สรุปผลการวิจัย 1/9 ตอน ของ sar51

4 ธ.ค.52 โครงการวิจัยพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองปีการศึกษา 2551
     สรุปผลการวิจัยตอนที่ 1 ใน 9 ตอน ส่วนของผลการวิเคราะห์สถานการณ์ระบบฯ  พบว่า การพัฒนาระบบฐานข้อมูลในมหาวิทยาลัยผ่านกระบวนการวิจัย ทำให้สอดรับกับตัวบ่งชี้คุณภาพอย่างน้อย 4 ตัวบ่งชี้ คือ 1)ตัวบ่งชี้ 4.1 มีการพัฒนาระบบและกลไกในการสนับสนุนการผลิตงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ 2)ตัวบ่งชี้ 7.5 ศักยภาพของระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร การเรียนการสอน และการวิจัย 3)ตัวบ่งชี้ 9.1 มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา 4)ตัวบ่งชี้ 9.3 ระดับความสำเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
     ผลต่อตัวบ่งชี้ 4.1 คือ แสดงให้เห็นว่าคณะวิชามีบทบาท มีส่วนร่วมในการดำเนินการตามระบบ และกลไกที่ส่งบุคลากรเข้าร่วมเป็นทีมวิจัยโครงการวิจัยบูรณาการในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองของมหาวิทยาลัย แล้วนำระบบที่พัฒนาขึ้นกลับไปใช้ประโยชน์ในคณะวิชาอย่างต่อเนื่อง
     ผลต่อตัวบ่งชี้ 7.5 คือ คณะวิชามีส่วนพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ เพื่อเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน แล้วใช้ประโยชน์จากรายงานที่ได้ อาทิ ตารางสรุปผลทั้ง 4 ประเภทไปช่วยในการตัดสินใจพัฒนาคุณภาพการศึกษาของคณะอย่างต่อเนื่อง
     ผลต่อตัวบ่งชี้ 9.1 คือ คณะวิชามีส่วนร่วมพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศที่สนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาและใช้ร่วมกันในมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องมาแล้วเป็นปีที่สอง
     ผลต่อตัวบ่งชี้ 9.3 คือ คณะวิชาได้รายงานผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสู่สาธารณชนภายในเวลาที่กำหนด ผ่านระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองที่คณะวิชามีส่วนร่วมในการพัฒนาเพื่อใช้งานในมหาวิทยาลัยเป็นปีที่สอง
     สำหรับการดำเนินการ นำเสนอผลการประกันคุณภาพสู่สาธารณชน อยู่ขั้นตอนการพัฒนารายละเอียด และขออนุมัติผู้บริหาร ซึ่งมีตัวอย่างที่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ เผยแพร่สู่สาธารณะ ดังนี้
http://science.psru.ac.th/sar/ocomponent1_1.php
+ http://fis.swu.ac.th/QAsar/linkdetail.asp?fisyear=&fc=MDCH&parentid=20&num=4&nodenum=7.5
+ http://www.nsru.ac.th/aritc/sar51/7_5.htm
+ http://www.ams.cmu.ac.th/depts/qa/WSAR50/KPI50/7/aong7.5.htm
+ http://www.bcnnv.ac.th/manage/StandardDetail.php?code=244
+ http://www.pnc.ac.th/manage/StandardDetail.php?code=47
+ http://sci.skru.ac.th/science/sciquanlity/sar51/sarpointer7_5.php
+ http://202.183.204.134/manage/StandardDetail.php?code=99
+ http://202.29.80.19/~sar/acomponent3_4.php
+ http://www.techno.msu.ac.th/SAR/007/p7_05.htm
+ http://www.ubu.ac.th/~softset/qaocn50/act50_751.php

