ผลประเมินโครงการวิพากษ์ระบบฐานข้อมูล

26 ต.ค.52 โครงการนี้มีตัวบ่งชี้ 2 ตัว คือ จำนวนคน กับ ความพึงพอใจ พบว่าผลประเมินความพึงพอใจตกครับ อันที่จริงมีประเด็นให้วิเคราะห์กันต่อได้ และมีวิธีปรับแบบสอบถามที่สมเหตุสมผลกว่านี้ได้ แต่ตั้งตัวบ่งชี้ไว้ 3.5 ของภาพรวม แล้วผลได้เพียง 3.04 ส่วนจำนวนคนไม่มีปัญหา เพราะตั้งไว้ 30 คนแต่เข้ามา 40 กว่าครับ โดยสรุปคือตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ มี 2 ข้อ ได้แก่ 1)มีผู้เข้าร่วมอบรมอย่างน้อย 80% ของเป้าหมาย 2) ความพึงพอใจโดยรวมไม่ต่ำกว่า 3.5 จากคะแนน 5 ระดับ ซึ่งโครงการบรรลุตามตัวบ่งชี้ของโครงการเพียง 1 ตัวบ่งชี้
     ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม พบว่า ห้องอบรมมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง (X=2.64, S.D=0.93) วิทยากร มีความพึงพอใจในระดับมาก (X= 3.2, S.D= 0.63) หัวข้อที่บรรยาย มีความพึงพอใจในระดับมาก (X= 3, S.D= 0.69) ช่วงเวลาในการจัดกิจกรรม มีความพึงพอใจในระดับมาก(X= 3.08, S.D= 0.79) สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ มีความพึงพอใจในระดับมาก (X= 3.2, S.D= 0.8) ภาพรวมของโครงการ มีความพึงพอใจในระดับมาก (X= 3.04, S.D= 0.66)
     ส่วนประเมินความเข้าใจ พบว่า ความเข้าใจหลังวิพากษ์สูงกว่าก่อนเข้าโครงการมีร้อยละ 64 มีความเข้าใจเท่าเดิมร้อยละ 32 และมีความเข้าใจลดลงร้อยละ 4

เข้าอบรมหลักสูตรที่ 5 dialogue และคิดอย่างวิจัย

24 ต.ค.52 ไปเข้าอบรมกับศูนย์ประสานงาน สกว.ลำปาง เช้า – เย็น จัดโดยนางสาวภัทรา มาน้อย มี กร กับ มะปราง ในฐานะนักศึกษาที่รับทุน CBPUS ไปร่วมด้วย ที่ห้องสมุดประชาชนเทศบาลนครลำปาง ครั้งนี้นั่งพื้นกัน และมีเพื่อนนักวิจัยชุมชนเข้าร่วมกว่า 40 คน ก่อนปิดเวทีให้เขียนข้อเสนอแนะต่อเพื่อนในวง แล้วนำกลับไปอ่านที่บ้าน ในแบบสุนทรียเสวนาด้วยกัลยาณมิตร
     กิจกรรมที่จำได้มี 3 อย่าง คือ 1)นั่งสมาธิแล้ว ให้วาดภาพในวัยเด็ก เรื่องนี้ผมทำไม่ได้ ต้องเปลี่ยนไปวาดภาพดอกบัว หลังวาดเสร็จให้นำเสนอรายคน เป็นเหตุให้ในเวทีมีคนร้องไห้ 2 คน ถ้าผมวาดภาพความหลังคงร้องไห้เป็นแน่ พักนี้จิตอ่อนไหวง่ายมาก เพราะทนไม่ได้ต่อการเห็นการเปลี่ยนแปลงโลก ที่มนุษย์เป็นต้นเหตุ แต่แก้ไขอะไรไม่ได้เลย 2)มีกิจกรรมให้เลือกระหว่าง นกอินทรีย์ หมี วัวกระทิง และหนู ก็เลือกกันไปแล้ว แบ่งกลุ่มและให้เหตุผลทีละคน สุดท้ายเฉลยว่าคนเลือกแบบใดมักมีลักษณะอย่างไร สำหรับผมก็ต้องบอกว่าตรงกับตัวผม 3)มีคำถามน่าสนใจ ว่า “ชาย 2 คนลงซ่อมปล่องไฟ แล้วขึ้นมา คนหนึ่งสะอาด อีกคนสกปรก ใครจะไปอาบน้ำก่อนกันคำตอบที่ถูกก็มีอยู่นะครับ แต่เจอคำใบ้ไปว่ามองเพื่อนแล้วไปอาบน้ำ ทำให้เขวกันไปหมดเลย .. นี่คือกรณีหนึ่งที่ใช้นำเสนอเรื่องคิดอย่างวิจัย

