ความสุข ของ Grand age 8 ตัวอย่าง

ข้อมูลประกอบการเลือกสำหรับผู้สุงอายุ

  1. สายกินเที่ยว
    เลือกใช้ชีวิตอย่างมีอิสระเสรี กินอะไรก็ได้ ไปที่ไหนก็ได้ ทั่วไทย ทั่วโลก ทั่วทุกอำเภอ ทั่วทุกห้างสรรพสินค้า ไปเที่ยวกัน
  2. สายไตรกีฬา
    เลือกเป็นซุปเปอร์แมน ทำทุกอย่าง แข่งกับตนเอง เป็นนักปั่นน่องเหล็ก นักว่ายน้ำปอดเหล็ก นักวิ่งมาราธอน
  3. สายวิ่ง
    เลือกที่จะวิ่ง วิ่งทุกสนาม วิ่งจนได้โล่ วิ่งล่าถ้วย วิ่งเพื่อสุขภาพ วิ่งกับเพื่อน วิ่งแล้วสนุก วิ่งมาราธาน ชีวิตมีอะไรอีกเยอะ
  4. สายป่า
    เลือกเข้าป่า ออกทริป ตั้งแคมป์ ลุยทุกป่า มีกลุ่ม มีแก๊งเพื่อนเดินป่า หนีคอนกรีต กลับสู่ธรรมชาติ ถ่ายรูป อัพเฟส
  5. สายกีต้า
    เลือกอยู่บ้าน ไม่หยุดนิ่ง เล่นดนตรีกีต้า ร้องเพลง ช้อปปิ้งออนไลน์ จับจ่ายใช้สอยสะดวกด้วยปลายนิ้วสัมผัส
  6. สายมีทติ้ง
    เลือกใช้ชีวิตสนุกสนาน แต่งตัว เที่ยวเล่น เมาท์กับกลุ่มเพื่อน สังสรรค์เฮฮา ปาร์ตี้ ตามประสาเพื่อนเป็นประจำ
  7. สายเรียนร้องเล่นรำ
    เลือกคิดว่ายังไม่เกษียณ ชีวิตยังมีอะไรให้ต้องเรียนรู้อีกมาก เรียนวาดรูป ร้องคอลัส ฝึกโยคะ ออกกำลังกาย
  8. สายจัดทัวร์
    เลือกทำงานจนกว่าจะหมดแรง จัดทัวร์ ออกท่องเที่ยวกับลูกทัวร์ มีอาชีพอีกมากที่ต้อนรับผู้เกษียณที่ยังมีไฟ

https://www.thaiall.com/data/

หมกมุ่นจนเปลี่ยนชีวิตได้ (dare to do)

อ่านจากแฟนเพจสมองไหล นำเสนอ quote จากหนังสือ “เพราะเป็นวัยรุ่น จึงเจ็บปวด” เขียนโดย คิมรันโด ทำให้นึกถึงคำอีกหลายคำ อาทิ “รอให้มีความพร้อม หรือ ลงมือสร้างความพร้อม” หรือ “กล้าที่จะทุ่มสุดตัว หรือ รอให้สุกงอม” ซึ่งเนื้อหาในหนังสือออกแนวชวนคิด ชวนโฟกัสไปที่ความสำเร็จ และการใช้เวลาให้คุ้ม เพราะ ความสำเร็จ (ตัวแปร X) ไม่ได้แปรผันตรงกับ ความสามารถ (ตัวแปร Y)ไปซะทุกกรณี เหมือนเด็กหลังห้องที่อาจประสบความสำเร็จได้เร็ว และอาจมีเด็กหน้าห้องที่ตามเด็กหลังห้องไม่ทัน ความสัมพันธ์ข้างต้นยังมีตัวแปรอื่นที่มาเป็นตัวเร่ง หรือตัวฉุด นั่นคือ ความกล้าหาญ ความหมกมุ่นทุ่มเท การใช้เวลา และการลงมือทำ ในชีวิตจริงเราไม่ได้มีตัวแปร X กับ ตัวแปร Y เท่านั้น เมื่ออายุเพิ่มขึ้นตามเวลาที่หมุนไปจากหนึ่งปี สองปี ห้าปี สิบปี แล้วความสำเร็จจะเพิ่มขึ้นนั้น อาจไม่เป็นจริงเสมอไป ที่แน่ ๆ คือ ความสำเร็จในอนาคตขึ้นอยู่กับว่า วันนี้ทำอะไรลงไป สรุปว่าลงมือทำวันนี้ เพื่อผลที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้