ขั้นตอนการทำ KM ให้ได้คะแนนประกัน และถูกตามหลักสากล

1 ธ.ค.52 ช่วงนี้หารือกับอาจารย์อติชาต หาญชาญชัย เรื่องเขียนแผน KM ของคณะบ่อยครั้ง ท่านทำให้ผมได้เรียนรู้ว่า ขั้นตอนสำหรับการจัดทำตามแผน KM มีอย่างน้อย 5 ขั้นตอนในเบื้องต้น คือ 1)ระบุว่าทำ KM เรื่องอะไร 2)เป้าหมายของแผน KM คืออะไร 3)หน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรมคืออะไร 4)ควรยึดแนวกระบวนการ KM ที่ได้รับการยอมรับ ซึ่งพบว่ามีผู้เชี่ยวชาญนำเสนอกระบวนการไว้ 3 แนว ได้แก่ของ 4.1)กพร. 4.2)ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช 4.3)ดร.ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์ สำหรับม.โยนกใช้แนวของ กพร. เพราะมีคู่มือ และแบบฟอร์มที่ใช้กันทั่วไป 5)แต่ละกิจกรรมตามแผน KM ต้องมีตัวบ่งชี้และเป้าหมาย เมื่อดำเนินการตามแผน ต้องมีหลักฐานว่าได้ผลเป็นอย่างไรตามเป้าหมายของกิจกรรม
     เพราะในการประกันคุณภาพของ สกอ. ตัวบ่งชี้ 7.3 เกณฑ์ที่ 3 ระบุว่า “มีการดำเนินการตามแผนจัดการความรู้และประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ร้อยละ ๑๐๐” ทั้งหมดที่เขียนมาก็เพื่อ 3 คะแนนในตัวบ่งชี้นี้
+ http://www.thaiall.com/km/handbook_2549.doc
+ http://www.thaiall.com/km/indexo.html
+ http://202.183.204.134/manage/StandardDetail.php?code=94

ประเมินประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และความพึงพอใจของ DB

26 พ.ย.52 วันนี้ไปประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลรวม 15 คน ใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมงครึ่ง โดยผมยกร่าง ตารางการเข้าประเมินระบบฐานข้อมูล และแบบประเมินทั้ง 3 ประเภทได้แก่ 1)แบบประเมินประสิทธิภาพ 2)แบบประเมินความปลอดภัย และ 3)แบบประเมินความพึงพอใจ ก็มีเรื่องให้ประหลาดใจว่า กรรมการไม่ติดใจเรื่องของแบบประเมินมากนัก เมื่ออธิบายในประเด็นที่มีข้อสงสัยก็เข้าใจกันทุกคน
     แต่มาติดใจตั้งแต่ 2 ระบบแรก ตามข้อมูลใน ตารางเข้าประเมินระบบฐานข้อมูล เรื่อง การประเมินที่ขึ้นกับชื่อระบบในประเด็นที่สัมพันธ์ กับ ความหมายของคำว่าระบบฐานข้อมูลออนไลน์ ซึ่งอธิบายให้ทุกคนได้คลายข้อสงสัยว่า ระบบฐานข้อมูลแบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่ 1)ผู้ส่งข้อมูลเข้า (Input) 2)การประมวลผลหรือกระบวนการทำงาน (Process) และ 3)ผู้รับข้อมูลไปใช้ประโยชน์ (Output) โดยการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยจะจัดทีมที่เข้าใจเข้าไปประเมินทีละระบบ ซึ่งประเมินในส่วนของ การประมวลผลหรือกระบวนการทำงาน (Process)
     แต่การประเมินความพึงพอใจ จะประเมิน Input กับ Output ซึ่งไม่จำเป็นที่ผู้ตอบแบบสอบถาม ต้องสัมผัสกับเครื่องบริการโดยตรง หรือไม่จำเป็นที่ระบบนั้นต้องเป็นออนไลน์ กว่าจะคลายข้อสงสัยได้ก็ใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมง แต่ผมก็ว่าคุ้ม เพราะถ้าวันนี้ทุกคนเข้าใจ งานก็จะเดิน การประเมินตามแผนการประกันคุณภาพการศึกษา และการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง ก็จะไม่สะดุด ถือว่าวันนี้คุ้มที่ได้เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนบุคลากร

ประชุมเสร็จผมก็ทำหนังสือแจ้งกำหนดการ
๑. หน่วยงานที่ดูแลระบบฐานข้อมูลเตรียมความพร้อมรับการประเมิน 
     ๓๐ พ.ย.–๔ ธ.ค.๕๒
๒. ทีมประเมินประสิทธิภาพ และความปลอดภัยเข้าประเมินฯ  
     ๒ ธ.ค.–๑๑ ธ.ค.๕๒
๓. เจ้าหน้าที่ IT เก็บข้อมูลการประเมินความพึงพอใจฯ   
     ๓๐ พ.ย.–๑๑ ธ.ค.๕๒
๔. เจ้าหน้าที่ IT สรุปผลและจัดทำรายงานการประเมินส่งให้หน่วยงาน 
     ๓๐ ธ.ค.๕๒
๕. คณะกรรมการฯ ประชุมวิพากษ์ผลประเมินและแบบประเมิน  
     ก.พ.๕๓