กำหนดโครงเรื่อง VDO กันใหม่

home01

23 ต.ค.52 กรกับมะปราง พบอ.ที่ปรึกษา ช่วงบ่ายวันหยุดรวม 4 ชั่วโมง มีกิจกรรมดังนี้ 1)ศึกษา vdo ในพื้นที่วิจัยและภาพที่เกี่ยวข้องสำหรับใช้ในการทำงาน 2)ศึกษา vdo ในพื้นที่อื่น เป็นการทบทวนวรรณกรรมทั้งกระบวนการ และเทคนิก 3)พิจารณา script ที่แต่ละคนเตรียมมา แต่พบว่าขาดโครงเรื่องที่ชัดเจน 4)ยกร่างโครงเรื่อง และมอบหมายงานไปเขียน script กันต่อ นัดหมายต่อไป เป็นเย็น 29 ต.ค.52
     ทุนที่นักศึกษามีก่อนเขียน script ตามโครงเรื่อง 2 เรื่อง 1) ประเด็นปัญหา การแก้ไข และผลที่ได้ 2)กระบวนการวิจัย ต่อไป คือ 1)เข้าใจในชุมชนผ่านการสัมภาษณ์และเข้าไปใช้ชีวิต 2)เข้าใจกระบวนการจากการพูดคุยแลกเปลี่ยนและเข้าเวทีวิจัย 3)มีประสบการณ์จากการอ่านรายงาน ศึกษาจากภาพถ่าย และวีดีโอทั้งในและนอกโครงการ 4)ลองผิดลองถูก ฝึกฝนในการยกร่าง script และตัดต่อวีดีโอมาแล้วระดับหนึ่ง 5)บันทึกกิจกรรม เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในรายงานเสนอ CBPUS เมื่อต้องปิดโครงการ
+ http://www.thaiall.com/research/vdo_structure.doc
+ http://www.webprodee.com ของ นายกร

น.ศ.CBPUS เข้าเรียนรู้ชุมชนครั้งที่ 3 และเวที สกว.

ห้องบัวตอง ราชภัฎลำปาง
ห้องบัวตอง ราชภัฎลำปาง

15 ต.ค.52 กร กับ มะปราง ร่วมเวทีสรุปบทเรียนปี 2552 สกว.ลำปาง ร่วมกับ อ.วิเชพ อ.กฤตภาศ อ.อ้อม อ.เอ อ.เก๋ และอ.แต วันที่ 15 ต.ค.52 ณ ห้องบัวตอง ราชภัฎลำปาง จัดโดย นางสาวภัทรา มาน้อย โดยมี ผศ.เล็ก แสงมีอานุภาพ ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน “ฮู้แฮง แป๋งฮ่อม ต้อมกำกึ๊ด” เพื่อเปิดเวทีแบ่งปันประสบการณ์ที่นักวิจัยจากสถาบันต่าง ๆ มานำเสนอในประเด็นที่สัมพันธ์กับการศึกษา และมีนักวิชาการมาให้คำแนะนำ เป็นแนวทางพัฒนาต่อไป จนเลยเวลาไปนิดหน่อย
     ก่อนเข้าเวทีนี้ นักศึกษาทั้ง 2 คนข้างต้น และนายสุทัศน์ ได้ลงพื้นที่ครั้งที่ 3 วันที่ 11-12 ต.ค.52 เพื่อเก็บข้อมูลวีดีโอเพิ่ม นำเสนอวีดีโอต้นแบบ และโฮมเพจของโครงการ ต่ออ.บุรินทร์ ซึ่งมีกิจกรรม และประเด็นในการแลกเปลี่ยนกับนักศึกษาที่สำคัญ คือ 1)การทบทวนโครงเรื่องของ VDO 2 เรื่อง 2)การยกร่าง Script สำหรับจัดทำวีดีโอรวม 3 ชั่วโมง 3)ตกเย็นวิพากษ์วีดีโอ และ 4)โฮมเพจต้นแบบ 5)วันที่สองเข้าสัมภาษณ์นักวิจัยในพื้นที่อีกครั้งก่อนกลับลำปาง

