การสร้างแบบสอบออนไลน์

15 ขั้นตอน การสร้างแบบสอบออนไลน์อัตนัยเขียนมือ มีคำถามข้อเดียว แล้วให้ upload file
ตัวอย่างนี้เป็นแบบสอบจำนวน 3 ข้อ คือ test100-01 และ test100-02 และ test100-03

  1. เริ่มต้นด้วยการ login เข้าบัญชี gmail.com ซึ่งผู้สร้างข้อสอบ และผู้ทำข้อสอบ ต่างต้องมีบัญชีประจำตัวของตนเอง
  2. เริ่มด้วย ผู้สร้างแบบสอบ เข้าไปที่ google form, คลิ๊ก blank form, เปลี่ยน untitled form เป็น “test100-01” ซึ่งชื่อนี้มีผลต่อชื่อ folder ที่ใช้จัดเก็บแฟ้มข้อสอบใน google drive สามารถเปลี่ยนชื่อได้ตลอดเวลา แม้จะมีผู้ทำข้อสอบไปแล้วก็ไม่ได้รับผลกระทบ เพราะระบบจะเปลี่ยนชื่อ folder ให้ทันทีที่เปลี่ยนชื่อคำถาม หรือชื่อฟอร์ม
  3. แบบสอบชุดนี้ วางแผนให้เป็นแบบ 1 form สำหรับ 1 คำถาม และตอบคำถามด้วยการอัพโหลดภาพเอกสาร ดังนั้นใต้ title form จึงเลือกที่จะพิมพ์โจทย์ยาวที่ละเอียด เช่น “1. จงบอกเล่าถึง วิชาที่ชอบเรียน และให้เหตุผลประกอบ มาพอเข้าใจ ซึ่งไม่ควรต่ำกว่า 3 บรรทัด และตั้งชื่อแฟ้มให้สอดคล้องกับรหัสนิสิต ชื่อวิชา และคำถาม เช่น 64xxx-test100-01.jpg”
  4. พบคำถาม (First default question) ที่มี radio box มารอนั้น ได้เปลี่ยนเป็น File upload แล้วมีคำถามว่า Let respondants upload files to drive ขึ้นมา ให้คลิ๊กตอบว่า Continue
  5. คำถามนั้น กำหนดสั้น ๆ ว่า “คำถามที่ 1” เพราะชื่อคำถามจะถูกใช้เป็นชื่อ sub folder ภายใต้ folder ชื่อ “test100-01”
  6. คลิ๊กตัวเลือกเปิด option : Allow only specific file types แล้วคลิ๊ก Image เพื่อรับเฉพาะแฟ้มภาพที่ผู้ตอบคำถามต้องส่ง ถ้าจะให้รับได้หลายภาพก็เลือก Maximum numbers of files เป็น 2 หรือมากกว่า
  7. ผลงานภาพที่ผ่านการ crop และแต่งให้คมชัดแล้ว ไม่ควรมีขนาดเกิน 10 MB ซึ่งเป็นค่า default หากลดลงมาจะมี 1 MB ให้เลือก
  8. เลือกเปิด Required เพราะต้องการบังคับอัพโหลดแฟ้มก่อน จึงจะกดปุ่ม submit ได้
  9. ชวนมองกล่อง View folder ขณะสร้างคำถามรับการอัพโหลด เพื่อใช้ดูรายการแฟ้มที่ผู้ตอบส่งเข้ามา พบว่า ขณะสร้างนี้ ในห้องนั้นจะว่างเปล่า เปิดเข้าห้อง “คำถามที่ 1 (File responses)” จะไม่พบอะไร
  10. คลิ๊ก settings ที่เป็นสัญลักษณ์ฟันเฟืองที่มุมบนขวา ในแท็บ General ให้คลิ๊ก collect emails กรณีใช้บัญชีองค์กรให้ยกเลิกการเลือก Restrict to users in [your company] and its trusted organizations เพื่อเปิดให้ผู้ใช้บัญชีบุคคลของ @gmail.com สามารถทำแบบฟอร์มได้
  11. พบตัวเลือก Maximum size of all files uploaded: 1GB ซึ่งหมายความว่าผู้ตอบแบบสอบถามอัพโหลดแฟ้มเข้ามาในแบบสอบแฟ้มนี้ รวมกันแล้วต้องมีขนาดไม่เกิน 1GB (เลือกขยายได้ถึง 1TB) เช่น มีสมาชิก 1000 คน ก็ส่งแฟ้มได้ไม่เกินคนละ 1 MB หรือมีสมาชิก 100 คน ก็ส่งแฟ้มได้ไม่เกินคนละ 10 MB เป็นต้น
  12. ในแท็บ Presentation ไม่ได้คลิ๊ก Show progress bar หรือ Suffle question order เนื่องจากสร้างคำถามเพียงข้อเดียว ต่อหนึ่งแบบฟอร์ม แล้วให้ uncheck : Show link to submit another response เพราะไม่จำเป็นต้องทำแบบฟอร์มอีกครั้งหลัง submit ไปแล้ว
  13. คลิ๊ก Send แล้วเลือก Shorten URL ของคำถามที่ 1 เพื่อนำลิงค์ไปส่งให้กลุ่มเป้าหมาย 72AX7TaKp735o6rm9 (ส่งซ้ำได้ เพราะไม่ได้ lock ครั้งเดียว)
  14. ในแบบฟอร์ม คลิ๊ก 3 จุด มีตัวเลือก Make a copy เมื่อได้แล้วก็เปลี่ยนชื่อแฟ้ม และคำถามใหม่ มีปุ่มให้เลือก restore ก็คลิ๊กทุกครั้ง เพื่อสร้าง folder สำหรับคำถามใหม่ ตัวอย่างคำถาม “2. จงบอกเล่าถึง หนังสือที่ชอบอ่าน และให้เหตุผลประกอบ มาพอเข้าใจ ซึ่งไม่ควรต่ำกว่า 3 บรรทัด และตั้งชื่อแฟ้มให้สอดคล้องกับรหัสนิสิต ชื่อวิชา และคำถาม เช่น 64xxx-test100-02.jpg” จากนั้นก็แชร์และรับลิงค์ คือ v13xs3yzjVEcUhHx8 หรือคำถามที่ 3 ที่ NNUN85pckVbXMMCc8
  15. ผู้ออกข้อสอบสามารถแชร์โฟลเดอร์ที่เก็บคำตอบ ของผู้ตอบที่ส่งแฟ้มภาพผ่าน google form จากคำถามที่ 1 แบบ anyone เพื่อใช้ตรวจสอบอีกทางหนึ่งว่ามีแฟ้มเข้ามาอย่างไร แล้ว preview ได้ หรือจะเข้าไปที่ response ของ form ซึ่งตรวจสอบได้สะดวกเช่นกัน drive.google.com/drive/folders
หน้าตาของ google drive ฝั่ง ผู้สร้างแบบสอบ และผู้ตอบแบบสอบ

