#เล่าสู่กันฟัง 63-059 marp กับ pandoc สร้าง pptx ในรูปแบบที่ต่างกัน

Marp นั้น สร้าง pptx ที่กำหนด theme ของตนเองได้ คุณสมบัติเพิ่มจาก markdown อยู่ไม่น้อย แต่เมื่อเป็น powerpoint จะขยับวัตถุใด ๆ บน slide ไม่ได้ เนื่องจาก output จาก marp มาเป็น pptx จะเป็นเพียงภาพ background ไม่ได้ แยกองค์ประกอบมาให้จัดการได้

ต้องใช้ pandoc ที่ทำให้ได้ pptx  เทคนิคใช้งานไม่ต่างจาก marp ที่ใช้ command line แฟ้มที่ได้นำไปเปลี่ยน theme ได้ปกติ ซึ่งรูปแบบเป็นไปตามรูปแบบของ markdown

การใช้งาน theme การสร้าง master layout ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ แต่การใช้งานกับ marp คงต้องแยกออกจากกันแล้ว แต่ใช้งาน pandoc ได้

#เล่าสู่กันฟัง 63-058 เส้นทางของ markdown จาก github สู่ php

ก่อนหน้านี้ชวนนิสิตใช้ github.com เป็นแหล่งเก็บและเผยแพร่ผลงานแบบควบคุม version ก็ชวนเขียน html ใน github.io และ readme.md ที่หน้าแรกของแต่ละ repo

ก่อนหน้านี้  ต้นเดือน มิ.ย.2018 Satya Nadella ซีอีโอของไมโครซอฟท์ ประกาศผ่านบล็อกทางการของบริษัทว่าจะเข้าซื้อ GitHub อย่างเป็นทางการ ด้วยมูลค่ากว่า 7.5 พันล้านดอลลาร์ เป็นหุ้นของไมโครซอฟท์ทั้งหมด ทำให้ github.com น่าใช้ยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่บริการระบบที่ส่งเสริมการทำงานแบบ collaboration เสริม work from home ได้เป็นอย่างดี

กลับมามองเรื่องการเขียนหน้าแรกของ github เค้าใช้ภาษา markdown ที่เขียนแบบ plain text อย่างแท้จริง มองแทบไม่ออกว่านี่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ และผมมีโจทย์ที่ต้องทำ powerpoint จากข้อมูลที่มีอยู่  และต้องการใช้งานแบบ reuse  คือ ทำแล้วใช้ซ้ำได้

ค้นดูพบว่ามีการแปลง markdown ไปเป็น powerpoint แบบ desk slide พัฒนาโดยหนุ่มญี่ปุ่น มีการสร้าง  theme ด้วย scss และ convert  ผ่าน command line ด้วยโปรแกรม marp  ที่ใช้ง่าย และยังพัฒนาต่อเนื่อง

จากนั้นไปใช้ extension ของ chrome ก็พบว่าการใช้ markdown สะดวกขึ้น มีแฟ้มแล้วเปิดอ่านได้ง่าย ๆ  แบ่งตาม header เลย เป็นเครื่องมือตรวจ outline ก่อนนำไปทำ pptx, html หรือ pdf

จากนั้นไปค้นว่ามี php ช่วย convert หรือไม่ ก็พบ parsedown.php โปรแกรมที่ require เข้าไปแล้วเรียกใช้งานได้ทันที แนะนำให้ติดตั้งผ่าน composer ซึ่งน่าสนใจมาก อีกเทคนิคหนึ่ง

#เล่าสู่กันฟัง 63-056 เขียน markdown เป็น pptxเล่าสู่กันฟัง 63-056 เขียน markdown เป็น pptx

เคยอ่านบล็อก อ.สมเกียรติ ปุ๋ยสูงเนิน somkiat.cc เรื่อง “มาทำ slide และ live code ใน VS Code ดีกว่า” ท่านใช้ markdown ในมุมมองใหม่ได้อย่างน่าสนใจ

ซึ่งผมก็เห็นว่าเป็นภาษาหลักสำหรับการเล่าเรื่องใน github.com สำหรับใครที่ไม่ต้องการเพิ่มขั้นตอนด้วยการไปเขียนใน github.io ที่รองรับ html ก็จะเขียนด้วย markdown ในแฟ้ม README.md แล้วแสดงผลหน้าแรกของ repo