วิพากษ์ระบบฐานข้อมูลครั้งแรก

20 ต.ค.52 ในรอบ 21 ปี วันนี้เป็นวันแรกที่นำระบบฐานข้อมูล 21 ระบบ มาเปิดเผยในห้องประชุมของมหาวิทยาลัยที่มีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนกว่า 45 ท่าน คุณอนุชิต ยอดใจยา ช่วยบันทึกเสียงลง MP3 เพื่อให้ผมเปิดฟังที่บ้านและจัดทำรายงานได้ ขั้นตอนเปลี่ยนจาก 1)หน่วยงานนำเสนอ 2)คณะแยกกลุ่ม 3)คณะให้ข้อเสนอแนะ 4)หน่วยงานสรุป เป็น 1)หน่วยงานนำเสนอ 2)คณะให้ข้อเสนอแนะ ซึ่งจบไปทีละระบบ ทำให้เวลา 3 ชั่วโมง สามารถเปิดเวทีแลกเปลี่ยนทั้ง 21 ระบบในเวลาที่กำหนด
     คะแนนประเมินความพึงพอใจจากการประชุมน่าจะต่ำมาก ไม่น่าเกิน 4 จากคะแนน 5 ระดับ ถ้าวัดเฉพาะความพึงพอใจต่อโครงการเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จ โครงการนี้คงสอบตกเป็นแน่ เพราะ 1)หน่วยงานก็ได้รับข้อเสนอแนะที่เป็นงานหนักอึ้ง 2)คณะก็มารับทราบว่ามีระบบมากมายที่ตนต้องใช้งาน 3)ทีมพัฒนาซึ่งมีโปรแกรมเมอร์ของสำนักไอที 1 คน โปรแกรมเมอร์ของสำนักทะเบียน 1 คน และโปรแกรมเมอร์อาสาสมัคร 3 คน ก็มีงานต้องพัฒนาและเชื่อมระบบทั้งหมดเป็นเครือข่ายเดียวกัน มีประเด็นมากมายยังไม่ clear เช่น 1)การจัดการความรู้มี series อย่างไร คณะได้รับโจทย์ว่าต้องกำหนดหัวข้อการจัดการความรู้ 2)ต้องกลับไปเขียนนโยบายด้านต่าง ๆ .. ถ้ามีใครประเมินว่าพอใจการประชุมครั้งนี้ก็คงบอกว่าแปลกหละครับ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เกินคาดเลยแม้แต่น้อย .. ในโลกแห่งความเป็นจริง
     หรือคิดแบบไม่เข้าข้างตนเอง คือผมพูดไม่รู้เรื่อง ดูแลให้ทุกคนพูดคุยกันไม่รู้เรื่อง ทำให้ทุกคนไม่พอใจในโครงการนี้ .. ก็เป็นไปได้ .. แต่ถ้าจะทำให้คนในมหาวิทยาลัยเข้าใจกัน เข้าใจระบบของกันและกัน ที่สำคัญเข้าใจงานของหน่วยงานที่ตนรับผิดชอบ ตามแผนที่ อ.อติชาต วางไว้ก่อนเดินทางไกล ผมก็ยินดีกับผลการประเมินความพึงพอใจข้างต้น