https://www.thaiall.com/google/form.htm

ระบบ comment ที่บริการโดย facebook สำหรับ developer

facebook comment plugin

เฟสบุ๊กพัฒนาระบบแสดงความคิดเห็น (comment) ให้นักพัฒนานำไปใช้ ซึ่งระบบนี้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เปิดบริการ script มาให้ใช้งานแล้วหลายรุ่น นั่นหมายความว่าเปิดรุ่นเก่าให้ใช้ รุ่นใหม่ก็จะใช้ไม่ได้ ถ้านักพัฒนาที่ไม่ได้ตามข่าว เมื่อเคยนำ script ไปใช้แล้ว ต่อมาพบว่าระบบ comment ทำงานผิดพลาดไป ก็จะต้องเปลี่ยนไปใช้ script ชุดใหม่ ถ้านักพัฒนาที่ติดตามข่าว และรู้เท่าทัน ก็จะแก้ไข script ก่อนวันที่โค้ดชุดเก่าจะหมดอายุ ทำให้ระบบ comment ให้บริการลื่นไหลต่อเนื่อง ซึ่ง script บริการะบบ comment ในปัจจุบันจะต้องกำหนด url ของเว็บเพจที่ใช้ comment นั้น ให้กำหนดค่าให้กับตัวแปร data-href แล้วถ้า url ของเพจไม่ตรงกับค่าในตัวแปร data-href ระบบการแสดง comment ก็จะไม่ทำงาน นั่นคือไม่ปรากฎอะไรออกมาให้เห็น

http://www.thaiall.com/facebook/fb_comments.htm

heroku login เพื่อ push ผ่าน command line

การใช้งาน heroku.com บน command line นั้น เริ่มต้นจากการสมัครสมาชิกบน heroku.com ให้เรียบร้อย ก็จะมี user และ password เป็นของตนเอง แต่เมื่อต้องการใช้งานโปรแกรม heroku บน command line ต้อง download
โปรแกรม https://devcenter.heroku.com/articles/heroku-cli