ชวนคิด : ถูกจับขึ้นเว็บ

ชวนคิด : ถูกจับขึ้นเว็บ (#Caughtintheweb)

ถูกนำเรื่องไปเล่าสู่กันฟังในสื่อจนทัวร์ลง เราได้ยินได้เห็นเรื่องชาวบ้านจากทุกมุมของสังคมในสื่อ ซึ่งเรื่องในหนังก็สะท้อนสังคมมา คือ หญิงสาวนั่งรถประจำทาง ในที่นั่งผู้สูงอายุ คนทั้งรถก็เห็น หญิงสาวก็ตอบไปอย่างไม่มีอารมณ์ แล้วถูกเผยแพร่คลิป ออกสื่อ จนทัวร์ลง และจบด้วยคำว่าเรื่องพลิก ดังคำว่า คำพูดสามารถทำให้คนมีความสุข แต่ก็สามารถฆ่าคนได้เช่นกัน
นึกถึง ความสัมพันธ์ของคนหลายกลุ่ม 1) บางคนพลาดไปชั่วขณะ แล้วถูกขึงขึ้นเว็บ เหมือนลัทธิล่าแม่มด 2) ตัวเอกที่จับแม่มดได้ ก็เหมือนนักข่าว ยูทูปเปอร์ ที่จะเลือกเล่า เพื่อขึงแม่มดลงทัณฑ์ 3) ผู้คนที่มุงดู เอาหินปา โห่ร้อง แล้วรู้สึกโล่ง ผ่อนคลาย มีความสุข เป็นเรื่อง #สุจริตยุคล่าแม่มด ที่แม่มดมักไม่รอด ในชีวิตจริง พบว่า ผู้คนกล้าเล่ามากขึ้น แต่คดีพลิกก็เยอะ อาทิ รองเท้าแอบถ่าย มะพร้าวสามลูก ครูจอมทรัพย์ ไม่อยากเป็นป้าแต๋น

หรือ คิดสร้างสรรค์ ด้วยการ จับเรื่องดีดีมาเล่า ซึ่งเราทำกันเป็นอาชีพ ทุกคนต่างได้ประโยชน์ อาทิ ผลประกวด รับตำแหน่งใหม่ ขึ้นป้ายร้อยเต็ม เพื่อนเปิดร้าน หรืออบรมสัมมนา เรียกว่า #ถูกจับขึ้นเว็บ แบบ win&win

IMDB Rating : 6.5 / 10

https://www.thaiall.com/handbill/getapart.php?k=top-44

ชวนฉีดวัคซีน Sinovac

ฉีดวัคซีน Sinovac พบว่า มีดารานักแสดงหลายคนออกมาเชิญชวน ที่โดดเด่น คือ #ชมพู่อารยา เธอฉีดวัคซีนวันที่ 8 พ.ค.64 แล้วเขียน Review เมื่อ 18 พ.ค.64 โดยโพสต์ใน Instagram แล้วถูกพูดถึงอย่างมากใน Twitter จนขึ้น Trend อันดับหนึ่งในไทย เขียนได้ดี เปรียบเทียบวัคซีนแต่ละยี่ห้อได้ชัด เกณฑ์ที่กำหนดมี 3 เกณฑ์ คือ Efficacy Rate , Side Effect , Technology ที่ชอบที่สุด คือ เหตุผลที่ต้องไปฉีด เพราะมีคนที่ห่วง

มีคำกล่าวว่า “With each shot that goes to someone’s arm, we get closer to the end of this pandemic.”