พัฒนาศักยภาพว่าที่บัณฑิตด้านไอที

21 ต.ค.52 คืนนี้ผมทำงานได้งานเดียว เพราะเจ็บคอ คือเขียนโครงการพัฒนาศักยภาพว่าที่บัณฑิตด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนเขียนรายงานผลโครงการอีเลินนิ่งกับโครงการวิพากษ์DB คงต้องเลื่อนไปก่อน สำหรับโครงการที่พึ่งเขียนเสร็จปรึกษาเพียง คุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ และคุณอนุชิต ยอดใจ ว่าโครงการน่าจะมีหัวข้ออะไรบ้าง ก็ได้มา 9 หัวข้อ คือ 1)การติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดว์ 2)การปรับแต่งค่าเริ่มต้นให้กับระบบปฏิบัติการวินโดว์ 3)การติดตั้งโปรแกรมประยุกต์ 4)ระบบความปลอดภัยและการจัดการไวรัสเบื้องต้น 5)การเขียนแผนภาพขั้นตอนการทำงานด้วย Visio 6)การประมวลผลด้วย MS Excel 2 ครั้ง 7)การจัดการข้อมูลด้วย MS Access 2 ครั้ง 8)การจัดการภาพกราฟฟิก 3 ครั้ง 9)การเขียนเว็บเพจเบื้องต้น 3 ครั้ง
     มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ซึ่งเป็นโครงการอบรมให้นักศึกษาฟรี แต่เขาต้องจ่ายเงินมัดจำป้องกันนักศึกษาโดดเรียน โดยสอนระหว่าง 18.00น. – 20.00น. มีวิทยากร 2 คนต่อครั้ง ชั่วโมงละ 150 บาทต่อคน สอน 15 วัน ช่วงพฤศจิกายน 52 ถึง มกราคม 53 โดยมีงบรวม 10,000 บาท เตรียมวิทยากรไว้ 5 คนตามความถนัดในแต่ละเรื่อง พรุ่งนี้ผมต้องลุ่นว่าโครงการนี้จะผ่านหรือไม่ ถ้าไม่ผ่านก็น่าเสียดายครับ

เวทีสรุปบทเรียนปี 2552 สกว.ลำปาง

15 ต.ค.52 วันนี้ได้ร่วมเวที “ฮู้แฮง แป๋งฮ่อม ต้อมกำกึ๊ด เครือข่ายสถาบันการศึกษากับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” ณ ห้องประชุมบัวตอง มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง มีผมกับอ.กฤตภาส เสมอพิทักษ์ เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยที่ได้รับทุน ร่วมเสวนาจากทั้งหมด 16 คนบนเวที โดยผู้ร่วมเวทีมีเป้าหมายมาจากมหาวิทยาลัยที่มีรับทุนในลำปาง 4 สถาบันเป็นหลัก ได้แก่ 1)มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง 2)มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง 3)มหาวิทยาลัยโยนก 4)มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ห้องเรียนวัดบุญวาทย์วิหาร โดยแบ่งกลุ่มการเสวนาออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1)การเรียนรู้ตลอดชีวิต/การศึกษานอกระบบ 2)การศึกษาระดับประถม/มัธยมศึกษา 3)การศึกษาระดับอุดมศึกษา-cbr-cbpus 4)การศึกษาระดับอุดมศึกษา-cbmag
     เวทีนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ ได้แก่ 1)เพื่อนำเสนอความเชื่อมโยงขององค์ความรู้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ถูกนำไปใช้ในด้านการศึกษาและรูปธรรมที่เกิดขึ้น 2)เพื่อกำหนดแนวทางในการทำงานร่วมกับเครือข่ายการศึกษาในอนาคต
     กิจกรรมภาคเช้า คุณภัทรา มาน้อย ชวนนักวิจัย 16 คนบนเวทีได้เล่าถึงกลไก บทเรียนและการนำไปใช้ในด้านการศึกษา แล้วผู้ทรงคุณวุฒิ 6 ท่านออกมาให้ข้อเสนอแนะถึงการพัฒนาชุมชนในยุทธศาสตร์การศึกษาท่านสุดท้ายคือ ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ พักกลางวันพบว่ามีอาจารย์ของมหาวิทยาลัยรวมทั้งหมดกว่า 6 ท่าน และนักศึกษาคณะวิทย์ที่รับทุน cbpus คือ กร กับปราง ภาคบ่าย คุณกฤษฎา เขียวสนุก(บอย-ศิษย์เก่า) เล่าภาพความเชื่อมโยงที่เกิดขึ้นในเวทีช่วงเช้า ต่อจากนั้นก็มีการเปิดเวที โดยอาจารย์จากโยนกหลายท่านเข้าร่วมแลกเปลี่ยนซึ่งนำโดย อ.ศิรดา ชัยบุตร และอ.วิเชพ ใจบุญ ประเด็นเสวนาที่ชัด คือ 1)มหาวิทยาลัยลำปาง 2)co-fund, co-working 3)training 4)วารสารวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่แนวว่าจะได้รับงบจากคลังสมอง 5)โค้ช coach ตีพิมพ์งานวิจัยระดับชาติ