หากต้องการใช้งาน เช่น ใช้คำสั่งแสดงรายการแอปพลิเคชันของเรา ด้วยคำสั่ง heroku apps ต้องเริ่มต้นด้วยคำสั่ง heroku login ซึ่งมีรายละเอียดการรักษาความปลอดภัยแบบ Two-factor authentication พบว่า ต้องมีการ Verify บัญชีผู้ใช้ และต้องเลือก method ในการยืนยันตัวตน
พบว่า มี 3 ปุ่มปรากฎขึ้นมาให้เลือก 1) Salesforce Authenticator 2) One-Time Password Generator 3) Security Key โดยวิธีที่สาม จะเกี่ยวข้องกับการใช้ usb drive ที่น่าสนใจลดลงสำหรับการใช้งานในปัจจุบันที่บางอุปกรณ์ไม่มีช่อง usb แล้ว จึงเลือก 2 วิธีแรก และการใช้งาน ต้องไปดาวน์โหลด app จาก Google play store ชื่อ Salesforce Authenticator ไปติดตั้งบน mobile device เพื่อให้พร้อมสำหรับการยืนยันตัวตน

ขั้นตอนการยืนยันตัวตน มีดังนี้ 1) บน PC : ติดตั้งโปรแกรม แล้วตรวจสอบรุ่นด้วย heroku -v แล้วสั่ง heroku login พบว่าจะมีการเปิด browser ให้ยืนยันตัวตน ซึ่งมี 3 method ให้เลือกดำเนิน ซึ่งผมเลือก 2 method แรก 2) บน PC : คลิ๊ก One-Time Password Generator จะพบกับ QR code มาให้ถูก scan ผ่าน application เฉพาะ จึงไม่สามารถ scan ด้วยโปรแกรมใด ๆ แล้วนำ code ไปเปิดบน browser เพราะไม่ใช่ web link 3) บน Mobile : ติดตั้ง Application ชื่อ Salesforce Authenticator บน Smart phone เปิดขึ้นมา แล้วเลือก เพิ่มบัญชี และสแกน QR code ที่พบบน PC จนผ่าน แล้วจะพบตัวเลข 6 หลัก สำหรับนำไปกรอกบน PC และจะเปลี่ยนเร็วมาก โปรดจดจำ แล้วไปกรอกในเวลาที่กำหนด 4) บน PC : คลิ๊ก Salesforce Authenticator พบช่องให้กรอกโค้ด ถ้ากรอกเลข 6 หลักในเวลาที่กำหนดแล้ว คลิ๊กปุ่ม Enable Two-factor Authentication 5) บน PC : ถ้ายืนยันตัวตนผ่าน ในหน้า Command line จะพบรายงานว่ายืนยันผ่านเรียบร้อย แล้วปรากฎรหัสผู้ใช้ขึ้นมา จากนั้นสามารถใช้ คำสั่ง heroku auth:whoami ตรวจสอบได้ว่าฉันคือใคร คำสั่ง heroku apps แสดงรายการแอปที่เคยสร้างไว้ คำสั่ง heroku apps:info react640909 แสดงรายละเอียดของแอปพลิเคชัน