การวิจัยแบบผสมผสาน

วัลนิกา ฉลากบาง. (2560). การวิจัยแบบผสมผสาน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(2), 124 – 132.


บทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมผสานเป็นการวิจัยที่ได้รับอิทธิพลมาจากปรัชญาปฏิบัตินิยมที่ใช้วิธีวิทยาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกันในการดำเนินการวิจัย เพื่อหาคำตอบของการวิจัยที่มีความครอบคลุม ลุ่มลึกและชัดเจน ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่ศึกษา การวิจัยแบบผสมผสานสามารถจำแนกได้ 12 แบบแผน เช่น แบบแผนที่ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพคู่ขนานกัน โดยให้ความสำคัญกับทั้งสองวิธีอย่างเท่าเทียมกัน แบบแผนที่ดำเนินการไปตามลำดับก่อนหลัง โดยให้ความสำคัญกับวิธีวิจัยวิธีใดวิธีหนึ่งเป็นวิธีหลักแบบแผนที่ใช้วิธีวิจัยวิธีหนึ่งเป็นวิธีหลักและอีกวิธีหนึ่งเป็นวิธีรอง แต่ประเด็นที่ศึกษาด้วยวิธีหลักและวิธีรองไม่ใช่ประเด็นเดียวกันหรือ
ที่เรียกว่าแบบแผนรองรับภายใน เป็นต้น การจะเลือกใช้แบบแผนใดจะต้องคำนึงถึงคำถามวิจัยเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามนักวิจัยก็ไม่ควรนำวิธีวิทยาแบบใดแบบหนึ่งไปใช้อย่างผิวเผิน แต่จะต้องฝึกฝนตนเองให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทั้งวิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj/article/download/86439/76194/

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา หมายถึง การนําคําสอนในพระพุทธศาสนาไปปรากฏต่อการรับรู้ของบุคคล กลุ่มบุคคลและมวลชน ผ่านสื่อต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสื่อบุคคลและสื่อมวลชน โดยมุ่งหวังให้ผู้รับเข้าใจและนําไปปฏิบัติให้ เกิดประโยชน์ คือ สามารถสงบระงับกิเลสในระดับต่าง ๆ จนถึงพระนิพพาน

ซึ่งการเผยแผ่ศาสนาแต่เดิมเป็นการสื่อสารระดับบุคคล ซึ่งแบ่งเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) การสื่อสารในกลุ่ม (Group Communication) และการพูดในที่สาธารณะ (Public Speaking) การสื่อสารระดับบุคคลปรากฏอยู่ทุกรูปแบบในการเทศนาของพระพุทธเจ้าสู่พระสาวกและเวไนยสัตว์ การสั่งสอนพระธรรมของพระสาวกสู่ผู้คน แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากสภาพของสังคมมีความเปลี่ยนแปลงไป ทําให้รูปแบบของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต้องขยายตัวมาสู่สื่อมวลชน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนในสังคมให้มากที่สุด

อ่านจาก พระศรัญพัฒน์ (ชยจิตฺโต) แสงอุทัย และวันพิชิต ศรีสุข. (2562). รูปแบบและวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซียของสํานักสงฆ์จันทรัตนาราม ตําบลยะรม อําเภอเบตง จังหวัดยะลา. วารสาร สจล.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1), 32-39.

https://www.facebook.com/groups/thaiebook/permalink/1958869470930528

การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสาระการเรียนรู้การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

บทความวิจัย
รุ่งภรณ์ กล้ายประยงค์. (2563). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสาระการเรียนรู้การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 11(1), 104 – 113.

บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรม พัฒนากระบวนการคิด อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน จนเกิดเป็นองค์ความรู้ของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นของการพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลในสาระการเรียนรู้การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง วัตถุประสงค์ของบทความนี้เขียนขึ้นเพื่อนำเสนอเกี่ยวกับคำจำกัดความ แนวคิด และลักษณะของการเรียนรู้เชิงรุก รูปแบบการจัดการเรียนรู้และบทบาทของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองด้วยการเรียนรู้เชิงรุก รวมถึงตัวอย่างการจัดการเรียนรู้การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองด้วยการเรียนรู้เชิงรุก

บันได 5 ขั้นของการพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล
(Five Steps for Student Development)
ได้แก่ 1) การตั้งคำถาม/สมมติฐาน (Hypothesis Formulation) เป็นการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิด สังเกต ตั้งคำถามอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในการตั้งคำถาม (Learning to Question) 2) การสืบค้นความรู้และสารสนเทศ (Searching for Information) เป็นการแสวงหาความรู้ ข้อมูล และสารสนเทศ จากแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย เช่น ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต หรือจากการฝึกปฏิบัติ ทดลอง เป็นต้น ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในการแสวงหาความรู้ (Learning to Search) 3) การสร้างองค์ความรู้ (Knowledge Formation) เป็นการฝึกให้ผู้เรียนนำความรู้และสารสนเทศที่ได้จาการแสวงหาความรู้ มาถกแถลง อภิปราย เพื่อนำไปสู่การสรุปและสร้างองค์ความรู้ (Learning to Construct) 4) การสื่อสารและนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Communication) เป็นการฝึกให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้มาสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีทักษะในการสื่อสาร (Learning to Communicate) 5) การบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Public Service) เป็นการนำความรู้สู่การปฏิบัติ ซึ่งผู้เรียนจะต้องเชื่อมโยงความรู้ไปสู่การทำประโยชน์ให้กับสังคมและชุมชนรอบตัวตามวุฒิภาวะของผู้เรียน และจะส่งผลให้ผู้เรียนมีจิตสาธารณะและบริการสังคม (Learning to Serve) (สำนักบริหารงานมัธยมศึกษาตอนปลาย, 2555)

ลักษณะของการเรียนรู้เชิงรุก
กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้ ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างองค์ความรู้ (Fedler & Brent, 1996) โดยผู้เรียนต้องมีการปฏิบัติมากกว่าการฟังพวกเขาต้องมีการอ่าน เขียน อภิปราย หรือร่วมกันแก้ไขปัญหา สิ่งสำคัญที่สุดคือการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการคิดขั้นสูง เช่น การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินผล (Chickering & Gamson, 1987 cited in Bonwell & Eison, 1991) จนเกิดเป็นองค์ความรู้ของตนเอง ซึ่งจะมีส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อความคงทนในการเก็บรักษาความรู้เมื่อเวลาผ่านไป (Berry, 2008) ผู้สอนจึงมีส่วนสำคัญต่อการกำหนดทิศทางอย่างมีนัย รวมถึงโครงสร้างของการจัดกระบวนการเรียนรู้ (Mayer, 2004; Kirschner & Clark, 2006) อีกทั้งการจัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกระทำกับข้อมูล เนื้อหา หรือประสบการณ์ต่าง ๆ ผ่านการลงมือปฏิบัติ ร่วมกับผู้เรียนคนอื่น และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้น ๆ จนเกิดเป็นองค์ความรู้ของตนเอง ซึ่งเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมอง และกระบวนการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน จึงถือว่าเป็นกระบวนการทั้งทางด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป

https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/download/244035/166005/