เตรียมอบรมอีเลินนิ่งด้วยมูเดิ้ล

ภาพครูมูเดิ้ล
ภาพครูมูเดิ้ล ที่ 2 จากซ้าย คือ ดร.ไพฑูรย์ ศรีฟ้า ส่วนขวาสุดคือ อ.ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น

15 ต.ค.52 เตรียมสอนมูเดิ้ล (moodle) ทำให้พบข้อผิดพลาดในเว็บสอนมูเดิ้ลเดิมหลายจุด และขาดรายละเอียดสำคัญที่จะใช้บรรยายในวันที่ 19 ต.ค.52 ร่วมกับ อ.ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น ส่วนหนึ่งที่ปรับปรุงคือเพิ่มภาพถ่ายของวิทยากรคู่ที่จะร่วมนำเสนอทฤษฎีเกี่ยวกับอีเลินนิ่ง วัตถุประสงค์ของการอบรมอีเลินนิ่งครั้งนี้ คือ 1) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบบริหารจัดการเรียนรู้ (Learning Management System: LMS) และสามารถประยุกต์ใช้ ในระบบการจัดการเรียนการสอน 2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างและนำเสนอบทเรียนสำหรับ E-learning ด้วยตนเองและใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในระบบบริหารจัดการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น 3) เพื่อสร้างเครือข่ายสังคมการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน
     กิจกรรมการอบรมอีเลินนิ่ง 1 วัน ประกอบด้วย 1)บรรยายความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอีเลินนิ่ง 2)สมัครเข้าเป็นสมาชิกของระบบ 3)ฝึกใช้งานระบบในบทบาทนักเรียน 4)ฝึกนำเอกสารเข้าสู่ระบบในฐานะครู ทำกิจกรรม และการประเมินการเรียนรู้ด้วยแบบทดสอบ ตามแผนการจัดการเรียนรู้ 5)สร้างเครือข่ายครูผู้พัฒนาอีเลินนิ่งมหาวิทยาลัยโยนก 6)เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้ระดับมหาวิทยาลัย
+ http://www.thaiall.com/e-learning/moodle.htm
+ http://class.yonok.ac.th

ร่าง นโยบายด้านระบบฐานข้อมูล

14 ต.ค.52 ประชุมทำความเข้าใจ การประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์ สกอ. ได้รับมอบหมายจาก ผศ.ดร.จินดา งามสุทธิ  อธิการบดีและวิทยากร ให้เขียนสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ยกร่างนโยบายด้านระบบฐานข้อมูล จึงสืบค้นข้อมูลจากหลายองค์กร และอ้างอิงจากคู่มือประกันคุณภาพ เป็นแนวในการเขียน แต่ก็ยังต้องตรวจสอบร่วมกับทีมงานคือ คุณอนุชิต คุณธรณินทร์ และคุณอรรถชัย ว่าที่ยกร่างมานี้จะผ่านความเห็นชอบร่วมกันหรือไม่ โดยมีข้อความดังนี้
     มหาวิทยาลัยโยนกมีนโยบายด้านระบบฐานข้อมูล คือ ให้บริการสารสนเทศแก่บุคลากร นักศึกษา และบุคคลทั่วไป เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ และให้บริการสารสนเทศด้านการบริหารจัดการ การเรียนการสอน และการวิจัย ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย โดยผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อการใช้งานสารสนเทศที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งกำหนดให้มีระบบฐานข้อมูล ดังนี้

1. ระบบฐานข้อมูลงานวิจัย (4.1.2)
2. ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร (7.5)
3. ระบบฐานข้อมูลเพื่อการเรียนการสอน (7.5)
4. ระบบฐานข้อมูลทางการเงิน (8.1.3)
5. ระบบฐานข้อมูลทรัพยากร (8.2)
6. ระบบฐานข้อมูลการประกันคุณภาพ (9.1.6)