ภาษา markdown เขียนง่ายกว่า html มาก และน่าจะง่ายที่สุดสำหรับการสร้างข้อความหลายมิติ (hypertext) และใน blog ของท่านพูดถึงการเขียนใน vs code แล้วส่งออกเป็น slide บน powerpoint หรือ pdf

Marp

ช่วงนี้ (มี.ค.63) มี covid-19 ระบาดหนัก เริ่มเปลี่ยนการศึกษาจาก #ระบบใส่ใจ คือ สอนกันแบบถึงเนื้อถึงตัว มาเป็น #ระบบใส่แมส คือ มี social distancing ใส่เครื่องป้องกัน สอนออนไลน์ สอนแล้วมาเรียนในยามที่สะดวก เรียนได้หลายครั้ง และเรียนได้มาก แบบ mooc ถ้าคุณครูเปิดให้เรียนซ้ำ ๆ ก็จะพัฒนาไปได้ไกล และกว้าง แบบ mass media

เมื่อวางแผนการสอน แล้วก็จะเริ่มสอน การสอนแบบเห็นหน้าครูเป็นชั่วโมง นั่งพูด ยืนพูด แบบ TED คงใช้ไม่ได้กับทุกวิชา

ดังนั้น powerpoint กับ camtasia จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ในการจัดทำสื่อการสอน การเปิดให้ส่งงาน ผ่านกลุ่มเฟส และทำข้อสอบผ่าน google form ก็พูดถึงกันมาก

กลับมาที่ markdown พบว่าเป็นภาษาที่เขียนง่าย นำหัวข้อมาเรียงแยกบรรทัดใน word หรือ notepad แล้วใช้ marp แปลงเป็น pdf, png, pptx หรือ html ก็ได้ slide สำหรับเตรียมพูดหลายชั่วโมงแบบมี navigation นำทาง

ผมลองใช้ marp-cli บน command line พิมพ์คำสั่งบรรทัดเดียว ก็แปลงแฟ้ม README.md เป็น myslide.pptx พร้อมสอนได้ทันที แก้ไขก็เพียงย้อนกลับมาแก้ข้อความใน README.md หรือไปแก้ที่ myslide.pptx ก็สะดวก แล้วยังจัดการ tempate ผ่าน gaia.scss ได้ตามชอบ คนที่พัฒนา marp เค้าว่าเป็น license : mit น่าติดตาม และนำไปใช้

ปล. เมื่อคืนนอนดึกหน่อย เกือบเช้า
เพราะติดพัน กับลูกเล่น css คุม markdown
http://www.thaiall.com/markdown

#เล่าสู่กันฟัง 63-055 ขยาย meeting จาก 40 เป็นนานเท่าใดก็ได้

เพื่อนที่ทำงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง
#workfromhome
แล้วแชร์ภาพ infographic
แนะนำเครื่องมือ ที่ ม.มหิดล แนะนำมา
มีหลายแอพน่าสนใจ
หนึ่งในนั้นคือ webex
ไปอ่านต่อพบว่า ผู้พัฒนาคนเดิมออกไปทำ zoom
มีลักษญะการทำงานหลายอย่างคล้ายกัน
ที่น่าสนใจคือ ข้อจำกัดของ free account
ที่ webex พึ่งเปลี่ยนจาก 40 นาที
เป็นนานเท่าที่ต้องการ
หากไม่ต้องการคุณสมบัติอื่น webex ก็น่าสนใจ
เพราะใช้ zoom แบบฟรี
ต้องเปิดห้องใหม่ให้ reconnect กันบ่อย ๆ
ลองเทียบ และอ่านประวัติ #EricYuan

ตอนที่เค้าทำงานพัฒนา zoom ก่อน cisco ซื้อไป ทำให้นึกถึง mysql, java, mambo, geocities, sanook, โออิชิ และอีกมากมาย

#เล่าสู่กันฟัง 63-054 ใช้ ms teams สอนผ่านวิดีโอ

พบการถ่ายทอดสด
การอบรมใช้แอพพลิเคชั่นสอนออนไลน์
ของ #mfudigitalu
สอนใน 4 หัวข้อ
1. Google hangouts meet
2. Quiz ด้วย google form
3. MFU Webex
4. Microsoft teams และ Zoom
https://youtu.be/W06hHclGXI4

