ร่วมเสวนาในงานมหกรรม 10 ปีวิจัยเพื่อท้องถิ่น (1)

dsc07935

ผมมีโอกาสไปร่วมเสวนาวันที่ 21 มี.ค.52 ช่วง 9.00- 9.40
เป็น session แรกของช่วงเช้าในห้องย่อย1
คือ 
งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับสถาบันการศึกษา
ในฐานะตัวแทนสาขาวิทย์คอม แล้วทำวิจัยเพื่อท้องถิ่น
 บนเวทีมี คุณประพจน์ ภู่ทองคำ ดร.มยุรี ถาวรพัฒน์ อ.ไพจิตร ศรีธนานุวัฒน์ ผศ.เยี่ยมลักษณ์ อุดาการ และผม
ความเป็นมา 
สกว.ริเริ่มสนับสนุน “งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2541 โดยมีการจัดตั้งสำนักงานภาค ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมียุทธศาสตร์ที่สำคัญ เน้นการมุ่งเข้าไปเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น โดยเน้นให้ “คน” ในชุมชนท้องถิ่นใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ด้วยการเข้าร่วมกระบวนการวิจัยทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ชุมชนเพื่อกำหนดโจทย์/คำถามวิจัย การทบทวนทุนเดิมในพื้นที่ การออกแบบการวิจัย และการวางแผนผฏิบัติการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การทดลองปฏิบัติจริงเพื่อสร้างรูปธรรมในการตอบโจทย์วิจัยหรือแก้ปัญหาในพื้นที่วิจัย การประเมินและสรุปบทเรียน เน้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ระหว่างนักวิจัยชาวบ้าน คนในชุมชนท้องถิ่น นักวิชาการ ข้าราชการ นักพัฒนาและผู้ทรงคุณวุฒิที่จะได้เรียนรู้ร่วมกัน เพื่อสร้างความรู้และกลไกการจัดการปัญหา เพื่อนำไปสู่การพึ่งตนเองของชุมชนในพื้นที่การวิจัยสกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นได้มุ่งเน้นยุทธศาสตร์สำคัญในการเข้าไปเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น โดยเน้นให้ “คน” ในชุมชนท้องถิ่นใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การทำงานที่ยึดมั่นมาเป็นเวลายาวนานกว่า 10 ปี คุณูปการจากการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ปัจจุบันขยายงานออกไปทั่วประเทศ ในพื้นที่ภาคเหนือ ได้ขยายงานวิจัยท้องถิ่นในหลายพื้นที่ ได้แก่ เชียงใหม่ พะเยา ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ ตาก แพร่น่าน กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร นครสวรรค์ ในพื้นที่ภาคกลาง ตะวันออก ตะวันตก มีการขยายงานสู่ 18 จังหวัด คือ กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบ ราชบุรี สมุทรสงคราม นครปฐม ปทุมธานี อยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ชัยนาท อุทัยธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี ตราด ในขณะที่พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็มีการขยายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นสู่หลายพื้นที่ ได้แก่ อุบลราชธานี มหาสารคาม ชัยภูมิ หนองบัวลำภู เลย ร้อยเอ็ด ยโสธร กาฬสินธุ์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และในพื้นที่ภาคใต้ ได้เกิดการขยายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในหลายจังหวัด เช่น ยะลา สงขลา นราธิวาส ปัตตานี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ตรัง สตูล พังงา โดยการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ต่างๆ นั้นจะอาศัยกลไกของศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Node) และพี่เลี้ยงนักวิจัย ซึ่งปัจจุบันมีศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Node) กว่า 30 แห่งทั่วประเทศ เกิดโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจำนวนประมาณ 1,000 โครงการ (ตุลาคม 2541 – พฤษภาคม 2551) และยิ่งไปกว่านี้กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นยังส่งผลให้เกิดการพัฒนาคน ให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาให้เกิดวิธีการคิดอย่างเป็นระบบ และทำให้ชุมชนสามารถแก้ปัญหาและค้นหาทางออกจากปัญหาได้ด้วยตัวเอง10 ปีที่กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ หรือทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาด้วยปัญญาของชุมชนท้องถิ่นเอง ดอกผลจากการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้ปรากฎให้เห็นทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ อาทิ เกิดโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ชาวบ้านเป็นผู้ทำวิจัยด้วยตัวเองกว่า 1,000 โครงการ เกิดนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นมากกว่า 7,000 คนและขยายฐานงานจากงานวิจัยชาวบ้านสู่กลุ่มคนทั้งในหน่วยงานและสถาบันต่างๆ นอกจากนี้ พลังคนวิจัยได้นำสู่การสร้างสรรค์งานวิจัยในประเด็นต่างๆ มากมาย ได้แก่ ประเด็นการท่องเที่ยว เกษตรกรรมยั่งยืน สุขภาพ หมอเมือง และสมุนไพร ศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เศรษฐกิจชุมชน การบริหารจัดการท้องถิ่น เด็กและเยาวชน การศึกษากับชุมชน ชุมชนกับการจัดการทรัพยากร เป็นต้น ซึ่งแต่ละประเด็นล้วนก่อให้เกิดคุณค่าแก่ชุมชนท้องถิ่น นำมาซึ่งความภาคภูมิใจ และความสุขของคนทำวิจัย ที่ ณ วันนี้ ชาวบ้านได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า “ชาวบ้านทำวิจัยได้” จึงอาจกล่าวได้ว่ากระบวนการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้นำมาซึ่ง “คุณค่า พลังและความสุขของชุมชนท้องถิ่น”ด้วยจังหวะเวลาที่เหมาะสม และดอกผลจากการทำงานที่เริ่มก่อเกิด สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ร่วมกับเครือข่ายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น/พี่เลี้ยงนักวิจัย) และภาคีพันธมิตร ต่างเห็นร่วมกันว่าช่วงเวลานี้เป็นเวลาที่เหมาะสมแก่การทบทวนการทำงานสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ตลอดจนเป็นโอกาสที่จะนำเสนอผลงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นสู่สาธารณะ และค้นหาทิศทางในการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในอนาคต ด้วยเหตุนี้ สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น จึงได้กำหนดการจัดงาน “มหกรรม 10 ปี วิจัยเพื่อท้องถิ่น” ซึ่งมีแนวคิดร่วมของงานอยู่ที่การสื่อให้เห็นถึง “ความสุข คุณค่า และพลังงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” ในวันที่ 20 – 21 มีนาคม 2551 ณ อิมแพ็คเมืองทองธานีวัตถุประสงค์ :
1) นำเสนอผลงานจากงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นให้เป็นที่ประจักษ์
2) นำเสนอผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชน หน่วยงานที่เกิดจากการทำงานวิจัย
3) นำเอาประสบการณ์ต่างๆ มาพิจารณาดูว่าเหมาะสมกับสังคมไทยแค่ไหน
4) ระดมความคิดเห็นของนักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิกลุ่มต่างๆ ต่องานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
5) นำเอาข้อมูลต่างๆ มาดูทิศทางในการขับเคลื่อนงานต่อไป
คุณค่า
คุณค่าในการสร้างและพัฒนาคนบนฐานปัญญา
คุณค่าในการรื้อฟื้นและพัฒนาองค์ความรู้ท้องถิ่น
คุณค่าในการสร้างและพัฒนาชุมชนและสังคม
พลัง
พลังต่อการเปลี่ยนแปลงตัวตนและชุมชน
ความสุข
ความสุขทางจิตวิญญาณ/ปัญญา