http://www.thaiall.com/heroku/

http://www.thaiall.com/react/

Akismet คือปลั๊กอินช่วยกรองขยะ

Akismet คือ ปลั๊กอิน (plug in) ช่วยกลั่นกรอง Spam เมื่อเข้าระบบในฐานะผู้ดูแลให้เลือก Plugins, Add new, ค้น “akismet” เมื่อพบก็ต้องเลือกว่าจะ Update now กรณีลงนานแล้ว หรือ Install now กรณีไม่เคยลง ซึ่งมี plug in ของ automattic.com หลาย ตัวน่าสนใจ ไปเลือกมาติดตั้งได้ เมื่อติดตั้ง (install) แล้ว ดำเนินการตามขั้นตอนทั้ง 5 ดังนี้ 1) Activate : Akismet 2) ขอ API Key ใน wordpress.org เลือก การจ่ายแบบ $0 ต่อปีได้ ถ้าเข้า 3 เงื่อนไขนี้ I don’t have ads on my site. I don’t sell products/services on my site. I don’t promote a business on my site. ก็จะ subscription สำเร็จ แล้วจะส่งไปที่ e-mail 3) พบ Activate Code ใน E-mail ให้ Click เพื่อรับ E-mail ฉบับที่สอง ซึ่งมี API Key 4) เข้า Dashboard, Plugins, Akismet Configuration กรอก API Key แล้วกด Update Options 5) พบตัวเลือก Dashboard, Akismet Stats สำหรับตรวจจำนวน Spam ที่จัดการได้

App : LPMuseum2 บน Google Play Store


เล่าเรื่อง App

ที่มาของแอปพลิเคชัน lpmusem ทั้งรุ่น 1 และ 2 ใน Google play store อ้างอิงข้อมูลทั้งหมดจากข้อมูลในเว็บไซต์ lpmuseum.net ที่ดำเนินการภายใต้ โครงการ การจัดการพิพิธภัณฑ์ชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของจังหวัดลำปาง (The Management of Community Museum in Electronic System of Lampang Province) โดย พระครูสิริธรรมบัณฑิต,ผศ. ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง หัวหน้าแผนวิจัยและคณะ ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2563 MCU RS 6303008 โดยข้อมูลการศึกษาได้มาจาก 3 วัดต้นแบบ ได้แก่ วัดบ้านหลุก 289 หมู่ 6 ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง วัดปงสนุกเหนือ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง วัดไหล่หินหลวง หมู่ 2 บ้านไหล่หิน ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

ในโครงการประกอบด้วย 3 โครงการย่อย ได้แก่ โครงการวิจัยย่อยที่ 1 เรื่อง ศึกษาองค์ความรู้และกระบวนการสร้างการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อความยั่งยืน ก่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีในการสร้างการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ผู้ดำเนินการวิจัย : อ.ณรงค์ ปัดแก้ว โครงการวิจัยย่อยที่ 2 เรื่อง การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ชุมชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดลำปางได้สร้างรูปแบบทะเบียนโบราณวัตถุของพิพิธภัณฑ์ชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ดำเนินการวิจัย : พระครูสิริธรรมบัณฑิต,ผศ., ผศ.ดร.บุษกร วัฒนบุตร, ดร.อนุกูล ศิริพันธ์, อ.ณฤณีย์ ศรีสุข โครงการวิจัยย่อยที่ 3 เรื่อง การสร้างต้นแบบพิพิธภัณฑ์ชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์สร้างแอปพลิเคชัน พิพิธภัณฑ์ชุมชน พัฒนาระบบและเครือข่าย และการสร้างต้นแบบพิพิธภัณฑ์ชุมชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดร.ภัทรเดช ปัณชญาธนาดุล

http://www.thaiall.com/reactnative/lpmuseum/

รักใครหลงอะไร ไปตั้งแฟนคลับได้นะ

7 ก.ย.64 เห็นนิสิตรหัส 64 ทั้งพยาบาล เทคนิคการแพทย์ และทันตแพทย์ ที่ส่งผลงานจากที่ได้รับมอบหมาย มีคุณภาพที่สะท้อนถึงความตั้งใจ เขียนบล็อกเรื่องราวเกี่ยวกับการใช้ชีวิต การทำกิจกรรม และประสบการณ์ เล่าเหตุการณ์ก่อนจะมาถึงวันนี้ให้ได้อ่านมาก รู้สึกว่าชีวิตวัยรุ่นเป็นไปอย่างมีความสุข และความหวัง ทำให้ผมในฐานะผู้อ่านรู้สึกเหมือน 18 อีกครั้ง ประกอบกับวันนี้เคลียร์ปัญหา และเงื่อนไขหลายอย่างเกี่ยวกับการสร้างแอปพลิเคชัน บนสมาร์ทโฟน จึงมองหาช่องทางที่เป็นไปได้ เช่น การสร้างโปรแกรมต้นแบบจากข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อใช้เป็นแนวทางก้าวต่อไปในการสร้างแอป