เพื่อนก็ชวนใช้ ms teams แต่ไม่มีบัญชี
ส่วนของ google meet ไม่มีปัญหา
เพราะองค์กรเลือกผูกบัญชีองค์กร
เข้ากับ google g suite แล้ว
แต่ ms teams ต้องไปยืมบัญชีของคนรู้จัก
เค้าให้ยืม พบว่าระบบ teams
ยอมให้ guest เข้าได้ และคนในองค์กร
ก็สั่ง recording ได้
แต่ guest มีข้อจำกัดอีกหลายเรื่อง



เล่าด้วยภาพไว้ที่
http://www.thaiall.com/msteams

#เล่าสู่กันฟัง 63-053 ทำ linebot กับ groupchat

มีที่มาจากนิสิต สนใจทำ linebot
จึงอ่านพบว่าต้องทำอย่างไร
บัญชี linebot ตัวนี้ ที่สร้างมา
ชื่อ thaiallbot ถือว่าเป็นบัญชีแยก
ถ้าคุยด้วย เค้าก็จะคุยด้วย
แต่คุยไม่เก่ง พูดกับเค้าว่า hi hello สวัสดี
เค้าก็จะตอบได้ มากกว่านี้เค้าจะเงียบ
ที่สำคัญผมจะไม่เห็ว่าเค้าคุยกับใคร
เพราะไม่ได้ทำส่วนเก็บ userId ไว้
และไม่เก็บบทสนทนาไว้เลย
https://line.me/R/ti/p/%40362lmjyg

แล้วไปสร้างกลุ่มขึ้นใหม่
ชื่อ groupchat เหมือนกลุ่มทั่วไปใน line
แต่ดึง thaiallbot เข้ากลุ่มอีกคนหนึ่ง
เคยทำให้ bot ทักคนเก่ง ทุกข้อความ
มีกลุ่มหนึ่งรำคาญ ดีด bot ออกกลุ่มเฉย
จึงต้องให้เค้าพูดคุย เฉพาะที่เค้าเข้าใจ
ตอนนี้พาเข้ากลุ่ม groupchat
เวลาใครคุยกับ thaiallbot
ผมก็จะเห็นด้วย สนใจเข้ากลุ่มนี้
เชิญเข้าผ่านลิงค์นี้ได้
https://line.me/R/ti/g/zWRplgVoIG

ถ้าคุยตัวต่อตัวกับ bot
ไม่มีใครรู้ใครเห็นครับ เพราะผมไม่เก็บ
ถ้าคุยว่า id เค้าจะตอบเป็น id ของท่าน
อย่าไปคุยที่อื่นนะครับ
เช่น ใน groupchat เพราะ bot
จะตอบเป็น userid ยาว ๆ
ที่คนเขียนโปรแกรมสามารถส่งข้อความถึงท่านได้
หากเขาทราบ userid
มีแต่เพื่อนที่เชค้าเขียน bot
ที่สนใจ id ดังนั้นอย่าพิมพ์ในกลุ่ม
เพราะ bot จะตอบเป็น id ของท่าน

#เล่าสู่กันฟัง 63-052 เปิดใช้บัญชี line bot

จำได้ว่าลูกศิษย์ชื่อ หนึ่ง CS-NTU
ทำ linebot ส่งข้อมูลรถบรรทุกเข้าออก
ให้บริษัทด้านลอจิสติกที่ลำพูนตอนฝึกงาน
กับพี่แท็กและพี่กอล์ฟ มีพี่ดูแลใกล้ชิด

วันนี้บ่าย ๆ จึงเข้าไปสมัครใช้บริการไลน์
และสร้างบัญชีสำหรับทำ linebot
และใช้บริการของ heroku.com
ที่บริการ php กับ https พอดี
เพราะเครื่องของผมไม่บริการ https

สรุปว่าใช้บริการ reply ผ่านด้วยดี
แต่ push ต้องมาแกะตัวอย่างนิดนึง
เพราะส่งข้อความถึงแต่ละคนเป็นรายไป
เพื่อให้ code เช็คไอดีได้ในอนาคต
และยกเลิกข้อความทักทายอัตโนมัติ