แหล่งอ้างอิง
+ http://it.yonok.ac.th/doc/oit/center_policy.doc
+ http://www.tisi.go.th/thai/qms_policy.html
+ http://www.unionpioneer.co.th/code/profile_t3.html
+ http://www.chaiyaboon.com/TH/Tservice.html
+ http://www.human.nu.ac.th/nweb/about/plan.php
+ http://www.bjclogistics.co.th/th/company_quality.php
+ http://sot.swu.ac.th/CP342/Lesson12/cs1t1.htm
+ http://www.yonok.ac.th/sar/

อุบายลวงจิตลดโทษะต่ออัตตาในมนุษย์

12 ต.ค.52 เพื่อนในองค์กรหนึ่งโทรมาระบาย เรื่องความมีอัตตาในตัวมนุษย์ เขารู้สึกไม่สบายใจเมื่อถูกมนุษย์ด้วยกันแสดงตนว่าเหนือกว่า ด้วยการยกตนข่มท่าน แสดงตนว่าเหนือกว่าด้วยคุณวุฒิ วัยวุฒิ หรือบุญคุณ เหมือนคนไทยที่ยึดมั่นถือมั่นในอำนาจ ความรู้ วัยวุฒิและศักดิ์ศรี ผมก็เลยอาศัยคำพระว่า “คนทุกคนเกิดมา ไม่ได้พกอะไรมา ตอนไปก็ไม่พกอะไรไป แต่ตอนอยู่ กลับทำตัวว่ามีอะไรซะมากมาย” และ “มนุษย์ยังมีกิเลสยังไม่รู้จักพอเพียง” อีกคำที่พระหลายรูปท่านชอบเปรียบเปรยว่ามนุษย์ไม่ใช่สัตว์ประเสริฐเสมอไป ฟังพระท่านด่าว่าเป็นสัตว์เดรัชฉานอยู่บ่อยครั้ง เช่น “อย่ากินเหล้าแล้วเมาเหมือนหมา อย่าดีแต่เห่า สีซอให้ควายฟัง” ผมก็ชักคล้อยตาม เหมือนดูละครทีวีบ่อย ๆ ก็มักจินตนาการไปว่าตนเองเป็นพระเอกอยู่ร่ำไป แต่นี่พระท่านสอนโดยเปรียบเปรย ว่าผมเป็นสัตว์เดรัชฉานแล้วนี่ผมก็ต้องจินตนาการไปตามนั้นแล้วสิ
     กลับมาพูดถึง การให้คติเตือนใจเพื่อนคนนั้นว่า มนุษย์เราเกิดมามักอยู่ไม่ถึง 100 ปี เกิดมาต้องตายกันทุกคน ยับยั้งกิเลสในตน ทำจิตให้สงบ ลดอัตตา ลดศักดิ์ศรี ต้องรู้จักให้อภัย แล้วนึกซะว่า “คนที่มีอัตตาก็เป็นเพียงสัตว์เดรัชฉาน เป็นเพียงหมาตัวหนึ่งเห่าบ๊อกบ็อกน่ารักจะตาย” เราก็จะสบายใจแล้วให้อภัยเขา หรือไม่ก็นึกซะว่า “เขาคือปลาตัวมื้อเย็นนี้จะกลับไปทุกหัวแล้วทอดเป็นอาหารเย็น จิตที่หมกมุ่นกับความหม่นหมองก็น่าจะปลอดโปร่งขึ้นได้” เพราะถ้าไม่อภัยแล้วไปทำร้ายเขาด้วยบันดาลโทสะ ก็อาจติดคุกติดตาราง .. ไม่คุ้มกับความเป็นผู้มีบุญได้เกิดมาเป็นสัตว์ผู้ประเสริฐครั้งหนึ่งบนโลกนี้ .. ก็หวังแต่ว่าเพื่อนทางโทรศัพท์ผู้นั้นจะเข้าใจ

.. ลอกมาจากที่ไหนก็จำไม่ได้แล้ว ขออภัยที่ไม่ได้เขียนแหล่งอ้างอิงไว้