ถือเป็นแอปแรกที่อยากสร้างที่ไม่ได้เกิดจากงานในปีนี้ คือแอปแฟนคลับ เพราะใกล้ตัว และมีข้อมูลอยู่มาก นั่นคือการเป็นแฟนคลับมหาวิทยาลัยเนชั่น เดิมผมเป็นแฟนคลับไอดอลญี่ปุ่น เกาหลี จีน หรือจะฝั่งตะวันตกทั้งอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศษ หนัง เพลง การ์ตูน และหนังสือก็เป็นแฟนเช่นกัน แต่ก็ไกลตัวเกินไป เลือกใกล้ ๆ ก็เลือกที่ทำงานนี่เลย เพราะไปทำงานทุกวัน มีเรื่องราวให้เล่าได้ เลือกภาพมาจัดกิจกรรม น่าจะพัฒนาขึ้นเป็นแอปแฟนคลับได้ เริ่มต้นก็ใช้ webpage มาสร้าง prototype ที่จำลองคล้ายกับหลักการของ webview component ที่ใช้บน react native ด้วยเวลาที่จำกัด จึงเลือกสร้างไว้ 4 เพจ คือ ประวัติ ภาพสวย บทความของท่านอธิการ และคลิปวิดีโอ เนื่องจากข้อมูลที่เคยสะสมไว้มีพร้อม จึงดำเนินการได้เร็ว ปรับโค้ดไม่มาก ด้วย template เดียวกัน สรุปว่าต่อจากนี้ก็ต้องนึกฝันกันต่อไปว่าจะเอาอะไรมาใส่ในแอพ ก่อน build เป็น version 1 ขึ้น google play store กันต่อไป

http://www.thaiall.com/ntufan

การเรียนรู้มีการศึกษานอกกระแส คล้ายกับ การแพทย์นอกกระแสหลัก

เด็กยุคใหม่เลือกได้ ว่าจะ เรียนรู้ตามกระแสหลัก หรือเรียนนอกกระแสหลัก เช่นเดียวกับ การแพทย์นอกกระแสหลัก ที่มีทั้ง การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก เคยฟังแนวคิด “การศึกษาทางเลือกคือทางรอด ที่เหมือนกับ การแพทย์ทางเลือกคือทางรอด” ได้ฟัง อาจารย์ลอย ชุนพงษ์ทอง (Loy Chunpongtong) ผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ ในช่อง Loy Academy พูดเรื่องผลงานวิจัย ฟ้าทะลายโจรของกลุ่มการแพทย์ทางเลือก เสนอการใช้สมุนไพรต่อสู้กับโรคระบาด และบทความเรื่องการแปลผลค่า P-value 7% ไว้อย่างละเอียด และข่าวมิจฉาชีพทำการปลอมสมุนไพรระบาดอย่างหนัก มีบทความวิชาการ และหลักสูตรเกี่ยวกับการแพทย์นอกกระแสหลัก ที่นิสิต นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ สามารถหาข้อมูลอ้างอิงได้ อาทิ การพัฒนาบริการการแพทย์นอกกระแสหลัก ศาสตร์เพื่อการแสวงหาทางรอด หรือ งานวิจัยฟ้าทะลายโจรการแพทย์ทางเลือก