ข้อความที่เตรียมตอบกลับ ก็มี hi กับ สวัสดี ตอบเป็น sticker กับ text เท่านั้น และยังไม่ได้เสียตังให้เค้าครับ ใช้ฟรีอยู่

ขอเข้า line bot ได้ครับ

มี url เพื่อ add friend จาก QR ดังนี้
https://line.me/R/ti/p/%40362lmjyg

#เล่าสู่กันฟัง 63-051 ลง module chatbot แล้วอัพขึ้น heroku

มีโอกาสใช้ node.js พบว่า module
เกี่ยวกับ chatbot เขียนด้วย react
น่าสนใจ
เคยถูกถามจาก ฟลุ๊ค และหัวหน้า
วันนี้ฤกษ์สะดวก
จึงติดตั้ง และลงบน module ใน repo ตัวเดิม คือ  create-react-app
ที่เคย push ขึ้น heroku.com นั่นเอง
เป็น chatbot ของ LucasBassetti
ต้องติดตั้งเพิ่มทั้ง react-simple-chatbot และ styled-components
ที่ติดตั่งใหม่จะอยู่ใน folder : node_modules
การใช้งานก็เข้าไปแก้ไขทั้ง index.html
และ index.js
ระหว่างเปิด npm start และใช้งาน
ระบบจะตรวจสอบ index.js ทันที ไม่ต้อง restart ก่อน
http://react630314.herokuapp.com/

#เล่าสู่กันฟัง 63-050 ทบทวน react อีกครั้ง

ประมาณหนึ่งถึงสองปีที่แล้ว
น้องวิวชวนดูแอพที่เขียนด้วย react native
ตอนนั้นส่งขึ้นไปประมวลผลบน expo.io
แล้วไม่ได้เข้าไปดูอีกเลย เก่าไปแล้ว
ช่วงนี้สนใจ heroku.com เป็น paas
รองรับ react บน node.js ด้วย
จึงทดสอบ react ง่าย ๆ ก่อน
ไปถึงจุด ๆ หนึ่ง ก็ push repo
ที่โหลดมา ขึ้นไปยัง heroku
สรุปว่าเชื่อมกันหมด
ทั้ง node.js, react, git, heroku, app
ภาพนี้ใช้ code ของ w3school
ทั้ง index.js และ index.html
ถ้ามีโอกาสคงเล่ารายละเอียด
และขั้นตอน
ของการเขียน Hello World!

http://www.thaiall.com/reactnative/
http://www.thaiall.com/heroku

#เล่าสู่กันฟัง 63-049 อิสตาแกรมยังฝังลิงค์ไม่ได้

อินสตาแกรม (instagram)
เป็นอีกหนึ่งบริการสื่อสังคมที่ได้รับความนิยม
เรียกอีกชื่อว่าไอจี (ig)
บริการโพสต์ภาพ สำหรับคนที่ชอบถ่าย selfie
อัพภาพกิจกรรม กิน เที่ยว และไลฟ์สไตล์
แล้วแบ่งปันก็จะใช้บริการกันมาก
ไม่เน้นบทความ ไม่ลิงค์ ไม่แต่งข้อความที่โพสต์มากนัก
เจ้าของเดิมที่ก่อตั้งคือ Kevin Systrom และ Mike Krieger
เปิดให้ผู้ใช้ iOS โหลดแอพเดือน ตุลาคม 2010
ต่อมาถูกซื้อโดยคุณมาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก หรือ เฟสบุ๊ค
ในราคาประมาณหนึ่งพันล้านเหรียญ
เมื่อ เมษายน 2012
เรื่องนี้ถูกโพสต์โดย MENLO PARK, CALIF.—April 9, 2012
https://about.fb.com/news/2012/04/facebook-to-acquire-instagram/

สถิติน่าสนใจ

แล้วพบว่า Joe Jitnarin
ชวนทำ ad เพราะมี interaction สูงกว่า
ค่ายอื่นหลายเท่าตัว ลองอ่านบล็อกได้ครับ
https://www.zozav.com/blog/instagram-ad-guide/

การเป็นผู้สนับสนุน จะแชร์โพสต์และพาผู้สนใจเข้า โปรไฟร์ และในโปรไฟล์มีลิงค์ที่พาออกไปข้างนอกได้ แต่โพสต์ทั่วไปวางลิงค์ไม่ได้