ต่อไป อาจไม่พบครูกับนักเรียน นั่งสอนในห้องเรียนที่มีนักเรียนสุมกัน เป็น 10 เป็น 100 เรากำลังเข้าสู่ยุค #สอนออนไลน์ #ทำงานจากบ้าน ด้วยแรงขับทรงพลังเหนือคณานับ นั่นคือ #covid-19 ชื่อโรคเมื่อปีที่แล้ว แต่ส่ง และทรงอิทธิพลอาจยาวไปชั่วกาล หากเชื้อพัฒนาต่อไป จนเป็นโรคประจำถิ่นแบบไข้หวัดใหญ่ หรือไข้เลือดออก ก็อาจลดจำนวนและอายุเฉลี่ยของประชากรได้ หายกลายพันธุ์ตามข่าวต่อเนื่อง ทางรอดต้องคงยึดคาถา #อยู่บ้านเพื่อตนเอง รักษา social distancing เพื่อวันพรุ่งนี้ แล้วจะเกิด #ห้องเรียนแห่งอนาคต ขึ้นจริงจัง เพียงชั่วข้ามปี ไม่ได้วิวัฒน์กันข้ามชีวิตอีกแล้ว เพราะ “ไวรัสทำให้แรงงานมนุษย์ต้องเก็บตัวอยู่ในบ้าน”
คุยกับนิสิต เรื่องการสอนแบบ #ใส่ใจ กับ #ใส่แมส ให้เข้าใจ เตรียมใจ
เพราะในห้องเรียนก็จะมีหลายกลุ่ม บางกลุ่มผู้สอนใส่ใจไป ผู้เรียนให้ใจกลับ บางกลุ่มรอเรียยแบบใส่แมส เต็มรูปแบบ คือ ฟังอย่าเดียว หรือ ฟังทางเดียว ไม่มีโกรธที่ถูก feedback สีหน้าอารมณ์เดียวก็มี ไม่ใช่ถามมาตอบไป ยิ้มหัวเรา โต้ตอบกัน ก็ด้วยเงื่อนไขเรื่องจำนวน วิธีใหม่อาจเรียกว่า write once, run anywhere
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2819753108101576&id=1125767017500202
ชวนอ่าน COVID-19 เร่งให้ยุค “แรงงานหุ่นยนต์” มาถึงเร็วกว่าที่คาด . สถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 ที่ระบาดหนักในจีน ทำให้อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เติบโตขึ้นเร็วอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เพราะไวรัสทำให้แรงงานมนุษย์ต้องเก็บตัวอยู่ในบ้าน รวมถึงกฎระเบียบที่ห้ามคนสัมผัสติดต่อกัน หุ่นยนต์เลยเข้ามารับบทบาทแทนในแทบจะทุกอุตสาหกรรม . กลุ่มนักลงทุนคาดการณ์ว่าปีนี้จะเป็นปีที่ธุรกิจหุ่นยนต์จะแจ้งเกิดแบบเต็มตัว ประเมินว่าจะมียอดสั่งซื้อจำนวนมหาศาลในประเทศจีน โดยเฉพาะหุ่นยนต์ที่ทำงานบริการ เช่น หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร หุ่นยนต์ส่งของในโรงแรม หุ่นยนต์วิ่งส่งอุปกรณ์ในโรงพยาบาล ส่งสินค้าตามบ้าน ไปจนถึงหุ่นยนต์ที่ใช้ภาคการผลิตสินค้า ทำงานในโรงงาน ปรุงอาหาร ชงเครื่องดื่ม ฯลฯ เพราะในช่วงที่มีโรคระบาดอยู่อย่างนี้ มันสามารถตอบโจทย์เรื่องสุขอนามัยได้ดีกว่าคนมาก ไม่ผิดข้อกำหนดของรัฐ ผู้ประกอบการไม่ต้องหยุดกิจการ ผู้บริโภคก็มีตัวเลือกมากขึ้น . ทางบริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมที่หุ่นยนต์ขายดิบขายดีที่สุดคือโรงพยาบาล โรงพยาบาลหลายแห่งที่ไม่เคยใช้หุ่นยนต์มาก่อนก็ถึงเวลาต้องสั่งซื้อกันขนานใหญ่ โดยเฉพาะหุ่นยนต์ที่คอยเดินฆ่าเชื้อตามพื้นที่ต่าง ๆ ด้วยรังสี UV และหุ่นยนต์ที่ส่งอาหารตามห้องผู้ป่วย ช่วยให้เจ้าหน้าที่ไม่ต้องเสี่ยง ไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ป้องกันบ่อย ๆ แก้ปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ได้ในทางหนึ่ง . ขณะเดียวกัน ร้านอาหารขนาดใหญ่ในจีนหลายแห่งก็เริ่มเอาหุ่นยนต์เข้ามาแทนพนักงานเสิร์ฟอย่างจริงจังแล้ว แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน แถมยังเรียกความเชื่อมั่นให้ลูกค้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งทางผู้บริหารเปิดเผยว่าก่อนหน้านี้พวกเขาก็มีแผนจะค่อย ๆ เอาหุ่นยนต์มาใช้ในร้านอยู่แล้ว แต่โควิด-19 ทำให้ต้องรีบลงมือเร็วกว่าที่คิด . ณ ตอนนี้ถือว่าหุ่นยนต์มีส่วนช่วยจีนอยู่มาก ในเรื่องการยับยั้งโรคระบาดพร้อมกับขับเคลื่อนเศรษฐกิจไม่ให้ชะงัก แต่ก็น่าเป็นห่วงว่าเทรนด์นี้อาจจะเปลี่ยนตลาดแรงงานจีนไปตลอด เมื่อนายจ้างลงทุนก้อนใหญ่เพื่อซื้อหุ่นยนต์มาแล้ว คุ้นเคยกับลูกจ้างหุ่นยนต์แล้ว รวมถึงลูกค้าที่ยังจะระแวงเรื่องไวรัสไปอีกพักใหญ่ ๆ หลังจากวิกฤตผ่านไป จะยังเหลือพื้นที่ให้กับแรงงานมนุษย์แค่ไหน? . หากนี่คือการแข่งขันระหว่าง “แรงงานคน” กับ “แรงงานหุ่นยนต์” รอบนี้ก็ต้องยอมรับว่าทีมมนุษย์เสียคะแนนไปมากทีเดียว . ขอบคุณข้อมูลจาก Reuters, TheStar