http://www.thaiall.com/futureclassroom

Github app ติดตามเขา เขาติดตามเรา รู้ได้

Github.com เป็นระบบที่บริการเป็นสาธารณะ
เข้าไปดูผลงาน ของเพื่อน/ศิษย์นักพัฒนา
เข้าไปติดตามใคร ๆ ที่เขาเปิดเผย
หรือถูกใคร ๆ ติดตามเรา
เกาะติดเราจนจะเป็นแฟนเพจอยู่แล้ว
ชอบผลงานของใคร
เดี๋ยวนี้ clone กันง่าย ๆ
แก้ไขอะไรโดยใครในทีม เห็นหมด
หรือเลือก fork แยกรุ่นมาจากตัวหลัก
มีนักพัฒนาบางคนที่เป็นลูกศิษย์
เรียนรู้วิถีเดิมของอาจารย์
และเรียนรู้วิถีใหม่เพิ่มเติม ต่อยอด
แล้วออกไปสู้กับผู้ร้ายที่เก่งกาจกว่าอาจารย์
มีให้เห็นเยอะมากในหนังของเฉินหลง
หรือศิษย์เส้าหลิน ที่ไปล้างแค้นแทนวัด
เล่าซะยาว เดี๋ยวจะเลยเถิดไปเรื่อย ๆ
จนไปถึง  ever night ซีรี่จีนเรื่องลูกศิษย์
แต่ลูกศิษย์ดันพบรักกับศัตรูของอาจารย์
สุดท้ายอาจารย์ตาย ขึ้นไปเป็นพระจันทร์

แล้วศิษย์ก็มีความสุข แต่งงานเป็นทาสรักสืบไป
สรุปว่า
แอป github นี่ดีนะครับ
ไว้ติดตามนักพัฒนาว่า
ทำไปกี่ repository กันแล้ว
จะได้ไปติดตามผลงานกันใกล้ชิด

ชวนน้องเล่นเกม และสั่งพูด Hello World ด้วย node.js

อยากเล่าให้น้องที่ชอบเล่นเกมฟัง ว่า Bluestacks ใช้ดาวน์โหลดเกมบน Android มาเล่นได้เหมือนกับมี Smart phone อีกเครื่อง วางอยู่บนโปรแกรม Windows เรียกได้ว่า โปรแกรมซ้อนโปรแกรมและมีได้หลายชั้น และโปรแกรม Node.js ก็ถูกกล่าวถึงกันอย่างมาก ไปค้นดูใน google ได้เลยว่า นิยมชมชอบกันขนาดไหน โดยเฉพาะ กลุ่มที่สนใจเทคโนโลยีแบบเข้มข้น ทั้งนิสิต นักศึกษา และโปรแกรมเมอร์ ถ้าสนใจเรื่องนี้ มาอ่านกันต่อได้เลยครับ ผมขอเสนอกิจกรรมน่าสนุก คือ พูด Hello world บน Bluestacks ถ้าดูตามภาพประกอบทั้ง 7 ภาพ เป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นหลังจากเราไป download โปรแกรมจาก bluestacks.com มาติดตั้งแล้ว เมื่อเปิดใช้งานโปรแกรมครั้งแรกนั้น 1) เรามักเริ่มต้นจากการเข้าไป ตั้งค่า (setting) ว่าจะใช้งานแบบแนวนอน หรือแนวตั้ง และความละเอียดของหน้าจอ ให้เหมาะกับการเล่นเกมของเรา 2) เปิด Play store เตรียมดาวน์โหลดโปรแกรม และเกมที่รอเราอยู่นับล้าน แต่เริ่มใช้งานก็ต้องอัปเดตคลังการสนับสนุนกันก่อน 3) จะติดตั้งเครื่องมือ ก็นึกถึงสูตรโกงเกมสมัยก่อนเลย ต้องเข้าโปรแกรม Termux (ก่อนอื่นต้อง download Termux….apk ค้นจาก google.com หรือดาวน์โหลดจากแหล่งเผยแพร่ เช่น apkcombo.com หรือ apkpure.com หรือ f-droid.org เมื่อได้มาแล้ว ก็เพียงแต่ลากแฟ้ม .apk ไปวางใน Bluestacks ก็จะเป็นการติดตั้งและใช้งานได้ทันที) หน้าตาของโปรแกรมจะเป็นพื้นสีดำ ตัวอักษรสีขาว ที่ดูจะมือมน แต่มีอะไรซ่อนอยู่มหาศาล ลองค้นหาดูครับ นึกซะว่าเก็บเหรียญ เข้าแล้วก็พบกับเครื่องหมาย $ แสดงว่าตรงนี้มีค่า ที่พร้อมสนับสนุนให้เราได้ไปต่อ เพราะเป็นสัญลักษณ์หน่วยเงินของต่างประเทศ เรียก Dollar sign 4) โปรแกรม Node.js ที่นักคอมพิวเตอร์เค้าใช้กันนั้น เริ่มต้นใช้งานได้ด้วยการพิมพ์คำสั่ง npm แต่เมื่อสั่งแล้วพบว่าในระบบยังไม่มี จึงต้องสั่งติดตั้งเพิ่ม การสั่งติดตั้งจะพิมพ์คำสั่งว่า pkg install nodejs แต่ฟ้อง error ก็ใจเย็น ๆ หาสาเหตุ และวิธีแก้ไขกันก่อน 5) ในอุปกรณ์มีแต่โปรแกรมเก่าที่มีมาก่อนหน้านี้ จึงยังใช้คำสั่งติดตั้งไม่ได้ อยากได้ของใหม่ก็สั่งอัพเกรดรายการกันก่อน จะได้มีโปรแกรมที่ทันสมัยยิ่งขึ้น มาสั่งกันได้เลย ด้วยคำสั่ง pkg upgrade 6) ถึงเวลาแล้ว ที่จะติดตั้งโปรแกรมที่เราต้องการ ก็เพียงแต่พิมพ์สั่งว่า pkg install nodejs ก็จะใช้เวลาไปดาวน์โหลดโปรแกรมมาติดตั้งให้เราอยู่พักหนึ่ง 7) เมื่อพร้อมก็เริ่มสั่งงาน และเขียนโปรแกรมกันเลย แต่ละบรรทัดก็จะมีความหมายเฉพาะตัว เรามาค้นหาความหมายของคำสั่งต่าง ๆ กันดีไหม เมื่อเขียนเสร็จ ก็สั่งให้โปรแกรมทำงาน ผลของการทำงานจะพบคำว่า Hello World ถือว่าภารกิจลุล่วง ภาษาอังกฤษเรียก Mission Complete ยินดีด้วย ผ่าน ด่านที่ 1 เรียบร้อยแล้ว