http://www.vijai.org/newsTRF_detail.asp?topicid=737
http://www.10year-cbr.org/about_us.php

เรื่องแต่งของเด็ก ผิดบ้างถูกบ้างเป็นธรรมดา ต้องฝึกกันไป (4)

3  พี่น้อง
     มี 3 คนพี่น้องอยู่ที่กระท้อม  พี่ใหญ่อาชีพจับปลา น้องกลางอาชีพขุดดิน น้องเล็กอาชีพทำนา  มีวันหนึ่งพี่ใหญ่ไป เจอ  mirror  อยู่ในน้ำ  ในขณะที่น้องกลางก็ไปเจอเมล็ด strawberry อยู่ในดิน  ทั้ง 2 คนจึงเอามาที่บ้าน พี่ใหญ่ก็พูดกับ mirror ว่า “ถ้า mirror  วิเศษจริงฉันขอให้บ้านของเราหลังใหญ่” และคำอธิฐานก็เป็นจริง บ้านหลังใหญ่โดยไม่คาดฝัน และน้องกลาง ก็เอาเมล็ด strawberry ไปปลูก  2-3 วันผ่านไป น้องกลางก็เห็นว่ามีผล มาก น้องกลางจึงเก็บไปขายและน้องเล็กก็กลับมาที่บ้านเห็นว่าบ้านหลังใหญ่ จึงมารวมอธิฐาน จึงขอ duck cow cat farm และขอ airport และ mirror ก็แตกร้าวและบ้านหลังใหญ่ก็หายไป น้องกลางมาที่บ้าน เห็นว่าบ้านหลังใหญ่หายไป จึงไปกับน้องเล็กไปช่วยกันตัดต้น  strawberry และนำไปขายพอนำไปขายและได้ เงินมาและไปสร้างบ้าน สร้างร้าน noodle และสร้าง bookshop และเจ้านาย ที่ติดหนี้ก็มายึดที่ 3 พี่น้องพึ่งสร้างใหม่พวกเราจึงหมดตัว  จึงต้องอดอยาก
การไปเที่ยวแสนสนุก
     วันหนึ่งพ่อซื้อสุนัขมามัน downy มากเลย มันชั่งน่ารัก พ่อบอกว่าปล่อยอยู่ที่บ้านกับพี่นะลูก เดียวจะพาไปตลาดคิดว่าจะไป    ember   จะเอามาเปลี่ยน เพราะไฟฉายถ่านหมดจึงไป พ่อซื้อขนมเลย์ถุงละ   eight   บาท พ่อบอกว่าจะซื้อ diary ให้พี่ แต่มันไม่ขาย พ่อบอกว่า อยากซื้อเป็ดไหม ฉันบอกว่าอยาก แต่พ่อบอกว่าบ้านคุณปู่ก็มี drake เดี๋ยวจะพาไปเที่ยว วันเสาร์ อาทิตย์ ปู่มีลูกเป็ดด้วยนะ อาจจะ endow ลูก 1 ตัวก็ได้นะพ่อกะว่าจะซื้อ denim ให้คุณปู่ แล้วตัว drama ที่คุณปู่กำลังทำเป็นธุรกิจด้วยแล้วพ่อก็ซื้อ car ใหม่ให้พี่ elect ตั้งนาน 
สวนของฉัน
     ครอบครัวของฉันเป็นครอบครัวที่  warm  grandpa  ของฉันมี    park   อยู่แห่งหนึ่งที่  park  ของ   grandpa  มี  flower   มากมาย และมีต้นไม้เยอะแยะ หลายต้น เช่นต้น  coconat  mango  และ ต้น papaya  และที่สวนของ  grandpa ฉัน   ฉันชอบรับประทาน  banana  มากที่สุด เพราะมันมีประโยชน์และอร่อย  ถ้า rain  ฉันก็จะเข้าไปหลบที่ใต้ต้น   apple  เพราะต้นมันใหญ่ และใบมันก็ใหญ่และหนาจึงเปียกฝนได้ยาก  และวันนี้ฉันก็เห็นผีเสื้อบินไปบินมาอยู่แถวๆ flower หลายต่อหลายตัว  แล้วพอจะกลับบ้าน grandpa  ของฉันก็ไปฟันเอากล้วย   เครือใหญ่มาวางเสร็จก็ไปเอา  coconat   มาด้วย ฉันก็ไปเก็บพริก   แล้วตาของฉันก็ไปเอา  apple  มาและไปเก็บ  mango  มา ฉันก็บอกกับ grandpa  ของฉันว่าทำไมได้เยอะคะตาของฉันก็บอกว่าตาไม่ได้มานานแล้วเลยเก็บได้เยอะ

ปั้นน้ำเป็นตัว 3 เรื่องด้วยคำศัพท์

เด็กทั้ง 3 เขียนบทความคนละเรื่อง จึงนำมาบันทึกไว้ที่นี่
คุณหมอ
มีคุณ doctor คนหนึ่งมา count แผ่นรายชื่อของคนไข้
และกิน coffee คุณ doctor ก็มีนโยบายว่าห้องน้ำ clean
และไปกินข้าวผัด แต่ว่าจะกินได้ไหม เพราะว่ามี chilli เยอะ
ในขณะนั้นมีฝนตกและมีสายรุ้งตกลงมามีหลาย colour มาก
และมีคน blind ก็มานั่ง chair คุณ doctor ก็ทดสอบวาด cartoon
ว่ามองเห็นได้บ้าง จึงวาดคน build บ้าน   และคุณ doctor
ก็รู้ว่าเขาเริ่มมองเห็น และคุณ doctor ก็มีคนไข้รายต่อไปและคุณ
doctor ก็คิดงว่าคนนี้เป็นผู้ชายที่จริงก็เป็นเก และคุณหมอ
เดินกลับไปที่บ้านและเล่าเรื่องที่ทำงานของตนเองให้คนในครอบครัว
และไปกินอาหาร อาบน้ำ แปรงฟัน นอนหลับ