     วันนี้ผมยกให้กับ อ.แดน เป็นพระเอกในเวที เพราะท่านช่วยให้ความกระจ่าง ช่วยให้เวทีผ่อนคลายอย่างได้ผล ช่วยให้การโต้เถียงที่รุนแรงลดลง เพราะในเวทีมีหลายท่านกล้าพูด กล้าคิดในมุมของตน กล้าออกนอกกรอบ ด้วยผมก็รู้ว่าทุกคนมีเจตนาดี และแล้วก็กลับเข้าที่เข้าทาง ยังมีอีกหลายท่านก็พยายามช่วยกันกำกับเวที ทั้ง อ.นุ้ย และน้องแบงค์ ก็ขอบคุณด้วยเช่นกันที่ทำให้การประเมินครั้งที่ไม่ล้มไปซะก่อน
http://www.thaiall.com/yonok/52_project_poll_database_v3.doc

แลกเปลี่ยนระหว่างศิษย์กับอาจารย์

ittiphon25 พ.ย.52 ในคณะวิทย์ใครต่อใครต่างรู้จัก น้องอิทธิพล หรือที่ผมเรียกว่าลูกศิษย์ เพราะ ร.คณบดีก็พูดถึง อาจารย์ผู้สอบหัวข้อก็พูดถึง ส่วนผมรับช่วงเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาคนใหม่ ก็ต้องดูแลศิษย์คนนี้ให้เต็มที่หน่อย ก็ต้องบอกว่าตอนนี้ลงทะเบียนเรียนเรียบร้อยแล้ว จึงมีเวลาทำงานอีกหลายเดือน แต่เขาก็จะเร่งให้เสร็จในวันนี้วันพรุ่ง ผมก็เอาใจช่วย เพราะเขาว่างเฉพาะตอนเย็น 1)การเข้าพบที่จริงจังนับได้ว่าวันนี้วันพุธเป็นครั้งที่ 2 โดยดูเพียงเอกสารก็ถือว่าเอกสารผ่านไปแล้วกว่า 80% 2)โดยครั้งแรกวันจันทร์ดูทั้งโปรแกรมและเอกสาร ซึ่งถ้าประเมินความสมบูรณ์ให้ได้เพียง 70% เพื่อนที่มาด้วยก็ยังชมเลยว่า ถ้าเมื่อก่อนมาพบอาจารย์ใต้บรรไดบ้านอย่างนี้บ่อย ๆ ป่านนี้จบไปแล้ว ผมก็เชื่อว่าถ้ามีเพื่อนคุมอย่างนี้ น่าจะสำเร็จการศึกษาได้ในไม่ช้า เพราะเขามีศักยภาพเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว .. ดูจากภาพแล้วเขาก็ช่างพูดอยู่ไม่น้อยนะครับ