ภาพที่ 7

http://www.thaiall.com/bluestacks/

http://www.thaiall.com/node.js

กลุ่มซิกเซนต์ ที่ปลุกให้กลับมาพัฒนาโมบายแอปอีกครั้ง


วันนี้ 29 สิงหาคม 2564 ครบกำหนดเวลาที่นิสิตปี 1 มหาวิทยาลัยเนชั่น ส่งผลงานเขียนบล็อก เพื่อร้องเรียงเรื่องราวบอกเล่าสั้น ๆ โดยใช้ภาพประกอบ มาลำดับความคิด เหตุการณ์ หรือช่วงเวลา ที่เลือกเขียนได้ทั้งแนวลึก และแนวกว้าง เมื่อได้อ่านผลงานแล้วรู้สึกสนุก นิสิตบอกเล่าถึงความสุขเกี่ยวกับชีวิตวัยรุ่น ที่เปลี่ยนผ่านจากเยาวชนตัวน้อยในครอบครัวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ สู่ชีวิตนิสิตในรั้วมหาวิทยาลัย เล่าได้ดีโดยใช้ภาพเป็น Milestone ในแต่ละย่อหน้า เพราะภาพหนึ่งภาพแทนคำพูดนับพันคำ ทำให้นิสิตสรรหาภาพที่ชื่นชอบในอดีตมาประกอบการเล่าเรื่องได้อย่างมีความสุข ร้อยเรียงเป็นเรื่องราวน่าอ่าน มีที่มา ที่เป็นอยู่ และที่เป็นไป ฝึกทักษะการสื่อสารผ่านการเขียน รอบต่อไปก็จะฝึกทักษะการพูด และบันทึกคลิปออกสื่อกัน หวังว่าจะพัฒนาทักษะการเขียน แล้วใช้ทักษะการเขียนไปเขียนตอบข้อสอบต่อไป ชวนอ่านผลงานของ วรรณศาสน์ มณีรัมย์ เลิศฤดี พลคำมาก หรือ วัชราพร เพื่อนสงคราม

https://www.moveoapps.com/blog/wp-content/uploads/2020/07/best-programming-languages-for-mobile-app-development.png