โรงพยาบาลและการรักษา
ในวันหนึ่งโรงพยาบาลกำลังจะ abate  งาน แต่มีคนไข้คนหนึ่ง
ได้ถูก adder กัดเข้า แต่ก็รอด จึงให้ขึ้นไปชั้น abode ของโรงพยาบาล
เขาโดนงูที่ abbey  มาแน่คง abide คงนั่งเหม่อลอยเพื่อน   
แต่เขาโดนฉีดยาไปแล้วแข็งชั่ง acrid แต่เราได้นำ adder มาตรวจว่า
มีพิษไหม แต่ไม่ค่อยเจอ คิดว่าจะโดน chock ตีเข้าพิษ จึงออกไปหมด
แต่เขาไม่เป็นไรเราก็ขอแสดง cheer ด้วย
 
ครอบครัวของฉัน
วันหนึ่งฉันไปเที่ยวที่ market  กับ mather และ father  แล้วที่นี่ก็มี animal  
ตัวเล็กตัวน้อยมาขาย เช่น วัว  นก  และปลา  มาขายกันเต็มตลาดแล้วฉันก็บอก
father ว่า “father ขา หนูอยากเลี้ยง  animal ค่ะ” พ่อตอบว่า  “ได้เลยลูก”
และบอกให้ฉันนั่งพักที่ chree  เพราะตอนนี้อากาศมันร้อน  แล้ว father
ก็ไปซื้อน้ำ coconat   มาให้ฉันดื่ม แต่ฉันเป็น girl จึงคิดว่าควรที่จะเลี้ยง  cat
pig and  bird  อย่างละตัว  รวมเป็น three ตัว    และพ่อก็อนุญาตให้ฉันเลี้ยง
แล้ว  father and mather ก็ไปถามราคา ฉันก็ได้สัตว์ด้วย

บทปลงสังขาร บทสวดจากวัดชัยมงคลธรรมวราราม (1)

มีโอกาสไปทำวัตร สวนมนต์ที่ วัดชัยมงคลธรรมวราราม พระครูสังฆรักษ์วิชพงษ์ อิสฺสรธมฺโม ก็เทศธรรม ชวนนั่งสมาธิ ทำให้รู้สึกว่าชีวิตเราไม่แน่นอน ตายวันตายพรุ่งไม่รู้
เช่น อ.วัน.. หัวหน้าผมก็เกือบเสียชีวิต รถคว่ำพังยับเยินไปฟื้นที่โรงพยาบาล

ส่วนผมก็ขับรถทุกวัน ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน บทปลงสังขารนี้ทำให้ต้องเตรียมใจ ฝึกทำใจ เพราะผู้สูงอายุในหมู่บ้านรอบนอกจะสวดบทนี้เป็นกันทุกคน

ยกเว้นคนที่ยังสนุกอยู่กับกิเลส และคิดว่าตนเป็นอมตะ ก็คงยังไม่เคยสวดแน่
ผมเองก็หลงคิดไปว่าจะมีวันพรุ่งนี้ตลอดไป ตั้งแต่นี้ต้องทำใจเตรียมตัวกับสิ่งที่ไม่แน่นอน
ดังโบราณท่านว่า ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน

 