http://www.edu.ru.ac.th/index.php/30-2014-06-07-08-03-10/385-2020-06-01-13-04-44

บันทึกคลิปวิดีโอ สลับ scene บน fb live

การบันทึกคลิปวิดีโอด้วย Facebook live แล้ว Download มาเป็น .mp4 แล้ว Upload ไปยัง youtube.com โดยใช้เนื้อหาเรื่อง หมอพร้อม และ 7 ข้อเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีน ซึ่งการสลับ scene ใช้การกด alt-tab ส่วนกล้องวิดีโอใช้ Extension / Apps บน Chrome ชื่อ Camera เลือกใช้ได้ทั้ง 2 apps คือ 1) turn camera on 2) chromeos-cameraapp ใน Facebook live จะแชร์แบบ Share : Your Entire Screen และเตรียม Scene ให้เลือกใช้สลับไปมาตามเนื้อหา ดังนี้ 1) Webpage 2) Camera 3) Image บนโปรแกรม Irfan View ซึ่งการบันทึกครั้งนี้ ผลลัพธ์ดูลื่นไหล และเป็นธรรมชาติระหว่างสลับ Scene ในระดับหนึ่ง ซึ่งข้อดี คือ ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับถ่ายทอดที่ควบคุมซีน หรือตัดต่อแยกออกมาจากการบันทึกอีกครั้ง

อ่านมังงะ เป็นอาชีพ

เล่าเรื่องนิสิต
นายหนึ่ง เล่าให้ อ.นุ้ย ฟัง เรื่องอ่านมังงะ ผมก็เก็บมาเล่าต่อ หากสนใจช่องของ นายหนึ่ง เชิญที่
https://www.youtube.com/channel/UCFA9FAhdF4UTPZlqaQHFD7Q
ส่วนเรื่องเล่านั้น ผมเล่าไว้ที่
http://www.thaiall.com/handbill/
ให้น้อง ๆ ได้ทราบว่า อาชีพ ก็มีหลายแนว

7 พ.ค.64 วันนี้ อ.นุ้ย สัมภาษณ์เจ้าของช่อง “Moon Manga Channel” ที่เชื่อมช่องเข้ากับแฟนเพจ “เพจอ่านมังงะ” ทำให้ทราบว่าเจ้าของช่องชื่อ “หนึ่ง” สำเร็จการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ แต่ให้ความสนใจกับการอ่านมังงะ หลังทำงานในชุมชนและสิ้นสุด โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ก็ได้ยึดเริ่มอาชีพ Youtuber ที่ยึดเป็นอาชีพหลักมาได้ 6 เดือนแล้ว โดยเริ่มต้นจากการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาทำตามความฝัน ที่เคยเล่าให้ อ.นง ฟังสมัยที่เป็นนิสิต ปัจจุบันได้ทำในสิ่งที่ชอบ นั่นคือ อ่านมังงะ เป็น Youtuber งานนี้เป็นเจ้านายตนเอง เลือกเวลาทำงานได้ และไม่ต้องเป็นลูกจ้างใคร จากการสำรวจช่องนี้ ผ่าน noxinfluencer.com พบข้อมูลการวิเคราะห์ช่อง Moon Manga Channel พบว่า ข้อมูล ณ วันนี้ มีรายได้ไม่ต่ำกว่าสองหมื่นต่อเดือน มีคลิ๊ปทั้งสิ้น 28 วิดีโอ มียอดวิว 7 วันที่แล้วประมาณ 40,746 view มีสมาชิก 3.19 หมื่นคน มีจำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด 1.62 ล้านคน เรื่องที่ปักหมุดไว้ล่าสุด คือ มังงะ : นักล่าพลังงาน ตอนที่ 1-104 (จบ SS1) 6 ชม. ครึ่ง แล้วขอเชิญชวนทุกท่านไปติดตามฟังเสียงหล่อ ๆ ของหนุ่มคนนี้กันครับ