กลับมานึกถึง นิสิตรุ่นพี่ปี 4 สายเดฟ ผมตั้งชื่อว่า Six Sense ไม่ใช่ The Sixth Sense ที่เป็นชื่อภาพยนตร์ที่แสดงนำโดย Bruce Wills แต่ Six มาจาก จำนวน ไม่ใช่ Sixth ที่มาจากคำว่า ลำดับที่ ตั้งชื่อว่า ซิกเซนต์#1 ประกอบด้วย หวาน แพรว ฟลุ๊ค เฟิร์น นน ฝน ซิกเซนต์#2 ประกอบด้วย คอม หนึ่ง นิค มิ้ม แบล็ค วิว เพราะนิสิตทั้งสองรุ่น อ.แนน อ.นุ้ย อ.เชพ ผู้สอน และศิษย์พี่ที่รับศิษย์น้องไปทำงานตรงสาย ต่างเสมือนเป็นแรงผลักดันต่างกรรมต่างวาระ ทำให้ผมกลับมาสนใจการพัฒนาโมบายแอปด้วยเครื่องมือใหม่อีกครั้ง จากที่เริ่มพัฒนาเว็บแอป มาตั้งแต่ 2541 ก่อนหน้านี้เคยสนใจ Android Studio แต่อุปกรณ์ไม่พร้อมสนับสนุนการพัฒนา แล้วปัจจุบัน 2564 ได้พี่เปรม และพี่เบนซ์ มาช่วยทำให้อุปกรณ์ของผมพร้อมขึ้น และตัวเครื่องมือพัฒนาได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ ขึ้น จึงเริ่มกลับมาสนใจการพัฒนาโมบายแอป ด้วย React Native บน Android SDK และถือเป็นเวลาที่ต้องกลับไปซ่อมแซมโมบายแอป ที่เคยใช้ webview หรือแอปเก่ามีปัญหาที่ไม่ สอดคล้องกับเงื่อนไขใหม่ของ Play Store จนเป็นผลให้ Google play store ลบแอปออก เนื่องจากเวลาผ่านไปเงื่อนไขก็เปลี่ยนตาม (lpmuseum2) โดยเฉพาะคำว่า deprecated หมายถึง การยุติฟังก์ชัน โมดูล หรือไลบรารี่ที่ใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน ที่ประกาศยุติอยู่เสมอในทุก เครื่องมือ ทำให้ต้องกลับไปรื้อแอปเก่า นำมาเข้าคิว เพื่อพัฒนาใหม่อีกหลายตัว


กลับมาชวนมองกระแส React Native พบว่า แนวโน้มการใช้เครื่องมือพัฒนาโมบายแอพในปัจจุบัน กลุ่มนักพัฒนาโมบายแอปในดาวเคราะห์สีน้ำเงินนี้ เลือกใช้ React Native ที่พัฒนาขึ้นโดย Facebook และเป็น Cross Platform ที่ส่งโค้ดไป compile บนตัวแปลภาษาในแต่ละอุปกรณ์ทำให้ใช้ฟังก์ชันได้ทุกตัว อาทิ Andriod หรือ iOS จึงเรียกว่า Native language จากบล็อกที่เขียนโดย Sophia Martin เขียน 14 ก.ย.2562 ระบุว่า เครื่องมือมาแรงมี 3 ตัว คือ Flutter , React Native และ Xamarin ส่วน Hirar Atha เขียน 23 ก.ค.63 นำเสนอ 6 Best programming languages ประกอบด้วย Android = 1) Java, 2) Kotlin ส่วน iOS = 3) Swift, 4) Objective-C ส่วน Cross Platform = 5) React Native, 6) Flutter แล้วคุณ Hirar Atha ยังเล่าว่า โดยเฉลี่ยแล้วผู้ใช้สมาร์ทโฟนอยู่กับอุปกรณ์ 2 ชั่วโมง 55 นาทีทุกวันเมื่อปี 2562 ซึ่งนานกว่าดูทีวีหรืออุปกรณ์อื่นใด มีร้อยละ 90 ใช้เวลาในแอปพลิเคชัน ซึ่งชัดเจนว่า Mobile apps คือ สื่อดิจิทัลที่ลูกค้าเกาะติดเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด ผู้ใช้สมาร์ทโฟนเฉลี่ยแล้วมี 80 แอปพลิเคชัน และใช้อย่างน้อย 40 แอปพลิเคชันทุกเดือน

https://www.thaiall.com/reactnative/