เล่าเรื่องเสนอแผน KM ที่เกือบถูกล้ม

25 พ.ย.52 ในการประชุมวันนี้ อ.บุ๋มและผม ได้ร่วมกันยกร่างแผน KM ของคณะ มีการกำหนดเป้าหมาย และหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม ซึ่งใช้เป็นต้นแบบประกอบการประชุม ประกอบด้วย 1)แผนการจัดการความรู้ 2)แบบฟอร์มกรอกประเด็นความรู้ในหัวข้อต่าง ๆ สำหรับการบ่งชี้ความรู้ เช่น หลักธรรม วิธีการ เครื่องมือ และประสบการณ์ 3)ความหมายของการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในคู่มือประกันคุณภาพ 4)รายงานการประชุมที่มีการดำเนินการตามกิจกรรมที่ 1 มาแล้ว
     หลังจากเริ่มประชุมเพียง 5 นาทีแรก ผมก็เกือบล้มแผน KM ตามแนวทางในแผนซึ่ง ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กำหนดแนวทางไว้ นี่นับเป็นอีกครั้งที่ผมเกือบจะยอมแพ้ต่อโชคชะตา ซึ่งมติที่ประชุมจะหันไปมุมการทำแผนแก้ปัญหา หรือแผนปรับการเรียนการสอน เฉพาะวิชาหนึ่งของคณะ ในเป้าหมายเรื่อง “การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ” ซึ่งไม่ใช่แผนการจัดการความรู้ในแบบที่มีการปฏิบัติกันทั่วไป แต่งานนี้ อ.บุ๋ม ท่านไม่ยอมให้แผนถูกล้มหรือผลิกเป็นแผนอะไรก็ไม่รู้ เพราะท่านเข้าใจอย่างถ่องแท้ และรู้ว่าถ้าพลิกแผนจะตอบคำถาม อย่างที่เคยถูก อ.ทัน เคยเคี่ยวในเวทีประเมินมาแล้วได้ลำบากขึ้น ท่านจึงเปิดเวทีแลกเปลี่ยนใช้เวลาทำความเข้าใจมากกว่าหนึ่งชั่วโมงให้ทุกคนได้เข้าใจ ว่าขั้นตอนเหล่านี้มีรายละเอียดอย่างไร จะพลิกแผนเป็นแผนอื่นก็จะผิดไปจากที่ควร .. สรุปว่าแผนครั้งนี้ไม่ถูกล้ม ยังคงเป็นแผนตามมาตรฐานการจัดการความรู้เช่นเดิม .. แต่ผมขู่ อ.บุ๋ม ไปว่า ถ้าครั้งต่อไปอาจารย์ไม่ร่วมประชุมล่ะก็มีหวังผมล้มแผน KM ในที่ประชุมเป็นแน่ .. ขอเอาใจช่วยให้แผน KM ยังคงเป็นแผน KM ไม่ถูกปรับแก้ไปตามความเข้าใจเดิมเดิม
     งานนี้สรุปได้อย่างหนึ่งว่า ถ้าแผน KM ไม่มีชื่อผมก็คงจะไม่มีการเสนอล้มแผน KM เป็นแผนอื่น  เพราะผมเป็นพวกเคยชินกับความล้มเหลว ใครกำหนดอะไรมาแปลกผมเป็นต้องร้องทักไปแต่ถ้าการทำตัวเป็นจิ้งจกร้องทักของผมทำแล้วไม่เกิดผล ผมก็จะทำใจยอมรับกับชะตานั้น คงเพราะผมเคยชินกับการเขียนโปรแกรมแล้ว compile ไม่ผ่านมามาก เคยชินกับการเขียนโปรแกรมแล้วไม่มีคนใช้ ก็เลยชินครับ .. สรุปว่าผมเขียนเล่าเรื่องวิบากกรรมที่ผมกับอ.บุ๋ม พบในวันนี้ ก็เท่านั้นเอง
+ http://www.thaiall.com/km/indexo.html
+ http://www.thaiall.com/km/handbook_2549.doc

บริการวิชาการ 2 โครงการที่บ้านดง

บริการวิชาการที่ อบต.บ้านดง
บริการวิชาการที่ อบต.บ้านดง

18 พ.ย.52 อาจารย์ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น หัวหน้าสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ อาจารย์เกศริน  อินเพลา หัวหน้าสาขาวิชาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยโยนก เป็นวิทยากรให้บริการวิชาการใน โครงการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย และ โครงการความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  แก่บุคลากรอบต.บ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ณ ที่ทำการอบต.บ้านดง เมื่อวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2552 โดย นายศุกร์ ไทยธนสุกานต์ นายกอบต.บ้านดง และ นางสาวณภัทร หวันแก้ว ปลัดอบต.บ้านดง ให้การต้อนรับ มีบุคลากรร่วมรับการอบรมจำนวน 21 คน
+ http://www.bandongmaemoh.ob.tc/council.html
+ http://www.thaiall.com/yonok/52_service_bandong.zip