การตรวจสอบเครื่องมือ

นิสิตมหาบัณฑิตสายสังคมศาสตร์ ที่ต้องการหาคำตอบด้วยกระบวนการวิจัย เมื่อออกแบบเครื่องมือแล้ว มักจะต้องนำเครื่องมือไปทดสอบความเที่ยงตรง (Validity) และความน่าเชื่อถือ (Reliability) ของเครื่องมือ ก่อนที่จะนำไปใช้สอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกไว้ ซึ่งความเที่ยงตรงนั้นจะต้องทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ส่วนความน่าเชื่อถือนั้นจะทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างไม่ต่ำกว่า 30 ชุด
1. การตรวจสอบหรือทดสอบคุณภาพของเครื่องมือ
ความตรงของเนื้อหา (Content Validity) คือ การทดสอบนำแบบสอบถามที่สร้างขึ้น ให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความเชี่ยวชาญด้านที่เกี่ยวข้อง ช่วยตรวจสอบประเมินความถูกต้อง ความชัดเจน ความสอดคล้องของเนื้อหาที่ต้องการศึกษา จากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนของเนื้อหา โดยหาค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง (Index of Item-Objective Congruence, IOC) มาจาก ผลรวมคะแนนจากผู้เชี่ยชาญทั้งหมด หารด้วย จำนวนผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเกณฑ์การให้คะแนนเป็น 3 ระดับ โดย 1+ คือเนื้อหาสอดคล้อง แล้ว -1 คือ เนื้อหาไม่สอดคล้อง และ 0 เมื่อไม่แน่ใจ สรุปคือค่า IOC ในระดับดี ที่สามารถนำไปวัดผลได้ จะต้องมีค่า IOC เกินกว่า 0.5 ขึ้นไป จึงจะถือว่าสอดคล้อง
2. การตรวจสอบหรือทดสอบความน่าเชื่อถือของเครื่องมือ
ความน่าเชื่อถือของเนื้อหา (Content Reliability) คือ การทดลองนำแบบสอบถามจำนวน 30 ชุด ไปใช้กับกลุ่มที่แยกออกมาจากกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ซึ่งค่าหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟาของครอนบัค (Cronbach’s alpha coefficient) สามารถใช้วัดความสอดคล้องภายใน (internal consistency) ที่สามารถหาความสอดคล้องและบ่งบอกมิติไปในทิศทางเดียวกันของข้อคำถามในชุดนั้น หากได้ค่าความเชื่อมั่นโดยรวมมีค่ามากกว่า 0.7 (ยิ่งเข้าใกล้ 1.0 ยิ่งมีความเชื่อมั่นสูง) นั่นหมายถึงสามารถนำแบบสอบถามมาใช้ในการเก็บข้อมูลจริงได้
การตรวจสอบคุณภาพด้านความเชื่อมั่น

  1. การสอบซ้ำ (Test-Retest Reliability)
  2. ความคงเส้นคงวาภายใน (Internal Consistency)
    2.1 การหาความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรของคูเดอร์และริชาร์ดสัน (Kuder and Richardson)
    2.2 การหาความเชื่อมั่นใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของ ครอนบัค (Coefficient Alpha or Cronbach’s Alpha)
  3. การตรวจสอบคุณภาพด้านความเชื่อมั่นโดยอาศัยหลักของความเท่าเทียมกัน (Equivalence)
    (อ่านจาก บทที่ 7 : การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการวิจัย ของ อ.พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์ 503 402 Nursing Research และเอกสารของ ดร. ดนัย ปัตตพงศ์ เรื่อง การทดสอบความเชื่อมั่นด้วย Cronbach’s alpha)

ชวนอ่าน 2 บทความ
เรื่องแรก : การทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของแบบประเมินกลยุทธ์ในการรับมือกับความเครียดแบบสั้นฉบับภาษาไทย โดย ธนานันต์ นุ่มแสง และ ธนิตา ตันตระรุ่งโรจน์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ใน วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2561; 63(2): 189-198
เรื่องที่สอง : การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย Validation of the Tests โดย อารยา องค์เอี่ยม และพงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพ 10700 ประเทศไทย ใน วิสัญญีสาร 2561; 44(1): 36-42