ปราสาทงานศพ
ปราสาทงานศพ

บทสวด

มนุษย์เราเอ๋ย    เกิดมาทำไม
นิพพานมีสุข    อยู่ใยมิไป
ตัณหาหน่วงหนัก   หน่วงชักหน่วงไว้
ฉันไปมิได้    ตัณหาผูกพัน
ห่วงนั้นพันผูก   ห่วงลูกห่วงหลาน
ห่วงทรัพย์ศฤงคาร    จงสละเสียเถิด
จะได้ไปนิพพาน   ข้ามพ้นภพสาม
ยามหนุ่มสาวน้อย   หน้าตาแช่มช้อย
งามแล้วทุกประการ  แก่เฒ่าหนังยาน
แต่ล้วนเครื่องเหม็น  เอ็นใหญ่เก้าร้อย
เอ็นน้อยเก้าพัน   มันมาทำเข็ญใจ
ให้ร้อนให้เย็น   เมื่อยขบทั้งตัว
ขนคิ้วก็ขาว    นัยน์ตาก็มัว
เส้นผมบนหัว   ดำแล้วกลับหงอก
หน้าตาเว้าวอก   ดูน่าบัดสี
จะลุกก็โอย    จะนั่งก็โอย
เหมือนดอกไม้โรย    ไม่มีเกสร
จะเข้าที่นอน    พึงสอนภาวนา
พระอนิจจัง    พระอนัตตา
เราท่านเกิดมา   รังแต่จะตาย
ผู้ดีเข็ญใจ      ก็ตายเหมือนกัน
เงินทองทั้งนั้น   มิติดตัวไป
ตายไปเป็นผี    ลูกเมียผัวรัก
เขาชักหน้าหนี   เขาเหม็นซากผี
เปื่อยเนาพุพอง   หมู่ญาติพี่น้อง
เขาหามเอาไป   เขาวางลงไว้
เขานั่งร้องไห้    แล้วกลับคืนมา
อยู่แต่ผู้เดียว    ป่าไม้ชายเขียว
เหลียวไม่เห็นใคร   เห็นแต่ฝูงแร้ง
เห็นแต่ฝูงกา    เห็นแต่ฝูงหมา
ยื้อแย่งกันกิน    ดูน่าสมเพช
กระดูกกูเอ๋ย    เรี่ยรายแผ่นดิน
แร้งกาหมากิน   เอาเป็นอาหาร
เที่ยงคืนสงัด    ตื่นขึ้นมินาน
ไม่เห็นลูกหลาน   พี่น้องเผ่าพันธ์
เห็นแต่นกเค้า   จับเจ่าเรียงกัน
เห็นแต่นกแสก ร้องเรียกแหกขวัญ
เห็นแต่ฝูงผี    ร้องไห้หากัน
มนุษย์เราเอ๋ย    อย่าหลงนักเลย
ไม่มีแก่นสาร    อุตส่าห์ทำบุญ
ค้ำจุนเอาไว้    จะได้ไปสวรรค์
จะได้ทันพระพุทธเจ้า  จะได้เข้าพระนิพพาน
อะหังวันทามิ   สัพพะโส
อะหังวันทามิ   นิพพานะ
ปัจจะโย โหตุ

http://www.thaiall.com/learn/toremember.htm

ประถมหนึ่งของมาหยา

กีฬาสี
กีฬาสี

สวัสดีค่ะ พบกันอีกแล้ว ตอนนี้หนูอยู่ประถมสาม
แต่จะเล่าเรื่องตอนประถมหนึ่งให้ฟังค่ะ
ตอนนี้จำชื่อคุณครูไม่ได้ แต่จำได้ว่าสนุก
จำชื่อเพื่อนได้ชื่อ แพรว
ประถมสามไม่ได้เก็บถ้วยเหมือนประถมหนึ่ง
เพราะมีเวรเก็บให้
แต่ประถมหนึ่งทุกคนต้องเก็บกันเอง
แต่ไม่เหนื่อยสักเท่าไร
ตอนประถมสามต้องขึ้นบันไดทุกวัน
รู้สึกเหนื่อย กระเป๋าก็หนัก
ฉันชอบเรียนวิชาคอม พละค่ะ

ชีวิตตอนอนุบาลของพีพี

กีฬาสี
กีฬาสี

ฉันชื่อพีพี อยู่โรงเรียนอนุบาลเขลางค์รัตน์อนุสร
ขึ้นชั้นอนุบาล 2/9 น้องชื่อมาหยา ห้องเดียวด้วยกัน
วันแรกเห็นมีเพื่อนเยอะมาก แต่รู้จักเพียง 2 – 3 คน
ชื่อว่า อ้อน หยก โอม ต่อมาก็รู้จักมากขึ้นเยอะค่ะ
ครูชื่อครูสมพิศ และให้ทำแบบฝึกหัด ก-ฮ และตั้งกลุ่ม
มีชื่อกลุ่มเป็นผลไม้ต่าง ๆ และทำกิจกรรมร่วมกัน

โบราณว่า ตัดขารักษาชีพ

ในชีวิตของเรา บางครั้งต้องเสียสละความสุขส่วนน้อย เพื่อรักษาความสุขส่วนใหญ่ วันนี้มีเรื่องต้องทำแบบนี้ เป็นครั้งที่ตัดสินใจยากจริง ๆ และคนทั้งโลกคงบอกว่าแปลก เพราะกรณีของผมไม่เหมือนใคร ภรรยาเองก็ยังไม่เห็นด้วยเลย ผมเองก็ยังไม่เคยได้ยินว่ามีใครทำเลย ในกรณีแบบนี้ ก็คงต้องดูผลว่าการเสียสละ ความสุขส่วนน้อยจะรักษา ความสุขส่วนใหญ่ให้อยู่ได้หรือไม่ คำที่คล้ายกันคือ เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย ที่ต้องแลกก็เพื่อ ครอบครัว และ สุขภาพจิต