การเลื่อนตำแหน่งของภรรยาแบบวาปมิใช่ก้าวกระโดด

21 พ.ย.52 ช่วงนี้มีใครหลายคน แซวและชวนภรรยาของผมไปเลี้ยงฉลองตำแหน่งใหม่ หรืออาจได้รับตำแหน่งใหม่ในเร็ววันนี้ ผมได้แต่ดีใจด้วย ด้วยทัศนคติส่วนตัวคิดว่าเธอ เลื่อนตำแหน่งแบบวาร์ปไป (warp) มิใช่ก้าวกระโดด (jump) มีหลายประเด็นให้ได้พิจารณาคือ 1)ทำงานมา 10 กว่าปี เปลี่ยนหัวหน้ามา 11 คนในองค์กรเดียว  เปลี่ยนหน่วยงานมา 4 หน่วย มีประสบการณ์มากในการเป็นเลขาฯ 2)สำเร็จการศึกษา ป.ตรี ด้านการจัดการ จากราชภัฏ ทำงาน เป็น เจ้าหน้าที่ในสำนักรับนักศึกษา เลขานุการในฝ่ายวิชาการ เลขานุการในสถาบันวิจัย เจ้าหน้าที่รับโทรศัพท์และธุรการในสำนักประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ในสำนักรับนักศึกษา แล้วกำลังจะวาร์ปไปเป็น หัวหน้างานประชาสัมพันธ์และรับนักศึกษา ซึ่งมีภาระรับผิดชอบงานที่ชี้ชะตาองค์กร ตามผลการวิเคราะห์ risk โดยกลุ่มผู้บริหาร แสดงว่าเธอเป็นตัวเลือกเดียวที่ดีที่สุดเป็นแน่ 3)หลายท่านให้กำลังใจว่าไม่ต้องเป็นกังวลเพราะเราทำงานในรูปคณะกรรมการ บูรณาการ ทุกคนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ถ้อยทีถ้อยอาศัย มีผู้เชี่ยวชาญทั้ง ด้านการตลาด (marketing) ด้านประชาสัมพันธ์ (public relation) ด้านการออกแบบ (design) ที่พร้อมให้คำแนะนำอยู่ใกล้ชิด อย่างอบอุ่น 4)ใจของเธอในฐานะปุถุชนยังกังวลในการได้รับความไว้วางใจในครั้งนี้ ว่าจะภูมิใจภาระใหม่ที่ไหลมาตามกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง หรือหนักใจที่ได้รับภาระในภาวะวิกฤต ซึ่งเคยปราบทุกเซียนมาแล้ว ก็ดูว่าเธอจะใช้อะไรมาต่อสู้กับสถานการณ์ที่เป็นอีกหนึ่งวิกฤตขององค์กร .. งานนี้มีแต่ต้องเอาใจช่วย เพราะเป็นงานใหม่ที่ท้าทายอีกงานหนึ่ง

เวทีวิจัยจากทุน CBPUS เกี่ยวกับสื่อขยายองค์ความรู้งานศพ

งานวิจัย cbpus นักศึกษา ม.โยนก ในเวทีบ้านไหล่หิน
งานวิจัย cbpus นักศึกษา ม.โยนก ในเวทีบ้านไหล่หิน

คืนวันศุกร์ที่ 20 พ.ย.52 นักศึกษามหาวิทยาลัยโยนก ได้แก่ นายกร ศิริพันธุ์ และ น.ส.อรพรรณ สงเคราะห์ธรรม และ ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ ตามทุนวิจัยโครงการ “แนวทางการผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อขยายผลองค์ความรู้เรื่องการจัดการงานศพบ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง” ได้จัดเวทีวิจัย ณ ศาลาหมู่ 2 บ้านไหล่หิน มีตัวแทนชาวบ้านที่จะเป็นผู้แสดงและเคยเป็นนักวิจัยในโครงการ “รูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง” จากทุน CBR มาพิจารณาวิเคราะห์ความสอดคล้องของโครงวีดีโอ และสคริปต์ร่วมกัน ก่อนดำเนินการถ่ายทำและตัดต่ออย่างเป็นระบบ ที่เป็นกิจกรรมที่ 5 ของโครงการจากทั้งหมด 8 กิจกรรมหลัก และเตรียมสำหรับการนำเสนอความก้าวหน้าต่อผู้ให้ทุน ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2552 ณ สกว.ศูนย์ลำปาง
      วาระในเวทีประกอบด้วย 1)ทบทวนวัตถุประสงค์ และกิจกรรมโครงการ 2)นำเสนอการดำเนินการที่ผ่านมาของนักศึกษากับชุมชน 3)นำเสนอโครงวีดีโอ 2 เรื่องคือ “ประเด็นปัญหา การแก้ไข และผลที่ได้” และ “กระบวนการวิจัย” 4)พิจารณาปรับปรุงโครงวีดีโอ บทวิเคราะห์โครง สคริปต์บทพูด 5)นัดหมายเพื่อถ่ายทำวีดีโอแต่ละท่านตามแผนในสคริปต์บทพูด
     กว่าจะถึงวันนี้ นักศึกษาทำงานไปแล้วตามขั้นตอน ดังนี้ 1)เข้าไปศึกษาชุมชน เดินสำรวจหมู่บ้าน สำรวจแหล่งทุนชุมชน นอนวัด นอนบ้าน เข้าพบ ผู้นำชุมชน และพระสงฆ์ 2)ศึกษาวรรณกรรมจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่นประวัติชุมชน กระบวนการวิจัย และการจัดงานศพ 3)เข้าเรียนรู้งานศพในบ้านไหล่หิน 2 งาน 4)เข้าสัมภาษณ์และบันทึกวีดีโอการนำเสนอองค์ความรู้จากนักวิจัยโครงการ CBR 5)ฝึกตัดต่อวีดีโอต้นแบบที่บันทึกมาแล้ว 6)ยกร่างโครงวีดีโอทั้ง 2 เรื่อง คือ “ประเด็นปัญหา การแก้ไข และผลที่ได้” และ “กระบวนการวิจัย” 7)ยกร่างสคริปต์บทพูด 8)จัดทำบทวิเคราะห์ และปรับแก้ทั้งความสัมพันธ์ของบท จัดวางพระเอกนางเอกให้เหมาะ กับบทพูด จัดลำดับ แก้ไขประเด็นคำพูด 9)นำสคริปต์บทพูดเข้าเวทีพิจารณาอีกครั้ง 10)เรียบเรียงทั้งหมดเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.webprodee.com/research
+ ตากล้องวันนี้คือ นายสุทัศน์ หรือบอย เพื่อนของกรกับปรางที่รับอาสาบันทึกภาพ

