้งานระบบ ก็เชื่อว่าปัญหาข่าวหายไปอย่างไร้ร่องรอยจะไม่เกิดขึ้นอีก