ร้องเพลงชาติที่ลำปาง 18.00น.

ร้องเพลงชาติ
ร้องเพลงชาติ

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2552 ชาวจังหวัดลำปางหลายแสนคน ที่มาจากทุกองค์กร ๆ ละประมาณ 500 คน ไปรวมตัวกันที่ข่วงนคร หรือห้าแยกหอนาฬิกา เพื่อร้อง เพลงชาติไทย ออกทีวีให้คนทั้งประเทศฟัง มีบุคลากรมหาวิทยาลัยโยนกที่นำโดย ผศ.ดร.จินดา งามสุทธิ อธิการบดี และครอบครัวของผมไปร่วมร้องเพลงในครั้งนี้ ตอนไปถึงผมแยกออกไปต้องหาที่จอดรถ ได้พยายามเดินเข้าจุดนัดหมาย แต่ไปไม่ถึงเพราะมีผู้คนมากมายทั้งเด็ก สตรี ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน พ่อค้าแม่ค้า และประชาชนไปรวมแสดงพลังในครั้งนี้ ก็ได้ภาพหลังเวทีมาฝาก เพราะจุดที่กล้องทีวีจะเก็บภาพอยู่หน้าเวทีทั้งหมด ซึ่งมีชาวลำปางแน่นขนัดแบบที่ไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อน กว่าการจราจรจะคลายตัวลงจากข่วงนครก็ใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง เป็นเหตุกาณ์ในประวัติศาสตร์อีกครั้งที่จะต้องบันทึกและจดจำไว้
     คำร้องโดย พันเอก หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ในนามกองทัพบก  “ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่ สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย

วิพากษ์ระบบอินทราเน็ต(1)

19 พ.ย.52 คุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ ได้พัฒนาระบบอินทราเน็ต พยายามเชื่อมโยงระบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยเปิดให้มีการวิพากษ์ภายในสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย คุณอรรถชัย เตชะสาย และ คุณอนุชิต ยอดใจยา โดยเริ่มจาก 1)ระบบฐานข้อมูลบุคลากรเป็นระบบฐาน ที่เปิดให้บุคลากรเข้าไปจัดการข้อมูลของตน 2)ระบบสารสนเทศบุคลากร ที่อ่านตรงมาจากระบบฐานข้อมูลบุคลากร ให้บุคคลทั่วไป หรือนักศึกษา ได้เข้าค้นข้อมูลตั้งแต่รายชื่อผู้บริหาร คณะวิชา ไปถึงข้อมูลบุคคล ที่สามารถเชื่อมตรงกับเว็บไซต์คณะวิชา 3)รายชื่อเว็บไซต์อีเลินนิ่ง รายชื่อบทความ รายชื่องานวิจัย รายชื่อเว็บบล็อก หรือรายชื่อระบบแฟ้มเอกสาร ที่แสดงในภาพรวมขององค์กร ผ่านการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลที่เชื่อมโยงใช้ร่วมกัน โดยกำหนดให้นำเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลฯ ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2552 เวลา 13.00น. – 14.30น. นี่เป็นอีกก้าวย่างที่สำคัญของการระบบฐานข้อมูลในมหาวิทยาลัย